เมษายน 2554

 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
AZT กับภาวะ Macrocytic anemia และการเพิ่มขึ้นของ HbA2
บทความนี้เป็นบทความที่เคย reveiw ไว้สมัยเรียนป.โทปีแรก ก็เลยเอามาลงไว้ เผื่อจะเป็นประโยชน์กับเค้าบ้าง ดีกว่าปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ 55

***คำเตือน : บทความนี้มีลิขสิทธิ์ทางปัญญา ผู้ใดคัดลอกไปโดยไม่ได้รับอนุญาติ อาจถูกดำเนินคดีตามกฏหมาย***

ในหลายปีที่ผ่านมานี้มีการศึกษาผล toxicity ของ AZT หลายงานวิจัยด้วยกัน ในปี 1989 Sommadossi และคณะค้นพบว่า 3’-azido-3’-deoxythymidine (AZT) สามารถยับยั้งกระบวนการเพิ่มจำนวน (proliferation) ของ human bone marrow progenitor cells และมีการ incorporate ของ AZT เข้าไปใน DNA ซึ่งอาจเป็นกลไกสำคัญทำให้เกิด bone marrow toxicity นอกจากนี้ งานวิจัยครั้งก่อนยังแสดงให้เห็นว่า AZT และ metabolite ของมัน (3’- amino-3’-deoxythymidine, AMT) จะมีผลยับยั้งกระบวนการถอดรหัสของ globin gene โดยพบระดับ globin mRNA ที่ลดลง และยังพบการลดระดับของ GATA-1, NFE-2 ซึ่งเป็น transcription factor ที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกของ globin gene อีกด้วย แสดงให้เห็นถึง cytotoxicity effect ของ AZT ที่ไปมีผลต่อ erythroid cells ต่อมาในปี 1999 Spiga และคณะทำการศึกษาผลของ AZT ต่อการแสดงออกของ  globin gene ใน human erythroid progenitor cells ซึ่งพบว่ามีการแสดงออกที่ลดลงใน BFU-E cells ที่ treat ด้วย AZT และพบการลดลงของ binding activity ของ GATA-1 ซึ่งเป็น erythroid specific transcription factor ซึ่งเป็นผลของ AZT ต่อกระบวนการถอดรหัสของ  globin gene สรุปได้ว่า AZT มีผลต่อการควบคุมการแสดงออกของยีนและพัฒนาการเจริญของ erythroid progenitoe cells นอกจากนี้ยังมีข้อสันนิษฐานว่า erythroid toxicity อาจเกิดจาก AZT ไปยับยั้งการแสดงออกของ Epo (Erythropoietin) receptor ทำให้พบระดับ mRNA ของ Epo ลดลงหรือ AZT อาจไปมีผลต่อ heme metabolism

Nucleoside reverse transcriptase inhibitor antiretroviral drugs เช่น Zidovudine, Stavudine เป็นที่รู้กันดีว่าทำให้ค่า MCV และ MCH สูงขึ้น โดยที่ zidovudine จะมีผลต่อค่าเหล่านี้มากกว่า stavudine มีข้อสันนิษฐานว่ายาอาจไปมีผลทำให้เกิดความบกพร่องในการสังเคราะห์ DNA (DNA synthesis) ทำให้ DNA มีพัฒนาการที่ไม่สัมพันธ์กันกับ cytoplasm หรือมีการสร้าง DNA ที่ไม่สมบูรณ์เช่นเดียวกับภาวะ Megaloblastic anemia จะพบการสร้างฮีโมโกลบินมากขึ้นไม่ได้สัดส่วนกับลักษณะนิวเคลียสที่ยังอ่อนอยู่ใน erythroid precursor และพบการสร้าง  chain มากขึ้นจึงนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของ Hb A2 นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า zidovudine สามารถไปยับยั้งการแสดงออกของ  globin gene ใน human erythroid progenitor cells (Spiga et al, 1999) ซึ่งอาจจะเป็นอีกกลไกหนึ่งที่ทำให้ antiretroviral drug มีผลทำให้ระดับ Hb A2 สูงขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นมีรายงานการวิจัยที่พบว่าในคนไข้ที่ได้รับยา zidovudine-containing HAART จะพบการสูงขึ้นของ Hb A2 มากกว่าคนไข้ที่ไม่ได้รับยาดังกล่าว

สรุปได้ว่า zidovudine มีผลทำให้เกิดความบกพร่องในการสังเคราะห์ DNA (DNA synthesis) ทำให้ DNA มีพัฒนาการที่ไม่สัมพันธ์กันกับ cytoplasm และพบการสร้าง  chain มากขึ้น นอกจากนี้ยังไปยับยั้งการแสดงออกของ  globin gene ใน human erythroid progenitor cells จึงทำให้พบการสูงขึ้นของ Hb A2 และเกิดภาวะ Macrocytic anemia ในคนไข้ที่ได้รับยาดังกล่าว

