กุมภาพันธ์ 2562

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
 
 
All Blog
“วัสดุกันความร้อน” ป้องกันแดดปรับอุณภูมิบ้านเย็นชื่นใจ


วัสดุกันความร้อน เป็นวัสดุที่สามารถช่วยปรับอุณภูมิบ้านของเราให้เย็นมากกว่าเดิมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยวัสดุกันความร้อนสำหรับติดตั้งทั้งภายในบ้านและนอกบ้าน ก็มีให้เลือกหลายหลากประเภท ไม่ว่าจะเป็น ฉนวนกันความร้อน, บล็อคปูพื้น, สีทาบ้านกันความร้อน หรือฟิล์มกันความร้อน เป็นต้น 


การติดตั้งวัสดุกันความร้อน นอกจากจะช่วยลดอุณภูมิภายในบ้านให้เย็นลงแล้ว ยังสามารถช่วยประหยัดค่าไฟได้อีกด้วย เพราะในเมื่อบ้านของเราเย็นสบายมากขึ้น เราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องพึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าในการทำความเย็น เช่นพวกเครื่องปรับอากาศ หรือพัดลม เหมือนแต่ก่อน ดังนั้นการเลือกวัสดุกันความร้อนมาติดตั้งภายในบ้าน จึงเป็นแนวทางในการปรับลดอุณภูมิภายในบ้านพร้อมกับการประหยัดค่าไฟได้ดีที่สุด

วัสดุกันความร้อนมีอะไรบ้าง?


จากที่เกริ่นไปข้างต้นว่าวัสดุกันความร้อนมีหลากหลายประเภท แต่สิ่งที่อยากแนะนำให้นำไปติดตั้งที่บ้านกันคือ ฉนวนกันความร้อน ที่สามารถช่วยลดอุณภูมิบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยฉนวนกันความร้อนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบันก็จะเป็น ฉนวนกันความร้อนใยแก้ว, อลูมิเนียมฟอยล์, แผ่นสะท้อนความร้อน และ โฟมกันความร้อน สามารถติดตามอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ > ฉนวนกันความร้อน แบบไหนกันร้อนได้ดี พี่นี้อยากแนะนำ !

ฉนวนกันความร้อน


ฉนวนกันความร้อน เป็นวัสดุกันความร้อนที่ใช้สำหรับบ้านเรือนและอาคารทั่วไป ส่วนใหญ่จะติดตั้งบนหลังคาบ้านและกำแพงบ้าน มีให้เลือกทั้งแบบแผ่นและแบบพ่น ซึ่งฉนวนแบบแผ่นจะสามารถติดตั้งได้ง่ายกว่า หรืออาจจะสามารถติดตั้งได้ด้วยตัวเอง แต่ฉนวนกันความร้อนแบบพ่น จะต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญมาทำการติดตั้ง  


อ่านเพิ่มเติมฉนวนกันความร้อนแบบแผ่น > ฉนวนกันความร้อนแบบแผ่น มีกี่ประเภท? 
อ่านเพิ่มเติมฉนวนกันความร้อนแบบพ่น > ฉนวนกันความร้อนแบบพ่น ตัวเลือกสำหรับอาคารบ้านเรือน

บล็อกปูพื้นกันความร้อน


บล็อกปูพื้นกันความร้อน Cool Plus ก็เป็นอีกวัสดุกันความร้อนแบบใหม่สำหรับติดตั้งภายนอกบ้าน ที่อยากแนะนำให้ทุกคนได้นำไปใช้กัน เป็นวัสดุที่นำมาใช้ทดแทนการเทพื้นด้วยปูนซีเมนต์ โดยคุณสมบัติของมันคือจะดูดซึมซับน้ำเอาไว้ และเมื่อโดนแสงแดดส่องหรืออุณภูมิความร้อนเพิ่มสูงขึ้น น้ำที่ถูกกักเก็บไว้ในบล็อก ก็จะระเหยออก ส่งผลให้อุณภูมิโดยรอบลดลง และทำให้รู้สึกเย็นสบายมากขึ้น 

** การติดตั้งบล็อกปูพื้นกันความร้อน Cool Plus ใช้พื้นที่ขั้นต่ำประมาณ 25 ตารางเมตรจากจุดศูนย์กลาง

สีทาบ้านกันความร้อน


วัสดุกันความร้อนอีกประเภทที่ตอนนี้เป็นที่นิยมอย่างมากคือ สีทาบ้านกันความร้อน ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ที่สามารถช่วยป้องกันความร้อนไม่ให้เข้าสู่ตัวบ้าน และสะท้อนแสงและความร้อนออกไป เป็นตัวช่วยทำให้อุณภูมิภายในบ้านลดลงอีกทางหนึ่ง นอกจากคุณสมบัติป้องกันความร้อนแล้ว เรื่องของการเลือกโทนสีที่จะนำมาใช้ตกแต่งบ้าน ยังสามารถช่วยทำให้บ้านของเราดูเย็นสบายได้มากกว่าเดิม 


โดยพลังของโทนสี สามารถช่วยในการบำบัดโรคได้ด้วย โดยนักจิตวิทยา เชื่อว่าโทนสีมีความสัมพันธ์กับร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ของทุกคน 

สีทาบ้านโทนสีอ่อน: โทนสีขาว สีเบจ สีฟ้า หรือโทนสีพาสเทล จะทำให้บ้านของเราดูสว่างสบายตามากขึ้น ถ้าอยากสร้างบรรยากาศชิวๆภายในบ้าน มีความเย็นสบาย เหมาะแก่การพักผ่อน 

อ่านเพิ่มเติม > การเลือกสีทาบ้าน โทนสีร้อน โทนสีเย็น แบบไหนดีนะ?

ติดฟิล์มกรองแสงที่กระจกหน้าต่าง


การติดฟิล์มกรองแสง เป็นอีกเคล็ดลับที่สามารถป้องกันความร้อนไม่ให้เข้าสู่ตัวบ้านได้เป็นอย่างดีเยี่ยม โดยเฉพาะการติดฟิล์มที่หน้าต่างในทางทิศตะวันตกของบ้าน ที่เป็นส่วนรับแสงแดดร้อนๆตลอดช่วงบ่ายแบบเต็มๆ ตัวฟิล์มจะช่วยกรองแสงที่สาดส่องเข้าสู่ตัวบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วัสดุกันความร้อนอื่นๆ


นอกจากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้น ก็ยังมีวัสดุอีกมากมายที่สามารถป้องกันความร้อนได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกันสาดสำหรับติดตั้งตรงหน้าต่าง หรือผ้าม่าน UV ที่สามารถสะท้อนความร้อนไม่ให้เข้าสู่ตัวบ้านได้เช่นกัน แต่สิ่งที่สามารถกันความร้อนได้ดีที่สุดสำหรับบ้านของเรา ก็คือการปลูกต้นไม้ เพิ่มธรรมชาติสีเขียวล้อมรอบตัวบ้าน หรืออาจจะทำสวนแนวตั้ง แขวนต้นไม้บนไม้ระแนงไว้บนบังแสงแดดก็เป็นไอเดียที่น่าสนใจ 


อ่านเพิ่มเติม > 5 ไอเดียตกแต่งบ้านธรรมชาติสดใสรับหน้าร้อน
อ่านเพิ่มเติม > หลักการออกแบบบ้านเย็นฉ่ำ สุขได้ทุกฤดูกาล จะร้อน จะหนาว ไม่มีหวั่น




Create Date : 28 กุมภาพันธ์ 2562
Last Update : 28 กุมภาพันธ์ 2562 13:34:14 น.
Counter : 929 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 2786135
Location :
นนทบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]