การเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น ตราบจนกระทั้งเรายังมีชีวิตอยู่
Group Blog
 
<<
กันยายน 2550
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
7 กันยายน 2550
 
All Blogs
 

"เรา คือ พลเมือง"

โดย บก.ลายจุด
ที่มา เวบไซต์ nocoup
2 กันยายน 2550

สิ่งมหัศจรรย์ที่สร้างด้วยฝีมือมนุษย์ เกิดจากแรงงานของประชาชนที่เป็นทาส แต่กลับถูกบันทึกชื่อผู้ยิ่งใหญ่ที่สั่งการให้สร้างสิ่งเหล่านั้น

ประสาทเขาพนมรุ้ง สุสานหินอ่อนทัชมาฮาล แรงงานนับล้านคน ภาษีของประชาชนถูกขูดรีด เพื่อบูชาความรักของกษัตริย์ที่มีต่อสตรีนางหนึ่ง การบูชาความรักโดยมองไม่เห็นคุณค่าของชีวิตทาสที่ล้มตายไปมากมายมหาศาล นี่คือ ผู้ปกครองที่ป่าเถื่อน ไร้จริยธรรม

เมื่อทาสถูกปลดปล่อย มนุษย์เริ่มมองเห็นความจริงที่ว่า "ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์" ของคนเล่านั้นมีพื้นฐานที่เท่าเทียมกัน เสรีภาพ และประชาธิปไตย ได้ผลักดันให้การผลิตของมนุษย์เปลี่ยนไป ทรัพยากรถูกกระจายมากขึ้น มนุษย์เริ่มมีความหวังที่จะเปลี่ยนแปลงโชคชะตาของตน จากทาส เป็น นายของตน ผลผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรม และ ความรู้ ยกระดับเป็นทวีคูณ เศรษฐกิจของโลก เปลี่ยนการสะสมความมั่งคั่งที่กระจุกตัวอยู่กับคนบางกลุ่ม ไปสู่ประชาชนมากขึ้น

พลเมืองในยุคประชาธิปไตย จึงไม่ใช่แรงงานทาส แต่เป็นพลเมืองที่ขับเคลื่อนประเทศด้วยความหวัง ด้วยพลังที่จะปลดปล่อยตนเองจากความแล้งแค้น

เมื่อมนุษย์ถูกปลดปล่อยทางชนชั้น เขาจะสร้างเมืองขึ้นมาใหม่ เมื่องที่มิใช่มีเพียงสิ่งก่อสร้างที่สวยงามของชนชั้นสูง หรือ คนรวยเท่านั้น แต่เมืองนี้ จะต้องเปิดโอกาสให้ทาสในยุคเก่า หรือ คนจนในยุคนี้ ได้มีโอกาสลืมตาอ้าปาก เปลี่ยนแปลงชะตากรรมของตนเองด้วยความพยายามของตน แต่แน่นอนคนรวย คนจน ย่อมไม่มีวันหมดไป ความแตกต่างยังคงมี แต่นั่นเทียบไม่ได้กับ สังคมเก่า ที่เคยปกครองประเทศนี้อยู่

ในขณะที่เราอยู่ในช่วงรอยต่อของการเปลี่ยนแปลงเพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนได้ใช้ศักยภาพของตนในการเปลี่ยนแปลงชะตากรรมของตนเอง ระบบการเมืองเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะเกลี่ยโอกาสมาถึงมือคนยากจน นักการเมืองในทัศนะผม เป็นผู้ที่ต้องพยายามค้นหาอุปสรรค์ที่ขัดขวางการแสดงศักยภาพของประชาชน และเมื่อค้นพบแล้ว เขามีหน้าที่ ทำลายอุปสรรค์เหล่านั้น และบอกประชาชนว่า อุปสรรค์เหล่านั้นถูกทำลายแล้ว ขอให้ประชาชนลุกขึ้นสู้ และ ก้าวเดินต่อไป

การที่ได้ผู้นำประเทศ ที่ไร้คุณภาพ ไม่คำนึงถึงบทบาทหน้าที่ของตนเอง มุ่งแต่เกียรติยศจอมปลอม พยายามรักษาอำนาจของตน และ ได้ละลายต่อการทำลายอุปสรรค์การพัฒนาของประชาชน ผู้ปกครองเหล่านี้ คือ หนึ่งในอุปสรรค์ที่ประชาชนต้องทำลายให้สิ้นซาก

นักการเมืองต้องเสนอนโยบายเพื่อการปลดปล่อยประเทศออกจากความยากจน มิใช่ให้ประชาชนสยบยอมกับความยากจน

ประชาชน ควรบอกตนเองว่า เรามีทางเลือก ที่มากกว่าการยอมรับชะตากรรมของชนชั้น และ ประชาชนมีสิทธิที่จะมีชีวิตที่ดีขึ้น และหากประชาชนเลือกที่จะเปลี่ยนแปลงคำสาปงมงาย เราต้องสะกิดคนในประเทศนี้ที่เป็นเหมือนกับเรา ให้ลุกขึ้น รวมกลุ่ม ศึกษาปัญหาที่เป็นเหตุให้ความยากจนกลายเป็นชะตากรรมที่หลุดไม่พ้น ร่วมกันผลักดันในระดับปัจเจก ครอบครัว ชุมชน และ สังคม เลือกผู้แทนของตนที่มุ่งมั่นที่จะทำลายความยากจน คนที่จะทำหน้าที่ค้นหาอุปสรรค์ของประเทศ และ ลงมือเคลื่อนย้ายอุปสรรค์นั้นออกจากถนนของการพัฒนา

