อาทิตย์สาดส่อง..ความจริงจักปรากฎทั่วปฐพี!!!
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2554
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
24 สิงหาคม 2554
 
All Blogs
 
INNเปิดตัวตน "วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ " 1 ใน ตุลาการศาล รธน. ใหม่

เปิดตัวตน "วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ " 1 ใน ตุลาการศาล รธน. ใหม่

เลือกแล้ว 4 ตุลาการศาล รธน.

คณะกรรมสรรหาฯ ลงมติเลือกแล้ว 4 ตุลาการศาล รธน.สายนิติศาสตร์-รัฐศาสตร์ ได้ชื่อ "จรัญ - วสันต์ OSK78 - สุพจน์ - เฉลิมพล" เตรียมเสนอวุฒิสภารับรองในวันนี้ ส่วนศาลฎีกาเตรียมคัดเลือกอีก 3 คน 4 เม.ย.

วันนี้ (25 มี.ค.50) คณะกรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีนายวิรัช ลิ้มวิชัย ประธานศาลฎีกา เป็นประธาน ได้ประชุมเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจำนวน 4 คน จากผู้สมัครที่เป็นผู้สมควรได้รับการเสนอชื่อทั้งหมด 22 คน

แต่ถอนตัวไป 1 คน คือ นายสมชัย จึงประเสริฐ กรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ทำให้เหลือผู้ที่ต้องคัดเลือก 21 คน เพื่อให้เหลือ 4 คน ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ

สำหรับบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกเป็นตุลาการรัฐธรรมนูญทั้งในสายนิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ ฝ่ายละ 2 คน ประกอบด้วย นายจรัญ ภักดีธนากุล ปลัดกระทรวงยุติธรรม นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอุทธรณ์ภาค

นายสุพจน์ ไข่มุกด์ อดีตเอกอัครราชทูต นายเฉลิมพล เอกอุรุ อดีตรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ซึ้งจากนี้จะส่งรายชื่อทั้ง 4 คนต่อวุฒิสภาเพื่อพิจารณารับรองเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญต่อไป

อย่างไรก็ตาม ศาลฎีกาจะมีการคัดเลือกตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอีก 3 คน โดยจะมีการประชุมลงมติในวันที่ 4 เมษายน นี้ และในส่วนของศาลปกครองสูงสุดจะเลือกอีก 3 คน ซึ่งจะมีการประชุมกันในเร็ว ๆ นี้ต่อไป

ทั้งนี้ การประชุมในวันนี้มีคณะกรรการสรรหาฯ 4 คน ประกอบด้วย นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด, นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมการ ป.ป.ช. และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคฝ่าย

ค้าน ขาดเพียง นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานรัฐสภา ที่ยุติการทำหน้าที่ไปก่อนหน้านี้.

เปิดตัวตน "วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์" 1 ในองค์คณะเชือดคดีที่ดิน "หญิงอ้อ"

ครั้งหนึ่งชื่อของ "วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์" เคยฮือฮาเมื่อเขาเคยจำต้องไปเป็นพยานจำเลยคดีอาญาที่ "ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ" ฟ้องหมิ่นประมาท "หนังสือพิมพ์แนวหน้า" และ "น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ" คอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์

แนวหน้า ที่เขียนบทความดูหมิ่นตุลาการศาลรัฐ ธรรมนูญในการตัดสินคดีซุกหุ้นของ "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" กระทั่งศาลสั่งยกฟ้อง
ครั้งหนึ่งชื่อของ "วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ " เคยโด่งดังในฐานะ 10 อรหันต์ ตัวเลือกในการสรรหา "คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)" ผู้ที่เคยแสดงวิสัยทัศน์สุดมัน โดนใจประชาชน แต่ท้ายสุดถูกเตะตัดขา ไม่สามารถเข้าไปเป็น

