For my little prince "MONO"
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
 
5 กุมภาพันธ์ 2552
 
All Blogs
 
การนอนกรนในเด็ก..ปัญหาที่ใหญ่กว่าที่คิด

จาก //www.sleepgroup.com

เด็กนอนกรน...เป็นอะไรรึเปล่า

โรคนอนกรนในเด็ก สำหรับเด็ก ก็มีอันตรายจากการนอนกรนได้เช่นกัน โดยผลเสียที่เกิดได้ มีดังต่อไปนี้
• กรนเสียงดัง อ้าปากหายใจ หายใจแรง จนบางครั้งเห็นว่ามีรอยบุ๋มบริเวณหน้าอกและคอขณะหายใจเข้า
• พัฒนาการของสมองและร่างกายจะแย่ลง เพราะเกิดภาวะขาดออกซิเจนในขณะนอนหลับ
• ฮอร์โมนเจริญเติบโต (growth hormone) ซึ่งมีการหลั่งออกมาในขณะหลับสนิท มีปริมาณลดลงไม่เพียงพอ เนื่องจากการนอนหลับไม่ดี ทำให้ร่างกายของเด็กที่เป็น ไม่โตเท่าที่ควร โดยเฉพาะความสูง
• ปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน หรือปัสสาวะรดที่นอนได้
• หลับไม่สนิท นอนดิ้นไปดิ้นมา เหมือนนอนหลับไม่สบาย
• ผวาตื่น หรือฝันร้ายได้
• ในรายเด็กที่มีต่อมอะดินอยด์ใหญ่มาก จะอ้าปากเสมอเวลานอน ทำให้มีลักษณะกระดูกเพดานปากโก่งสูง ฟันหน้ายื่นเหยินออกมาจนผิดรูปได้ เนื่องจากเด็กหายใจเข้าออกผ่านทางปาก ไม่ค่อยหายใจทางจมูกซึ่งเป็นช่องทางหายใจตามปกติ
• นั่งสัปหงกในห้องเรียน ไม่มีสมาธิในการเรียน ความสามารถในการจดจำลดลง เรียนหนังสือไม่เก่ง ทั้งๆ ที่น่าจะเรียนได้ดีกว่านี้
• หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย เพราะหลับไม่พอ




หัวข้อ:นอนกรน

รายละเอียด:
ลูกชายอายุสองขวบครึ่ง บางครั้งชอบนอนกรนไม่ทราบว่าเกิดจากสาเหตุอะไรค่ะ และมีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไรบ้างค่ะขอคำแนะนำด้วยค่ะ
จากคุณ: นฤมล วัน / เวลา: [12 ก.ย. 2545 / 13:10:57]



แสดงความคิดเห็น(#1)
โรคนอนกรนในเด็ก สำหรับเด็กอาจมีอันตรายจากการนอนกรนได้ โดยผลเสียที่เกิดได้ มีดังต่อไปนี้
- กรนเสียงดัง อ้าปากหายใจ หายใจแรง จนบางครั้งเห็นว่ามีรอยบุ๋มบริเวณหน้าอกและคอขณะหายใจเข้า
- พัฒนาการของสมองและร่างกายจะแย่ลง เพราะเกิดภาวะขาดออกซิเจนในขณะนอนหลับ
- ฮอร์โมนเจริญเติบโต (growth hormone) ซึ่งมีการหลั่งออกมาในขณะหลับสนิท มีปริมาณลดลงไม่เพียงพอ เนื่องจากการนอนหลับไม่ดี ทำให้ร่างกายของเด็กที่เป็น ไม่โตเท่าที่ควร โดยเฉพาะความสูง
- ปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน หรือปัสสาวะรดที่นอนได้
- หลับไม่สนิท นอนดิ้นไปดิ้นมา เหมือนนอนหลับไม่สบาย
- ผวาตื่น หรือฝันร้ายได้
- ในรายเด็กที่มีต่อมอะดินอยด์ใหญ่มาก จะอ้าปากเสมอเวลานอน ทำให้มีลักษณะกระดูกเพดานปากโก่งสูง ฟันหน้ายื่นเหยินออกมาจนผิดรูปได้ เนื่องจากเด็กหายใจเข้าออกผ่านทางปาก ไม่ค่อยหายใจทางจมูกซึ่งเป็นช่องทางหายใจตามปกติ
- นั่งสัปหงกในห้องเรียน ไม่มีสมาธิในการเรียน ความสามารถในการจดจำลดลง เรียนหนังสือไม่เก่ง ทั้งๆ ที่น่าจะเรียนได้ดีกว่านี้
- หงุดหงิด ฉุนเฉียวง่าย เพราะหลับไม่พอ

