...............................................................<พัฒนาตัวเอง เปิดโลกกว้าง เดินบนเส้นทางสายธรรมะ.....แม้หนทางจะมีอุปสรรค แต่เราไม่หวั่น เพราะเรามีกันและกัน บนเส้นทางนี้
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2553
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
3 พฤษภาคม 2553
 
All Blogs
 
ผจญภัยบนเส้นทางสายไหม ตามรอยท่านพระถังซัมจั๋งอัญเชิญพระไตรปิฏก

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีตำนานกล่าวขานที่ยิ่งใหญ่ถึงภารกิจศักดิ์สิทธิ์ของ

พระสงฆ์ผู้โด่งดังท่านหนึ่ง นามของท่านคือ พระถังซัมจั๋ง...............

ข้าพเจ้าขออัญเชิญเรื่องราวของท่านมาเรียบเรียงใหม่ ณ ที่นี่ เพื่อเป็น

ธรรมทานแด่ตัวข้าพเจ้า ครอบครัว และกัลยาณมิตร.............

จากคุณ : เวลากิ้งกือ
เขียนเมื่อ : 3 พ.ค. 53 22:17:33




--------------------------------------------------------------------------------

bookmark เก็บเข้าคลังกระทู้ ส่งต่อกระทู้ พิมพ์ หน้าหลัก กระทู้ก่อนหน้า กระทู้ถัดไป








--------------------------------------------------------------------------------

ความคิดเห็นที่ 1

“พระถังซำจั๋ง”


สำหรับเด็กๆ ผู้เคยอ่านนวนิยายหรือการ์ตูน 'ไซอิ๋ว' หรือ ในชื่อภาษาจีนกลางคือ ซีโหยวจี้ (西游记) หนึ่งในสี่ยอดวรรณกรรมอมตะของแผ่นดินจีน ก็คงทราบดีว่า ตามท้องเรื่องนั้น พระถังซำจั๋งได้รับพระบัญชาขององค์ฮ่องเต้แห่งราชวงศ์ถัง ให้เดินทางไปยังดินแดนชมพูทวีป เพื่ออัญเชิญพระไตรปิฎกมายังแผ่นดินจีน โดยระหว่างการเดินทาง พระถังซำจั๋ง มีศิษย์คอยรับใช้เป็นสัตว์เดียรัจฉานสามตน คือ ลิงเห้งเจีย (ซุนอู่คง:孙悟空) สุกรตือโป๊ยก่าย (จูปาเจี้ย:猪八戒) และ ปลาซัวเจ๋ง (ซาอู้จิ้ง:沙悟净)


หลังผ่านภยันอันตรายนานับประการ สุดท้าย คณะของพระถังซำจั๋ง ก็บรรลุจุดมุ่งหมายเดินทางไปถึงชมพูทวีป อัญเชิญพระไตรปิฏกกลับถึงแผ่นดินจีนสำเร็จ


ไซอิ๋ว เป็นหนังสือที่เด็กๆ ชาวเอเชียตะวันออก รวมถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แทบจะทุกคนรู้จัก หากพูดถึงในการละเล่นของวัยเยาว์ เด็กผู้ชาย แทบจะทุกคนใฝ่ฝันอยากจะเป็นเห้งเจีย บ้างยอมเป็นซัวเจ๋ง ใครที่รูปร่างอ้วนท้วนสมบูรณ์ หน่อยก็จะถูกจับให้เป็น ตือโป๊ยก่าย (ทั้งๆ ที่เจ้าตัวก็รับมาอย่างไม่เต็มใจนัก) มีน้อยคนนักที่จะยินยอมเป็น 'พระถังซำจั๋ง'


แต่เด็กคนใด จะทราบบ้างว่า ในความเป็นจริงแล้วการเดินทางไปอัญเชิญพระไตรปิฎกมาจากอินเดียนั้น พระถังซำจั๋ง บุกป่าฝ่าฟันอุปสรรค์นานับประการ ข้ามทะเลทราย สุดลูกหูลูกตาไปแต่เพียงผู้เดียว ....




