Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2550
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
22 ธันวาคม 2550
 
All Blogs
 

ขุดโลงศพ 145 ปี พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ จากคอลัมน์จุดประกาย กรุงเทพฯ ธุรกิจ

เมื่อวานเพื่อนผมส่ง web link คอลัมน์ จุดประกาย ของหนังสือพิมพ์กรุงเทพฯ ธุรกิจ มาให้ ก็เลยเข้าไปอ่านซะหน่อย ... ก็แหม.. มันเป็นงานที่ผมกำลังทำน่ะครับ ก็อยากจะรู้ว่าคอลัมนิสต์เขาจะเขียนว่าอย่างไร แล้วจะมีรูปผมเสนอหน้าอยู่ด้วยหรือเปล่า... อิอิ ไม่มีหรอกครับ ในหน้า web นั้นมีแต่เนื้อความล้วนๆ ... ผมก็เลยถือโอกาส copy มาให้อ่านซะที่นี่เลยละกัน แถมรูปให้ดูอีกด้วย

จริงแล้วเนื้อหาทางวิชาการเนี่ยะ ผมกะจะ up blog มาให้อ่านกันเมื่อตอนที่งานสรุปเรียบร้อยแล้ว เผื่อใครที่ผ่านไปผ่านมาสนใจจะได้เก็บเอาไว้เป็นความรู้ไว้เล่าให้ลูกให้หลานฟังต่อไปภายภาคหน้า




โครงการบูรณะวัดคอนเซปชัญ ย่านสามเสน
วัดคาทอลิกอายุ 333 ปี
ทำให้พบโครงกระดูกของพระสังฆราชสำนักมิสซังองค์สำคัญ
ในสมัยรัชกาลที่ 4

...
จุดประกาย รายงาน


ในแวดวงประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยเฉพาะสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวกันว่ามีบุคคลหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อการตัดสินพระทัยของพระมหากษัตริย์สยามในการรับมือกระแสล่าอาณานิคมจากชาติตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นการเปิดรับความสัมพันธ์ทางการทูตกับชาวตะวันตก เปิดรับวิชาการและเทคโนโลยีทันสมัยจากตะวันตก การหาครูฝรั่งมาสอนภาษาอังกฤษแก่พระราชโอรส หรือแม้กระทั่งการประกาศว่าทรงค้นพบศิลาจารึกหลักที่ 1 เมื่อครั้งทรงครองสมณเพศ (ก่อนเสวยราชย์) น่าสนใจว่า บุคคลนั้นมิใช่ขุนนางในพระราชสำนัก หากเป็นพระสหายเก่าแก่สมัยทรงผนวชเป็นพระสงฆ์อยู่ที่วัดราชาธิวาส ย่านสามเสน ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ตำหนักที่ (เจ้าฟ้ามงกุฏ) ทรงประทับนั้นอยู่ติดคลองเล็กๆ เชื่อมต่อแม่น้ำเจ้าพระยา อีกฝั่งหนึ่งของคลองห่างกันราว 50 เมตร เป็นที่ตั้งของวัดคอนเซปชัญ มีบาทหลวงนาม ปัลเลอกัวซ์ ชาวฝรั่งเศส เป็นพระอธิการ

ที่นั่นเองเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ฉันสหาย
ระหว่างพระสงฆ์สองรูปจากสองศาสนา





มิตรที่ดีและจริงใจ

พระสังฆราชยอห์น บัปติสตา ปัลเลอกัวซ์ (Pallegoix Mgr.) เกิดเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2348 ที่เมืองคอมแบร์โตล์ ประเทศฝรั่งเศส ท่านบวชเป็นพระสงฆ์เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2371 และได้รับมอบหมายให้เดินทางมายังราชอาณาจักรสยามเมื่อ พ.ศ.2373


ภาพวาดพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์
จากหนังสือ พระจอมเกล้า "King Mongkut" พระเจ้ากรุงสยาม : เปิดกรุภาพเก่ากรุงสยามสมัยรัชกาลที่ 4


เบื้องแรกท่านได้รับมอบหมายให้ดูแลคริสตังที่อยุธยา ดูแลการสร้างวัดซางตาครู้สหลังใหม่ และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดคอนเซปชัญ เมื่อพ.ศ.2378 ขณะนั้นท่านอายุ 30 ปี ท่านได้สร้างวัดคอนเซปชัญหลังปัจจุบันขึ้น และพักอยู่ที่วัดนี้จนได้รับแต่งตั้งเป็นพระสังฆราชผู้ช่วย

พ.ศ.2381 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นประมุขมิสซังสยาม เมื่ออายุ 33 ปี จากนั้นอีก 6 ปี จึงได้ย้ายไปพักที่อาคารสำนักมิสซังฯ ที่ท่านสร้างขึ้นใหม่ที่วัดอัสสัมชัญ บางรัก

