พฤษภาคม 2555

 
 
1
2
3
4
5
12
15
20
21
22
25
27
30
 
 
All Blog
เรียนรู้หุ้นจากหนัง: Boiler Room


Boiler Room เป็นหนังเก่าสมัยปี 2000 ผมเคยดูภาคภาษาอังกฤษเมื่อนานมาแล้วทางเคเบิ้ลทีวี แต่เมื่ออาทิตย์ก่อนมีโอกาสขอยืมแผ่น cd ของพี่ชายท่าหนึ่งมาดูอีกรอบ ด้วยความคลาสสิกและแง่คิดดีๆที่ไม่เคยเก่า เลยอยากนำมาถ่ายทอดต่อให้เพื่อนๆได้อ่านกัน เรื่องนี้ไม่เพียงแต่ดูสนุกเพราะดำเนินเรื่องไม่น่าเบื่อ มันสะท้อนความจริงในตัวมนุษย์ที่ว่า "ใครไม่อยากรวย ใครไม่โลภ" อีกด้วย




Boiler Room กำกับและเขียนบทโดย Ben Younger โดยนำเอาดาราดาวรุ่งในสมัยนั้นหลายคนมาเล่น ปัจจุบันก็กลายเป็นดาราแถวหน้าของฮอลี่ วู๊ดที่เอ่ยชื่อก็ย่อมมีคนรู้จัก เช่น Giovanni Ribisi ,Vin Diesel, Scott Caan, Ben Affleck เป็นต้น ตัวเรื่องเป็นแนวดราม่า เป็นเรื่องราวของ เซ็ธ เดวิส (จีโอวานี ริบิซี่) ชายหนุ่มผู้อยากรวย อยากประสบความสำเร็จ เพื่อพิสูจน์ตัวเองกับครอบครัว เซ็ท เป็นคนฉลาด คนมีไหวพริบและวาทะศิลป์ที่ดี เขาเองลาออกจากมหาวิทยาลัยเมื่อเรียบไปได้ 1 ปี เพราะคิดว่ามันไม่ใช่ เขาไม่ต้องการทำงานธรรมดา รวยช้าๆแบบคนทั่วไป เซ้ทลาออกและเปิดบ่อนการพนันเถือนๆเล็กๆ สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยและคนทั่วไป กิจการดำเนินไปด้วยดี แต่แล้ววันหนึ่งเรื่องก็รู้ถึงพ่อ ที่เป็นผู้พิพากษา เซ็ทจึงคิดเปลี่ยนอาชีพมาสู่อาชีพที่รวยเร็วๆ มีเงินเยอะๆ นั้นคืออาชีพโบกเกอร์หรือนายหน้าค้าหุ้น โดยเซ็ทได้รับคำชวนจากเพื่อน  เกร็ก (นิคกี้ แคทท์) ที่ทำอาชีพนี้ที่ JT Marin ผู้ที่เชิญชวนเซ็ทด้วยเม็ดเงินรายได้ที่มหาศาล ภาพลักษณ์ที่ดูหรูหรา ขับเฟอรารี่ มีบ้านหรู มีเงินเป็นล้านก่อนตั้งแต่อายุยังไม่ 30 ปี เรียกว่าเป็น New American dream ในสมัยนั้น




เซ้ท พระเอกผู้มีพรสวรรค์ด้านการขายแต่หลงเดินทางผิด

เซ็ทเข้ามาฝึกงาน 3 เดือนที่บริษัท ร่วมกับเด็กหนุ่มอายุยี่สิบต้นๆ อีกหลายคนโดยบริษัทนี้ให้สัญญาว่า ทุกคนจะเป็นเศรษฐีเงินล้านภายใน 6 เดือน จากการได้ค่าคอมในการขายหุ้น เมื่อฝึกงานครบ 3 เดือน สอบใบอนุญาติขายหุ้นได้ เซ้ทได้ออกแรงทำงานจริง เพื่อหาลูกค้าให้กับหัวหน้ากลุ่ม 40 คน ซึ่งด้วยความสามารถและพรสวรรค์เซ้ทสามารถทำได้ครบในเวลาไม่นาน และเขากลายเป็นนายหน้าค้าหุ้นเต็มตัว เซ้ททำงานนี้ได้ดี เขาสามารถปิดการขาย และสนุกสนานไปกับค่าคอมมิชั่นของบริษัทที่สูงถึง 2 ดอลล่าห์ต่อหุ้น สูงกว่ามาตรฐานของ SCC ที่กำหนดให้เพียง 5% ของยอดขาย 