5 เสือ กกต. ได้
ครั้งนี้ชื่อของ "วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ " กลับมาอยู่ในความสนใจของสาธารณชนอีกครั้งในฐานะ เป็น 1 ในองค์คณะผู้พิพากษาที่ พิจารณาในคดี ที่ "คุณหญิงพจมาน ชินวัตร" ประมูลซื้อที่ดินย่านรัชดาภิเษก 33 ไร่เศษ บริเวณ

ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย มาจากกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินมาได้ในวงเงิน 772 ล้านบาท
"ไอ.เอ็น.เอ็น.เอ็กซ์คลูซีฟนิวส์" พาไปพบตัวตน วีถีชีวิต มุมมองต่อสถานการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรัฐธรรมนูญ เรื่องคดีที่ดินรัชดา เรื่องหวยใต้ดิน เรื่องระบบตุลาการ ฯลฯ ของผู้ชายวัยใกล้ 60 ปี ที่ชื่อ "วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์"

ประธานแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลฎีกา

@อยากให้พูดถึงคดีที่ดินรัชดา

ผมคงพูดอะไรมากไม่ได้เพราะมีการตกลงในองค์คณะว่าจะไม่มีการให้ข่าว หรือรายละเอียดที่เกี่ยวกับคดี เพราะอาจทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆ นานาได้ แต่ที่อยากจะบอกว่าที่หลายคนอาจมองว่าผมถูกล็อกสเปคให้

มาพิจารณาในคดีนี้ นั้น ที่จริงแล้วไม่ใช่ มันเป็นการได้เป็นตามลำดับอาวุโส ซึ่งตามลำดับก็จะเป็นรองประธานศาลฎีกา แล้วก็ต่อด้วยประธานแผนกคดีต่างๆ ในศาลฎีกา ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 8 แผนก ซึ่งทั้งหมดเป็นไปตามลำดับอาวุโส ซึ่งผมไม่ได้ถูกระบุตัวมาอย่างที่มีคนเขาว่ากัน

@ขั้นตอนการยื่นคัดค้านองค์คณะผู้พิพากษา

สำหรับการยื่นคำคัดค้านองค์คณะผู้พิพากษานั้น คู่ความแต่ละฝ่ายสามารถยื่นได้ก่อนศาลจะเริ่มการไต่สวนพยานหลักฐานทั้งนี้ เป็นไปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 มาตรา

16

โดยหลักเกณฑ์ที่จะนำมาพิจารณาการคัดค้านองค์คณะผู้พิพากษา ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่งมาตรา 11 เช่น ถ้าผู้พิพากษานั้นมีผลประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องในคดีนั้น

หรือถ้าเป็นญาติเกี่ยวข้องกับคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือถ้าผู้พิพากษานั้นเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ หรือเป็นนายจ้างของคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ฯลฯ

หากคู่ความยื่นคำคัดค้านผู้พิพากษาองค์คณะรายใดเข้ามา องค์คณะผู้พิพากษาจะเป็นผู้วินิจฉัยเองโดยจะเรียกประชุมองค์คณะ เพื่อนำคำคัดค้านนั้นมาพิจารณาว่าจะยอมรับคำคัดค้านหรือยกคำคัดค้าน ซึ่งหากองค์คณะยอมรับ

ว่ามีเหตุจะต้องเลือกองค์คณะใหม่จะเสนอ เรื่องให้ ประธานศาลฎีกาเรียกประชุมใหญ่ผู้พิพากษาศาลฎีกาทั้ง 87 คนเพื่อเลือกผู้พิพากษาคนใหม่มาเป็นองค์คณะ แทนผู้พิพากษาที่ถูกคัดค้าน

และขั้นตอนต่อไปก็คือ ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กำหนดนัดฟังคำสั่งการยื่นฟ้องคดีนี้ วันที่ 10 กรกฎาคม 2550 ที่ห้องพิจารณาคดีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ถ้ามีการยื่นฟ้องคดีนี้ แล้วก็ว่าไปตามกระบวนการ ซึ่งก็ต้องมีการประชุมองค์คณะว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป

@ถ้ามีคดีอื่นที่มาเข้าสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะมีสิทธิ์ได้เป็นองค์คณะอื่นอีกไหม