ภาพวาดฝาผนังพระถังซำจั๋ง (玄奘) ที่ตุนหวง (敦煌) มณฑลกานซู่


พระถังซำจั๋ง มีตัวตนจริงเมื่อ 1,300 กว่าปีที่แล้ว โดยได้ฉายานามหลังจากออกบวชว่า เสวียนจั้ง (玄奘; ค.ศ.600-665) พระเสวียนจั้ง ดำรงชีวิตอยู่ใน ช่วงปลายราชวงศ์สุยถึงช่วงต้นราชวงศ์ถัง ท่าน มีนามเดิมว่า เฉินอี (陈袆) เกิดที่ลั่วโจว (洛州; ปัจจุบันอยู่ในมณฑลเหอหนาน) ในครอบครัวที่บิดาเคร่งครัดลัทธิขงจื๊อมาก ท่านมีพี่น้องรวม 5 คน โดยท่านเป็นบุตรคนสุดท้อง


พออายุได้สิบขวบ บิดาของท่านก็เสียชีวิตตามมารดาที่เสียชีวิตไปก่อนหน้าแล้ว เนื่องจากชีวิตวัยเด็กอันลำบาก แต่ด้วยความเฉลียวฉลาด สนใจการศึกษาเรียนรู้ และความใฝ่ในธรรมะ พี่ชายของท่านสังเกตเห็นว่าน้องชายพอมีหัวทางศาสนาจึงฝากน้องไว้ศึกษาธรรมะที่วัดจิ้งถู่ (净土寺) ในนครลั่วหยาง พออายุได้ 13 ปี จึงบรรพชาเข้าสู่ร่มกาสวพัสตร์


ต่อมาเมื่อราชวงศ์สุยถึงจุดสิ้นสุด บ้านเมืองวุ่นวาย ท่านจำต้องย้ายสถานที่จำวัดจากนครลั่วหยาง ไปยังฉางอาน (ซีอานปัจจุบัน) แต่ด้วยความวุ่นวายในการแย่งชิงบัลลังก์ในนครหลวงทำให้ไม่เหมาะที่จะจำวัด ท่านและพี่ชายจึงมุ่งลงใต้ย้ายไปยังนครเฉิงตู


ต่อมาเมื่อบ้านเมืองสงบแล้ว พระเสวียนจั้งจึงตั้งใจว่าก็ย้ายกลับมาจำวัดที่นครฉางอานอันเป็นเมืองหลวง และศูนย์กลางของศาสนาพุทธในจีนขณะนั้น เพื่อเสาะหาพระอาจารย์ที่มีความรู้ลึกซึ้งในพระธรรม และฝากตัวเข้าศึกษาด้วย


ในประเทศจีนขณะนั้น ด้วยความที่ศาสนาพุทธ ได้เดินทางจากประเทศอินเดียผ่านเส้นทางสายไหมอันทุรกันดาร เข้ามาตั้งแต่สมัยฮั่นตะวันออก (东汉; ค.ศ.25-220) เวลาผ่านมาถึงสมัยถังรวม 500 กว่าปีแล้ว การตีความพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็แตกแขนงออกไปเป็นหลากแนวทางหลายสำนัก เมื่อ พระเสวียนจั้งศึกษาพระคัมภีร์จนแตกฉานมากขึ้นก็บังเกิดข้อสงสัยขึ้นมากมาย แต่เมื่อหาคำตอบแล้วกลับพบว่า แต่ละสำนัก ต่างก็ตีความไปคนละทิศละทาง




ภาพวาดพระถังซำจั๋ง


ดังนั้นท่านจึงเกิดข้อสันนิษฐานขึ้นว่าการแปล พระไตรปิฎกจากต้นฉบับมาเป็นภาษาจีนนั้นอาจทำให้ความดั้งเดิมในพระไตรปิฎกคลาดเคลื่อน และตัดสินใจว่า จะต้องเดินทางย้อนไปยังดินแดนอันเป็นต้นธารกำเนิดของศาสนาพุทธ ซึ่งก็คือ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน เพื่อศึกษาพระไตรปิฎกฉบับดั้งเดิมและคัดลอกนำกลับมายังแผ่นดินจีนให้ได้