ในระหว่างที่เป็นเจ้าอาวาสวัดคอนเซปชัญเป็นเวลา 9 ปี ท่านได้เข้าเฝ้าเจ้าฟ้ามงกุฎ เมื่อครั้งทรงผนวชอยู่ที่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) ท่านได้ถวายความรู้เรื่องภาษาละติน ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ และเคมี ส่วนท่านได้เรียนรู้เกี่ยวกับภาษาบาลี ภาษาไทย และวัฒนธรรมไทย จากพระองค์เช่นเดียวกัน

ในหนังสือ ‘พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ : มิตรที่ดี สนิทสนม และจริงใจ ในรัชกาลที่ 4 นักพิมพ์และนักเขียน’ เขียนโดย ซิสเตอร์ซีมอนา สมศรี บุญอรุณรักษา พิมพ์เผยแพร่โดยสื่อมวลชนคาทอลิกประเทศไทย เมื่อกลางปี 2550 ให้ข้อมูลตอนหนึ่งว่า

...เจ้าฟ้ามงกุฎไม่ได้ทรงศึกษาแค่ภาษาละติน และวิทยาศาสตร์จากคุณพ่อปัลเลอกัวซ์เท่านั้น แต่ยังทรงชอบตรัสถามเรื่องศาสนาคริสต์ด้วย ทรงอ่านหนังสือทุกเล่มที่พิมพ์จากโรงพิมพ์อัสสัมชัญด้วยความสนพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ส่วนคุณพ่อปัลเลอกัวซ์ได้เรียนภาษาบาลีจากเจ้าฟ้ามงกุฎจนเชี่ยวชาญ หลังจากเจ้าฟ้ามงกุฎเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว ถ้ามีการโต้แย้งในพระบรมมหาราชวังเรื่องความหมายของศัพท์บาลี พระองค์จะทรงเชิญท่านปัลเลอกัวซ์มาร่วมด้วยเสมอ...


มิตรภาพของทั้งสองดำเนินต่อไป กระทั่งบาทหลวงปัลเลอกัวซ์เป็นพระสังฆราช พระประมุขมิสซังสยาม และเจ้าฟ้ามงกุฎเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดินสยาม เซอร์จอห์น เบาวริ่ง บันทึกความสัมพันธ์ของทั้งสองพระองค์ไว้ว่า

“...ระหว่างสนทนากับพระเจ้าแผ่นดิน พระองค์ตรัสถึงพระสังฆราชคาทอลิกว่าเป็นพระสหายที่รักยิ่งของพระองค์...”


พ.ศ.2377 พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ป่วยเป็นโรคปอดบวม ต้องเดินทางไปรักษาตัวที่สิงคโปร์ ต่อมาป่วยเป็นโรคบิด โรคอหิวาต์ และมีปัญหาทางสายตา จวบจนมรณภาพที่สำนักพระสังฆราช เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2405 รวมอายุ 57 ปี ใช้ชีวิตในสยามนานถึง 30 ปี

หลังจากมรณภาพ คณะมิสชันนารีได้เข้าถวายจดหมายรายงานแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงมีพระราชหัตถเลขาตอบมาว่าพระองค์มีพระราชประสงค์จะจัดงานศพของประมุขมิสซังผู้ล่วงลับด้วยพระองค์เองอย่างสมเกียรติเท่าที่จะทำได้ และตามที่ศาสนาคริสต์อนุญาตให้ทำได้

พระองค์ทรงให้เหตุผลถึงมิตรภาพอันดีที่ไม่เคยเสื่อมคลายระหว่างพระองค์กับพระสังฆราชผู้ล่วงลับ ตั้งแต่แรกเริ่มรู้จักกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์เป็นคนกลางที่ทำให้พระองค์สามารถติดต่อกับสมเด็จพระสันตะปาปาปีโอ ที่ 9 พระมหากษัตริย์แห่งกษัตริย์ทั้งหลายบนแผ่นดินนี้




บันทึกพิธีศพ

พิธีปลงศพพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์กำหนดไว้ 3 วัน คือวันที่ 1-3 กรกฎาคม ดังนี้

วันที่ 1 กรกฎาคม เวลาบ่าย 3 โมง คณะสงฆ์ กงสุลฝรั่งเศส และชาวยุโรปที่อาศัยอยู่ในเมืองบางกอก ได้มารวมกันที่โบสถ์อัสสัมชัญ เพื่อไปรับศพพระสังฆราชที่สำนักพระสังฆราช และแห่มาตั้งศพภายในโบสถ์อัสสัมชัญ


ภาพพิธีศพพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ ที่วัดอัสสัมชัญ บางรัก
จากหนังสือ พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ : มิตรที่ดี สนิทสนม และจริงใจ ในรัชกาลที่ 4 นักพิมพ์และนักเขียน
เขียนโดย ซิสเตอร์ซีมอนา สมศรี บุญอรุณรักษา