ไม่มีกฎห้ามไว้ อย่างผมได้เป็นองค์คณะในคดีนี้ ก็อาจได้เป็นองค์คณะในคดีอื่นๆ อีกก็ได้ มันขึ้นอยู่ที่ว่าที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเขาจะเลือกกัน

@มุมมองเรื่องรัฐธรรมนูญ

จริงๆ ก็มีหลายอย่างที่ผมไม่ชอบใน รธน. ชุดนี้ แต่มันก็ยังแก้ปัญหาของ รธน. ปี 40 ได้ในระดับหนึ่ง รธน. ปี 40 จุดอ่อนอยู่ที่ ส.ว. มาจากการเลือกตั้ง กรุงเทพฯ นะทำได้เพราะคนเด่นคนดังคนมีชื่อเสียง แต่ต่างจังหวัด ไม่ได้

ไม่มีการหาเสียง ไม่มีหัวคะแนน

เพราะฉะนั้น ส.ว. ต่างจังหวัดที่ได้ส่วนใหญ่ต้องใช้ฐานคะแนนของนักการเมือง สภาผัว - เมีย บางทีก็ต้องใช้เงิน เงินไม่มากาไม่เป็น แล้ว ส.ว. อำนาจมหาศาล ทั้งถอดถอน แต่งตั้งองค์กรอิสระ ทั้งศาล รธน. ทั้ง กกต. ทั้ง

ป.ป.ช. เขาซื้อและคุมวุฒิสภาได้ทุกอย่างอยู่ในมือหมด

เพราะฉะนั้นปัญหาใหญ่ของ รธน.ปี 40 หลักการนะดี แต่ทางปฏิบัติไม่ใช่ แก้ปัญหาพวกนี้ต้องเอาไปสรรหาให้หมดแล้วไม่ให้มีอำนาจ เป็นหม้อกรองเท่านั้น เป็นพี่เลี้ยงในการออกกฎหมาย ให้คำแนะนำปรึกษารัฐบาล ไม่

ต้องมาสรรหาองค์กรอิสระ

@ระบบตุลาการของบ้านเราทุกวันนี้มันพัฒนามาดีแล้วหรือยัง

ก็ได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังมีข้อบกพร่องพอสมควร ตอนนี้ที่ขาดคือขาดการตรวจสอบกันเองในองค์กร สมัยที่ผมเป็นผู้พิพากษา เราจะมีอธิบดีภาค อธิบดีผู้พิพากษาภาค และคอยตรวจสอบสำนวนและให้คำแนะนำแต่เดี๋ยวนี้ไม่มี

เพราะกฎหมายเขียนเอาไว้

กฎหมายระแวงผู้ใหญ่ คือมองว่าผู้ใหญ่ที่เป็นผู้บริหารขี้โกงหมด มองว่าไปบีบบังคับให้ผู้พิพากษาชั้นผู้น้อยตัดสินตามตัว ซึ่งความจริงมันไม่ใช่เพราะมันมีข้อกฎหมายอยู่ กล่าวโดยรวมระบบตุลาการในบ้านเราต้องมีการ

พัฒนาให้มากกว่านี้

@มีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ออกมาเป็นตัวอย่างแล้วไม่เห็นด้วยเยอะ

มีเยอะ เราเป็น "สถาบัน" เราก็ต้องตัดสินตามแนว ตามหลักของกฎหมาย ว่ากันไป ไม่ทำให้เกิด "ดับเบิ้ลสแตนดารด์" ไม่ใช่เช้าตัดสินอย่าง บ่ายตัดสินอีกอย่าง สำหรับกรณีคดีเหมือนๆ กัน นั่นก็คือ "สองมาตรฐาน" ซึ่งสังคม

ไทยมองคำว่าสองมาตรฐานหนักไปทางทุจริต ถามว่าคดีอย่างเดียวกันทำไมตัดสินไม่เหมือนกัน ทำไมเรื่องนี้จำคุก ทำไมเรื่องนี้รอลงอาญา ทำไมเรื่องนี้โจทก์ชนะ เรื่องนี้โจทก์แพ้ มันไม่ถูกต้อง

