คืนกำไรให้ชีวิต เพื่อพิชิตไปในโลกกว้าง
space
space
space
<<
มิถุนายน 2564
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
space
space
17 มิถุนายน 2564
space
space
space

วรรคทองในวรรณคดี
  วรรคทองในวรรณคดี

   คำว่า  วรรคทอง  หมายถึง  ข้อความที่เป็นจุดเด่น หรือ ไพเราะ หรือ
อ่านแล้ว ทำให้คนอ่านเกิดความรู้สึกคล้อยตาม
มีอารมณ์ร่วมกับผู้เขียน  ซึ่งวรรณคดีไทยและวรรณกรรมไม่ว่าจะเป็น
ร้อยแก้วหรือร้อยกรองก็ตาม  ก็จะต้องมีข้อความ
ที่เป็นลักษณะดังกล่าวไม่มากก็น้อยแน่นอน ค่ะ 

   บล็อกวันนี้  ฉันขอเสนอ วรรณคดีไทยที่น่าสนใจเรื่องหนึ่ง ที่ฉันคิด
ว่า มีวรรคทอง ที่น่าสนใจอยู่มากมายค่ะ  เรื่องที่จะนำเสนอ
บล็อกนี้  ก็คือ  "เพลงยาวถวายโอวาท"  
  ลักษณะของเพลงยาวจะคล้ายกับกลอนแปดมาก แต่มีลักษณะเด่น
อยู่ 2 ประการคือ การขึ้นต้นบทด้วยวรรครับ และในบทสุดท้ายจะลงด้วยคำว่าเอย และนิยมใช้คำเป็นลงท้ายวรรคเพื่อให้เกิดความไพเราะ
ส่วนฉันทลักษณ์ของกลอนเพลงยาวก็ใช้รูปแบบเดียวกันกับกลอน
แปด ลักษณะเด่นเช่นนี้ เหมือนกับ
ลักษณะของวรรณกรรมประภท "นิราศ"  เพียงแต่ การแต่งนิราศ  ต้องมี
การเดินทาง  มีการจากนางอันเป็นที่รักไป 
พบเจอสิ่งใดระหว่างเดินทาง  ก็จะนำมาพรรณนาให้เข้ากับเข้ากับตัว
เองและนางอันเป็นที่รักที่ได้จากมา  เช่น 
วรรณคดีเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย  พระมหาอุปราชได้พรรณนาเมื่อเจอ
ดอกสายหยุด ในระหว่างเดินทัพมารบกับไทย 


       สายหยุดหยุดกลิ่นฟุ้ง   ยามสาย.
 สายบ่หยุดสุดเสน่ห์หาย      ห่างเศร้า. 
              กี่คืนกี่วันวาย                 วางเทวษ รา​แม่.
      ถวิลทุกขวบค่ำเช้า               หยุดได้ฉันใด
 

   เมื่อเจอต้นสายหยุด ก็นำมาพรรณนาเข้ากับอารมณ์ของตน ว่า ดอก
สายหยุดนั้น  จะหอมช่วงเช้า พอสาย ความหอมนั้นก็จะหายไป
แต่ความรักของตนที่มีต่อนางอันเป็นที่รัก ไม่มีวันสิ้นสุดไปไม่ว่าจะเป็น
ช่วงเวลาใดก็ตาม  เมื่ออ่านแล้ว  คนที่ได้รับการกล่าวถึง
ย่อมเกิดความรู้สึกชื่นใจ สุดปลื้ม แน่นอน  จึงถือว่า  ร้อยกรองบทนี้
เป็น "วรรคทอง" ข้อความหนึ่ง ในเรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย ค่ะ 

