อาทิตย์สาดส่อง..ความจริงจักปรากฎทั่วปฐพี!!!
Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2556
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
26 พฤศจิกายน 2556
 
All Blogs
 

สถานการณ์2551กับ2556จากโมเดลม็อบพธม.ยึดสนามบินถึงม็อบราชดำเนินบุกยึดสถานที่ราชการ

  ความบังเอิญในไทม์ไลน์สถานการณ์2551กับ2556จากโมเดลม็อบพธม.ยึดสนามบินถึงม็อบราชดำเนินบุกยึดสถานที่ราชการ

วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 

ลำดับเหตุการณ์สำคัญ

- นายสุเทพ นำยึดกระทรวงคลัง สำนักงบประมาณ
- ม็อบปิดล้อม ช่อง 3 โมเดิร์นไนน์ ส่วนช่อง 7 มาแล้วกลับที่ตั้ง
- ม็อบที่สตช. กับ มท. ถอนกำลังกลับมารวมตัวกับม็อบหน้า บช.น.
- ม็อบหน้าบช.น. ตรึงคนกดดันเจ้าหน้าที่
- ม็อบคปท. พยายามจะทลายแบร์ริเออร์หน้าวัดเบญฯ เข้าทำเนียบ ก่อนตัดสินใจถอยกลับที่ตั้งนางเลิ้ง
- นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ขอให้ชุมนุมตามกรอบกฎหมาย ยังไม่ใช้กฎหมายพิเศษเพิ่มเติม
- นายสุเทพ ขออาสาสมัครเดินหน้าบุกยึดกรมประชาสัมพันธ์ต่อ
- กปท.-กองทัพธรรม ชุมนุมบริเวณแยกการเมือง ยังไม่ฝ่าแนวตร.
- ศอ.รส.แจ้งความเอาผิดนายสุเทพ ฐานบุกยึดสำนักงบตัดน้ำไฟไล่ราชการ 
- สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศในประเทศไทย แถลงการที่ม็อบทำร้ายผู้สื่อข่าวเป็นการละเมิดสิทธิ
- สรยุทธ สุทัศนะจินดา นักเล่าข่าวชื่อดัง ออกมาพบม็อบเทพเทือก ที่หน้าช่อง 3 เป็นครั้งที่ 2 ชี้แจงการทำข่าวต้องเป็นกลาง ขณะที่แกนนำม็อบขอให้ผู้ชุมนุมกลับไปราชดำเนิน เพราะบรรลุจุดมุ่งหมายแล้ว
- สมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์-นักข่าวนสพ. แถลงเรียกร้องแกนนำ-ม็อบ เข้าใจการทำงานของสื่อ
- กระทรวงศึกษา, ข้าราชการมุดรั้วหนีม็อบ
- โฆษก บช.น. ชี้ สุเทพ เทือกสุบรรณ บุกยึดสำนักงบฯ อาจเข้าข่ายกบฏ
- นายสุเทพชี้รัฐบาลยิ่งลักษณ์เป็นโมฆะไปแล้ว เผยแผนตั้งคณะกรรมการประชาชน

ลำดับเหตุการณ์ ม็อบยึดสถานที่ราชการ

วันจันทร์ 25 พ.ย.2556

-10.00 น. ที่กระทรวงมหาดไทย ถนนอัษฎางค์ สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล และมวลชนจาก 14 จังหวัดภาคใต้ ประมาณ 1,000 คน นำโดยนายสุพล จุลใส นายก อบจ.ชุมพร และนายกฤษณ์ แก้วรักษ์ นายก อบต.ท่าข้าม อ.ท่าข้าม จ.ชุมพร ประธานชมรมการปกครองส่วนท้องถิ่น  เดินเท้าจากบริเวณถนนราชดำเนิน มายังถนนอัษฎางค์ ก่อนปักหลักอยู่ที่แยกสะพานช้างโรงสี หน้ากระทรวงมหาดไทย โดยแกนนำ เรียกร้องให้นายจารุพงษ์ เรืองสุวรรณ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกมาพบกับกลุ่มผู้ชุมนุม โดยมีนายจรินทร์ จักกะพาก รองปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ออกมาให้การต้อนรับ

แกนนำใช้รถขยายเสียงเป็นเวทีปราศรัยขนาดเล็กทวงถามความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับงบประมาณของหน่วยงานการปกครองส่วนท้องถิ่นที่รัฐบาลเคยสัญญาว่าจะให้16,000ล้านบาทแต่สุดท้ายได้มาเพียง2,000ล้านบาทเท่านั้นตอนนี้ภาคใต้น้ำท่วมรัฐบาลทำอะไรอยู่จึงไม่ประกาศสถานการณ์ภัยพิบัติและถามว่าพ.ร.บ.เงินกู้2ล้านล้านที่จะเอามาสร้างรถไฟความเร็วสูงนั้นคนใต้จะได้อะไรบ้าง

อีกประเด็นเป็นเรื่องการเข้ามาชุมนุมที่ถนนราชดำเนินที่ก่อนหน้านี้องค์กรปกครองท้องถิ่นได้รับหนังสือแจ้งว่าห้ามไม่ให้นายกองค์กรส่วนท้องถิ่นกำนันผู้ใหญ่บ้านเดินทางออกนอกพื้นที่และห้ามไม่ให้มาชุมนุมที่กรุงเทพแต่ทำไมยังเห็นรมว.มหาดไทยไปขึ้นปราศรัยบนเวทีเสื้อแดงได้แบบนี้เรียกว่าเป็นการกระทำสองมาตรฐานหรือไม่

ราวครึ่งชม.การปราศรัยเข้มข้นขึ้นมวลชนส่งเสียงโห่ร้องและเป่านกหวีดเสียงดังสนั่นแกนนำกล่าวเชิญชวนให้ข้าราชการกระทรวงมหาดไทยออกมาร่วมกับผู้ชุมนุมแสดงพลังต่อต้านระบอบทักษิณอย่าเกรงกลัวผู้บังคับบัญชาอยากให้ออกมาสู้ด้วยกันทำเพื่อประเทศชาติ

ต่อมากลุ่มคปท.จำนวนหนึ่งได้เข้ามาสมทบเพิ่มเติมนายจรินทร์รองปลัดกระทรวงฯเปิดทางให้ผู้ชุมนุมเดินเข้าในเขตกระทรวงฯและมอบดอกไม้เพื่อเป็นกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่และข้าราชการกระทรวงฯสถานการณ์เป็นไปด้วยความเรียบร้อย 

ทั้งนี้ผู้ชุมนุมยืนยันจะปักหลักที่หน้ากระทรวงมหาดไทยจนกว่าจะถึงเวลาเลิกงานเพื่อรอรับข้าราชการที่จะไปรวมตัวกันที่ถนนราชดำเนินพร้อมกันในเวลา16.30น.

