อาทิตย์สาดส่อง..ความจริงจักปรากฎทั่วปฐพี!!!
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2553
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
1 มิถุนายน 2553
 
All Blogs
 
“บทบาทสื่อในการเยียวยาประเทศไทย”

วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 เวลา 22:10:49 น. มติชนออนไลน์

โดย ธาม เชื้อสถาปนศิริ มีเดียมอนิเตอร์, มูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา

เกือบ 10 วันหลังการปะทะระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่รัฐจนมีผู้บาดเจ็บล้มตาย ตึกรามบ้านช่องถูกเผาเสียหาย นับเป็นโศกนาฎกรรมที่ไม่มีใคร (ที่รักประเทศชาติ) อยากให้เกิดด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือไม่ นี่อาจเรียกว่าเป็นบาดแผลฉกรรจ์ของคนไทย ความเสียหายทางวัตถุ ชีวิตมากเพียงใด ความเสียหายทางจิตใจของคนทั้งประเทศ มากยิ่งกว่าบรรยากาศความเศร้าโศก ถูกทดแทนรวดเร็วด้วยหลากบรรยากาศถัดมา

แรกคือความโกรธเกลียดของผู้คนที่เห็นความสุขสบายของแกนนำในค่ายนเรศวร ทิศทางข่าวนำเสนอถึงความเหลาะหลวมของการควบคุมตัวแกนนำในคดีผู้ก่อการร้าย สองมาตรฐาน

ถัดมาคือบรรยากาศความร่วมมือร่วมใจของผู้คนที่ออกมาช่วยกันทำความสะอาดถนน บ้านเรือน ห้างร้านให้กลับมาสะอาด สงบ เหมือนเดิม เป็นบรรยากาศแห่งการเรียกสติของผู้คนให้กลับคืนมา สื่อบันเทิงค่ายต่างๆ ร่วมแรงแข็งขันแต่งเพลง ฉายภาพมิวสิควีดีโอขับกล่อมรณรงค์ฟื้นฟูจิตใจคนไทย

เยาวชนคนรุ่นใหม่อาสาเข้ามาทำงานเยียวยา ฟื้นฟูบ้านเมืองผ่านกิจกรรมอาสาต่างๆ อย่างสร้างสรรค์

ขณะที่บทเพลงรณรงค์ขอให้ความสุขกลับคืนมา เห็นดาราพาเหรดกันออกมาพูดรณรงค์ให้รักกันเหมือนเดิมถูกนำเสนอผ่านสื่อแทบทุกช่อง ทุกช่วงท้ายข่าว หรือบรรยกาศข่าวของ พ.อ. สรรเสริญ แก้วกำเนิด ที่สื่อแต่ละช่องแต่ละฉบับนำเสนอประวัติ ชีวิตส่วนตัวเป็นฉากๆ

ขณะที่บรรยากาศถัดมาคือความคึกคักของถนนผ่านสีลม – สุขุมวิท – พญาไท ที่เปิดพื้นที่ขายของให้พ่อค้าแม่ขายที่ได้รับผลกระทบมาจากการถูกเผาห้างร้าน โรงแรม สถานบันเทิงยามราตรี กลับมาเปิดบริการอีกครั้งหลังการยกเลิกประกาศเคอร์ฟิว รถกลับมาติดเหมือนเดิม ความคึกคักเมืองกรุง ความสุขคนกรุง กลับมาเหมือนเดิม

บรรยากาศแห่งความชื่นมื่นคนกรุง ที่แห่แหนกันไปช๊อปปิ้งเพื่อช่วยเหลือคนที่ได้รับผลกระทบ ภาพสินค้าลดราคาเซลล์กระหน่ำที่คนกรุงมะรุมมะตุ้มรุมแย่งซื้อ สกู๊ปข่าวเบาหวิวที่ถามชาวกรุงแค่ว่า เอาอะไรมาขาย ขายดีไหม พอรายได้หรือไม่ ลดราคากันขนาดไหน คึกคักกันอย่างไร ข่าวเช่นนี้ไม่ได้ให้ความรู้ ความจริง ความยุติธรรมให้เป็นที่ประจักษ์

เหล่านี้ชิงพื้นที่ข่าวอื่นๆ ที่สื่อควรรายงานไปหมดสิ้น เหลือแต่ข่าวการฟื้นฟูเศรษฐกิจ การลงทุน การท่องเที่ยว ที่เป็นผลหลงเหลือมาจากความขัดแย้งที่เพิ่งหยุดไปนี้ก็เท่ากับการกวาดขยะเข้าใต้พรม โดยที่ไม่ได้มาดูเลยว่า ขยะที่
ถูกกวาดเข้าใต้พรมนั้น มีความเท็จ ความลวง การโกหก ปกปิด ซ่อนเร้น ของเหตุการณ์จากฝ่ายการเมืองต่างๆ อย่างไรบ้าง

