ความสุขและความทุกข์ของเราเกิดจากความคิดของตัวเองทั้งสิ้น หยุดคิดก็หยุดทุกข์
Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2555
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
27 พฤศจิกายน 2555
 
All Blogs
 
ทุกวันนี้ คุณบริหารเงินกันอย่างไร

สวัสดีค่ะ เมื่อตอนก่อนพูดถึงเรืองการลงทุนไปนิดหน่อย แบบเกริ่นๆ มากกว่า
แล้วมานึกได้ว่า มันข้ามขั้นไปหน่อย

วันนี้เลยมาคุยกันใหม่ถึงต้นทางก่อนที่จะลงทุน
นั่นคือ เรื่องของการจัดการกับเงิน

ตั้งแต่เด็กๆ เราทุกคนก็ถูกปลูกฝังให้ตั้งอกตั้งใจเรียนหนังสือ เรียนให้เก่งๆ นะลูก โตขึ้นจะได้เป็นเจ้าคนนายคนมั่ง จะได้ทำงานดีๆ มีเงินมีทองใช้เยอะๆ มั่ง

แล้วเราทั้งหลายก็ตั้งหน้าตั้งตาเรียนจนจบ แล้วก็หางานในฝัน ได้แล้วก็รอเงินเดือน แล้วก็ด้วนๆ จบดื้อๆ คือ ไม่ได้พูดหรือสอนอะไรต่อว่า ได้เงินแล้วต้องทำยังไงกับมัน

คือ ดูเหมือนจะเป็นที่เข้าใจกันเองว่า เมื่อได้เงินมาแล้ว ก็ใช้ซื้อหาสิ่งของที่ต้องการตามประสงค์สิ ไม่ยากอะไร เป็นโดยธรรมชาติ ไม่เห็นต้องมาแนะนำหรือสอนอะไร

เหมือนกับทุกคนหายใจเป็นอยู่แล้ว จะต้องมาสอนวิธีหายใจทำไม อะไรทำนองนั้น

เมื่อไม่มีการสอน คนบางกลุ่มก็ใช้เงินตามใจอยาก อยากได้อะไรก็ซื้อๆๆๆๆ จนเกิดปัญหาที่ได้ยินกันบ่อยๆ คือ เป็นหนี้บัตรเครดิตบ้าง นอกระบบบ้าง 

บางคนได้เงินเดือนเป็นแสน ทำงานมาทั้งชีวิต แต่ไม่เงินเก็บ ไม่มีสมบัติอะไรเลย มีแต่หนี้ก็มี 

ปัญหาของการเป็นหนี้ แต่เดิมก็คิดว่า มาจากการมีเงินรายได้น้อยกว่ารายจ่าย ก็เลยหาเงินเพิ่มขึ้นๆ อีก ทำงานกันตัวเป็นเกลียวหัวเป็นน้อต แต่หนี้ก็ดูจะเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ไหงเป็นงั้นล่ะ

แล้วทำไมบางคน มีรายได้น้อยกว่าตั้งเยอะ พ่อแม่ก็ไม่ได้มีมรดกอะไรให้ หาเองทั้งนั้น แต่อยู่ดีมีสุข มีสิ่งของจำเป็นต่อการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง และที่สำคัญคือ ปลอดหนี้ได้

แสดงว่า รายได้จะมากน้อยนั้น ไม่น่าจะเป็นประเด็นหลักเสียแล้ว แต่มันอยู่ที่การจัดสรรเงินที่มีอยู่ต่างหาก ว่าจะแบ่งอย่างไร ใช้อย่างไร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามอัตภาพของตน

เกริ่นเสียยาวเหยียด เพื่อจะพูดถึงว่า เมื่อได้เงินมาแล้ว เราจะบริหารกับมันยังไงให้เกิดประโยชน์สูงสุด

