หวานเย็นผสมโซดา | รวิวารี | Mahal Kita | NamPhet
Group Blog
 
<<
กันยายน 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
28 กันยายน 2553
 
All Blogs
 

หัวใจล่องหน กลรักเศรษฐศาสตร์ : รัสเซลล์ โรเบิร์ตส์ เขียน ยุวดี ต้นสกุลรุ่งเรือง แปล

หัวใจล่องหน กลรักเศรษฐศาสตร์ : รัสเซลล์ โรเบิร์ตส์ เขียน ยุวดี ต้นสกุลรุ่งเรือง แปล



ชื่อหนังสือ : หัวใจล่องหน กลรักเศรษฐศาสตร์
เขียนโดย : รัสเซลล์ โรเบิร์ตส์
แปลโดย : ยุวดี ต้นสกุลรุ่งเรือง
สำนักพิมพ์ : พิมพ์คำ
พิมพ์ครั้งที่ 1 : มีนาคม 2549
จำนวน 301 หน้า ราคา 200 บาท


กระซิบก่อนอ่าน

   นวนิยายรักที่ชำแหละโลกของการบริโภคได้อย่างสนุกสนานและน่าทึ่ง

   “ โรมานซ์คดีที่นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล มิลตัน ฟรีดแมน ชื่นชมว่าเป็นนวนิยายที่สอนเศรษฐศาสตร์เด่น ๆไว้มากมาย และเขียนได้ดีจนอ่านแล้ววางไม่ลง ”

   หัวใจล่องหน กลรักเศรษฐศาสตร์ เป็นนวนิยายรักที่ก่อตัวขึ้นจากธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ประจำวัน

   แซม กอร์ดอน และ ลอรา ซิลเวอร์ เป็นอาจารย์ในโรงเรียนที่แสนโด่งดังและหรูหราในวอชิงตัน ดี.ซี. ทั้งคู่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในการมองโลกธุรกิจและกติกาของทุนนิยม แซมหายใจเข้าออกเป็นทุนนิยมและเชื่อว่ามนุษยชาติรุ่งเรืองมาได้เพราะเศรษฐกิจเสรีนิยม ส่วนลอราผู้หลงรักกวีนิพนธ์กลับมองเห็นเหยื่อของธุรกิจมากกว่าผู้ชนะ ขณะที่แซมและลอราถกเถียงกันเพื่อทำให้โลกดีขึ้น เรื่องราวทุนนิยมในอีกโลกหนึ่งก็แทรกซ้อนเข้ามาอย่างชาญฉลาด ระหว่าง เอริกา บอลด์วิน นักรบของรัฐบาลกลางผู้คอยจับจ้องดูความไม่ชอบมาพากลของซีอีโอเจ้าเล่ห์อย่าง ชาร์ลส์ เคราส์

   เรื่องราวของโลกสองโลกจะบรรจบกันได้อย่างไร ทำไมอาจารย์แซมจึงถูกไล่ออกจากโรงเรียน เอริกาจะหาหลักฐานมามัดตัวซีอีโอเส้นใหญ่ได้หรือไม่ อาจารย์ลอราจะลงเอยกับชายที่มีรูป อดัม สมิท แปะอยู่ข้างฝาห้องได้หรือไม่ คำตอบของเรื่องราวรักวุ่น ๆ นี้จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจโลกธุรกิจและการตลาดมากขึ้น ด้วยฝีมือการประพันธ์ของนักเขียนมือเศรษฐศาสตร์ จากสำนักพิมพ์แห่งสถาบันการศึกษาที่โด่งดังที่สุดแห่งหนึ่งของโลก


