space
space
space
<<
พฤษภาคม 2559
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
space
space
27 พฤษภาคม 2559
space
space
space

ถาม- ตอบ พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527



  1. “ภาษี” หมายความว่าอย่างไร

ตอบ  หมายความว่า ภาษีสรรพสามิตที่เรียกเก็บจากสินค้าและบริการตาม พระราชบัญญัตินี้

  1. “คลังสินค้าทัณฑ์บน” หมายความว่าอย่างไร

ตอบ  หมายความว่า สถานที่นอกโรงอุตสาหกรรมที่อธิบดี อนุญาตให้ใช้เป็นที่เก็บสินค้าได้โดยยังไม่ต้องเสียภาษี

  1. “แสตมป์สรรพสามิต” หมายความว่าอย่างไร

ตอบ   แสตมป์ที่รัฐบาลทำหรือจัดให้มีขึ้นเพื่อ ใช้ในการจัดเก็บภาษีตามพระราชบัญญัตินี้

  1. ใครเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

ตอบ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

  1. ภาษีตามพระราชบัญญัตินี้ให้อยู่ในอำนาจหน้าที่และการควบคุมของใคร

ตอบ  กรมสรรพสามิต

  1. ใครมีหน้าที่เสียภาษีตามมูลค่า หรือปริมาณของสินค้าหรือบริการ

ตอบ  ผู้ประกอบอุตสาหกรรม ผู้ประกอบกิจการสถานบริการ ผู้นำเข้า ซึ่งสินค้า

  1. การเสีย ภาษีตามมูลค่านั้น ต้องรวมภาษีสรรพสามิตที่พึงต้องชำระด้วยอย่างไร

ตอบ  (1) ในกรณีสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร ให้ถือตามราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมในกรณีไม่มีราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม หรือราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม มีหลายราคา ให้ถือตามราคาที่อธิบดีกำหนดตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษี อธิบดีโดยอนุมัติรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศ มูลค่าของสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักร เพื่อถือเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษี โดยกำหนดจาก ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรมในตลาดปกติได้

(2) ในกรณีบริการ ให้ถือตามรายรับของสถานบริการเพื่อประโยชน์ในการคำนวณรายรับของสถานบริการ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ มีอำนาจกำหนดรายรับขั้นต่ำของสถานบริการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

(3) ในกรณีสินค้าที่นำเข้า ให้ถือราคา ซี.ไอ.เอฟ. ของสินค้าบวกด้วยอากรขาเข้า ค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และภาษี และค่าธรรมเนียมอื่นตามที่ จะได้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา แต่ไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่กำหนด

  1. ราคา ซี.ไอ.เอฟ. ได้แก่อะไรบ้าง

ตอบ   ได้แก่ราคาสินค้าที่บวกด้วยค่าประกันภัยและค่าขนส่ง ถึงด่านศุลกากรในราชอาณาจักร ทั้งนี้ เว้นแต่

(ก) ในกรณีที่อธิบดีกรมศุลกากร ประกาศให้ราคาในท้องตลาดสำหรับของ ประเภทใดประเภทหนึ่งที่ต้องเสียอากรตามราคาเป็นรายเฉลี่ย ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตรา ศุลกากร ให้ถือราคานั้นเป็นราคาสินค้าในการคำนวณราคา ซี.ไอ.เอฟ.

(ข) ในกรณีที่เจ้าพนักงานศุลกากรประเมินราคาเพื่อเสียอากรขาเข้าใหม่ตาม กฎหมายว่าด้วยศุลกากร ให้ถือราคานั้นเป็นราคาสินค้าในการคำนวณราคา ซี.ไอ.เอฟ.

  1. สินค้าที่ต้องเสียภาษีตามปริมาณนั้น ให้ถือตามหน่วยตามน้ำหนักสุทธิ หรือตามปริมาณสุทธิของสินค้านั้น เว้นแต่กรณีใด

ตอบ  เว้นแต่

(1) ในกรณีสินค้าประเภทอาหารที่บรรจุภาชนะโดยมีของเหลวหล่อเลี้ยงด้วย เพื่อประโยชน์ในการถนอมอาหาร น้ำหนักที่ใช้เป็นเกณฑ์คำนวณภาษี ให้ถือเอาน้ำหนักแห่งสินค้า รวมทั้งของเหลวที่บรรจุในภาชนะนั้น

(2) ในกรณีสินค้าที่บรรจุในหีบห่อหรือภาชนะใด ๆ เพื่อจำหน่ายทั้งหีบห่อหรือ ภาชนะ และมีเครื่องหมายหรือป้ายแสดงปริมาณแห่งสินค้าติดไว้ที่หีบห่อหรือภาชนะนั้น เพื่อ ประโยชน์ในการคำนวณภาษี อธิบดีจะถือว่าหีบห่อหรือภาชนะนั้น ๆ บรรจุสินค้าตามปริมาณ ที่แสดงไว้ก็ได้

