อาทิตย์สาดส่อง..ความจริงจักปรากฎทั่วปฐพี!!!
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2554
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
3 สิงหาคม 2554
 
All Blogs
 
วุฒิสภาสหรัฐฯ ผ่านแผนเพิ่มเพดานหนี้ 74 ต่อ 26

วุฒิสภาสหรัฐฯ ผ่านแผนเพิ่มเพดานหนี้ 74 ต่อ 26

วุฒิสภาสหรัฐผ่านแผนเพิ่มเพดานหนี้สาธารณะด้วยคะแนนเสียง 74 ต่อ 26 ซึ่งจะทำให้เพดานการก่อหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นอีก 2.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ จากปัจจุบันที่ 14.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทันกำหนดเส้นตายวันที่ 2

ส.ค. แบบหวุดหวิด ซึ่งประธานาธิบดีบารัค โอบาม่า ลงนามเรียบร้อย

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า วุฒิสมาชิกสหรัฐ ลงมติด้วยคะแนนเสียง 74 ต่อ 26 เห็นชอบผ่านร่างกฎหมาย หรือร่างแผนปรับเพิ่มเพดานหนี้สาธารณะของรัฐบาลกลาง และปรับลดรายจ่ายภาครัฐ ทันกำหนดเส้นตายวันที่ 2

ส.ค. แบบหวุดหวิด

ขณะที่ประธานาธิบดีบารัค โอบาม่า ผู้นำสหรัฐ ลงนามรับรองประกาศใช้แผนดังกล่าวทันที ซึ่งจะช่วยให้รัฐบาลโอบามาเพิ่มเพดานหนี้เพิ่มอีก 2.4 ล้านล้านดอลลาร์ จากเดิมที่ชนเพดานเต็มพิกัดอยู่ที่ระดับ 14.3 ล้านล้านดอลลาร์

การรับรองแผนดังกล่าวของวุฒิสมาชิกสหรัฐตามหลังสภาผู้แทนฯ สหรัฐ จะช่วยให้รัฐบาลโอบามาสามารถไปกู้เงินเพื่อนำมาชำระหนี้พันธบัตรต่าง ๆ ได้ โดย ประธานาธิบดี โอบาม่า บอกกับผู้สื่อข่าวหลังร่างกฎหมายได้รับความ

เห็นชอบจากวุฒิสภา เรียกร้องให้สมาชิกสภาครองเกรสพุ่งเป้าไปที่การส่งเสริมเศรษฐกิจของสหรัฐฯเป็นลำดับต่อไปด้วยมาตรการต่าง ๆ ที่จะช่วยธุรกิจต่างๆกลับมาจ้างงานอีกครั้ง โดยกล่าวว่า เรามิอาจถ่วงงบประมาณไว้บนหลัง

ของประชาชนที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากภาวะถดถอยอยู่ก่อนแล้ว ทุกคนควรมีส่วนร่วม มันคือความยุติธรรม นั่นคือหลักการที่ตนจะต่อสู้ในขั้นตอนต่อไปของกระบวนการนี้

ปูตินจวกสหรัฐ ฯ เป็นกาฝากเศรษฐกิจโลก
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก ครอบครัวข่าว 3

นายกรัฐมนตรีปูตินของรัสเซีย ซึ่งเป็นประเทศคู่แข่งทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ได้ออกมาวิจารณ์ว่า สหรัฐฯ เป็นกาฝากของเศรษฐกิจโลก

เมื่อวันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมา สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า นายวลาดิเมียร์ ปูติน นายกรัฐมนตรีรัสเซีย ได้กล่าวกับกลุ่มนักเคลื่อนไหวเยาวชน ที่ค่ายฤดูร้อนริมทะเลสาบเซลีเกอร์ ว่า สหรัฐ ฯ นั้นเป็นเสมือนประเทศกาฝาก

ของเศรษฐกิจโลก จากการกระทำที่ใช้จ่ายเกินตัว และที่อยู่ได้ก็เพราะเครดิต พร้อมทั้งบอกว่า หากปล่อยให้เงินดอลลาร์ครอบงำการเงินโลกอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ภายภาคหน้าอาจเป็นภัยต่อตลาดการเงินโลกได้