เราก็ต้องบีบองค์กรของเราให้มันเป็นอย่างเดียวกัน แต่สังคมจะเข้าใจอยู่อย่างเดียวคือ "วิ่งเต้น" ก็เหมือนกับของกลางเท่ากัน พื้นเพของจำเลยเท่ากัน ทำไมตัดสินผู้หญิงรอลงอาญา ผู้ชายติดคุก เคยมีนะ เสร็จแล้วคนตัดสินก็

ตอบคำถามนี้ไม่ได้ สุดท้ายก็ต้องออก เพราะมี คนว่าติดสินบนหรือเปล่า

@คดีหวยบนดิน

อย่างคดีเรื่อง "หวยบนดิน" นี่ก็เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนได้ว่า "มติ ครม." ไม่ใช่ "กฎหมาย" และมติ ครม. ไม่ใช่ข้อยกเว้นของกฎหมาย ถ้าจะทำให้ถูกต้องก็ต้องเอามติครม.ไปให้ "สภา" ออกกฎหมาย มันเปรียบเทียบได้กับมติ ครม.

สมัยรัฐบาลชวน (ชวน หลีกภัย) เรื่อง สปก. ที่ไป เพิ่มคุณสมบัติของผู้ได้ สปก. ว่าเป็นผู้ครอบครองมาเก่า พอเพิ่มเงื่อนไขแล้วมาออก สปก. จึงได้มีข้อครหาว่าออกสปก.ให้นายทุน เพราะคุณสมบัติตรงนี้มันไม่ได้เขียนเป็นกฎหมายแต่

เป็นมติครม. ซึ่งมติครม.ไม่ใช่ข้อยกเว้นกฎหมาย อยากทำให้ถูกต้องก็ต้องเอามติครม.ไปแก้ กฎหมายซะ

@ประวัติส่วนตัว

คุณพ่อชื่อ "ชั้น" คุณแม่ชื่อ "มาลี" พ่อเป็นชาวบ้านไม่ได้เรียนหนังสือแต่บวชเณร บวชพระแล้วก็เรียนตอนบวช พอสึกออกมาก็มา เป็นครูเคยมารับราชการ เป็นเสมียนอยู่บริษัท และกลับมารับราชการครูที่รร.อิสลามวิทยาลัย

แห่งประเทศไทย จนเกษียณอายุในตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ดูเหมือนท่าน "วัน นอร์ (วันมูหมัดนอร์ มะทา)" จะเป็นศิษย์เก่าด้วย

คุณแม่รับราชการเป็นข้าราชการ อยู่กรมป้องกันภัยทางอากาศ ย้ายไปอยู่กรมบัญชีกลาง ไปอยู่กรมป่าไม้แล้วก็ลาออก เดิมสัมัยสาวๆ เป็นนักเขียน เริ่มเขียนในหนังสือพิมพ์ศรีสัปดาห์ (ก่อนปี 2500)

ผมเรียนที่วัดมงกุฎ สมัยก่อนมี ป.4 ม.3 ม.6 ม.8 พอจบม.3 ไปเดินเจอเพื่อนเพื่อนก็เลยชวนไปเข้าสวนกุหลาบ พอไปสมัครก็ติด เงื่อนไข คืออายุน้อยไป 3 เดือน แต่พออาจารย์ที่รับสมัครท่านเห็นสมุดประจำตัวแล้วเห็นคะแนน

(ประมาณ 89%) ท่านก็บอกว่าคะแนนสูง พอรับได้ ร.ร.รัฐบาลเหมือนกัน ผมก็สอบเข้าได้ แล้วไปติดห้องคิงส์ด้วย

นักเรียนรุ่นเดียวกันที่ดังๆ ก็มี "ดร.ภักดี โพธิศิริ" อดีตเลขาฯ อย. "คุณปลิว" บอสใหญ่ ช .การช่าง แล้วก็มีรุ่นเดียวกันแต่ไม่ค่อยคุ้นก็มี " พล.อ.เรืองโรจน์ มหาศรานนท์ " อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด ฯลฯ