ส่วนเรื่องสาเหตุ ในเด็ก อาการนอนกรน มักมีสาเหตุมาจาก
- ต่อมทอนซิล (ที่เห็นอยู่ข้างลิ้นไก่ในคอทั้งสองข้าง) มีขนาดโตมาก เพราะมีการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการอักเสบเรื้อรังของบริเวณช่องคอ
- ต่อมอะดินอยด์ (อยู่บริเวณด้านหลังโพรงจมูก) มีขนาดโตมาก เพราะมีการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการอักเสบเรื้อรังของบริเวณช่องจมูก รวมทั้งโพรงไซนัส
- ภาวะจมูกอักเสบเรื้อรัง เช่น โรคภูมิแพ้ เพราะเป็นเหตุให้แน่นจมูก หายใจไม่สะดวก ต้องอ้าปากช่วย ยิ่งทำให้นอนกรนได้มากขึ้น
- ไซนัสอักเสบ โดยเฉพาะไซนัสอักเสบเรื้อรัง จะมีน้ำมูกข้น และจมูกบวม ทำให้หายใจทางจมูกไม่สะดวก จึงนอนกรนได้
- ภาวะที่มีเนื้องอกในโพรงจมูก เช่น ริดสีดวงจมูก หรือมีผนังกั้นจมูกคด ซึ่งมักเกิดร่วมกับเยื่อบุจมูกบวมโต ทำให้หายใจทางจมูกไม่สะดวก จึงนอนกรน
- ในบางราย มีความผิดปกติแต่กำเนิด ทำให้กระดูกใบหน้าเล็ก หรือมีเนื้อเยื่อในทางเดินหายใจใหญ่ เช่นมีลิ้นโต เป็นสาเหตุให้มีภาวะอุดตันของทางเดินหายใจได้ขณะนอนหลับ
มีปัญหาต้องการทราบเพิ่มเติม คุณนฤมลสามารถติดต่อได้ที่ //www.sleepgroup.com



จากคุณ: ผศ.นพ.ประกอบเกียรติ หิรัญวิวัฒน์กุล วัน / เวลา: [16 ก.ย. 2545 / 12




แนะนำทีมงานแพทย์



ชื่อ : รศ.นพ.ประกอบเกียรติ หิรัญวิวัฒน์กุล
PRAKOBKIAT HIRUNWIWATKUL

ภาควิชา
โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา หน่วย ศัลยกรรมศีรษะและคอ

การศึกษา
มัธยมปลาย : เตรียมอุดมศึกษา
วทบ. : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พบ. : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2529


อื่นๆ :
วุฒิบัตร โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา พ.ศ. 2535
Postdoctoral Fellowship, Stanford University, U.S.A. พ.ศ. 2542

บรรจุเป็นอาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536

เป็นแพทย์เชี่ยวชาญและชำนาญทางด้าน
:โรคนอนกรน (Sleep-Disordered Breathing)
: Maxillofacial Surgery
: ศัลยกรรมศีรษะและคอ

ติดต่อได้ที่
E-mail : - sleepgroup@gmail.com


โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

คลินิกรักษาโรคนอนกรน
(Sleep-disordered Breathing Clinic)
ในเวลาราชการ
เช้า (9.00-12.00)
บ่าย (13.00-15.00)

ในเวลานอกราชการ

เย็น(16.30-19.30)

จันทร์ คลินิกนอนกรน (ในเวลาราชการ)

อังคาร (ไม่มีออกตรวจ)
พุธ คลินิกนอนกรน (ในเวลาราชการ)
คลินิกนอนกรน (นอกเวลาราชการ)

พฤหัส คลินิกนอนกรน(นอกเวลาราชการ)

ศุกร์ คลินิกนอนกรน (ในเวลาราชการ)


โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

คลินิกรักษาโรคนอนกรน
(Sleep-disordered Breathing Clinic)

