*'^'~*-.,_,.-* เจ็บหน้าอกเพราะอะไร (Heart Attack)*-.,_,.-*~'^'*


อาการเจ็บหน้าอกในผู้สูงอายุ


ปกติอาการเจ็บหน้าอกในผู้สูงอายุนั้น เจอได้บ่อยทีเดียว และแม้ว่าคนส่วนใหญ่ จะนึกถึงโรคหัวใจไว้ก่อน
เพราะดูน่ากลัวที่สุด แต่ในความเป็นจริงแล้ว มีสาเหตุมากมาย ที่ทำให้เจ็บหน้าอกได้ ยกตัวอย่างเช่น
กล้ามเนื้อทรวงอก และกระดูกอ่อน อักเสบ แผลในกระเพาะอาหาร หรืออาจเกิดความวิตกกังวล อารมณ์
แปรปรวนได้ ทั้งหมดนี้ คงมิใช่อาการที่น่าตกใจ แต่หากเป็นโรคที่เกิดกับกล้ามเนื้อหัวใจ หรือเนื้อปอด
แล้วล่ะก็ คงเป็นเรื่องที่รอช้าไม่ได้แน่

กรณีของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด มักเกิดอาการจุกแน่นทรวงอก อาจจะร้าวไปที่คอ คางและแขนซ้ายด้านใน
รวมทั้งมีเหงื่อแตก ใจสั่น ก็เจอร่วมกันได้ ในบางราย อาจมีสาเหตุนำมาก่อนเช่น ออกกำลังกายหนัก กินอาหาร
มื้อใหญ่ ๆ หรืออารมณ์โกรธ ที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง ทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุที่กระตุ้นความผิดปกติของระบบ
หลอดเลือด ซึ่งไปเลี้ยงหัวใจให้มีมากขึ้นจนเกิดอาการได้ เข้าทำนองมีจุดอ่อนอยู่แล้ว ยังถูกจู่โจมอีกนั่นเอง

คนที่จะป่วยด้วยโรคหัวใจดังกล่าวนี้ มักมีความเสี่ยงอยู่ก่อนแล้ว บางรายอาจมี น้ำหนักตัวมาก ขาดการ
ออกกำลังกาย มีระดับของไขมันในเลือดสูง รวมไปถึงการสูบบุหรี่ ทั้งหมดนี้จัดเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ต้องระวัง
และควรป้องกันเอาไว้หากทำได้

ถ้าพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงร่วมกับอาการที่ใกล้เคียงก็ต้องรีบไปตรวจวินิจฉัย อย่างการตรวจ คลื่นหัวใจ ส่วนเรื่อง
การเจาะเลือดดูระดับเอนไซม์ คงต้องพิจารณาเป็นราย ๆ ไป บางรายที่ผลชัดเจนก็ไม่ต้องทำก็ได้

มีผู้สูงอายุอีกประเภทที่มักมีอาการผิดปกติเป็น ๆ หาย ๆ แต่พอตรวจดูแล้วก็ไม่พบอะไร ที่ผิดปกติ มักพบว่า
ผู้สูงอายุกลุ่มนี้มักมีปัญหาทางอารมณ์ โดยเฉพาะอารมณ์ซึมเศร้า รายที่ลูกหลานไม่ค่อยสนใจแต่พอพามา
โรงพยาบาลทีก็หายจ้อย แบบนี้เจอบ่อยว่า ผู้สูงอายุจะเกิดความไม่สบายใจ

การพูดคุยและหากิจกรรมให้ผู้สูงอายุทำเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ไม่ว่าจะเป็นปลูกต้นไม้ ดายหญ้า (มีผู้สูงอายุอยู่
รายหนึ่ง แกจะรู้สึกไม่สบายเนื้อตัว หากไม่ได้ดายหญ้า) ทำขนม กับข้าว ไปวัดทำบุญ
เข้าสู่ยุคไอเอ็มเอฟ ผมสังเกตว่า ผู้สูงอายุหลายท่านเดิมทีต้องมาโรงพยาบาลเอง หรือคนข้างบ้านพามาส่ง
ก็จะมีลูกหลานมาเป็นเพื่อนด้วย ถามดูได้ความว่าตกงานอยู่ จึงมีเวลามาดูแล เรียกว่าเป็นเรื่องดีในเรื่องร้าย
ก็เป็นได้ บางทีการที่เศรษฐกิจตกต่ำ ก็ทำให้คนเรากลับสู่ความเป็นจริงมากขึ้น และอาจพึงพอใจอะไรง่าย
ขึ้นมาบ้าง ซึ่งคงต้องทำใจกันสักพัก

