อาทิตย์สาดส่อง..ความจริงจักปรากฎทั่วปฐพี!!!
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2552
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
15 ตุลาคม 2552
 
All Blogs
 
ศึกแมลงวัน:ค่ายช้างมติชนฮึดสู้ASTV

วันอังคาร, ตุลาคม 13, 2009

ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
13 ตุลาคม 2552

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์เขียนรายงานข่าวเรื่องใครกันแน่ บิดเบือน งานวิจัย ปรอ. เรื่อง เอเอสทีวี ประชาชาติฯ เปิดจะ ๆ บทสรุปงานวิจัย"นายวิทอง" เพื่อตอบโต้เวบผู้จัดการASTVที่กล่าวหาว่าประชาชาติธุรกิจบิดเบือนการนำเสนอข่าวใครกันแน่ บิดเบือน งานวิจัย ปรอ. เรื่อง ASTV ประชาชาติออนไลน์ ลำดับเหตุการณ์ข่าว และเปิดเผย ผลงานวิจัย เจ้าปัญหา บทที่ 7บทสรุปและข้อเสนอแนะ ดูกันจะๆ ว่า ใครกันแน่ที่บิดเบือน ทุกอย่างตัดสินกันด้วยข้อมูลและความจริง

23 กันยายน ประชาชาติออนไลน์ นำเสนอรายงานพิเศษเรื่อง "เปิดงานวิจัยร้อน ปรอ. ชำแหละ อิทธิพล เอเอสทีวี ผลกระทบต่อพฤติกรรมการบริโภคข่าวสาร ด้านการเมือง" ซึ่งอ้างอิงมาจากงานวิจัย ′อิทธิพลของสื่อสาธารณะดิจิตอลที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคข่าวสารด้านการเมือง ศึกษาเฉพาะ ASTV ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร′ โดยนายวิทอง ตัณฑกุลนินาท กรรมการผู้จัดการ เอ๊กเซลเล้นท์ กราฟฟิค จำกัด นักศึกษาวิทยาป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 21 ประจำปีการศึกษา พุทธศักราช 2551-2552


ล่าสุด เว๊ปไซต์ผู้จัดการ นำเสนอข่าวว่า " นศ.วปอ.ชี้ชัด " สื่อเครือมติชน" เสนอข่าวบิดเบือนผลวิจัย ให้ร้าย ASTV"ประชาชาติออนไลน์ ไม่ต้องการชี้แจงอะไรทั้งสิ้น เราแค่ลำดับเหตุการณ์ และนำบทสรุปของงานวิจัยมาให้ท่านผู้อ่าน ตัดสินใจเอาเอง

27 กรกฎาคม 2552 แหล่งข่าวระดับสูง จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร โทรศัพท์ บอกว่า มีงานวิจัย ปรอ. ที่น่าสนใจและน่าจะได้รับรางวัลงานวิจัยดีเด่น เพราะผู้วิจัย กล้าวิจารณ์สื่อ แหล่งข่าว บอกว่า ให้มารับงานวิจัยไปอ่าน

ผู้สื่อข่าว ประชาชาติออนไลน์ วิ่งไปรับงานวิจัยในทันที แหล่งข่าว มีเงื่อนไขว่า ถ้าจะใช้เป็นข่าวต้องโทรศัพท์ ไปขออนุญาตจาก นายวิทอง ตัณฑกุลนินาท กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ๊กเซลเล้นท์ กราฟฟิค เจ้าของงานวิจัย เสียก่อน ผู้สื่อข่าว โทรไปหา นายวิทอง

นายวิทอง ตอบว่า ขอให้มีผลตัดสินออกมาก่อนแล้ว ค่อยเอาไปใช้

กลางเดือนกันยายน นายวิทอง บอกว่า คณะกรรมการตัดสินแล้ว งานวิจัยของเขาได้รับรางวัลชมเชย ผู้สื่อข่าว ขออนุญาตเอาไปเผยแพร่ นายวิทองบอกว่า ให้ทำหนังสือไปขออนุญาต พลโท ภานุมาต สีวะรา ผู้อำนวยการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ หลังจากนั้น ผู้สื่อข่าว ได้ส่งหนังสือขออนุญาตไปยัง พลโท ภานุมาต แล้วจึงทำการเผยแพร่