ปูติน กล่าวอีกว่า ทั้งรัสเซียและจีนเองก็เป็นประเทศมหาอำนาจของโลก ดังนั้นหากเป็นไปได้ก็ควรมีเงินสกุลอื่นสำรองไว้ด้วย ไม่ใช้ปล่อยให้ยึดแต่เงินดอลลาร์อย่างทุกวันนี้ แต่ก็ยังดีที่นักการเมืองสหรัฐ ฯ ยังมีความรับผิด

ชอบพอที่สามารถพาประเทศ หลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ที่มีกำหนดเส้นตาย เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม มาได้อย่างหวุดหวิด ด้วยการผ่านข้อตกลงปรับเพดานหนี้สาธารณะของรัฐบาลกลาง และปรับลดรายจ่ายภาครัฐ ที่นายโอบา ผู้นำ

สหรัฐ ฯ ได้ลงนามผู้รับรองประกาศใช้แผนดังกล่าวทันที

[2 สิงหาคม] วิกฤติหนี้รัฐบาลสหรัฐฯ กับการขยายเพดานหนี้

ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ข่าวการปรับ "เพดานหนี้สหรัฐฯ" กลายเป็นข่าวร้อนในวงการเศรษฐกิจโลก ซึ่งสื่อไทยเองก็รายงานใกล้ชิดติดขอบ เพราะเมื่อประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐฯ ประสบกับวิกฤติเศรษฐกิจอย่างใดอย่าง

หนึ่งย่อมส่งผลกระทบไปทั่วโลกอย่างแน่นอน

สำหรับปัญหาของสหรัฐฯ ในขณะนี้คือ มีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย และไม่สามารถกู้เงินมาเพิ่มได้อีก เนื่องจาก หนี้สาธารณะ หรือหนี้ของรัฐบาลสูงเกินเพดานที่กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนด จึงมีการเสนอให้ปรับเพดานหนี้

(debt ceiling) ซึ่งในแต่ละประเทศ จะมีกฎหมายกำหนดเพดานหนี้ไว้ว่าจะสามารถเป็นหนี้ได้สูงสุดเท่าไร คล้ายกับวงเงินบัตรเครดิต ซึ่งเพดานหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ ในปัจจุบันคือ 14.294 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (สภาอนุมัติเมื่อ

เดือนกุมภาพันธ์ 2010)

โดยก่อนหน้านี้ทั้ง 2 พรรคการเมืองใหญ่อย่าง รีพับลิกัน และเดโมแครต ต่างก็เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวกันคนละทิศคนละทาง โดยฝ่ายรีพับลิกัน ระบุว่า ปัญหาใหญ่อยู่ที่รายจ่าย จึงต้องลดรายจ่ายเป็นหลัก ขณะที่เด

โมแครต เห็นว่าปัญหาหลักอยู่ที่รายได้ จึงต้องเพิ่มรายได้ด้วยการเพิ่มภาษีต่าง ๆ พร้อมทั้งชี้ว่าการลดรายจ่ายเป็นหลักนั้นไม่ควรทำ ทำให้การพิจารณาเรื่องดังกล่าวยืดเยื้อเรื่อยมา จนในท้ายที่สุดทั้ง 2 สภา ก็ยอมรับข้อตกลงร่าง

กฎหมายดังกล่าวทันตามกำหนดเส้นตายพอดิบพอดี (2 สิงหาคม)

ทั้งนี้ สภาล่างสหรัฐฯ มีมติ 269 : 161 เสียง รับรองร่างกฎหมายปรับเพิ่มเพดานหนี้ เพื่อเปิดทางให้รัฐบาลกู้ยืม 2.4 ล้านล้านดอลลาร์ โดยจะทยอยขึ้นทีละขั้น แบ่งเป็น 3 ขั้น ไปจนถึงปี 2012 และนับจากนี้สหรัฐฯ จะดำเนินการ

ตามแผนลดการขาดดุลงบประมาณลง 2.4 ล้านล้านดอลลาร์ แบ่งเป็น ลดค่าใช้จ่ายภาครัฐระยะยาว 900,000 ล้าน ถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์ ตลอด 10 ปีข้างหน้า และหารายได้ที่ขาดอยู่อีก 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ จากการปรับวิธีเก็บภาษี