  1. ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีมีอะไรบ้าง

ตอบ   มาตรา 10* ภายใต้บังคับมาตรา 11 วรรคสอง และมาตรา 12 วรรคสอง ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษี มีดังนี้

(1) ในกรณีสินค้าที่ผลิตขึ้นในราชอาณาจักร

(ก) ถ้าสินค้าอยู่ในโรงอุตสาหกรรม ให้ถือว่าความรับผิดในอันจะต้อง เสียภาษีเกิดขึ้นในเวลาที่นำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม เว้นแต่เป็นการนำสินค้าออกจาก โรงอุตสาหกรรมไปเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บน และถ้าผู้ประกอบอุตสาหกรรมหรือ บุคคลใดนำสินค้าดังกล่าวไปใช้ภายในโรงอุตสาหกรรมก็ให้ถือว่าเป็นการนำสินค้าออกจาก โรงอุตสาหกรรม

(ข) ถ้าสินค้าที่เก็บอยู่ในคลังสินค้าทัณฑ์บน ให้ถือว่าความรับผิดในอันจะต้อง เสียภาษีเกิดขึ้นในเวลาที่นำสินค้าออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บน เว้นแต่เป็นการนำสินค้ากลับคืนไป เก็บไว้ในโรงอุตสาหกรรมหรือไปเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บนอีกแห่งหนึ่งในกรณีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามหมวด 4 ในลักษณะ 2 แห่ง ประมวลรัษฎากร ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนเกิดขึ้นก่อนนำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรมหรือ คลังสินค้าทัณฑ์บน ให้ถือว่าความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นพร้อมกับความรับผิดในการ เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

(2) ในกรณีบริการ ให้ถือว่าความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระ ราคาค่าบริการในกรณีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามหมวด 4 ในลักษณะ 2 แห่ง ประมวลรัษฎากร ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนเกิดขึ้นก่อนได้รับชำระราคาค่าบริการ ให้ถือว่า ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นพร้อมกับความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

(3) ในกรณีสินค้าที่นำเข้า ให้ถือว่าความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นในเวลา เดียวกับความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีศุลกากรสำหรับของที่นำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร เว้นแต่ในกรณีสินค้าที่เก็บอยู่ในคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ให้ถือว่าความ รับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นในเวลาที่นำสินค้าออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บนนั้น

  1. ในกรณีสินค้าซึ่งในเวลานำเข้าได้รับยกเว้นหรือลดอัตราภาษีถ้าสินค้านั้นได้โอนไปเป็นของบุคคลที่ไม่มีสิทธิได้รับยกเว้นหรือ ลดอัตราภาษี หรือได้นำไปใช้ในการอื่นนอกจากที่กำหนดไว้หรือสิทธิที่ได้รับยกเว้นหรือลดอัตรา ภาษีสิ้นสุดลงความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษี  ได้แก่อะไรบ้าง

ตอบ มาตรา 11* ในกรณีสินค้าซึ่งในเวลานำเข้าได้รับยกเว้นหรือลดอัตราภาษี เพราะ เหตุที่นำเข้ามาเพื่อใช้เองโดยบุคคลที่มีสิทธิเช่นนั้น หรือเพราะเหตุที่นำเข้ามาเพื่อใช้ประโยชน์ อย่างใดที่กำหนดไว้โดยเฉพาะ ถ้าสินค้านั้นได้โอนไปเป็นของบุคคลที่ไม่มีสิทธิได้รับยกเว้นหรือ ลดอัตราภาษี หรือได้นำไปใช้ในการอื่นนอกจากที่กำหนดไว้หรือสิทธิที่ได้รับยกเว้นหรือลดอัตรา ภาษีสิ้นสุดลง สินค้านั้นจะต้องเสียภาษีโดยถือตามมูลค่าหรือปริมาณและอัตราภาษีที่เป็นอยู่ใน วันโอนหรือนำไปใช้ในการอื่น หรือวันที่สิทธิได้รับยกเว้นหรือลดอัตราภาษีสิ้นสุดลงเป็นเกณฑ์ ในการคำนวณภาษี

ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปดังนี้

(1) ในกรณีที่มีการโอน ให้เป็นความรับผิดร่วมกันของผู้โอนและผู้รับโอน

(2) ในกรณีที่มีการนำไปใช้ในการอื่น ให้เป็นความรับผิดของผู้ที่ได้รับสิทธิยกเว้น หรือลดอัตราภาษี

(3) ในกรณีที่สิทธิที่ได้รับยกเว้นหรือลดอัตราภาษีสิ้นสุดลง ให้เป็นความรับผิด ของผู้ที่ได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดอัตราภาษี

(4) ในกรณีที่ผู้ได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดอัตราภาษีถึงแก่ความตายในขณะเป็น เจ้าของ ให้เป็นความรับผิดของผู้จัดการมรดกหรือทายาทผู้ได้รับมรดกสินค้านั้นแล้วแต่กรณี