-10.30 น. วันที่ 25  พ.ย. ที่บริเวณหน้ากองบัญชาการกองทัพไทย (ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ) ถนนแจ้งวัฒนะ  กลุ่มผู้ชุมนุมคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ดาวกระจายเดินทางมารวมตัวกันบริเวณหน้ากองบัญชาการกองทัพไทย  โดยมีทั้งกลุ่มผู้ชุมนุมที่เดินทางมาจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย  และกลุ่มพนักงานบริษัท  ข้าราชการหน่วยงานบริเวณศูนย์ราชการมาร่วมชุมนุมด้วย เช่นพนักงานบริษัท กสท.โทรคมนาคม จำกัด  หรือ CAT  บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน)  โดยมี นายสกลธี  ภัททิยกุล เป็นแกนนำฯ จากนั้นได้อ่านแถลงการณ์เรียกร้องให้ทหารออกมาต่อสู้เคียงข้างประชาชน โดยจะให้เวลาทหารในการตัดสินใจแสดงท่าทีภายใน 3 วัน พร้อมประกาศยืนยันจะมีการยกระดับชุมนุมทุกวัน ก่อนจะร่วมกันร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี มอบธงชาติ และมอบดอกกุหลาบให้กับ พล.ต.ก่อเกียรติ  พิทักษ์วงศ์  เลขานุการกองบัญชาการกองทัพไทย ตัวแทนผู้รับมอบ และเป่านกหวีดโดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง

  ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังการชุมนุมที่กองบัญชาการกองทัพไทย นายสกลธีได้ประกาศให้ผู้ชุมนุมเคลื่อนขบวนไปเป่านกหวีดเพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ)และแสดงพลังต่อต้านมาตรการที่ดีเอสไอประกาศจะดำเนินคดีกับผู้ที่เป่านกหวีดทั้งนี้นายสกลธีได้ปราศรัยระบุว่าเข้าใจว่าที่ดีเอสไอตกต่ำไม่ได้เป็นเพราะเจ้าหน้าที่ดีเอสไอแต่เป็นเพราะนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ ดังนั้นขอให้เจ้าหน้าที่ดีเอสไอออกมายืนอยู่ข้างประชาชนด้วยหลังจากนั้นนายสกลธีได้ปีนรั้วเข้ามามอบธงชาติให้กับตัวแทนดีเอสไอเพื่อนำไปมอบให้นายธาริตเพื่อให้รำลึกถึงประเทศชาติ นอกจากนี้มีการปราศรัยต่อว่าที่ผ่านมานายธาริตก็เคยต่อสู้มาด้วยกันแต่เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลก็เปลี่ยนจุดยืนใช้เวลาประมาณ30นาทีก่อนจะเคลื่อนกลับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย  

-10.30 น. นายสนธิญาณ ชื่นฤทัยในธรรม ผอ.สำนักข่าวทีนิวส์ แกนนำชุมนุมต้านระบอบทักษิณ นำผู้ชุมนุมจากโรงแรมรัตนโกสินทร์ตั้งขบวนบน สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า เคลื่อนขบวนไปบริเวณกองบัญชาการกองทัพเรือเพื่อ ให้กำลังใจข้าราชการกองทัพเรือ พร้อมปราศรัยแจ้งวัตถุประสงค์ของการเดินขบวนในครั้งนี้ให้เจ้าหน้าที่ทหาร เรือได้รับทราบ ซึ่งการเดินขบวนดังกล่าวต่างได้รับความสนใจจากประชาชนตลอดสองข้างทาง พร้อมทั้งโบกมือให้กำลังใจผู้ชุมนุมที่เดินขบวนด้วย 

 พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผบ.ทร.มอบให้ พล.ร.ต.กาญจน์ ดีอุบล เลขานุการกองทัพเรือ เป็นผู้แทนรับเรื่อง ซึ่งนายสนธิญาณ ได้มอบดอกกุหลาบสีขาวและนกหวีดให้เพื่อเป็นการแสดงสัญลักษณ์ทางการเมืองว่า ประชาชนไม่ยอมรับระบอบทักษิณและรับไม่ได้กับการบริหารงานของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จึงเรียกร้องให้ทหารออกมาร่วมปกป้องประชาชน 

-13.00 น. เกิดเหตุชุลมุนขึ้นที่ม็อบหน้าบช.น. เมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมฮือจะทำร้ายนายนิค นอตสติชซ์ ผู้สื่อข่าวอิสระชาวเยอรมัน  ทำให้ตำรวจต้องเปิดทางให้นายนิคเข้าไปหลบภัย

-13.20 น. เกิดฝนตกลงมาบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยอย่างหนัก ทำให้ผู้ชุมนุมบางส่วนต้องกางร่มฟังการแจ้งข่าวจากพิธีกรบนเวที ขณะที่บางส่วนต้องไปหลบฝนอยู่ตามร่มไม้และตึกแถวบริเวณโดยรอบสถานที่ชุมนุม และระหว่างที่ฝนยังตกอยู่นั้นมีผู้ชุมนุมเป็นชายรูปร่างท้วมเกิดล้มลง เนื่องจากจับเสาต้นหนึ่งที่มีแผงควบคุมกระแสไฟฟ้าติดตั้งอยู่ ซึ่งคาดว่าน่าจะถูกไฟชอร์ต 

-13.50 น. ที่กระทรวงการคลัง ถ.พระราม 6 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ปราศรัยให้มวลชนบุกยึดกระทรวงการคลัง เพื่อไม่ให้นำภาษีของประชาชนไปใช้จ่ายอย่างปู้ยี่ปู้ยำ ล่าสุด กลุ่มมวลชนบางส่วนได้บุกเข้าไปในกระทรวง เริ่มจากส่วนของสำนักงบประมาณ