และปรับค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการ

โดยทาง จอห์น โบห์เนอร์ ประธานสภาล่างฝ่ายรีพับลิกัน ได้เคาะตัวเลขการลดค่าใช้จ่ายที่แน่นอนอยู่ที่ 917,000 ล้านดอลลาร์ แบ่งการตัดรายจ่ายออกเป็น 2 รอบ รอบแรกเป็นโครงการแผนงานประเภทที่รัฐสภาอนุมัติให้เป็น

รายปี ไล่ตั้งแต่งบประมาณทางทหาร ไปจนถึงโครงการตรวจสอบเฝ้าระวังด้านอาหาร ซึ่งในยอด 917,000 ล้านดอลลาร์นี้ ประมาณ 350,000 ล้านดอลลาร์ มาจากโครงการด้านกลาโหมและด้านความมั่นคงอื่น ๆ ซึ่งมียอดรวมเท่ากับ

กว่าครึ่งหนึ่งของโครงการประเภทที่รัฐสภาอนุมัติให้เป็นรายปีทั้งหมด เนื่องจากสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะถอนตัวออกจากอิรักและอัฟกานิสถานมากขึ้น ทำให้ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้น่าจะลดต่ำลงมาเรื่อย ๆ แต่ทว่าทางฝั่งรีพับลิกันก็ยังคง

ต่อต้านแนวความคิดนี้

ส่วนการตัดลดงบประมาณรายจ่ายรอบสอง ถูกกำหนดไว้ที่ราว 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ ภายในระยะเวลา 10 ปีเช่นกัน โดยจะมีการตั้งคณะกรรมาธิการชุดพิเศษ 12 คน จากทั้ง 2 สภา ทั้งเดโมแครตและรีพับลิกันฝ่ายละเท่า ๆ กัน

แล้วทำหน้าที่ศึกษาหาวิธีประหยัดงบประมาณด้วยการยกเครื่องระบบการจัดเก็บภาษี และปรับโครงสร้างโครงการด้านสวัสดิการสังคมต่าง ๆ ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 23 พฤศจิกายนปีนี้ ก่อนจะเสนอให้รัฐสภาพิจารณาอนุมัติ ภาย

ในวันที่ 23 ธันวาคม ซึ่งไม่ว่าสภาจะมีมติรับหรือไม่รับ ก็ไม่สามารถแปรญัตติแก้ไขรายละเอียดของแผนนั้นได้

อย่างไรก็ดี มีการวิเคราะห์ถึงการปรับเพดานหนี้ดังกล่าวกันไปต่าง ๆ นานา แน่นอนมันเป็นทางออกที่อาจจะดีที่สุดที่ทำให้หนี้ของสหรัฐฯ ไม่กลายเป็นหนี้เสีย โดยมีเงินมาชำระหนี้ได้ทันตามกำหนด และเงินดอลลาร์อาจไม่

อ่อนค่าลงมากตามคาดการณ์จนฉุดตลาดหุ้นทั่วโลก แต่ก็ยังต้องดูกันต่อไปยาว ๆ เพราะปัญหาหนี้สาธารณะ เกิดการก่อตัวเรื้อรังมานาน ยังไม่มีแนวโน้มจะดีขึ้นง่าย ๆ และอย่าลืมว่า หนี้สาธารณะ หรือเงินที่รัฐบาลกู้มาในแต่ละปีนั้น

อาจใช้ให้หมดไปได้ แต่ในความจริงแล้ว ประเทศที่กู้ยืมก็มักจะเป็นหนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นตัวเลขมหาศาล สังเกตได้จากประเทศที่ประสบปัญหาเศรษฐกิจ มักมีตัวเลขหนี้สาธารณะอยู่ในเปอร์เซ็นต์สูง เมื่อเทียบกับ GDP ของ

ประเทศ

...ก็ต้องจับตาดูกันต่อไปว่า การขยายเพดานหนี้ในภาวะความเสี่ยงเช่นนี้ จะเป็นทางออกที่ดีสุดในระยะยาวด้วยหรือไม่ หากองค์กรด้านความน่าเชื่อถือต่าง ๆ ปรับระดับความน่าเชื่อถือด้านการเงินของอเมริกาลง ซึ่งนั่นจะส่งผล

ต่อการประเมินมูลค่าและทรัพย์สินต่าง ๆ อีกมาก

-----------
US Debt_Ceiling = รู้ไหมจ๊ะ... เพดาน_หนี้นั้น_สำคัญไฉน ?