  1. ในกรณีสินค้าซึ่งผู้ประกอบอุตสาหกรรมได้รับคืนหรือยกเว้นภาษี ถ้าสินค้านั้นได้โอนไปเป็นของบุคคลอื่นที่ไม่มีเอกสิทธิ์ หรือเอกสิทธิ์ของผู้ได้รับเอกสิทธิ์นั้นสิ้นสุดลงโดยเหตุอื่นนอกจากความตาย สินค้านั้นจะต้องเสียภาษีโดยถือตามมูลค่า หรือปริมาณและอัตราภาษีที่เป็นอยู่ในวันโอนหรือวันที่เอกสิทธิ์สิ้นสุดลงเป็นเกณฑ์ในการคำนวณ ภาษีความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษี ได้แก่อะไรบ้าง

ตอบ   มาตรา 12* ในกรณีสินค้าซึ่งผู้ประกอบอุตสาหกรรมได้รับคืนหรือยกเว้นภาษี ตามมาตรา 102 (3) ถ้าสินค้านั้นได้โอนไปเป็นของบุคคลอื่นที่ไม่มีเอกสิทธิ์ หรือเอกสิทธิ์ของผู้ได้ รับเอกสิทธิ์นั้นสิ้นสุดลงโดยเหตุอื่นนอกจากความตาย สินค้านั้นจะต้องเสียภาษีโดยถือตามมูลค่า หรือปริมาณและอัตราภาษีที่เป็นอยู่ในวันโอนหรือวันที่เอกสิทธิ์สิ้นสุดลงเป็นเกณฑ์ในการคำนวณ ภาษี   ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปดังนี้

(1) ในกรณีที่มีการโอน ให้เป็นความรับผิดร่วมกันของผู้โอนและผู้รับโอน

(2) ในกรณีที่เอกสิทธิ์สิ้นสุดลง ให้เป็นความรับผิดของผู้ที่ได้รับเอกสิทธิ์

ให้รัฐมนตรีโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรี มีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา กำหนดให้สินค้าบางประเภทหรือบางชนิดซึ่งผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีสิทธิได้รับคืนหรือยกเว้น ภาษีตามวรรคหนึ่งได้รับยกเว้นจากบทบังคับแห่งมาตรานี้ โดยจะกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ใด ๆ ไว้ด้วยก็ได้

  1. ใครมีอำนาจ เข้าไปหรือออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าพนักงานสรรพสามิตเข้าไปในสถานที่หรือยานพาหนะใด ๆ เพื่อทำการตรวจค้น ยึดหรืออายัดบัญชี เอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวกับ หรือสันนิษฐานว่า เกี่ยวกับภาษีที่จะต้องเสียได้ทั่วราชอาณาจักร

ตอบ  อธิบดีกรมสรรพสามิต

ในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือสรรพสามิต จังหวัดมีอำนาจเช่นเดียวกับอธิบดีตามวรรคหนึ่ง สำหรับในเขตท้องที่จังหวัดนั้น

การทำการตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ต้องทำในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้น ถึงพระอาทิตย์ตก หรือในระหว่างเวลาทำการของผู้ประกอบกิจการนั้น เว้นแต่การตรวจค้น ยึดหรือ อายัดในเวลาดังกล่าวยังไม่แล้วเสร็จจะกระทำต่อไปก็ได้

  1. ในกรณีที่ต้องคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยเพื่อ ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยนอย่างไร

ตอบ  ใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ใช้ในการจัดเก็บภาษีศุลกากร

  1. หนังสือเรียก หนังสือแจ้งให้เสียภาษี หรือหนังสืออื่นที่มีถึงบุคคลใด เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ส่งโดยทางใด

ตอบ  ให้ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือให้เจ้าพนักงาน สรรพสามิตนำไปส่ง ณ ภูมิลำเนา หรือสำนักงานของบุคคลนั้นในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึง พระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการของบุคคลนั้น ถ้าไม่พบผู้รับ ณ ภูมิลำเนาหรือสำนักงานของผู้รับ จะส่งให้แก่บุคคลใดซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและอยู่หรือทำงานในบ้านหรือสำนักงานที่ปรากฏว่าเป็น ของผู้รับนั้นก็ได้

ถ้าไม่สามารถส่งหนังสือตามวิธีในวรรคหนึ่งได้ จะกระทำโดยวิธีปิดหนังสือนั้น ในที่ซึ่งเห็นได้ง่าย ณ สำนักงาน โรงอุตสาหกรรม ภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ของผู้รับนั้นหรือโฆษณา ข้อความย่อในหนังสือพิมพ์ที่จำหน่ายเป็นปกติในท้องที่นั้นก็ได้เมื่อได้ปฏิบัติการตามวิธีดังกล่าวในวรรคหนึ่งหรือวรรคสองแล้ว ให้ถือว่าผู้รับได้ รับหนังสือนั้นแล้ว





 

Create Date : 27 พฤษภาคม 2559
0 comments
Last Update : 27 พฤษภาคม 2559 14:27:51 น.
Counter : 480 Pageviews.


สมาชิกหมายเลข 2924989
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 2924989's blog to your web]
space
space
space
space
space