Group Blog
 
 
ตุลาคม 2551
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
17 ตุลาคม 2551
 
All Blogs
 
การบ้าน

วิวัฒนาการและรูปแบบของการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศ
วัตถุประสงค์
หลังจากอ่านนี้แล้ว ผู้อ่านจะมีความรู้เข้าใจเรื่องต่อไปนี้
1. คำนิยามการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. วิวัฒนาการของการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศ
3. ปัจจัยที่ผลักดันให้บริษัทสนใจการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศ
4. รูปแบบการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน
5. แนวโน้มแฃะประเภทของการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต
การเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Outsourcing)ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญกับการทำธุรกิจที่ต้องใช้เทคโนโลยี เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการทำงาน และสามารถแข่งขันในยุดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) ในบทนี้จะอธิบายภาพรวมของการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเริ่มจากความหมายของการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศ และวิวัฒนาการของการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศจากอดีตจนถึงปัจจุบัน จากนั้นจะนำเสนอรูปแบบการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงประเภทของการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต ท้ายสุดจะกล่าวถึงปัจจัยต่างๆที่มีส่วนผลักดันให้บริษัทพิจารณาเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศ
คำนิยามการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศ
นักวิชาการหลายท่านได้นิยามคำว่า “การเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศ” ในหลากหลายความหมาย อาทิ การเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศ คือ
• “การโอนถ่ายทรัพย์สิน อาทิ คอมพิวเตอร์และบุคลากรจากผู้ใช้งานไปยังผู้ให้บริการโดยผู้ให้บริการจะดูแลรับผิดชอบกิจกรรมอันเกิดจากทรัพย์สินเหล่านั้น” (Takac 1994)
• “การเปลี่ยนผ่านระบบสารสนเทศบางส่วนหรือทั้งหมดในองค์กรไปยังผู้ให้บริการ”
• “การซื้อสินค้าหรือบริการซึ่งเคยดำเนินการในองค์การ” (Apte.et.al., 1997)
• “การเปลี่ยนผ่านไปยังบุคคลที่สามเพื่อบริหารจัดการทรัพยากร ทรัพย์สิน และ/หรือ กิจกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ/ระบบสารสนเทศ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ” (Willcocks & Kern. 1998)
อย่างไรก็ตาม ความหมายโดยรวมของการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศคือ การที่บริษัทว่าจ้างบุคคลหรือบริษัทผู้ให้บริการ เพื่อดำเนินการจัดการและให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงการบริหารจัดการทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตบริการนั้นๆ โดยอาจจะดำเนินการในบางส่วนงานหรือทั้งระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศ
ทั้งนี้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง ผลผลิตด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกิดจากฟังก์ชั่นการทำงานต่างๆ อาทิ ฟังก์ชั่นการสั่งงาน ฟังก์ชั่นการพัฒนาและการบำรุงรักษาแอปฟลิเคชัน ฟังก์ชันการบริหารจัดการโครงข่ายและการติดต่อสื่อสาร ฟังก์ชันการช่วยเหลือและบริการผู้ใช้งานระบบ และฟังก์ชันการวางแผนและการจัดการระบบ โดยทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตบริการด้านเทคโนโลยี่สารสรเทศหมายรวมถึง บุคลากร ความรู้ด้านเทคโนโลยี งบประมาณ โครงสร้างการบริหารจัดการ และความสามารถเฉพาะด้านของบุคลกร
วิวัฒนาการของการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในรายงานการศึกษาและวิจัยเรื่อง การเอาต์ซอร์ระบบสารสนเทศ (Information System Outsource : A study and Analysis of the Literature) ของดิบเบิร์นและทีมงานวิจัย (Dibbern, et.al., 2004) ได้กล่าวถึงพัฒนาการของการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเริ่มต้นปี ค.ศ. 1963 โดยบริษัทบูลครอสส์ (Blue Cross) ในมลรัฐเพนซิลเวเนียสหรัฐฯ ได้เซ็นสัญยาว่างจ้างบริษัท EDS (Electronic Data System) เพื่อให้บริการด้ารระบบข้อมูลสารสนเทศกับบริษัท ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเอาต์ซอร์สครั้งแรกของธุรกิจขนาดใหญ่ ที่ว่าจ้างบริษัทอื่นมาบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งระบบ ซึ่งรวมถึงฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล และบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ระหว่างปี ค.ศ 1970-1979 บริษัท EDS ได้ขยายการให้บริการด้านการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศกับบริษัทขนาดใหญ่อย่างฟริโตร-เลย์ (Fritro-Lay) และเจเนอรัลมอเตอร์ (General Motor) ในช่วงกลางปี ค.ศ. 1980 บริษัท EDS ได้เซ็นสัญญาการให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกับสายการบินคอนติเนนตัล (Comtinental Airline) ธนาคารเฟิสต์ซิตี้ (Frist Cityt Bank)และบริษัทเอนรอน (Enron) ซึ่งทำให้หลายบริษัทหันมาให้ความสนใจการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศกันมากขึ้น
ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1980 บริษัทไอบีเอ็ม (IBM) ได้เข้ามาให้บริหารธุกิจด้านการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยตั้งหน่วยงานเฉพาะขึ้นมากำกับดูแลในการให้บริการด้านการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อทำการแข่งขันกับบริษัท EDS บริษัทไอบีเอ็มประสบความสำเร็จในการเซ็นสัญยากับบริษัทโกดัก (Kokad) ในปี ค.ศ. 1989 ซึ่งในการเซ้นสัญญา 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ครั้งนี้นำไปสู่การตื่นตัวและตอบสนองขอหลายบริษัทชั้นนำทั่งโลกมรการยอมรับว่า การเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นกลยุทธ์หนึ่งในการเพิ่มประสิทธิผลการทำงาน และทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ บริษัทที่ทำการการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศหลังจากความสำเร็จของบริษัทโกดัก ได้แก่
• บริษัทเจเนอรัลไดนามิกส์ (General Dynamics), สารการบินเดลต้า (Delta Airline), บริษัทซีร็อกซ์ (Xerox) และบริษัทเซฟรอน (Chevron) ในสหรัฐฯ
• บริษัทอินแลนด์เรเวนิว (Inland Revenue), บริษัทโรลส์รอยซ์ (Rolls Royce), บริษัทบีพี (BP) และบริษัทยริติสแอร์โรสเปส (British Aerospace) ในสหราชอาณาจักร
• รัฐบาลของมลรัฐออสเตรเลียใต้ (South Australian Government), บริษัทเทเลสตรา (Telestra) และธนาคารคอมมอนเวลท์ออสเตรเลีย (Commonwealth Bank of Austealia) ในประเทศออสเตรเลีย
• บริษัทลุตทานซา (Lutthansa) และธนาคารดัตซ์ (Deutche Bank) ใประเทศเยอรมันนี
นอกจากนี้รูปแบบการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศ ยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วง ปี 1960s เป็นต้นมา ดังแสดงในตารางที่ 1.1 โดยในช่วงปี 1960s ซึ่งเป็นยุคที่คอมพิวเตอร์มีขนาดใหญ่และราคาแพง บริษัทส่วนมากจะว่าจ้างให้ผู้ให้บริการหรือองค์กรมืออาชีพ เข้ามาบริหารจัดการระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศกับบริษัท
ตารางที่ 1.1 วิวัฒนาการรูปแบบการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศ
ปี เงื่อนไขการการเอาต์ซอร์ส รูปแบบการเอาต์ซอร์ส
1960s ฮาร์ดแวร์มีขนาดใหญ่และราคาแพง การบริหารจัดการและดำเนินการระบบคอมพิวเตอร์
1970s ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชัน การพัฒนาโปรแกรมและแอปพลิเคชัน
1980s สนับสนุนกระบวนการธุรกิจขององค์กร การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเฉพาะองค์กร
1990s การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนในการดำเนินงาน การบริหารจัดการงานเฉพาะด้าน
ในปี 1970s เป็นยุคที่มีความต้องการใช้งานซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชันมากขึ้น ทำให้เกิดความต้องการและขาดแคลนบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการพัฒนาซอฟ์แวร์และแอปพลิเคชันเป็นอย่างมาก บริษัทจึงต้องว่าจ้างผู้พัฒนาโปรแกรมจากภายนอกมาพัฒนาแอปพลิเคชันให้กับบริษัท ในปลายยุคที่ 1970s เป็นยุคที่คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง อาทิ มินิคอมพิวเตอร์ และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) เข้ามาบริการงานทางธุรกิจกันมากขึ้น
ช่วงปี 1960s บริษัทให้ความสนใจกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศการสนับสนุนธุรกิจขอองค์กรกันมากขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการผลิต จนถึงการนำผลผลิตสู่ผู้บริโภค (Vertical Integration) บริษัทเล้งเห็นความสำคัยของการดำเนินงานเทคโนโลยีสารสนเทศภายใน โดยการจัดซื้ออุปกรณ์ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์มาตรฐานมาประกอบ เพื่อพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเฉพาะของแต่ละองค์กร (Customization Management)
ในช่วงปี 1990s เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเครือข่าย และการใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น บริษัทได้ให้ความสนใจในการเอาต์ซอร์สการบริหารจัดการเครือข่ายและโทรคมนาคม (Network and Telecommunication Management) การเชื่อมต่อการทำงานของระบบงานต่างๆ (Distributed System Integration) การพัฒนาแอปพลิเคชัน (Application Development) และการดำเนินงานของระบบต่างๆ (System Operations) กันมากขึ้น