พลเมือง คือ ประชาชนที่ตื่นแล้วของประเทศนี้
คนที่สร้างเมือง ด้วยมือ และ หยาดเหงื่อ
คนที่เปลี่ยนแปลงคำสาปงมงาย
คนที่กำหนดชะตากรรมชีวิตของตนเอง และ ประเทศนี้

เราคือ พลเมือง

บก.ลายจุด
วัน พุธ ที่ 29 สิงหาคม 2550,21:19 น.











ขอ.ให้โลกมีแต่...เสรีภาพ....







........................................................................................................






 

Create Date : 07 กันยายน 2550
3 comments
Last Update : 7 กันยายน 2550 17:18:10 น.
Counter : 780 Pageviews.

 

ผมสงสัยมานานแล้วว่า.....พลเมือง....ราษฎร.....ประชาชน....แล้วก็ชาวบ้าน....เนี่ย....มันต่างกันยังไง

ช่วยตอบผมให้หายสงสัยหน่อยนะครับ

 

โดย: cm-2500 7 กันยายน 2550 17:31:48 น.  

 

ความหมายความแตกต่างของ พลเมือง ประชาชน ราษฏร ชาวบ้าน

ก่อนอื่นผมต้องขอโทษด้วยนะครับที่มาตอบข้อสงสัยหรือประเด็นที่คุณหยิบยกขึ้นมาเป็นคำถาม ช้าไปนะครับ มันเป็นคำถามที่ตอบได้ค่อนข้างยากนะครับสำหรับผม และผมเองก็ไม่ใช่คนที่จะตอบเรื่องนี้ได้ดี และผมเข้าใจว่าความหมายและความแตกต่าง คงจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย หลายมุมมอง และยังขึ้นอยู่กับพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจของตัวบุคลทที่มีต่อสังคมด้วยนะครับ เพราะฉนั้น ผมจะขอแสดงความคิดเห็นต่อข้อสงสัยของคุณ ตามความเข้าใจ ตามสติปํญญาอันน้อยนิด และตามพื้นฐานความรู้ที่ผมมีต่อสังคมประเทศไทย ที่ไม่ใช่มุมมองของ นักสังคมศาสตร นักรัฐศาสตร นักกฎหมาย นักการปกครอง หรือ ทหาร แล้วกันนะครับ มันคงจะไม่ใช่ความตอบที่ถูกต้องอะไร เอาเป็นว่ามันเป็นแค่แง่มุมมองของผมที่มีต่อข้อสงสัยของคุณก็แล้วกันนะครับ มีรายละเอียดตามนี้ครับ

Citizen, People, Masses, Population, inhabitant

1. พลเมือง หมายถึง ทุกๆสิ่งภายในสังคมเมือง ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ตาม ที่เป็นองค์ประกอบของเมือง ถ้าเรามามองในแง่ของสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า คน นั้นหมายความว่า ทุกๆคน คือ พลเมือง ไม่ว่าจะมีสถานะหรือชนชั้น อะไรก็ตามภายในเมืองๆ นั้น ล้วนแต่คือพลเมืองเฉกเช่นเดียวกัน

2. ประชาชน หมายถึง คนหรือบุคคล ในเมืองหนึ่งหรือประเทศหนึ่ง ที่ไม่ใช่บุคลากรของรัฐ เช่นที่ผมมีบัตรประจำตัวประชาชนงัยครับ นั้นหมายความว่า ผมมีบทบาทสถานะเป็นประชาชนในประเทศไทยครับ

3. ราษฎร อันนี้ยากครับในการอธิบาย คงหมายถึง สังคมหรือเมืองที่จะต้องมีชนชั้น เจ้าชีวิต พระราชา และญาติๆของพระราชา ข้ารับใช้ สมุน กองกำลังของพระราชา ถ้าเราไม่ใช่ทั้งหมดนั้น เราก็จะคือ ราษฎรของพระราชาครับ

4. ชาวบ้าน หมายถึง คนหรือบุคคล ที่อาศัยอยู่ในชนบท ที่รวมกันอยู่เป็นหมู่บ้าน นะครับ คนในหมู่บ้าน เราก็จะเรียกว่า ชาวบ้านครับ


ที่กล่าวมาทั้งหมดคุณพอจะมองเห็นความแตกต่างไหมครับ ผมคงจะมีความคิดเห็นเพียงแค่นี้นะครับ ยังงัยถ้าคุณมีข้อคิดเห็นที่ต่างออกไป ก็ยินดีมากเลยนะครับ ที่จะรับฟัง

ด้วยความนับถือครับ


 

โดย: space time 10 กันยายน 2550 22:31:04 น.  

 

ขอบคุณครับ

 

โดย: cm-2500 11 กันยายน 2550 16:36:09 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


space time
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]





...........I AM NOT PERFECT.........


Friends' blogs
[Add space time's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.