ร่างของท่านถูกบรรจุไว้ในโลงโลหะบริสุทธิ์ปิดฝาสนิทด้วยบัดกรี และบรรจุในโลงอีกชั้นที่ทำด้วยไม้ ภายนอกประดับตกแต่งด้วยตราประจำตำแหน่ง ผ้าไหม และเครื่องตกแต่งอื่นๆ โลงศพตั้งอยู่บนบุษบกสองชั้น ตั้งไว้กลางวัดน้อยที่สร้างขึ้นชั่วคราวสำหรับตั้งศพท่าน

วันที่ 2 กรกฎาคม ตอนเช้า มีบุคคลสำคัญมาร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก มีการแห่ศพมายังท่าเรือริมแม่น้ำเจ้าพระยา ขบวนแห่ประกอบไปด้วยคริสตังญวน 80 คน สำหรับแบกโลงศพ นักเรียนจากโรงเรียนมิสซังได้รับมอบหมายให้ถือตราประจำตำแหน่ง ไม้เท้า และมาลาสูงของพระสังฆราช ได้แห่หีบศพมาลงเรือหลวงที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานเรือจำนวน 3 ลำ

เรือลำใหญ่เตรียมไว้สำหรับอัญเชิญโลงศพของพระสังฆราช ที่หัวเรือหลวงทั้ง 3 ลำตกแต่งด้วยผ้าม่านสีดำ ข้างบนและด้านหลังเรือ วาดรูปตราประจำตำแหน่งพระสังฆราช เรืออีก 2 ลำสำหรับเป็นขบวนเกียรติยศของลำแรก ส่วนเจ้าพระยาอัครมหาเสนาบดีได้จัดเตรียมเรือขนาดใหญ่ 2 ลำ แต่ละลำประกอบด้วยฝีพาย 40 นาย เพื่อนำขบวนแห่ ส่วนขุนนาง คณะกงสุลประเทศต่างๆ และคณะมิสชันนารี ได้จัดลงเรือจำนวนหนึ่ง

ขบวนเรือแห่ล่องจากวัดอัสสัมชัญมาถึงวัดคอนเซปชัญ เป็นระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร ระหว่างทางที่ผ่านสถานที่สำคัญต่างๆ มีการลดธงลงครึ่งเสาเพื่อเป็นการไว้อาลัยแด่ท่าน

เมื่อขบวนเรือผ่านมาถึงหน้าพระบรมมหาราชวังเวลาเที่ยงตรง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ประทับในเรือกลไฟลำหนึ่ง ลอยลำอยู่ใกล้ขบวนแห่เพื่อเคารพศพพระสังฆราชเป็นครั้งสุดท้าย ขบวนเรือเดินทางมาถึงวัดคอนเซปชัญในเวลาบ่ายสองโมง


ภาพขบวนแห่ศพพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ บริเวณวัดคอนเซปชัญ สามเสน ถ่ายโดยฟรันซิศ จิต จากหนังสือ สมุดภาพรัชกาลที่ 4 = Pictorial documents in the reign of King Rama IV : ประมวลรูปถ่ายสำคัญในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาส 200 ปีแห่งกาลพระราชสมภพ 2347-2547


วันที่ 3 กรกฎาคม เป็นวันบรรจุศพ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นมเหศวรศิวลาส เสด็จแทนพระองค์

พิธีในวันนี้มีผู้มาร่วมงานเป็นจำนวนมาก ทั้งกงสุล ชาวต่างชาติ ต่างศาสนา เมื่อเสร็จพิธีได้นำโลงศพของท่านบรรจุไว้ในอุโมงค์ขนาดเล็กกลางวัด ขณะนั้นปืนใหญ่สองกระบอกที่ทรงโปรดฯ พระราชทานให้นำมาตั้งอยู่หน้าวัดได้ยิงสลุต 15 นัด เพื่อเป็นเกียรติแด่พระสังฆราช

เมื่อเสร็จพิธีศพ บรรดามิสชันนารีได้มีหนังสือกราบทูลในนามของพวกท่านและคริสตังในสยาม เพื่อขอบพระทัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อประมุขมิสซังผู้ล่วงลับ ในโอกาสนี้ได้ถวายแหวนประจำตำแหน่งของพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ที่ท่านรักมากที่สุด ดุจของที่ระลึกจากพระสังฆราช

พระเจ้าอยู่หัวทรงปลาบปลื้มพระทัยในของถวายชิ้นนี้มาก โดยพระองค์ได้มีพระราชหัตถเลขาตอบดังนี้