ขอบคุณรายละเอียดและภาพปกจาก... สถาพรบุ๊คส์ ... นะคะ




แวะเคาะประตูร้านหนังสือ







เขียนความรู้สึก...บันทึกหลังอ่าน

   ' หัวใจล่องหน กลรักเศรษฐศาสตร์ ' เป็นหนังสือที่ตีพิมพ์เมื่อมีนาคม 2549 เรียกได้ว่านานพอสมควรเลยทีเดียวล่ะค่ะ แต่... อาศัยคำบอกเล่าของพี่ชายสุดที่รักคนหนึ่งบอกไว้ว่า... ' เขียนอะไรไม่รู้ ไม่น่าอ่าน ทฤษฎีเยอะชวนปวดหัว ' แหม ! หวานเย็นก็เด็กดีซะด้วยสิคะ เมื่อพี่บอกว่าไม่น่าอ่าน หวานเย็นก็ขอพักไว้ก่อนค่ะ หันไปหยิบเล่มโน้น อ่านเล่มนี้เพลินจนลืมหัวใจล่องหน กลรักเศรษฐศาสตร์ไปเลยค่ะ จนกระทั่งเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมานี้เอง หนังสือเล่มนี้ก็มาปรากฏอยู่ตรงหน้าให้ได้เห็นอีกครั้ง ด้วยความที่เบื่อ ๆ เซ็ง ๆ กับอะไรซ้ำ ๆ เดิม ๆ ต้องการความแปลก แตกต่าง แหวกแนวไปจากทุกเรื่องที่เคยอ่านมา หวานเย็นเลยหยิบเล่มนี้คิดมาพลิกดูอีกครั้ง พร้อมกับการตัดสินใจอ่าน

   ผ่านไปเพียงไม่กี่หน้า... ความคิดที่ว่า... ' นี่ฉันพลาดอะไรไป ? ' ก็ถาโถมเข้าใส่ ความรู้สึกผิดที่หลงเชื่อคำกล่าวหาว่าไม่น่าอ่านและละทิ้งหนังสือดี ๆ เล่มหนึ่งไว้นานเป็นปี ๆ ก็เกิดขึ้น เสียดายเวลาที่เสียไปกับการไม่ได้ใส่ใจหนังสือเล่มนี้ให้เร็วกว่านี้ แต่... ก็คงไม่ช้าเกินไป... อย่างน้อยวันนี้หวานเย็นก็ได้อ่าน

   เรื่องราวของอาจารย์สองคนในโรงเรียนที่แสนโด่งดังและหรูหราในวอชิงตัน ดี.ซี. ' แซม กอร์ดอน ' และ ' ลอรา ซิลเวอร์ ' ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงทั้งมุมมองความคิด สไตล์การดำเนินชีวิต ความชื่นชอบส่วนตัว

   หวานเย็นชื่นชอบการเปิดประเด็นเพื่อโต้แย้งทางมุมมองของแซมและลอรานะคะ ชื่นชอบและชื่นชมในการวิจารณ์ ถกเถียงเพื่อนำเสนอความคิดที่แตกต่างอย่างมีเสน่ห์ ชื่นชอบแนวความคิดที่โดดเด่น เป็นตัวของตัวเอง ไม่ซ้ำใครของแซม อย่างเช่น การดูโทรทัศน์

   ' การดูโทรทัศน์เป็นการเสียเวลาโดยสิ้นเชิง เป็นการเสพติดแบบลับ ๆ มันสูบเอาทุกอย่างในความเป็นมนุษย์ไปจากเราแล้วเปลี่ยนเราให้กลายเป็นผีดิบซอมบี้ที่คอยมุดจากช่องนั้นไปช่องนี้เพื่อหนีความจริงของชีวิต

   ...

   ...มีใครกี่คนที่ดูโทรทัศน์คืนละหนึ่งชั่วโมงบ้าง สองชั่วโมง สามเอ้า ถ้าคิดว่าจะลงแดงไหมถ้าไม่ได้ดู เธอคิดว่าชีวิตจะดีขึ้นไหมถ้าลงแดง

   ...

   เลิกโทรทัศน์แล้วเด็ก ๆ จะเริ่มสำรวจโลกมากกว่าจะนั่งโง่งมอยู่หน้ากล่องดูดวิญญาณตรงมุมห้อง เลิกโทรทัศน์แล้วคนในครอบครัวจะหันหน้ามาคุยกันในโต๊ะอาหาร เลิกโทรทัศน์แล้วคนจะเริ่มอ่านหนังสืออีกครั้ง เลิกโทรทัศน์แล้วคนเราจะสามารถเรียนรู้ที่จะนั่งและคิด อันเป็นศิลปะที่สูญหายไปในยุคของโทรทัศน์

   ...

   ...