เช้า

(9.00-12.00)
บ่าย

(13.00-15.00)
เย็น

(16.30-19.30)

จันทร์ คลินิกนอนกรน
(ในเวลาราชการ)

อังคาร
พุธ
คลินิกนอนกรน
(ในเวลาราชการ)
คลินิกนอนกรน
(นอกเวลาราชการ)

พฤหัส

คลินิกนอนกรน
(นอกเวลาราชการ)

ศุกร์ คลินิกนอนกรน
(ในเวลาราชการ)

แนวทางการตรวจรักษา

มีสิ่งจำเป็นที่ต้องทำ 2 อย่าง ประการแรกคือ การหาตำแหน่งของทางเดินหายใจที่แคบที่เป็นปัญหา และประการที่สองคือ การประเมินความรุนแรงของอาการนอนกรน ว่าเป็นนอนกรนเสียงดังชนิดไม่อันตราย หรือนอนกรนชนิดอันตรายที่มีการหยุดหายใจจากทางเดินหายใจอุดตันขณะนอนหลับ ซึ่งข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ ผู้ป่วยไม่สามารถทราบได้เอง จำเป็นต้องไปรับการตรวจกับแพทย์เฉพาะด้านนี้โดยตรง

แพทย์ที่ให้การดูแลปัญหาเรื่องนอนกรน จะมีอยู่ 2 กลุ่มด้วยกัน คือ กลุ่มแรก อาจจะเป็น อายุรแพทย์หรือกุมารแพทย์สาขาโรคระบบทางเดินหายใจ รวมทั้งจิตแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ โดยแพทย์ในกลุ่มนี้ จะมีความชำนาญในการประเมินความรุนแรงของโรค และรักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัด .กกลุ่มหนึ่งคือศัลยแพทย์ด้านหู คอ จมูก ที่เชี่ยวชาญเฉพาะโรคนอนกรน จะมีความสามารถในการตรวจวินิจฉัย หาตำแหน่งของทางเดินหายใจที่แคบหรืออุดตัน และให้การรักษาโดยวิธีผ่าตัด
เมื่อท่านไปปรึกษาแพทย์ ท่านจะได้รับแบบสอบถามสำหรับบันทึกประวัติที่สำคัญที่แพทย์ต้องการทราบ อาทิเช่นอาการสำคัญที่นำมาพบแพทย์ โรคประจำตัว การใช้ยา ดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่ และอาการอื่นๆ ที่มี เพื่อนำมาประเมินความรุนแรงของการนอนกรนอย่างคร่าวๆ ชั่งน้ำหนักและวัดความสูง ตรวจความดันเลือด วัดรอบคอ ตรวจลักษณะโครงสร้างใบหน้า ตรวจจมูก ช่องคอ และทำการตรวจร่างกายอย่างละเ.ยด หลังจากนั้นแพทย์จะใช้กล้องส่องตรวจขนาดเล็กสอดเข้าไปทางรูจมูกเพื่อตรวจสภาพทางเดินหายใจส่วนบนอย่างละเ.ยด และส่งตรวจเอ็กซเรย์ Lateral cephalogram เพื่อหาตำแหน่งอุดตัน และดูรายละเ.ยดของทางเดินหายใจส่วนบน

ถ้าผลการตรวจข้างต้น มีลักษณะผิดปกติที่ทำให้แพทย์วินิจฉัยว่าท่านน่าจะเป็นโรคนอนกรนชนิดอันตราย แพทย์จะแนะนำให้ตรวจการนอนหลับ เพื่อให้ทราบว่า ท่านเป็นโรคนอนกรนชนิดอันตรายจริงหรือไม่ รุนแรงมากน้อยเท่าใด การหยุดหายใจมีผลกระทบต่อสมองและหัวใจแค่ไหน และสุดท้ายต้องการทดสอบว่าการรักษาจะได้ผลดีหรือไม่