ปัจจัยที่ผลักดันให้บริษัทสนใจการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศ
บริษัทตัดสินใจการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยปัจจัยที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม สาเหตุหลักๆ ในการที่บริษัททั่วโลกเริ่มหันมายอมรับการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ปัจจัยหลักคือ
1. ปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ทางธุรกิจ
บริษัทหัดมายอมรับการทำธุรกิจแบบร่วมดำเนินงาน (Strategic Alliance) กันมากขึ้น เนื่องจากบริษัทต้องการบริษัทร่วมทุนมาเสริมสมรรถภาพในการแข่งขันมรอุตสาหกรรมโดยการขจัดข้อบกพร่องในการดำเนินงานของบริษัท และเพิ่มคุณค่าของบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้กับลูกค้า ตัวอย่างเช่น บริษัทมีทรัพยากรด้านฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ ส่วนบริษัทผู้ร่วมงานมีความรู้และประวบการณ์ตรงในการบิหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่บริษัทต้องการ
2. ปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในยุดของการใช้ระบบเทคโนโลยีเครือข่าย (Network) บริษัทไม่เพียงแต่ต้องบริหารจัดการระบบสารสนเทศในองค์กร แต่ต้องคำนึงถึงการเชื่อมโยงระบบภายในบริษัทกับระบบของบริษัทคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) เพื่อเพิ่มบริการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและสามารถแข่งขันมรตลาดโลกได้ ทั้งนี้บริษัทต้องบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอยู่เดิม และนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่มาใช้เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของยุคพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน ทั้งนี้ทำให้การเอาต์ซอร์สการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีอยู่ไปอยู่ในความดูแลของผู้ให้บริการ และการเอาต์ซอร์สการใช้บริการด้านแอปพลิเคชันบนเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการผ่านทางอินเตอร์เน็ต กลานเป็นทางเลือกของธุรกิจในยุคที่มีการพัฒนาระบบเทคโนโลยีเครือข่ายอย่างกว้างขวาง
3. ปัจจัยด้านการเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร
เป็นที่ทราบกันว่า งบประมาณด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทเพิ่มขึ้นควบคู่ไปกับกาเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทั้งนี้การวัดผลประโยชน์จาการใข้งบประมาณนี้เป็นไปได้ยาก อีกทั้งผู้บริหารสมัยใหม่ที่กำกับดูระบบสารสนเทศหรือ CIO (Chief Information Officer) มีความรู้ทั้งด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและบริหารธุรกิจ ได้มองเห็นโอกาสการขยายเอาตืซอร์สงานด้านนี้ไปยังผู้ให้บริการที่มีความชำนาญเฉพาะด้านมากกว่าที่จะดำเนินการเอง อีกทั้งการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรส่วนใหญ่ได้ใช้ระบบการกระจายศูนย์ (Decentralized System) มากกว่าการรวมศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งหมดเข้สไปไว้ในหน่วยงานเดียวกัน จึงทำให้ง่ายต่อการพิจารณาและตัดสินใจในการเอาต์ซอร์สระบบานแต่ละส่วนไปยังผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญพาะด้าน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงานในส่วนที่ต้องการ

รูปแบบการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน
การเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศมในปัจจุบันสามารถแบ่งได้เป็น 6 รูปแบบ ดดยคำนึงถึงระดับของการเอาต์ซอร์สบริการ (Degree of outsourceing) และความเป็นเจ้าของบรการที่เอาต์ซอร์ส (Ownerships) ดังแสดงในรูปที่ 1.1

ระดับของการเอาต์ซอร์ส (Degree of outsourceing) ความเป็นเจ้าของ (Ownerships)
บริษัท บริษัทและผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการ
ทั้งหมด
ตั้งหน่วยงานใหม่/สาขา
(Spin offs)
หาหุ้นส่วนทางธุรกิจ
(Jion Venture) การเอาต์ซอร์สทั้งหมด
(Total Outsource)
บางส่วน
(Selective) การเอาต์ซอร์สบางส่วน
(Selective Outsource)
ไม่เอาต์ซอร์ส
(None) การดำเนินการภายใน
(Insourceing/Backsourceig) การใช้บริการร่วมกับผู้ใช้บริการราบอื่น
(Faclility Sharing)
รูปที่ 1.1 รูปแบบการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยรสารสนเทศ
(แหล่งที่มา : Dibbern, J., Goles, T., Hirschheim, R. ans Jayatilaka, B., information Systems Outsourceing : A Study and Analysis of the Literature. The DATABASE for Advances in Information Systems, 2004)

1. การจัดตั้งหน่วยงานใหม่ ในรูปแบบนี้บริษัทจะจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมากำกับดูแลและดำเนินให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งหมดหรือบางระบบงานกับบริษัท ทั้งนี้บริษัทยังคงเป็นเจ้าของบริการนั้นๆ
2. หุ้นส่วนทางธุรกิจ ในรูปแบบนี้บริษัทและผู้ให้บริการจะลงทุนร่วมกัน ซึ่งเป็นการแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน อาทิ บริษัทอาจมีอุปกรณ์และเงินทุนในการดำเนินงานบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการดำเนินงาน ซึ่งผู้ร่วมทุนหรือผู้ให้บริการการสามารถตอบสนองความต้องการในด้านนี้ บริษัทอาจจะพิจารณาร่วมทุน (เอาต์ซอร์ส) ในบางฟังก์ชันงาน หรือทั้งระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทในรูปแบบของหุ้นส่วนทางธุรกิจนี้ บริษัทและผู้ร่วมทุนจะเป็นเจ้าของในบริการนั้นๆ ร่วมกัน
3. การเอาต์ซอร์สบริการทั้งหมด บริษัทจะเอาต์ซอร์สระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัทไปยังผู้ให้บริการ การเอาต์ซอร์สในรูปแบบนี้จะมีมูลค่าและความเสี่ยงสูง
4. การเอาต์ซอร์สบริการบางส่วน บริษัทจะเลือกเอาต์ซอร์สฟังก์ชั่นหรือบริการเทคโนโลยีสารสนเทศบางส่วนไปยังผู้ให้บริการ ทั้งนี้บริษัทสามารถเลือกผู้ให้บริการที่มีความสามารถและชำนาญงานในแต่ละด้านมาให้บริการงานที่เอาต์ซอร์ส เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในงานบริการเฉพาะส่วนที่จะได้รับ
5. การดำเนินงารบริการภายใน บริษัทจะดำเนินการผลิตและบริหารจัดการการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภายในบริษัท ทั้งนี้รวมถึงการที่บริษัทนำริการที่เอาต์ซอร์สไปแล้วกลับมาดำเนินงานเอง โดยบริษัทจะเป็นเจ้าของบริการเทคโนโลยีทั้งหมด
6. การใช้บริการร่วมกับผู้ใช้บริการรายอื่น บริษัทดำเนินงานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศในบริษัท โดยสามารถให้บริการกับบริษัทผู้ใช้บริการรายอื่นในกลุ่มอุตสาหกรรมประเภทเดียวกัน ซึ่งผู้ใช้บริการรายอื่นอาจจะเช่าซื้อบริการจากบริษัทและ/หรือเป็นเจ้าของในบริการนั้นๆ ร่วมกับบริษัท

รูปแบบการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศยังสามารถแบ่งตามจำนวนผู้ให้บริการกับจำนวนผู้รับบริการได้เป็น 4 กรณี (Gallivan & Oh 1999) ได้แก่ (1) ผู้รับบริการหลายรายกับผู้ให้บริการรายเดียว (2) ผู้รับบริการรายเดียวกับผู้ให้บริการหลายราย (3) ผู้รับบริการและผู้ให้บริการหลายราย (4) ผู้รับบริการรายเดียวกับผู้ให้บริการรายเดียว ดังแสดงในรูปที่ 1.2 ซึ่งในกรณีที่มีผู้ให้บริการรายเดียว และระบบงานเอาต์ซอร์สค่อนข้างใหญ่ และทีการทำงานที่ซับซ้อน (Complex) ผู้รับบริการจะเสียเปรียบผู้ให้บริการโดยผู้ให้บริการสามารถฉวยโอกาสในการดำเนินงาน เพื่อผลประโยชน์ของตนเองและ/หรือ ในการขึ้นค่าบริการ ทั้งนี้ เนื่อจากระบบงานที่เอาต์ซอร์สถูกพัฒนาโดยความรู้ความสามารถเฉพาะด้านของผู้ให้บริการในแต่ละราย ซึ่งส่งผลให้ผู้รับบริการไม่สามารถให้บริการรายอื่นมาดำเนินการแทนได้ หรือบริษัทต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สูงมากกว่าการว่าจ้างผู้ให้บริการรายเดิม

ผู้ให้บริการรายเดียว ผู้ให้บริการหลายราย
ผู้รับบริการรายเดียว (1:1) (1:n)
ผู้รับบริการหลายราย (n:1) (n:n)
รูปที่ 1.2 รูปแบบการเอาต์ซอร์สตามจำนวนผู้ให้บริการและผุ้รับบริการ

อย่างไรก็ตาม การเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศยังสามารถแบ่งรูปแบบการให้บริการตามสถานที่ของผู้ให้บริการใน 5 รูปแบบต่อไปนี้
1. ออนชอริ่ง (Onshoring) เป็นการเอาต์ซอร์สไปยังยังผู้ให้บริการที่อยู่ภายในประเทศของผู้รับบริการ
2. เนียร์ชอริ่ง (Nearshoring) เป็นการเอาต์ซอร์สไปยังยังผู้ให้บริการที่อยู่ใกล้กับประเทศของผู้รับบริการ
3. ออฟชอริ่ง (Offshoring) เป็นการเอาต์ซอร์สไปยังยังผู้ให้บริการที่อยู่ไกลจากประเทศของผู้รับบริการ
4. โฮมซอร์ซิ่ง (Homesourcing) เป็นการเอาต์ซอร์สไปยังยังผู้ให้บริการที่ดำเนินงานที่บ้านผ่านทางอินเทอร์เน็ต
5. มัลติซอร์ซิ่ง (Multisourcing) เป็นการผสมผสานรูปแบบต่างๆ ของเอาต์ซอร์สข้างต้น

แนวโน้มของการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต


สถาบันวิจัยฟอร์เรสเตอร์ (Forrester Research, 2006) ในสหรัฐฯ ได้ประเมินขนาดตลาดของการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งรวมถึงการเอาต์ซอร์สแอปพลิเคชัน เมนเฟรม โครงข่ายการสื่อสาร คอมพิวเตอร์ และซอฟแวร์ ในทวีปอเมริกาเหนือจะเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 7 ต่อปี ระหว่างปี 2003 – 2009
สถาบันวิจัย IDC (Interantional Data Corporation) คาดการณ์ว่า บริษัททั่วโลกจะใช้จ่ายเงินในการเอาต์ซอร์สระบบสารสนเทศมากกว่า 99 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2007 ด้วยอัตราการเจริ ญเติบโตร้อยละ 7.2 ต่อปี ในขณะที่นิตยสาร Asia Times คาดการณ์ว่า ตลาดการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีในเอเชียจะโตในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี
สถาบันวิจัยเอเวอร์เรสต์ (Everest Research, 2005) รายงานว่า ตั้งแต่ปี 1997 ถึง 2004 ส่วนแบ่งตลาดการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศมากกว่าร้อยละ 50 อยู่ภายในบริษัทผู้ให้บริการยักษ์ใหญ่ 3 บริษัทคือ บริษัท EDS , บริษัท IBM และบริษัท CSC โดยแนวโน้มการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศได้เปลี่ยนจากการใช้บริการจากผู้บริการรายใหญ่เพียงไม่กี่ราน มาใช้บริการผู้ให้บริการขนาดกลางและเล็กกันมากขึ้น ดังแสดงใน ตรารางที่ 1.2