23 กันยายน 2552 ประชาชาติออนไลน์ เปิดเผยงานวิจัยเป็นครั้งแรก เราใช้คำว่า ′เปิดงานวิจัยร้อน ปรอ. ชำแหละ อิทธิพล เอเอสทีวี ผลกระทบต่อพฤติกรรมการบริโภคข่าวสาร ด้านการเมือง′ รายงานชิ้นนี้ ได้รับความสนใจอย่างมาก


1 ตุลาคม 2552 ผู้สื่อข่าว ประชาชาติออนไลน์ สัมภาษณ์ นายวิทอง อีกครั้ง ที่สำนักงาน บริษัท เอ๊กเซลเล้นท์ ตรงข้ามบริษัท ดีแทค ถนนวิภาวดีรังสิต นายวิทอง ขอให้ส่งต้นฉบับไปให้ดู ก่อนเผยแพร่ ผู้สื่อข่าว ปฎิบัติตามข้อตกลง นาย

วิทอง ส่งต้นฉบับ กลับมา โดยแก้ไขต้นฉบับเล็กๆ น้อยๆ แล้ว ประชาชาติออนไลน์ ก็นำเสนอ บทสัมภาษณ์นายวิทอง
ตอนนั้นเอง ผู้สื่อข่าว ทราบมาว่า มี เนชั่น และ ผู้จัดการ ขอสัมภาษณ์นายวิทอง เช่นกัน

13 ตุลาคม 2552 เว๊ปไซต์ผู้จัดการ นำเสนอข่าวว่า " นศ.วปอ.ชี้ชัด " สื่อเครือมติชน" เสนอข่าวบิดเบือนผลวิจัย ให้ร้าย ASTV"

13 ตุลาคม 2552 ผู้สื่อข่าว ประชาชาติออนไลน์ นำเสนองานวิจัย บทที่ 7 บทสรุปและข้อเสนอแนะ ให้ผู้อ่านตัดสินว่า ใครกันแน่บิดเบือน ?


ตัวอักษรในงานวิจัย ย่อมชักเข้าชักออกไม่ได้ ใครน่าเชื่อถือกว่ากันก็แล้วแต่ระดับสติปัญญา?


***หมายเหตุ:งานวิจัยของ นายวิทอง ถูกเก็บรักษา อยู่ที่วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ถนนวิภาวดีรังสิต

----------
บทที่ ๗

บทสรุปและข้อเสนอแนะ

บทสรุป


จากการทดสอบสมมติฐาน ตามกรอบแนวคิดการวิจัยในบทที่ ๑ พบว่า ระยะเวลาในการรับชม (X1) ไม่มีผลต่อพฤติกรรม (Y1) และทัศนคติ (Y2) ของกลุ่มตัวอย่างหลังการรับชมข่าวสารทางการเมืองจาก ASTV ซึ่งผลการวิจัยดังกล่าว

แสดงให้เห็นว่า พฤติกรรม (Y1) และทัศนคติ (Y2) ของกลุ่มตัวอย่างหลังการรับชมข่าวสารทางการเมืองจาก ASTV ไม่ได้เป็นไปตามทฤษฎีเข็มฉีดยาเนื่องจากกลุ่มตัวอย่างในภาวะปกติยังคงความเป็นผู้มีวิจารณญาณ และไตร่ตรองเนื้อหาของข่าวก่อนการเชื่อและตัดสินใจกระทำการใด อีกทั้งกลุ่มตัวอย่างยังมีกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และการสะสมประสบการณ์การเรียนรู้ทางสังคม อันเป็นข้อจำกัดของทฤษฎีเข็มฉีดยา และเป็นไปตามทฤษฎีอิทธิพลอันจำกัดของสื่อมวลชนดังที่ได้กล่าวในบทที่ ๒

นอกจากการทดสอบสมมติฐานในประเด็นระยะเวลาในการรับสื่อซึ่งไม่มีผลต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้รับสื่อดังที่ได้สรุปในข้างต้นแล้วนั้น ในการศึกษาครั้งนี้ยังได้ทดสอบสมมติฐานถึงปัจจัยระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง (X2) ต่อพฤติกรรม (Y1) และทัศนคติ (Y2) ของกลุ่มตัวอย่างหลังการรับชมข่าวสารทางการเมืองจาก ASTV พบว่า ระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง มีผลต่อพฤติกรรมและทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างหลังการรับชมข่าวสารทางการเมืองจาก ASTV ในหลายประเด็น

- กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาในระดับต่ำกว่าปริญญาตรีเลือกที่จะรับชมข่าวสารด้านการเมืองจาก ASTV ผ่านช่องทางวิทยุมากที่สุด และกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาในระดับสูงกว่าปริญญาตรีเลือกที่จะรับชมข่าวสารด้านการเมืองจาก ASTV ผ่านช่องทางอินเตอร์เนตมากที่สุด

- กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาในระดับต่ำกว่าปริญญาตรีเลือกที่จะรับชมข่าวสารด้านการเมืองจาก ASTV เนื่องจากทัศนคติที่ว่าสื่อสาธารณะอื่นนำเสนอข่าวที่ไม่เป็นกลาง และน่าเชื่อถือรวมถึงมักจะใช้สื่อดังกล่าวเป็นช่องทางหนึ่งในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล

- กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีมีแนวโน้มที่เห็นด้วยว่า ASTV มีการนำเสนอข่าวที่เป็นอิสระมีความเป็นกลาง ตรงไปตรงมาไม่ได้เป็นเครื่องมือของฝ่ายใด อีกทั้งยังมีความยกย่องในตัวพิธีกรที่ดำเนินรายการ ซึ่งตรงข้ามกับทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

- กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีมีแนวโน้มที่เห็นด้วยว่าการชุมนุมเป็นทางออกที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ซึ่งตรงข้ามกับทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี และสูงกว่าปริญญาตรี

- กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี เป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มที่เห็นด้วยกับแนวทางการบริหารราชการของรัฐบาลในปัจจุบันรวมถึงระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

- กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาในระดับต่ำกว่าปริญญาตรีเป็นกลุ่มที่นิยมนำเนื้อหาของสื่อที่ได้รับนั้นไปเผยแพร่บอกต่อให้กับคนรอบข้างรับฟังรวมถึงชักชวนให้บุคคลรอบข้างหันมารับข่าวสารจากสื่อ ASTV มากขึ้น

นอกจากผลการวิจัยในทัศนคติและพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่างหลังการรับชมข่าวสารด้านการเมืองผ่านสื่อ ASTV ดังที่ได้รายงานสรุปไปในข้างต้นแล้วนั้น ผลกระทบอื่นๆ ที่เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบันอันเป็นผลสืบเนื่องจากการนำเสนอข่าวของสื่อดิจิตอล ทั้งทางด้านสังคม การเมือง และเศรษฐกิจนั้นสามารถสรุปในแต่ละด้านได้ดังนี้

- ผลกระทบด้านสังคม ผลกระทบที่ร้ายแรงที่สุด คือ การสร้างความแตกแยกให้เกิดกับสังคมในทุกระดับตั้งแต่ระดับสังคม ชุมชน และประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการปลูกฝังความรุนแรงให้กับเยาวชนของชาติที่รับชม

- ผลกระทบด้านการเมือง การนำเสนอข่าวของ ASTV รวมทั้งสื่อดิจิตอลอื่นๆ ส่งผลกระทบต่อความเชื่อถือในเรื่องของกระบวน การทำงานทั้งต่อตัวบุคคล องค์กร สถาบัน และระบบบริหารงานราชการงานปกครองต่างๆ อันเป็นไปสมมติฐานผลกระทบต่อบุคคลที่ ๓ ที่ได้กล่าวไว้ในบทที่ ๒ อันจะสร้างผลต่อเนื่องต่อการพัฒนาประเทศที่ล่าช้า อันมีสาเหตุจากความขัดแย้งด้านการเมือง ดังที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

- ผลกระทบด้านเศรษฐกิจเป็นการส่งผลกระทบโดยทางอ้อมอันเกิดจากการชุมนุมทางการเมืองซึ่งสร้างความเสียหายและความเชื่อมั่นกับต่างประเทศเป็นมูลค่าอันมหาศาลรวมถึงเป็นการลดความน่าเชื่อถือด้านการลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่างๆ กับต่างประเทศ

โดยผลที่เกิดขึ้นดังกล่าวเนื่องมาจากการที่ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ขาดการเข้ามามีส่วนร่วมในการกำกับดูแลสื่อ ซึ่งเป็นอาชีพที่ได้รับอิสระในการนำเสนอข่าว จนบางครั้งเกินขอบเขตอันควร ซึ่งส่งผลถึงการละเมิดยังสิทธิของผู้อื่น อันจะก่อผลในเชิงลบที่ตามมาเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ทุกองค์ประกอบในสังคมจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการกำกับดูแลการนำเสนอข่าว โดยเฉพาะบนพื้นที่สาธารณะในยุคดิจิตอลที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว
---------------
นศ.วปอ.ชี้ชัด “สื่อเครือมติชน” เสนอข่าวบิดเบือนผลวิจัย ให้ร้าย ASTV

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 12 ตุลาคม 2552 21:15 น.