การซักประวัติ

การซักประวัติผู้ป่วย นอกจากจะได้ประวัติการนอนหลับ การตื่นในตอนกลางคืน การมีอาการง่วงนอนมากในตอนกลางวัน การซักถามจากคนใกล้ชิด สามี ภรรยา ญาติ พี่น้อง เพื่อน จะช่วยในการวินิจฉัยได้เป็นอย่างมาก ลักษณะความผิดปกติเหล่านี้เกิดในขณะที่ผู้ป่วยหลับ ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้ตัวว่าตนมีอาการนอนกรนเสียงดังมาก ไม่รู้สึกถึงการหายใจไม่สม่ำเสมอ หรือเหตุการณ์ต่างๆ เช่น การกระสับกระส่ายอยู่บนเตียง การนอนกรนแล้วเสียงกรนหยุดหายไปชั่วขณะแล้วกลับมาหายใจ.ก และกรนเสียงดัง.กเป็นระยะๆ แล้วหยุดหายใจ.ก ประวัติเหล่านี้จะบอกเล่าได้โดยผู้ใกล้ชิด

ช่วงที่ร่างกายมีการหยุดหายใจนั้น ร่างกายจะพยายามเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับชีวิตโดยทำให้การหยุดหายใจนั้นสิ้นสุดลง โดยการเปลี่ยนแปลงจากหลับลึกเป็นสะดุ้งตื่นขึ้นในทันทีทันใด เรียกการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า arousal เมื่อเกิด arousal ขึ้น การหยุดหายใจจะสิ้นสุด และผู้ป่วยจะกลับมาหายใจได้.กครั้ง เมื่อเกิด arousal ไม่ทุกครั้งที่ผู้ป่วยจะตื่นขึ้นมา แต่อาจทำให้ผู้ป่วยหลับตื้นขึ้นกว่าเดิม จึงเป็นการอธิบายว่าผู้ป่วยจำเหตุการณ์หยุดหายใจขณะหลับไม่ได้ อย่างมากอาจจะอธิบายว่าตื่นขึ้นมาเพราะหายใจไม่ออก (Chocking) ในคืนหนึ่งๆ อาจจะมีการหยุดหายใจเป็นร้อยครั้ง ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดจะสังเกตได้ชัด แต่ผู้ป่วยเองจะรู้สึกตื่นขึ้นมาเพียง 3-4 ครั้งเท่านั้น หรือไม่ตื่นเลย บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยรู้สึกตัวไปในรูปแบบอื่น เช่น ฝันร้าย หรือ รู้สึกคล้ายกับว่าจะปวดปัสสาวะ ซึ่งเป็นผลมาจาก arousal นั่นเอง ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะบ่นว่ามีอาการคอแห้ง ริมฝีปากแห้งในตอนเช้าหลังจากตื่นนอน เนื่องจากผู้ป่วยมีการหายใจทางปากตลอดทั้งคืน ทำให้หลังจากตื่นนอนจะรู้สึกไม่สดใส มีอาการมึนศีรษะ บางรายมีอาการปวดศีรษะ บางรายมีการหลับๆ ตื่นๆ ตลอดทั้งคืน


ขั้นตอนการรักษา

ถ้าแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคนอนกรนชนิดอันตรายแน่นอนแล้ว จะมีขั้นตอนในการรักษาอย่างไร การรักษาโรคนอนกรน ในชั้นต้นอาจให้ผู้ป่วยลองใช้การรักษาโดยใช้เครื่อง CPAP ซึ่งเป็นเครื่องช่วยหายใจสำหรับติดที่จมูกสำหรับใส่ตอนนอน เพื่อเป่าลมเข้าไปถ่างไม่ให้ทางเดินหายใจอุดตัน โดยทั่วไปผู้ป่วยที่ใช้เครื่อง CPAP จะรู้สึกไม่สะดวกสบายในช่วงแรก เพราะไม่เคยชิน แต่เมื่อผ่านไปสักไม่กี่วัน จะรู้สึกว่า นอนหลับสนิทขึ้น ตื่นเช้ามารู้สึกสดชื่นแจ่มใส แล้วอาการง่วงเหงาหาวนอน ก็จะหายไปเป็นปลิดทิ้ง เหมือนใส่แว่นสายตาแล้วเห็นชัด ส่วนคนไหนรู้สึกว่าไม่สะดวกที่จะใช้เครื่อง CPAP ไปตลอดชีวิต หรือมีปัญหาในการใช้เครื่อง อาจเลือกการรักษาโดยการผ่าตัด ซึ่งปัจจุบัน มีผลการรักษาอยู่ในเกณฑ์ดี