อย่างไรก็ตามการเดินทางออกจาก มหานครฉางอานในช่วงที่สงคราม การเปลี่ยนราชวงศ์เพิ่งสงบ และเกิดการแย่งบัลลังก์กันในราชสำนักนั้นกลับมิใช่เรื่องง่ายแต่ประการใด โดยเฉพาะในปี ค.ศ.627 อันเป็นปีแรกที่ หลี่ซื่อหมิน (李世民) เพิ่งแย่งบัลลังก์มาจากพี่ชายหลี่เจี้ยนเฉิง (李建成) และขึ้นครองราชย์แทนหลี่ยวน (李渊) ผู้พ่อได้สำเร็จ


ด้วยความที่แผ่นดินจีนในขณะนั้นยังไม่มีเสถียรภาพ องค์ฮ่องเต้ถังไท่จง (หลี่ซื่อหมิน)จึงควบคุมการเดินทางเข้าออกนครฉางอานอย่างเข้มงวด ทั้งนี้เมื่อ พระเสวียนจั้ง ได้ขออนุญาตเดินทางออกจากฉางอานไปยังอินเดีย (เหมือนกับขอพาสปอร์ตในปัจจุบัน) ถึง 3 ครั้งแต่ไม่สำเร็จ ท่านจึงแอบลักลอบเดินทางออกจากนครฉางอานโดยผิดกฎหมายในเวลาค่ำคืน เพื่อหลบหลีกการไล่ล่าของทหารตรวจคนเข้าเมือง .... เดินทางอย่างโดดเดี่ยว"


พระเสวียนจั้ง (หรือ พระถังซำจั๋งในไซอิ๋ว) มิได้มีเงินถุงเงินถังจากราชสำนักเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปอัญเชิญไตรปิฎกถึงอินเดีย มิได้มีผู้ช่วยเหลือเป็น เห้งเจีย ตือโป๊ยก่าย ซัวเจ๋ง แต่อย่างใด อย่างไรก็ตามอุปสรรคที่ท่านต้องประสบพบนั้นกลับมิได้ลดน้อยไปกว่า เรื่องราวที่วรรณกรรมระบุแม้แต่น้อย


ท่านเสวียนจั้ง เพียงมี ความศรัทธาต่อศาสนาพุทธ เป็นเข็มทิศ เป็นแรงผลักดันให้เท้าก้าวเดิน ฝ่าฟันข้ามดินแดนอันแห้งแล้งมุ่งไปยังจุดหมายข้างหน้าที่สายตามิอาจมองเห็น ....




รูปปั้นพระเสวียนจั้ง ณ เจดีย์ห่านป่าใหญ่ (ต้าเอี้ยนถ่า:大雁塔) วัดต้าฉือเอิน (大慈恩寺) เมืองซีอาน


ปี ค.ศ.627 หลังจากออกจากฉางอาน พระเสวียนจั้ง เผชิญกับสภาวะธรรมชาติอันโหดร้าย เดินทางข้ามทะเลทรายอันเวิ้งว้าง ภูเขาหิมะหนาวเหน็บ ทุ่งหญ้าที่กว้างไกลสุดลูกหูลูกตา ผจญกับอุปสรรคและสิ่งเย้ายวนสารพัดสารพัน โจรปล้นคณะพ่อค้า ลูกไม้รั้งท่านให้อยู่แสดงธรรมต่อของกษัตริย์ในประเทศต่างๆ ที่เป็นทางผ่าน ด้วย สตรี อำนาจ ทรัพย์สิน


พระเสวียนจั้ง เดินทางผ่าน 16 ประเทศ ใช้เวลาทั้งหมด 4 ปี ฝ่าฟันอุปสรรคกายและอุปสรรคใจ ทั้งมวลมาถึงจุดหมายคือ มหาวิทยาลัยนาลันทา (那烂陀) ในประเทศอินเดียที่แต่เดิมชาวจีนเรียกว่า จู๋กั๋ว (竺国)


พระเสวียนจั้งใช้เวลาศึกษาพระไตรปิฎกที่มหาวิทยาลัยนาลันทา เป็นเวลา 6 ปีก่อนออกเดินทางไปทั่วประเทศอินเดียเพื่อเปิดโลกทัศน์ให้กับตนเอง ก่อนจะออกเดินทางกลับประเทศจีนพร้อมกับพระไตรปิฎกที่คัดลอกมาจากต้นฉบับในปี ค.ศ.643