ท่านที่เคารพ

เราขอตอบหนังสือที่ท่านได้ส่งมาถึงเราเมื่อวานนี้ เพื่อขอบใจในการที่เราได้มีส่วนช่วยเหลืองานปลงศพของพระสังฆราชที่เคารพยิ่ง ท่านสังฆราชเป็นมิตรที่ดี สนิทสนม และจริงใจของเรา เป็นเวลาถึงยี่สิบแปดปี ข้อความในหนังสือของพวกท่านทำให้เราปลาบปลื้มใจเป็นอันมาก เช่นเดียวกับของกำนัลที่ท่านได้ส่งมาพร้อมกับหนังสือนั้น แหวนวงนี้เคยเป็นสมบัติของท่านเจ้าคุณ พอเราเห็นก็จำได้ทันทีว่าเป็นแหวนที่พระสังฆราชที่เคารพและสหายที่รักของเราเคยให้เราพิจารณาดู มีผู้บอกเราว่า ท่านเจ้าคุณสังฆราชได้ใช้แหวนนี้ในวันฉลองใหญ่ เพื่ออวยพรบรรดาคริสตังในพิธีศักดิ์สิทธิ์ สำหรับความปรารถนาที่ท่านได้แสดงต่อเรา ด้วยการส่งของที่ระลึกของสหายผู้ล่วงลับที่รักยิ่งของเรามาให้เช่นนี้ เราขอรับไว้ด้วยความยินดียิ่ง ขอให้แหวนนี้เป็นท่อธารแห่งพระพรที่หลั่งมาสู่เราด้วย เราขอให้ท่านจงรับความขอบคุณอย่างจริงใจของเรา สำหรับของกำนัลชิ้นนี้

เรารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นมิตรที่ดีของพวกท่าน

กษัตริย์แห่งสยาม

พระบรมมหาราชวัง วังที่ 9 กรกฎาคม 1862





ผลงานของพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์

พระสังฆราชปัลเลอกัวซ์เขียนหนังสือเกี่ยวกับเมืองไทย 2 เล่ม ได้แก่ ‘เล่าเรื่องกรุงสยาม’ เป็นบันทึกเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณีของชาวไทยที่ท่านได้พบเห็นมา ท่านนำต้นฉบับไปจัดพิมพ์ที่ประเทศฝรั่งเศส เมื่อคราวที่ท่านเดินทางไปเยี่ยมบ้าน อีกเล่มเป็นพจนานุกรมภาษาไทย ละติน ฝรั่งเศส อังกฤษ ชื่อ ‘สัพพะจะนะ พาสาไท’ จัดพิมพ์ที่กรุงปารีสเช่นเดียวกัน เมื่อ พ.ศ.2397

ท่านยังเป็นคนแรกที่นำการถ่ายภาพเข้ามาในสยาม โดยสั่งกล้องถ่ายรูปเข้ามาเมื่อ พ.ศ.2388 (สมัยรัชกาลที่ 3) ท่านเริ่มถ่ายรูปบนแผ่นเงิน ทำให้เชื้อพระวงศ์และขุนนางสนใจและมาถ่ายภาพกับท่านมากขึ้น จนกระทั่งการถ่ายภาพได้แพร่หลายไปทั่ว

ด้านวิทยาศาสตร์ ท่านเป็นผู้ที่สนใจค้นคว้าวิชาความรู้ด้านต่างๆ เช่น ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ท่านได้ทดลองค้นคว้าทางเคมี จนมีผู้มาขอเรียนวิชาจากท่านเป็นจำนวนมาก

นอกจากนี้ท่านยังสั่งซื้อแว่นตามาจากยุโรป และได้นำไปถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บางส่วนได้มอบเป็นของกำนัลแด่ขุนนางผู้ใหญ่




การบูรณะวัดคอนเซปชัญ

วัดคอนเซปชัญเป็นวัดในคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกหลังแรกที่ตั้งอยู่ในเมืองบางกอก ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา โดยพระสังฆราชลาโน (Mgr. Laneau) พระสังฆราชลาโนเริ่มสร้างวัดคอนเซ็ปชัญหลังแรกขึ้นเมื่อ พ.ศ.2217 เป็นโบสถ์ขนาดเล็กสร้างด้วยไม้ เอกสารบางฉบับกล่าวว่าสร้างด้วยอิฐฉาบปูน ท่านตั้งชื่อวัดแห่งนี้ว่า ‘วัดแม่พระปฏิสนธิ’

คราวเสียกรุงครั้งที่สอง คริสตังที่กรุงศรีอยุธยาได้ลี้ภัยไปอยู่ที่เขมร จนเมื่อ พ.ศ. 2312 หลังจากที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชได้แล้ว จึงได้รวบรวมคริสตังทั้งหมด (ทั้งชาวโปรตุเกสและชาวเขมร) กลับมาอยู่ที่บางกอก

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจนถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีชาวเขมรและชาวญวณอพยพมาอยู่ร่วมกับชาวโปรตุเกสที่วัดคอนเซปชัญ ทำให้ต้องสร้างวัดขึ้นอีก 1 หลัง คือวัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์

ช่วงที่บาทหลวงปัลเลอกัวซ์เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้สร้างโบสถ์หลังใหม่ คือหลังปัจจุบันนี้

ปี พ.ศ.2517 (วัดมีอายุครบ 300 ปี) ได้มีการบูรณะวัดครั้งใหญ่ทั้งภายในและภายนอก ปัจจุบันวัดคอนเซปชัญมีอายุ 333 ปี ทางสำนักพระสังฆราชอัสสัมชัญจึงมีโครงการบูรณะวัดทั้งภายในและภายนอกอีกครั้ง โดยมอบหมายให้ บริษัท มรดกโลก จำกัด เป็นผู้รับผิดชอบ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2549 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2551