แล้วก็บังเอิญอีก คือพอรุ่นผมจบ.ม.6 ก็ต้องไปเรียน ม.ศ.4 เป็นรุ่นแรก คุณพ่อสนับสนุนให้ไปสอบเทียบ เพราะไม่จำกัดอายุ ผมก็ ไปสอบเทียบม.8 ก็ได้ ก็สอบเข้ามหา’ลัยก็เลือก "ม.ธรรมศาสตร์" อย่างเดียว คือตอนนั้นตั้งเกณฑ์

ว่าจะเรียนกฎหมายแล้ว

@เหตุที่เลือกเรียนนิติศาสตร์

คุณพ่อมีส่วนแนะนำเยอะว่าเรียนกฎหมายมันกว้าง จะทำงานเอกชน บริษัท ธนาคารก็ได้ จะไปสายปกครอง จะเป็นนายอำเภอ เป็นปลัด เป็นผู้พิพากษา เป็นทนายความก็ได้ โอกาสถูกหลอกก็ยาก

ก็ไปรู้จักเพื่อนร่วมรุ่นหลายคน ผมนิติศาสตร์ รุ่น 06 ผมเข้าไปเรียนมหา’ลัยตั้งแต่อายุ 16 (ไม่เต็ม) สมัยนั้นอธิการบดีจะเป็นท่าน "พระเจ้าวรวงค์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ " แล้วคณบดีคือ "พระยาอรรถการีย์นิพนธํ"

ส่วน "อาจารย์สัญญา" ยังเป็นผู้พิพากษาอยู่

@เพื่อนร่วมรุ่นดาวดัง นี่มีใครบ้าง

ดาวดังต้องสายนิติศาสตร์ "กล้านรงค์ จันทิก" เลขาฯ ป.ป.ช. "เดชอุดม ไกรฤทธิ์" นายกฯ สภาทนายฯ สายเศรษฐศาสตร์ "อาจารย์ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์" "รมช. สมหมาย ภาษี" สายรัฐศาสตร์ "อ.สุขุม นวลสกุล" “ดร.ปรัชญา เว

สารัชช์” สายสื่อ “กำแหง ภริตานนท์(เดลินิวส์)”

@ ตอนเรียนธรรมศาสตร์เป็นอย่างไร ได้ทำกิจกรรมไหม

ผมเรียนจบ 4 ปี ได้เกียรตินิยมด้วย ผมทำกิจกรรมหลายอย่าง เป็นนักร้อยกรอง ตั้งแต่ปี 2 คุ้นเคยกับ "คุณเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ " กวีซีไรต์เพื่อนรุ่นพี่ พออายุ 20 ก็รับปริญญา พอ 20 ก็ไปสอบเนติฯ ระหว่างนั้นก็ไปฝึกงาน

ทนายความ

ก็มีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเอาไปฝาก "ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช " อดีตนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่เดือน ก.ย.2510 ระหว่างฝึกงานก็ไปสอบเนติฯ ไป ด้วย แล้วก็สอบได้ภายใน 1 ปี ผมอายุยังไม่เต็ม 21 ก็เป็นเนติบัณฑิต

@เพื่อนร่วมรุ่นตอนเป็นเนติฯ

เพื่อนร่วมรุ่นดาวดัง ตอนเป็นเนติฯ ก็มี "อุทัย พิมพ์ใจชน".." อภิชาติ สุขขัคคานนท์"... มีที่เป็นผู้หญิงอยู่คนเดียว และเป็นคนที่ได้ที่ 1 " คุณปิยะดา สุจริตกุล "ทุกวันนี้เป็นกรรมการรองผู้จัดการใหญ่ (ไม่แน่ใจ) ธนาคาร

กรุงเทพฯ เขาไปได้ทุนแบงค์ชาติไป เรียนอังกฤษ จบกลับมาก็ทำงานแบงค์ชาติแล้วก็ไปทำเครือซิเมนต์ไทย แล้วสุดท้ายก็มาทำงานที่ ธนาคารกรุงเทพฯ