Thai_Post : เปลวสีเงิน

เพดานหนี้ของสหรัฐ = US Debt_Ceiling ภาษาที่จะเข้าใจได้ง่ายว่า มันคืออะไร & สำคัญแค่ไหน ถึงเป็นข่าวตื่นเต้นกันไปทั่วโลก ไม่เว้นแต่ละวัน

ทุกคนมีCredit_Card & Credit_Card ก็จะมีวงเงินให้เราใช้ เช่น ไม่เกิน100,000บ. นั่นคือ เพดาน_ที่เขากำหนดให้ใช้... ไปซื้อสินค้า &บริการ

รวมทั้ง เบิกเงินสดล่วงหน้าได้ เพดานหนี้หากมากเกินกำลังเรา พอใช้จนเต็มเพดานก็จะมีปัญหา_เวลาเขาเรียกเก็บ เราจะใช้หนี้ไม่ไหวตามที่เขากำหนด

ประเทศสหรัฐฯ ก็มีเพดานหนี้ที่รัฐจะก่อได้เหมือนกัน แต่ไม่ใช่แค่ 100,000บ. ตัวเลขที่ก่อหนี้ได้หรือวงเงินหนี้ คือ 14.3ล้านล้าน$

เขียนเป็นตัวเลขเต็มๆ ว่า 14,300,000,000,000$ หากใช้ 1$ = 31บ.ไปคูณ จะได้ = 443,300,000,000,000บ. อ่านว่า 443.3ล้านล้านบ.

แปลอีกทีก็คือ สหรัฐฯ ก่อหนี้ได้ถึงประมาณ 50เท่าของGDP เลยทีเดียว & ตอนนี้ก็มีหนี้ประมาณนั้น ใช้จนเต็มวงเงินCreditแล้ว

เลข " 0 " เยอะแยะจนเครื่องคิดเลขเอาไม่อยู่ หากคองเกรสหรือรัฐสภาสหรัฐฯ ไม่ยอมแก้ไขกม. เพื่อเพิ่มเพดานก่อหนี้ของสหรัฐให้สูงขึ้นไป

สหรัฐก็ไม่มีปัญญาจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่จะทยอยกันเข้ามาได้ครบทุกอย่างตั้งแต่ 2 สค.นี้เป็นต้นไป คล้ายๆ เราใช้วงเงินในบัตรCreditจนเต็ม

มีอยู่กี่บัตรCredit ก็ใช้จนวงเงินเต็มแล้วทุกบัตร บิลค่าน้ำ ค่าไฟ กำลังถึงกำหนดจ่าย ค่าเล่าเรียนลูกก็จะต้องจ่ายในเดือนหน้า

รายได้แต่ละเดือนก็เพียงพอแค่ค่าอาหาร ค่าเดินทางไปทำงาน/ไปเรียน ไหนจะค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถอีกล่ะ ดูภาพนี้ตรงขั้นบันไดจะชัดเจนขึ้น

สหรัฐฯ เพิ่มเพดานหนี้ขึ้นเรื่อยๆ & เพิ่มมานานแล้วตั้งแต่ปี คศ.1980 เพดานหนี้ที่ว่านี้ได้ถูกขยับขึ้นอย่างต่อเนื่องมาจนถึงวันนี้

17ครั้งในยุคของประธานาธิบดี โรนัลด์ เรแกน , 4ครั้งในยุคของ บิล คลินตัน , 7ครั้งในยุคของ จอร์จ ดับเบิลยู บุช , 3ครั้งในยุคของ บารัก โอบามา

หากคองเกรสลงมติให้เพิ่มเพดานหนี้อีกครั้งในเร็วๆ นี้ โอบามาก็จะได้เพิ่มสถิติเป็น 4ครั้ง เรียกได้ว่าต่างฝ่ายต่างก็เพิ่มเพดานหนี้กันทั้งน้าน ฯลฯ

* อย่างไรก็ตาม 2พรรคการเมืองนี้ที่ซู๊ด... ก็จะตกลงกันได้เหมือนที่เคยเป็นมาทุกยุค เพราะหากไม่ยอมขยายเพดานหนี้ ผลฯต่อประเทศมันจะหนัก

มาตรการ QE3 จะช่วยได้ไหม?