ครั้งนี้ทางสำนักพระสังฆราชมีความประสงค์ให้อัญเชิญโลงศพและโครงกระดูกพระสังฆราช 2 องค์ ที่ฝังไว้ใต้โบสถ์มาอนุรักษ์และจัดตำแหน่งประดิษฐานใหม่

ภายในโบสถ์นี้มีป้ายจารึกหลุมศพของพระสังฆราชทั้งสอง บริเวณผนังด้านทิศเหนือเป็นป้ายหลุมศพของพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ และผนังด้านทิศใต้เป็นป้ายหลุมศพของพระสังฆราชดูปองท์ พระสังฆราชสำนักมิสซังสยามองค์ถัดมาที่เคยพักที่วัดคอนเซปชัญ

นักโบราณคดีทำการขุดค้นตามตำแหน่งที่ระบุกลางโบสถ์หลุมแรกเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา พบโลงศพที่มีตราสัญลักษณ์บ่งชี้ว่าเป็นโลงศพของพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ นอกจากนี้ได้ขุดหลุมที่สอง ห่างจากหลุมแรกมาทางขวาเล็กน้อย พบโลงศพที่สองของพระสังฆราชดูปองท์

บริษัทผู้รับงานบูรณะได้ขอความร่วมมือไปยังกรมศิลปากร จัดส่งผู้เชี่ยวชาญมาทำการอนุรักษ์กระดูกและโลงศพของพระสังฆราชทั้งสององค์แล้ว




รายงานการขุดค้นเบื้องต้น

รายงานการเปิดหลุมศพพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ใต้พื้นบนพระแท่น โดย ฐากูร อังกุรวัฒนานุกุล ให้ข้อมูลว่าโลงศพที่พบเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก้นสอบ ลักษณะเป็นโลงไม้อยู่ด้านนอกหุ้มโลงโลหะที่อยู่ด้านในอีกชั้นหนึ่ง


ตอนนี้ขณะขุดพบกะโหลกศีรษะ


แต่เนื่องจากสภาพของหลุมฝังศพที่มีระดับน้ำใต้ดินท่วมขังสูงถึง 47 เซนติเมตรทำให้โลงโลหะและโลงไม้ผุพังมาก ภายในโลงศพยังมีการเทปูนขาวซึ่งชั้นปูนขาวมีความหนา 10 เซนติเมตร ไว้สำหรับซับน้ำเหลืองและดูดกลิ่นศพ


สภาพโครงกระดูกของท่านปัลเลอกัวซ์


การวิเคราะห์โครงกระดูกเบื้องต้นพบว่าเป็นกระดูกเพศชาย อายุ 55 ปีขึ้นไป ความสูง 168.96 เมตร เชื้อชาติคอเคซอยด์

ข้อน่าสังเกตคือพบโรคจากร่องรอยกระดูก ได้แก่ ฟันผุ โรคเหงือกอักเสบ ไขข้ออักเสบ ที่ข้อกระดูกสันหลังข้อหนึ่งมีการปลิ้น เกิดจากการยกของหนัก ทำให้ยืดหลังและก้มตัวลำบาก นอกจากนี้ยังพบความผิดปกติที่กรามข้างขวา ช่วงปุ่มที่ต่อกับกะโหลกข้างขวา มีขนาดเล็กกว่าข้างซ้าย อาจทำให้หน้าเอียงไปข้างหนึ่ง น่าจะเป็นลักษณะทางกรรมพันธุ์

กษมา เกาไศยานนท์ นักโบราณคดีผู้คุมงานบูรณะเผยว่าหลุมศพของพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์เป็นบ่อปูนลึกประมาณ 2 เมตร ขนาดใหญ่กว่าหลุมของพระสังฆราชดูปองท์ แต่สิ่งที่เหมือนกันคือโครงกระดูกของทั้งสองศพมีสีดำ


ขณะลำเลียงกระดูกแต่ละชิ้นขึ้นจากหลุมศพ


“สมัยโน้นเขาใช้ทรายละเอียดกับทรายขี้เป็ดถม ทรายขี้เป็ดมันเป็นสีดำๆ ทำให้กระดูกดำ ปัญหาของหลุมท่านปัลเลอกัวซ์คือถูกน้ำใต้ดินท่วม แล้วสมัยโน้นเขาใช้อิฐก้อนใหญ่ๆ ถมทับ พอนานเข้าฝาไม้โลงด้านบนพัง อิฐพวกนี้ก็ตกไปทับกะโหลกแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ก็ต้องมาประกอบใหม่เท่าที่ทำได้ กระดูกส่วนอื่นก็ผุพัง ซี่โครงนี่หายไปเยอะ มันเปื่อยไปกับน้ำที่ท่วมขัง ในโลงเราพบเหรียญแม่พระมารีกับพระเยซูขนาดเล็กๆ ชิ้นหนึ่ง”