เมื่อไม่นานมานี้ได้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก เมื่อ ‘ประชาชาติธุรกิจออนไลน์’ สื่อในเครือมติชน ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยเรื่อง “อิทธิพลของสื่อสาธารณะดิจิตอล ที่มีผลต่อพฤตกรรมการบริโภคข่าวสารด้านเมือง ศึกษาเฉพาะ

ASTV ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร” อันเป็นผลงานวิจัยของ นายวิทอง ตัณฑกุลนินาท กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ๊กเซลเล้นท์ กราฟฟิค จำกัด นักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐ

ร่วมเอกชน (ปรอ.) รุ่นที่ 21 ประจำปีการศึกษา พ.ศ.2551-2552 และเป็นงานวิจัยที่ได้รับรางวัลชมเชยจาก วปอ.โดยรายงานข่าวของ นสพ.ประชาชาติธุรกิจ ระบุว่า งานวิจัยชิ้นนี้ ชี้ว่า เอเอสทีวีได้สร้างความแตกแยกให้สังคมใน

ทุกระดับ และเนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงาน หรือกฎหมายใดเข้ามาควบคุม ทำให้เอเอสทีวีมีอำนาจในการปลุกระดมมวลชน สร้างความคิดเห็นและความเชื่อ รวมทั้งการหล่อหลอมพฤติกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นไปตาม “ทฤษฎีเข็มฉีด

ยา” ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติในระยะยาว

รายงานข่าวที่ออกมาได้ก่อให้เกิดการถกเถียงกันในแวดวงสื่อสารมวลชน วิชาการ และการเมือง ว่า งานวิจัยชิ้นนี้ มีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงไร และเหตุใดผลการวิจัยจึงสรุปออกมาเช่นนั้น ขณะที่กลุ่มผู้ชมเอเอสทีวีส่วน

ใหญ่ต่างก็รู้สึกว่าผลลัพธ์ของการวิจัยดังกล่าว ขัดแย้งกับความเป็นจริง ขัดแย้งกับสิ่งที่พวกเขาได้สัมผัส และได้รับรู้

ด้วยเหตุนี้ ASTVผู้จัดการ จึงถือโอกาสถามตรงกับเจ้าตัว ผู้ทำงานวิจัย “วิทอง ตัณฑกุลนินาท” เกี่ยวกับความเป็นมาของงานวิจัย และประเด็นปัญหา รวมถึงข้อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับผลการวิจัยว่าเป็นไปตามที่ปรากฏในข่าวที่นำ

เสนอโดยประชาชาติธุรกิจออนไลน์หรือไม่...?

เลือกวิจัย ASTV เพราะความนิยมสูงสุด

วิทอง ได้ชี้แจงถึงเหตุผลในการทำวิจัยเรื่องนี้ ว่า งานวิจัยชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนหลักสูตรป้องกันราชอาณาจักรรัฐร่วมเอกชน ของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ในเชิงวิชาการ

ซึ่งมีความแตกต่างการวิจัยของเอแบคโพลล์ หรือสวนดุสิตโพล ที่เป็นการสำรวจทัศนะของผู้คนที่มีต่อเรื่องต่างๆ ส่วนเหตุที่เขาเลือกทำวิจัยเรื่องอิทธิพลของเอเอสทีวีที่มีต่อพฤติกรรมของผู้รับข่าวสารด้านการเมือง ก็เพราะเห็นว่าเอ

เอสทีวีเป็นสื่อแนวใหม่ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในบรรดาเคเบิลทีวีและสื่อดิตอล อีกทั้งยังเป็นสื่อที่ได้รับความสนใจจากสังคมอย่างกว้างขวาง

“ผมเลือกทำวิจัยเรื่องเอเอสทีวี เพราะเป็นเรื่องที่คนทั้งประเทศและทั่วโลกให้ความสนใจ เพราะเป็นสื่อรูปแบบใหม่ของไทย เป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพสูงสุด และได้รับความนิยมสูงสุด คนทั่วไปก็อยากรู้ว่าทำไมเอเอสทีวีถึงมี