บรรยากาศการทำงานในห้องค้า

ทุกคนในบริษัท ถูกเลี้ยงด้วยความโลภ ถูกหล่อหลอมด้วยความทะยานอยาก การได้โบนัสเดือนละเป็นแสนเหรียญ การฉลองและตอบแทนการทำงานด้วยปาตี้สุดหรู การใช้ชีวิตแบบเศรษฐี(กัมมะลอ)ที่เชื่อว่าจะรวยได้ มันทำให้นายหน้าเถื่อนวัยละอ่อน ทุกคนพร้อมที่จะล่าเหยื่อ พร้อมที่จะหาลูกค้า ให้กับบริษัท

Boiler Room เป็นห้องค้าเถื่อนแถบลองไอแลนด์ที่ห่างจากวอสตรีทถึง 1 ชั่วโมงไม่ได้อยู่ในย่านการเงิน ไม่ได้เป็นที่ยอมรับจากกลุ่มบริษัทโบกเกอร์ เป็นเพียงตึกเล็กๆที่มีคนทำงานเพียงยี่สิบคน ส่วนใหญ่มีอายุไม่ถึง 25 ปี นายหน้าเหล่านี้หาลูกค้าที่ไม่รู้จักจากบัญชีรายชื่อตามสมุดโทรศัพท์ที่บริษัทจัดให้ ใช้วาทะโน้มน้าว ให้ลูกค้าหลงเชื่อซื้อหุ้นตามที่บอก โดยสัญญาณว่าจะได้กำไร 30-50% ในไม่กี่เดือน เพราะหุ้นที่เชียร์เป็นหุ้นเด็ด เป็นหุ้นร้อน ที่สามารถทำกำไรได้อย่างแน่นอนไม่มีความเสี่ยง ลูกค้าที่เป็นคนธรรมดา เป็นพนักงาน เป็นผู้จัดการบริษัท ผู้ที่ไม่มีความรู้เรื่องการลงทุนก็มักจะเป็นเหยื่อชั้นดีที่หลงตามเกมส์ความโลภ ยอมนำเงินเก็บเงินออม ออกมาซื้อหุ้นกับนายหน้าขายหุ้นเหล่านี้


วัฒนธรรมองค์กรที่เพาะบ่มให้พนักงานโลภและหิวเงิน

เล่ห์กลง่ายๆคือการหลอกให้เชื่อว่าเป็นหุ้นดี เป็นหุ้นเด็ดที่นายหน้าขายหุ้นมีข้อมูลเด็ด เป็นหุ้นร้อนที่จะมาแน่ๆในอนาคต โดยเริ่มต้นให้ลองซื้อแค่ 100-200 หุ้นเป็นเงินไม่กี่ร้อยเหรียญ แน่นอนว่าในช่วงแรก บริษัทก็จะทำราคาให้ลูกค้าเห็นกำไร 3-5% จากนั้นไม่นานนายหน้าเจ้าเดิมก็จะโทรไปชักจูงลูกค้าให้โลภ ให้อยากรวย ด้วยการลงทุนซื้อหุ้นอีก ครั้งละมากๆ เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนเจ้ามือก็คือเจ้าของบริษัทขายหุ้นได้หมด หุ้นเหล่านั้น ราคาก็จะไม่วิ่งขึ้น ไม่เติบโต และทุกคนก็จะเทขาย ลูกค้าก็จะเจ็งหมดตัว เซ็ทและคนอื่นๆ ทำหน้าที่ในการหลอกขายหุ้นเน่าเหล่านี้ให้กับลูกค้า เพียงเพราะต้องการค่านายหน้าจากบริษัท เน้นการขายให้ได้มากๆเพื่อความร่ำรวยของตัวเอง