จากนี้ไป สิ่งที่เราจะเล่านี้ เป็นแนวทางของเราจากประสบการณ์ของเรา ก็เล่าสู่กันฟัง เผื่อใครยังนึกไม่ออกว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ก็พอจะได้เป็นแนวทางไว้ก่อน จากนั้นก็ค่อยปรับเปลี่ยนเอากันเองตามอัธยาศัยให้เหมาะกับตนต่อไป

อันดับแรกและสำคัญที่สุด คือ การทำงบดุลกระแสเงินสดส่วนบุคคลแบบประจำเดือนและปี ขึ้นมาเสียก่อน ชื่อภาษาอังกฤษใช้ว่า cash flow
ใช้คำให้มันดูขึงขังเป็นการเป็นงานหน่อย จะได้คุ้นชื่อบ้างเผื่อไปเจอที่ไหนจะได้พอเข้าใจ

จริงๆ แล้ว มันก็คือ การเขียนรายการแจกแจงว่าในแต่ละเดือนและปีนั้น เรามีเงินรายได้เข้ามาเท่าไร และมีรายจ่ายออกไปเท่าไรนั่นเอง ที่แนะนำให้ทำเป็นแบบรายปีด้วย ไม่ใช่แค่รายเดือนเพราะบางรายการมันจ่ายปีละครั้ง

จะว่าไปแล้ว เจ้างบดุลนี้มันก็เหมือนกับกรอบ เป็นตัวกำหนดให้เรารู้ตัวเองว่า ควรใช้จ่ายอะไรได้แค่ไหน มันถึงจะพอเหมาะกับรายได้ของตน จะได้ไม่เป็นหนี้เพราะใช้จ่ายเกินตัว

แล้วก็ขอหยิบเอาตัวอย่างรายการรายรับรายจ่ายมาให้ดูเป็นแนวทาง ต้องขอขอบคุณเวป thailandwealth.com มา ณ ที่นี้ เพราะเราเอารายการนี้มาจากเขาแล้วทำเป็นตารางใหม่ให้ดูง่ายขึ้น ท่านใดอยากจะเอาตารางนี้ไปใช้ ก็ก๊อปเอาไปได้เลยนะจ๊ะ ทำให้ฟรีๆ



จากแบบฟอร์มข้างบนนี้  จะเป็นการใส่รายได้และรายจ่ายของทุกเดือนตลอดทั้งปี ส่วนรายการนั้น แต่ละคนใช้ไม่เหมือนกัน ดังนั้นก็ปรับเปลี่ยนเอาเองตามจริงนะคะ อย่างสาวๆ เนี่ย จะมีงบสำหรับความสวยความงามเพิ่มขึ้น หนุ่มๆ ก็อาจมีงบเอนเทอเทน พวกหนอนๆ ก็มีงบสำหรับหนังสือโดยเฉพาะ เป็นต้น

ทีนี้ การจะกำหนดงบหรือกรอบของค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น อาหาร เดินทาง ซึ่งมันไม่แน่นอน เราก็ต้องอ้างอิงจากความเป็นจริงคือ ปกติเราใช้เท่าไรในแต่ละวัน ซึ่งจะรู้ได้ ก็ต้องมีการจดบันทึกรายการจ่ายในแต่ละวันก่อน

การจะบันทึกรายจ่ายนั้น ก็ทำได้ตามถนัด บางคนใช้บรรดา แพด โน้ต ทั้งหลายที่มีแอพพลิเคชั่นสำหรับให้บันทึกรายจ่ายโดยเฉพาะ
หรือ จะโลว์เทคแบบเราคือ มีสมุดโน้ตกระดาษฉีกเล็กๆ ไว้จด รวมทั้งรวบรวมบรรดาใบเสร็จทั้งหลายทุกครั้งที่มีการจ่าย ถ้าเขาไม่มีให้ เราก็จดเอง

พอถึงบ้าน ก็ทำการจดลงสมุดบัญชีเล่มใหญ่ต่อไป ทำอย่างนี้ทุกวันจนหมดเดือน พอครบเดือน เราก็จะรู้ล่ะว่า เราใช้รายการอะไรบ้าง และรายการละประมาณเท่าไร