ถ้าผู้ป่วยยังไม่อยากรับการรักษาตอนนี้ จะรอไปได้นานแค่ไหน ถ้าผลการตรวจการนอนหลับ พบว่ามีการหยุดหายใจน้อย และไม่มีโรคประจำตัว อย่างเช่นความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ก็ยังพอรอได้ แต่ต้องติดตามการรักษา ระหว่างนั้นควรควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกาย พยายามหลีกเลี่ยงท่านอนหงาย และห้ามกินเหล้าหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกประเภท รวมทั้งยาที่ทำให้ง่วงนอน เช่น ยานอนหลับ ยากล่อมประสาท ยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก

ถ้าต่อมาพบว่าผลการตรวจการนอนหลับ มีการหยุดหายใจบ่อย หรือเกิดปัญหาโรคหัวใจ ความดัน สมอง หรือง่วงนอนมาก หลับในขณะขับรถ ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ก็ควรจะเข้ารับการรักษาได้แล้ว เพราะสุขภาพที่เสียไปทุกวันทุกคืน ไม่สามารถเรียกคืนกลับมาได้ และซ้ำร้ายอาจเกิดหัวใจทำงานผิดปกติ หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย ในขณะนอนหลับอยู่ (ไหลตาย) ได้



Polysomnography
การตรวจการนอนหลับ

เป็นการตรวจด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย สามารถบอกได้ว่า คุณภาพในการนอนของคืนนั้นๆ เป็นอย่างไร หลับได้ดีหรือสนิทเพียงไร มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นในขณะนอนหลับ โดยที่ผู้ป่วยเองไม่สามารถทราบได้ โดยเฉพาะภาวะหยุดหายใจขณะหลับ การตรวจการนอนหลับนี้ประกอบด้วย

การตรวจวัดคลื่นสมอง เพื่อวัดระดับความลึกของการนอนหลับ และ การตรวจวัดการทำงานของกล้ามเนื้อขณะหลับ -- > หลับได้สนิทมากน้อยแค่ไหน ประสิทธิภาพการนอนดีเพียงใด
การตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะหลับ -- > หัวใจมีการเต้นผิดจังหวะ ที่อาจมีอันตรายได้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด
การตรวจวัดความอิ่มตัวของระดับออกซิเจนในเลือดแดงขณะหลับ -- > สมอง หัวใจ ขาดออกซิเจนหรือไม่
การตรวจวัดลมหายใจที่ผ่านเข้าออกทางจมูกและปาก และ การตรวจวัดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อทรวงอกและกล้ามเนื้อหน้าท้อง ที่ใช้ในการหายใจ -- > มีการหยุดหายใจหรือเปล่า เป็นชนิดไหน ผิดปกติมากน้อยหรืออันตรายแค่ไหน
การตรวจวัดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อทรวงอก และกล้ามเนื้อหน้าท้อง ที่ใช้ในการหายใจ
การตรวจเสียงกรน -- > กรนจริงหรือไม่ กรนดังค่อยแค่ไหน กรนตลอดเวลาหรือไม่ กรนขณะนอนท่าไหน
การตรวจท่านอน -- > ในแต่ละท่านอน มีการกรนหรือการหายใจผิดปกติแตกต่างกันอย่างไร
ทั้งหมดนี้ใช้เวลาในการตรวจวัดช่วงกลางคืน อย่างน้อยประมาณ 6-8 ชั่วโมง ซึ่งเป็นเวลาปกติของการหลับของคนทั่วไป



