พฤษภาคม 2555

 
 
1
2
3
4
5
12
15
20
21
22
25
27
30
 
 
All Blog
ความเสี่ยง มือสังหารที่ไร้ปราณี กรณีศึกษา J.P.Morgan
เราอยู่บนโลกของการลงทุน ความเสี่ยงน่าจะเป็นเพื่อนสนิทที่เราต้องเจอและต้องทำความรู้จักกับมันให้มากๆ เพราะถ้าเราไม่สนิท ไม่รู้จัก หรือประมาท ดูเบามัน วันหนึ่งความเสี่ยงก็จะเข้ามาทำร้ายเรา และนำเราไปสู่ความหายนะได้ ไม่ว่าเราจะคิดว่าตัวเองเก่งแค่ไหน หรือจะมีเครื่องมือวิเคราะห์ดีเท่าใด ถ้าเราไม่สามารถรับมือและควบคุมความเสี่ยงไว้ได้ ก็ไร้ประโยชน์

ปลายอาทิตย์ที่ผ่านมา ข่าวที่ใหญ่ที่สุดข่าวหนึ่งของแวดวงการเงินโลก คงหนี้ไม่พ้นเรื่องการขาดทุนแบบไม่คาดฝัน ของ JP Morgan (JPM) ที่มากถึง สองพันล้านดอลล่าห์สหรัฐ( $2 billion) เงินจำนวนมหาศาลที่ขาดทุนจากลงทุนภายในระยะ 6 สัปดาห์บนตราสารอนุพันธ์ จาก hedging mechanism ของฝ่าย proprietary trading ที่ห้องค้าลอนดอนโดยทาง CEO ยืนยันว่าไม่ใช้ rogue trader หรือการทุจริตแต่อย่างใด การขาดทุนเสียหายจากโมเดลการลงทุนที่ซับซ้อนในช่วงตลาดผันผวนแต่ขาดการดูแลความเสี่ยงให้ดีพอ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เสมอ เพราะโลกนี้มันไม่มีอะไรที่แน่นอนเราไม่สามารถคาดเดาอนาคตที่จะเกิดขึ้นได้ การลงทุนไม่ว่าจะสั้นหรือยาว นั้นก็เป็นการเสี่ยงบนความน่าจะเป็น ที่มีโอกาสผิดพลาดเสมอ ความเสี่ยงสามารถย้อนมาทำร้ายเราได้เสมอ ไม่เว้นแม้แต่นักลงทุนจากสถาบันการเงิน ผู้เชี่ยวชาญเกมส์การเงิน เงินก็ไม่ได้สูญหายไปจากระบบแต่ไหนไปเข้ากระเป๋ากองทุนอื่นซึ่งเป็นผู้ชนะ ผู้ที่ดีกว่า แข็งแกร่งกว่าเสมอ

กรณีนี้ส่งผลกระทบต่อ JP Morgan (JPM) โดยตรงทั้งในแง่ความน่าเชื่อถือที่ถูกลดอันดับลง(AA- เหลือ A) ในด้านราคาหุ้นที่ดิ่งลง 9% ทันทีเมื่อตลาดรับรู้ข่าวนี้ ยังไม่รวมถึงความวิตกกังวลในตลาดเงินทั่วโลกที่มองว่า อาจจะมียักษ์ใหญ่รายอื่นๆเจอปัญหาแบบเดียวกันตามมา แม้ท่าน CEO ของ JP Morgan (JPM) คุณ James Dimon จะแถลงว่าการที่ JP Morgan พลาด(แกใช้คำว่า โง่เลยทีเดียว Just because we’re stupid doesn’t mean everybody else was. There were huge moves in the marketplace but we made these positions more complex and they were badly monitored.) ก็ไม่ได้แปลว่าสถาบันการเงินอื่นๆในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้จะพลาดตาม ที่สำคัญเงินแค่นี้คิดเป็นสัดส่วนที่ไม่มากเมื่อเทียบกับเงินทั้งหมดในมูลค่าทางบัญชีของบริษัท ดังนั้นตลาดทุนยังไม่น่าวิตก แต่ดูเหมือนนักวิเคราะห์ต่างๆอาจจะไม่เชื่อตามนั้นทั้งหมด เพราะปกติแมงสาปมันไม่เคยมาตัวเดียว 


ก่อนหน้านี้ก็เคยมีความผิดพลาดเช่นเดียวกับ UBS และ MF Global มาแล้ว มันเป็นประเด็นปัญหาเพราะธนาคารเหล่านี้หาประโยชน์กำไรจากความเสี่ยงในการลงทุน เก็งกำไรและไม่เปิดเผยข้อมูลการถือครองอนุพันธ์หรือตราสารที่มีความเสี่ยง แต่ถ้าผิดพลาด ขาดทุนจนเข้าขั้นวิกฤติ ด้วยขนาดธนาคารที่ใหญ่โต รัฐบาลก็ไม่สามารถปล่อยให้ล้มละลายได้ ดังนั้นก็ต้องอุ้มกันต่อไป ธนาคารพวกนี้ก็เหมือนกับการล้มบนฟูก กล้าจะเสี่ยงเก็งกำไรเสมอเพื่อแลกกับผลตอบแทนมหาศาลที่จะได้รับ พฤติกรรมเหล่านี้นักวิชาการ สส. วุฒิสมาชิก หลายคนเป็นกังวลว่าจะเกิดปัญหาวิกฤตการเงินในอนาคตอีก และเรียกร้องที่จะมีการปฏิรูปในส่วนนี้โดยเฉพาะเรื่องการเปิดเผยข้อมูล และการห้ามธนาคารทำการเก็งกำไรเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง เป็นต้น



James Dimon

เรื่องนี้สอนเราให้รู้ว่าไม่ควรประมาท ไม่ควรมองว่าความเสี่ยงเป็นเพียงหนูตัวเล็กๆ และอย่าวางใจในความเสี่ยงเป็นอันขาด โดยเฉพาะเมื่อเราได้กำไรมากๆ ทำกำไรได้อย่างไม่ยากจนความมั่นใจเราขึ้นถึงขีดสุด ความโลภผุดขึ้นในใจ เมื่อนั้นเรามักจะละเลยความเสี่ยง จนทำให้เกิดความเสียหายได้เสมอ การลงทุนไม่ว่าจะเป็นแบบระยะยาวหรือการเก็งกำไร เราควรเรียนรูที่จะบริหารเงิน และจัดการกับความเสี่ยงให้ได้เสมอ การได้กำไรมากๆอาจจะไม่สำคัญเท่ากับการขาดทุนน้อยๆในยามที่ผิดพลาด สิ่งนั้นจะเกิดได้เมื่อเรารู้จักความเสี่ยงและประเมินความเสียง ประเมินผลการขาดทุนล่วงหน้าแบบตรงไปตรงมา เพื่อเตรียมแผนรับมือ ถ้าเรารับมือกับความเสียหายที่อาจจะเกิดในอนาคตได้ ลงทุนไม่เกินตัวเกินกำลังของความเสี่ยง เมื่อนั้นความสำเร็จก็จะอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมครับ

อ้างอิงบทความจาก









Create Date : 14 พฤษภาคม 2555
Last Update : 14 พฤษภาคม 2555 12:12:21 น.
Counter : 2016 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

coffee4you
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]



พูดคุยติดตามเรื่องราวเทคนิคการเล่่นหุ้น
Free Ebook