สำหรับคนที่ยังไม่เป็นอะไร ยังไงเสียการทานอาหารอย่างพอเหมาะ คือมันน้อย งดของทอด หรือหวานจัด
รู้จักการออกกำลังกายตามสมควรแก่สังขารอย่างสม่ำเสมอ ฝึกสงบจิตใจให้ผ่องแผ้ว ก็น่าจะเป็นการาป้องกัน
"เจ็บยอดอก" และอันตราย ไปได้มากทีเดียว

อาการของโรคที่เป็นสาเหตุของอาการเจ็บหน้าอก
สาเหตุ รูปแบบ ลักษณะ การเจ็บ ตำแหน่ง ปัจจัย ที่เกี่ยวข้อง อาการร่วม
กล้ามเนื้อ หัวใจ ขาดเลือด เป็นๆหายๆ จุกแน่น ตรงกลาง ร้าวไปคอไหล่ แขนซ้าย การออกกำกาย อารมณ์ เวียนศรีษะ เป็นลม
ปอดอักเสบ เป็นเรื้อรัง ตลอดเวลา แหลมคม ด้านข้าง ร้าวไปไหล่ การหายใจ การไอ ไข้ ไอ หายใจลำบาก
กล้ามเนื้อ กระดูกอ่อน อักเสบ เป็นเรื้อรัง ตลอดเวลา เจ็บตื้อๆ เฉพาะที่ การเคลื่อนไหว ปวดคอ ปวดหลัง แขนขา ไม่มีแรง
ประสาท กังวล อารมณ์ เป็นๆหายๆ ไม่แน่นอน ไม่แน่นอน ความเครียด อาการทางจิต
(ที่มา - สัจพันธ์ อิศรเสนา, อายุรศาสตร์ผู้ป่วยนอก, ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์,พ.ย.2535,หน้า 70)

นพ.เทอดศักดิ์ เดชคง







เจ็บหน้าอกเพราะอะไร










นพ.ชุมศักดิ์ พฤกษาพงษ์

ความที่โรคหัวใจขาดเลือดเป็นที่รู้จักและหวาดกลัวกันมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ กล่าวคือ
ทุกครั้งที่ท่านผู้อ่านมีอาการเจ็บหน้าอก ก็จะนึกถึงโรคหัวใจเป็นสิ่งแรก ซึ่งก็เป็นการดีเพราะภาวะที่อันตราย
มาก หากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจเกิดตีบตันมาก ๆ แล้วก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อาการเจ็บหน้าอกจึงเป็นเหตุผลที่พบบ่อยที่สุดอาการหนึ่ง ในการนำผู้มีอาการไปห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาล
อย่างที่สหรัฐอเมริกานั้น มีชาวอเมริกันเรียก รถพยาบาลให้มารับไปส่งห้องฉุกเฉิน เพราะอาการเจ็บหน้าอก
ปีละ 5 ล้านราย

คิด ๆ ดูก็น่าตกใจถ้าหากท่านต้องตื่นขึ้นมากลางดึก ด้วยอาการเจ็บหน้าอกและข่มตาหลับต่อไปไม่ไหว
บางคนจะเกิดความตื่นตระหนกด้วยเกรงว่า จะเป็นอาการของโรคหัวใจขาดเลือดที่รู้จักในภาษาอังกฤษว่า
HEART ATTACK แต่จริง ๆ แล้วอาการเจ็บหน้าอกไม่ได้หมายความถึง โรคหัวใจขาดเลือดเสมอไป
จึงขอแบ่งสาเหตุการเจ็บหน้าอกออกเป็น

1.

เจ็บหน้าอกเพราะโรคหัวใจ และ
2.

เจ็บหน้าอกที่ไม่ได้เกิดจากหัวใจ

อาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจ เกิดขึ้นได้ 2 กรณี คือ

1.

หัวใจได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
2.

เป็นโรคหัวใจแต่ไม่เกี่ยวกับการขาดออกซิเจน

เมื่อหัวใจขาดออกซิเจนมาหล่อเลี้ยง

สาเหตุพื้นฐานมักจะเป็นเพราะเลือดที่อุดมด้วยออกซิเจนไปไม่ถึงหัวใจ อันสืบเนื่องจากเส้นเลือด
เลี้ยงหัวใจตีบแคบลง มีผลทำให้เกิดความผิดปกติที่หัวใจได้ 2 ประการคือ

1.

