Group Blog
 
<<
มีนาคม 2558
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
22 มีนาคม 2558
 
All Blogs
 
ตาขี้เกียจ โรคแบบนี้ก็มีด้วย !

     พูดไปหลายคนคงสงสัยกับชื่อโรคตาขี้เกียจ พร้อมตั้งคำถามว่า ดวงตาก็ขี้เกียจได้ด้วยหรือ แล้วตอนนี้เราเป็นอยู่หรือเปล่า ลองเช็กอาการหน่อย 

          เป็นที่ทราบกันดีว่าดวงตา เป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกายกาย เพราะการมีดวงตาที่คมชัดและไม่เป็นโรคนั้น สามารถทำให้เราดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุข แต่กระนั้นก็ยังมีโรคมากมายที่มักทำให้การมองเห็นของเรามีปัญหา ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ "โรคตาขี้เกียจ" 

          หลายคนอาจไม่คุ้นเคยกับชื่อโรคนี้มากนัก ซึ่งตาขี้เกียจ ไม่ได้มีความเกี่ยวพันกับอาการขยันของคนเราแต่อย่างใด แต่ตาขี้เกียจ เป็นโรคทางตาชนิดหนึ่ง ที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งมีอาการไม่รุนแรงนักแต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้ตาบอดหรือสายตามีปัญหาอย่างถาวรได้ วันนี้ลองไปทำความรู้จักโรคนี้กันกับข้อมูลของโรงพยาบาลปิยะเวท 

ตาขี้เกียจ โรคแบบนี้ก็มีด้วย 

          พญ.ชลธิชา จารุมาลัย จักษุแพทย์ โรงพยาบาลปิยะเวท อธิบายถึงภาวะตาขี้เกียจว่า ภาวะตาขี้เกียจ (Lazy Eye) หรือภาษาทางการแพทย์เรียกว่า Amblyopia หมายถึง ภาวะที่สายตาข้างใดข้างหนึ่งมัวลง หรือคุณภาพการมองเห็นของสายตาไม่เท่ากันทั้งสองข้างเทียบเท่ากับคนปกติ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการพัฒนาของสายตาด้านนั้น ๆ ถูกขัดขวางหรือหยุดไป จากภาวะต่าง ๆ ดังนี้ 

          1. ตาเข ตาเหล่ ทำให้ผู้ป่วยต้องใช้ตาข้างที่ดี เพียงข้างเดียวในการมอง ทำให้ตาข้างที่เขไม่ทำงาน ส่งผลให้เกิดภาวะตาขี้เกียจในที่สุด  

          2. สายตาผิดปกติ สั้น ยาว และเอียง ภาวะนี้แสงจะไม่สามารถโฟกัสมาที่จอประสาทตาได้ ทำให้สายตามองชัดไม่เท่ากัน หากไม่ได้รับการแก้ไขก็จะเกิดภาวะตาขี้เกียจในที่สุด 

          3. โรคทางตาบางชนิด เช่น ต้อกระจก หนังตาตก โรคทางตาเป็นแผล ตั้งแต่กำเนิด อาจจะเป็นข้างเดียวหรือ 2 ข้างก็ได้ ทำให้การพัฒนาของสายตาไม่เป็นไปตามขั้นตอนปกติก็จะเกิดภาวะตาขี้เกียจขึ้น 

          คนไข้โรคตาขี้เกียจส่วนใหญ่จะมาด้วยอาการตามัว มองไกลไม่ชัด ตาเข หรือในบางรายก็ไม่มีอาการอะไรเลยแต่มาตรวจสุขภาพสายตาแล้วตรวจพบว่ามีตาขี้เกียจแถมไปก็มี และเมื่อเกิดภาวะตาขี้เกียจขึ้น 

          การรักษาต้องเริ่มด้วยการแก้ไขที่ต้นเหตุตามด้วยการกระตุ้นตาขี้เกียจให้กลับมาทำงานตามปกติ ด้วยวิธีการปิดตาข้างที่ดีเอาไว้เพื่อให้ตาข้างที่ขี้เกียจทำงานบ้าง โดยต้องแก้ไขอาการผิดปกติทางสายตาร่วมไปด้วย 