เมื่อลำเลียงกระดูกขึ้นมาแล้วก็นำมาเรียงแยกเอาไว้ตามส่วนของร่างกาย
และทำความสะอาดในเบื้องต้น


ส่วนโครงกระดูกของพระสังฆราชดูปองท์นั้นมีสภาพสมบูรณ์ เนื่องจากฝังลึกเพียง 1 เมตร จึงไม่ถูกน้ำใต้ดินท่วมมากนัก

“เราขุดกู้กระดูกและโลงขึ้นมาเช็ดทำความสะอาด แล้วส่งไปให้ทางคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ทำการอนุรักษ์ เคลือบน้ำยา ใช้เครื่องอัดแรงดันให้น้ำยาแทรกไปในกระดูก”



ขั้นตอนการทำความสะอาดกระดูกก่อนนำไปทำการอนุรักษ์เสริมความมั่นคง


กระดูกเท้าซ้ายที่ทำความสะอาดแล้ว


กระดูกต้นขาขวาที่ทำความสะอาดแล้ว


กษมาเล่าอีกว่าจะลองขุดหลุมทดสอบตรงตำแหน่งด้านซ้ายของหลุมพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีโลงศพท่านใดอีกแล้ว

“เราอาจเปิดกระเบื้องแค่ 2 แผ่น ถ้าเจอก็ทำต่อ แต่ถ้าไม่เจอก็แล้วไป ที่จริงก็ไม่ได้มีเอกสารระบุ แต่เราคิดว่าอาจจะมี คือมันจะได้สมดุลกันทั้งสองด้าน”


โครงการขุดกู้โลงศพพระสังฆราชทั้งสององค์เป็นส่วนหนึ่งของงานบูรณะวัดคอนเซปชัญ ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

ส่วนเรื่องราวของพระสังฆราชปัลเลอกัวซ์ก็ยังเป็นสิ่งที่นักประวัติศาสตร์ขบคิดต่อไปว่า พระประมุขสำนักมิสซังสยามท่านนี้มีบทบาทเบื้องลึกต่อพระมหากษัตริย์สยามมากน้อยเพียงใด

ยุวดี มณีกุล
จุดประกาย




 

Create Date : 22 ธันวาคม 2550
26 comments
Last Update : 5 มีนาคม 2551 13:22:53 น.
Counter : 12219 Pageviews.

 

ปาด

 

โดย: Nagano 22 ธันวาคม 2550 1:16:44 น.  

 

สวัสดีค่ะ เห็นหัวข้อน่าสนใจเลยเข้ามาอ่านค่ะ
อ่านจบแล้วก็ไม่ผิดหวังเลย
เพราะเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจมากๆเลยค่ะ

 

โดย: Complicatedgirl 22 ธันวาคม 2550 2:10:01 น.  

 

click to comment

อู้ยยย...เปลี่ยนฉากหลังงามขนาด ชอบจังเลย แต่หนอนก้อยังชอบอันเก่าอยู่ ^^ อิอิ
อันนี้จาเปลี่ยนตลอดไปเลยป่าวฮับ หรือว่าแค่ชั่วคราวอ่าเฮีย
พักนี้ขยันอัพเสียจิงเลยน่ะพี่ แรงดีไม่มีตกจิงๆ หนอนอัพตามไม่ทันแล้วน่ะ มีแอบบ่นอีกไอ้นี่
อยากอ่านแต่เนื้อหามันเยอะอ่ะ T-T เดี๋ยวหนอนต้องออกไปทำงานแล้วด้วยแระ ^^
ยังไงกลับมาคืนนี้จะแวะเข้ามาป่วนใหม่น่ะฮับ เดี๋ยวกลับมาอ่านฮับโผมมม...
เรื่องดีๆมีสาระแบบนี้ ต้องหาเอามาใส่หัวว่างๆประดับความรู้สักหน่อยแล้ววว

ปล...หนอนเอารูปเด็กน้อยน่ารักมาฝากฮับ Merry X’mas ที่กำลังจะมาถึงนี้ล่วงหน้าเลย มีฟามสุขมั่กๆน่ะฮับ
(ว่าแต่พี่ต๋องคิดเหมือนหนอนป่ะฮับ ว่าเด็กน้อยในรูปนี้หนอนว่ามันคล้ายๆพี่เลยน่ะ
ออกจะเข้ากับคอนเซ็ป “ทายาทตระกูลหยี” เลยน่ะเนี้ยว่าอ่ะป่ะฮับ ... )

 

โดย: หนอนน้อยฮับ ^^ (Little Worm ) 22 ธันวาคม 2550 2:10:48 น.  

 

พี่ต๋องตอบคำถามผิดน่ะฮับ...

อย่าลืมกลับมาตอบใหม่น่ะฮับพี่ (เพื่อนๆให้อภัยแล้วกลับมาเหอะ ...ฮ่าๆ)

 

โดย: เมื่อกี๊ลืมบอกอ่ะ ^^ (Little Worm ) 22 ธันวาคม 2550 2:13:44 น.  

 

น่าสนใจดีฮับ
ได้ความรู้รอบตัว คริๆ
.
.
.

