แบร์แนแด็ท....น่ารัก....น่ารัก ขี้ลืม.....ขี้ลืม ...... หนังปายหนายหว่า buy แล้ววbuyอีก......... faith, hope and charity เฟศบุ๊ค http://www.facebook.com/bernadette.soubirous.3
Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2550
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
27 กรกฏาคม 2550
 
All Blogs
 
Mass : มิสซาเป็นการรื้อฟื้นการถวายบูชาของพระคริสต์ และโดยทางการรับศีลมหาสนิท

Mass is the central point of Catholic worship,


The dismissal, which follows the Postcommunion of the day, can take one of three forms. Where the Gloria has been said, the celebrant turns to the people and says “Ite, missa est”, to which the server, or congregation, replies “Deo grátias”. “Missa” is strictly the past participle of the verb “míttere”, meaning to send or to dispatch, but in colloquial Latin it became a noun equivalent to the more literary “míssio”, meaning “dismissal”. So this is a colloquial way of saying, “Go, this is the dismissal”. “Missa” is the word from which we derive “Mass”, because at quite an early date it gave its name to the entire Eucharistic celebration; the first instance of this use is in the Letters of St. Ambrose in the fourth century.



มิสซาทำให้การบูชาแต่ครั้งเดียวของพระบุตรของพระเจ้าดำรงคงอยู่ต่อไปชั่วกัปชั่วกัลป์ ตามที่เราได้อธิบายมาแล้วว่าเป็นกุญแจเข้าสู่การไถ่กู้ของเรา เป็นศานติบูชาซึ่งทำให้การถวายบูชาของพระคริสต์เกิดเป็นจริงขึ้นมาได้และอยู่ในหัวใจของชีวิตคริสตชน ประกอบด้วยพิธีกรรมที่ใช้คำพูด พร้อมด้วยการขับร้อง การภาวนาและบทอ่านต่างๆ จากพระคัมภีร์ และพิธีกรรมขอบพระคุณซึ่งปังและน้ำองุ่นได้รับการแปรสภาพบนพระแท่น(หรือ "เปลี่ยนสาระ") เป็นพระกายและพระโลหิตของพระคริสต์

มิสซาเป็นการชิมล่วงหน้าของถวายบูชาของพันธสัญญาใหม่ซึ่งวันก่อนสิ้นพระชนม์พระคริสต์ทรงมีพระประสงค์ที่จะฉลองปัสกาของชาวยิวพร้อมกับบรรดาศิษย์ของพระองค์(๑) พระองค์ทรงปฏิบัติตามพิธีกรรมปกติในการกินปัสกา มิสซาของคริสตชนได้ปรับปรุงบทภาวนาและการปฏิบัติหลายอย่างของพวกยิวมาใช้ เป็นต้นการอวยพร (berakoth) ที่โต๊ะอาหารซึ่งเป็นต้นตอของบทขอบพระคุณและการให้ความหมายใหม่แก่สิ่งเหล่านี้

ตามธรรมเนียม ประธานของการเลี้ยงปัสกาต้องอธิบายความหมายของพิธีกรรมในขณะที่รับประทานเนื้อลูกแกะเพื่อระลึกถึงการหนีออกจากประเทศอียิปต์ ดังนั้นพระเยซูจึงได้ทรงอธิบายแก่บรรดาศิษย์ของพระองค์ว่าพระองค์ทรงเป็นลูกแกะปัสกาที่แท้จริง เป็นพระองค์ที่ "ทรงยกบาปของโลก"(๒) เวลาที่เริ่มรับประทานอาหารจานหลัก ประธานก็ให้พร (ในภาษากรีกคำว่า eucharistia "การขอบพระคุณ") แก่ขนมปังที่ไร้เชื้อ ในช่วงนี้เองที่พระเยซูทรงเสกขนมปังให้เป็นพร ะกายของพระองค์"นี่คือกายของเราที่ถูกมอบเพื่อท่านทั้งหลาย"
(ลก.22: 19)

