Group Blog
 
 
พฤษภาคม 2554
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
13 พฤษภาคม 2554
 
All Blogs
 

รู้จักศาลโลก-กรณีปราสาทพระวิหาร



จากกรณีที่ ศาลโลก (ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ - International Court of Justice: ICJ) ได้ออกแถลงคำขอของกัมพูชาในกรณีปราสาทพระวิหาร เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ //www.icj-cij.org เมื่อวันที่ 2 พ.ค.2554 โดยมีเนื้อหาสำคัญ 3 ข้อ คือ

1.กัมพูชาได้ยื่นร้องต่อศาลโลกให้มีการออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราว และให้ไทยถอนทหารออกจากพื้นที่พิพาทปราสาทพระวิหารทันที โดยไม่มีเงื่อนไข

2.ให้ยุติกิจการทางการทหารของไทยทุกประเภทในพื้นที่พระวิหาร

3.เรียกร้องให้ไทยหยุดกิจการดำเนินการใดๆที่จะเป็นการแทรกแซงสิทธิของกัมพูชา



นอกจากนี้คำร้องของกัมพูชายังระบุอีกว่า การปฏิเสธอธิปไตยเหนือพื้นที่นอกปราสาท รวมถึงพื้นที่โดยรอบ เท่ากับเป็นการระบุว่า คำตัดสินของศาลโลก เมื่อปี พ.ศ. 2505 ที่ยอมรับพื้นที่ดังกล่าวของกัมพูชาเป็นคำตัดสินที่ขัดแย้งในตัวเอง เพราะเท่ากับว่าได้ปฏิเสธสิทธิของกัมพูชาเหนือตัวปราสาท ซึ่งประเทศไทยก็ไม่ปฏิเสธอธิปไตยเหนือตัวปราสาท แต่กลับให้พิจารณาพื้นที่ทั้งหมด มิใช่แค่ตัวปราสาทอย่างเดียว ทั้งๆ ที่คำตัดสินศาลโลกครอบคลุมทั้งตัวปราสาทและพื้นที่โดยรอบ



อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมีความพร้อมในการเข้าชี้แจงกรณีปัญหาข้อพิพาทปราสาทเขาพระวิหารที่กัมพูชาได้ยื่นฟ้องอุทธรณ์ต่อศาลโลก ในวันที่ 30-31 พ.ค. 2554 โดยตัวแทนฝ่ายไทยในการชี้แจงต่อศาลโลกมีจำนวน 4 คน คือ นายวีระชัย พลาดิศัย เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ และทีมกฎหมายต่างชาติอีก 3 คน (แคนาดา, ฝรั่งเศส และออสเตรเลีย) ซึ่งภายหลังจากที่ไทย-กัมพูชาได้ชี้แจงต่อศาลโลกในวันที่ 30-31 พ.ค.นี้แล้ว จากนั้นจะเป็นการส่งข้อมูลเป็นลายลักษณ์อักษรให้ศาลอีกประมาณ 4-5 เดือน ส่วนการตัดสินของศาลโลกคาดว่าจะมีขึ้นในช่วงปีหน้า



ศาลโลก (World Court) มีชื่อเป็นทางการว่า ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice: ICJ) ตั้งขึ้นโดยกฎบัตรสหประชาชาติเมื่อ พ.ศ. 2489 เป็นองค์กรหลักภายใต้องค์การสหประชาชาติ ตั้งอยู่ที่ Peace Palace กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์

ศาลโลกมีอำนาจพิจารณาตัดสินคดีใดๆ ที่เป็นข้อพิพาทระหว่างประเทศ 2 ประเทศขึ้นไป (Contentious Case) เช่นข้อพิพาทเรื่องดินแดนอาณาเขต การละเมิดอำนาจอธิปไตย ปัญหาสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ หรือแม้แต่กรณีที่เกี่ยวข้องกับเอกชนที่รัฐเป็นผู้ฟ้องแทน ฯลฯ ทั้งนี้ประเทศที่เกี่ยวข้องจะต้องยินยอมรับอำนาจศาลให้เป็นผู้พิจารณาตัดสินก่อนเท่านั้น ศาลจึงจะมีอำนาจพิจารณาตัดสินคดีนั้นได้ ปัจจุบันมีรัฐภาคีที่เป็นสมาชิกของ UN และเป็นประเทศที่ยอมรับอำนาจของศาลโลก จำนวนทั้งสิ้น 62 ประเทศ จากจำนวนสมาชิก UN ทั้งหมด 188 ประเทศ (รวมถึงสวิตเซอร์แลนด์ ที่มิได้เป็นสมาชิกของ UN แต่ยอมรับอำนาจของศาลโลก)