ลูกค้าที่โดนหลอกให้ซื้อหุ้นบริษัทยา แม้แต่หมอยังไม่เว้น

แต่เมื่อมาถึงจุดเปลี่ยน เซ็ทบังเอิญไปพบเบื้องหลังของบริษัท ว่าจริงๆแล้วบริษัท หลอกขายหุ้นขยะ โดยเฉพาะหุ้น IPO ชั้นเลว ที่เจ้าของบริษัทได้ทำการไปเจรจาซื้อเก็บไว้ให้กับลูกค้า โดยบริษัทได้ขายหุ้นเหล่านี้นอกตลาด ให้กับลูกค้า หุ้นบางตัวเป็นบริษัทหลอกๆไม่มีธุรกรรม หรือผลิตภัณฑ์ที่ดี หรือมีความต้องการจากนักลงทุนในตลาดหุ้นจริงๆ เป็นการสร้าง ความต้องการปลอมและทำการปั่นราคาเท่านั้น เซ็ทตัดสินใจจะเลิก แต่ต้องการเงินจากค่าคอมมิชั่นงวดสุดท้ายเพื่อมาตั้งตัว จึงปรึกษาพ่อเพื่อให้หาคนมาช่วยซื้อหุ้น


ผู้จัดการแผนกจัดซื้อที่หวังรวยเป็นเศรษฐี 

และแล้วคราวซวยก็มาเยือน ถึงแม้เซ็ทคิดจะเลิกและถอนตัว เมื่อ FBI ได้ติดตาม เซ็ทและพฤติกรรมของบริษัทนี้อยู่ โดยมีพนักงานตอนรับสาว ที่เป็นคู่ขาของเซ้ท เป็นสาย ได้เข้าจับกุมเซ็ทและพ่อ โดยต้องการให้เป็นพยาน แรกกับการที่พ่อไม่ต้องถูก ซัดทอดและถูกปลดจากตำแหน่งผู้พิพากษา เซ้ทยอมทำตาม โดยเปิดเผยกระบวนการต่างๆ รายชื่อลูกค้า และที่ซ่อนเอกสาร จนทำให้สามารถจับกุม ไมเคิล แบรนท์ลีย์ เจ้าของบริษัท เศรษฐีจอมโกงที่ต้มตุ๋นเงินผู้คน


ข้อคิดที่ได้จากหนัง
1. ความโลภ ไม่เคยปราณีใคร
เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นความโลภ ของคนทั่วไปในสังคม ด้วยความอยากมีอยากได้ อยากรวยเร็ว มันจึงทำให้ขาดสติยั้งคิดและเดินทางผิด ทั้งตัวพระเอกและเพื่อนๆที่ปล่อยให้ความละโมบเข้าตา จนละเลยคุณธรรม ยอมเป็นนายหน้าขายหุ้นเถื่อน  เพียวเพื่อสร้างผลตอบแทนจากค่าคอมมิชั่น โดยไม่สนใจว่าลูกค้าจะจนลง หรือขาดทุนขนาดไหน

ตัวลูกค้าเอง ก็โลภพอมีผลตอบแทนมาล่อ ก็เกิดความอยากได้ หลงไปเป็นเหยื่อโดยสมัครใจ ซึ่งปราศจากความยั่งคิดและไตร่ตรองหาข้อมูลให้ถี่ถ้วน สุดท้ายก็จบที่หายนะ


ความโลภทำลายทุกสิ่ง หมดเนื้อหมดตัวเงินออมทั้งหมดหายไปกับหุ้นเน่าๆเพียงไม่กี่สัปดาห์

