พฤศจิกายน 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
14 พฤศจิกายน 2552
 
 

ฝนดาวตกลีโอนิค (Leonids Meteors shower)

ฝนดาวตกลีโอนิค (Leonids Meteors shower)
เกิดขึ้นช่วงประมาณวันที่ 17-18 พฤศจิกายน ทุกปี โดยเฉลี่ยมีประมาณ 30-40 ดวงต่อชั่วโมง เกิดขึ้นจากฝุ่นของดาวหาง 55P/Temple-Tuttle มีคาบการโคจรทุกๆ 33 ปี มีบันทึกการเข้ามาเยือนของดาวหางครั้งแรกเมื่อปี คศ.1366 โดยทุกๆรอบ 33 ปี ดาวหางดวงนี้จะมาเพิ่มฝุ่นให้กับธารฝุ่นมากขึ้น ซึ่งช่วยให้ปริมาณของฝนดาวตก เพิ่มขึ้นทุกๆ 33 ปี

ประวัติความเป็นมาของฝนดาวตกลีโอนิด
ฝนดาวตกลีโอนิค หรือ ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต(Leo) มีบันทึกการเห็นครั้งแรกตั้งแต่ ปี คศ.902 โดยนักดาราศาสตร์ชาวจีน เรียกว่า "Stars fell like rain" และก็มีรายงานอีกหลายครั้งนับตั้งแต่นั้นมา เช่น ปี คศ.1002 เรียก "Scores of small stars fell" จวบจนกระทั้งปัจจุบัน สามารถเห็นได้ทางยุโรปและอเมริกาใต้ ในปี 1799 และในปี 1832 ระหว่างวันที่ 12-13 พฤศจิกายน สังเกตเห็นพายุฝนดาวตกที่ฝรั่งเศส ฮอลแลนด์ สวิสเซอร์แลนด์และรัสเซีย แต่ในปี 1933 ฝนดาวตกมีไม่มากนักเนื่องจากสภาพอากาศที่เลวร้าย
ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 1966 หลังการมาเยือนของดาวหาง Temple-Tuttle ในปี 1965 มีอัตราฝนดาวตก มากถึง 40 ดวงต่อนาที ทำให้ฝนดาวตกลีโอนิด มีชื่อเสียงมาก แต่เมื่อปี คศ. 1998 (พศ.2541) การเยือนครั้งล่าสุดของดาวหาง Temple-Tuttle ซึ่งนักดาราศาสตร์คาดการณ์ว่า จะทำให้เกิดฝนดาวมากขึ้น ซึ่งก็เป็นจริงดังที่ทำนายไว้
ฝนดาวตกลีโอนิดที่เกิดขึ้นเมื่อปี พศ.2544 ได้สร้างความฮือฮาให้กับวงการดาราศาสตร์เมืองไทยเป็นอย่างมาก เพราะปริมาณฝนดาวตกที่เกิดขึ้นมากมายเกินความคาดหมาย ทำให้หลายคนประทับใจ และอยากจะได้เห็นฝนดาวตกแบบนั้นอีกในเมืองไทย ตั้งแต่ฝนดาวตกลีโอนิดปี 2544 ครั้งนั้น ก็ไม่เคยมีฝนดาวตกลีโอนิด ที่มากมายเช่นนั้นให้เห็นอีกเลยในเมืองไทย

การสังเกตฝนดาวตกลีโอนิค



ฝนดาวตกลีโอนิค มีจุด radiant อยู่บริเวณส่วนหัวของกลุ่มดาวสิงโต (ที่เป็นรูปเคียว) โดยในวันที่ 17-18 พย. จุด radiant จะเริ่มขึ้นจากขอบฟ้า และอยู่สูงจากขอบฟ้าให้สังเกตเห็นได้ราว 03.00 น ทางฟ้าด้านทิศตะวันออก แต่ปริมาณฝนดาวตกนั้นขึ้นอยู่อัตราการเกิดสูงสุดในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งปกติเราจะสามารถเริ่มเห็นฝนดาวตกได้แต่หลังเที่ยงคืนไปแล้ว

