Group Blog
 
 
เมษายน 2552
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
1 เมษายน 2552
 
All Blogs
 
เทศกาลเช็งเม้ง 清明节

สวัสดีทุกคนค่ะ ยินดีต้อนรับสู่ blog slc club ค่ะ 大家好 blog slc club 欢迎你
สำหรับในหน้าแรก ขอกล่าวถึงเทศกาลวันเช็งเม้ง เพื่อให้เข้ากับเทศกาลในช่วงนี้นะคะ เทศกาลเช็งเม้ง หรือ เทศกาลวันไหว้บรรพบุรุษของชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีน เช็งเม้ง ถือเป็นประเพณีที่ชาวจีนปฏิบัติยังคงปฏิบัติกันอย่างต่อเนื่อง
วันเช็งเม้งหรือในภาษาจีน 清明节 qīngmíng2jié อ่านว่า ชิงหมิงเจี๋ย 清 หมายถึง ความบริสุทธิ์ 明 หมายถึง ความสว่าง 节 หมายถึง เทศกาล เมื่อรวมแล้วจะหมายถึง ช่วงเวลาแห่งความแจ่มใส รื่นรมย์ ที่ประเทศออกเสียงว่าเช็งเม้งเนื่องจากออกเสียงตามสำเนียงแต้จิ๋ว ในประเทศจีนจะเริ่มเทศกาลเช็งเม้งตั้งแต่วันที่ 5 - 20 เมษายน ของทุกปี ถึงจะอยู่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ อากาศจะเริ่มคลายความหนาวเย็นเริ่มเข้าสู่ความอบอุ่น มีฝนตกปรอยๆ ต้นไม้ใบหญ้าเขียวชอุ่ม จึงกลายเป็นที่มาของชื่อเช็งเม้ง สำหรับในประเทศไทยนั้น จะถือเอาวันที่ 5 เมษายนของทุกปีเป็นหลัก แล้วนับวันก่อนถึง 3 วัน และเลยไปอีก 3 วัน รวมเป็น 7 วัน (2 - 8 เมษายน) แต่เนื่องจากปัจจุบันมีปัญหาการจราจร จึงขยายเวลาเทศกาลออกไปให้เร็วขึ้นอีก 3 สัปดาห์

สุสานที่มีชื่อเสียงในประเทศจีน คือ สุสานของจิ๋นซีฮ่องเต้ ซึ่งใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 38 ปี มีขนาดเท่ากับสนามฟุตบอลมีความลึกประมาณ 35 เมตร กว้าง 145 เมตร สูง 170 เมตร อยู่ในเมืองซีอานของประเทศจีน ในอดีตเคยเป็นเมืองหลวงของจีนด้วย โดยภายในสุสานจะใช้บรรจุพระบรมศพของจิ๋นซีฮ่องเต้ รวมถึงทรัพย์สมบัติต่างๆ รวมถึงหุ่นปั้นทหาร นางกำนัล รถม้า ขุนพล โดยรูปปั้นเหล่านี้จะจำลองมจากคนที่มีชีวิตอยู่จริง โดยแต่ละรูปปั้นก็จะมีป้ายชื่อติดไว้ด้วย เหตุที่ต้องมีรูปปั้นเหล่านี้ในสุสานก็เพื่อเป็นตัวแทนของเหล่าข้าราชบริพาลในการร่วมเดินทางไปยังปรโลกของจิ๋นซีฮ่องเต้