ตารางที่ 1.2 ส่วนแบ่งตลาดของการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศ

บริษัท 1997-2002 มิ.ย. 03 ก.ย. 03 ธ.ค. 04 มี.ค. 04 มิ.ย. 04 ก.ย. 04 ธ.ค. 04 มี.ค. 04
EDS 20% 21% 19% 12% 9% 5% 5% 4% 10%
IBM 20 26 34 33 33 34 23 18 10
CSC 11 13 16 21 23 24 23 21 16
CAN 3 4 4 9 7 11 12 8 7
Other players 46 3 27 25 28 25 38 50 56
Big* Three 51% 60% 69% 66% 65% 63% 51% 43% 37%
Non-Big Three 49% 40% 31% 34% 3 35% 37% 49% 57% 63%
*Big Three : EDS, IBM และ CSC
(แหล่งที่มา : Everest Research Institule Report, outsourceing and Offshoring Trends : Tough sledding for the Big Three., May 2005)

ประเภทของการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต

จากการศึกษาของนักวิชาการหลายท่าน แนวโน้มประเภทของการเอาต์ซอร์สในอนาคตแบ่งได้ 4 ประเภทคือ
1. การเอาต์ซอร์สโดยผู้ให้บริการนอกประเทศ (Offshore outsource) บริษัทจะการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศไปยังประเทศที่มีค่าจ้างแรงงานต่ำกว่า และมีบุคคลากรที่มีทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในเกณฑ์ดี อาทิ การเอาต์ซอร์สไดทีฟังก์ชันของบริษัทในสหรัฐฯ ไปยังผู้ให้บริการในประเทศอินเดีย
2. การเอาต์ซอร์สแอปพลิเคชัน (Application Service Provider) บริษัทจะเอาต์ซอร์สโดยใช้ซอต์แวร์และแอปพลิเคชันบนเซิร์ฟเวอร์ (Server) ของผู้ให้บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยบริษัทจะจ่ายค่าบริการที่ใช้หรือตามระยะเวลาที่ใช้จริง (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในบทที่ 7)
3. การเอาต์ซอร์สกระบวนการทางธุรกิจ (Business Process Outsourcing) บริษัทจะว่าจ้างผู้ให้บริการมาดำเนินงานกระบวนการทางธุรกิจเฉพาะด้าน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานภายใน การเอาต์ซอร์สกระบวนการทางธุรกิจส่วนใหญ่จะเป็นงานด้านศูนย์บริการลูกค้า (Call Center), งานด้านทรัพยากรบุคคล (Human Resource), งานด้านบัญชี ( Accounting) และงานด้านการชำระเงิน (Payroll) (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในบทที่ 8)
4. การนำบริการที่เอาต์ซอร์สไปแล้วกลับมาดำเนินการภายในบริษัท (Backsourcing) ในอนาคตมีแนวโน้มว่าบริษัทที่เอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศไปแล้ว จะพยายามนำฟังก์ชันเหล่านั้นกลับมาดำเนินการจัดการเอง เนื่องจากบริษัทมีศักย์ภาพและความพร้อมในการดำเนินงานเมื่อสัญญาสิ้นสุดลง หรือเนื่องจากบริษัทไม่พึงพอใจในการดำเนินงานของผู้ให้บริการ ซึ่งทำให้ต้องยุติดสัญญาก่อนที่สัญญาจะสิ้นสุดลง แล้วนำบริการนั้นกลับมาดำเนินการภายในบริษัท
การเอาต์ซอร์สในขั้นที่ 2 (Outsourcing 2)
เทคโนโลยีการเอาต์ซอร์สได้มีการพัฒนาต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ จนถึงเอาต์ซอร์สในอีกระดับหนึ่ง รางานการวิจัยจากสถาบันการเอาต์ซอร์ส (Outsourcing Institule) โดย คาเซล (Casale,2007) พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงจากการเอาต์ซอร์สในขั้นที่ 1 ไปสู่การเอาต์ซอร์สขั้นที่ 2 (Outsourcing 2) ประกอบด้วย
1. ความผิดหวังจากการเอาต์ซอร์สแบบบเดิม
เกือบ 50 % ของผู้รับบริการไม่มีเวลาเพียงพอที่จะค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูลที่จะใช้ในการตัดสินใจ และดำเนินการจัดการกระบวนการเอาต์ซอร์สให้มีประสิทธิผล จากงานวิจัยพบว่า 1 ใน 3 ของผู้รับบริการในกลุ่มตัวอย่างไม่มีงบประมาณที่จะหาข้อมูลเหล่านี่ และหลายบริษัทมีข้อจำกัดเรื่องทรัพยากร (บุคลากร ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์) ภายในบริษัท และในการเข้าถึงผู้ให้บริการ
2. การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบปละวิธีการเอาต์ซอร์ส
ซึ่งมีอิทธิพลมาจาก
1. การยอมรับทฤษฏีการดำเนินการด้วยตนเอง (Do-It-Yourself) บริษัทส่วนใหญ่กำลังหันมาใช้บุคลากรของบริษัทในการให้บริการ มีเพียงการเลือกเอาต์ซอร์สในส่วนที่ที่ต้องการมืออาชีพที่มีความรู้เฉพาะด้าน อาทิ ด้านกฎหมายและที่ปรึกษาเฉพาะทาง จะเห็นได้ว่าประเภทของบริการที่จะเอาต์ซอร์สได้เปลี่ยนแปลงไป บริษัทต้องการเอาต์ซอร์สบริการที่ต้องใช้ความสามารถเฉพาะด้าน
2. การเอาต์ซอร์สของบริษัทขนาดกลางและเล็ก บริษัทเหล่านี้ไม่คุ้นเคยกับการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศ และมีความต้องการในด้านข้อมูลแบะคำแนะนำในการเอาต์ซอร์สเป็นอย่างมาก ยิ่งไปกว่านั้นบริษัทเหล่านี้ยังมีอุปกรณ์และงบประมาณที่จำกัด
3. ขนาดของการเอาต์ซอร์สที่เล็กลง เนื่องจากบริษัทเลือกที่จะเอาต์ซอร์สเฉพาะด้าน (Selective Outsourcing) กันมากขึ้น และการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการเอาต์ซอร์สกระบวนการทางธุรกิจ (Business Process Outsourcing)
4. โอกาสในตลาดโลกและความท้าทายที่เกี่ยวข้องอื่นๆ อาทิ วัฒนธรรมและการติดต่อประสานงานระหว่างประเทศ เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศไปยังผู้ให้บริการภายนอกประเทศ
3. การพัฒนาของเทคโนโลยีเว็บ 2 (Web 2)
การพัฒนาของเทคโนโลยีเว็บ 2 สามารถรวบรวม วิเคราะห์ และกระจายข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เว็บ 2 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนรู้ แลกเปลี่ยน ติดต่อ สื่อสาร และส่งถ่ายข้อมูล ช่วยให้บริษัทสามารถใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้บนอินเทอร์เน็ต อาทิ การคัดเลือกบริษัทที่เชี่ยวชาญในการเอาต์ซอร์ส และการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง การใช้เว็บ 2 มรกาเอาต์ซอร์สจะเพิ่มคุณภาพของการบริการที่เอาต์ซอร์ส ทั้งในเรื่องประสิทธิผลของบริการที่สูงขึ้น และการเพิ่มความสามารถในการให้บริการของผู้ให้บริการ
การใช้งานเอาต์ซอร์สในขั้นที่ 2 (Outsourcing 2) จะทำให้เกิดชุมชน (Community) ที่รวมเอาบริษัทหลากหลายประเภท ทั้งผู้ซื้อบริการ ผู้ให้บริการ และผู้ผลักดันให้เกิดการบริการมาอยู่รวมกัน เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลในการศึกษาทางเลือกที่ดีที่สุด (Best Practice) ของเอาต์ซอร์ส และได้ใข้เทคโนโลยีที่เพิ่มคุณภาพของการบริการโดยเสมอภาคกัน การเอาต์ซอร์สในขั้นที่ 2 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแนวคิดของการเอาต์ซอร์สแบบเดิมในหลายๆด้านด้านกัน ดังสรุปได้ในตารางที่ 1.3
ตารางที่ 1.3 อิทธิพลจองการเอาต์ซอร์สในขั้นที่ 2
เปลี่ยนจาก  ไปสู่
ข้อจำกัดในการเข้าถึงข้อมูล
การเข้าถึงแหล่งความรู้และข้อมูลอย่างกว้างขวาง
การจัดซื้อจ้าง การบริหารความสัมพันธ์
กระบวนการ องค์กรมนฐานะศูนย์กลางของเอาต์ซอร์ส
การให้บริการแบบปิด การให้บริการแบบเปิดและแลกเปลี่ยน
เงื่อนไขและข้อตกลงในสัญญา เงื่อนไขตามบริการที่รับปละเน้นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่าง 2 องค์กร
เน้นค่าใช้จ่ายต่ำ เน้นการได้รับประโยชน์สูงสุด
การบริการแบบผูกมัด การบริการแบบยืดหยุ่น มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล
ความเสี่ยงกับการเอาต์ซอร์ส การลงทุนกับการเอาต์ซอร์ส
การเอาต์ซอร์สเป็นการแก้ไขปัญหาในองค์กร การเอาต์ซอร์สเพื่อสร้างความพึงพอใจในประโยชน์ที่จะได้รับ