มาตรการนี้เป็นการฉีดสภาพคล่องเข้าระบบ แต่ตอนนี้ปัญหาของสหรัฐฯไม่ใช่ขาดสภาพคล่อง สภาพคล่องกลับล้นไปด้วยซ้ำ

เพราะ ธนาคารต่างๆ_ไม่ปล่อยกู้ ส่วนธุรกิจเองก็ไม่กล้าขยายการผลิต ดูได้จากอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นเตี้ยจน_ติ๊ดดิน สินเชื่อแทบไม่โตเลย

QE3 จึงเป็นการแก้ปัญหาไม่ถูกจุด ไม่ควรทำ ควรไปกระตุ้นให้ปล่อยสินเชื่อมากกว่า K. เบอร์ นันเก้ เองนั้น ต้องการดึงเงินกลับเข้าด้วยซ้ำ

* หากมี QE3 จะเกิดการเก็งกำไรใน Commodity & ตลาดหุ้นตลาด Bond พอถึงจุดหนึ่งการเก็งกำไรก็จะหยุดลง หยุดลง & หยุด... โลง

แล้วก็จะเป็นปัญหากับ เบอร์ นันเก้ อีก บางคนมอง_ควรอัดฉีดเพิ่ม QE3 หากดูท่าว่าเศรษฐกิจจะแย่ แต่มีคนคัดค้าน ทำเช่นนั้นเงินเฟ้อจะเป็นปัญหาใหญ่

จิม โรเจอร์ส ก็บอกว่า FED_จะออกมาตรการแน่ๆ

แต่ล่าสุด เบอร์ นันเก้ ออกมาบอกอีกทีว่า ไม่เอาแล้วQE3 แต่หากต้องทำจะทำด้วย 2เงื่อนไขเท่านั้น

1. เศรษฐกิจจะแย่กว่าที่คาด อย่างมีนัยสำคัญ

2. ต้องมีความเสี่ยงจากการจะเกิดเงินฝืดอย่างมีนัยสำคัญ เช่นกัน

ซึ่งพิจารณาเงื่อนไข 2อย่างนี้จะเห็นว่า ไม่เกิดง่าย เพราะ เบอร์ นันเก้ เองก็คาดว่าครึ่งปีหลังนี้เศรษฐกิจจะดีกว่าครึ่งแรก

และปีหน้า ก็จะดีขึ้นไปอยู่ที่กว่า3% ส่วนอาหาร , น้ำมัน , สินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ ก็ราคาขึ้น เงินเฟ้อ... จึงไม่กลายเป็นเงินฝืดหรอก

อย่างไรก็ตาม เบอร์ นันเก้ ก็บอกว่ายังไม่รู้ว่าทิศทางเศรษฐกิจของสหรัฐ์_จะไปทางไหนกันแน่ QE3จึงเป็นการเปิดประตูเอาไว้เผื่อเหลือ_เผื่อขาด

นอกจากนี้ เขายังบอกว่า จะคงดอกเบี้ยต่ำไปอีกนานๆ ดังนั้นเงินท่วมระบบสภาพคล่องที่ล้นเพราะBank_ไม่ปล่อยกู้

แต่เอาไปเก็งกำไรในตลาดหุ้นกับสินค้าโภคภัณฑ์นั้น ก็ยังคงอยู่ไปอีกพักใหญ่ เพราะ ต้นทุนคือดอกเบี้ย ที่ใช้ในการนำเงินไปเก็งฯจะต่ำอีกพักใหญ่

เพราะดูจาก อาการทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ก็เชื่อว่าจนถึงปลายปีนี้สหรัฐอเมริกาก็ยังไม่ขึ้นดอกเบี้ย

ปัญหาทั้งยุโรป & สหรัฐในขณะนี้เกิดจากอะไร?