เป็นการตรวจด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย เพื่อบันทึกรายละเ.ยดต่างๆ ของร่างกายขณะนอนหลับหลายๆ อย่าง วิธีการคล้ายกับการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แต่จะมีการติดอุปกรณ์ต่างๆ มากกว่า สำหรับสถานที่ที่ใช้ในการตรวจนั้น ถ้าเป็นการตรวจชนิดจำกัด (Limited-channel PSG) อุปกรณ์จะมีไม่มาก เฉพาะเท่าที่จำเป็น สามารถเคลื่อนย้ายเพื่อไปทำการตรวจที่บ้านผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสะดวกไม่ต้องเดินทาง ไม่ต้องติดอุปกรณ์มากนัก เหมาะสำหรับกรณีผู้ป่วยเด็ก และสามารถนอนได้อย่างเป็นธรรมชาติเพราะนอนที่บ้านตัวเอง แต่ผลการตรวจอาจจะไม่ละเ.ยด หรือต่ำกว่าความเป็นจริงบ้าง เพราะไม่สามารถตรวจการทำงานของสมองได้ ตรวจได้เฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการหายใจเป็นหลัก
.กชนิดหนึ่งเป็นการตรวจการนอนหลับชนิดมาตรฐาน (Standard PSG)
ต้องทำในห้องปฏิบัติการนอนหลับ (Sleep laboratory) ซึ่งจะต้องมีการฝึกบุคลากรขึ้นมาเฉพาะ เพราะการตรวจค่อนข้างซับซ้อน และมีการติดอุปกรณ์ตามร่างกายหลายอย่าง สามารถบอกได้ว่า คุณภาพในการนอนของคืนนั้นๆ เป็นอย่างไร หลับได้ดีหรือสนิทเพียงไร มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นในขณะนอนหลับ การบันทึกด้วย PSG นั้น อาจจะให้ผู้ป่วยมารับการตรวจในห้องปฏิบัติการตรวจการนอนหลับเป็นเวลา 2 คืน เพราะลักษณะของการนอนหลับในคืนแรก ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่คุ้นเคยกับสถานที่ทำให้นอนหลับได้ยาก หลับไม่ต่อเนื่อง พลิกตัวบ่อย ประสิทธิภาพของการนอนหลับลดลง อาจมีการลดลงหรือเพิ่มขึ้นของการหลับในช่วงต่างๆ ในคืนที่ 2 ผู้ป่วยจะเริ่มคุ้นเคยกับห้องปฏิบัติการและการนอนหลับจะใกล้เคียงกับการนอนหลับที่บ้านมากขึ้น ถ้าพบว่ามีการหยุดหายใจบ่อย อาจให้ลองใส่เครื่องช่วยหายใจ (CPAP) แล้วทำการปรับความดัน เพื่อให้ทราบค่าความดันที่เหมาะสมที่สุด ที่ใช้รักษาการหยุดหายใจ การที่ผู้ป่วยต้องเดินทางมาห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจการนอนหลับ บางครั้งอาจทำให้ผู้ป่วยต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก ทำให้ผู้ป่วยบางรายไม่สามารถมารับการตรวจในลักษณะนี้ได้



อย่างไรก็ตาม การตรวจการนอนหลับทั้งสองชนิด เป็นที่ยอมรับว่าเป็น Gold standard หรือการตรวจที่ดีที่สุดที่ใช้ในการวินิจฉัยโรคของการนอน โดยเฉพาะภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

สำหรับการวินิจฉัยความผิดปกติขณะนอนหลับ จะทำการวัดตลอดทั้งคืน อย่างน้อยประมาณ 6-8 ชั่วโมง ซึ่งเป็นเวลาปกติของการหลับของคนทั่วไป ระยะเวลาที่นอนหลับ ถ้าน้อยกว่า 6 ชั่วโมง ผลที่ได้จะเชื่อถือได้น้อย ผลการตรวจการนอนหลับ ที่ให้เครื่องคอมพิวเตอร์ประมวลผลการวัดระดับความลึกของการนอนหลับเอง จะผิดพลาดได้มาก ต้องมีแพทย์หรือเจ้าหน้าที่มีความชำนาญในการอ่านคลื่นสมอง ตรวจเช็คผลซ้ำ.กครั้งด้วย จึงจะเชื่อถือได้