การสังเกตฝนดาวตกลีโอนิคปีนี้
สำหรับปี 2552 นี้ คาดว่าจะเป็นปีทองของฝั่งเอเซียบ้าง เนื่องจากหลายปีที่ผ่านมา ปริมาณการเกิดฝนดาวตกลีโอนิดจะอยู่ทางฝั่งยุโรปและอเมริกามากกว่า แต่เป็นช่วงเวลากลางวันของทางฝั่งเอเซีย
ฝนดาวตกลีโอนิดปี 2552 นี้นักดาราศาสตร์ได้คาดการณ์ไว้ว่าจะมีปริมาณดาวตกมากที่สุด ช่วงเวลา 21.34 UT และ 21.44 UT ของวันที่ 17 พฤศจิกายน หรือ ตรงกับเวลา 04.34 และ 04.44 ของรุ่งเช้าวันที่ 18 พฤศจิกายน ตามเวลาในประเทศไทย โดยมีปริมาณการตกอยู่ที่ราว 500 ดวงต่อชั่วโมง

ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าว เป็นคืนเดือนมืด ทำให้เป็นช่วงเวลาเหมาะสำหรับการดูฝนดาวตก และ ช่วงใกล้รุ่งเช้านี้ กลุ่มดาวสิงโตซึ่งเป็นจุดกำเนิดของฝนดาวตกนี้ กำลังอยู่สูงจากขอบฟ้าเกือบ 60 องศา การสังเกตฝนดาวตกนี้จึงต้องนอนมองไปให้ทั่วท้องฟ้า ไม่ต้องเจาะจงทิศให้แน่นอน





 

Create Date : 14 พฤศจิกายน 2552
18 comments
Last Update : 14 พฤศจิกายน 2552 23:33:20 น.
Counter : 2534 Pageviews.

 

หายไปไหนมาค่ะคุณ pooktoon ดีใจค่ะที่กลับมา จะรอคุณอัพบล็อกนะค้า

 

โดย: NIRISSA 14 พฤศจิกายน 2552 19:04:01 น.  

 



มาแล้วอย่าทิ้งบ้านไปอีกนานนานนะคะ
เดี๋ยวดีั.จะแปลงร่างเป็นขโมยนะ




 

โดย: d__d (มัชชาร ) 14 พฤศจิกายน 2552 21:09:06 น.  

 



รู้จักหลายปีแต่ไม่เคยลืมกันเลย

น่ารักเสมอเลยนะค่ะนิ
ขอให้มีความสุขสมหวังนะค่ะ
มิตรน่ารักเสมอ

 

โดย: catt.&.cattleya.. 15 พฤศจิกายน 2552 9:08:05 น.  

 

สวัสดีค่ะพี่ตูน หายไปนานเชียว

 

โดย: ดอยปุย 15 พฤศจิกายน 2552 17:30:24 น.  

 

ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมค่ะ
ไม่ได้มาทักทายกันซะนาน
สบายดีนะคะ

 

โดย: รัตตมณี (kulratt ) 16 พฤศจิกายน 2552 21:28:23 น.  

 

คิดถึงมากเหมือนกันค๊าบ

สบายดีนะพี่ตูน หลานคนแรกจะโตเป็นหนุ่มแล้ว แถมกิ๊ฟมีลูกสาวอีกคนแล้วจ้า..

หายไปนานมาก กิ๊ฟนึกว่าไม่เล่นบลีอคแล้วซะอีก

คิดถึงๆๆๆ

 

โดย: grippini 17 พฤศจิกายน 2552 3:35:21 น.  

 

สวัสดีค่ะ เจนนี่แวะมาขอบคุณที่เจ้าของบล็อคแวะไปอวยพรวันเกิดให้เจนนี่นะค่ะ ขอบคุณมากๆนะคะ และขอให้เจ้าของบล็อคนี้มีความสุขมากๆเช่นกันค่ะ ว่างๆก็แวะไปทักทายเยี่ยมชมบล็อคเจนนี่อีกนะคะ ไว้เจนนี่ว่างๆก็จะแวะมาทักทายอีกค่ะ ขอให้วันนี้และวันต่อๆไป เป็นวันดีดีของเจ้าของบล็อคนะคะ

 

โดย: สาวอิตาลี 17 พฤศจิกายน 2552 18:46:34 น.  

 


นักดาราศาสตร์ประมาณการโอกาสเห็นฝนดาวตกลีโอนิดส์ในไทยสูงสุดช่วงเวลาราว 04.43 น.ของเช้าวันที่ 18 พฤศจิกายนนี้ อัตราความชุกที่ 100-500 ดวงต่อชั่วโมง!

