ขุมทรัพย์ 36 ล้านล้านบาท จ.ศรีสะเกษ

จังหวัดศรีสะเกษมีผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด 33,714 ล้านบาท ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 29,000 บาท/ปี เป็นอับดับที่ 73 ของประเทศ สภาพเศรษฐกิจของประชากรในจังหวัด (2552)มาจากการประกอบอาชีพทางการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากประชากรจังหวัดศรีสะเกษส่วนใหญ่ ไม่น่าเชื่อว่าดินแดนแห่งนี้มีความมั่งคั่งร่ำรวยมาแต่โบราณจนมีทรัพยากรมากเพียงพอในการสร้างปราสาทหินเขาพระวิหารอย่างอลังการเหนือดินแดนอื่น แต่อนิจจา!การไม่รู้ว่าผืนแผ่นดินนี้มีจุดแข็งอะไรบ้างทำให้จังหวัดและรัฐบาล ขาดวิสัยทัศน์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมในทรัพยากรที่ตนเองมีอยู่ ส่งผลให้ประชาชนยากจนติดอันดับท้ายๆของประเทศไทย

จังหวัดศรีสะเกษตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 568 กิโลเมตร มีพื้นที่ 9,394.96 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดยโสธร

 

ทิศใต้ ติดต่อกับ ประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย โดยมีเทือกเขาดงรักเป็นแนวกั้น เขตแดน 

 

ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดอุบลราชธานี 

 

ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดสุรินทร์ 

 

ศรีสะเกษ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคอีสานตอนล่างที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน เคยเป็นชุมชนที่มีอารยธรรมรุ่งเรืองมานับพันปี นับตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ และมีชนเผ่าต่าง ๆ อพยพ มาตั้งรกรากในบริเวณนี้ ได้แก่ พวกส่วย ลาว เขมร และเยอ ศรีสะเกษเดิมเรียกกันว่า เมืองขุขันธ์ เมืองเก่าตัง้อยู่ที่บริเวณบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมดงลำดวน ตำบลดวนใหญ่ อำเภอวังหิน ในปัจจุบัน ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเมืองเมื่อ พ.. 2302 สมัย กรุงศรีอยุธยา โดยมีหลวงแก้วสุวรรณซึ่งได้รับบรรดาศักดิเ์ป็นพระยาไกรภักดีเป็นเจ้าเมืองคนแรก ล่วง ถึงรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ย้ายเมืองขุขันธ์มาอยู่ที่บ้านเมืองเก่า ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมืองศรีสะเกษใน ปจั จุบัน แต่ยังคงใช้ชื่อว่าเมืองขุขันธ์จนถึง พ.. 2481 จึงเปลี่ยนเป็นจังหวัดศรีสะเกษ   ตั้งแต่นั้นมา                                                                                                          (ที่มาข้อมูล: สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดศรีสะเกษtp://sisaket.mots.go.th) 

 

แร่รัตนชาติ

 

จังหวัดศรีสะเกษเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่เป็นแหล่งพลอยที่สำคัญ แร่พลอยที่พบคือ แซฟไฟร์ ทับทิม และยังมีพลอยเพทาย และโกเมน พื้นที่ที่พบพลอยอยู่ในเขตอำเภอขุนหาญและกันทรลักษ์ ต่อเนื่องเข้าไปจนถึงเขตอำเภอน้ำขุ่นและน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี   

 

พลอยที่พบในบริเวณจังหวัดศรีสะเกษและอุบลราชธานีที่มีค่าที่สุดคือ ทับทิม และแซฟไฟร์ และรองลงไปคือ พลอยเพทาย ( zircon ) ที่พบจำนวนมากกว่าไม่ต่ำกว่า ยี่สิบเท่าตัว และพบโกเมนบ้างเล็กน้อย มีพลอยอื่น ๆ เป็นต้นว่า พลอยน้ำค้าง (sanidine) โอลิวีน (olivine) 

 

ผลการจำแนกเขตทรัพยากรแร่ 

 

การจำแนกเขตทรัพยากรแร่เป็นการนำข้อมูลพื้นที่แหล่งแร่ทุกประเภทที่พบในจังหวัดศรีสะเกษ (ยกเว้นแหล่งทรายก่อสร้าง) มาพิจารณาร่วมกับพื้นที่ที่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดทางกฎหมาย พื้นที่ทรัพยากรแร่ในจังหวัดศรีสะเกษมีเนื้อที่รวม 2,161.16 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 24.23 ของเนื้อที่ทั้งหมดของจังหวัดศรีสะเกษ มีมูลค่าของแหล่งแร่รวม 80.87 ล้านล้านบาทเมื่อนำมาพิจารณาร่วมกับพื้นที่ที่อยู่ภายใต้ข้อจำกัดทางกฎหมายพบว่า พื้นที่แหล่งแร่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาใช้ประโยชน์ได้มีเนื้อที่ 1,168.63 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 13.22 ของเนื้อที่ทั้งหมด ของจังหวัด มีมูลค่าของแหล่งแร่รวม 36.34 ล้านล้านบาท

 

ขอบคุณข้อมูลจาก  //www.dmr.go.th/download/digest/Srisaket.pdf

 

 

 

 

 




Create Date : 23 กรกฎาคม 2555
Last Update : 23 กรกฎาคม 2555 11:31:36 น.
Counter : 3954 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

surya21
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 50 คน [?]



New Comments
กรกฏาคม 2555

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
16
29
 
 
All Blog