<<
พฤศจิกายน 2550
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
9 พฤศจิกายน 2550
 
 

การแข่งขันด้านอวกาศของชาติในเอเชีย...(แย่จังเลย...ที่ไม่มีประเทศไทย)

นอกจากชาติมหาอำนาจด้านอวกาศขาประจำอย่างอเมริกาและรัสเซียแล้ว ในภูมิภาคเอเชียก็เริ่มมีการช่วงชิงตำแหน่งผู้นำด้านอวกาศขึ้น



นักบินอวกาศคนแรกของมาเลเซียถ่ายรูปร่วมกับนักบินสำรองชาติเดียวกัน:

เกือบหนึ่งเดือนหลังจากญี่ปุ่นได้ปล่อยยานสำรวจดวงจันทร์ คางูยะ(Kaguya) ได้สำเร็จ ยานไร้มนุษย์ก็เริ่มเข้าสู่วงโคจรรอบดวงจันทร์ นอกจากจะได้ถ่ายภาพดวงจันทร์แล้ว ยานยังปล่อยดาวเทียมขนาด 50 กิโลกรัมสองดวงซึ่งจะช่วยในการสร้างแผนที่แรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์

การแยกตัวของดาวเทียมขนาดเล็กที่มีชื่อ Rstar มีขึ้นในวันที่ 8 ตุลาคม และในวันที่ 14 ตุลาคม องค์กรสำรวจการบินอวกาศญี่ปุ่น(JAXA) ก็สั่งให้คางูยะปล่อยดาวเทียมดวงที่ 2 ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตรที่เรียกว่า VRAD ออกมา

ยานคางูยะมูลค่า 480 ล้านดอลลาร์มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Selenological and Engineering Explorer(SELENE) แต่มีชื่อเรียกตามชื่อเจ้าหญิงแห่งดวงจันทร์ในนิยายพื้นบ้านญี่ปุ่น ยานถูกส่งออกจากศูนย์อวกาศทาเนะงาชิม่า ในญี่ปุ่น และเข้าสู่วงโคจรรอบดวงจันทร์ในวันที่ 5 ตุลาคม

คางูยะจะทำการศึกษารายละเอียดดวงจันทร์โดยใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ 14 ชิ้นจากระดับความสูง 100 กิโลเมตรเหนือพื้นผิวดวงจันทร์ วิศวกรและนักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นออกแบบยานให้ทำแผนที่แรงโน้มถ่วงและพื้นผิวด้วยความละเอียดสูง, สำรวจสนามแม่เหล็กของดวงจันทร์ และแม้แต่สำรวจหาน้ำแข็งด้วย ในช่วงเวลาปฏิบัติการหนึ่งปี

ญี่ปุ่นส่งดาวเทียมดวงแรกในปี 1970 แต่ขณะนี้ก็ยังเท่าเทียมกับจีนชาติคู่แข่ง ญี่ปุ่นส่งยานสู่ดวงจันทร์ในปี 1990 แต่ก็เป็นแค่ยานบินผ่าน โครงการ LUNAR-A สู่ดวงจันทร์ถูกยกเลิกในปี 2004 หลังจากมีปัญหาทางงบประมาณและกลไกซ้ำเติมครั้งแล้วครั้งเล่า

จีนวางแผนจะส่งยานสู่ดวงจันทร์ที่เรียกว่า ฉางเอ๋อ-1(Chang’e-1) ในช่วงปลายเดือนตุลาคมนี้ และตามมาด้วยยาน Lunar Reconnaissance Orbiter ของนาซ่าและอินเดียก็จะส่งยานจันทรายาน-1(Chadrayaan-1) ในปี 2008 ขณะเดียวกับที่จีนหวังที่จะมีส่วนร่วมในโครงการสถานีอวกาศนานาชาติ ชิ้นส่วนแรกของสถานีอวกาศถูกส่งขึ้นไปในปี 1998 และก็มีนักบินจากรัสเซีย, อเมริกาและชาติยุโรปประจำอยู่ตลอดเวลา

ในปี 2003 จีนได้ส่งปฏิบัติการมนุษย์อวกาศออกสู่อวกาศเป็นครั้งแรก ทำให้จีนกลายเป็นประเทศที่สามที่ส่งมนุษย์ขึ้นสู่วงโคจรได้ด้วยตัวเอง ตามหลังรัสเซียและสหรัฐอเมริกา จีนมีความภูมิใจอย่างมากกับโครงการอวกาศที่กำลังเติบโตและมองเห็นว่าจะเป็นหนทางที่จะนำไปสู่การอ้างว่าเป็นหนึ่งในชาติที่นำหน้าด้านวิทยาศาสตร์ของโลก แต่จีนก็ยังไม่มีส่วนร่วมในสถานีอวกาศนานาชาติ เนื่องจากอเมริกันไม่ยอมรับที่จะให้ชาติเผด็จการคอมมิวนิสต์ขึ้นไปใช้

Li Xueyong รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ถ้าผมจำไม่ผิด ขณะนี้โครงการนี้มี16 ประเทศที่เกี่ยวข้องและเราก็หวังที่จะเป็นชาติที่ 17 นักข่าวถามว่าในอนาคตจีนจะมีโอกาสร่วมมือหรือแข่งขันกับอเมริกันในอวกาศ Li กล่าวว่าจีนต้องการจะร่วมมือกับอเมริกัน แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่ม

ยานฉางเอ๋อ-1 จะใช้กล้องสเตอริโอและสเปคโตรมิเตอร์รังสีเอกซ์เพื่อทำแผนที่ภาพสามมิติพื้นผิวดวงจันทร์และศึกษาฝุ่นของมัน

นอกจากนี้จันทรายาน-1 แล้ว อินเดียยังมีแผนการปฏิบัติการมนุษย์อวกาศในปี 2015 โดยใช้ระบบและเทคโนโลยีท้องถิ่น นอกจากสามชาติที่กล่าวมาแล้ว มาเลเซียยังมีความก้าวหน้าทางอวกาศก้าวเล็กๆ โดยมี Sheikh Muszaphar Shukor นักบินอวกาศคนแรกที่ขึ้นไปสถานีอวกาศนานาชาติกับยานโซยูซของรัสเซีย






แหล่งที่มา:
space.com : Japan moon probe births baby satellite, snap first photos
space.com : China hopes for place on space station
space.com : Japan lunar probe reaches orbit






 

Create Date : 09 พฤศจิกายน 2550
1 comments
Last Update : 11 ธันวาคม 2550 15:02:50 น.
Counter : 1489 Pageviews.

 



อิอิ..มาเจิมก่อนๆๆๆ

 

โดย: pooktoon 11 ธันวาคม 2550 16:38:18 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

 

pooktoon
Location :
ระยอง Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




"มีคนให้เรารักก็เป็นสุขแล้ว ยิ่งคนที่เรารัก เขารักเรานั้นสุขยิ่งกว่า" free counters
[Add pooktoon's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com