เจ้าสวามิภักดิ์ต่ออำนาจ ยอมเป็นทาสคณาธิปไตย เพียงหัวโขนไม่กี่ใบ ก็ทำให้เจ้าลืมตน โดยลืมไปว่าคนที่หลงใหลต่อการเสพอำนาจนั้นมีจุดจบที่น่าสยดสยองเพียงใด เพราะคำกล่าวที่ว่า “อำนาจทำให้ฉ้อฉล ยิ่งอำนาจเบ็ดเสร็จเท่าใด ยิ่งฉ้อฉลเบ็ดเสร็จเท่านั้น” (power tends to corrupt ,and absolute power corrupts absolutely) ยังคงเป็นความจริงอยู่เสมอ
 
มกราคม 2550
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
18 มกราคม 2550

จิตร ภูมิศักดิ์ จะเสียชีวิตไปตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2509

จิตร ภูมิศักดิ์ การเกิดครั้งที่ 3
รายละเอียด ::
จุดประกาย
วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2548


จิตร ภูมิศักดิ์ การเกิดครั้งที่ 3

"...เขาตายเหมือนไร้ค่า แต่ต่อมาก้องนาม ผู้คนไถ่ถามอยากเรียน..." บางส่วนจากบทเพลง ของวงคาราวาน บอกเล่าเรื่องราวความเป็นไปของปัญญาชนคนสามัญ ที่ทั้งตัวตนและผลงานยังคงได้รับการกล่าวถึง

แม้ว่า จิตร ภูมิศักดิ์ จะเสียชีวิตไปตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2509 ณ ชายป่าบ้านหนองกุง ตำบลคำบ่อ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ด้วยวัยเพียง 36 ปี

เป็นการจากไปแต่เพียงร่างกาย เพราะด้วยคุณค่าของผลงานทางวิชาการที่ได้สร้างไว้ ทำให้นักวิชาการรุ่นต่อๆ มายังคงให้ความสนใจ และมีความพยายามที่จะเผยแพร่ผลงานของจิตร ภูมิศักดิ์ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง

"กลุ่มคนที่สนใจเรื่องจิตรค่อยๆ ก่อตัวขึ้นมา เมื่อตอนที่ครบ 72 ปี จิตร ภูมิศักดิ์ เราก็จัดงานขึ้นมา ทำหนังสือ ซึ่งเป็นประเด็นที่ถกเถียงมานานว่าคืออะไรกันแน่ ผมบังเอิญไปประชุมโครงการอุษาคเนย์ศึกษาที่เสียมราฐ เขมร ไปพบกับนักวิชาการเขมรคุยกันแล้วเขามอบบทความให้เรื่องเสียมกุก ผมเลยเอามาแปลเป็นอังกฤษ ให้ทีมนักศึกษาแปลเป็นไทย" ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักประวัติศาสตร์ ในฐานะผู้ประสานงานก่อตั้งกองทุนจิตร ภูมิศักดิ์ กล่าว

ปรากฏว่า คนงานครบรอบ 72 ปี จิตร ภูมิศักดิ์ ได้รับความสนใจจากนักวิชาการและคนทั่วไปที่มาร่วมงานอย่างหนาแน่น หนังสือที่จัดพิมพ์ไว้ 40,000-50,000 เล่มขายออกไปในวันเดียว แสดงให้เห็นว่า เรื่องของจิตรยังคงได้รับความสนใจอย่างมาก

นักประวัติศาสตร์ท่านนี้ เล่าว่า สิ่งที่รับรู้กันเกี่ยวกับชีวิตและผลงานของจิตร ภูมิศักดิ์ อาจจะเรียกได้ว่าบุคคลผู้นี้ มาแล้ว 2 หน ครั้งแรกคือเกิดจากครรภ์มารดาก่อนที่จะถูกยิงเสียชีวิตไปเมื่อปี พ.ศ.2509