อิทธิพลเช่นนั้น แต่ยังไม่เคยมีใครทำวิจัย หรือทำการศึกษาด้านวิชาการ ผมเลยตัดสินใจทำเรื่องนี้ด้วยพื้นฐานเชิงวิชาการ โดยไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดสีใด ไม่ว่าจะเป็น เหลือง แดง น้ำเงิน ผมทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ และทำด้วยพื้นฐานความ

เข้าใจจริงๆ ว่า สื่อนี้มีอิทธิพลอย่างไร แรกเริ่มจริงๆ ผมไม่ได้ตั้งใจจะทำเฉพาะเอเอสทีวีนะ ผมจะทำวิจัยสื่อดิจิตอล ซึ่งเป็นเคเบิลทีวีทั้งหมด ซึ่งมีอยู่ 50-60 สถานี แต่เวลามีจำกัด ก็เลยมาดูว่าในบรรดาสื่อดิจิตอลเนี่ยสื่อใดได้รับความ

สนใจมากที่สุด ก็เลือกสื่อนั้น นั่นก็คือ เอเอสทีวี ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งหัวข้อที่วิจัย ก็คือ อิทธิพลของเอเอสทีวีที่มีต่อพฤติกรรมการบริโภคข่าวสารด้านการเมือง เพราะเห็นได้ชัดว่าเอเอสทีวีเป็นสื่อที่ทำให้เกิดความตื่น

ตัวทางการเมืองอย่างมาก” วิทอง กล่าวชี้แจงถึงจุดประสงค์ของการทำวิจัยชิ้นนี้

สำหรับวิธีวิจัยนั้น วิทอง แจกแจงว่า ได้มีการแบ่งการทำวิจัยออกเป็น 2 ส่วน คือ เชิงลึก และเชิงปริมาณ โดยในส่วนของการทำวิจัยเชิงลึก วิทอง ได้สัมภาษณ์บุคคลชั้นนำที่เกี่ยวข้องกับแวดวงการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และสื่อ

สารมวลชน จำนวน 20 คน ส่วนการทำวิจัยเชิงปริมาณ นั้น วิทอง ได้ว่าจ้างบริษัทวิจัยมืออาชีพในการออกแบบสอบถามและทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 100 ตัวอย่าง โดยสำรวจเฉพาะผู้

ที่ดูเอเอสทีวีเท่านั้น โดยได้แบ่งกลุ่มตัวอย่างตามพื้นที่ คือ กรุงเทพฯชั้นใน กรุงเทพฯชั้นกลาง และกรุงเทพฯชั้นนอก นอกจากนี้ ยังแบ่งกลุ่มตัวอย่างตามระดับการศึกษา คือ ต่ำกว่าปริญญาตรี ปริญญาตรี และสูงกว่าปริญญาตรี อีกทั้ง

มีการแบ่งกลุ่มตัวอย่างตามระยะเวลาในการรับชมเอเอสทีวีอีกด้วย

“ในส่วนของการวิจัยเชิงลึก ผมสัมภาษณ์บุคคลระดับหัวกะทิ ที่เกี่ยวข้องกับด้านการเมือง เช่น ตัวแทนพรรคการเมือง สมาชิกวุฒิสภา ศาลปกครอง ด้านสังคม เช่น ตำรวจ ทหาร สภาความมั่นคงแห่งชาติ คณะกรรมการสิทธิ

มนุษยชน จิตแพทย์ ด้านเศรษฐกิจ ก็มีตัวแทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ธนาคารขนาดใหญ่ของรัฐ และด้านสื่อ เช่น เอเอสทีวี สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 กรมประชาสัมพันธ์ คณะ

กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) โดยเป็นการสัมภาษณ์เชิงเปิด แบบอัตนัย

ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณนั้นเนื่องจากผมมีเวลาจำกัด ผมก็ไปดูว่าการวิจัยแบบไหนที่พอทำได้ในเชิงวิชาการและใช้เวลาน้อย ก็เลยเลือกการทำวิจัยที่มีความเชื่อมั่น 90% จากระดับความเชื่อมั่นที่มีอยู่ 2 ระดับ คือ 90% และ 95% โดย

ใช้ตัวอย่าง 100 ตัวอย่าง เพราะระดับความเชื่อมั่น 95 ต้องใช้ตัวอย่างถึง 500 ตัวอย่าง ซึ่งไม่น่าจะทำได้ทัน โดยผมศึกษาประชากรเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และเลือกสัมภาษณ์เฉพาะคนที่ดูเอเอสทีวีเท่านั้น ซึ่งการสัมภาษณ์เชิงปริมาณ

