One Look At You And I Fall Apart One Touch I Feel You Deep In My Heart One Word From You Just To Makt It Start
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2551
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
19 มีนาคม 2551
 
All Blogs
 

รูปแบบโยคะ - เครดิต กระทู้นอกเสื่อ ครูปอย

//www.pantip.com/cafe/lumpini/topic/L6425949/L6425949.html#53

ตามอ่านตัวเต็มๆ กันได้ที่นี้น่ะจ๊ะ

อันนี้จะขออนุญาติ ตัดมาแต่เนื้อหาล้วนๆก่อนน่ะ

Karma yoga, Bhakti yoga, Jnana Yoga และ Raja Yoga
ผมขอเล่าคร่าว ๆ เกี่ยวกับโยคะแต่ละรูปแบบนะครับ...

1.Karma yoga แปลเป็นไทยคงเรียกว่า กรรมะโยคะ
ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นโยคะแห่งการกระทำ การปฏิบัติ แต่กระทำอย่างไร มาดูกันครับ...


โยคีที่ฝึกกรรมะโยคะ จะอุทิศการกระทำทุกอย่างแด่เทพเจ้า หรือ สิ่งศักด์สิทธิ์สูงสุดที่ตนนับถือ เป็นการชำระใจให้บริสุทธิ์โดยการกระทำโดยไม่หวังผล...ผลที่เกิดจากการกระทำทุกอย่างมอบให้แด่พระเจ้า....กูรูที่ตนนับถือ...


ทำให้เราไม่หวังหรือยึดติดผลจากการกระทำทั้งดีและร้าย
จึงเป็นที่มาของคำพูดในภควัตคีตาที่ว่า “Action in inaction and inaction in action” ไม่ของเล่ารายละเอียดตอนนี้นะครับ
(จะเล่าเกี่ยวกับภควัตคีตาทีหลัง...สนุกมาก ขอบอก...)


ดูเหมือนง่ายจะเป็นอะไรที่ง่ายๆ แต่จริงๆ ทำยากเหลือเกินครับ...
ตัวอย่างของกรรมะโยคะที่พวกเราฝึกกันก็เช่น....
ทุกคนในคลาสจะต้องทำหน้าที่เพื่อส่วนรวมคนละอย่าง วันละหนึ่งชั่วโมง...
เช่น กวาดเพดานที่จะใช้ฝึกคลาสอาสนะ ขัดส้วม ล้างจาน ทำความสะอาดโถงห้องเรียน จัดดอกไม้
หรือแม้กระทั้งแบกระบบเครื่องเสียงซึ่งเป็นหน้าที่ของผม...
มันก็ดูเหมือนจะง่ายครับ คือ ให้ทำอะไรก็ทำไป แต่จะกระทำโดยบริสุทธิใจมันยากเหลือเกิน...

ครูเคยเล่าให้ฟังว่า ตอนครูมาเข้าคลาสโยคะใหม่ ๆ
กรรมะโยคะของครูคือ ขัดหม้อและล้างจานหลังทานอาหารเย็น
ครูก็มีเพื่อนเป็นคุณลุงอีกคนที่ได้รับหน้าที่นี้เหมือนกัน
ปัญหาคือลุงแกมาสายได้ทุกครั้งไป...
ครั้งสองครั้งแรกครูก็ไม่ว่าอะไร...
แต่จนจะจบคอร์สอยู่แล้ว ลุงก็จะมาตอนครูล้างจานเกือบเสร็จทุกที

หากเป็นผมงานนี้มีเคืองครับ
คำถามแรกคือ ทำไม่กินแรงกันเงี่ย...


.....แต่วันหนึ่งการขัดเกลาใจก็เกิดขึ้น...
เมื่อครูเริ่มสังเกตุลุง
ครูเห็นว่าลุงทำทุกอย่างช้ากว่าเค้าเพื่อนไปหมด ไม่ใช่แต่ล้างจาน แกสายตั้งแต่เข้าคลาสอาสนะยันกรรมะโยคะ
แล้วครูก็เห็นต่อไปว่า ที่แกสายเพราะแกแก่นั่นเอง
เคลื่อนไหวได้ช้า ไม่ได้ตั้งใจจะทำให้ช้าแต่อย่างไร...
เมื่อเรามองเห็นโลกมากขึ้น ความเข้าใจเกิดขึ้น...
เข้าใจว่าเราฝึกกรรมะโยคะเพื่ออะไร
เพื่อดูว่าเราทำมากกว่า คนอิ่นทำน้อยกว่าอย่างนั้นหรือ...