ต่อไป  ขอแนะนำวรรณคดีไทย เรื่อง เพลงยาวถวายโอวาท  ค่ะ 

ผู้แต่ง  คือ  ท่านสุนทรภู่  ครูกวีสี่แผ่นดิน  ไม่ต้องเล่าประวัตินะคะ ทุก
คนคงรู้จักท่านดีแล้วว่า ท่านเป็นกวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ผู้มีชีวิตพลิกผัน  ชีวิตเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในสมัย ร. 2  ตกอับมากที่สุด
ในสมัย ร. 3 และสุดท้ายของชีวิตดีขึ้นอีกครั้งใน สมัย ร. 4 ค่ะ 

ลักษณะคำประพันธ์   คือ เป็นเพลงยาว กลอนแปด ดังที่ได้อธิบายไป
ข้างต้นแล้ว  

ความเป็นของวรรณคดีเรื่องนี้     ขณะเมื่อเป็นพระอาจารย์ถวายอักษร
แด่เจ้าฟ้ากลางและเจ้าฟ้าปิ๋ว
พระโอรสในเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี เชื่อว่าประพันธ์ขึ้นราวปี พ.ศ.
2371-72  (ซึ่งเป็นช่วงปลายรัชกาลที่ 3  เป็นช่วงที่ชีวิตเริ่มดีขึ้น ค่ะ  )

ลักษณะเนื้อหาโดยย่อ เนื้อหาเป็นคำสอนที่น่าสนใจ รวมถึงประเพณี
เก่าแก่ของไทยหลายอย่าง เช่น การแต่งกาย
การล้างหน้า การตัดผม เป็นต้น มีวรรคทองมากมายปรากฏอยู่ใน
เนื้อหาสาระ ค่ะ



วรรคทองในเรื่อง เพลงยาวถวายโอวาท ที่ฉันคัดลอกมาฝาก  ค่ะ 

      "อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก     แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย
แม้นเจ็บอื่นหมื่นแสนจะแคลนคลาย   เจ็บจนตายนั้นเพราะเหน็บให้
เจ็บใจ"


   วรรคทอง กลอนแปดบทนี้  ฉันคิดว่า  น้อยคนนักที่จะไม่เคยได้ยิน 
เป็นบทที่มีความไพเราะในการเลือกสรรคำ
มาใช้  มาเปรียบเทียบ  ใช้คำง่าย ๆ ไม่ต้องแปลความ ตรงประเด็น
อ้อยนั้น เมื่อเคี้ยวและได้น้ำหวานจากอ้อยไปแล้ว
กากที่เหลือ ก็ต้องคลายทิ้งเพราะหมดความหวานแล้ว  แต่สำหรับคำ
พูดที่ไพเราะ  อ่อนหวาน ฉอเลาะ มันไม่ได้
หายไปเลย  ส่วนคำพูดที่เหน็บแนม เสียดสี ดูถูก ที่ได้รับนั้น มันเจ็บ
ปวด เจ็บใจยากที่จะลืมได้  ก็เป็นข้อคิดอย่างหนึ่งว่า
การสู้รบ หรือการต่อสู้กัน  ไม่จำเป็นต้องใช้อาวุธเสมอไป แค่คำพูด ก็
อาจจะใช้เป็นอาวุธทำให้ศัตรูเจ็บปวดกระอักเลือดตายได้

ตัวอย่าง วรรคทอง  ต่อไป  
         
"อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ     ประเสริฐสุดซ่อนใส่เสียในฝัก
  สงวนคมสมนึกใครฮึกฮัก            จึงค่อยชักเชือดฟันให้บรรลัย

     
วรรคทอง  บทนี้   ถือเป็นบทที่มึความหมายลึกซึ้ง  สอนใจ ให้เห็น
ความสำคัญของวิชาความรู้  แต่ถึงจะมีความรู้มากมาย
ก็ไม่ต้องคุยโตโอ้อวดให้คนเขาหมั่นไส้  เปรียบประดุจดาบที่คมกริบก็
ให้มันอยู่ในฝักดาบ  ยามจำเป็นจึงนำออกมาใช้ เหมือน
คนที่มีความรู้มากมาย เมื่อถึงตอนจำเป็น  จึงนำความรู้ออกมาใช้ต่อสู้
กับศัตรูให้พ่ายแพ้ไปอย่างราบคาบ