เหมือนทุกอย่างกลับมาปกติสุข ทั้งที่ความจริงทุกอย่างได้เปลี่ยนไป

มองเผินๆ เป็นสิ่งดีที่สื่อช่วยผ่อนคลายบรรยากาศตึงเครียดได้ แต่อาจไม่เพียงพอในระยะยาวและที่กำลังเวียนเข้ามาคือการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล โดยจุดสำคัญอยู่ที่เหตุการณ์ “สลายการชุมนุม/การกระชับพื้นที่” ที่ประชาชนอยากรู้ความจริง ถูกพ่วงในรายงานข่าวว่า “อยากเห็นใครอภิปรายมากที่สุด?” หรือ “คุณจตุพรเหมาะสมที่จะอภิปรายหรือไม่?”

และฉากเดิมๆ ก็คือ สื่อรอให้แต่ละฝ่ายนำหลักฐานมาแฉกันในสภา แล้วก็รอ “ทำการถ่ายทอด” สิ่งที่แต่ละฝ่ายพูดกล่าวหากันเท่านั้น

สื่อต้องระมัดระวังว่า ข้อกล่าวหาของคนกลุ่มเสื้อแดง/คนชนบทว่าเป็นสื่อที่ไม่สนใจความทุกข์ร้อนของพวกเขา ไม่สนใจความทุกข์ร้อนของชนบทนั้น มีส่วนเป็นจริงหรือไม่

เพราะยังมีคนเมืองกรุงเองบางส่วน เช่นชุมชนบ่อนไก่ ราชปรารภ สีลม ดินแดง ฯลฯ หรือผู้ประกอบการรายย่อยย่านสยามแสควร์ หรือญาติทหาร พลเรือนผู้บาดเจ็บเสียชีวิตอีกจำนวนมาก หรือผู้ชุมนุมหลายส่วนที่ต้องกลับบ้านไป

ด้วยความเจ็บแค้นจากการปะทะครั้งนี้ (และพร้อมที่จะมาชุมนุมอีกครั้งเมื่อสถานการณ์อำนวย) สื่อใส่ใจที่จะทำความเข้าใจ หรือให้พื้นที่กลับคนกลุ่มนี้หรือไม่?

(เท่าที่สังเกต เฉพาะทีวีไทยเท่านั้น ที่ดูจะให้ความสำคัญกับความรุนแรงและเสียหายทางจิตใจและโครงสร้างอารมณ์ความรู้สึกของผู้คนทั้งสองฝ่าย ขณะที่ช่อง 11 ต้องเอาชนะกำแพงอคติจากผู้ชมไม่น้อยว่าเป็นสถานีที่ปกป้อง
รัฐบาลอย่างเดียว แต่หากดูรายการสารคดีอื่นๆ ของช่อง 11 พบว่ามีเนื้อหามากมายที่พูดเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ขณะที่ช่อง 9 นั้นยังทำได้ไม่ดีพอในแง่ของการเป็นสังคมอุดมปัญญา)

ประเด็นข่าวมากมายที่ยังไม่ตรวจสอบความจริงให้ประจักษ์ เช่น กองกำลังไม่ทราบฝ่าย ชายชุดดำ กรณีการสังหารเสธ.แดง กรณีการจับกุมอาวุธสงครามในม็อบหรือที่พักของแกนนำ กรณีสินค้าที่ถูกโจรกรรมจากห้างสรรพสินค้าจากการจลาจล หรือแม้แต่ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในโครงสร้างของชาวนา เกษตรกร ชนชั้นแรงงาน กรรมาชีพ หรือปัญหาการใช้ข้อมูลโจมตีทางการเมือง สถาบันราชวงศ์ การติดตามสืบเสาะผู้ร้าย ฯลฯ

ประเด็นข่าวเหล่านี้ ค่อนข้างถูกละเลยไปมากจากหน้าสื่อกระแสหลักบ้านเรา โดยเฉพาะสื่อของรัฐอย่างช่อง 5 หรือช่อง 9 ขณะที่ช่อง 3 และช่อง 7 นั้น ถูกวาทกรรมสื่อเชิงพาณิชย์ตามหลอกหลอนจนเข้าใจว่าไม่ต้องมีบทบาทใด

สำหรับการเยียวยาสังคม ส่วนช่อง 11 นั้นก็เคร่งเครียดกับการถูกทำหน้าที่/แทรกแซงจากรัฐบาลกับการพยายามเป็นสถานีเพื่อบริการสาธารณธ(รัฐ)ว่าจะทำได้ดีเช่นไร