นับเป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ ซึ่ง ฝนดาวตก ดูสวยงาม น่าสนใจ น่าตื่นเต้น และดูได้ง่ายด้วยตาเปล่า ท้าทายการศึกษา เรียนรู้และเข้าใจเรื่องของธรรมชาติเพิ่ม

สาเหตุของการเกิดฝนดาวตก เกิดจากดาวหางซึ่งเป็นก้อนน้ำแข็งที่ประกอบด้วยฝุ่นหินเกาะกลุ่มกันจำนวนมาก เมื่อโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ก้อนน้ำแข็งจะเกิดการระเหิด ทิ้งแนวฝุ่นหินเป็นสายธารยาว เมื่อโลกโคจรเข้าไปตัดกับสายธารดังกล่าวนี้ เศษฝุ่นหินก็จะเคลื่อนตัววิ่งเข้ามาในบรรยากาศของโลกด้วยความเร็วสูง และเกิดการเสียดสีจนลุกไหม้ปรากฏเป็นขีดแสงสว่างให้เราเห็น ที่เราเรียกว่า “ฝนดาวตก”



กรณี ฝนดาวตกลีโอนิดส์ หรือฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโตนี้ เกิดจากการที่โลกโคจรผ่านเข้าไปในซากสายธารฝุ่นหินของดาวหาง 55 พี เทมเพล-ทัดเทิล ที่ยังหลงเหลืออยู่ ซึ่งโดยปกติ คาบการโคจรของดาวหางดวงนี้คือ 33.2 ปี ซึ่งในปีที่ครบรอบคาบการโคจรของดาวหาง เป็นการมาเติมเศษฝุ่นหินให้มากยิ่งขึ้น และเมื่อโลกโคจรผ่านเข้าไปในใจกลางสายธารของมัน ในปีนั้นโอกาสจะเกิดฝนดาวตกก็จะมีมากกว่าปีปกติ อย่างที่เราเรียกว่าปรากฏการณ์ “พายุฝนดาวตก”

จากบันทึกในอดีต ดังตัวอย่างใน ค.ศ.1966 ที่ฮาวาย ได้เกิดพายุฝนดาวตกที่มีอัตราการตกมากถึง 5-6 หมื่นดวงต่อชั่วโมง สำหรับชื่อของฝนดาวตกลีโอนิดส์ ก็มาจากการอ้างอิงกับแหล่งการเกิด คือ กลุ่มดาวสิงโต นั่นเอง คือแม้เราจะเห็นฝนดาวตกในทิศทางต่างๆ กัน แต่เมื่อเราลองลากเส้นย้อนกลับไปยังแหล่งการเกิดแล้ว ฝนดาวตกทุกดวงจะมาจากกลุ่มดาวสิงโต

 

โดย: pooktoon 17 พฤศจิกายน 2552 19:29:33 น.  

 



ฝนดาวตก ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) อธิบายว่า ช่วงวันที่ 17-18 พฤศจิกายน แม้ไม่ใช่รอบปีของการเกิดพายุฝนดาวตกลีโอนิดส์ แต่จะมีโอกาสเห็นฝนดาวตกในอัตราความชุกมากกว่าปีก่อนๆ เนื่องจากการคำนวณของนักดาศาสตร์หลายสำนัก พบว่า โลกจะโคจรตัดผ่านเศษซากสายธารฝุ่นหินของดาวหาง 55 พี เทมเพล-ทัดเทิล ถึงสองสายธารด้วยกัน ที่ทิ้งร่องรอยไว้ใน ค.ศ. 1466 และ 1533 โดยอัตราการตกราว 100-500 ดวงต่อชั่วโมง (อ้างอิงที่เมื่อกลุ่มดาวสิงโตมาอยู่ที่จุดกลางฟ้าเหนือศีรษะ) แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะเห็นฝนดาวตกตลอดทั้งชั่วโมง และจำนวนฝนดาวตกที่เห็นก็ไม่ได้เห็นมากถึง 500 ดวง ตัวอย่างเช่น อัตราการตกที่ 400 ดวงต่อชั่วโมง เราเห็นแค่ช่วงเวลา 15 นาที นั่นคือ ในช่วงชั่วโมงนั้น เราจะเห็นดาวตกประมาณ 100 ดวง ซึ่งก็ถือว่ามากแล้ว”