แต่แล้วในช่วงเวลา 14 ตุลา จิตร ภูมิศักดิ์ เกิดใหม่อีกครั้งจากการที่ผู้คนสมัยนั้นสนใจผลงานของเขา และรวบรวมผลงานวิชาการของจิตรมาจัดพิมพ์ใหม่ แต่บรรยากาศของบ้านเมืองหลังเหตุการณ์ 14 ต.ค.2516 และ 6 ต.ค.2519 นั้นยังคงความรุนแรง ทำให้ผลงานวิชาการของจิตรถูกมองในเชิงของการต่อสู้ระหว่างชนชั้น มากกว่าจะวิเคราะห์ด้วยสติปัญญา ขณะที่เรื่องราวชีวิตของจิตรเองได้กลายเป็นแบบอย่างให้คนหนุ่มสาวนักแสวงหาในยุคนั้นก้าวเดินตามต่อมา

จนถึงปัจจุบันที่สังคมไทยผ่านช่วงเวลาที่มองจิตรแบบไม่ขาวก็ดำไปแล้ว จึงเป็นเวลาที่งานวิชาการของจิตรสมควรที่จะนำมาเผยแพร่อีกครั้ง ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นการเกิดครั้งที่ 3 ของจิตร ภูมิศักดิ์

"ผมมองว่าคนที่เป็นอัจฉริยะนั้นนานๆ จึงจะมาเกิดในโลกสักคน ผมคิดว่าสมองแบบจิตรต้องพิเศษมากๆ งานจากสมองของเขาออกมามหาศาล ไม่ว่าจะเป็นบทกวี ประวัติศาสตร์ นิรุกติศาสตร์ การแปล การวิจารณ์ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม หลากหลายมาก ผมว่าหาคนไทยที่พิเศษๆ แบบจิตรยากมาก 50 ปี หรือ 100 ปี อาจจะมีแค่คนเดียว นี่คือประเด็นที่ว่าทำไมเรื่องราวของจิตรถึงได้น่าสนใจ"

ธำรงค์ศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยรังสิต มองว่า จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นสัญลักษณ์ทางปัญญา ความรู้ของสังคมไทย สภาพการณ์ของสังคมไทยปัจจุบันขาดแคลนด้านปัญญา และความรู้ในการวิเคราะห์ตนเองอย่างมาก ถ้าเรามองหานักวิชาการในปัจจุบัน เราจะพบว่าถ้าไม่เป็นฝ่ายรัฐก็เป็นฝ่ายขาประจำซึ่งคนจะรู้สึกว่ารับไม่ได้ แต่จิตรงานของเขาที่ทิ้งไว้ จิตรอธิบายสังคมไทยที่คนไม่เคยอ่านเยอะมาก

"และที่สำคัญจิตรไม่ได้มองสังคมไทยในบริบทประเทศไทย จิตรพยายามเปิดโลกของคนไทยไปยังประเทศเพื่อนบ้านด้วย โลกปัจจุบันต้องการมิติทางปัญญาต่อสังคมและเพื่อนบ้าน"

"ผมไม่มีโอกาสสัมผัสจิตรในฐานะของนักต่อสู้ ช่วงจิตรได้รับการกล่าวถึงมากฐานะนักปฏิวัติเมื่อ 14 ตุลา 2516 ผมก็ไม่ได้สัมผัส ผมรู้จักจิตรในฐานะนักปราชญ์ ผมคิดว่าถ้าเราจะทำให้จิตรกลับมาคงไม่ใช่ในฐานะนักปฏิวัติอีกแล้ว แต่สิ่งที่เราทำ คือ ปัญญาของจิตรที่สร้างผลงานวิชาการที่ยิ่งใหญ่ ทำไมเวลาอ่านหนังสือต่างประเทศทุกวิชามีหนังสือคลาสสิกที่ทุกคนต้องอ่าน แต่ในเมืองไทยเวลาจะศึกษาเรื่องสังคมไทยไม่มีการเอางานของจิตรมาใช้ในการศึกษา ผมคิดว่าภาพของจิตรในฐานะนักปราชญ์ควรจะถูกดึงออกมาเผยแพร่ โดยเฉพาะความรู้ของเขา" สมฤทธิ์ ลือชัย นักวิชาการอิสระแสดงความเห็น