เมื่อได้ตัวเลขแล้ว ก็ใส่ในงบดุลได้แล้ว ประเด็นก็คือ ให้ตัวเลขของรายได้และรายจ่ายมันเท่ากัน
จากช่องค่าใช้จ่าย จะเห็นคำว่า ค่าใช้จ่ายคงที่ ก็ตรงตามชื่อมัน คือ เป็นค่าใช้จ่ายที่เท่ากันทุกเดือน เราจะไปลดมันไม่ได้ตามใจ อย่างเช่น ค่าเช่าบ้าน เป็นต้น

ส่วนค่าใช้จ่ายแปรผัน เป็นค่าใช้จ่ายที่เราสามารถจะลดหรือเพิ่มได้ด้วยตัวเอง เช่น ลดค่าอาหารลงด้วยการทำกินเอง เป็นต้น

ทีนี้เมื่อเราใส่ตัวเลขแล้ว ถ้ารายจ่ายมันดันมากกว่า เราก็สามารถลด บีบ ค่าใช้จ่ายแปรผันลง อันไหนตัดได้ก็ตัดออก ตัดไม่ได้แต่ลดได้ก็ลด ทำไงก็ได้ให้จำนวนตัวเลขรายได้กับรายจ่ายมันเท่ากัน หรือถ้าไม่ชอบการลด จะใช้วิธีเพิ่มรายได้ให้มากขึ้นอีกก็ได้ ซึ่งอันนี้ก็แล้วแต่ช่องทางและความขยันของแต่ละบุคคล

แล้วเราก็จะเห็นเองว่า ในแต่ละเดือน เราจะใช้เงินในแต่ละรายการได้แค่ไหน มันจึงจะครอบคลุมและเกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในปัจจุบันและอนาคต คือ มีทั้งการเก็บออมและลงทุนเพื่ออนาคตด้วย

เพราะมันหมดสมัยแล้วกับการเก็บเงินด้วยวิธี เหลือใข้แค่ไหนค่อยเก็บ เพราะแบบนั้นฟันธงได้เลยว่า ไม่มีเงินเก็บแน่ๆ เพราะมันจะใช้หมดไม่เคยได้เหลือสักที 55
มันจึงต้องแบ่งออกไปเลยว่า จะใช้เท่าไร จะเก็บเท่าไร ทำเหมือนกับว่า เงินเก็บคือค่าใช้จ่ายอย่างหนึ่งนั่นเอง

ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งสำคัญอยู่ที่ วินัยของแต่ละคน เพราะถึงจะกำหนดกรอบเอาไว้อย่างดีแล้ว แต่ถ้าไม่ทำซะอย่าง มันก็เท่านั้นล่ะ

ก็หวังว่า คงเป็นประโยชน์กับคุณผู้อ่านทั้งหลายบ้าง ไม่มากก็น้อยล่ะนะคะ




Create Date : 27 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 13 ธันวาคม 2555 9:45:34 น. 1 comments
Counter : 8380 Pageviews.

 
การจดตามความจริงเป็นสิ่งหนึ่งที่สะท้อนค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี

บางคนชอบเก็บเป็นเงินสด ฝากธนาคารประจำ หรือ เก็บเท่ากันทุกเดือน ตามโปรฯแต่ละธนาคาร
บางคนชอบเก็บแบบเป็น ทองรูปพรรณ (เอาไว้ใส่ได้)
บางคนชอบเก็บแบบเป็นสลากออมสิน หรือ ธกส.
บางคนเก็บเงินไว้สำหรับเงินประกันชีวิต

และที่สำคัญเก็บก่อน เหลือเท่าไรค่อยใช้ ได้ผลดีกว่า ^_^


โดย: เด็กน้อยตัวแสบ วันที่: 6 พฤษภาคม 2556 เวลา:14:16:41 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

good thinking
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add good thinking's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.