เจ้าสวามิภักดิ์ต่ออำนาจ ยอมเป็นทาสคณาธิปไตย เพียงหัวโขนไม่กี่ใบ ก็ทำให้เจ้าลืมตน โดยลืมไปว่าคนที่หลงใหลต่อการเสพอำนาจนั้นมีจุดจบที่น่าสยดสยองเพียงใด เพราะคำกล่าวที่ว่า “อำนาจทำให้ฉ้อฉล ยิ่งอำนาจเบ็ดเสร็จเท่าใด ยิ่งฉ้อฉลเบ็ดเสร็จเท่านั้น” (power tends to corrupt ,and absolute power corrupts absolutely) ยังคงเป็นความจริงอยู่เสมอ
 
มกราคม 2550
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
19 มกราคม 2550

“ดอกไม้” ของ “จิรนันท์ พิตรปรีชา”

เช่นเดียวกับบทกวีอีกหลายชิ้น ที่เป็นบทเพลง โดยวง “พลังเพลง” อาทิ “ดอกไม้” ของ “จิรนันท์ พิตรปรีชา” ที่เป็นเพลงในชื่อเดียวกัน

ดอกไม้………………...ดอกไม้จะบาน
บริสุทธิ์กล้าหาญ……….จะบานในใจ
สีขาว……………………หนุ่มสาวจะใฝ่
แน่วแน่แก้ไข…………….จุดไฟศรัทธา

หรือ บทกวี “เพลงเถื่อนแห่งสถาบัน” ของ “วิทยากร เชียงกูล” ก็ถูกนำมา เป็นส่วนหนึ่งของบทเพลงชื่อ “เป้าหมายการศึกษา” โดยวง “พลังเพลง”

(พูด)……ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง………ฉันจึงมาหาความหมาย
…………ฉันหวังเก็บอะไรไปมากมาย…..สุดท้ายให้กระดาษฉันแผ่นเดียว
เพียงหวังจะเฟื่องฟุ้ง………หรือจึงมุ่งมาศึกษา
เพียงเพื่อปริญญา…………เอาตัวรอดเท่านั้นฤๅ
แท้ควรสหายคิด…………..และตั้งจิตร่วมยึดถือ
รับใช้ประชาคือ…………….ปลายทางเราที่เล่าเรียน

อีกชื่อหนึ่ง ที่คุ้นเคยเป็นอย่างดี โดยเฉพาะในสายธารของคนเดือนตุลา ชื่อของ “ธีรศักดิ์ อัจจิมานนท์” กับร้อยกรองหลายชิ้น ที่ถูกนำมา ใส่ท่วงทำนองเพลง เช่นว่า “รัตติกาล”

รัตติกาลนี้มัวมน…………….ฟ้าหม่นมืดมิดทรมา
เดือนเลื่อนลับอำลา………….สีแดงทาบทาทั่วพื้นพนาแนวไพร
ฟ้าดับเดือนลับลาดิน………..หรือสิ้นความหวังวางวาย
ดาวบนฟ้าประกาย………….นั้นยังพร่างพรายตราบหัวใจคนมิเคยสูญสิ้นศรัทธา

หรือเพลง “คำสัญญาแห่งเดือนตุลาคม”

กลางป่าเขาเหน็บในหนาวลมผ่าน………….คืนที่แสงจันทร์มีความหมาย
ภาพแห่งความหลังยังฝังใจมิแหนงหน่าย…..อุดมการณ์ที่ฝันใฝ่ยังติดตรึง
พอรุ่งสางลางลางแสงทองส่อง……………..วันที่สมปองคงมาถึง
ความรักที่ปรารถนาพาใจให้คิดคำนึง……….ทะเลแม้ขวางตรึงจะฝ่าไป
ส่งเพลงบทนี้ผ่านข้ามขอบฟ้า……………….คำสัญญาแห่งเดือนตุลามิลืมเลือน
ยังย้ำเตือนคิดถึงเพื่อนผู้จากไป……………..ยังย้ำเตือนคิดถึงเพื่อนผู้จากไป