ครูบอกว่าหลังจากนั้นครูมองลุงอย่างเข้าใจ...
ลุงแกรู้ได้ทันทีว่าในที่สุดครูก็เข้าใจโดยไม่แม้กระทั่งต้องเอ่ยปากบอก
ครูได้เพื่อนใหม่เป็นลุงสูงวัย....
ครูฝึกกรรมะโยคะ การกระทำเพื่ออุทิศแด่ส่วนรวม แด่สิ่งสูงสุด....
เพื่อขจัดความเห็นแก่ตัว เพื่อขัดเกลาจิตใจ
นี่แหละครับคือกรรมะโยคะ.....

มาต่อแบบที่สองกันครับ




 

Create Date : 19 มีนาคม 2551
7 comments
Last Update : 19 มีนาคม 2551 10:39:27 น.
Counter : 2680 Pageviews.

 

2. Bhakti yoga
โยคะแห่งหัวใจ....Bhakti โยคีจะอุทิศใจด้วยการสวดมนต์และร้องเพลงเพื่ออุทิศแด่พระเจ้า
ไม่ว่าเหตุการดีหรือร้ายในชีวิตที่เกิดขึ้น....
Bhakti โยคีจะเอ่ยแต่นามเทพเจ้าและร้องเพลงเพื่ออุทิศแด่ท่าน...

หนทางแห่ง Bhakti จะใช้หัวใจและอารมยณ์ แล้วเปลี่ยนหัวใจและอารมยณ์เป็นศรัทธา ดังนั้นหนทางแห่งการชำระใจด้วยใจจึงต้องอาศัยความศรัทธายิ่ง...
อารมยณ์จะถูกเปลี่ยนเป็นสิ่งที่สะอาดและบริสุทธิ์ขึ้นเรื่อย ๆ
ดังนั้นในการเรียนการสอนของพวกเรา จะมีการร้องเพลงและท่องมนต์ทุกวัน วันละสองรอบ....

หากใครเคยเข้าคลาส Chanting มาก่อน คงรู้ว่าพลังแห่งมันตราสมารถสร้างพลังด้านบวกได้มากมายขนาดไหน...


และนั้นก็คือที่มาของพิธี "Bhagavata Saptaha" ในรูปข้างต้นที่ผมแปะไว้....
ครู Bhagavad Accharya Sri Venugopal Goswami ในรูปด้านขวามมือ เป็น Bhakti โยคีที่มาร่วม chanting เรื่องราวของ Krisana เทพ
ให้พวกเราได้ฟังกันเป็นเวลาเจ็ดวันเจ็ดคืน

ก่อนเริ่มพิธีเราต้องเดินขบวนร้องเพลงเต้นรำเพื่ออัญเชิญกฤษณะเทพและมหาคัมภีร์ภควัตตัมที่ครูเปิด chanting
จากนั้นก็มีการสวดมนต์นิดหน่อย...และเริ่มร้องเพลงสวดเกี่ยวกับเรื่องราวของกฤษณะเทพ...

ในรูปเป็นเรื่องราวตอนที่ชาวเมือง Vrindavan ร่วมฉลองให้กฤษณณะเทพโดยการถวายดอกไม้
ดังนั้นในห้องสวด ระหว่างครูร้องเล่าเรื่องพร้อมกับเสียงเครื่องดนตรีอินเดียโบราณ
ผู้ช่วยก็จะช่วยกันโยนดอกไม้หลากหลายสี เหมือนดอกไม้ร่วงตกมาจากท้องฟ้าเพื่อร่วมอวยพรให้พระกฤษณะ เทพแห่งความรัก...
หลังจบพิธี ทุกพื้นที่ของห้องเต็มไปด้วยดอกไม้
ผมไม่รู้ว่าดอกไม้หมดไปกี่กระสอบ
กลิ่นหอมของดอกไม้นานาพันธุ์ช่วงอบอวลเหลือเกิน
เพื่อนบางคนลงไปนอนคลุกตัวจมในกองดอกไม้อย่างสนุกสนาน..
เป็นพิธีที่สนุกและได้ความรู้เยอะมากครับ
เพราะเรื่องราวแต่ละเรื่องแฝงไปด้วยปรัญญา...
ลับสมองกันไปทุกคืน...
รูปด้านล่างเป็นห้องพิธีก่อนที่จะโปรยดอกไม้...
ทีเห็นในรูปคือเทวรูปกฤษณะเทพครับ...
ลองดูความแตกต่างนะครับ...