ในเส้นทางขากลับจากอินเดีย พระเสวียนจั้งใช้เวลาเดินทางน้อยกว่าขาไปครึ่งหนึ่ง คือ ใช้เวลา 2 ปี โดยกลับถึงนครฉางอานเมื่อ ปี ค.ศ.645 พร้อมกับอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ 150 องค์ พระไตรปิฎกจำนวน 257 เล่มสมุด บรรทุกด้วยม้าจำนวน 20 ตัว รวมระยะเวลาที่ท่านจากบ้านไปอัญเชิญพระไตรปิฎกที่อินเดียนานถึง 19 ปี รวมระยะการเดินทางกว่า 50,000 ลี้


"ระหว่างเส้นทางของการเดินทางกลับของพระเสวียนจั้ง ในบางช่วงท่านอาศัยเดินทางกับคณะพ่อค้าที่กำลังเดินทางมาค้าขายที่ฉางอาน แต่ก็โชคไม่ดีนักที่ คณะรวม 24 คนถูกโจรปล้นฆ่าเอาสินค้าไปไม่น้อย โดย สุดท้ายเมื่อมาถึงเมืองฉางอาน จากจำนวน 24 คน ต้องเสียชีวิตไปเสีย สองในสาม เหลือรอดมาได้เพียง 8 คน โดย พระเสวียนจั้งนั้นต้องขอร้องให้โจรละเว้นตัวท่านกับพระไตรปิฎกที่อุตสาหะไปนำมาจากอินเดีย"


"เมื่อกลับมาถึงเมืองจีน การเผยแพร่ศาสนาพุทธของ พระเสวียนจั้งก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากในราชสำนักขณะนั้นฮ่องเต้ยังคงยึดถึง ลัทธิและคำสอนของขงจื๊อเป็นหลัก โดย กว่าที่จะกล่อมองค์ฮ่องเต้ให้หันมานับถือศาสนาพุทธได้นั้น พระเสวียนจั้งก็ต้องใช้เวลากว่า 20 ปี ตั้งแต่ ฮ่องเต้ถังไท่จง เรื่อยมาจนถึงพระราชโอรส ฮ่องเต้ถังเกาจง"


ในเวลาต่อมาด้วยการอุทิศตนของ พระเสวียนจั้ง ท่านได้แปลพระไตรปิฎกฉบับดั้งเดิมให้เป็นภาษาจีน จำนวนมากถึง 75 เล่มสมุด 1,335 ม้วน ซึ่งในปัจจุบัน พระไตรปิฎกฉบับแปลโดย พระเสวียนจั้ง ดังกล่าวก็ยังคงใช้กันอย่างแพร่หลายในวงพุทธศาสนาของประเทศจีน


นอกจากพระไตรปิฎกฉบับแปลเป็นภาษาจีน ที่พระเสวียนจั้งได้ทิ้งไว้เป็นมรดกอันล้ำค่าสำหรับชาวจีนและชาวเอเชียตะวันออกแล้ว ท่านยังได้ทิ้ง 'บันทึกดินแดนตะวันตกในสมัยถัง (大唐西域记)' บันทึกประวัติศาสตร์อันมีค่ามหาศาลไว้เป็นมรดกทาง วัฒนธรรม สำหรับชาวโลกรุ่นหลังอีกด้วย

อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ พระถังซำจั๋ง
•กำเนิดมหายาน
•ม่อเกาคู : การสาบสูญและการค้นพบ (2)
•พระพุทธรูปแห่งบามิยัน และพระคัมภีร์พุทธเก่าแก่ที่สุด


ขอบคุณที่มา
//www.:-)/t802.html
--------------------------------------------------------------------------------