"งานของจิตรหลายเล่มเคยถูกกำหนดเป็นหนังสือต้องห้าม แต่ปัจจุบันยกเลิกการห้ามไปหมดแล้ว และด้วยความหนักแน่นในเนื้อหาทางวิชาการงานของจิตรก็ถูกนำกลับมาบ่อยๆ อย่าง จิตรเขียนเสร็จแล้วฝากสุภา ศิริมานนท์เอาไว้ คุณสุภาก็เอาใส่กล่องขนมปังบัดกรีฝังดินไว้ จนกระทั่งหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ก็ได้เอามาจัดพิมพ์ก่อนเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519"

ยังมีเอกสารลายมือของจิตรอีกหลายชิ้น รวมไปถึงงานเขียนอีกประเภทที่จิตรเขียนโดยใช้นามปากกา ซึ่งก็ยังมีอยู่อีกมากที่ยังรอการชำระสะสางและตีพิมพ์เผยแพร่ต่อไป

และ คือ ระลอกแรกของผลงานวิชาการในโครงการสรรพนิพนธ์ จิตร ภูมิศักดิ์ ส่วนผลงานอื่นๆ กำลังรอการจัดพิมพ์ตามมา อาจารย์ชาญวิทย์ กล่าวก่อนจะฝากทิ้งท้ายไว้ว่า...

"ทำงานชุดสรรพนิพนธ์ของจิตรได้สัก 15 เล่มก็พอใจแล้ว แต่ถ้าไปถึงการมีหอจดหมายเหตุหรือพิพิธภัณฑ์เล็กๆ เพื่อจิตร ภูมิศักดิ์ ได้ก็ยิ่งดี"

...............

หมายเหตุ : กองทุนจิตร ภูมิศักดิ์ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) สาขามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์-ท่าพระจันทร์ บัญชี นายชาญวิทย์ เกษตรศิริ นางดาวเรือง แนวทอง นายธนาพล อิ๋วสกุล เลขที่บัญชี 155-2-03676-4 หรือติดต่อสอบถามได้ที่ โทร.0-2613-3840-1 และ 0-2222-0149


ชื่อ:: กัญชง ณ ร่องกล้า ( รหัสสมาชิก :: 0 :: ชื่อ คุณ )
วันที่:: 2005-05-19 19:35:24


Create Date : 18 มกราคม 2550
Last Update : 18 มกราคม 2550 19:56:20 น. 0 comments
Counter : 502 Pageviews.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Street Fighting Man
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ถึงชนจะชิงชัง แต่กูยังจะหยัดยืน
กู้เกียรติที่มารกลืน ให้มวลชนเข้าใจใจ
กูชาติทหารหาญ ประวัติการณ์นั้นยาวไกล
พิทักษ์ไผทไทย นี้สืบทอดมายาวนาน
ทหารไทยบ่ขายชื่อ บ่ขายชาติและวิญญาณ
เกียรติยศอุดมการณ์ บ่ขายกินเป็นเงินตรา
เพื่อผองประชาชาติ จะพลีชีพให้ลือชา
ลบคราบน้ำตา…อา ! ที่อาบนองแก้มผองชน
ผู้นำผู้ใดดี จะร่วมทางด้วยอดทน
ผู้นำที่เดนคน จะคัดค้านไม่เกรงใคร
น้ำใจนี้เดี่ยวเด็ด ดั่งเหล็กเพชรที่ทนไฟ
เนื้อร้ายต้องตัดไป ไม่ลังเลให้คนแคลน
ถึงแม้สมุนมาร จะคงคอยคำรามแทน
อุปสรรคถึงเหลือแสน จะบุกหน้าบ่ถอยหลัง
มอบรักต่อคนดี และต่อผีคือชิงชัง
ผีดิบจะล้มดัง เพราะเรี่ยวแรงที่ระดม
เสียงสูคือเสียงผี ที่หลอกคนด้วยคารม
[Add Street Fighting Man's blog to your web]