ถ้าเลือดและออกซิเจนที่มาหล่อเลี้ยงหัวใจไม่ เพียงพอเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว จะเกิดอาการเจ็บ
หน้าอกที่เรียกว่า แองไจนา เป็คตอริส (ANGINA PECTORIS)
ซึ่งมักมีสาเหตุจากเส้นโลหิตแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจ มีไขมันมาพอกผนังจนตีบแคบลง
บางรายอาจเกิดจากลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบแคบลง (AORTIC STENOSIS)
หรือเส้นโลหิตที่นำเลือดจากหัวใจสู่ปอดเกิดความดันสูงขึ้น (PULMONARY
HYPERTENSION) อาการแองไจนาน ี้ คนไข้บอกเล่าว่า เหมือนมีแรงมากดบนหน้าอก
หรือรู้สึกแน่นหน้าอกเวลาเกิดอารมณ์เครียด หรือออกกำลังทำกิจกรรมสักอย่างหนึ่ง
พอหยุดพักหรือคลายเครียดได้ อาการเจ็บหน้าอกก็จะหายไปภายในไม่กี่นาที
2.

ถ้าเส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจเกิดตีบตันทั้งเส้น หรือหลาย ๆ เส้น
เนื่องจากมีก้อนเลือดมาอุดกล้ามเนื้อหัวใจอันทรงพลัง ก็จะขาดเลือดมาหล่อเลี้ยงฉับพลัน
จนเซลล์กล้ามเนื้อตาย เกิดภาวะที่เรียกว่า ไมโอคาร์เดียล อินฟาร์กชั่น (MYOCARDIAL
INFARCTION) หรือพวกหมอชอบเรียกสั้น ๆ ว่า เอ็มไอ (MI)
อาการเจ็บหน้าอกในกรณีนี้จะรุนแรง เหมือนมีมือยักษ์มาบีบหน้าอก อยู่เป็นเวลานานกว่าที่
เกิดในภาวะแองไจนา



ส่วนอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจ ที่ไม่เกี่ยวกับการขาดออกซิเจน

ก็มีสาเหตุอาทิเช่น การอักเสบของถุงหุ้มหัวใจ (PERICARDITIS) หรือกล้ามเนื้อหัวใจโตเกินไป
(HYPERTROPHY) เป็นต้น


ความที่ชาวอเมริกันเป็นโรคหัวใจขาดเลือดกันมาก โรงพยาบาลเกือบทุกแห่งจึงต้องจัดเตรียมห้องฉุกเฉิน
ไว้ให้พร้อม ในการรักษาผู้ป่วยที่มาด้วยเรื่องเจ็บหน้าอก บางแห่งจะจัดบริเวณพิเศษภายในห้องฉุกเฉิน
เพื่อตรวจรักษาอาการนี้โดยเฉพาะ

เมื่อมาถึงห้องฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่จะรีบวัดแรงดันโลหิต จับชีพจรและวัดไข้ทันที หมอสั่งการตรวจอื่น ๆ
ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นอาการเจ็บหน้าอกที่บ่งบอกความฉุกเฉินของปัญหา

ถ้าหมอตรวจแล้วค่อนข้างแน่ใจว่า เป็นภาวะหัวใจขาดเลือด ก็จะเริ่มมีการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด
หรือทำการขยายหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ หรือผ่าตัดต่อเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจ

การขยายหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจเรียกว่า แองจิโอพลาสตี้ (ANGIOPLASTY) คือ หัตถการที่หมอหัวใจ
สอดสายสวน ที่ปลายเป็นลูกโป่งยุบพองได้เพื่อ ไปขยายเส้นเลือดบริเวณที่ตีบให้กว้างออก จนเลือดไหล
เวียนดีขึ้น