บทเพลงบทนี้ หลังจากที่ “ธีรศักดิ์ อัจจิมานนท์” กลับจากป่าสู่เมือง ได้ปรับเนื้อหาใหม่ และให้ วงสตริงวัยรุ่นแห่งยุคสมัย นาม “สาว สาว สาว” ขับร้อง ในชื่อเพลง “คำสัญญา”

กลางหาดทรายเหน็บในหนาวลมผ่าน………คืนนี้แสงจันทร์มีความหมาย
ภาพแห่งความหลังครั้งเราเคยชิดใกล้..……..แรกรักฝังใจยังติดตรึง
พอรุ่งสางลางลางแสงทองส่อง………………วันที่สมปองคงมาถึง
รักที่ปรารถนาพาใจให้คิดคำนึง………………ทะเลแม้ขวางตรึงจะฝ่าไป
ส่งเพลงบทนี้ผ่านข้ามขอบฟ้า………………..คำสัญญาอยู่คู่ฟ้าและดาวเดือน
ยังย้ำเตือนไม่รู้เลือนไปจากใจ………………..ยังย้ำเตือนไม่รู้เลือนไปจากใจ

ความหมายที่ปรับเปลี่ยนในเนื้อหาเพลงบทหลัง หากอยู่ในกรอบความคิดเพื่ออุดมการณ์ ก็ยังอาจเห็นภาพของ “ความรัก” ในห้วงเวลาของการต่อสู้ได้ และหากมองผ่านกรอบคิด ของยุคสมัยของ “สาว สาว สาว” ในมุมมอง “ความรัก” ของหนุ่มสาว ก็ยังงดงามนัก นี่อาจเป็นอีกเสน่ห์ของนัยความหมายที่ซ่อนอยู่หลายนัย ของ “วรรคทอง” ที่ “โดนใจ” กระมัง

อีกคนหนึ่ง ในกระแสของคนเดือนตุลาคม ชื่อนี้ ก็คงต้องบันทึกไว้ด้วยเช่นกัน “เสกสรรค์ ประเสริฐกุล” คู่ชีวิตของ “จิรนันท์ พิตรปรีชา” ณ วันนี้ เป็นนักวิชาการ ที่ทรงพลังยิ่ง ทว่า สำหรับการต่อสู้ในอดีต ก็มีบทกวีชื่อ “ความคับแค้น” ที่ถูกนำมาใส่ทำนองเพลงในชื่อเดียวกันเช่นกัน

ความคับแค้นครั้งนี้……………..จงแปรเปลี่ยนเป็นพลัง
ให้กล้าแกร่งดุจดังพายุโหม
เราจะลุกขึ้นสู้……………………เราจะยอมสู้ตาย
แม้ชีวาจะวายเราก็ยอมพลี

ในสายธารเพื่อชีวิต อีกชื่อหนึ่ง ที่ยังคงอยู่ แม้ร่างกายจะลาลับไปแล้ว ก็คือ “ประเสริฐ จันดำ” ชื่อนี้ กับชิ้นงานร้อยกรอง และร้อยแก้วมากมาย ซึ่งล้วนแล้วแต่มีเนื้อหารับใช้สังคมทั้งสิ้น ชิ้นงานชิ้นหนึ่งถูกเขียนขึ้น หลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ หลังจากที่เจ้าตัวกลับไปทำนา ที่หมู่บ้านซับแดง จ.ขอนแก่น กระทั่ง “วีรศักดิ์ สุนทรศรี” หนึ่งในสมาชิกคาราวานตามไปสมทบ ก็ทำให้ “ประเสริฐ” เกิดแรงบันดาลใจ เขียนงานชื่อ “แปนเอิดเติด” และกลายมาเป็นบทเพลง ของ “คาราวาน” ในเวลาต่อมา

แปนเอิดเติด……………………………..สายน้ำระเหิดระเหยหาย
ทุ่งโล่งโจงโปงไม้ยืนตาย………………….ลมแล้งแรงร้ายอยู่ตาปี
อิสานแดนดินที่ดาลเดือด…………………สายเลือดปู่สังกะสาย่าสังกะสี
ธรรมชาติไม่เคยปราณี……………………ทุรชาติมาย่ำยีกินแรง
ว่างเปล่าเหลือแสนแปนเอิดเติด………….เราเกิดในสังคมยื้อแย่ง
ไม่มีข้าวไม่มีปลาป่าแล้ง………………….ไม่มีแสงสว่างทางชีวิน
ว่างเปล่าเหลือแสนแปนเอิดเติด…………..รอระเบิดกาลเวลาถล่มสิ้น
ผู้คนกดขี่สูญสลายจากธรณิน…………….ว่างเปล่าเหมือนดินถิ่นอิสาน