นั้น ผมให้บริษัททำวิจัยมืออาชีพเป็นคนทำวิจัยให้ เจ้าหน้าที่ทำวิจัยจบปริญญาโททุกคน เพราะผมต้องการให้ผลวิจัยที่ออกมามีความน่าเชื่อถือจริงๆ” วิทองอธิบายถึงวิธีการทำวิจัยของเขา พร้อมระบุว่า เพื่องานวิจัยชิ้นนี้ตนเองได้ทุ่ม

เงินส่วนตัวนับแสนบาท

ยืนยันไม่ได้ทำให้แตกแยก

ประเด็นที่ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณาอย่างกว้างขวาง ก็คือ กรณีที่ประชาชาติธุรกิจออนไลน์พาดหัวตัวโตในข่าวงานวิจัยชิ้นนี้ว่า ผลวิจัยระบุว่า เอเอสทีวีสร้างความแตกแยกให้สังคม และมีอำนาจในการปลุกตาม “ทฤษฎีเข็ม

ฉีดยา” ซึ่ง วิทอง ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวว่า

“งานวิจัยชิ้นนี้ไม่ได้สรุปอย่างนั้น และถ้าอ่านจากบทสรุปที่อยู่ในหน้าแรกของงานวิจัยเลย จะเห็นว่า ผลการวิจัยชิ้นนี้ระบุว่า ... ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมและทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างที่รับชมข่าวสารด้านการเมืองจากเอเอสทีวี

ยังอยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสังคมและความมั่นคงของประเทศ นอกจากนั้น ผลการวิจัยยังแสดงให้เห็นว่า ระยะเวลาการรับชมสื่อเอเอสทีวี ไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติที่เกิดขึ้นหลังการรับชม ซึ่งไม่ได้เป็นไปตามทฤษฎีเข็ม

ฉีดยา เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างยังใช้วิจารณญาณในการรับชม และรับชมสื่อจากหลายช่องทาง แต่ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติที่เกิดขึ้น ได้แก่ ระดับการศึกษา นอกจากนั้น เมื่อพิจารณาจากภาพรวมของผลกระทบอันเกิดจากการนำ

เสนอข่าวสารด้านการเมืองของเอเอสทีวี พบว่า ผลในเชิงบวก คือ ทำให้ประชาชนมีช่องทางการรับข่าวสารด้านการเมืองในเชิงลึก อันเป็นช่องทางหนึ่งในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลมากขึ้น

จริงๆ แล้วผลวิจัยของผมมีทั้งผลกระทบในเชิงบวกและผลกระทบในเชิงลบ แต่นี่ นสพ.ประชาชาติ เอาเชิงลบมาอย่างเดียว อย่างผลกระทบในเชิงลบนั้น ผลวิจัยบอกว่า...มองในเชิงลบ ผลกระทบที่เกิดขึ้นมีทั้งต่อสังคมใน

ลักษณะที่สร้างความแตกแยก แต่ประชาชาติเขียนว่าก่อให้เกิดความแตกแยก ... อ้าว! คนละเรื่องหรือเปล่า และผมไม่ได้เขียนคำว่าร้ายแรงที่สุดเลย ผมเขียนว่า ผลกระทบในเชิงลบมีผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสังคมในลักษณะของการ

สร้างความแตกแยกต่อครอบครัว สังคม และประเทศ ซึ่งมีแนวโน้มจะก่อให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น คือ แค่มีแนวโน้ม แต่ยังไม่เกิด คือ ไม่ได้หมายความว่า เอเอสทีวีทำให้เกิดความแตกแยก” วิทอง กล่าวชี้แจงถึงความผิดพลาดอย่าง

ร้ายแรงในการนำเสนอข่าวของ นสพ.ประชาชาติธุรกิจ

ชี้ชัดเป็นช่องทางช่วยตรวจสอบรัฐ

ขณะดียวกัน ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ คือ ผลวิจัยชี้ชัดว่าเหตุผลหลักที่กลุ่มตัวอย่างเลือกรับชมข่าวสารด้านการเมืองจากเอเอสทีวี เนื่องจากกลุ่มผู้สำรวจส่วนใหญ่ ร้อยละ 59 เห็นว่า เอเอสทีวีเป็นสื่อสาธารณะที่ไม่ถูกควบคุมและ