ตัวอย่าง   วรรคทอง  ต่อไป 

               "อนึ่งบรรดาข้าไทที่ใจซื่อ      จงนับถือถ่อมศักดิ์สมัครสมาน
          อนึ่งคนมนต์ขลังช่างชำนาญ        แม้นพบพานผูกไว้เป็นไมตรี
          เขาทำชอบปลอบให้น้ำใจชื่น        จึงเริงรื่นรักแรงไม่แหนงหนี
          ปรารถนาสารพัดในปฐพี              เอาไม่ตรีแลกได้ดังใจจง"

       กลอนสองบทนี้  ถือเป็นวรรคทองของวรรณคดีเรื่อง เพลงยาว
ถวายโอวาทที่ดี เหมาะที่ยกมาเป็นวรรคทองของเรื่อง ค่ะ 
เพราะ  เป็นคำสอนให้คนที่ศักดิ์สูง ต้องรู้จักถ่อมตนกับข้าที่ซื่อสัตย์
ภักดีต่อเรา   หรือถ้าได้พบคนเก่ง ก็ต้องรู้จัก
คบหาผูกไมตรีไว้ใครที่ทำดีกับเราก็ต้องมีน้ำใจให้เขาเป็นการตอบแทน
จึงจะคบกันได้ยั่งยืน  สอนเรื่องที่เราต้องการสิ่งใด 
เราต้องมีต้องใช้การผูกมิตรกับคนที่เราต้องการความช่วยเหลือ
จึงจะสำเร็จสมดังประสงค์ 

    วรรณคดีเรื่องนี้  ยังมีคำสอนที่เป็นคติเตือนใจอีกมากมาย  ยังมีเรื่อง
ประเพณีเก่าแก่ของไทยหลายอย่าง
เช่น การแต่งกาย การล้างหน้า การตัดผม ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องของความ
เชื่อ  เช่น ไม่ควรตัดผมในวันไหน 
การแต่งกาย แต่ละวัน ควรเป็นสีอะไร เป็นต้น ตื่นเช้าขึ้นมาต้องล้าง
หน้า  เพราะราศีอยู่ที่หน้า  ก็เป็นการสอนทางอ้อม
เพราะถ้าไม่ล้างหน้าล้างตา ให้สะอาดสะอ้าน จึงจะมีคนมอง (มีราศี)
เป็นต้น มีวรรคทองมากมายปรากฏอยู่
ในเนื้อหาสาระ ค่ะ แต่สำหรับบล็อกครั้งนี้ ฉันขอยกตัวอย่างมาเพียงเท่านี้ ค่ะ  สวัสดี ค่ะ 



 



Create Date : 17 มิถุนายน 2564
Last Update : 17 มิถุนายน 2564 22:22:39 น. 36 comments
Counter : 17824 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณhaiku, คุณสองแผ่นดิน, คุณSweet_pills, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณกะว่าก๋า, คุณ**mp5**, คุณtuk-tuk@korat, คุณนีโอ Positive, คุณnewyorknurse, คุณเริงฤดีนะ, คุณtoor36, คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณหอมกร, คุณThe Kop Civil, คุณทนายอ้วน, คุณบาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน, คุณkae+aoe, คุณkatoy, คุณmariabamboo


 
ขอบคุณที่นำมาให้อ่านค่ะ


โดย: นกสีเทา วันที่: 17 มิถุนายน 2564 เวลา:23:52:17 น.  

 
วรรคทองที่ไพเราะ ลึกซึ้ง มีคติสอนใจ
เวลาผ่านไปนานแค่ไหน วรรคทองนั้นก็ยังคงคุณค่า
ให้ประโยชน์กับผู้อ่านนะคะอาจารย์

ขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะ



โดย: Sweet_pills วันที่: 18 มิถุนายน 2564 เวลา:0:31:43 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับอาจารย์

นี่คือความอัจฉริยะของกวี
เห็นดอกสายหยุด
ก็สามารถเขียนเป็นกวีรักออกมาได้อย่างสวยงาม

"อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก"

บทกวีนี้ก็ไพเราะงดงาม
มีสัมผัสนอกสัมผัสในครบถ้วน
ท่านสุนทรภู่สมกับเป็นกวีระดับโลกจริงๆครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 18 มิถุนายน 2564 เวลา:6:21:41 น.  