ช่วงเวลาที่ประเทศไทยจะมีโอกาสเห็นฝนดาวตกสูงสุดในครั้งนี้ ดร.ศรัณย์ชี้ชัดว่า ตั้งแต่ตีหนึ่งเป็นต้นไป แต่จากประสบการณ์ส่วนตัว ดาวตกลูกสวยๆ มักจะมาตอนประมาณห้าทุ่ม เป็นเวลาที่กลุ่มดาวสิงโตเพิ่งขึ้นจากขอบฟ้า คือจะเห็นเป็นไฟร์บอลล์ (ดาวตกดวงใหญ่) วิ่งพาดผ่านท้องฟ้าทิ้งร่องรอยให้เห็นเป็นลำสว่างทางยาวคล้ายรางรถไฟ ซึ่งความเร็วยังไม่สูงมาก ทำให้เราเห็นได้ง่าย สำหรับช่วงพีคสูงสุดของการตก นักดาศาสตร์หลายสำนักเห็นตรงกันว่า คือเป็นเวลาประมาณ 04.43 น. ตามเวลาในไทยของเช้าวันที่ 18 พฤศจิกายน อัตราความชุกที่ 100-500 ดวงต่อชั่วโมง ซึ่งช่วงนั้นจะป็นเวลาที่ดาวสิงโตจะอยู่บริเวณกลางฟ้าพอดี นับเป็นช่วงเวลาเหมาะแก่การชมมากกว่าประเทศอื่นๆ แต่ทั้งนี้ ก็ต้องบอกว่าเป็นเรื่องของโอกาส เพราะถึงเวลาจริง เราอาจจะเห็นน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ก็เป็นได้



@^@..วันนี้อย่าลืมชมฝนดาวตกกัน[วิธีชม ฝนดาวตกลีโอนิดส์ 17-18พย.]

@^@..วันนี้อย่าลืมชมฝนดาวตกกัน[วิธีชม ฝนดาวตกลีโอนิดส์ 17-18พย.]
วิธีชม ฝนดาวตกลีโอนิดส์ 17-18พย.

นักดาราศาสตร์ประมาณการโอกาสเห็นฝนดาวตกลีโอนิดส์ในไทยสูงสุดช่วงเวลาราว 04.43 น.ของเช้าวันที่ 18 พฤศจิกายนนี้ อัตราความชุกที่ 100-500 ดวงต่อชั่วโมง!

นับเป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ ซึ่ง ฝนดาวตก ดูสวยงาม น่าสนใจ น่าตื่นเต้น และดูได้ง่ายด้วยตาเปล่า ท้าทายการศึกษา เรียนรู้และเข้าใจเรื่องของธรรมชาติเพิ่ม

สาเหตุของการเกิดฝนดาวตก เกิดจากดาวหางซึ่งเป็นก้อนน้ำแข็งที่ประกอบด้วยฝุ่นหินเกาะกลุ่มกันจำนวนมาก เมื่อโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ก้อนน้ำแข็งจะเกิดการระเหิด ทิ้งแนวฝุ่นหินเป็นสายธารยาว เมื่อโลกโคจรเข้าไปตัดกับสายธารดังกล่าวนี้ เศษฝุ่นหินก็จะเคลื่อนตัววิ่งเข้ามาในบรรยากาศของโลกด้วยความเร็วสูง และเกิดการเสียดสีจนลุกไหม้ปรากฏเป็นขีดแสงสว่างให้เราเห็น ที่เราเรียกว่า “ฝนดาวตก”

กรณี ฝนดาวตกลีโอนิดส์ หรือฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโตนี้ เกิดจากการที่โลกโคจรผ่านเข้าไปในซากสายธารฝุ่นหินของดาวหาง 55 พี เทมเพล-ทัดเทิล ที่ยังหลงเหลืออยู่ ซึ่งโดยปกติ คาบการโคจรของดาวหางดวงนี้คือ 33.2 ปี ซึ่งในปีที่ครบรอบคาบการโคจรของดาวหาง เป็นการมาเติมเศษฝุ่นหินให้มากยิ่งขึ้น และเมื่อโลกโคจรผ่านเข้าไปในใจกลางสายธารของมัน ในปีนั้นโอกาสจะเกิดฝนดาวตกก็จะมีมากกว่าปีปกติ อย่างที่เราเรียกว่าปรากฏการณ์ “พายุฝนดาวตก”