แทรกแซง โดยหน่วยงานภาครัฐ รองลงมา ร้อยละ 47 เห็นว่า สื่อเอเอสทีวีเป็นช่องทางหนึ่งในการตรวจสอบรัฐ ขณะที่ ร้อยละ 45 ดูเอเอสทีวีเพราะต้องการติดตามรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ ร้อยละ 41 ดูเอเอสทีวีเพราะรู้สึกว่าสื่อ

อื่นๆ นำเสนอข่าวไม่เป็นกลางและไม่น่าเชื่อถือ

นอกจากนั้น กลุ่มตัวอย่างยังเห็นว่า เอเอสทีวีเป็นสื่อที่มีอิสระในการนำเสนอข่าวที่เป็นกลาง ตรงไปตรงมา และมีความน่าเชื่อถือในการนำเสนอมากกว่าฟรีทีวีทั่วไปอย่าง ช่อง 3, 5, 7, 9, 11 และ TPBS, เอเอสทีวีเป็นองค์กรผู้นำ

เสนอข่าวสารที่มีความอิสระ ไม่ได้เป็นเครื่องมือของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด, การนำเสนอข่าวสารด้านการเมืองของเอเอสทีวี ทำให้เกิดการปฏิรูปการเมืองใหม่ที่มีความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบการทำงานของภาครัฐได้ดีกว่าเดิม ทว่า

ข้อมูลเชิงบวกต่อ ASTV ที่สรุปได้จากผลการวิจัยเหล่านี้กลับไม่ได้ถูกนำเสนอบนหน้าข่าวของประชาชาติธุรกิจออนไลน์แต่อย่างใด

ทั้งนี้ ผลดังกล่าวนั้นสะท้อนให้เห็นว่า ผู้บริโภคส่วนหนึ่งกำลังแสวงหาสื่อใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของความอิสระในการนำเสนอข่าวสารโดยไม่ถูกแทรกแซงจากรัฐ อีกทั้งยัง

มีความต้องการสื่อที่สามารถเป็นตัวแทนในการตรวจสอบการทำงานของรัฐได้ ซึ่งอาจเป็นเพราะสื่อที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่สามารถตอบสนองความต้องการดังกล่าวของเขาได้

อย่างไรก็ดี ผลการวิจัยชี้ว่า นอกจากจะดูข่าวสารด้านการเมืองจากเอเอสทีวีแล้ว กลุ่มตัวอย่างยังรับข่าวสารด้านการเมืองจากสื่ออื่นๆ ด้วย โดยสื่อที่รับชมมากที่สุด ร้อยละ 70 ได้แก่ สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 โมเดิร์นไนน์ทีวี โดยเฉพาะ

รายการคุยคุ้ยข่าว และสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 โดยเฉพาะรายการเรื่องเล่าเช้านี้ ขณะที่สื่อซึ่งกลุ่มตัวอย่างติดตามข่าวสารด้านการเมืองในอันดับรองลงมา ได้แก่ หนังสือพิมพ์ โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ ASTVผู้จัดการ และ

หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ตามด้วยสื่อวิทยุ โดยเฉพาะสถานีวิทยุชุมชน FM 97.75

ชี้ “สื่อเครือมติชน” บิดเบือนเลือกลงแค่บางตอน

วิทอง แสดงความเห็นด้วยว่า สาเหตุที่ผลงานวิจัยของเขาที่ลงใน ประชาชาติธุรกิจออนไลน์เหมือนจะสรุปว่า เอเอสทีวีเป็นสื่อที่ก่อให้เกิดความแตกแยก และเป็นไปในลักษณะปลุกระดมมวลชน ตาม “ทฤษฎีเข็มฉีดยา” ซึ่งเป็น

การสร้างความเชื่อโดยการให้ข้อมูลซ้ำๆ และอาจส่งผลต่อความมั่นคงของชาติในระยะยาวนั้น เป็นเพราะนสพ.ประชาชาติธุรกิจ หยิบเอาข้อความในบทนำและข้อมูลเพียงบางช่วงบางตอนมาตีพิมพ์ อีกทั้งยังมีการเรียบเรียงถ้อยคำ

ใหม่ จึงทำให้บทสรุปที่ออกมาผิดเพี้ยนไป

“ผลงานวิจัยที่ประชาชาติลงนั้น ผมไม่ได้เป็นคนให้ไปนะ คือ นักข่าวประชาชาติ เขามาขอเหมือนกัน แต่ผมบอกไปว่ายังให้ไม่ได้ เพราะงานวิจัยชิ้นนี้ผมส่งเข้าประกวดกับทางวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) และได้รับ