@หลังจากได้เนติฯ ไปทำอะไร

ก็ไปเป็นทนาย เพราะยังไปเป็นผู้พิพากษาไม่ได้ จนปี 2515 ผมมีสิทธิ์สอบผู้พิพากษาผมก็สอบทิ้งเอาไว้ แล้วก็ยังคิดว่าจะสอบหรือ ไม่สอบดี เพราะว่าความจนติดลมไม่อยากเป็นผู้พิพากษา พอปี 2516 ตัดสินใจมาสอบก็วางมือ

ยาก เพราะต้องโอนคดีในมือไปให้เพื่อน เพราะ ต้องอ่านหนังสือ แล้วก็เผอิญว่าสอบได้อีก แต่ได้คะแนนไม่ดีเพราะเรามีเวลาดูหนังสือน้อย แล้วก็ทิ้งตำราไปนานแล้ว ไม่คิดว่าจะสอบได้ก็ได้ ก็เลยเปลี่ยนทางออกมาทางผู้พิพากษา
ตอนเป็นทนายนั้น ผมยอมรับ "ท่านเสนีย์ "ทุกเรื่องเลยแต่ยกเว้นเรื่องเดียวคือเรื่องที่ท่านเอาใบสมัคร "พรรคประชาธิปัตย์ "มาวาง ไว้บนโต๊ะ ตอนนั้นท่านเสนีย์ ชวนทนายในออฟฟิศมาเล่นการเมือง ผมไม่อยากเป็นก็เลยเก็บ

ใบสมัครเข้าลิ้นชัก
ผมคิดว่าจะมาทำงาน ทำมาหากินตั้งเนื้อตั้งตัวผมก็ยังไม่คิดจะไปทำทางด้านการเมือง ซึ่งตอนนั้นทนายในสำนักงานไปเป็นนักการ เมืองกันเยอะมาก ผมเลยปฏิเสธไป ผมก็ไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองจนแล้วจนรอด
ปี 2518 ผมย้ายไปเป็นผู้พิพากษาบ้านนอก ผมก็ไปกราบลาอาจารย์เสนีย์ที่บ้าน ผมไปอยู่บ้านนอกเริ่มต้นเงินเดือน แค่ 3 พันกว่า จ. ยโสธร ไปเป็นลูกน้อง "ท่านอุดม เฟื่องฟุ้ง"
มีเกร็ดเล่าให้ฟัง ตอนผมเป็นลูกน้องท่านอุดมที่ยโสธรผมจำได้ว่าก่อนผมไปอยู่ที่นั้นท่านอุดมเคยตัดสินคดีๆหนึ่งว่าการจัดคูหาไม่เป็นความลับ ศาลจังหวัดยโสธรมีคำสั่งการจัดเลือกตั้งเทศบาลเมืองยโสธรครั้งนั้นเป็นโมฆะ

เพราะทฤษฎีการเลือกตั้งต้องเป็นความลับ ไม่ใช่เข้าไปยืนชะเง้อดูกันได้ ผมก็เลยเอาเรื่องนี้มาพูดที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเมื่อวันที่ 27 เม.ย. เรื่องการจัดคูหา จากนั้นก็กลายเป็นปัจจัยหนึ่งทำให้การเลือกตั้งเมื่อ2 เม.ย.50ถูกเพิกถอน

@อยู่ยโสธรแล้วไปไหนต่อ

อยู่ยโสธร 1 ปี แล้วก็ย้ายไปอุบล และช่วงนั้นก็ได้ซื้อที่ที่นนทบุรีไว้ ใช้เงินสมัยที่เป็นทนาย ตารางวาละ 500 บาท และอยู่อุบล 3 ปี ก็ เลยขอย้ายมาอยู่นนทบุรี ผู้พิพากษาดูความอาวุโสในการขอย้าย ต้องเป็นไปตามลำดับอาวุโส