ตำนานการเกิดเทศกาลเช็งเม้ง

ในยุคชุนชิว องค์ชายฉงเอ่อแห่งแคว้นจิ้นหนีภัยออกนอกแคว้น ไปมีชีวิตตกระกำลำบากนอกเมือง โดยมีเจี้ยจื่อทุยติดตามไปดูแลรับใช้เจี้ยจื่อทุยมีจิตใจเมตตาถึงขนาดเชือดเนื้อที่ขาของตนเป็นอาหารให้องค์ชายเสวยเพื่อประทังชีวิต ภายหลังเมื่อองค์ชายฉงเอ่อเสด็จกลับเข้าแคว้นและได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองแคว้น นาม จิ้นเหวินกง และได้สถาปนาตอบแทนขุนนางทุกคนที่เคยให้ความช่วยเหลือตน แต่ลืมเจี้ยจื่อทุยไป นานวันเข้าจึงมีคนเตือนถึงบุญคุณเจี้ยจื่อทุย จิ้นเหวินกงเพิ่งนึกขึ้นไป จึงต้องการตอบแทนบุญคุณเจี้ยจื่อทุย โดยจัดหาบ้านให้เขาและมารดาให้เข้ามาอยู่อย่างสุขสบายในเมือง แต่ทว่าเจี้ยจื่อทุยปฏิเสธจิ้นเหวินกงจึงได้คิดแผนเผาภูเขา โดยหวังว่าเจี้ยจื่อทุยจะพามารดาออกมาจากบ้าน แต่ผลสุดท้ายกลับไม่เป็นไปอย่างที่คิด สองแม่ลูกกลับต้องเสียชีวิตในกองเพลิง ดังนั้น เพื่อเป็นการรำลึกถึงเจี้ยจื่อทุย จิ้นเหวินกงจึงมีคำสั่งให้วันนี้ของทุกปี ห้ามไม่ให้มีการก่อไฟ และให้รับประทานแต่อาหารสด ๆ และเย็น ๆ จนกลายเป็นที่มาของเทศกาลวันกินอาหารเย็น หรือ เทศกาลหันสือเจี๋ย (寒食节) ซึ่งเป็นวันสุกดิบก่อนวันเช็งเม้ง 1 วันเนื่องจากคนโบราณนิยมถือปฏิบัติกิจกรรมตามประเพณีวันหันสือเจี๋ยต่อเนื่องไปจนถึงวันเช็งเม้ง นานวันเข้าเทศกาลทั้งสองก็รวมเป็นวันเช็งเม้งวันเดียว การไหว้เจี้ยจื่อทุยจึงค่อย ๆ เปลี่ยนมาเป็นการไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษแทน

ประเพณีการทำความสะอาดฮวงซุ้ย

เริ่มมาจากการที่พระเจ้าฮั่นเกาจู ปราบดาภิเษกและสถาปนาราชวงศ์ฮั่นขึ้นแล้ว เกิดระลึกถึงบุญคุณบิดา มารดาที่เสียชีวิตไปแล้วที่บ้านเกิด จึงเร่งรัดกลับบ้านเกิด แต่ทว่าป้ายชื่อของฮวงซุ้ยแต่ละที่เลือนลางเต็มทน จากสงคราม พระเจ้าฮั่นเกาจูจึงอธิฐานต่อสวรรค์ด้วยการโปรยกระดาษสีขึ้นบนฟ้าแล้วให้ลมพัดปลิวไป ถ้ากระดาษตกที่ฮวงซุ้ยไหน ถือว่าเป็นฮวงซุ้ยของบิดา มารดาพระองค์ และเมื่อดูป้ายชื่อชัด ๆ แล้วก็พบว่าเป็นฮวงซุ้ยของบิดา มารดาพระองค์จริง ประเพณีการทำความสะอาดฮวงซุ้ยและโปรยกระดาษสีบนหลุ่มศพก็เริ่มมาจากตรงนี้เอง


การไหว้ ต้องไหว้เทพยาดาฟ้าดินก่อน เพราะถือว่าท่านเป็นเทพเจ้าที่ จากนั้นจึงไหว้บรรพบุรุษ ซึ่งต้องไหว้ 3 รอบ โดยจะใช้แทน 1 คู่ และธูป 1 ดอกต่อบรรพบุรุษ 1 ท่าน หลังจากที่ไวห้ครบ 3 รอบแล้วจึงค่อยเผากระดาษเงินกระดาษทอง



ความหมายที่แท้จริงของการวันเช็งเม้งนั้นยังคงไม่หลีกหนีไปจากการรำลึกถึงบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งความสำคัญนี้จะยิ่งทวีความหมายยิ่งขึ้น หากว่าลูกหลานรุ่นหลังได้รับรู้ถึงประวัติความเป็นมาของบรรพบุรูษตนเอง และตระหนักถึงความยากลำบากของพวกท่านก่อนที่ตนจะได้รับความสุขสบายในวันนี้ นอกนี้ยังถือเป็นโอกาสที่ดีที่ญาติพี่น้องได้กลับมารวมตัวพบปะสังสรรค์กันอีกด้วย

เกร็ดความเชื่อต่างๆ เกี่ยวกับเทศกาลวันเช็งเม้ง
จะไม่นิยมนำผลไม้ที่มีชื่อไม่เป็นมงคล เช่น มังคุด ละมุด มากราบไหว้บรรพบุรุษ

ในการจุดประทัดเพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้ายนั้นและจะทำให้ลูกหลานร่ำรวยยิ่งขึ้นนั้น ถือว่า การจุดประทัดเป็นการกระตุ้น ต้องดูตำแหน่งโชคลาภด้วย หากผิดตำแหน่งก็จะเกิดปัญหา

ธรรมเนียมของชาวจีน จะนิยมนำหอนแครงลวกไปไหว้ด้วย และจะช่วยกันกินหอยแครงตรงสุสาน และโปรยเปลือกหอยที่เหลือไว้บนเนินดิน มีความหมายถึงลูกหลานมาก

หากใครมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม สามารถโพสต์ข้อความฝากไว้ได้นะคะ ขอบคุณค่ะ

ภาพประกอบ หนังสือ 我们的节日
credit //th.wikipedia.org
//www.manager.co.th
//www.sinsae.com


Create Date : 01 เมษายน 2552
Last Update : 9 เมษายน 2552 15:21:35 น. 4 comments
Counter : 3333 Pageviews.