 ทั้งนี้ บริเวณพื้นที่สำนักงบฯ-กระทรวงการคลัง มีมวลชนราว 2 พันคน ส่วนนายสุเทพ กำชับมวลชนว่าอย่าเข้าไปทำลายข้าวของ พร้อมกับสั่งตัดไฟกระทรวงคลังแล้ว

 ส่วนที่หน้าสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง3แกนนำม็อบนำโดยนางทยาทีปสุวรรณอดีตรองผู้ว่าฯกทม.สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ได้นำมวลชนไปปิดลอมด้านหน้าสถานีพร้อมยื่นคำขาดให้เลิกรายงานข่าวรับใช้ระบอบทักษิณและเรียกร้องให้นายสรยุทธทัศนะจินดาพิธีกรเล่าข่าวชื่อดังออกมาพบกับมวลชนซึ่งนายวิบูลย์ ลีรัตนขจรหนึ่งในผู้บริหารสถานีออกมารับเรื่องด้วยตัวเองและระบุกับนางทยาว่าจะต่อสายคุยกับนายสรยุทธ

 ส่วนที่สถานีโมเดิร์นไนน์หรือช่อง9แยกอสทมก็มีกลุ่มม็อบอีกสายไปปิดล้อมเช่นกัน 

-14.00 น. สถานการณ์บริเวณแยกวัดเบญฯ ทวีความตึงเครียด เมื่อมวลชนคปท. ซึ่งเป็นแนวร่วมกับม็อบราชดำเนินของนายสุเทพ เข้าเผชิญหน้ากับแนวกั้นของตำรวจ ระยะห่างจากกันแค่ประมาณ 30 เมตร

 แกนนำคปท. ระบุยืนยัน ตำรวจต้องสลายแนวป้องกัน และสั่งให้มวลชนค่อยๆ เดินชิงพื้นที่ขยับทีละก้าว

-14.29 น. นายพุทธิพงษ์ เป็นตัวแทนมวลชนหน้าสตช.เข้าพบพล.ต.อ.อุดม รักศีลธรรม รองผบ.ตร. เพื่อเจรจาขอขเาพบ ผบ.ตร.

-14.30 น. ที่ด่านแยกวัดเบญฯ ผู้ชุมนุมกระชากรั้วลวดหนามออกจากแนวกั้น ถ.ศรีอยุธยา หน้าวัดเบญจมบพิตรทิ้งออกหมด โดยอ้างว่าให้เปิดทางเข้าทำเนียบฯ ก่อนปะทะแล้วตำรวจถอยแนวร่นไปหลังรถขนผู้ต้องขัง หลังแบริเออร์ โดยประกาศจะเริ่มใช้มาตรการเบาไปหนัก ล่าสุด ควบคุมตัวผู้ชุมนุมไว้ได้บางส่วน

-14.40 น. มีรายงานว่า นายสุเทพเข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงการคลัง และประกาศให้ข้าราชการกรมประชาสัมพันธ์ออกจากพื้นที่

-14.45 น. กลุ่มผู้ชุมนุม คปท. บางส่วนได้ถอยกลับไปตั้งหลักที่แยกนางเลิ้ง

 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีว่าในที่ประชุมยังไม่มีการพิจารณาประกาศใช้กฎหมายพิเศษใดๆ เพิ่มเติม ซึ่งเป็นหน้าที่ของฝ่ายความมั่นคงที่จะประเมินตามความเหมาะสมของสถานการณ์ ทั้งนี้ได้เรียกร้องให้ผู้ชุมนุมอยู่ในกรอบของกฎหมาย ไม่สร้างความเดือดร้อน โดยเฉพาะการปิดถนน เนื่องจากจะทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบในวงกว้าง โดยขณะนี้ต่างชาติได้จับตาสถานการณ์การเมืองไทยอย่างใกล้ชิด ดังนั้น จึงไม่ควรที่จะกระทำการใดๆ ที่จะทำให้กระทบกับความเชื่อมั่น ซึ่งอาจจะส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ 

-15.15 น. มีรายงานว่า ม็อบหน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กับกระทรวงมหาดไทย ประกาศถอนกำลังกลับมาสมทบที่หน้า บช.น. ซึ่งมีนายชุมพล จุลใส หรือ "ลูกหมี" อดีตส.ส.ชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ เป็นแกนนำ

-15.25 น. มีรายงานว่า นายสุเทพประกาศให้อาสาสมัครบุกไปยึดกรมประชาสัมพันธ์ต่อ ซึ่งล่าสุดมีม็อบถือธงชาติเดินเข้าไปในพื้นที่กรมประชาฯ แล้ว  ด้านม็อบกปท. กองทัพธรรม ยังยึดพื้นที่แยกการเรือน แยกพิชัย แยกวังแดง ไม่ฝ่าแนวตำรวจ

 ศอ.รส.แจ้งความผิดนายสุเทพ ศอ.รส. ได้ตรวจสอบพบว่าการกระทำดังกล่าวของนายสุเทพ เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 215 ผู้ใดมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไปใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายในบ้านเมือง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งหากผู้กระทำความผิดคนหนึ่งคนใดมีอาวุธ ต้องระวางโทษไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถ้าผู้กระทำความผิดเป็นหัวหน้า  หรือเป็นผู้มีหน้าที่สั่งการในการกระทำความผิดนั้นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

 โดยทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าไปห้ามแล้วแต่กลุ่มผู้ชุมนุมไม่ยอมออกจากพื้นที่ เข้าข่ายความผิดตามมาตรา 216 เมื่อเจ้าพนักงานสั่งผู้ที่มั่วสุมเพื่อกระทำผิดตามมาตรา 215 ให้เลิกผู้ใดไม่เลิก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

 ที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน เวทีชุมนุมนปช. นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำนปช. ขึ้นเวทีปราศรัย ว่า นายสุเทพคิดว่าสำนักงบเป็นหัวใจของประเทศ ตนอยากบอกนายสุเทพว่า ขอให้ปิดสำนักงบประมาณต่อไป แล้วให้มันรู้ไปว่ารัฐบาลจะบริหารประเทศไม่ได้ วิธีคิดของนายสุเทพ ทำให้คนไทย 64 ล้านคนเดือดร้อน ส่วนกรณีปิดสถานนีโทรทัศน์ต่างๆ ตอน นายสุเทพ นำ ศอฉ. ก็มาโจมตีคนเสื้อแดงเมื่อปี 53 ว่า คุกคามสื่อ ทั้งที่ไม่เคยทำ จึงถามว่าวันนี้พวกนายสุเทพไปปิดสถานีโทรทัศน์ทำไม  ส่วนที่ไปกองทัพ ก็จะไปเชิญชวนทหารให้ปฏิวัติ กองทัพบางส่วนเคยเป็นพวกคุณ แล้วทหารแต่ละคนนั้นเขามีความสุขหรือไม่ แต่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ร่วมมือกับทหารเพื่อดูแลความสงบช่วยเหลือน้ำท่วม ไม่ได้สั่งให้มาฆ่าคนในชาติ จุดที่มีความอ่อนไหวและเสี่ยงต่อการปะทะมากที่สุดคือ บช.น.