2. ไม่มีโครรักเงินของเรามากเท่าตัวเรา
ผมชอบฉากหนึ่งที่เซ็ท โทรไปหาลูกค้าที่เป็นผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ เพื่อให้ซื้อหุ้น IPO บริษัทยา เซ็ทเป็นคนมีพรสวรรค์ด้านการพูด เขาปิดการขายได้สวยงาม โดยเฉพาะการยกเอาเรื่องของควมหวังมาเล่น ลูกค้าอยากได้บ้าน กำลังเก็บเงินดาวน์บ้าน เซ็ทหว่านล้อมให้เอาเงินก้อนนั้นมาซื้อหุ้น โดยสัญญาว่าอีก 2 เดือนจะได้เงินก้อนใหญ่กำไร 30% จากนั้นจะได้ซื้อบ้านด้วยเงินสด ซื้อบ้านที่ใหญ่กว่าเดิมให้ลูกๆอยู่ คุณจะได้ถือเช็คเงินสดกลับบ้านไปเซอร์ไพรสภรรยา พวกนี้มันเป็นการอัดฉีดความหวัง ไปกระตุ้นความอยากและความโลภของลูกค้า ให้เชื่อและคล้อยตามโดยปราศจากการยั้งคิด 

ถ้าเราเป็นลูกค้ามีพนักงานขายมาหว่านล้อมแบบนี้ คำถามแรกที่ควรผุดขึ้นมาในหัวคือ "ทำไมเขาถึงอยากให้เราซื้อหุ้น ทำไมเขาถึงอยากให้เราได้กำไร" จากนั้นถ้าหาคำตอบที่ดีไม่ได้ควรมามองหุ้นที่เขาพยายามเสนอขาย ควรประวิงเวลาเพื่อหาข้อมูลด้วยตนเอง เปิดรับมุมมองอื่นๆที่ไม่ใช่มาจากพนักงานขายที่จ้องจะฟันค่าคอมมิชั่นจากเราอย่างเดียว 

3. อย่าโลภเกินตัว อย่าโลภเกินความรู้
ลูกค้าที่โดนหลอก จากบริษัทขายหุ้นเถือนในหนัง ส่วนมากเป็นคนที่มีความรู้ มีหน้าที่การงานดี ซึ่งพอถูกคำป้อยอ ถูกคำท้าทาย อัตตาก็ทำงาน คิดว่าตัวเองเอาอยู่ไมาอยากอะไร ประกอบกับยุคนั้นคือยุคฟองสบู่ดอทคอม ที่ใครก็รวยเป็นเศรษฐีได้จากตลาดหุ้น นายหน้าพวกนี้ใช้กลลวงคือหลอกให้เหยื่อตายใจ จากกำไรก้อนแรกก้อนเล็กๆ สัก 3-5% จากนั้นชักจูงหว่านล้อมให้ลงทุนก้อนโต เพื่อให้ได้กำไรเยอะ ยิ่งลงมากยิ่งได้มาก แต่ปัญหาคือ ลูกค้ามักไม่สนใจความเสี่ยง ไม่สนใจขาดทุน เพราะความโลภมันเข้าตา ได้มากแล้ว 1000 อยากได้อีก 10000 อีก 100000 จนขาดการยั้งคิด การโลภไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่เราควรโลภแบบมีขอบเขต อย่าโลภเกินตัว โลภเกินความรู้ที่เรามี ถ้าโลภแล้วรับความเสี่ยงไม่ไหว แบบนี้มีแต่หายนะ ในเรื่องจะเห็นลูกค้าหลายคนฝันถึงเงินล้าน ทั้งที่มีเงินแค่ไม่กี่หมื่นเหรียญ ยอมทุ่มเงินเก็บแบบหมดตัว ทั้งที่เป็นบัญชีเงินออมสำหรับลูก สำหรับครอบครัว เพียงเพราะหวังเป็นเศรษฐีในไม่กี่เดือน ซึ่งมันขัดหลักความเป็นจริง สุดท้ายแล้วก็ต้องหมดตัว สูญเงิน สูญเสียครอบครัว 

อ้างอิงจาก














Create Date : 19 พฤษภาคม 2555
Last Update : 19 พฤษภาคม 2555 11:53:09 น.
Counter : 5781 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

coffee4you
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]



พูดคุยติดตามเรื่องราวเทคนิคการเล่่นหุ้น
Free Ebook