 
แวะมาเยี่ยมและส่งกำลังใจครับ


โดย: **mp5** วันที่: 18 มิถุนายน 2564 เวลา:9:47:48 น.  

 
สวัสดีครับอาจารย์

จากใจคนไม่ค่อยตั้งใจเรียนภาษาไทยตั้งแต่ประถมนะครับ 55555
ผมท่อนได้หมดเลยยยยยยย หุยนี่ก็ตกใจตัวเอง ไม่คิดเหมือนกันว่าตัวเองจะยังจำได้ครับ แต่ตอนเรียนคุณครูบังคับท่อน
พ่อก็ชอบให้ท่อนครับ
ที่จำได้แบบ...เสียงพ่อก้องในหูเลยนี่ก็
“พระโหยหวนครวญเพลงวังเวงจิต
ให้คนคิดถึงถิ่นถวิลหวัง
ว่าจากเรือนเหมือนนกมาจากรัง
อยู่ข้างหลังก็จะแลชะแง้คอย”

แล้วก็บทที่สุดยอดหนุ่มเจ้าชู้อย่างพระอภัย ที่สอนพี่พรหมณ์ให้ใจแตกที่ว่า
"ในเพลงปี่ว่าสามพี่พราหมณ์เอ๋ย
แม้นไม่เคยชมชิดพิศมัย
ถึงร้อยรสบุปผาสุมาลัย
จะชื่นใจเหมือนสตรีไม่มีเลย"

ผมละชอบความเพลย์บอยของพระอภัยละครับ 555555
อาจารย์คงบอก ไอ่นี่มันอะไรของมันนะ 5555555


โดย: จันทราน็อคเทิร์น วันที่: 18 มิถุนายน 2564 เวลา:16:10:49 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

ถ้าเขาไม่รุกรานคนอื่นก่อน
ทหารเจ็ดหมื่นนาย
ก็ไม่ต้องมาเสียชีวิตฟรีๆนะครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 18 มิถุนายน 2564 เวลา:19:04:17 น.  

 
สวัสดีค่ะอาจารย์
ที่เขียนสีแดง ได้ท่องจำสอบค่ะ
หนูตุ๊ก


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 18 มิถุนายน 2564 เวลา:20:26:14 น.  

 

สวัสดีค่ะอจ.

มาอ่าน วรรคทอง
ได้ความรู้ด้วยค่ะ



โดย: newyorknurse วันที่: 19 มิถุนายน 2564 เวลา:6:00:14 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับอาจารย์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 19 มิถุนายน 2564 เวลา:7:06:27 น.  

 
สวัสดีค่ะอาจารย์
ตอนนี้ก็เป็นเหมือน ... เฝ้าบ้านนะคะอาต่รย์


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 19 มิถุนายน 2564 เวลา:14:20:44 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์


สมัยอยุธยา
เราก็พ่ายแพ้เพราะผู้นำไม่ดี ไม่มีความสามารถ
ทำให้ประชาชนต้องเดือดร้อนตามไปด้วย

ผู้นำมีส่วนสำคัญจริงๆครับ
ในการแก้ปัญหาและผ่านวิกฤตของบ้านเมือง



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 19 มิถุนายน 2564 เวลา:15:05:54 น.  

 

ขอบพระคุรอาจารย์สุวิมลค่ะ
ย้อนอมตะวรรรคดีของท่านสุนทรภู่
อันแสนไพเราะยิ่ง
มาให้เราๆได้รำลึกถึง



โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 19 มิถุนายน 2564 เวลา:18:57:24 น.  