          และถ้าหากพบในเด็กต้องรีบรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้แล้วมารักษาตอนโตมักไม่ได้ผล ฉะนั้นจึงไม่ควรละเลยขั้นตอนการตรวจตาเด็ก เพราะเด็กเล็ก ๆ จะไม่สามารถรู้ได้ด้วยตัวเองว่าตาของตนเองมองไม่ค่อยเห็น รวมถึงไม่มีอาการเจ็บปวดหรือตาแดง เด็กอาจไม่ทราบว่าตนเองมองเห็นได้น้อยกว่าผู้อื่น ทำให้การพัฒนาทางสายตาด้อยกว่าคนอื่นโดยไม่รู้ตัว ซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคในการศึกษาและการเลือกอาชีพบางอย่างได้ในอนาคต ฉะนั้นเพื่อเป็นการป้องกันภาวะตาขี้เกียจ แพทย์จึงแนะนำให้ผู้ปกครองพาเด็กมารับการตรวจเป็นระยะ คือ ตั้งแต่แรกคลอด อายุ 6 เดือน อายุ 3 ปี หลังจากนั้นก็ให้ตรวจตาทุกปีหรืออย่างน้อยปีเว้นปีทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ 

          นอกจากนั้นยังมีวิธีการรักษาอีก 2 วิธี คือการสวมแว่นสายตาหรือการทำเลสิก ในกรณีที่มีสายตาผิดปกติ และการผ่าตัดกล้ามเนื้อตา สำหรับผู้ที่มีตาเขร่วมด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจักษุแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยอย่างละเอียด และเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับคนไข้ เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด 

          จะเห็นได้ว่าโรคตาขี้เกียจ มีวิธีการรักษาที่ไม่ยุ่งยากและมีอาการไม่รุนแรงนัก สำคัญคือผู้ปกครองจะต้องใส่ใจในดวงตาของตนเองและบุตรหลาน หมั่นสังเกต และเข้ารับการตรวจสายตาเป็นประจำ หากพบความผิดปกติควรรีบเข้าพบจักษุแพทย์เพื่อขอคำแนะนำและรีบทำการรักษาโดยทันที เพราะดวงตาเรามีติดตัวกันมาคนละคู่ หากเสียไป หรือคุณภาพการมองเห็นไม่ดีเท่าที่ควร อาจเป็นเรื่องที่ได้ไม่คุ้มเสียอย่างแน่นอน 






Create Date : 22 มีนาคม 2558
Last Update : 22 มีนาคม 2558 21:23:43 น. 1 comments
Counter : 682 Pageviews.

 
สวัสดีนะจ้ะ เราแวะมาเยี่ยมนะจ้ะ ^____^ สักคิ้ว 6 มิติ ลบรอยสักคิ้วด้วยเลเซอร์ ลบรอยสักคิ้ว Eyebrow Tattoo Removal เพ้นท์คิ้วลายเส้น เพ้นท์คิ้ว 3 มิติ
ให้ใจหายใจ สุขภาพ วิธีลดความอ้วน การดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกาย สุขภาพผู้หญิง สุขภาพผู้ชาย สุขภาพจิต โรคและการป้องกัน สมุนไพรไทย ผู้หญิง ศัลยกรรม ความสวยความงาม แม่ตั้งครรภ์ สุขภาพแม่ตั้งครรภ์ พัฒนาการตั้งครรภ์ 40 สัปดาห์ อาหารสำหรับแม่ตั้งครรภ์ โรคขณะตั้งครรภ์ การคลอด หลังคลอด การออกกำลังกาย ทารกแรกเกิด สุขภาพทารกแรกเกิด ผิวทารกแรกเกิด การพัฒนาการของเด็กแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิด โรคและวัคซีนสำหรับเด็กแรกเกิด เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ อาหารสำหรับทารก เด็กโต สุขภาพเด็ก ผิวเด็ก การพัฒนาการเด็ก การดูแลเด็ก โรคและวัคซีนเด็ก อาหารสำหรับเด็ก การเล่นและการเรียนรู้ ครอบครัว ชีวิตครอบครัว ปัญหาภายในครอบครัว ความเชื่อ คนโบราณ


โดย: peepoobakub วันที่: 14 มีนาคม 2560 เวลา:14:22:10 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 1025194
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 1025194's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.