 

โดย: สงครามกวี 19 มีนาคม 2551 10:40:31 น.  

 

3. Jnana โยคะ คือโยคะที่ใช้ปัญญา
"Jnana" ก็คือ ฌาณ นั่นเอง
เป็นแนวทางที่ยากแต่ตัดตรงสู่จุดหมาย คือการหลุดพ้น
โยคีที่ฝึกฌาณโยคะมักจะถามปัญหาตัวเองบ่อยๆ ว่า"เราเกิดมาทำไม?
เพื่ออะไร? วัตถุประสงค์ของชีวิตคืออะไร?"

ใช้การฝึกสมาธิและปัญญา
เป็นแนวทางที่คล้ายพุทธศาสนาอย่างยิ่ง
เพราะเหตุนี้ฌาณะโยคี จึงยกให้พระพุทธเจ้าเป็นหนึ่งในโยคีที่ยิ่งใหญ่
“พุทธะ” ก็คือผู้ตื่นนั่นเอง

ในทางโยคะเรียกว่าตื่นจากมายา (Maya)
เห็น self (bliss absolute, sac-chit-ananda) หรือ ปรัมมัน (Branman)
โยคะเชื่อว่าเราทุกคนคือ "Self"
แต่เราโดนอำนาจของมายามาบดบัง
ทำให้เกิดรูป นาม และเวลา
เกิดโลกและจักรวาล
และเราเกิดมาเผื่อหาทางกลับบ้าน กลับสู่ปรัมมัน

OM tat sat ก็คือ “I am that”
That ก็คือ Self, bliss absolute นั่นเอง
ฌาณะโยคี มักจะท่องคำนี้อยู่บ่อยๆ


ฌาณะโยคี หาได้ยากยิ่ง
เพราะมันอยู่ข้างใน
คงเหมือนที่ชาวพุทธบางท่านชอบถาม
ว่าหลวงพ่อองค์นี้ถึงขั้นไหน บรรลุหรือยังประมาณนั้น


โดยปกติการฝึกโดยใช้ปัญญาอย่างเดียวทำได้ยาก
และบางทีใจเราก็มักชักจูงไปหาทางที่ผิดบ่อยๆ
การฝึกแบบนี้จึงต้องมีครูที่รู้จริงแนะนำ
และมักใช้ศรัทธา (Bhakti yoga) หรือ กรรมะโยคะ (Karma Yoga) มาฝึกร่วมไม่ให้เป็นนามธรรมจนเกินไป

 

โดย: สงครามกวี 19 มีนาคม 2551 10:40:48 น.  

 

4.ราชะโยคะ (Raja Yoga)

สรุปว่า Raja Yoga ก็คือ Ashtanga Yoga หรือ Kundalini Yoga ไม่ว่าจะเรียกว่าอย่างไร จุดมุ่งหมายของการฝึกก็เหมือนกัน...
ในที่นี้ผมไม่ได้พูดถึง Ashtanga yoga แบบเป็นสไตล์ของโยคะ
แต่ขอพูดถึงในนิยามตามความหมายของ Ashtanga หรือ Eight limbs of yoga

จุดมุ่งหมายของ Raja Yoga ก็คือการควบคุมจิตใจ...
ใช้ใจเป็นตัวควบคุมร่างกาย...
คือ ใช้กายมาเป็นตัวล่อก่อนนั่นเอง....
ดังนั้นการฝึกโยคะแบบนี้จะให้ความสำคัญกับท่าอาสนะมากกว่า Bhakti, Jnana หรือ Karma yoga ซึ่งแทบไม่ได้กล่าวถึงท่าอาสนะด้วยซ้ำ

แต่อาสนะเป็นแค่หนึ่งในแปดของสิ่งที่สำคัญในการฝึกโยคะแบบนี้
เพราะนอกจากอาสนะแล้ว....สิ่งที่ต้องฝึกควบคู่กันไปด้วยก็มีอีกเจ็ดอย่าง
ตามนิยามของ Ashtanga (eight limbs of yoga)...
ซึ่งขอสรุปคร่าวๆ ดังนี้ครับ...
(หากเขียนภาษาไทยไม่ถูก ช่วยแนะนำด้วยนะครับ
เพราะหนังสือผมเป็นภาษาอังกฤษ
อาจแปลเป็นสันสฤตแบบเขียนไทยผิดไปบ้าง
อันไหนไม่แน่ใจ ขอใช้ทับศัพย์นะครับ...)

 

โดย: สงครามกวี 19 มีนาคม 2551 10:41:09 น.  