 
เข้ามาแร้วววนะจ้ะ...
พยายามเข้าน่ะ น้องเห็ด...กิ้วๆๆๆ



โดย: slcclub วันที่: 2 เมษายน 2552 เวลา:8:15:27 น.  

 
ชิงหมิง (qing-ming, อักษรจีนตัวเต็ม: 清明節, อักษรจีนตัวย่อ: 清明节, พินอิน: Qīngmíngjié) หรือ เช็งเม้ง, เชงเม้ง (ตามสำเนียงแต้จิ๋ว) "เช็ง" หมายถึง สะอาด บริสุทธิ์ และ "เม้ง" หมายถึง สว่าง รวมแล้วหมายความถึง ช่วงเวลาแห่งความแจ่มใส รื่นรมย์

เช็งเม้งในประเทศจีน เริ่มต้นประมาณ 5 - 20 เมษายน เป็นฤดูใบไม้ผลิ อากาศจะคลายความหนาวเย็น เริ่มเข้าสู่ความอบอุ่น มีฝนตกปรอย ๆ มีบรรยากาศสดชื่น ท้องฟ้าใสสว่าง (เป็นที่มาของชื่อ เช็งเม้ง)

สำหรับในประเทศไทยเทศกาลเช็งเม้ง ถือวันที่ 5 เมษายนของทุกปีเป็นหลัก[ต้องการแหล่งอ้างอิง] แล้วนับวันก่อนถึง 3 วัน และเลยไปอีก 3 วัน รวมเป็น 7 วัน (2 - 8 เมษายน) แต่ในปัจจุบันเนื่องจากมีปัญหาการจราจรคับคั่ง เลยขยายช่วงเวลาเทศกาลให้เร็วขึ้นอีก 3 สัปดาห์ (ประมาณ 15 มีนาคม - 8 เมษายน) แต่ในภาคใต้บางพื้นที่ เช่น จังหวัดตรังจะจัดเร็วกว่าที่อื่น 1 วัน ประมาณวันที่ 4 เมษายนของทุกปี

ประเพณีที่สำคัญมากที่สุดของของชาวจีน คือ ไหว้บรรพบุรุษที่สุสาน (ฮวงซุ้ย) เป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยมีอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื๊อ ที่เน้นเรื่องความกตัญญูเป็นสำคัญ



โดย: นิรนาม IP: 118.174.162.150 วันที่: 5 พฤษภาคม 2552 เวลา:19:34:06 น.  

 
ตกแต่งได้สวยมากนะ


โดย: นิรนาม IP: 118.174.162.150 วันที่: 5 พฤษภาคม 2552 เวลา:19:35:16 น.  

 
พอดีอยากรู้ตัวอักษรจีนบนสุสานว่าคืออะไรคะ เพราะผ่าน
มาหลายปีแล้วไม่รู้ว่าเขียนถูกสีหรือเปล่า ว่าสี แต่ละสี
ของตัวอักษรคืออะไร เพราะมีแดง เขียว น้ำเงินคะ
jira2010@hotmaiil.com


โดย: จิตรวั IP: 115.87.101.57 วันที่: 30 มีนาคม 2553 เวลา:12:04:20 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

slcclub
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




โรงเรียนภาษาและวัฒนธรรม
สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น)
.............................................................
+ เปิดสอนภาษาต่างประเทศ
ภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ ภาษาเกาหลี
ภาษาไทยสำหรับชาวญี่ปุ่น
+ จัดแคมป์ภาษาและวัฒนธรรมเยาวชน ต้อนรับปิดเทอม
สำหรับน้องๆ 8-12 ปี
+ จัดอบรมสัมมนาด้านวิชาการ
+ บริการงานแปลและล่ามภาษาต่างๆ
.............................................................
Tel : 02 259 9160 # 1641-2
Fax : 02 662 1019
E-mail : schoolweb@tpa.or.th
Web : http://www.tpa.or.th/slc
.............................................................


widgets
Friends' blogs
[Add slcclub's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.