จากบันทึกในอดีต ดังตัวอย่างใน ค.ศ.1966 ที่ฮาวาย ได้เกิดพายุฝนดาวตกที่มีอัตราการตกมากถึง 5-6 หมื่นดวงต่อชั่วโมง สำหรับชื่อของฝนดาวตกลีโอนิดส์ ก็มาจากการอ้างอิงกับแหล่งการเกิด คือ กลุ่มดาวสิงโต นั่นเอง คือแม้เราจะเห็นฝนดาวตกในทิศทางต่างๆ กัน แต่เมื่อเราลองลากเส้นย้อนกลับไปยังแหล่งการเกิดแล้ว ฝนดาวตกทุกดวงจะมาจากกลุ่มดาวสิงโต

ฝนดาวตก ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) อธิบายว่า ช่วงวันที่ 17-18 พฤศจิกายน แม้ไม่ใช่รอบปีของการเกิดพายุฝนดาวตกลีโอนิดส์ แต่จะมีโอกาสเห็นฝนดาวตกในอัตราความชุกมากกว่าปีก่อนๆ เนื่องจากการคำนวณของนักดาศาสตร์หลายสำนัก พบว่า โลกจะโคจรตัดผ่านเศษซากสายธารฝุ่นหินของดาวหาง 55 พี เทมเพล-ทัดเทิล ถึงสองสายธารด้วยกัน ที่ทิ้งร่องรอยไว้ใน ค.ศ. 1466 และ 1533 โดยอัตราการตกราว 100-500 ดวงต่อชั่วโมง (อ้างอิงที่เมื่อกลุ่มดาวสิงโตมาอยู่ที่จุดกลางฟ้าเหนือศีรษะ) แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะเห็นฝนดาวตกตลอดทั้งชั่วโมง และจำนวนฝนดาวตกที่เห็นก็ไม่ได้เห็นมากถึง 500 ดวง ตัวอย่างเช่น อัตราการตกที่ 400 ดวงต่อชั่วโมง เราเห็นแค่ช่วงเวลา 15 นาที นั่นคือ ในช่วงชั่วโมงนั้น เราจะเห็นดาวตกประมาณ 100 ดวง ซึ่งก็ถือว่ามากแล้ว”

ช่วงเวลาที่ประเทศไทยจะมีโอกาสเห็นฝนดาวตกสูงสุดในครั้งนี้ ดร.ศรัณย์ชี้ชัดว่า ตั้งแต่ตีหนึ่งเป็นต้นไป แต่จากประสบการณ์ส่วนตัว ดาวตกลูกสวยๆ มักจะมาตอนประมาณห้าทุ่ม เป็นเวลาที่กลุ่มดาวสิงโตเพิ่งขึ้นจากขอบฟ้า คือจะเห็นเป็นไฟร์บอลล์ (ดาวตกดวงใหญ่) วิ่งพาดผ่านท้องฟ้าทิ้งร่องรอยให้เห็นเป็นลำสว่างทางยาวคล้ายรางรถไฟ ซึ่งความเร็วยังไม่สูงมาก ทำให้เราเห็นได้ง่าย สำหรับช่วงพีคสูงสุดของการตก นักดาศาสตร์หลายสำนักเห็นตรงกันว่า คือเป็นเวลาประมาณ 04.43 น. ตามเวลาในไทยของเช้าวันที่ 18 พฤศจิกายน อัตราความชุกที่ 100-500 ดวงต่อชั่วโมง ซึ่งช่วงนั้นจะป็นเวลาที่ดาวสิงโตจะอยู่บริเวณกลางฟ้าพอดี นับเป็นช่วงเวลาเหมาะแก่การชมมากกว่าประเทศอื่นๆ แต่ทั้งนี้ ก็ต้องบอกว่าเป็นเรื่องของโอกาส เพราะถึงเวลาจริง เราอาจจะเห็นน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ก็เป็นได้

เพื่อให้ได้อรรถรสของการชมปรากฏการณ์ฝนดาวตกลีโอนิดส์ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2552 ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา รังสิต ร่วมกับศูนย์สื่อสารวิทยาศาสตร์ไทย ชวนเยาวชน ผู้สนใจสังเกตการณ์ ฝนดาวตกลีโอนิดส์ วันที่ 17 พฤศจิกายน เวลา 18.00 น. ถึงรุ่งเช้าวันที่ 18 พฤศจิกายน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ หรือจะชมการแสดงในท้องฟ้าจำลอง เรื่อง “ฝนดาวตก” และชมภาพยนตร์ด้านวิทยาศาสตร์อวกาศ เรื่อง “องค์ประกอบชีวิต” (ภาพยนตร์ที่ฉายในงานเทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์) จัดแสดงและฉายในงานนี้โดยเฉพาะ อีกทั้งได้ร่วมสนุกกับกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์อีกมากมาย สอบถามโทร.08-1571-1292 หรือ 0-2564-7000 ต่อ 1460