-15.30 น. เฟซบุ๊กสโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศในประเทศไทย (FCCT) แถลงว่า การทำร้ายร่างกายผู้สื่อข่าวที่ปฏิบัติงานถือเป็นการะละเมิดสิทธิ ขณะที่ประธาน FCCT สอบถามเหตุการณ์ที่นายนิคถูกม็อบทำร้ายร่างกาย นายนิคเผยว่า นายชุมพล จุลใส อดีตส.ส.ชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ แกนนำม็อบเป็นผู้ประกาศว่าตนเป็นนักข่าวเสื้อแดง จากนั้นก็ถูกคนในม็อบทำร้าย ล่าสุดไปแจ้งความเอาผิดแล้ว

-16.00 น. นายสุเทพ ประกาศพาผู้ชุมนุมนอนค้างคืนภายในกระทรวงการคลัง

-16.25 น. ที่ช่อง 3 นายธีระ ธัญไพบูลย์ ผู้ประกาศข่าวของช่อง 3 และนายวิบูลย์ ลีรัตนขจร ผู้บริหารช่อง 3 ช่วยกันปราศรัยว่า ต่อไปนี้จะเสนอข่าวเป็นกลาง ขณะที่ ทยา ทีปสุวรรณ ผู้นำม็อบ เริ่มปราศรัยเชิญชวนให้ผู้ชุมนุมเดินทางกลับ ทว่ามวลชนยังเรียกร้องขอพบตัวนายสรยุทธ ท่ามกลางบรรยากาศตึงเครียด 

 ต่อมา นายสรยุทธ จึงเดินลงมาจากตัวอาคารช่อง 3 เพื่อพบปะกับม็อบด้วยตัวเอง โดยกล่าวสวัสดีผู้ชุมนุมทุกคน พร้อมชี้แจง เรื่องตารางเวลาการทำงานของตน และว่า ขอขอบคุณประชาชนที่แสดงให้เห็นถึงพลังในการแสดงออกทางการเมือง และขอให้ชุมนุมโดยสงบเพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ทว่าระหว่างนั้น ม็อบคอยตะโกนคำว่า "ขอโทษๆๆ" เป็นระยะๆ ซึ่งนายสรยุทธ พูดต่อไปว่า หากต้องการให้ช่อง 3 นำเสนอข่าวอย่างเป็นธรรม ทางกลุ่มผู้ชุมนุมก็ต้องต่อสู้ทางการเมืองอย่างเป็นธรรมด้วย จากนั้นกล่าวอำลา พร้อมอวยพรให้ฝูงชนเดินทางกลับด้วยความปลอดภัย โดยผู้สื่อข่าวรายงานว่า มวลชนต่างเป่านกหวีดและส่งเสียงเรียกร้องให้ขอโทษ 

 จากนั้นผู้ชุมนุมเรียกร้องให้สรยุทธเป่านกหวีดเพื่อแสดงความจริงใจซึ่งสรยุทธระบุการทำงานของสื่อไม่สามารถเลือกฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้เพราะสื่อมวลชนต้องนำเสนอเรื่องราวความคิดเห็นทุกด้านแก่วงกว้างและเพื่อให้สังคมยอมรับ แล้วจึงรับดอกไม้ขอบคุณจาก ทยา ผู้นำม็อบ แล้วเดินกลับเข้าช่อง 3 โดยได้ร่วมเป่านกหวีดกับผู้ชุมนุม พร้อมบอกว่าเป็นการเป่าเพื่อให้กำลังใจ แต่ในฐานะสื่อต้องวางตัวเป็นกลาง รายงานข่าวให้คนทุกกลุ่ม 

-16.45 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์-นักข่าวนสพ. แถลงเรียกร้องแกนนำ-ม็อบ เข้าใจการทำงานของสื่อ คลิกที่นี่เพื่ออ่านรายละเอียด

 บรรยากาศที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ข้าราชการศธ.ที่เดินทางมาทำงานประมาณ 100 คน ทยอยเดินทางออกจากศธ.ทางประตูด้านหลัง บริเวณหอประชุมคุรุสภา ถนนนครราชสีมา ตั้งแต่ช่วงบ่ายโมง หลังจากกลุ่มผู้ชุมนุมที่ได้ดาวกระจายมาปิดล้อมบริเวณบช.น.ที่อยู่ติดกับศธ.ได้ประกาศให้ข้าราชการในศธ.ออกมาจากศธ.หากไม่ออกมาจะปิดล้อมไม่ให้ออกมาจนทำให้ข้าราชการต้องรีบเดินออกมาจากศธ.ซึ่งในช่วงแรกข้าราชการที่จะออกมาจะต้องต่อคิวยาวเพื่อมุดช่องรั้วเหล็กออกมาเนื่องจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยได้ปิดประตูทางออกเพราะกลัวว่ากลุ่มผู้ชุมนุมจะบุกเข้ามายังศธ. 