   ...โทรทัศน์ทำลายความดีงามของมนุษย์ เธอคิดว่ามันไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไร ถูกต้อง มันไม่ใช่เรื่องใหญ่ และนั่นคือโศกนาฏกรรม หลังจากเฝ้าจ้องดูเอ็มวี ทัศนคติของเธอที่มีต่อผู้หญิงก็ต่ำลง ถ้าเธอดูการฆาตกรรมในโทรทัศน์มาก ๆ เข้า ฆาตกรรมในโลกจริงก็จะกลายเป็นแค่เรื่องของความซวยทั่ว ๆ ไปมากกว่าจะเป็นโศกนาฏกรรมที่สุดหยั่ง


   และนี่เป็นเพียงหนึ่งความคิดเห็นที่น่าสนใจของแซมเองนะคะ อยากรู้ว่าความคิดแหวกแนวแต่น่าสนใจของผู้ชายคนนี้ยังมีอะไรบ้างต้องลองหยิบหัวใจล่องหน กลรักเศรษฐศาสตร์มาอ่านค่ะ แล้วคุณจะรู้ว่าในบางมุมมองที่คุณเคยมองข้ามนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจซ่อนเร้นอยู่มากน้อยแค่ไหน







 

Create Date : 28 กันยายน 2553
7 comments
Last Update : 28 กันยายน 2553 17:15:30 น.
Counter : 1454 Pageviews.

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

ทักทายจร้า

 

โดย: แม่ออมบุญ 28 กันยายน 2553 17:45:26 น.  

 

ตอนเราได้อ่านครั้งแรก (เช่ามา) ก็รู้สึกว่าเรื่องมันงงๆ สับสน อ่านไม่จบก็คืนไป
ต่อมาเห็นที่ร้าน 50% ก็เลยซื้อมาอ่านใหม่อีกครั้ง
เออ...เข้าท่านะ แหวกแนว แต่ก็ยังไม่ค่อยเกทอยู่ดี
เอาไว้อ่านใหม่อีกรอบละกัน

 

โดย: นัทธ์ 28 กันยายน 2553 21:39:11 น.  

 

คุณแม่ออมบุญ : ทักทายเช่นกันค่ะ

คุณนัทธ์ : หวานเย็นก็อยากอ่านอีกรอบนะคะ ทั้ง ๆ ที่เก็ทแล้วอะค่ะ

 

โดย: หวานเย็นผสมโซดา 29 กันยายน 2553 13:09:43 น.  

 

อ่านแล้วน่าสนใจแฮะ

พี่มีทัศนคติต่อโทรทัศน์ในบางเรื่องไม่ค่อยดีนักเช่นกันจ้ะ

 

โดย: สาวไกด์ใจซื่อ 29 กันยายน 2553 15:39:54 น.  

 

คุณสาวไกด์ใจซื่อ : ไม่ใช่แค่เรื่องโทรทัศน์นะคะ แซม กอร์ดอน ยังมีมุมมองที่ค่อนข้างน่าสนใจมานำเสนอให้ได้อ่านอีกเพียบเลยค่ะพี่เต้ย หวานเย็นหยิบมานำเสนอแค่บางส่วนเองค่ะ

 

โดย: หวานเย็นผสมโซดา 30 กันยายน 2553 13:17:50 น.  

 

น่าสนใจนะค่ะ แต่ไม่รู้อ่านแล้วจะเข้าหัวเรามากขนาดไหน
หัวยิ่งทึบๆอยู่ด้วย

>>>ขอให้สอบผ่านไปได้ด้วยดีนะค่ะ คุณหวานเย็นฯ <<<

 

โดย: กล้ายางสีขาว 30 กันยายน 2553 18:18:11 น.  

 

คุณกล้ายางสีขาว : แหม ! ต้องเข้าสิคะ ไม่มากก็น้อยล่ะค่ะคุณบอล

 

โดย: หวานเย็นผสมโซดา 1 ตุลาคม 2553 11:47:19 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


หวานเย็นผสมโซดา
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 34 คน [?]




คนขี้เหงา...เจ้าน้ำตา
ใช้ชีวิตเหว่ว้าบนโลกกว้าง
ท่ามกลางความวุ่นวาย...สบายดี
New Comments
Friends' blogs
[Add หวานเย็นผสมโซดา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.