 

โดย: ลิงกังไซย่า 22 ธันวาคม 2550 2:31:06 น.  

 


เปลี่ยนบ้านใหม่สวยดีคะ ต้อนรับปีหนูนะคะ

จะทันได้เล่าให้ลูกให้ลานฟังหรือเปล่าเนี่ยเรา
แวะมาแซวเล่นคะ

 

โดย: ดอกหญ้าเมืองเลย 22 ธันวาคม 2550 2:55:23 น.  

 

แอบเข้ามาอ่านค่ะ เลยได้ความรู้ดีๆกลับออกไปด้วยเลย ขอบคุณมากๆนะคะ

 

โดย: Picike 22 ธันวาคม 2550 3:53:18 น.  

 



ขอบคุณสาระดีๆ ที่นำมาฝากค่ะคุณต๋อง
เปลี่ยนเฮดบ๊อกใหม่ส่งท้ายปีเก่า
แหล่ม.....จัง

 

โดย: อุ้มสี 22 ธันวาคม 2550 15:25:05 น.  

 

แวะมาทักทายกับบ่ายวันเสาร์ หน้าหนาว อันแสนอบอ้าว



ถ้าอยู่ในประเทศไทย พรุ่งนี้อย่าลืมไปใช้สิทธิ์ของเรา เลือกตั้งนะคะ



 

โดย: a_mulika 22 ธันวาคม 2550 15:54:01 น.  

 

ข้อมูลยาวๆ แต่ว่าอ่านแล้วรู้สึกเหมือนเปิดโลกด้านโบราณคดีที่มี
อยู่ในตัวอันน้อยนิดเลยคะ ... เพราะว่าจะต้องศึกษากันมานานเลย
กว่าจะได้เป็นข้อมูลที่นำมาเปิดเผยให้เราได้พบกัน ... อ่านเรื่องแนวนี้
อีกคนในเพื่อนบล็อกที่คิดถึงเลยก็คือ คุณกุมภีน ได้อ่านเรื่องแบบนี้
ก็ต้องบอกว่าคิดถึงกันขึ้นมาทันด่วนเลยค่ะ

 

โดย: JewNid 22 ธันวาคม 2550 20:04:01 น.  

 

อืมม์..เข้ามาบล๊อกนี้เหมือนได้ความรู้เพิ่มขึ้นมากเลยค่ะ
ปกติไม่ค่อยรู้เรื่องโบราณคดีเท่าไหร่ ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ ที่เอามาเผยแพร่ให้ได้อ่านนะค่ะ

 

โดย: ลิน (BeamerFamily ) 22 ธันวาคม 2550 21:36:59 น.  

 

พี่ต๋องทำงานแบบนี้ เป็นงานที่ท้าทายดี ถ้าเราชอบใจรักงานที่ทำ ก็คงมีความสุขมากๆ

ได้ความรู้ดีจัง

 

โดย: DJ BrYaN 23 ธันวาคม 2550 0:49:50 น.  

 





สวัสดีตอนใกล้ค่ำของ เนเธอร์แลนด์ นะจ้า


จะ down load ความคิดถึงไปให้เธอ
จะ enter ความอาทรมามอบให้
จะจับ เมาท์ click ย้ำความห่วงใย
รวมเป็นกลอนหนึ่งบทส่งถึงเธอ




** ขอให้มีความสุขกับช่วงวันหยุดพักผ่อนนะจ้า **



โอแม่เจ้าข้อมูลแน่นมากเลยอะ ..อ่านแล้วทำให้รู้อะรัยเยอะขึ้นมากเลยอะจ้า

ขอบคุณมากนะจ้าที่นำเรื่องราวดีๆๆมาให้ได้อ่าน

 

โดย: จอมแก่นแสนซน 23 ธันวาคม 2550 1:03:58 น.  

 

 

โดย: มาเรีย ณ ไกลบ้าน 23 ธันวาคม 2550 1:06:27 น.  

 

ตามกลับมาอ่านตามที่แปะโป้งไว้ฮับ...

ได้ความรู้เพิ่มมาอีกขนาดเลย...

ขอบคุณพี่ต๋องเน้อ ที่เอามาแปะให้อ่านกันฮับ

ปล...ตอบเฉลยไปแว้วน่ะเออ แต่ไม่รู้จะโดนใจอ่ะป่าว เหอๆๆๆ...กัวว่าจะโดน ฮ่าๆๆๆ

 

โดย: หนอนน้อยอีกแล้วฮับ ^^ (Little Worm ) 23 ธันวาคม 2550 1:59:52 น.  

 

บล็อกนี้เข้ามาอ่านวันนั้นแล้ว งั้นวันนี้ขอเข้ามาบอกคุณเจ้าของบล็อกแค่ว่า......

" ขอบคุณที่แวะไปอวยพรวันเกิดให้ที่บล็อกนะคะ "

 

โดย: Picike 23 ธันวาคม 2550 3:10:39 น.  