ขณะที่สังคมรณรงค์ไม่เอาความรุนแรง (ทางกายภาพ) แต่สื่อยังคงรายงานข่าวโดยผลิตซ้ำอคติ ความไม่เท่าเทียมกันในทางสังคม ซึ่งเป็นความรุนแรงเชิงโครงสร้าง อย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ผ่านการรายงานข่าวที่เบาหวิว ฉาบฉวย ไม่กล้าลงลึกถึงแก่นแท้ของปัญหาและความขัดแย้ง (ตรงนี้อาจมีเอเอสทีวี ช่อง 11 spring news เนชั่นชาแนล และทีเอ็นเอ็น และทีวีไทย ที่กล้ารายงานเชิงลึกอยู่บ้าง)

ขณะที่สังคมกำลังพูดถึงการเยียวยา การสร้างความปรองดอง การสร้างความยุติธรรม สมานฉันท์ สร้างความจริงให้แก่สังคมทั้งประเทศ สื่อกระแสหลักยังมิอาจดึงตัวเองหลุดกับดักแห่งความเคยชิน รายงานข่าวด้วยมุมมองคนเมือง
เช่นเดิม

ผู้เขียนพยายามชี้ให้เห็นว่า การทำรายการข่าวของสื่อโทรทัศน์หลายช่อง (หรืออาจรวมสื่อหนังสือพิมพ์ด้วย) ยังเป็นภาพปัญหาเดิมๆ คือ ค่อนข้างละเลยการสร้างวาระข่าวสารแห่งการตรวจสอบข้อเท็จจริง ความยุติธรรม และความถูกต้อง

“ธรรมาธิปไตย” ของท่าน “ว.วชิรเมธี” ที่ว่า “สื่อต้องถือหลักธรรมาธิปไตย คือความถูกต้อง ความจริง ประโยชน์สุขของคนส่วนใหญ่” นั้น ผู้เขียนคิดว่าสื่อควรยึดถือเป็นสรณะ

การที่สื่อจะเน้นวาระข่าวสารด้วยการส้รางบรรยากาศแห่งความสุข ความสมานฉันท์ ปรองดองนั้น เป็นสิ่งควรทำ แต่การตรวจสอบแสวงหาความจริงอย่างถึงที่สุด โดยพื้นฐานแห่งความเป็นธรรม และยุติธรรมเท่านั้น ที่จะช่วยให้สังคมไทยหลุดพ้นจากวิกฤติสังคมการเมืองครั้งนี้ไปได้

ประเทศชาติคงมีอาจฟื้นฟูโดยเพียงแค่เปิดเพลงจรรโลงใจไร้ค่าย ศิลปะอาจเยียวยาความรู้สึก แต่ความจริงและความถูกต้อง เยียวยาความยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม

ผู้เขียนทิ้งท้าย เสนอคำถามให้สื่อช่วยกันคิดตอบว่า บทบาทสื่อที่ผ่านมา สื่อเป็นเช่นไร?

1) สื่อได้ใช้แนวคิดการสื่อข่าวเชิงสันติภาพ-การสร้างความสมานฉันท์ หรือไม่ อย่างไร?
2) สื่อได้ทำรายงานข่าวเชิงรุก เชิงลึก/เพื่อสืบค้น ตรวจสอบข้อเท็จจริงหรือไม่ อย่างไร?
3) สื่อได้เปิดพื้นที่ สนับสนุนกระบวนการมีส่วน, พื้นที่สาธารณะ แก่ประชาชนจากทุกภาคส่วนอย่างเท่าเทียมหรือไม่ อย่างไร?
4) สื่อได้ใช้แนวคิดเรื่องการสื่อข่าวที่เสริมสร้างประชาธิปไตยหรือไม่ อย่างไร ทั้งการรายงานข่าวการเมืองที่เหมือนละคร เน้นฉายภาพความขัดแย้ง สร้างบุคคลิก ตัวละครทางการเมืองวนเวียนซ้ำซาก ไม่ให้พื้นที่ภาคประชาชนเท่าที่ควร
5) สื่อได้แสดงบทบาทหรือการนำเสนอข้อมูลที่นำไปสู่สังคมแห่งการใช้เหตุผล ใช้สติปัญญา มากกว่าที่จะเน้นอารมณ์ ความรู้สึกหรือไม่ อย่างไร?