จากคุณ : กก (เวลากิ้งกือ)
เขียนเมื่อ : 3 พ.ค. 53 22:23:51










ความคิดเห็นที่ 2

ภาพอักษร ศิลาจารึกระบุว่า มีแผ่นดินไหวและแสงสว่าง 5 สี บนท้องฟ้า
สมัย ราชวงศ์โจว มีการบันทึกประวัติศาสตร์เหตุการณ์อัศจรรย์ที่เกิดขึ้นจริงในสมัยนั้น เหตุการณ์หนึ่งบอกว่า
“ในสมัย กษัตริย์ โจวเจา (โจวเจาหวัง แปลว่า กษัตริย์โจวเจา) ปีที่ 26 เดือน 4 วันที่ 8 (นับแบบจีนโบราณ) ได้เกิดเหตุในเมืองจีนคือ1.น้ำขึ้นในแม่น้ำ(ซึ่งปกติเป็นช่วงน้ำลด) 2.น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติมีน้ำผุดขึ้นมาจนล้นทุกแห่ง3.แผ่นดินไหว 4.มีแสงสว่าง 5 สี (สำนวนจีนแปลว่าหลายสี) พวยพุ่งไปบนท้องฟ้า ส่องสว่างไปถึงยังนอกอวกาศ สุดลูกหูลูกตา ทำให้กษัตริย์ โจวเจา รู้สึกประหลาดใจ จึงสอบถามอำมาตย์ว่าเกิดอะไรขึ้น อำมาตย์ได้กราบทูลตอบว่า “ในทิศตะวันตก(ของจีน)ได้มีอริยบุคคล บังเกิดขึ้นแล้ว” กษัตริย์ โจวเจา จึงถามว่า “แล้วเราจะได้พบคำสอนของท่านผู้นั้นหรือไม่” อำมาตย์ตอบว่า “คำสอนของท่าน(อริยบุคคลนั้น)จะเผยแผ่เข้ามาในแผ่นดินจีนอีก 1 พันปีข้างหน้า” กษัตริย์ โจวเจาจึงมีรับสั่งให้บันทึกเหตุการณ์นี้ไว้ โดยแกะสลักลงบนแผ่น ศิลาประวัติศาสตร์จีน”
80 ปีต่อมา ถึงยุคกษัตริย์ โจวมู่ ก็มีการบันทึกเหตุการณ์แปลกประหลาดอีก คือได้เกิดเหตุการณ์ แผ่นดินไหว มีลมพัดแรงในเมืองจีนและแสงสว่างคล้ายสีรุ้ง 12 เส้น ส่องมาจากทิศตะวันตก ทาบอยู่บนท้องฟ้าของเมืองจีนตลอดคืน อำมาตย์ทำนายว่า “กายหยาบของอริยบุคคลกำลังแตกดับจากโลกนี้ไป”

ซึ่งวันที่ถูกจารึกในสมัย กษัตริย์โจวเจา ได้ตรงกับ วันประสูติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ส่วนวันที่ถูกจารึกในสมัย กษัตริย์โจวมู่ ได้ตรงกับ วันปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นที่น่าอัศจรรย์ที่วันประสูติและปรินิพพานของพระพุทธเจ้าได้เกิด แผ่นดินไหวไปทั่วโลก ซึ่งชาวจีนก็ได้บันทึกไว้ในศิลาจารึกประวัติศาสตร์ของประเทศด้วย

ส่วนในวันตรัสรู้นั้น ได้มีหลักฐานบันทึกไว้ในบทขยายความว่า ก็เกิดเหตุมีแสงสว่างเกิดมาถึงเมืองจีนเช่นกัน
1 พันปีต่อมา ถึงยุคราชวงศ์ ฮั่น ของกษัตริย์ ฮั่นหมิงตี้ พระองค์ฝันเห็นบุรุษในรูปกายทองคำ สูงใหญ่ มีรัศมีเรืองรองกระจายไปทั่ว อำมาตย์ผู้ซึ่งชำนาญในประวัติศาสตร์ของจีน ทำนายฝันว่า “นั่นเป็นภาพของพระศาสดาพระองค์หนึ่ง ที่อยู่ทางทิศตะวันตก ที่เรียกว่า “ฝอ” หรือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งสมัยที่พระองค์มีพระชนม์ชีพก็อยู่ในบริเวณประเทศอินเดีย” อำมาตย์คนที่ 2 ผู้จบการศึกษาสูงสุด กล่าวเสริมว่า “ใช่เลยพระเจ้าข้า เพราะในยุคของกษัตริย์โจวเจา ก็มีบันทึกในศิลาจารึก เรื่องอริยบุคคลในทิศตะวันตกนี้ไว้ ซึ่งตอนนี้ก็ครบ 1 พันปีพอดี ได้ถึงเวลาที่ศาสนาของพระองค์ ควรจะเข้ามาในจีนแล้ว เป็นบุญของพวกเราชาวจีนแล้ว”