ในตอนท้ายของการเลี้ยงมักจะเป็นเหล้าองุ่นถ้วยที่สี่ที่ได้รับการอวยพร พระคริสต์ทรงเสกเหล้าองุ่นเช่นกันให้เป็นพระโลหิตของพระองค์ "ถ้วยนี้เป็นพันธสัญญาใหม่ในโลหิตของเราซึ่งถูกหลั่งเพื่อท่านทั้งหลาย" พร้อมกับทรงเสริมว่า "จงทำดังนี้เพื่อระลึกถึงเรา" พิธีกรรมรำลึกของอิสราเอลนี้มีความหมายกว้างกว่าการรำลึกถึงธรรมดา เพราะนำเอาอดีตเข้าม าใส่ปัจจุบันและแม้กระทั่งชิมลางอนาคตด้วย ราวกับว่าสามมิติด้านเวลาของโลกนี้ถูกรวมเข้าหากัน เมื่อร่วมในการขอบพระคุณ (มิสซา)คริสตชนกลายเป็นผู้ร่วมในเหตุการณ์การตรึงกางเขน ขณะร่วมพิธีมิสซาของพระศาสนจักรในขณะปัจจุบัน ตามพิธีกรรมซึ่งจะคงอยู่ "จนกว่าพระองค์จะเสด็จกลับมา"(1 คร.11: 26) ศีลบวชเปิดโอกาสให้พระสงฆ์เสกขนมปังและเหล้าองุ่น เมื่อทำเช่นนี้ท่านก็รื้อฟื้นการถวายบูชาของพระคริสต์อย่างมีประสิทธิภาพดังที่ พระเยซูได้ทรงชิมลางในวันก่อนรับมหาทรมาน

ความเชื่อคาทอลิกยอมรับว่าปังเปลี่ยนเป็นพระกายของพระเยซูจริงๆ และเหล้าองุ่นเปลี่ยนเป็นพระโลหิตของพระองค์ ด้วยวิธีนี้ ที่โต๊ะจัดเลี้ยงอาหารค่ำมื้อสุดท้ายและบนพระแท่นของเราพระเยซูประทับอยู่จริงๆในสภาพของสัญลักษณ์และเครื่องหมายภายนอกของผู้ถูกถวายบูชา เพราะพระกายและพระโลหิตของพระองค์ถูกแยกออกจากกัน (แสดงถึงสิ้นพระ ชนม์) สิ่งนี้ทำให้เผชิญหน้ากับธรรมล้ำลึกของการไถ่กู้ของเราเนื่องจากปัจจัยที่สัมผัสได้นี้ได้รองรับพระคริสต์ผู้ทรงชีวิตและสิริรุ่งโรจน์ให้เราสัมผัสได้ ในตอนสรุปของบทขอบพระคุณสัตบุรุษที่มาชุมชุมกันก็ยอมรับธรรมล้ำลึกแห่งข้อสัญญา ซึ่งได้รับการรื้อฟื้นบนพระแท่นด้วยเสียงขานรับอย่างสง่าว่า "อาแมน" แล้วสวดบทภาวนาขององค์พระผู้เป็นเจ้า (ข้าแต่พระบิดา..)เป็นบทภาวนาของลูกๆที่ได้ คืนดีกับพระบิดาของตนโดยถวายบูชาของพระบุตรผู้เสด็จมาบังเกิดเป็นมนุษย์ แล้วนั้นก็ มีพิธีแสดงความเป็นมิตรต่อกันอันเป็นการแสดงถึงการคืนดีระหว่างพี่น้อง

แล้วผู้เข้าร่วมประชุมร่วมรับเครื่องบูชานี้ที่โต๊ะบูชา ด้วยการเคารพต่อขั้นตอนที่ได้จัดการไว้ล่วงหน้า เมื่อเรารับพระกายและพระโลหิตของพระคริสต์เราก็ค่อยๆ เข้าสู่ความสนิทสัมพันธ์กับพระบุตรผู้ที่ "พระบิดาผู้ ทรงชีวิตทรงส่งมาและเรามีชีวิตเพราะบิดาฉันใด ผู้ที่กินเนื้ อของเราก็มีชีวิตเพราะเราฉันนั้น" (ยน.6: 57)คริสตชนเป็นหนึ่งเดียวกับพระเยซูคริสต์ โดยทางพระองค์คริสตชนสามารถที่จะมีส่วนในการเป็นหนึ่งเดียวของพระตรีเอกภาพนั่นเอง

ดังนั้นในบรรดาศีลศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมด ศีลมหาสนิทเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพระศาสนจักร ตามคำกล่าวที่ตกทอดมาถึงเราว่า "พระศาสนจักรสร้างศีลมหาสนิท ศีลมหาสนิทสร้างพระศาสนจักร" โดยทางศาสนบริการของพระสงฆ์ มิสซาจึงเป็นเฉลิมฉลองการถวายบูชาที่มีลักษณ ะเฉพาะในทุกสถานที่ ในทุกกลุ่มนักบวชและทุกชุมนุม การเฉลิมฉลองซึ่งเป็นการบอกเล่าที่สำคัญเกี่ยวกับสิ่งที่พระเจ้าได้ทรงกระทำเพื่อเราและสิ่งที่จะทรงกระทำต่อไปเพื่อเสริมสร้างและบำรุงรักษาให้พระศาสนจักรเป็นหนึ่งเดียวกัน