ดูจากปีการทำงาน ถึงแม้จะเข้าพร้อมกันก็ต้องดู ลำดับที่การสอบเข้าได้ ผมสอบได้เกือบบ๊วย เพราะงานในหน้าที่มันเยอะดูหนังสือไม่ไหว
พอกลับมาอยู่นนทบุรี ก็ปลูกบ้าน มีหนี้สินเต็มไปหมด 2 คนตายาย ต้องจมตัวเองให้ลง มีน้อยใช้น้อย ต้องรู้จักพอเพียงเพื่อผ่อนใช้หนี้ ผมแต่งงานตั้งแต่ปี 15 ภรรยาผมชื่อ "เต็มใจ" จบ วารสารธรรมศาสตร์ เขาเคยรับราชการ

แล้วออกไป งานสุดท้ายเป็นผู้จัดการประชาสัมพันธ์และโฆษณาบริษัทประกันภัย ตอนนี้ เป็นพนักงานคุมประพฤติผมอย่างเดียว
อยู่นนท์ได้ 3 ปีกว่าเขาก็เรียกมาช่วยงานที่ศาลฎีกา ตั้งแต่ปี 2525 มาช่วยทำงานในตำแหน่ง "ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา" หน้าที่คือ ตรวจสำนวนกับคำพิพากษา ตรวจสอบความถูกต้อง อยู่เกือบ 3 ปี ก็ออกไปเป็นหัวหน้าศาล ปี

2528 ที่มุกดาหาร ตอนแรกต้องอยู่พัทลุง แต่รู้สึกว่าไกลก็เลยขอแลกไปอยู่มุกดาหาร อยู่ได้ 1 ปี แล้วก็ขอย้ายเข้ามาภาคกลางรอบกรุงเทพฯ 17 จังหวัด ไม่ได้เลย แต่ได้ไปจังหวัดที่ 18 คือ ฉะเชิงเทรา แต่เป็นศาลเกรดเอ ตอนนั้นก็รู้จัก

กับคุณจาตุรนต์ดี คุณสุชาติ ตันเจริญ ก็รู้จักกัน
แล้วผมก็ย้ายเข้ากรุงเทพฯ ปีเดียว มาเป็น "ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์" ตรวจสำนวนกับคำพิพากษาเหมือนเดิม พอถึงวาระก็ย้ายมา เป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลแพ่ง อยู่ได้ 9 เดือน ก็ถูกให้มาทำในตำแหน่งผู้ช่วยผู้

พิพากษาศาลฎีกา ทำแบบเป็นตัวจริง เมื่อปี 2534 แต่ก็ถูกย้าย ไปที่อื่นเพราะทำหน้าที่เป็น "โฆษกฝ่ายกบฏตุลาการ" ตอนนั้นหัวหน้ากบฏคือ "อุดม เฟื่องฟุ้ง" เลขาธิการฝ่ายกบฏคือ "วิชา มหาคุณ" เหนื่อย มากเพราะต้องดูแลม็อบ

ปัญญาชน

@เหตุการณ์วิกฤติตุลาการปี 2535 เป็นมาอย่างไร

มันเริ่มตั้งแต่ปี 2534 ตอนนั้นรัฐบาลคุณอานันท์ เป็นนายกฯ "อาจารย์ประภาศน์ อวยชัย "เป็น รมว.ยุติธรรม คิวเป็นประธานศาล ฎีกาอาวุโสที่ 1 คือ "ท่านสวัสดิ์ โชติพาณิช "อาวุโสท่านถัดไปคือ "ประวิทย์ ขัมภรัตน์ "กกต.