 
โดยรวมคือจุดเด่นที่คนมักจะจดจำได้นั่นเอง อันที่จริงนอกจากวรรณคดีแล้ว การพูดทั่วไปของบุคคลที่มีชื่อเสียงบางครั้งก็มีวรรคทองด้วยเหมือนกันครับ


โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 19 มิถุนายน 2564 เวลา:22:16:45 น.  

 
ขอบพระคุณอาจารย์สำหรับกำลังใจนะคะ
พอดีมะเขือเปราะมีอยู่แล้วต๋าเลยนำมาใช้
แต่ต๋าว่ามะเขือยาวได้ความนุ่มนวลกลมกล่อมกว่าค่ะ

ขอให้เราได้ฉีดวัคซีนเดือนหน้าตามกำหนดนะคะอาจารย์
อาจารย์นอนหลับฝันดีคืนนี้ค่ะ



โดย: Sweet_pills วันที่: 19 มิถุนายน 2564 เวลา:23:06:47 น.  

 


โดย: โอน่าจอมซ่าส์ วันที่: 20 มิถุนายน 2564 เวลา:3:43:47 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับอาจารย์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 20 มิถุนายน 2564 เวลา:6:42:05 น.  

 
เจ็บใจจนตายเนี่ยเข้าข่ายผูกโกรธ
ไม่ดีหรอกนะคะอาจารย์ สงสัยอยากกลับไปสอนแล้วนะคะ



โดย: หอมกร วันที่: 20 มิถุนายน 2564 เวลา:7:25:42 น.  

 
สวัสดีครับอาจารย์
ภาษาไทยผมว่ายากมากที่สุดในโลกภาษานึงเลยนะครับ ละเอียดมาก ขอชื่นชมครูภาษาไทย ศิลปิน กวี ทุกท่านเลยครับ อัจฉริยะมาก ๆ ตอนเรียนภาษาไทยเคยท่องเหมือนกันครับ ที่ผมจำแม่น คือ แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ ครับ


โดย: The Kop Civil วันที่: 20 มิถุนายน 2564 เวลา:11:05:47 น.  

 
วรรคทอง ส่วนใหญ่แล้วเราจะท่องจำกันติดปากครับ แต่ไม่ทราบว่ามาจากวรรณคดีเรื่องอะไร


เด็กสมัยเก่าอย่าบอลส่วนใหญ่จะท่องจำวรรคทองไว้สอบเยอะครับ อิอิอิ


โดย: ทนายอ้วน วันที่: 20 มิถุนายน 2564 เวลา:12:12:48 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

ตอนเด็กผมเคยกลัวผีครับ
เพิ่งมาเลิกกลัวได้ตอนโต
บางอย่างที่เรากลัว
จริงๆแล้วถ้าเราเข้าไปดูมันใกล้ๆ
ความกลัวก็จะค่อยๆหายไปได้เหมือนกันนะครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 20 มิถุนายน 2564 เวลา:13:12:23 น.  

 
เวลาดูซีรีย์เกาหลีต้องหักห้ามใจครับ บอลจะตั้งใจไว้เลยว่าจะดูกี่ตอนๆก็ดูเท่าที่ตั้งใจไว้ ถ้ามีเหตุจะต้องหยุดไว้ก่อนจะท่องไว้ในใจว่า "มันก็อยู่ในอินเตอร์เนทนั่นแดหละ มันไม่ไปไหน เดี๋ยวค่อยมาดูก็ได้" อิอิอิ


โดย: ทนายอ้วน วันที่: 20 มิถุนายน 2564 เวลา:15:08:38 น.  

 
สวัสดีค่ะอาจารย์สุวิมล..

วรรณคดีไทย..สอนเรื่องราวมากมายคะ..

ชื่นชมคะ...