นอกจากนี้ศาลโลกยังมีอำนาจวินิจฉัยเพื่อให้ความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาในทางกฎหมายระหว่างประเทศ (Advisory Opinion) ใน 3 กรณีหลัก คือ

1. ตามที่สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ หรือ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ร้องขอ

2. ตามที่องค์กรอื่นภายใต้สหประชาชาติหรือองค์การชำนัญพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติร้องขอโดยได้รับการอนุมัติจากสมัชชาใหญ่

3. ตามที่ได้มีการให้อำนาจวินิจฉัยปัญหาไว้โดยสนธิสัญญา

เมื่อปี พ.ศ. 2505 ประเทศไทยและประเทศกัมพูชาได้ยอมรับอำนาจศาลให้พิจารณาตัดสินคดีปราสาทเขาพระวิหาร โดยศาลได้ตัดสินว่าบริเวณปราสาทเขาพระวิหารส่วนสำคัญถือเป็นของประเทศกัมพูชา



ผู้พิพากษาศาลโลกมีจำนวนทั้งสิ้น 15 คน โดยอยู่ในตำแหน่งคราวละ 9 ปี (จัดเลือกตั้งทุก 3 ปีเพื่อสรรหาผู้พิพากษาเข้ามาใหม่ครั้งละ 5 คน) การพิจารณาพิพากษาคดีต้องมีผู้พิพากษา 9 คนนั่งเป็นองค์คณะ ศาลจะเลือกประธานและรองประธานศาลเอง และศาลจะนั่งพิจารณาที่อื่นนอกจากสำนักงานศาลที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ก็ได้ ภาษาทางการที่ใช้ในศาลโลกคือภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส โดยประธานศาลโลกคนปัจจุบันเป็นชาวญี่ปุ่นชื่อนาย Hisashi Owada



รายชื่อคณะผู้พิพากษาศาลโลกชุดปัจจุบัน มีดังนี้

1.Hisashi Owada (ญี่ปุ่น) ประธานศาลโลก หมดวาระในปี 2012

2.Peter Tomka (สโลวาเกีย) รองประธานศาลโลก หมดวาระในปี 2012

3.Abdul G. Koroma (เซียร่า ลีโอน) สมาชิก หมดวาระในปี 2012

4.Bruno Simma (เยอรมัน) สมาชิก หมดวาระในปี 2012

5.Xue Hanqin (จีน) สมาชิก หมดวาระในปี 2012

6.Sir Kenneth Keith (นิวซีแลนด์) สมาชิก หมดวาระในปี 2015

7.Bernardo Sep?lveda Amor (เม็กซิโก) สมาชิก หมดวาระในปี 2015

8.Mohamed Bennouna (โมร็อกโค) สมาชิก หมดวาระในปี 2015

9.Leonid Skotnikov (รัสเซีย) สมาชิก หมดวาระในปี 2015

10.Joan Donoghue (สหรัฐฯ) สมาชิก หมดวาระในปี 2015

11.Ronny Abraham (ฝรั่งเศส) สมาชิก หมดวาระในปี 2018

12.Ant?nio Augusto Can?ado Trindade (บราซิล) สมาชิก หมดวาระในปี 2018

13. Abdulqawi Ahmed Yusuf (โซมาเลีย) สมาชิก หมดวาระในปี 2018

14.Sir Christopher John Greenwood (สหราชอาณาจักร) สมาชิก หมดวาระในปี 2018

15.Awn Shawkat Al-Khasawneh (จอร์แดน) สมาชิก หมดวาระในปี 2018



อ้างอิง

International Court of Justice website //www.icj-cij.org

Wikipedia website //en.wikipedia.org




 

Create Date : 13 พฤษภาคม 2554
0 comments
Last Update : 13 พฤษภาคม 2554 11:14:10 น.
Counter : 1536 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


lukpradoo
Location :
Wollongong, NSW Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






Friends' blogs
[Add lukpradoo's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.