ในการทดสอบสมมติฐานดังกล่าว อาจทำได้โดยการศึกษาฤทธิ์ AZT ในการยับยั้งการเจริญของ erythroid progenitor ใน human erythroid progenitor liquid culture เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ treat และไม่ได้ treat ด้วย AZT ซึ่งควรจะพบว่ากลุ่มที่ treat ด้วย AZT มีการยับยั้งการเจริญมากกว่า untreated cells และศึกษาการแสดงออกของ globin gene โดยอาจทำการตรวจวัดปริมาณ globin mRNA ด้วยวิธี RT-PCR แล้วตรวจสอบผลด้วย gel electrophoresis ซึ่งควรจะพบในระดับที่น้อยกว่า untreated cell หรือศึกษา binding activity ของ GATA-1 ซึ่งเป็น erythroid specific transcription factor หาก AZT มีผลยับยั้งกระบวนการ transcription ของ globin gene ก็ควรพบ activity ที่ลดลง

การศึกษาดูการสร้าง  chain ที่มากขึ้นหรือ chain ที่น้อยลง ยังอาจทำได้โดยวิธี microarray เพื่อศึกษาดูการเปลี่ยนแปลงระดับการแสดงออกของยีนโดย probe ที่ใช้แต้มลงบน microarray จะเป็น cDNA ที่สังเคราะห์จาก mRNA ของ globin gene และ globin gene ส่วน target ที่ใช้ hybridize จะเป็น cDNA ที่สังเคราะห์จาก mRNA ที่ได้จากตัวอย่างที่ทำการ treat ด้วย AZT และ ตัวอย่างที่ไม่ได้ treat ด้วย AZT (untreated cells) ซึ่งติดฉลากด้วยสารเรืองแสงที่ต่างกันเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงระดับการแสดงออกของยีน โดยอาจติดฉลาก cDNA ที่สังเคราะห์จาก mRNA ของเซลล์ที่ treat ด้วย AZT ด้วยสารเรืองแสงสีเขียว และติดฉลาก cDNA ที่สังเคราะห์จาก untreated cell ด้วยสารเรืองแสงสีแดง จากนั้นตัวอย่าง cDNA ทั้งสองจะถูกผสมรวมกันแล้วนำไป hybridize กับ DNA microarray ซึ่งแต่ละจุดบนแผ่น microarray จะเป็นตัวแทนของ globin gene และ globin gene cDNA ที่ถูกติดฉลากด้วยสารเรืองแสงจะจับเข้าคู่กับ DNA ของยีนที่อยู่บนแผ่นสไลด์หากมีลำดับเบสคู่สมกัน ดังนั้นปริมาณของ mRNA ของแต่ละยีนที่แสดงออกใน treated และ untreated cells สามารถดูได้จากสัดส่วนของสีแดงและสีเขียวที่ปรากฎบนแผ่น microarray

References

1. Ahmad S, Sukthankar A. Stavudine induced macrocytosis. Genitourin Med. 1997 Oct;73(5):421.
2. Howard J, Henthorn JS, Murphy S, Davies SC. Implications of increased haemoglobin A2 values in HIV positive women in the antenatal clinic. J Clin Pathol. 2005 May;58(5):556-8.
3. Myers SA, Torrente S, Hinthorn D, Clark PL. Life-threatening maternal and fetal macrocytic anemia from antiretroviral therapy. Obstet Gynecol. 2005 Nov;106(5 Pt 2):1189-91.
4. Pornprasert S, Leechanachai P, Klinbuayaem V, Leenasirimakul P, Sukunthamala K, Thunjai B, et al. Effect of haematological alterations on thalassaemia investigation in HIV-1-infected Thai patients receiving antiretroviral therapy. HIV Med. 2008 Oct;9(8):660-6.
5. Pornprasert S, Sukunthamala K, Leechanachai P, Sanguansermsri T. Increased Hb A2 values in an HIV-1-infected patient receiving antiretroviral drugs: a pitfall for thalassemia antenatal diagnosis. Hemoglobin. 2009;33(2):158-61.
6. Spiga MG, Weidner DA, Trentesaux C, LeBoeuf RD, Sommadossi JP. Inhibition of beta-globin gene expression by 3'-azido-3'-deoxythymidine in human erythroid progenitor cells. Antiviral Res. 1999 Dec 31;44(3):167-77.
7. Steinberg MH, Adams JG, 3rd. Hemoglobin A2: origin, evolution, and aftermath. Blood. 1991 Nov 1;78(9):2165-77.







Create Date : 07 เมษายน 2554
Last Update : 7 เมษายน 2554 17:27:59 น.
Counter : 4551 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

natural display
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]