หรืออีกชิ้นงานหนึ่ง ของ “ประเสริฐ” ที่เขียนขึ้น ณ บ้านลาดพร้าว ในคราวที่ “วิสา คัญทัพ” และ “สุรชัย จันทิมาธร” พักอยู่ร่วมกัน ในห้วงเวลา ปี ๒๕๑๘ เนื้อหาของบทร้อยกรอง เก็บเอาความรู้สึกจาก “หมู่บ้านซับแดง” จ.ขอนแก่น มาบรรยาย และกลายเป็นบทเพลงที่ชื่อ “จดหมายชาวนา” เมื่อ “ประเสริฐ” เลือกเดินทางเข้าป่า เพื่อร่วมต่อสู้กับ พคท.(ในยุคนั้น)

จดหมายชาวนาฉบับนี้………………เขียนที่บ้านป่าดงดอน
เขียนถึงผู้อยู่ในนคร………………….อันความเดือดร้อนชาวนายิ่งใหญ่
ทำนาก็บ่ได้ข้าว………………………ทำไร่ก็บ่พอกิน
ยากแค้นไปทั่วแดนดิน………………..ถูกขูดรีดกินเราแทบอดตาย

เพื่อนเอ๋ยจงเห็นใจเฮาบ้าง……………อย่าสร้างแอกกดคอกัน
ชีวิตมันไม่ใช่ความฝัน…………………ธรรมชาติลงทัณฑ์ก็ยังพอทน
เห็นใจคนจนบ้างเถิด………………….เราเกิดมาเป็นคนเหมือนกัน
อย่าเย้ยอย่าเหยียดหยามหยัน………..เราคนเหมือนกันมันบ่มีชั้นชน

ยากจนอย่าตามเข่นฆ่า……………….ชาวนาจะหันต่อกร
โปรดจงช่วยไถ่ช่วยถอน……………….โอ้แสนออนซอนพวกเราชาวนา
ชนชั้นมันแยกกันไม่ได้…………………คนไทยร่วมแผ่นดินทอง
ยากแค้นอดอยากปากหมอง…………..อย่าให้เฮาต้องลุกฮือถือปืน




Create Date : 19 มกราคม 2550
Last Update : 19 มกราคม 2550 10:06:27 น. 0 comments
Counter : 973 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Street Fighting Man
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ถึงชนจะชิงชัง แต่กูยังจะหยัดยืน
กู้เกียรติที่มารกลืน ให้มวลชนเข้าใจใจ
กูชาติทหารหาญ ประวัติการณ์นั้นยาวไกล
พิทักษ์ไผทไทย นี้สืบทอดมายาวนาน
ทหารไทยบ่ขายชื่อ บ่ขายชาติและวิญญาณ
เกียรติยศอุดมการณ์ บ่ขายกินเป็นเงินตรา
เพื่อผองประชาชาติ จะพลีชีพให้ลือชา
ลบคราบน้ำตา…อา ! ที่อาบนองแก้มผองชน
ผู้นำผู้ใดดี จะร่วมทางด้วยอดทน
ผู้นำที่เดนคน จะคัดค้านไม่เกรงใคร
น้ำใจนี้เดี่ยวเด็ด ดั่งเหล็กเพชรที่ทนไฟ
เนื้อร้ายต้องตัดไป ไม่ลังเลให้คนแคลน
ถึงแม้สมุนมาร จะคงคอยคำรามแทน
อุปสรรคถึงเหลือแสน จะบุกหน้าบ่ถอยหลัง
มอบรักต่อคนดี และต่อผีคือชิงชัง
ผีดิบจะล้มดัง เพราะเรี่ยวแรงที่ระดม
เสียงสูคือเสียงผี ที่หลอกคนด้วยคารม
[Add Street Fighting Man's blog to your web]