สรุปท้ายบท
การเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ใช่เรื่องใหม่และวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องเริ่มจากการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งระบบ มาเป็นทางเลือกเอาต์ซอร์สฟังก์ชั่นงานเฉพาะบางส่วน จนถึงการเอาต์ซอร์สโดยใช้บรากรผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้บริษัทที่เอาต์ซอร์สหรือผู้ให้บริการอาจเป็นเจ้าของฟังก์ชั่นหรือบริการที่เอาต์ซอร์สนั้น ต่อมาได้มีการพัฒนาเป็นการร่วมลงทุนและดำเนินงานของผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการบริการที่เอาต์ซอร์ส จากงานวิจัยพบว่า แนวโน้มของการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศจะอยู่ในรูปของการให้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกประเทศ การให้ผู้ให้บริการบริหารจัดการกระบวนการทางธุรกิจของบริษัท และการใช้บริการแอปพลิเคชันของผู้ให้บริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตกันมากขึ้น ทั้งนี้บริษัทบางส่วนที่สัญญากำลังจะสิ้นสุดลงกำลังพิจารณานำบริการที่ได้เอาต์ซอร์สไปแล้วกลับมาดำเนินการภายในเพิ่มขั้นด้วย ในส่วนท้ายของบทนี้ ได้กล่าวถึงเทคโนโลยเว็บ 2 (WEB 2) ที่เข้ามาทำให้การเอาต์ซอร์สบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีประสิทฺธิภาพเพิ่มขึ้น และทำให้การเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศพัฒนาไปสู่การเอาต์ซอร์สในขั้นที่ 2 (Outsourcing 2)

เหตุผลและกระบวนการในการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศ
วัตถุประสงค์
หลังจากอ่านนี้แล้ว ผู้อ่านจะมีความรู้เข้าใจเรื่องต่อไปนี้
1. ปัจจัยสนับสนุนการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. ความเสี่ยงในการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศ
3. ปัจจัยสนับสนุนการดำเนินงานเทคโนโลยีสารสนเทศภายในบริษัท
4. วิธีการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศ
5. กระบวนการและขั้นตอนในการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศ
ก่อนที่บริษัทจะตัดสินใจดำเนินการเอาต์ซอร์สบริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัทควรกำหนดวัตถุประสงค์หรือผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการเอาต์ซอร์ส และควรจระหนักถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงาน ซึ่งอาจมีผลทำให้การเอาต์ซอร์สไม่บรรบุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ รวมถึงการพิจารณาทางเลือกในการที่บริษัทอาจจะตัดสินใจในการดำเนินงานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภายในบริษัทแทนการเอาต์ซอร์ส ทั้งนี้วิธีการและรูปแบบของการเอาต์ซอร์สมีความแตกต่างกันตามกันลักษณะของบริการเอาต์ซอร์ส บริษัทจึงควรศึกษาวิธีการที่เหมาะสมกับงัตถุประสงค์ในการเอาต์ซอร์ส รวมถึงความเข้าใจในรายละเอียดของขั้นตอนต่างๆ เพื่อที่จะให้การดำเนินการเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ในบทนี้จะครอบคลุมเนื้อหาดังกล่าวข้างต้น โดยกล่าวปัจจัยสนับสนุนและความเสี่ยงในการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัจัยในการดำเนินงานเทคโนโลยีสารสนเทศภายในบริษัท รวมถึงวิธีการและขั้นตอนในการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศ
ปัจจัยสนับสนุนการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศ
บริษัทควรศึกษาว่าการเอาต์ซอร์สให้ประโยชน์อะไรกับบริษัท จากบริษัทที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศ และนำมาพิจารณากำหนดเป็นเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ในการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัจจัยในการสนับสนุนการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถแบ่งเป็น 3 ปัจจัยหลัก ดังแสดงในรูปที่ 1.1






รูปที่ 2.1 ปัจจัยสนับสนุนการเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศ

1. ปัจจัยด้านการเงิน ประกอบด้วย
• บริษัทสามารถลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เนื่องจากผู้ให้บริการลงทุนเพียงครั้งเดียว แต่สามารให้บริการลูกค้าได้เป็นจำนวนมาก (Ecomomies of Scale) ดังนั้นผู้ให้บริการสามารถให้บริการกับบริษัทในราคาที่ต่ำกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการที่บริษัทต้องลงทุนในการดำเนินงานเองทั้งหมด
• บริษัทสามารถเพิ่มกระแสเงินสดหมุนเวียนในบริษัท เนื่องจากบริษัทถ่ายโอนทรัพย์สินและบุคลากรไปยังผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการจะรับซื้อทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องและว่าจ้างบุคลากรของบริษัท เพื่อดำเนินงานการให้บริการกับบริษัทตามเงื่อนไขสัญญา
• บริษัทสามารถกำหนดค้าใช้จ่ายในการดำเนินการล่วงหน้าได้ โดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการชำระค่าบริการตามสัญญา อาทิ รายเดือน ทุก 6 เดือน หรือทุกรอบของการส่งมอบงานที่ระบุไว้ในสัญญา ทั้งนี้บริษัทยังสามารถตรวจสอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นย้อนหลังได้อีกด้วย
2. ปัจจัยด้านสภาพคล่องภายในบริษัท ประกอยด้วย
• ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและพฤติกรรมการทำงานขององค์กร เพื่อเพิ่มสภาพคลาองในการทำงาน บริษัทที่เอาต์ซอร์สต้องประสานงานกับผู้ให้บริการในการดำเนินงานเอาต์ซอร์ส และรับบริการจากผู้ให้บริการ ซึ่ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างและกระบวนการทำงานในบริษัท เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับผู้ให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• ทีให้เกิดการเปลี่ยนค่าใช้จ่ายการการลงทุนผลิตบริการที่สูง เป็นค้าใช้จ่ายมรการเข้าซื้อบริการ ซึ่งจะทำให้เกิดสภาพคล่องมากขึ้นในการบริหารรายข่ายขององค์กรบริษัทจะเสียค่าใช้จ่ายในการเช่าซื้อบริการ ซึ่งสามารถกำหนดแผนการใช้จ่ายล่วงหน้าได้ตามเงื่อนไขสัญญา
• เพื่อแก้ไขการขาสภาพคล่องในการทำงานขององค์กร ในบางองค์กรการโยกย้ายบุคลากรที่ขาดประสิทธิภาพในหน่วยงานเป็นไปได้ยาก การเอาต์ซอร์สหน่วยงานทำให้เกิดสภาพคล่องมรการบริหารงานในองค์กร ซึ่งรวทถึงองค์กรภาครีฐที่ให้เอกชนเจ้ามามีส่วนร่วมใรการบริหารจัดการ
• การนำไปสู่การพัฒนาบริการที่ดีขึ้ร โดยเฉพาะความรู้แลละความชำนาญของผู้ให้บริการ เนื่องจากผู้ให้บริการมีประสบการณ์มรการให้บริการเป็นเวลานานและความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นมรหลากหลายหรณี
• ความรวดเร็วในการให้บริการ เนื่องจากบริษัทไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาระบบและฝึกอบรมพนักงาน ผู้ให้บริการมีบุคลากรทีมีความรู้ความชำนาญ รวมถึงฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่พร้อมจะให้บริการ
• สามารถให้การที่หลากหลายมากขึ้น โดยผู้ให้บริการจะดูแลบริการและระบบบางส่วนของบริษัท ทำให้บริษัทสามารถหันมาเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารหลักของบริษัท และขยายบริการด้านอื่นๆ เพื่อสนองความต้องการของลูกค้า
• สามารถใช้งานเทคโนโลยีที่ทันสมัยโดยหลีกเลี่ยงการอัปเกรด (Upgrade) เทคโนโลยีภายในองค์กร บริษัทสามารถที่จะใช้เทคโนโลยีฮาร์แวร์ ซอต์แวร์และแอปพลิเคชันที่ทันสมัยจากผู้ให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง

3. ปัจจัยด้านประสิทธิภาพในการใช้บริการ ประกอบด้วย
• บริษัทสามารถกำหนดความต้องการของระบบหรือบริการได้ล่วงหน้า และผู้ให้บริการตกลงที่จะดำเนินการตามข้อตกลงที่ระบุไว้ในเงื่อนไขสัญญา
• ผู้ให้บริการจะให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้รับค่าบริการตามเงื่อนไขจ่ายเงินในแต่ละงวด ซึ่งถือเป็นการรับประกันประสิทธิภาพการดำเนินงานของผู้ให้บริการ
• บริษัทสามารถก้าวทันตามเทคโนโลยีที่ทันสมัย เนื่องจากผู้ให้บริการทีระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อบริการลูกค้าจำนวนมาก การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยจะทำให้ประสิทธิภาพของบริการที่เอาต์ซอร์สสูงขึ้น
นอกเหนือจากปัจจัยในการตัดสินใจเอาต์ซอร์สบริการด้านเทคโนโลยีดังกล่าวข้างต้นแล้ว เหตุผลมรการที่บริษัทตัดสินใจเอาต์ซอร์สบริการด้านเทคโนโลยียังสมารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มปัจจัยคือ ปัจจัยภายในองค์กร และปัจจัยจากสภาพแวดล้อมภายนอก ดังแสดงในรูปที่ 2.2

รูปที่ 2.2 ปัจจัยในการตัดสินใจเอาต์ซอร์สเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. ปัจจัยภายในองค์กร ประกอบด้วยปัจจัยย่อย 4 ด้านคือ
ด้านการดำเนินงาน บริษัทเอาต์ซอร์สเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงานในปัจจุบัน
ด้านการเรียงรู้และนวัตกรรม บริษัทเอาต์ซอร์สเพื่อเพิ่มทักษษะของบุคลากรในองค์กร และปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการและโครงสร้างภายในองค์กร
ด้านการเงิน บริษัทเอาต์ซอร์สเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงทางการเงิน และควบคุมระบบการเงินและการบัญชีของบริษัท
ด้านโครงสร้างระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กร บริษัทเอาต์ซอร์สเพื่อโอนถ่ายบริการและความรับผิดชอบในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรไปอยู่ในความดูแลของผู้ให้บริการ เพื่อเน้นดารให้บริการมนธุรกิจหลักของบริษัทแทน
2. ปัจจัยจากสภาพแวดล้อมภายนอก ประกอยด้วยปัจจัยย่อย 4 ด้านคือ
ด้านการแข่งขัน บริษัทเอาต์ซอร์สเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน โดนการละระยะเวลาในการดำเนินงาน ซึ่งทำให้บริษัทสามารถใช้หบริการที่ต้องการได้รวดเร็วขึ้น
ด้านลูกค้าและการตลาด บริษัทเอาต์ซอร์สเพื่อเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑืและบริการให้ลูกค้า เนื่องจากผู้ให้บริการทีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในการให้บริการที่มากกว่า ซึ่งจะทำให้บริษัทสามารถแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดได้
ด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยี บริษัทเอาต์ซอร์สเพื่อให้สามารถใช้เทคโนโลยีที่ทีนสมัยจากผู้ให้บริการ และเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดได้ในยุคโลกาภิวัตน์ เนื่องจากบริษัทคู่แข่งใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการให้บริการ
ด้านหุ้นส่วนทางธุรกิจ บริษัทเอาต์ซอร์สเพื่อผู้ร่วมลงทุนและสร้างเครือข่ายทางธุรกิจได้ง่ายขึ้น





Create Date : 17 ตุลาคม 2551
Last Update : 17 ตุลาคม 2551 20:03:04 น. 1 comments
Counter : 2581 Pageviews.

 
แวะมาเยียมครับ


โดย: boyblackcat วันที่: 17 ตุลาคม 2551 เวลา:22:34:05 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

คนขายไฟ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




หนุ่มเจ้าพระยา ผิวสีชา นัยต์สีเหล็ก เซ็กพอประมาณ
Friends' blogs
[Add คนขายไฟ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.