กษัตริย์ฮั่นหมิงตี้ จึงส่งคณะทูตอันประกอบด้วยขุนนางผู้มีความรู้จำนวน 18 คนไปอัญเชิญพระพุทธศาสนามาที่เมืองจีน โดยใช้เวลาเดินทางไปกลับถึง 3 ปี ซึ่งคณะทูตทั้ง 18 ได้พบกับพระภิกษุในพระพุทธศาสนาชาวเอเชียกลางผสมกับอินเดีย จำนวน 2 รูป จึงได้นิมนต์ท่านมาที่จีนพร้อมกับพระสูตร พระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธรูป

เมื่อกลับมาถึงจึงได้มีการแปลพระสูตรเป็นภาษาจีนครั้งแรกที่ วัดม้าขาว (ซึ่งปัจจุบัน วัดนี้มีอายุถึง 1,900 ปี แต่เดิมเคยเป็นของความเชื่ออื่นมาก่อน) จึงถือว่าวัดนี้เป็นต้นกำเนิดพระพุทธศาสนาในประเทศจีน



อ้างอิงจาก ซื่อคู่เฉวียนซู : จึปู้ เล่มที่ 21 ซึ่งเป็นหนังสือชุดที่รวบรวมตำราความรู้ของจีนตั้งแต่สมัยราชวงศ์โจว จนถึง ยุคราชวงศ์ชิง

ที่มา //www.hflight.net/forum/m-1210305817/s-26/

จากคุณ : กก (เวลากิ้งกือ)
เขียนเมื่อ : 3 พ.ค. 53 22:27:42










ความคิดเห็นที่ 3

เห้งเจีย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

ภาพเห้งเจียจากตำราจีน
เห้งเจียในละครเวทีเห้งเจีย (อังกฤษ: Magic Monkey) หนึ่งในตัวละครเอกเรื่องไซอิ๋ว เห้งเจียเดิมเป็นหินที่ถูกแสงสุริยันจันทราอาบมากว่า 1,000 ปี วันหนึ่งจึงแตก และมีลิงตัวหนึ่งกระโดดออกมา เจ้าลิงตัวนั้นจึงได้ไปอยู่กับฝูงลิงที่เขาไม้ผล (เขาฮวยก๊วยซัว จีนกลางเรียกว่า เขาฮัวกั่วซาน) และตั้งตัวเป็นหัวหน้าฝูง บรรดาลิงในฝูงนับถือเป็นท่านอ๋อง ฉายา "มุ้ยเกาอ๋อง" (พญาวานรโสภา)

วันหนึ่ง เจ้าลิงหินตัวนี้ เห็นลิงในฝูงตัวหนึ่งตายลงด้วยความแก่ จึงเกิดความคิดจะออกเดินทางไปหาวิชาที่จะไม่ทำให้เจ็บ ไม่ทำให้ตาย จึงออกจากฝูงเดินทางเสาะแสวงหาผู้รู้ไปเรื่อย ๆ ในที่สุดก็พบกับเซียน "โผเถโจ๊ซือ" (สุภูติ) เมื่อเซียนรับเป็นศิษย์ ได้ฝึกวิชาต่าง ๆ เช่น การแปลงกายที่แปลงได้ 72 ร่าง, ตีลังกาได้ไกลกว่า 300 ลี้, ยืด-หดตัวได้, ถอนขนเสกเป็นของต่าง ๆ, ขี่เมฆวิเศษ เป็นต้น พร้อมกับตั้งชื่อให้ว่า "ซุนหงอคง" (จีนตัวเต็ม: 孫悟空; จีนตัวย่อ: 孙悟空; พินอิน: Sūn Wùkōng; เวด-ไจลส์: Sun Wu-k'ung)