ฝนดาวตก เป็นความสวยงาม และเป็นแรงบันดาลใจให้คนจำนวนมาก ได้เรียนรู้ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์อื่นๆ ตามมามากมาย อย่างน้อย รู้ว่าจะศึกษาฝุ่นละอองรอบๆ ดวงอาทิตย์ ศึกษาวัตถุที่อยู่รอบๆ โลกว่ามีอะไรบ้าง” ทำให้เรารู้เพิ่มขึ้น

วิธีดูที่ดีที่สุดคือ การนอนหงายมองไปที่กลางฟ้าเหนือศีรษะ ฝนดาวตกมีลักษณะแสงสว่างวาบ เคลื่อนที่ผ่านอย่างรวดเร็ว จะพุ่งมาจากทุกทิศทาง มีสีสันสวยงาม เช่น สีน้ำเงินเขียว สีส้มเหลือง เพราะมีแร่ธาตุประกอบต่างๆ กัน เช่น แมกเนเซียม ทองแดง เหล็ก จึงให้สีที่แตกต่างกัน ปลายของดาวตกซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ จะทิ้งควันจางๆ เหมือนไอพ่น หากอยู่ในที่เงียบสงบ บางครั้งอาจได้ยินเสียงด้วย เรียกว่า โซนิกบูม และหากเป็นดาวตกขนาดใหญ่เมื่อเสียดสีกับบรรยากาศ



ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจากบล็อค zenchompoo

 

โดย: pooktoon 17 พฤศจิกายน 2552 19:37:37 น.  

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

เคยไปดูครั้งนึงที่นครนายก โอ้น่าทึ่งจริง ๆ

 

โดย: maxpal 18 พฤศจิกายน 2552 1:18:40 น.  

 

ยังไม่เคยดูเลยค่ะ
แถวบ้านก็ไฟสว่างมาก

 

โดย: mungkood 18 พฤศจิกายน 2552 21:06:47 น.  

 

ขอบคุณที่แวะไปอวยพรวันเกิดที่บล็อคนะคะ

 

โดย: mungkood 22 พฤศจิกายน 2552 17:02:04 น.  

 

 

โดย: frameza IP: 222.123.17.22 22 พฤศจิกายน 2552 19:12:50 น.  

 


แอบไปแต่งงานมาเหรอน้องตูน
อิอิอิ
แวะมาแซววววววววจ้า

 

โดย: อุ้มสี 22 พฤศจิกายน 2552 19:34:40 น.  

 

แม้จะหายไปนานก็ยังคงเกาะติดสถานการณ์ดีจริงๆ ขอยลรูปฝนดาวตกด้วยคร้าบ

ฝนดาวตกหนก่อนผมเพิ่งอยู่มหาลัยปีหนึ่งเอง ผ่านมาสิบเอ็ดปีแล้วนะเนี่ย (แก่แร้ววววว หุหุ)

 

โดย: ชีริว 23 พฤศจิกายน 2552 8:07:25 น.  

 

อัพละเหรอ

 

โดย: แวะมาแปะโป้ง IP: 222.123.172.186 26 พฤศจิกายน 2552 11:09:44 น.  

 

ลบไปตั้งแปดอันแนะ ไม่รู้คัยมันมาโพส มือบอนจิงๆๆ กว่าจะลบหมด เฮ้อๆๆ

 

โดย: pooktoon (pooktoon ) 30 มกราคม 2553 16:51:05 น.  

 

โดย : พุ วันที่: 7 มกราคม 2553 เวลา: 15:03:39 น.

 

โดย: pooktoon 9 กุมภาพันธ์ 2553 20:14:35 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 

pooktoon
Location :
ระยอง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




"มีคนให้เรารักก็เป็นสุขแล้ว ยิ่งคนที่เรารัก เขารักเรานั้นสุขยิ่งกว่า" free counters
[Add pooktoon's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com