 

งานของนักโบราณคดีเนี่ยยากแล้วก็เหนื่อยเหมือนกันนะคะ

 

โดย: random-4 23 ธันวาคม 2550 8:35:38 น.  

 

ขอบคุณคับ...

ชื่นชมปนขนลุกหน่อยๆ แหะๆ (ดีนะที่เปิดมาดูกลางวัน)

 

โดย: แฟนพี่บีม 23 ธันวาคม 2550 16:13:43 น.  

 

สะแลมันก็คงต้องรอถึงฤดูมันอ่ะจ้ะคุณต๋อง แล้วถ้าได้กินนะจะติดใจเลยคะ
เพราะมันอร่อยจริงๆ ล่ะ แถมถ้าหากว่า ฤดูมันแล้วมีน้อยนะ ไปเดินตลาด
ซื้อมาไม่กี่ขีดได้มานิดหน่อยแต่ว่าแพงสุดๆ ไปเลยอ่ะคะ


เมื่อก่อนเราไม่ชอบกินแหละแกงเมืองๆ พวกนี้ แต่ว่าหลังจากที่ไปอยู่ไกลบ้าน
ได้เรื่องเลยคือ อะไรก็อยากกิน แกงเมืองๆ พวกนี้ล่ะกลายมาเป็นของโปรด
เราเลย .... แต่เสียดาย อ่อมเราไม่ค่อยกินเท่าไหร่เพราะว่าหลังๆ มัก
ไม่ชอบพวกเครื่องในอ่ะคะ ... แต่ว่าพูดถึงในบล็อกแล้ว เหมือนถูกคุณต๋องยั่ว
เหมือนกันนะเนนี่ย

 

โดย: JewNid 23 ธันวาคม 2550 17:01:35 น.  

 

pimp""""peeeeeeemmmmmm

 

โดย: wow IP: 203.156.43.226 23 ธันวาคม 2550 21:18:34 น.  

 

มาอัพ

ความรู้

รอบกาย

โดยเฉพาะเลยคับ

สวัสดีปีหนูคับเพ่

เด่วไว้แวะมาหวัดดีใหม่คับ

คริคริ

 

โดย: mantis (yokee_playman ) 23 ธันวาคม 2550 21:49:49 น.  

 

โอ้ว เป็นอย่างนี้นี่เอง อิอิ

ถึงไม่มีหน้า แต่ก็มีชื่อนะคะ :P

 

โดย: Namtarn IP: 128.2.134.79 2 มกราคม 2551 3:14:22 น.  

 

เพิ่งมีโอกาสได้มาอ่านครับ ชอบมาก สามสี่ปีก่อนมีโอกาสได้ไปร้องเพลงกับคณะนักขับ Cecilia ก็ได้เข้าไปวัดคอนเซ็ปชัญบ้างครับ ไม่นึกว่ามีการขุดกระดูกท่านด้วย อ่านแล้วชอบมาก เหมือนเป็นเครื่องยืนยันว่าเรื่องเหล่านี้ ท่านเหล่านี้มีตัวตนจริง เคยมีลมหายใจอยู่จริงบนแผ่นดินสยาม

ไว้เข้ามาเยี่ยมเรื่อยๆ ครับ

 

โดย: doo_wop_boy 9 ตุลาคม 2551 20:09:57 น.  

 

เราไม่เคยลืมพระคุณท่านสังฆราชลาโน,ลังแบร์,แท่นปัลเลอร์กัว

 

โดย: jean IP: 124.121.115.177 5 กรกฎาคม 2552 11:56:08 น.  

 

ขอบคุณที่ให้ความรู้ค่ะ

 

โดย: U IP: 114.128.85.47 9 สิงหาคม 2552 18:18:55 น.  

 

ขอบคุณมากๆค่ะ 🙏🏻💕

 

โดย: ใหม่ IP: 125.24.108.200 2 ธันวาคม 2565 10:19:19 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ทายาทตระกูลหยี
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




10 Blogs ล่าสุดสุริยุปราคาบางส่วน จากเมืองจันทบุรี แกลเลอรี่ภาพถ่าย
แค่อยากจะร้อง : Superman ร้องเพลง
แค่อยากจะร้อง : Listen ร้องเพลง
นับถอยหลังรอวันสูญของบาตรบุแห่งชุมชนบ้านบาตร จิปาถะ
เห็ดแชมเปญที่น้ำตกคลองนารายณ์ จันทบุรี แกลเลอรี่ภาพถ่าย
เมืองน่านจากวัดพระธาตุเขาน้อยตอนกลางคืน แกลเลอรี่ภาพถ่าย
แค่อยากจะร้อง : Out of reach ร้องเพลง
สิมวัดเชียงทอง หลวงพระบาง แกลเลอรี่ถาพถ่าย
ซ้อมใหญ่ริ้วกระบวนพระอิสริยยศฯ 2 พ.ย. 2551 แกลเลอรี่ภาพถ่าย
เพราะอะไร : piano by tutu pianist ร้องเพลง





free website stats
Friends' blogs
[Add ทายาทตระกูลหยี's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.