บทบาทการเยียวยาประเทศไทยของสื่อ มิควรจะจำกัดอยู่ที่คนข่าวเท่านั้น แต่ทั้งเจ้าของสถานี ผู้อำนวยการ บรรณาธิการข่าว ผู้สื่อข่าว รีไรเตอร์ ช่างภาพ ผู้สื่อข่าว ผู้ประกาศข่าว เช่นเดียวกับงานบันเทิงเช่น ผู้กำกับรายการละคร ซิทคอม ภาพยนตร์ วาไรตี้อื่นๆ เช่นกัน ควรแฝงคติ แง่ความคิดการสร้างความสามัคคี สมานฉันท์ให้มากขึ้น อย่าทำเพียงแค่ผ่านลมปากดารานักแสดงสั้นๆ ท้ายรายการข่าว แต่ต้องคิดอย่างมากถึงแก่นความคิดหลักในการสร้างชาติ และนำเสนอด้วยสุนทรียศาสตร์

จบความด้วยนิทานพุทธปรัชญาท่าน ติทช์ นัท ฮันห์ ที่ท่านว.วชิรเมธีกล่าวเทศน์ธรรมแก่สื่อมวลชนวันก่อนสงครามกลางเมืองว่า

“อยู่กับความจริง แล้วท่านจะเกิดความรู้อย่างถ่องแท้ เกิดความรักความกรุณาสามารถดำรงตนอย่างเป็นกลาง ไม่เลือกข้าง ไม่สุดโต่ง ไม่ซ้ำเติมสังคม ไม่เป็นเครื่องมือของความหลงผิด และของความรุนแรง แต่จะสามารถช่วยกันหยุดความรุนแรงในทุกรูปแบบได้อย่างมีพลัง”



Create Date : 01 มิถุนายน 2553
Last Update : 1 มิถุนายน 2553 1:58:24 น. 4 comments
Counter : 925 Pageviews.

 


โดย: หาแฟนตัวเป็นเกลียว วันที่: 1 มิถุนายน 2553 เวลา:9:11:47 น.  

 


โดย: นายแมมมอส วันที่: 1 มิถุนายน 2553 เวลา:9:47:20 น.  

 
BBC ได้ติดตามไปสัมภาษณ์ แดงอุดร ชี้ผู้ชุมนุมขมขื่นและสับสัน

รายงานดังกล่าวมีเนื้อหาโดยสังเขปว่า แม้ปัจจุบัน กรุงเทพมหานครจะได้รับการฟื้นฟูแล้วภายหลังการชุมนุมอันต่อเนื่องยาวนานของกลุ่มคนเสื้อแดง แต่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย กลุ่มคนเสื้อแดงกลับยังคงดำรงอยู่อย่างเคว้งคว้าง


โดย: คนไทยเหมือนกัน IP: 124.122.18.121 วันที่: 4 มิถุนายน 2553 เวลา:21:49:40 น.  

 

เห็นสื่อ tv ไทยเสนอ ข่าวการเปิดพื้นที่ช็อปปิ้งราคาถูก
เหมือนได้พื้นที่ชอปปิ้งกลับมา ได้เงินช่วยเหลือไม่เดือน

ผู้ชุมนุมส่วนหนึ่งก็เป็นเกษตร
ในขณะที่เกษตรกรของไทย บางพื้นที่ประสบภัยแล้ง ให้หยุดทำนารอบสอง เหตุผลเพราะไม่มีน้ำให้ แล้วจะชาวนาเอาอะไรกิน ไหนจะดอกเบี้ย ธกส.คิดทุกวันไม่เคยหยุด


บางพื่นที่ พบเพื้ยกระโดด บอกว่าจะชดเชย ตั้งแต่ปี 52 เมื่อต้นปี 53 ยังมีข่าวว่าเป็นยังไปไม่ถึง นานเหลือเกิน
แถมชาวบ้านก็ไม่รู้ว่าจะได้รับการชดเชยอย่างไร? เพราะข่าวที่ไปถึงจากภาครัฐ ชาวบ้านยังสับ แต่ที่แน่ๆข้าวที่ปลูกมา 3-4 เดือน เก็บเกี่ยวไม่ได้เลย ไถ่กลบแล้วปลูกไหม่ ใช้เวลาและลงทุนรอบใหม่ เงินทุนที่ไหน? รออีก 3-4 เดือน รวมเวลารอคอย 7-8 เดือน กินอยู่อย่างไร? หนี้ที่เพิ่มขึ้น ? นี่ยังไม่รวมปัญหาข้าวราคาถูก เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วไม่คุ้มทุน

อนาคตชาวนาไทยอยู่ที่ไหน? สุดท้ายหนี้ท่วมหัวขายที่ดินทำกินใช้หนี้? แล้วไปเป็นลูกจ้างนายทุน? หมดทางเลือก

ใครจะช่วยอะไรได้บ้าง
เราควรต้องวางแผนระบบชลประทาน เหมือนรถไฟฟ้าที่จะมีอยู่เกือบทั่วกรุงเทพ


โดย: คนไทยเหมือนกัน IP: 124.122.18.121 วันที่: 4 มิถุนายน 2553 เวลา:22:32:29 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สุริยาอัสดง
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




เปิดโลกด้วยแสงแห่งปัญญา
Thaiflood
Friends' blogs
[Add สุริยาอัสดง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.