สิ่งที่เกิดขึ้นในโลกตอนนี้เป็นผลพวงมาจากปัญหา Sub_Prime ซึ่งไม่เคยจบ แม้หลายคนจะเคยกลัวว่าจะเป็นเหมือน The Great Depression

ที่จะกินเวลาตกต่ำไปทั้งโลกลากยาวไปเป็น10ปี แต่พอรัฐบาลทุกประเทศช่วยกันอัดฉีดสภาพคล่องเต็มที่จนประคองไปได้

คนที่กลัวก็หลงดีใจ คิดว่าผ่านพ้นวิกฤติ Sub_Primeไปแล้ว ทั้งๆ ที่ไม่ใช่ แค่เพียงซื้อเวลาเท่านั้น

หลายประเทศที่ขาดดุลการคลัง ก็เพราะอัดฉีดเงิน หรือสภาพคล่องเข้าไปในระบบ & ช่วยซื้อหนี้มีปัญหาจากภาคเอกชน

คือ ย้ายหนี้จากภาคเอกชนมาให้เป็นหนี้รัฐ เป็นการเอาปัญหาของเอกชนมาให้รัฐ หลายประเทศที่ขาดดุลการคลังมากขนาดนี้ ก็เพราะ

ใส่เงินมหาศาลเข้าไปอัดฉีดหล่อเลี้ยงระบบเอาไว้ โดยเงินที่ใส่ลงไปนั้น รัฐบาลต่างๆ ก็กู้จากเอกชน & คนทั่วไปนั่นเอง

ด้านยุโรปเอง ก็จะไม่มีทางปล่อยให้ Spain กับ Italy เป็นอะไรไป IMF & ECB จะต้องช่วยเพื่อไม่ให้พังกันไปโหม๊ด!

ทั้ง 2ประเทศนี้ก็กำลังหาทางลดค่าใช้จ่ายลง & เชื่อว่าจะทำได้สำเร็จ

สมมติว่าเกิดมี QE3 ขึ้นมาจะเกิดอะไรขึ้น ?

ตลาดหุ้นทั่วโลก , ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ จะได้ผลดีในช่วงสั้นๆ เท่านั้น & ผลตอบรับอาจไม่แรงเท่าช่วง QE2

ตลาดจะกังวลมากกว่า เพราะเม็ดเงินยิ่งมากขึ้น แต่ถ้าตอนถอยจะยิ่งตกหนัก ฯลฯ

หากเพิ่มเพดานหนี้แล้วปัญหาในสหรัฐจะจบลงได้ไหม?

อย่างแรกคือหายใจคล่องขึ้น เพราะมีเงินจ่ายหนี้ที่ครบกำหนดได้ ไม่ต้องขึ้นชื่อว่าผิดนัดชำระหนี้ แต่ในระยะกลางถึงระยะยาวนั้นปัญหาก็ยังคงอยู่

ถ้ารัฐสภาสหรัฐฯ ไม่ปรับปรุงลดรายจ่ายต่างๆลง & เพิ่มอัตราภาษีบางอย่างขึ้น มันก็แค่แก้ปัญหาระยะสั้น

เหมือนจ่ายหนี้บัตรCredit ด้วยการไปเปิดใช้บัตรCredit_ใหม่ แล้วกดเบิกเงินสดล่วงหน้าจากบัตรใหม่เอาไปจ่ายชำระหนี้บัตรเก่า

พอเวลาผ่านไปอีกพักก็จะแย่อีก & จะแย่ยิ่งกว่าเดิมด้วย หากเศรษฐกิจสหรัฐฯโตไม่เร็วพอ ซึ่งก็คือไม่สามารถเพิ่มรายได้ได้ทันค่าใช้จ่าย

หากจะฟันฉับตัดปัญหาให้จบไปเลย ก็ต้องให้ได้ดุล... ด้วยการลดค่าใช้จ่ายลง 40% (คิดจากที่ว่าเงิน 1$_ที่สหรัฐใช้เกิดจากการกู้ 40%)

ทำอย่างนั้นจะกระทบเศรษฐกิจหนัก คนจะยิ่งไม่มีเงินใช้ ธุรกิจก็แย่ลง คนก็ต๊กงาน=ธุรกิจจะขายของได้น้อยลง ต้องปิดกิจการ เลิกจ้าง (งูกินหาง)

ผลกระทบต่อตลาดทุนไทย?