การตรวจอื่น ๆ ในห้องฉุกเฉินมีอาทิเช่น

1. ตรวจคลื่นไฟฟ้าของหัวใจ หรืออีเคจี (ECG หรือ EKG ย่อจาก คำว่า
ELECTROCARDIOGRAM) เพื่อช่วยให้คุณหมอเห็นคลื่นไฟฟ้า จากการเต้นของหัวใจ
ถ้าหัวใจขาดเลือดจนกล้ามเนื้อเสียหาย ก็จะทำให้คลื่นไฟฟ้าของหัวใจผิดปกติ ไปจนหมอ
วินิจฉัยโรคได้
2. การเจาะเลือด ดูว่ามีกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือเสียหายมากจน ปล่อยสารเอนไซม์บางอย่าง
ออกมามากเกินไปหรือเปล่า ถ้ามีก็แสดงว่าหัวใจขาดเลือดจริง ๆ
3. ตรวจความฟิตของหัวใจในการเผชิญหน้าความเครียด (STRESS TEST)
ซึ่งจะวัดดูว่า หัวใจตอบสนองต่อการออกกำลังอย่างไร และช่วยหมอวินิจฉัยภาวะ
หัวใจขาดเลือดได้ วิธีตรวจนี้ หมออาจให้ท่านขึ้นเดินบนเครื่องที่มีสายพาน (TREADMILL)
หรือถีบจักรยานอยู่กับที่ ขณะที่ต่อสายไปบันทึกคลื่นไฟฟ้าของหัวใจตลอดเวลา หมอหัวใจจะ
ต้องอยู่กำกับดูแลการตรวจนี้ เพราะถ้าหัวใจขาดเลือดมากอยู่แล้ว การออกกำลังกายเพิ่มอีกเล็ก
น้อย อาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเลยได้
4. การใช้รังสีนิวเคลียร์ถ่ายภาพหัวใจ (NUCLEAR SCAN TEST)
หมอจะฉีดสารรังสีปริมาณเล็กน้อย เช่น ทาเลียม (THALLIUM) เข้าไปในร่างกาย แล้วใช้
กล้องถ่ายภาพพิเศษถ่ายสารรังสีที่ผ่านหัวใจ และหลอดเลือดเพื่อดูว่า มีการไหลเวียนผิดปกติที่ใด
การตรวจนี้มักจะทำร่วมกับการตรวจในข้อ 3
5. การฉีดสีทึบแสงเข้าเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจ( CORONARY CATHETERIZATION
หรือ CORONATY ANGIOGRAM) หมอจะฉีดสารทึบแสงเข้าไปในเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจ
แล้วถ่ายภาพเอกซเรย์ต่อเนื่องเหมือนถ่ายภาพเพื่อดูการเต้นของหัวใจ ดูเส้นเลือดว่าตีบตรงไหน
บ้าง
6. ถ่ายภาพรังสีของทรวงอก เพื่อดูสภาพของปอด ตลอดจนขนาดและรูปร่างของหัวใจ รวมทั้ง
เส้นเลือดขนาดใหญ่ ๆ
7. ใช้คลื่นเสียงความถี่สูง ตรวจดูการเต้นของหัวใจ เรียกว่า เอ็คโค่คาร์ดิโอแกรม
(ECHOCARDIOGRAM) คลื่นเสียงความถี่สูงนี้จะสร้างภาพให้เห็นการเต้นของหัวใจได้

จากประวัติการเจ็บป่วยร่วมกับการตรวจร่างกาย และนำผลการ ตรวจต่าง ๆ มาประมวลกันเข้า
หมอก็จะให้การวินิจฉัยได้ว่า อาการเจ็บหน้าอกที่เป็นอยู่นั้นมาจากโรคหัวใจหรือเปล่า



ข้อควรระวัง

เนื่องจากสารเอนไซม์ที่เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือขาดเลือดรุนแรงบ่อยครั้ง จะปรากฏ
ในกระแสเลือดช้ากว่าอาการเจ็บหน้าอก ตั้งแต่ 4-6 ชั่วโมง ตามกระบวนการเกิดโรค ดังนั้น
ตอนแรกที่ไปถึงห้องฉุกเฉิน หมออาจจะยังบอกไม่ได้ว่าท่านเป็นโรคหัวใจขาดเลือดหรือเปล่า
แต่เพื่อความปลอดภัย จะขอให้ท่านนอนพักอยู่ในโรงพยาบาล เพื่อสังเกตอาการใกล้ชิดอย่างน้อย
4-6 ชั่วโมง

ระหว่างนี้นึกอะไรเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของสุขภาพได้ ก็ขอให้เล่าให้หมอหรือเจ้าหน้าที่
ได้รับทราบ ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แม้ว่าหมอจะลืมถามก็ตาม