รางวัลชมเชย จึงถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วปอ.ผมจะให้ได้ก็ต่อเมื่อทาง วปอ.อนุญาตแล้ว ดังนั้น ก็ต้องไปขอกับทาง วปอ.ก่อน ซึ่งเท่าที่ทราบตอนลงในประชาชาติออนไลน์ เขาก็ไม่ได้ขอ วปอ.นะ เขาเพิ่งทำเรื่องขอไปเมื่อเร็วๆ นี้เอง แล้ว

ตอนนั้นนักข่าวประชาชาติ ก็มาขอสัมภาษณ์ผมเหมือนกัน แต่ผมไม่ให้สัมภาษณ์ เพราะว่าต้องรอ วปอ.อนุญาตก่อน

เพราะฉะนั้น ยืนยันได้ว่า ข้อมูลเหล่านี้มันไม่ได้มาจากผม ตอนเขาลงเนี่ยผมก็ไม่รู้ว่าเขาเอาข้อมูลมาจากไหน ผมเพิ่งเชิญนักข่าวประชาชาติมาสัมภาษณ์เมื่อไม่กี่วันมานี้ หลังจากที่เขาลงข่าวไปแล้ว ให้เขามาดูงานวิจัยเต็มๆ ของผม

ผมเชื่อว่า ตอนที่เขาลงข่าวเขาก็น่าจะมีงานวิจัยฉบับเต็มของผมนะ แต่ไม่ได้ลงทั้งหมด คือ เขาลงไม่ครบ เขาอาจจะสรุปเอาเอง และมีการรีไรต์ข้อมูล ซึ่งอาจทำให้ความหมายคลาดเคลื่อนไป คือ ประชาชาติลงข้อมูลไม่ครบ เลยทำให้

คนอ่านตีความหมายคลาดเคลื่อน” วิทอง กล่าวถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในการนำเสนอข่าว พร้อมกล่าวด้วยว่า

บทสรุปที่ตนได้เขียนเอาไว้ในหน้าแรกนั้น ประชาชาติกลับไม่ได้เอาไปเขียนลงในข่าว โดยบทสรุปที่ถือว่าเป็นเนื้อใหญ่ใจความที่สำคัญที่สุดของงานวิจัย ระบุว่า “จากผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่างที่รับชมข่าวสาร

ด้านการเมืองจากเอเอสทีวียังอยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสังคมและความมั่นคงของประเทศ”

“คนละเรื่องไหมครับ?” วิทอง กล่าวพร้อมน้ำเสียงแสดงความสงสัย พร้อมกล่าวต่อว่า ผลวิจัยยังชี้ด้วยว่า ทัศนคติที่เกิดขึ้นหลังจากรับชมไม่ได้เป็นไปตาม “ทฤษฎีเข็มฉีดยา” เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างใช้วิจารณญาณในการรับชม รับ

สื่อจากหลายช่องทาง แต่ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติที่เกิดขึ้นได้แก่ระดับการศึกษา

ในตอนท้ายของการสัมภาษณ์ วิทอง กล่าวยืนยันด้วยว่า ภาพรวมของผลวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า เอเอสทีวี เป็นสื่อที่ดี และงานวิจัยชิ้นนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมาก หากมีการนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ เพื่อหาช่องทางในการ

เพิ่มประสิทธิภาพในการนำเสนอข่าวของเอเอสทีวีต่อไป

“ผมว่างานวิจัยชิ้นนี้ เอเอสทีวีได้ประโยชน์นะ เพราะผลวิจัยพิสูจน์ให้เห็นว่า คุณทำหน้าที่ได้ดีมาก ส่วนใหญ่ดี แต่ข้อเสียก็ต้องมี เพราะไม่มีอะไรที่ไม่มีข้อเสีย แต่ว่าบวกมากกว่าลบ” วิทอง กล่าวพร้อมกับรอยยิ้ม

* * * * * * * * * * * *

เรื่อง - จินดาวรรณ สิ่งคงสิน
ภาพ - กิตติ บุปผชาติ



Create Date : 15 ตุลาคม 2552
Last Update : 15 ตุลาคม 2552 9:53:22 น. 0 comments
Counter : 1354 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สุริยาอัสดง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




เปิดโลกด้วยแสงแห่งปัญญา
Thaiflood
Friends' blogs
[Add สุริยาอัสดง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.