ณ วันนี้เงินสหรัฐฯ ยังมีสภาพคล่องล้นเหลือ เพราะรัฐอัดฉีดเงินลงไปแล้ว แต่ธ._ยังไม่ปล่อยกู้ เป็นแบบนี้แล้วเงินก็จะมาที่Asiaที่ดูดีที่สุด

เพราะเขาก็ต้องการให้เกิดผลตอบแทนจากเงินลงทุน การส่งออกของไทยมีการกระจายตัวดีขึ้น หากสหรัฐฯกับยุโรปแย่ เราก็ยังเลี้ยงตัวได้

เพราะเรามีการค้าขายกับพวกกันเอง & ในตลาดอื่นๆ + ปัญหาภายในโดยรวมก็น้อย การทะเลาะทางการเมืองก็เป็นเรื่องปกติของคนไทยไปแล้ว

ไม่มีอะไรให้ตื่นเต้น ลงทุนในหุ้นไทยจึงดีกว่า หากมองระยะยาว แต่การเก็งกำไรสั้นๆ จะทำได้ยากส์ เพราะระดับ

P/E ปี 2008 ที่วิกฤติ Sub_Primeนั้น มันถูก คือ ที่ 6-7เท่า แต่ตอนนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 12-13เท่า การหาจังหวะทำกำไรจึงยากส์ มีความเสี่ยงสูงกว่า

พวก Global_Fund ของฝรั่ง กำลังสนใจตลาดไทย?

จากเดิมที่ไม่เคยเลยที่จะสนใจไทยโดยเฉพาะ เพราะจะไปมองภาพAsia รวมๆ หรือมุ่งที่จีนมากกว่า ตอนนี้เขาเริ่มมีความสนใจ

เริ่มสอบถามไปยังนักวิเคราะห์ไทย ขอพบผจก. กองทุนไทย ส่งคนมาขอข้อมูลหุ้นไทยมากขึ้น ขนาดที่ว่าหน. ฝ่ายการลงทุนมาหาข้อมูลเอง

ทั้งนี้เป็นเพราะ Asia_มีแนวโน้มการบริโภคจับจ่ายใช้สอยที่สูงขึ้นเรื่อยๆ เขาเลยสนใจAsia & ไทยก็มีเศรษฐกิจที่มีศักยภาพการบริโภคได้ดีอยู่แล้ว

ฝรั่งจึงสนใจ & มองไทยยาวววว... ขึ้น น่าจะทยอยเข้ามามากขึ้นถ้าเราตั้ง ครม.ใหม่ได้โดยเป็นคนที่น่าเชื่อถือ โดยเฉพาะ ก.เศรษฐกิจ

หากรัฐบาลใหม่ดำเนินนโยบายได้น่าเชื่อถือ ไม่ส่งผลแง่ลบต่อเศรษฐกิจ

วรวรรณ ธาราภูมิ นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน ; CEO บ.ลจ บัวหลวง

ที่ขำๆ อีกเรื่องคือ เริ่มมีตัวแทน ก.คลัง สหรัฐฯ มาขอพบผจก.กองทุนกันบ้างแล้ว สงสัยจะมาหาทางขอกู้


==> เปลวสีเงิน : ทุกอย่าง "เรื่องสมมุติเจ๊ง" ให้ "เจ๊า" กันไปทั้งโลกก็ดี กลับมาตั้งต้นนับ๑_กันใหม่ ผมช๊อบ... ชอบ

จะได้ตามน้ำ โละหนี้_ ๗๐-๘๐ ล้านไปด้วย ( แฮ่ะๆ.... อ่ะๆ... ล้อ... เล่น... ขำ ขำ ! )



Create Date : 03 สิงหาคม 2554
Last Update : 3 สิงหาคม 2554 23:16:53 น. 0 comments
Counter : 530 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สุริยาอัสดง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




เปิดโลกด้วยแสงแห่งปัญญา
Thaiflood
Friends' blogs
[Add สุริยาอัสดง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.