Stealth Technology: รู้จัก เทคโนโลยี Stealth คร่าว ๆ กันครับ
ยกตัวอย่างเช่น B-2 หรือ F-117 นะครับ
ลำนี้พื้นผิวของมันถูกเคลือบด้วยสารดูดกลืนเรด้าร์ครับ และการทำเหลี่ยมมุมของเครื่องยิงทำให้คลื่นเรด้าร์สะท้อนออกไปทางด้านอื่น ไม่กลับไปหาแหล่งกำเนิด ซึ่งก็คือเครื่องบินฝ่ายศัตรูหรือจรวดต่อสู้อากาศยาน อีกทั้งรูปร่างแบน ๆ ของมันทำให้ภาคตัดขวางเรด้าร์ (พื้นที่ที่เรด้าร์จะสะท้อนกลับ) ยิ้งน้อยลงไปอีก
เรื่องนี้อธิบายได้ด้วยหลัก Classical Wave ธรรมดาตามภาพครับ

เปรียบเทียบง่ายได้ดังนี้
เราลองเอากระจกมาส่องหน้าตรง ๆ สิครับ เราก็จะเห็นหน้าตัวเอง แต่ถ้าเราเอียงกระจกไปสัก 30 องศา หน้าเราก็จะแหว่งไป
ฉันใดก็ฉันนั้น
คลื่นเรด้าห์ก็คือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งสามารถประพฤติตัวเป็นคลื่นเหมือนคลื่นน้ำได้ ถ้าวัตตุที่เรด้าห์ตกกระทบทำมุมตั้งฉากกับคลื่น 90 องศา คลื่นก็จะสะท้อนกลับทางเดิม เสมือนหนึ่งคลื่นที่กระทบกำแพง แต่ถ้ามุมตกกระทบแตกต่างจากนี้ การสะท้อนก็จะเปลี่ยนไป
นี่จึงเป็นคำตอบที่ว่าทำไมรูปร่างของเครื่อง Stealth มันจึงบิด ๆ เบี้ยว ๆ ไงครับ เพราะในเมื่อมุมตกกระทบไม่ใช่ 90 แล้วล่ะก็ จำนวนการสะท้อนของเรด้าห์ที่จะกลับไปหาแหล่งกำเนิดก็จะน้อยลง
ฉะนั้น การออกแบบจำเป็นต้องคำนึงถึงรูปร่างมาก ๆ ครับ
แต่ความจริงแล้ว เครื่องบินไม่ได้หายไปอย่างสมบูรณ์จากจอเรด้าร์ครับ เพียงแต่สัญญาณเรด้าร์ที่สะท้อนกลับมาตามหลักการในความเห็นที่สามมันอ่อนมากเกินกว่าที่จะจับได้
 Su-35BM
แต่ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน มีโอกาสสูงขึ้นมากครับที่จะจับเครื่องบินพวกนี้ได้ อย่างเรด้าร์ N031 Zhuk-MSFE ของ Su-35BM รุ่นใหม่ล่าสุด สามารถจับวัตถุที่มีภาคตัดขวางเรด้าร์ (Radar Cross Section:RCS) ขนาด 0.01 ตร.ม. ได้ที่ระยะทาง 90 กม. ในขณะที่ F-22 มีภาคตัดขวางเรด้าร์ที่ 0.025 ตร.ม. ซึ่งหมายความว่าที่ประมาณ 100 กม. Su-35BM ก็เห็น F-22 ตัวเบ้อเริ่มแล้วครับ
เรื่อง RCS น่ะครับ สมมุติว่าเครื่องบิน Su-30 มี RCS ขนาด 2 ตร.ม. ให้ลองนึกภาพว่ามีคนถือแผ่นเหล็กขนาด 2 ตร.ม. ตั้งฉากกับแหล่งกำเนิดเรด้าร์ ประมาณนั้นครับ
 ตัวอย่างเทียบกับ F-22
คร่าว ๆ ครับ หวังว่าคงจะให้ความรู้กับทุกท่านได้บ้างครับผม
Create Date : 19 มิถุนายน 2550 |
|
9 comments |
Last Update : 5 พฤศจิกายน 2550 14:08:01 น. |
Counter : 3142 Pageviews. |
|
 |
|