 แต่ต่อมาได้มีการเจรจาขอเปิดประตูให้ข้าราชการนำรถยนต์ส่วนตัวออกมาจึงทำให้ข้าราชการสามารถออกจากศธ.ได้ทางประตูใหญ่ด้านหลังส่วนผู้บริหารระดับสูงศธ.ส่วนใหญ่ไม่ได้เข้ามาที่ศธ.มีเพียงนายอภิชาติจีระวุฒิเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(กพฐ.)เพียงคนเดียวเท่านั้นที่เข้ามาที่ศธ.ได้ตั้งแต่ช่วงเช้าตรู่ซึ่งนายอภิชาติได้เดินทางออกจากศธ.ในประตูด้านหน้าบริเวณถนนราชดำเนินนอกที่จะเปิดให้เข้าออกเฉพาะผู้บริหารระดับสูงศธ.เป็นกรณีพิเศษเท่านั้น  

-16.50 น. ผู้สื่อข่าวแจ้งว่า  พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รอง ผบช.น. ในฐานะโฆษก บช.น. แถลงรายละเอียดม็อบดาวกระจายจุดต่างๆ และชี้ว่า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำม็อบบุกยึดสำนักงบประมาณ อาจมีความผิดเข้าข่ายกบฏ ซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจสอบ ส่วนการบุกสถานที่ราชการมีความผิด โทษจำคุก 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 กลุ่มม็อบ กปท. คปท. กองทัพธรรม ระบุต้องมี "สภาประชาชน" แทนที่ "สภานักเลือกตั้ง" เพื่อปฏิรูปรอบด้าน

-17.00 น. ที่กระทรวงการคลัง นายสุเทพให้สัมภาษณ์ประเด็นต่างๆ ชี้รัฐบาลยิ่งลักษณ์เป็นโมฆะไปแล้ว พร้อมเผยแผนตั้งคณะกรรมการประชาชน  อาทิ นักวิชาการ นักธุรกิจ ตัวแทนสื่อ ตัวแทนภาคประชาชน  ระบุเป็นคนดีทั้งนั้น คลิกอ่านรายละเอียดที่นี่

 ต่อมา มีรายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีคำสั่งตั้งศปก.ทบ. สำรองใน ร.1รอ. - ขณะที่หน่วยข่าวความมั่นคงวิเคราะห์สุเทพหวังเผด็จศึกล้มรบ.สิ้นเดือนพย.นี้ ใช้วิธียึดสถานที่ราชการกดดัน 
“สุเทพ เทือกสุบรรณ” เผย หลังยึดพื้นที่ กระทรวงการคลัง และกรมประชาสัมพันธ์ ย้ำรัฐขาดความชอบธรรม ขณะไม่ยอมรับข้อหา ศอ.รส. ด้าน กลุ่มคปท. เคลื่อนขบวนบุกยึดกระทรวงการต่างประเทศ สำเร็จแล้ว ลั่นปักหลักค้างคืน

นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ แกนนำกลุ่มเครือข่ายประชาชนต่อต้านระบอบทักษิณ กล่าวภายหลังนำมวลชนเข้ายึดพื้นที่กระทรวงการคลัง และกรมประชาสัมพันธ์ โดยเรียกร้องให้ประชาชนทั่วประเทศ ลุกขึ้นมาปฏิวัติยึดอำนาจกลับเป็นของประชาชน ร่วมกันเปลี่ยนแปลงประเทศขจัดระบอบทักษิณ โดยการเข้ายึดพื้นที่สถานที่ราชการ แต่ให้ใช้สันติวิธี เหมือนกับการเข้ายึดพื้นที่กระทรวงการคลัง โดยไม่ทำร้ายใคร และไม่ทำลายทรัพย์สินของทางราชการ และรัฐบาลไม่จำเป็นต้องประกาศยุบสภา เพราะถือว่าขณะนี้ รัฐบาลขาดความชอบธรรมในการบริหารประเทศ และรัฐบาลเป็นโมฆะ ตั้งแต่ไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

สำหรับขั้นตอนในการร่วมกันเปลี่ยนแปลงประเทศ จากนี้ไป ประชาชนจะมาร่วมกันหาทางออกประเทศ โดยการตั้งคณะกรรมการภาคประชาชนขึ้นมา สถาปนารัฐบาลของประชาชน
นอกจากนี้ ในส่วนของ ศอ.รส. จะออกหมายจับตนในข้อหายึดสถานที่ราชการนั้น มองว่า ตำรวจทำตามคำสั่งของรัฐบาล ดังนั้นตนเองไม่ขอยอมรับหมายจับเช่นกัน ส่วนเวทีการชุมนุมนั้นจะดำเนินการควบคู่กันไป ทั้งที่ราชดำเนิน กระทรวงการคลัง และกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งตนจะปักหลักชุมนุมกับมวลชนที่กระทรวงการคลัง ในค่ำคืนนี้ด้วย

ลำดับเหตุการณ์สำคัญ ตั้งแต่ช่วงค่ำวันที่ 25 พ.ย. 56

- หลวงปู่พุทธอิสระ นำม็อบราชดำเนิน สวดมนต์
- สุเทพ ประกาศสถาปนารัฐบาลของประชาชน
- แกนนำม็อบคปท. แนวร่วมของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ นำมวลชนจำนวนหนึ่งเข้าไปในกระทรวงต่างประเทศในช่วงค่ำ และประกาศพักค้างคืนในกระทรวงฯ
- เหตุตึงเครียด เมื่อม็อบคปท. ไล่ตร.ออกจากกระทรวงให้หมด
- พล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา รองผบ.ตร. ยอมรับประเมินพลาดผู้ชุมนุมบุกยึด ก.คลัง

-17.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศเวทีต่อต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมและขับไล่ระบอบทักษิณ ราชดำเนิน ยังคงมีกลุ่มผู้ชุมนุมหลายพันคนที่ปักหลักชุมนุมและนั่งฟังปราศรัยอยู่ตั้งแต่เช้า นอกจากนั้น เริ่มมีประชาชนที่เลิกงานทยอยเดินทางมาร่วมชุมนุมเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้บรรยากาศการชุมนุมคึกคักมากขึ้น

กิจกรรมบนเวที ทางเจ้าหน้าที่ได้ยิงสัญญาณสดคำแถลงของนายสุเทพ แกนนำฯ หลังจากยึดกระทรวงการคลังได้สำเร็จ สร้างความพอใจให้ผู้ชุมนุมที่ราชดำเนินอย่างมาก อีกทั้งนางอัญชะลี ไพรีรักษ์ โฆษกบนเวทียังกล่าวชักชวนให้ผู้ชุมนุมที่ราชดำเนินเดินทางไปสมทบกับนายสุเทพ โดยขอความร่วมมือกลุ่มผู้ชุมนุมที่มีรถยนต์ 23 คัน เพื่อขนผู้ชุมนุมไปสมทบที่ ก.คลัง