ข้อมูลสำคัญๆ ที่แพทย์จะดูในผลตรวจการนอนหลับ ได้แก่
- ประสิทธิภาพการนอน
- คุณลักษณะของการนอน ได้แก่ เปอร์เซ็นต์ของการหลับลึก และเปอร์เซ็นต์ของการหลับฝัน ถ้ามีน้อย ซึ่งมักพบร่วมกับ การเพิ่มของอัตราการสะดุ้งตื่น จะทำให้มีอาการง่วงนอนในเวลากลางวัน
- คุณลักษณะของการหยุดหายใจ ได้แก่ ชนิดของการหยุดหายใจ (จากสาเหตุทางสมองหรือทางเดินหายใจอุดตัน) อัตราการหายใจที่ผิดปกติอันเนื่องจากทางเดินหายใจอุดตัน (Respiratory Disturbance Index หรือ RDI) ซึ่งถ้ามากกว่า 5 ครั้ง/ชั่วโมง ถือว่าผิดปกติ6
- RDI 5-15 ครั้ง/ชั่วโมง ความรุนแรงขั้นน้อย
- RDI 15-30 ครั้ง/ชั่วโมง ความรุนแรงขั้นปานกลาง
- RDI มากกว่า 30 ครั้ง/ชั่วโมง ความรุนแรงขั้นมาก -- > ต้องรับการรักษา
- แต่ถ้าผู้ป่วยมีโรคประจำตัว (ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด หรือโรคหลอดเลือดสมอง) แม้ RDI เพียงมากกว่า 5 ครั้ง/ชั่วโมง ก็ถือว่ามีความรุนแรงขั้นมาก -- > ต้องรับการรักษา
- ผลของการหยุดหายใจต่อออกซิเจนในเลือด ถ้าระดับออกซิเจนขณะหยุดหายใจ น้อยกว่า 95 ถือว่าผิดปกติ
- ถ้าระดับออกซิเจนขณะหยุดหายใจ น้อยกว่า 60 ถือว่ารุนแรงขั้นมาก -- > ต้องรับการรักษา เพราะมีอันตรายมาก โดยเฉพาะต่อหัวใจ
- ผลของการหยุดหายใจต่อการเต้นของหัวใจ
- ถ้าพบมีการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ ในช่วงที่มีการหยุดหายใจและเกิดภาวะขาดออกซิเจน ถือว่ารุนแรงขั้นมาก -- > ต้องรับการรักษา
- การหยุดหายใจในท่านอนต่างๆ และการหยุดหายใจในระยะหลับฝัน

- Multiple sleep latency test (MSLT) ใช้ในการตรวจเกี่ยวกับอาการง่วงนอนมากผิดปกติในเวลากลางวัน โดยจะทำต่อเนื่องหลังจากคืนที่ทำการตรวจ PSG โดยเริ่มตรวจตั้งแต่เวลา 08.00 น. ตรวจหา sleep latency (ช่วงเวลาตั้งแต่ปิดไฟถึง onset ของ sleep) และ REM sleep latency (ช่วงเวลาตั้งแต่เริ่มหลับถึง onset ของ REM sleep) ทำการตรวจวัดหลายๆครั้ง ห่างกันครั้งละ 2 ชั่วโมง คนปกติมีค่า MSLT 10นาที ถ้าพบว่าผู้ป่วยหลับได้เร็วมากผิดปกติ ต้องหาสาเหตุ ซึ่งสาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ โรคนอนกรนชนิดอันตราย

Surgical Treatment of Sleep-disordered Breathing
การผ่าตัดรักษานอนกรน

- การผ่าตัดเอาต่อมทอนซิล และ/หรือ ต่อมอะดินอยด์ออก (Tonsillectomy and/or Adenoidectomy)
- การผ่าตัดตกแต่งเพดานอ่อน (Uvulopalatopharyngoplasty)
- การผ่าตัดตกแต่งเพดานอ่อนโดยเลเซอร์ (LASER-assisted Uvulopalatoplasty)
- การผ่าตัดเลื่อนคางเพื่อดึงกล้ามเนื้อลิ้นมาด้านหน้า (Mandibular Osteotomy and Genioglossus Advancement)
- การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรบนและล่างมาทางด้านหน้า (Bimaxillary Advancement)
- การผ่าตัดอื่นๆ
- การใช้คลื่นความถี่สูง (Radiofrequency Volume Reduction หรือ Somnoplasty)
- การผ่าตัดโพรงจมูก