อาการเจ็บหน้าอกที่ไม่ได้เกิดจากหัวใจ

เนื่องจากหน้าอกของคนเรา มีอวัยวะหลายอย่าง จึงทำให้เจ็บหน้าอกได้เช่นกัน หลังจากหมอตรวจท่าน
ไปพักหนึ่ง แล้วบอกว่า ไม่ได้เกิดจากโรคหัวใจแล้ว หลายท่านจะโล่งใจไปมาก แต่ก็ยังสงสัยว่า แล้วอาการ
เจ็บหน้าอกมาจากไหนกันล่ะ ? จะเป็นจากอะไรก็คงไม่ร้ายแรงเท่าโรคหัวใจ

ภาวะที่อาจทำให้เจ็บหน้าอกที่พบบ่อย ๆ รองลงมา คือ

1. ความผิดปกติของทางเดินอาหาร เช่น
1. การไหลย้อนกลับของน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ซึ่งมีกรดเป็นสารหลัก ทำให้หลอด
อาหารที่อยู่ในทรวงอกได้รับความระคายเคือง เกิดอาการแสบร้อนขึ้นมา เรียกว่าภาวะ
GERD (ย่อจากคำเต็มว่า GASTROESOPHAGEAL REFLUX DISEASE)
อาการแสบร้อนที่ว่านี้ ฝรั่งบัญญัติศัพท์ไว้เหมาะสมมากว่า HEARTBURN
หรือหัวใจไหม้ ซึ่งนอกจากทำให้เจ็บหน้าอก แสบที่หน้าอกแล้ว บางท่านอาจรู้สึก
มีรสเปรี้ยวในปาก หรือรู้สึกว่ามีอาหารขย้อนกลับขึ้นมา โดยมากจะเกิดหลังอาหาร
และเป็นอยู่หลายชั่วโมง ยิ่งถ้านอนราบหรือก้มต่ำก็จะยิ่งเป็นมาก แต่จะบรรเทาได้
ถ้าเราออกมาหรือรับประทานยาลดกรด
ในกรณีนี้ หมอจะจ่ายยาลดกรดให้กลับไปรับประทานต่อที่บ้าน การไหลย้อนกลับของ
กรดในกระเพาะอาหารขึ้นสู่หลอดอาหาร ถ้าทิ้งไว้จะทำให้หลอดอาหารเป็นแผล
ตามมาด้วยการเกิดแผลเป็น และหลอดอาหารตีบแคบลง
หมอจะตรวจวินิจฉัยได้โดยการ ให้ท่านกลืนแป้งแบเรียม แล้วถ่ายภาพเอกซเรย์ หรือ
ใช้กล้องส่องลงไปตรวจดูผนังหลอดอาหาร และโพรงกระเพาะอาหาร
2. ความผิดปกติของการเคลื่อนไหวของหลอดอาหาร (ESOPHAGEAL MOTILITY
DISORDER) เกิดจากความผิดปกติในการบีบตัวของกล้ามเนื้อรอบหลอดอาหาร
จนกลืนลำบาก และอาจเจ็บหน้าอก
ข้อสังเกตคือ ภาวะนี้บรรเทาได้ด้วยยา เช่น ไนโตรกลีเซอรีน ซึ่งบรรเทาอาการเจ็บ
หน้าอกจากหัวใจขาดเลือดได้ด้วยบางครั้ง จึงวินิจฉัยแยกโรคยากและหมออาจคิดว่า
เป็นโรคหัวใจในตอนแรกได้
2. ความผิดปกติทางอารมณ์ (ANXIETY DISORDER)

มีคนจำนวนไม่น้อยที่ไปห้องฉุกเฉิน วนไม่น้อยที่ไปห้องฉุกเฉิน เพราะอาการเจ็บหน้าอก
เนื่องจากความวิตกกังวลอันเป็นผลจากความเครียด เช่น