โดย: อ้อมแอ้ม (คนผ่านทางมาเจอ ) วันที่: 20 มิถุนายน 2564 เวลา:20:58:33 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับอาจารย์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 21 มิถุนายน 2564 เวลา:5:43:52 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

ผมเห็นด้วยกับทรรศนะในเรื่องความรัก
ที่อาจารย์เม้นท์ไว้มากๆเลยครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 21 มิถุนายน 2564 เวลา:19:51:54 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับอาจารย์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 22 มิถุนายน 2564 เวลา:6:21:14 น.  

 
อ่านวรรัณคดีไทย
ได้ความรู้
มีความสั่งสอนผ่านมาอ้อมๆ
แถมทราบขนบธรรมเนียมวัฒนธรรม
และความนิยมในยุคนั้นๆ


โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 22 มิถุนายน 2564 เวลา:8:31:14 น.  

 
สวัสดีวันอังค่รครับ วันนี้ที่นนท์ฟ้าใสมาก เลยซักผ้าไปหนึ่งยกครับ


โดย: ทนายอ้วน วันที่: 22 มิถุนายน 2564 เวลา:11:09:35 น.  

 
ส่วนใหญ่จะมีคติสอนใจแทรกอยู่ แค่คนอ่านจะตีความหมายออกรึไม่
ขอบคุณค่า


โดย: บาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน วันที่: 22 มิถุนายน 2564 เวลา:12:46:31 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

การยอมรับความจริงนั้นยากจริงๆครับ
แต่ถ้ารับได้ ผมว่าความทุกข์ก็หายไปครึ่งนึงทันทีเหมือนกัน



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 22 มิถุนายน 2564 เวลา:13:44:12 น.  

 
ขอบคุณครับอาจารย์


โดย: The Kop Civil วันที่: 22 มิถุนายน 2564 เวลา:23:44:34 น.  

 
สวัสดียามเช้าครับอาจารย์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 23 มิถุนายน 2564 เวลา:5:45:13 น.  

 
บอลชอบถ่าบรูปโบราณสถานครับ เวลาไปถ่ายรูปวัดร้างๆ คุณเปี๊ยกต้องคอยกันหมาเจ้าถิ่นที่อยู่แถวนั้นให้ อิอิอิ


โดย: ทนายอ้วน วันที่: 23 มิถุนายน 2564 เวลา:15:50:42 น.  

 
ขอบคุณสำหรับกำลังใจให้บล็อก - พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ พระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม ด้วยนะครับ


โดย: ทนายอ้วน วันที่: 23 มิถุนายน 2564 เวลา:15:51:49 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

ผมเขียนถึงความเบื่อหน่าย
เชื่อว่าคนทำธุรกิจส่วนใหญ่ตอนนี้
คงจะรู้สึกแบบนี้ครับอาจารย์ 555



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 23 มิถุนายน 2564 เวลา:21:19:53 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ครับอาจารย์



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 24 มิถุนายน 2564 เวลา:6:18:27 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคะแนนโหวตครับอาจารย์

ที่น่าเสียดายคือ
หลังจากรุ่นผมฝึกสอนเสร็จ
รุ่นน้องถัดมาก็ไปฝึกสอนที่วิทยาลัยช่างศิลป์แห่งนี้
แล้วก็ทำเหมือนที่รุ่นพี่ทำไว้
คือไม่รับผิดชอบในการฝึกสอน
แย่จริงๆครับ



โดย: กะว่าก๋า วันที่: 24 มิถุนายน 2564 เวลา:12:47:54 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

อาจารย์สุวิมล
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 46 คน [?]




เป็นครูสอนภาษาไทยที่เกษียณอายุราชการแล้ว สนใจเรื่องการเขียนหนังสือให้ความรู้ ชอบการท่องเที่ยว หากท่านที่เข้ามาชมและอ่านแล้ว มีความสนใจและต้องการสอบถามเรื่องความรู้ด้านภาษาไทย ถ้ามีความสามารถจะให้ความรู้ได้ ก็ยินดีค่ะ

http://i697.photobucket.com/albums/vv337/dd6728/color_line17.gif
space
space
space
space
[Add อาจารย์สุวิมล's blog to your web]
space
space
space
space
space