 

1. ยามะ (Yamas) ประกอบด้วย

-อหิงสา non-vilolence ผมขอแปลว่าไม่เบียดเบียนแล้วกัน
เหมือนศีลข้อหนึ่งที่ว่าด้วยการห้ามฆ่าสัตว์ และไม่ใช้ความรุนแรง
จึงเป็นหนึ่งในเหตุผลอีกหลาย ๆ ข้อที่โยคีเป็นมังสวิรัติครับ

-สัตยา ก็คือไม่พูดปดนั่นเอง เหมือนศีลข้อสี่

-ปรัมจายา หรือ พหรมจรรย์ ศีลข้อสามบอกว่าไม่ประพฤติผิดในกาม..
แต่ปรัมจายาในที่นี้ รวมถึงการมีกิจกรรมทางเพศในทุกด้าน
เหมือนพระสงฆ์นั่นเอง เพื่อต้องการตัดพลังขับดันทางเพศออกไป
แม้จะดูเหมือนไม่สำคัญ แต่นี่เป็นหนึ่งในสิ่งจำเป็นสำหรับการปลุก Kudalini กันทีเดียว...

- อสัตยา ไม่ลักขโมย เหมือนศีลข้อสอง

- Aparigrahaไม่ขอแปลเป็นไทย แต่ความหมายคือ ยับยังชั่งใจ ไม่รับสิ่งของอะไรโดยไม่จำเป็น...

2. นิยามะ (Niyama) ได้แก่

-Saucha คือ การรักษากายและใจให้บริสุทธิ์
-Santosha คือ มีความพึงใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ สมถะ
-Tapas คือ อดกลั้น
-Swadhyaya การอ่านตำราหรือศึกษาตำราจากผู้รู้ จนรู้แจ้ง
-Isawara-pranidhana คือ การน้อมตัวเข้าหาสิ่งที่ตนนับถือ บูชา...
เชื่อในพลังที่สูงกว่าและจะนำพาเราสู่การหลุดพ้นในที่สุด...


3. อาสนะ (Asana) อันนีก็คือท่าโยคะต่างๆ นั่นเอง...
จริง ๆ ตำราหะฐะโยคะพิดิพิกะ หรือแม้แต่โยคะสุตราของท่านปรมครูปตัญชลี(เขียนถูกป่าวหว่า) ไม่ได้บรรยายถึงท่าอาสนะมากมายอย่างในปัจจุบัน
หากแต่ท่าอาสนะที่กล่าวถึงก็คือท่านั่งขัดสมาธินั่นเอง...

มีครูหลายคนบอกว่า เราฝึกอาสนะต่างๆ มากมายก็เพื่อขัดเกลาใจ
และเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการนั่งสมาธินั่นเอง...

4. ปราณายามะ (Pranayama) คือการฝึกเพื่อควบคุมลมหายใจและปราณะในร่างกายนั่นเอง

5. Pratyahara การลดละการยึดติดกับวัตถุ
6. Dharana สมาธิ
7.Dhyrana ผมอยากเรียกว่าเป็นสมาธิที่เกิดอย่างต่อเนื่อง
8.Samadhi แม้จะเรียกว่าสมาธิ แต่ในที่นี้ผมว่าน่าจะหมายถึง ฌาน ตามนิยามแบบพุทธมากกว่า

 

โดย: สงครามกวี 19 มีนาคม 2551 10:41:33 น.  

 

พูดมาตั้งยาว...จะเห็นได้ว่า โยคีที่ฝึกราชะโยคมีข้อจำกัดมากมาย
คล้ายกับศีลในพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง...
สิ่งเหล่านี้นำความบริสุทธิ์มาสู่กายและใจ
ไม่ว่าจะสอนโดยใครก็ล้วนเป็นความจริง

เมื่อใจและกายบริสุทธิ์และเปี่ยมไปด้วยสติเท่านั้น
เราจึงจะสามารถบรรลุจุดหมายของราชะโยคะ, Ashtanga โยคะ, หรือ Kundalini yoga ก็คือ การปลุกพลัง Kundalini ที่เชื่อว่าหลับไหลอยู่ที่จักระสุดท้ายในร่างกาย (Muladrara Chakra)ให้ตื่น...
และนี่คือจุดหมายสูงสุดในการฝึก Raja โยคะนั่นเอง...