เมื่อฝึกวิชาสำเร็จแล้ว หงอคง เกิดลำพองใจ ไปอาละวาด อวดวิชาตามสถานที่ต่าง ๆ ไม่เว้นแม้กระทั่งสวรรค์หรือบาดาล ทำให้ 3 โลก ปั่นป่วนไปหมด เง็กเซียนฮ่องเต้ส่งทหารสวรรค์นับ 10 หมื่นนาย และเทพต่าง ๆ ไปจับ ก็จับไม่ได้ กลับถูกเห้งเจียปราบกลับมาจนเข็ดเขี้ยวตาม ๆ กัน ในที่สุด เง็กเซียนฮ่องเต้ ต้องยอมให้เห้งเจียขึ้นเป็นใหญ่ พร้อมตั้งให้เป็น "มหาเทพ" (ฉีเทียนต้าเซิ้น แปลตามตัวว่า ผู้ยิ่งใหญ่เสมอฟ้าดิน) จากเดิมที่เป็นเพียงคนเลี้ยงม้า (ปี้ม่าอุน) แต่หงอคงก็ยังเหิมเกริมไม่เลิก ในที่สุด องค์ยูไล ต้องเสด็จมาปราบเอง โดยให้หงอคงถูกทับด้วยภูเขาหินนาน 500 ปี และผู้ที่จะช่วยออกมาได้ คือ พระถังซัมจั๋ง ผู้เดียวเท่านั้น และเห้งเจียต้องบวชเป็นลูกศิษย์รับใช้พระถังซัมจั๋งไปชมพูทวีป และมีหน้าที่คุ้มครองพระถังซัมจั๋งไปตลอดทาง

เมื่อพระถังซัมจั๋งรับหงอคงเป็นศิษย์แล้ว จึงตั้งชื่อให้ใหม่ว่า "เห้งเจีย" หรือ "ซุนเห้งเจีย" แต่เห้งเจียก็ยังคงติดนิสัยเดิม ๆ คือ ใจร้อน ห่าม ดื้อรั้น ไม่เชื่อฟังพระถังซัมจั๋ง พระถังซัมจั๋งมีไม้ตายที่ปราบพยศเห้งเจียคือ รัดเกล้า ที่ได้รับประทานจากพระโพธิสัตว์กวนอิม ที่รัดอยู่กับหัวของเห้งเจีย เมื่อเห้งเจียพยศเมื่อไหร่ พระถังซัมจั๋ง จะสวดมนต์ เห้งเจียจะเจ็บปวดมาก รัดเกล้าอันนี้จะหายไปเมื่อภารกิจได้เสร็จสิ้นแล้ว

ตลอดระยะเวลาการเดินทาง ต้องผจญกับอุปสรรคนานับประการ โดยเฉพาะปีศาจ ที่มักปลอมตัวมาหลอกลวงให้เข้าใจผิด โดยเฉพาะกับพระถังซัมจั๋ง ซึ่งเห้งเจียมักจะมองปีศาจออกก่อนทุกครั้ง และลงมือทำร้ายไปก่อน จึงสร้างความขัดแย้งให้กับศิษย์ อาจารย์ คู่นี้ไปตลอด ว่ากันว่า เป็นการเจตนาสร้างความขัดแย้งของตัวละคร ซึ่งสะท้อนถึงบุคคลิกของบุคคลในลักษณะต่าง ๆ

อาวุธสำคัญของเห้งเจีย คือ กระบองวิเศษ ที่ปกติจะเก็บไว้ในรูหู สามารถยืด-หดได้ ซึ่งเดิมเป็นเสาค้ำมหาสมุทร ของเจ้าสมุทรทะเลใต้ (ทะเลตงไห่) และมีพาหนะเป็นเมฆวิเศษ

ปัจจุบัน หงอคง หรือ เห้งเจีย ได้รับการนับถือจากชาวจีน โดยตามศาลเจ้าบางแห่ง จะมีรูปเคารพ และนับถือเป็น เทพวานร หรือเจ้าพ่อเห้งเจีย เป็นต้น

จากคุณ : dd (เวลากิ้งกือ)
เขียนเมื่อ : 3 พ.ค. 53 23:31:25









Create Date : 03 พฤษภาคม 2553
Last Update : 3 พฤษภาคม 2553 23:35:30 น. 1 comments
Counter : 1778 Pageviews.

 


โดย: นนนี่มาแล้ว วันที่: 16 พฤษภาคม 2553 เวลา:20:54:49 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

เวลากิ้งกือ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ในการค้นหาตัวเอง และเรียนรู้โลกกว้าง

...ยินดีต้อนรับเพื่อนพ้องน้องพี่ทุกท่านค่ะ ......................เวลากิ้งกือจากห้องศาสนา คลับมิตติ้ง เที่ยววัด ทำบุญค่ะ....

lozocat
Friends' blogs
[Add เวลากิ้งกือ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.