1. ความวิตกกังวลทั่ว ๆ ไป อย่างคนที่เคยเป็นโรคหัวใจขาดเลือด หรือมีญาติพี่น้อง
ที่มีประวัติหัวใจขาดเลือด จะมีความกังวลเกี่ยวกับอาการเจ็บหน้าอก พอนึกไปนึกมา
เลยเจ็บหน้าอกเข้าจริง ๆ แต่ถ้ารู้ว่าไม่ใช่โรคหัวใจแล้ว อาการจะหายไปเลย
2. ความตื่นตระหนก (PANIC ATTACKS) เป็นความเครียดที่ทำให้เจ็บหน้าอกได้
เนื่องจากความกลัวสุดขีด จนเหงื่อไหลชุ่ม หายใจไม่สะดวกและเจ็บหน้าอก
3. เป็นภาวะที่พบบ่อยเช่นกัน อาทิเช่น
1. กระดูกอ่อนของซี่โครงอักเสบ (COSTOCHONDRITIS)
อาจเจ็บหน้าอกอย่างเฉียบพลันและเจ็บได้มาก ๆ จนนึกว่าหัวใจขาดเลือด ข้อแตกต่าง
คือ บริเวณที่อักเสบเวลาจับต้องแล้วจะปวด ในขณะที่หัวใจขาดเลือดจะเจ็บกินบริเวณ
กว้างกว่าและกดไม่เจ็บ รักษาโดยพัก ใช้ยาบรรเทาปวด ใช้ความร้อนประคบ
2. เจ็บกล้ามเนื้อหน้าอกจากการไอมาก ๆ การบาดเจ็บของซี่โครงหรือกล้ามเนื้อหน้าอกช้ำ
4. โรคปอด อาการเจ็บหน้าอก จากโรคปอด พบไม่มากนัก แต่ก็มีความสำคัญเช่น เป็นผลจาก
1. ลิ่มเลือดคั่งในเส้นเลือดของปอด จนเลือดไหลสู่เนื้อปอดบางส่วนไม่ได้ นับเป็นภาวะ
อันตรายถึงชีวิตได้เช่นกัน แต่คนไทย จะเป็นกันน้อย อาการเจ็บหน้าอกจะมีลักษณะ
เหมือน ถูกของมีคม เลวลงเวลาไอหรือหายใจลึก ๆ
2. เยื่อหุ้มปอดอักเสบจะเจ็บเวลาหายใจหรือไอ สาเหตุอาจเกิดจากติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย
(ปอดบวม) หรือ โรคภูมิแพ้ตัวเอง (LUPUS)
3. ปอดแฟบ (PNEUMOTHORAX)


5. โรคอื่น ๆ ที่ทำให้เจ็บหน้าอกได้มีอาทิเช่น งูสวัด นิ่วในถุงน้ำดีหรือตับอ่อนอักเสบ
มะเร็งปอด

โดยสรุปอาการเจ็บหน้าอกอาจวินิจฉัยหาสาเหตุได้ยาก แต่การสังเกตอาการสัก 2-3 ชั่วโมง ที่ห้องฉุกเฉิน
จะช่วยนำไปสู่เบาะแสต่าง ๆ เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง และการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

ข้อสำคัญคือ เมื่อรู้ว่าไม่ใช่โรคหัวใจขาดเลือด บางทีพานหายเจ็บหน้าอกเอาดื้อ ๆ ถ้าอย่างนั้นก็ดีไป

นพ.ชุมศักดิ์ พฤกษาพงษ์

ข้อมูลจาก //www.thailabonline.com




ปล.เรามีอาการเจ็บที่หน้าอกตั้งแต่เมื่อวานเช้า เจ็บตลอดทั้งวันจนถึงวันนี้

แต่ยังไม่ได้โทรรถพยาบาลมาดูอาการ แฟนก้อมาตรวจดูแกว่าอาจไม่ใช่อาการของ

โรคหัวใจ วันนี้ยังงัยไม่หายเจ็บจะไปหาคุณหมอ


ขออนุญาติปิดเม้นท์น่ะค่ะ คิดถึงเพื่อนๆทุกท่านเลย




 

Create Date : 09 มีนาคม 2552
0 comments
Last Update : 9 มีนาคม 2552 6:27:54 น.
Counter : 3499 Pageviews.


bagarbu
Location :
Melbourne Australia

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




I am a freelance makeup artist and Photographer.


Free Web Counters



free counters


ยินดีต้อนรับค่ะ
ชื่อหน่อย
เรียกแม่หน่อยก้อได้ค่ะ
เป็นแม่บ้านเลี้ยงลูกลิง
2คนคนโตชื่อเฟดริกอายุห้าขวบครึ่ง
คนเล็กชื่อแฮร์รี่เพิ่งจะได้1เดือน
บ้านนี้ชอบการท่องเที่ยว
และหากิจกรรม
แบบครอบครัวทำอยู่เสมอๆ
มีความสุขสนุกกับการ
เยี่ยมชมบลอกน่ะค่ะ
ขอบคุณที่แวะ
มาทักทายกันเสมอๆ
loaocat
loaocat




loaocat
loaocat
loaocat
สวัสดีค่าบ้านแม่หน่อยยินดีต้อนรับทุกท่านค่ะ
loaocat
loaocat
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2552
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
9 มีนาคม 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add bagarbu's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.