มีคนหลายคนอยากปลุก Kundalini เหลือเกิน
มีโฆษะณาต่างๆ ในเมืองนอกที่บอกว่าสามารถปลุก Kundalini ได้ในเจ็ดวัน
ครูผมเตือนแล้วเตือนอีก ว่าสิ่งเหล่านี้มีจริง และไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ
การปลุก Kundalini ทำได้ แต่หากร่างกายและใจไม่พร้อมจะมีแต่ผลเสีย


ครูบอกว่า หากจะจริงจังจริงๆ กฎทั้งแปดข้อที่บอกไปต้องฝึกอย่างเคร่งครัด
แค่ทานมังสวิรัติให้ได้สองปี ถือศีล และฝึกปราณะยามะทุกวัน
ผมก็ทำไม่ได้แล้ว
ดังนั้นเรื่องที่เขียน ดูจะเป็นเรื่องไกลตัวเหลือเกิน
หากแต่เขียนไว้เป็นข้อมูลให้เลือกพิจารณาครับ...


หากเราลองพิจรณาการฝึกโยคะทั้งสี่แบบที่ผมกล่าวถึง...
ก็คือ
Karma, Bhakti, Jnana, Raja Yoga....

(จริงๆ มีมากมายกว่านี้)
แล้วลองย้อนกลับไปดูวิธีสอนของแต่ละศาสนา
ผมขอยกตัวอย่างพุทธศาสนานะครับ เพราะใกล้ตัว
จะเห็นว่าเราฝึกในสิ่งที่ไม่ต่างกันเลย...ยกเว้นว่าอาจจะมีท่าอาสนะมาหลอกล่อมากหน่อย...

ทางพุทธเรามีการสวดมนต์ไหว้พระ
เราพุทธศาสนิกชนต่างศรัทธาในพุทธองค์ (Bhakti yoga)

พระพุทธองค์สอนเสมอว่าให้เรามีสติ มีสมาธิโดยใช้ปัญญากำกับ (Jnana Yoga)

เรามีการถือศีล ไม่เบียดเบียนผู้อื่น และทำประโยชน์ต่อสังคม
แม้แต่พระสงฆ์ ก็ยังมีกิจของสงฆ์
เราเห็นภาพพระสงฆ์กวาดลานวัดจนสะอาดเอี่ยมจนชินตา (Karma Yoga)

เราฝึกนั่งสมาธิ ไม่ว่าจะนั่งขัดสมาธิแบบใด หรือแม่แต่นอน (Raja yoga) เพื่อทำให้ใจกายบริสุทธิ์

จะเห็นว่า หนทางในการฝึกใจ ไม่ว่าจะสอนโดยใคร..
มิได้ต่างกันเลย...

Karma โยคะได้ถูกกล่าวถึงในภควัตคีตา ซื่งเชื่อว่ามีมาก่อนพุทธกาลมานานมาก...
มีการกล่าวถึงการเวียนว่าย ตาย เกิด...กล่าวถึงกฏแห่งกรรม....
กล่าวถึงปรัชญาในการใช้ชีวิตอย่างลึกซึ้ง...

ผมไม่ได้มาเปรียบเทียบ
สำหรับผม คำสอนของพุทธองค์ยังคงเป็นธรรมะ...
คือธรรมชาติ สิ่งที่เป็นจริงและพิสูจน์ได้
และเป็นแนวทางและแบบแผนในการใช้ชีวิต...
หากโยคะก็เป็นอีกแนวทางหนึ่ง ซึ่งตอกย้ำความเชื่อว่า
ผมได้เดินมาถูกทางแล้ว...


ดังนั้นหากใครเคยมีคำถามว่า โยคะต่างจากพุทธศาสนาอย่างไร...
ผมขอเว้นคำตอบไว้ให้คิดต่อจากเรื่องที่ผมเขียนมาแล้วกันนะครับ...

 

โดย: สงครามกวี 19 มีนาคม 2551 10:41:56 น.  

 

ขอบคุณครูปอย มากๆ สำหรับความรู้ดีๆ ที่ได้นำมาแบ่งปันกัน

ภูมิใจ และดีใจ ที่มีโอกาส ได้เรียก ครูปอย ว่า ครู น่ะจ๊ะ

 

โดย: สงครามกวี 19 มีนาคม 2551 10:49:28 น.  

 

ขอบคุณมากค่ะสำหรับความรู้ดีๆ คงไม่ว่านะคะหากจะนำไปอ้างอิงในการเขียนหนังสือ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ
ดาว

 

โดย: ดาว IP: 202.149.25.225 19 เมษายน 2552 13:24:26 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สงครามกวี
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add สงครามกวี's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.