โรคนอนกรน เป็น โรคที่เกิดในคนที่มีช่องคอแคบกว่าปกติ ลองนึกดูว่าเวลาเราสูดหายใจเข้าทางจมูก กว่าลมหายใจจะไปถึงปอด จะต้องผ่านช่องทางเดินหายใจส่วนต่างๆ ตั้งแต่ช่องจมูก บริเวณหลังโพรงจมูก แล้วผ่านลงไปด้านหลังลิ้นไก่ ต่อไปยังบริเวณหลังโคนลิ้น แล้วจึงเข้าสู่กล่องเสียงและหลอดลม จนไปสิ้นสุดที่ปอด
เวลาคนเรานอนหงาย ลิ้นและลิ้นไก่จะตกไปทางด้านหลัง ตามแรงโน้มถ่วงของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะนอนหลับสนิท ซึ่งเป็นเวลาที่กล้ามเนื้อต่างๆ ทั่วร่างกายมีการหย่อนคลายตัว รวมทั้งกล้ามเนื้อบริเวณช่องคอด้วย ทางเดินหายใจบริเวณที่อยู่ด้านหลังต่อลิ้นและลิ้นไก่จะแคบลง.ก เหตุการณ์นี้ในคนปกติ ไม่ทำให้เกิดปัญหาอะไร เพราะทางเดินหายใจเดิมกว้างอยู่แล้ว แคบลงไปเล็กน้อย ก็ยังหายใจได้ดี แต่ในคนที่เป็นโรคนี้ จะมีช่องคอแคบ ทางเดินหายใจส่วนนี้จะตีบแคบหรืออุดตันได้


ผู้ป่วยโรคนอนกรน ถ้ารักษาโดยการใช้เครื่องช่วยหายใจ CPAP แล้ว ไม่ได้ผลเนื่องจากปัจจัยต่างๆ หรือไม่สะดวกในการใช้เครื่อง การผ่าตัดรักษานอนกรน นับเป็น.กทางเลือกหนึ่งที่ให้ผลการรักษาดีมาก

การผ่าตัดแก้ไขทางเดินหายใจอุดตันขณะนอนหลับ แพทย์จะแก้ไขให้ตรงตำแหน่งที่มีการอุดตัน ซึ่งอาจมีอยู่หลายแห่ง แต่ที่สำคัญมีอยู่ 2 ตำแหน่งคือ บริเวณหลังเพดานอ่อน และบริเวณหลังโคนลิ้น โดยการผ่าตัดมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้ทางเดินหายใจทุกแห่งที่แคบกว้างขึ้น ไม่เกิดการอุดตันขณะนอนหลับ.ก ไม่ใช่เพียงแต่ลดเสียงกรนอันน่ารำคาญ เท่านั้น


เสียงกรน เป็นเหมือนสัญญาณเตือนภัยที่บอกว่า คนๆ นั้นมีปัญหาการหายใจขณะนอนหลับ การผ่าตัดเพียงเพื่อให้เสียงกรนเบาลง แต่ยังมีการหยุดหายใจอยู่ เช่น การผ่าตัดด้วยเลเซอร์ ในกรณีที่เป็นโรคนอนกรนชนิดมีการหยุดหายใจร่วมด้วย กลับเป็นผลร้ายต่อผู้ป่วย เพราะเปรียบเสมือน การทำให้ผู้ป่วยยังคงตกอยู่ในภาวะที่เป็นโรค แต่ปราศจากสัญญาณเตือนภัย

ดังนั้นก่อนผ่าตัด ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจการนอนหลับ เพื่อแยกกรณีนอนกรนชนิดไม่อันตรายหรือไม่มีการหยุดหายใจ ออกจากนอนกรนชนิดอันตรายหรือมีการหยุดหายใจ เสียก่อน

ภายหลังการผ่าตัด ประมาณ 3-6 เดือน ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจการนอนหลับซ้ำ เพื่อประเมินว่า ยังมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ เหลืออยู่หรือไม่ เพียงใด




Create Date : 05 กุมภาพันธ์ 2552
Last Update : 24 กุมภาพันธ์ 2552 11:50:44 น. 1 comments
Counter : 1597 Pageviews.

 
ลูกชาย3ขวบครึ่ง นอนกรน มีเสียงบางครั้งเหมือนมีนำมูกเป็นหวัดร่วมด้วย ให้นอนควำแล้วก็ยังมีเสียงหายใจ แต่หายใจเป็นจังหวะ ไม่ขาด หรือสะดุด เป็นเพราะอะไรคะ


โดย: พวงพยอม IP: 110.49.204.8 วันที่: 9 ธันวาคม 2553 เวลา:22:30:03 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

นางฟ้าหัวโต
Location :
ปราจีนบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add นางฟ้าหัวโต's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.