ส่วนที่กระทรวงการคลัง ผู้สื่อข่าว “ข่าวสด” รายงานรายละเอียดคำให้สัมภาษณ์ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำม็อบ ระบุว่า ไม่ต้องการเรียกร้องอะไรกับรัฐบาล เพราะรัฐบาลเป็นโมฆะไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะเคยประกาศไม่ยอมรับอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ เท่ากับว่าเป็นการไม่ยอมรับอำนาจกฎหมายสูงสุดของประเทศ รัฐบาลนี้ได้สิ้นสภาพและไม่ชอบธรรมแล้ว ทั้งนี้เราจะสถาปนารัฐบาลของประชาชนโดยจะแก้ไขกฎเกณฑ์กติกาการปกครองบ้านเมือง ส่วนจะยุติการชุมนุมอย่างไรขึ้นอยู่กับประชาชนว่าจะคิดอ่านอย่างไร แต่สำหรับวันนี้ยังไม่สมบูรณ์แบบ

-17.15 น. พล.ต.ต.ปิยะ อุทาโย โฆษกศอ.รส. แถลงกลุ่มผู้ชุมนุมได้บุกรุกเข้าไปกรมประชาสัมพันธ์เพิ่มหลังจากยึดกระทรวงการคลัง ทั้ง 2 กรณีฝ่ายกฎหมายตรวจสอบแล้วเป็นการกระทำความผิดเพิ่มขึ้นตาม ป.อาญา ม. 215 และ ม. 216 เจ้าหน้าที่แจ้งให้ออกแล้วยังไม่ออก เป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระ แกนนำจะมีความผิดเพิ่มตามที่กฎหมายบัญญัติไว้

นายสาทิตย์ วงษ์หนองเตย อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ แกนนำเวทีราชดำเนิน ขึ้นชี้แจงต่อประชาชนผู้ชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยว่า ขอยืนยัน ณ ตอนนี้ เวทีที่ราชดำเนินยังคงดำเนินสืบไป ส่วนการที่นายสุเทพไปยึดกระทรวงการคลังนั้นอยากให้พี่น้องประขาชนเดินทางไปสมทบที่นั่นให้มาก โดยทั้งสองเวทีจะเป็นส่วนเดียวกัน และสำหรับยุทธศาสตร์การเคลื่อนพลดาวกระจายไปทั้ง 13 ที่นั้น มีวัตถุประค์ให้ข้าราชการทุกคนยืนเคียงข้างประชาชน และอยากใหสื่อมวลชนเป็นปากเป็นเสียงให้ประชาชน และหวังว่าจะได้รับความร่วมมือจากสื่อมวลชน นอกจากนี้ยังขอให้ผู้ชุมนุมออกมาให้มากเพื่อประกาศชัยชนะร่วมกัน

หลังจากการแถลงของแกนนำเสร็จสิ้นหลวงปู่พุทธอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย จ.นครปฐม ได้ขึ้นเวทีพาผู้ชุมนุมสวดมนต์ เพื่อความสงบของจิตใจ

-18.20 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แกนนำม็อบคปท. แนวร่วมของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำม็อบราชดำเนิน นำมวลชนจำนวนหนึ่งกลับไปยังกระทรวงต่างประเทศ ถ.พระราม 6 ในช่วงค่ำ พร้อมถามมวลชนว่าต้องการเข้าไปพักผ่อนหรือไม่ ?
-18.30 น. มีรายงานว่า แกนนำและผู้ชุมนุมพังประตูเข้าไปในพื้นที่กระทรวงต่างประเทศแล้ว และประกาศพักค้างคืนในกระทรวงฯ แต่สั่งห้ามผู้ชุมนุมเข้าไปในตัวอาคารเด็ดขาด อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ได้ออกจากพื้นที่ไปตั้งแต่ช่วงบ่ายแล้ว
-18.42 น. เหตุการณ์ในกระทรวงต่างประเทศตึงเครียดขึ้น เมื่อม็อบคปท.จะขับไล่ตำรวจออกจากสถานที่ให้หมด
19.00น. นายกเรียกประชุม ครม.ชุดเล็กด่วนที่ สโมสรตำรวจ ถนนวิภาวดีรังสิต
-19.50 น. ผู้ชุมนุมในกระทรวงการคลัง กระจายกันนั่งพักผ่อนตามสวนหย่อม และหน้าอาคาร ส่วนกลุ่มที่บุกเข้าไปกรมประชาสัมพันธ์ ถอนกลับมาอยู่ที่กระทรวงคลัง

-21.35น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ ประกาศบังคับใช้ พรบ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ในทุกเขตพื้นที่กรุงเทพ,นนทบุรี,สมุทรปราการ เฉพาะพื้นที่อ.บางพลี จ.ปทุมธานี เฉพาะ อ.ลาดหลุมแก้ว 

////////
การบุกยึดท่าอากาศยานในประเทศ ไทย พ.ศ. 2551
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