ชุดที่ท่านโสภณเป็นประธาน จะไม่ให้ท่านสวัสดิ์ ก็ดึงไว้จน ก.ต.เหล่านั้นเกษียณ ไม่เสนอ ไม่ยอมเสนอบัญชีแต่งตั้ง เมื่อไม่เสนอ ก.ต. ชุดนั้นก็ตัดสินใจว่าไม่เสนอก็จะตั้ง กกต.ฝ่ายอ.ประภาสก็วอคเอาท์ แต่ก็ยังเหลือ ก.ต. ฝ่ายที่เป็น

เสียงข้างมากอยู่ ก็โหวตไม่เอาสวัสดิ์ แล้วก็ไปตั้งท่านประวิทย์ คิวต่อไป อ. ประภาศน์ก็ไม่ยอม เพราะไม่เสนอบัญชีก็ทำอะไรไม่ได้ ก็เลยมีข้อโต้แย้งกันก็เลยมีการประท้วงการจัดชุมนุมกันม็อบผู้พิพากษามากัน 5-6 ร้อยคน บอกรับไม่

ได้ เพราะผู้พิพากษาจะให้ความนับถือ ก.ต. มากกว่ารัฐมนตรี ถึงจะเป็นครูบาอาจารย์ก็เถอะ และในที่สุดก็ยื้อกัน

แล้ว อ.ประภาศน์ ก็ตั้งกรรมการสอบสวนเอาวินัยล็อตแรก 13 คน แล้วก็ลงโทษออกทุกคนรวมทั้ง วิชา มหาคุณ ด้วย ระหว่างนั้นก็มีโปรดเกล้าแต่งตั้งท่าน สวัสดิ์โดยท่านอานันท์ พวกเราก็เลยมองว่าท่านสวัสดิ์เป็นประธาน

ศาลฎีกาของรัฐบาล คนอื่นโดนไล่ออกหมด แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงไม่โปรดเกล้าฯ เพราะการเอาผู้พิพากษาออกต้องโปรดเกล้าฯ ก็ไม่ออกเลยกลับมารับราชการกันใหม่แล้วพอ ท่านสวัสดิ์เกษียณก็เป็นไปตามคิว ท่าน

ประมาณ ชันซื่อ ขึ้นก็เลยมีการปรับอาวุโสกันใหม่ ให้เข้าที่เข้าทาง

@จากนั้นไปรับราชการที่ไหนต่อ
จากนั้น ย้ายมาเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกาตั้งแต่ปี 2542 แล้วก็อยู่ถึง ปี 2545 ก็ขึ้นเป็นหัวหน้าคณะ เป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา จนปี 2547 เป็นวาระจะต้องขยับเป็น "ประธานแผนกที่ศาลฎีกา" หรือว่าจะไปเป็น "

ประธานศาลอุทธรณ์ภาค" เขาถามว่าไปหรืออยู่ผมก็ อยากจะไปเป็นประธานศาลอุทธรณ์ภาคบ้างเพื่อปรับเปลี่ยนแก้ไขวิธีเก็บผลงานของผู้พิพากษา ก็ไปอยู่ได้ปีเดียว ยังทำอะไรไม่เรียบร้อย เพราะเป็นเรื่องใหญ่ ต้องปรับกฎปรับ

เปลี่ยนอะไรอีกเยอะ
แล้วเขาก็ย้ายผมกลับมาที่นี่มาเป็นประธานแผนกคดีแรงงานเพราะอาวุโสถึงแล้ว โดยที่ผมขออยู่ที่โน่น แต่ก็ไม่โกรธอะไร เพราะถ้าไม่ย้ายมาผมก็ไม่ได้สัมผัสกรณีดี กกต. อยู่แผนกคดีแรงงานได้ 1 ปี ก็ขอย้ายมาอยู่แผนกคดี

เยาวชน อีก 90 วันเกษียณ

@วางอนาคตตัวเองไว้อย่างไร

เกษียณแล้วเขาก็ต่อให้เป็นผู้พิพากษาอาวุโสได้ 10 ปี ก็ยังไม่ได้คิดอะไร ก็อาจจะไปพักผ่อน ไปเที่ยวกับภรรยาตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ เพราะไม่มีลูก ก็คงมีเวลาว่างมากขึ้น




Create Date : 24 สิงหาคม 2554
Last Update : 24 สิงหาคม 2554 19:03:18 น. 0 comments
Counter : 2339 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สุริยาอัสดง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




เปิดโลกด้วยแสงแห่งปัญญา
Thaiflood
Friends' blogs
[Add สุริยาอัสดง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.