เมื่อเป็นเช่นนี้สัตบุรุษควรมาร่วมมิสซาวันอาทิตย์เพราะเป็นวันที่องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงกลับคืนชีพ ในระหว่างการรับศีลมหาสนิทสมาชิกคนหนึ่งของพระกายทิพย์ของพระคริสต์ได้รับประกันว่า "รับสิ่งที่ทรงเป็น"โดยอ้างประโยคที่มีควา มหมายของนักบุญออกัสติน ยิ่งไปกว่านั้นพระสงฆ์ควรถวายมิสซาทุกวันและถ้าเป็นไปได้ควรให้มีสัตบุรุษร่วมมิสซาด้วย การทำวัตรเกี่ยวกับหัวข้อศีลมหาสนิทควรเป็นส่วนหนึ่งของกิจศรัทธาประจำวันของนักบวชทั้งหญิงและชายอีกด้วย คริสตชนที่ใจร้อนรนจะกล่าวซ้ำคำที่มรณสักขีท่านหนึ่งของอาบีเตนา(ประเทศตูนีเชีย)กล่าวในเดือนกุมภาพันธ์ปี ค.ศ. 304 ว่า "เราไม่สามารถมีชีวิตอยู่โดยปราศจากมื้ออาหารขององค์พระผู้เป็นเจ้าได้"



ธรรมประเพณีที่เก่าแก่มากของพระศาสนจักร คือการยอมรับของถวายจากสัตบุรุษผู้ขอให้พระสงฆ์ผู้เป็นประธานเ สนอความปรารถนาของตนที่พระแท่นในระหว่างมิสซา การกระทำนี้ไม่ควรที่จะตีความว่าเป็นการตีราคาศีลศักดิ์สิทธิ์ เพราะการประกอบศีลศักดิ์สิทธิ์เพื่อเงิน(simony)ถูกห้ามปรามอย่างแข็งขันจากพระสันตะปาปาในสมัยกลางและโดยพระสังคายนาแห่งเตรน มิสซานั้นล้ำค่าและจุดประสงค์สากลอยู่เหนือกว่าจุดประสงค์ส่วนตัวใดๆทั้งสิ้น เป็นเพียงแต่การให้เกียรติศาสนบริการของพระสงฆ์ผู้ยินยอมที่จะถวายมิสซาเพื่อจุดประสงค์พิเศษ (จึงได้รับอนุญาตให้รับค่าตอบแทนนี้เพื่อจุดประสงค์เดียวของแต่ละมิสซาเท่านั้น)

(๑)"พระองค์ตรัสกับเขาว่า "เราปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะกินปัสกาครั้งนี้ร่วมกับท่านก่อนจะรับทรมาน"(ลก.22: 15)
(๒)พระองค์ผู้ที่ได้รับการป่าวประกาศจากยอห์น บัปติสต์ ยน.1: 29-36
กลับหน้าหลัก
>>> ที่มา : สัญลักษณ์ในศาสนาคาทอลิก แผนกคำสอนกรุงเทพฯ


Source : //www.catholic.or.th/document/doc001/ed3/ed3.html




Create Date : 27 กรกฎาคม 2550
Last Update : 27 กรกฎาคม 2550 9:49:26 น. 2 comments
Counter : 795 Pageviews.

 
อาแมน ด้วยครับ


โดย: noomrangerha วันที่: 27 กรกฎาคม 2550 เวลา:10:07:15 น.  

 
อาแมน ด้วยครับ



โดย: noomrangerha วันที่: 27 กรกฎาคม 2550 เวลา:10:07:15 น.


ตอบ ขอบพระคุณพระเป็นเจ้า

ขอพระเป็นเจ้าอวยพรค่ะ


โดย: Bernadette วันที่: 27 กรกฎาคม 2550 เวลา:10:42:23 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Bernadette
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




In the name of the Father, and of the Son, and of the Holy Spirit

The Ave Maria asks Mary to "pray for us sinners."

Amen

PaPa for all Father W e pray year of priests.



Card Michael Michai Kitbunchu, Archbishop of Bangkok, is the first member of the College of Cardinals from Thailand.

source :http://www.asianews.it/news-en/Michai-Kitbunchu,-first-cardinal-from-Thailand-3038.html

พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู คณะเชนต์ปอล part1

ฺBishop ฟรังซิส เซเวียร์ เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิช พิธีรับPallium Metropolitans Bangkok Thailand >

สารคดี เทศกาลแห่ดาว สกลนคร Welcome
Sakonnakorn Christmas Thailand
Metropolitans Tarae Sakornakorn Thailand


Orchestra and four vocal Choir - *Latin* Recorded for the Anniversary of the Pope Benedict XVI April 19 This is the Anthem of the Vatican City. The Songs are called Inno e Marcia Pontificale ...

We are Catholic.

หน้าเฟส อัพรูป หาที่อัพรูปใหม่อยู่ http://www.facebook.com/bernadette.soubirous.3


MusicPlaylist
MySpace Music Playlist at MixPod.com

Friends' blogs
[Add Bernadette's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.