กลุ่มพันธมิตรฯปักหลักชุมนุมในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
การบุกยึดท่าอากาศยานในประเทศไทย พ.ศ. 2551 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 24 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม พ.ศ. 2551 โดยในวันที่ 24 พฤศจิกายน กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้บุกเข้ายึดท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้สำเร็จ ทำให้ในวันที่ 27 พฤศจิกายน นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในทั้งสอง พื้นที่ แต่ก็มิได้มีการดำเนินการตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแต่อย่างใด และกลุ่มพันธมิตรฯก็ได้ประกาศยุติการชุมนุมไปในที่สุดในวันที่ 3 ธันวาคม หลังจากที่นายสมชายพ้นจากตำแหน่งไปเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม
ลำดับเหตุการณ์
24 พฤศจิกายน
06.30 น. กลุ่มพันธมิตรฯปฏิบัติการดาวกระจาย เคลื่อนขบวนจากทำเนียบรัฐบาลไปปิดล้อมรัฐสภา เพื่อขัดขวางการประชุมรัฐสภา และทยอยเดินทางไปปิดกองบัญชาการตำรวจนครบาล และกระทรวงการคลัง[1]
09.40 น. นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา โทรศัพท์แถลงข่าวผ่านโทรศัพท์มือถือของนายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ให้งดการประชุมรัฐสภาจนกว่าเหตุการณ์จะกลับสู่ภาวะปกติ
12.30 น. นายสมศักดิ์ โกศัยสุข แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ประกาศให้ผู้ชุมนุมเดินทางไปยึดท่าอากาศยานดอนเมือง เพื่อไม่ให้มีการประชุมคณะรัฐมนตรี
14.20 น. กลุ่มพันธมิตรฯประกาศจะมีมาตรการสูงสุดกดดันรัฐบาลให้ลาออกภายในวันที่ 25 พฤศจิกายน
17.45 น. กลุ่มพันธมิตรฯยึดท่าอากาศยานดอนเมืองได้อย่างเบ็ดเสร็จ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ประกาศจะต้องให้รัฐบาลนายสมชายออกไปให้ได้ และมอบหมายให้นายสมศักดิ์รับผิดชอบนำการชุมนุมที่ดอนเมือง
25 พฤศจิกายน
10.45 น. กลุ่มพันธมิตรฯเดินทางไปสมทบที่ท่าอากาศยานดอนเมือง และเคลื่อนขบวนบุกกองบัญชาการกองทัพไทย เพื่อขัดขวางไม่ให้มีการประชุมคณะรัฐมนตรี
15.00 น. กลุ่มพันธมิตรฯเคลื่อนขบวนเข้าไปยึดพื้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่งผลให้ผู้โดยสารไม่สามารถเดินทางเข้าไปยังสนามบินได้
16.00 น. กลุ่มพันธมิตรฯหลายพันคนใช้รถยนต์ส่วนตัวและรถบรรทุก 6 ล้อปิดเส้นทางมอเตอร์เวย์ทางเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทำให้การจราจรเป็นอัมพาต
17.10 น. เกิดเหตุปะทะทำร้ายกันระหว่างกลุ่มพันธมิตรฯและกลุ่มคนเสื้อแดง บริเวณปากซอยวิภาวดีฯ 3 นานกว่า 20 นาที โดยมีการใช้อาวุธมีด ไม้ และมีเสียงปืนดังติดต่อกันหลายนัด หลังสถานการณ์คลี่คลายมีกลุ่มคนเสื้อแดงได้รับ บาดเจ็บ 11 ราย และถูกนำส่งรักษาตัวที่โรงพยาบาลเปาโล[2]
19.30 น. กลุ่มพันธมิตรฯทยอยเดินทางมาสมทบยึดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิร่วมหมื่นคน ส่งผลให้ผู้โดยสารและลูกเรือหลายพันคนตกเครื่อง ขณะที่ผู้โดยสารบางส่วนเลื่อนการเดินทางออกไปอย่างไม่มีกำหนด
21.00 น. นายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ รักษาการผู้อำนวยการใหญ่ท่าอากาศยานไทย กล่าวภายหลังกลุ่มพันธมิตรฯบุกเข้าไปยึดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิว่าได้หารือกับ ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเห็นว่าให้ปิดการใช้บริการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทั้งขาเข้า-ออกโดยไม่มีกำหนด[3]
26 พฤศจิกายน


นายกรัฐมนตรีแถลงการณ์ผ่านเอ็นบีที
14.00 น. พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะประธานคณะกรรมการติดตามสถานการณ์ และรองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน แถลงภายหลังร่วมประชุมกับ 5 องค์กรภาคเอกชน เสนอทางออกให้นายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภา และให้กลุ่มพันธมิตรฯยุติการชุมนุม ถอนกำลังออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง
18.10 น. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี เดินทางโดยเครื่องบินเช่าเหมาลำสายการบินไทยจากกรุงลิมา ประเทศเปรู ถึงท่าอากาศยานทหารกองบิน 41 เชียงใหม่ ท่ามกลางการอารักขาอย่างแน่นหนาของชุดปฏิบัติการพิเศษพร้อมอาวุธครบมือ โดยมีกลุ่มคนเสื้อแดง 500 คนเดินทางมาให้กำลังใจ
18.30 น. กลุ่มพันธมิตรฯแถลงยืนยันจุดยืนเดิมให้รัฐบาลต้องลาออก ไม่ใช่ยุบสภาและเปิดทางให้มีรัฐบาลประชาภิวัตน์
22.15 น. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ออกรายการทางสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ที่จังหวัดเชียงใหม่ ยืนยันไม่ลาออก ไม่ยุบสภา และเรียกร้องให้ผู้ชุมนุมคืนทำเนียบรัฐบาลและท่าอากาศยานทั้งสองแห่งโดยเร็วที่สุด[4]
24.00 น. บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ประกาศปิดใช้บริการท่าอากาศยานดอนเมือง 48 ชั่วโมง เนื่องจากมีกลุ่มผู้ชุมนุมแอบเข้าไปในรันเวย์สและเข้าไปขอเจ้าหน้าที่หอ บังคับการบินตรวจสอบข้อมูล และสร้างกระแสยึดหอบังคับการบิน
27 พฤศจิกายน


นายกรัฐมนตรีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
09.00 น. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี เรียกประชุมคณะรัฐมนตรี ที่ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ หลังจากแถลงข่าวยืนยันว่าจะไม่ลาออกหรือยุบสภา
15.00 น. มีกระแสข่าวปลด พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก และกระแสข่าวการรัฐประหารตลอดช่วงบ่าย กระทั่ง พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก แถลงยืนยันว่าไม่มีการเคลื่อนกำลังเพื่อรัฐประหาร
16.00 น.
ท่าอากาศยานไทยประกาศปิดใช้บริการท่าอากาศยานดอนเมืองต่อไปไม่มีกำหนด
การบินไทย ร่วมกับกองทัพเรือ เปิดสนามบินอู่ตะเภาเป็น ศูนย์กลางนำเที่ยวบินระหว่างประเทศขึ้น-ลง เพื่อระบาย นักท่องเที่ยวตกค้างทั้งขาออกและขาเข้า ได้เต็มที่ 3 เที่ยว/วัน[5]
21.00 น. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี แถลงผ่านเอ็นบีทีจากจังหวัดเชียงใหม่ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงบริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมือง เพื่อป้องปรามการชุมนุมในเขตพื้นที่ทั้ง 2 แห่ง[6]
28 พฤศจิกายน
ตลอดทั้งวัน กระทรวงการท่อง เที่ยวและกีฬา ร่วมกับ 6 กระทรวง และตัวแทนสายการบินทั้งหมดหาทางออกร่วมกัน
ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งสำนักนายรัฐมนตรี ที่ 305/2551 ให้ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มาปฏิบัติงานสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ได้รับเงินเดือนของสังกัดเดิมไปก่อนและให้ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ จเรตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้รักษาราชการแทน
2 ธันวาคม
ศาลรัฐธรรมนูญ พิพากษายุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย และตัดสิทธิ์ทางการเมืองกรรมการบริหารพรรคทั้งหมดเป็นเวลา 5 ปี เป็นผลให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคทั้งสามต้องพ้นจาก ตำแหน่ง โดยนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการรักษาการนายกรัฐมนตรี จนกว่าจะมีการเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่
3 ธันวาคม
10.00 น. กลุ่มพันธมิตรฯ ประกาศยุติการชุมนุม หลังจากที่ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี พ้นจากตำแหน่งไป 1 วันก่อนหน้านั้น ทั้งนี้ ยืนยันว่าหากยังมีความเคลื่อนไหวที่ต้องการจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือมีความเคลื่อนไหวในการจัดตั้งรัฐบาลที่มีความไม่ชอบมาพากล หรือทุจริต กลุ่มพันธมิตรฯ ยังพร้อมที่จะกลับมาทุกครั้ง[7]
ผลกระทบ
นายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ ผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เปิดเผยว่าตั้งแต่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิงดเที่ยวบิน ตั้งแต่เวลา 22.00-18.00 น. มีเที่ยวบินได้รับผลกระทบ 402 เที่ยวบิน และจากที่ไม่สามารถให้บริการเที่ยวบินขึ้น-ลงได้มาตั้งแต่เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายนนั้น ได้ประเมินความเสียหายพบว่า ตั้งแต่เวลา 22.00 น.วันที่ 25 พฤศจิกายน จนถึง 18.00 น.วันที่26 พฤศจิกายน คาดว่าท่าอากาศยานไทยจะสูญเสียรายได้ในส่วนของค่าธรรมเนียมขึ้น-ลงสนาม บินกว่าวันละ 53 ล้านบาท จากเที่ยวบินที่ขึ้น-ลงไม่ได้กว่า 292 เที่ยวบิน ยังไม่รวมค่าร้านค้าและค่าเช่าพื้นที่ของกลุ่มคิงส์เพาเวอร์ด้วย[8]
นายสุรชัย ธารสิทธิพงษ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่าความเสียหายที่คาดการณ์ในเบื้องต้น ทั้งช่วงที่เกิดเหตุการณ์ชุมนุม และผลกระทบต่อเนื่องอีก 6 เดือน คาดว่าไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท และส่งผลกระทบต่อผลประกอบการบริษัทปี พ.ศ. 2551 ที่จะขาดทุน รวมถึงกระทบต่อแผนการใช้เงินของบริษัท โดยเฉพาะเงินกู้ระยะสั้นที่อาจต้องรีไฟแนนซ์ประมาณ 10,000 ล้านบาท และแผนการชำระค่าเครื่องบิน ดังนั้น จะเสนอให้รัฐบาลพิจารณาหาเงินอุดหนุนให้หรือหาแหล่งเงินกู้ประมาณ 20,000 ล้านบาท[9]
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเปิดเผยว่า ทางศูนย์ได้ประเมินผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากจากสถานการณ์ทางการ เมืองที่ไม่แน่นอน และการปิดสนามบินสุวรรณภูมิออกเป็น 2 กรณี กรณีแรกสถานการณ์ยืดเยื้อแต่จบภายในเดือนพฤศจิกายน 2551 จะทำให้เศรษฐกิจไตรมาส 4 ขยายตัว 2.8-3.3% และผลกระทบทางการเมืองต่อระบบเศรษฐกิจตั้งแต่เดือนสิงหาคม-ธันวาคม 2551 จะทำให้เกิดการสูญเสียด้านต่างต่างๆ ดังนี้ ด้านบริโภค 15,000-20,000 ล้านบาท ด้านลงทุน 6,000-11,000 ล้านบาท ด้านส่งออก 10,000-24,000 ล้านบาท ด้านท่องเที่ยว 42,000-75,000 ล้านบาท และต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจ 73,000-130,000 ล้านบาท และเศรษฐกิจไทยปี 2551 ขยายตัว 4.5-4.8%
กรณีที่สอง สถานการณ์ยืดเยื้อจนถึงเดือนธันวาคม 2551 ทำให้ไตรมาส 4 เศรษฐกิจขยายตัวเหลือ 1.5-2% และเกิดความสูญเสียในด้านบริโภค 21,000-30,000 ล้านบาท การลงทุน 12,000-25,000 ล้านบาท การส่งออก 25,000-40,000 ล้านบาท การท่องเที่ยว 76,000-120,000 ล้านบาท ต่อเศรษฐกิจโดยรวม 134,000-215,000 ล้านบาท และขยายตัวเหลือ 4.1-4.4% ซึ่งกรณีที่สองจะมีความเป็นไปได้สูง และกระทบต่อการขยายตัวให้ตกต่ำลงไปอีกในไตรมาสแรกของปี 2552 และทำให้เศรษฐกิจไทยปีหน้า จากคาดการณ์เดิมขยายตัว 3-4% เหลือ 2-3% ใกล้เคียงกับปี 2545 ที่ขยายตัว 2% และอาจกระทบต่อการจ้างงานลดลงกว่า 1 ล้านคน
มุมมอง
รัฐบาลจีน ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลียและญี่ปุ่นประกาศเตือนพลเมืองของตนให้หลีกเลี่ยงการเดินทางมายัง ประเทศไทย[10]
สหภาพยุโรปกระตุ้นให้กลุ่มผู้ชุมนุมออกจากสนาม บินอย่างสันติ โดยให้ความเห็นว่า "ขณะที่ให้ความเคารพต่อสิทธิในการประท้วง กระนั้น สหภาพยุโรปก็พิจารณาว่าฤติการณ์ดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมเป็นอย่าง ยิ่ง"[11][12]




 

Create Date : 26 พฤศจิกายน 2556
0 comments
Last Update : 26 พฤศจิกายน 2556 1:04:31 น.
Counter : 1062 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สุริยาอัสดง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




เปิดโลกด้วยแสงแห่งปัญญา
Thaiflood
Friends' blogs
[Add สุริยาอัสดง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.