life of gone...ชีวิตต้องเดินไปข้างหน้าเสมอ
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2558
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
9 ตุลาคม 2558
 
All Blogs
 

วัดชลธาราสิงเห (วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย) และเกาะยาว @เจ๊ะเห ต่ากใบ เมืองเล็กๆ ที่อบอุ่น

สวัสดีค่ะ


วันนี้เป็นภาคจบที่นราธิวาสกันแล้ว สาวตั้งใจอัพบล็อกให้ห่างๆ เพราะนานๆ จะได้ไปนราธิวาสสักครั้ง อยากให้เพื่อนชมนานๆ ^^ วันนี้สาวจะพาทุกๆ คนไปตามรอยประวัติศาสตร์หน้าสำคัญที่ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาสค่ะ เป็นอีกครั้งที่ได้รำลึกถึงความทรงจำในวันเยาว์กับพ่อภาคสอง แต่วันนี้ไม่มีรูปเรา ^^


ก่อนไปเที่ยว เรามาชมตอนเก่ากันได้ที่นี่

เปิดบันทึกวันเยาว์ในงานศพอาที่นราธิวาส หาดนราทัศน์ และวัดเขากงที่คิดถึง

//www.bloggang.com/mainblog.php?id=skybeach&month=03-10-2015&group=17&gblog=28







สาวนั่งรถสองแถวจากนราธิวาส มาที่เจ๊ะเหใช้เวลาประมาณชั่วโมงเศษค่ารถ ๗๐ บาท บอกว่าเราจะลงวัดชลธาราสิงเห เมื่อถึงตลาดเค้าจะจอดให้ลง





ตำบลเจ๊ะเห เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอตากใบ เป็นชุมชนเก่าแก่ตั้งแต่ต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ประชาชนติดต่อไป – มา ค้าขายกับประเทศมาเลเซีย มีภาษถิ่นเป็นของตนเอง มีความไพเราะแตกต่างจากภาษาถิ่นใต้ทั่วไป คือ ภาษาเจ๊ะเห เป็นเอกลักษณ์ของชาวตากใบ และจังหวัดนราธิวาสมาจนถึงปัจจุบันนี้








จุดที่เราเดินไปวัดจะอยู่ตรงนี้ค่ะ





เดินตรงมาเรื่อยๆ






ใกล้ถึงทางเข้าแล้วค่ะ





เดินไกลพอสมควร ก็ถึงทางเข้า วัดชลธาราสิงเห






วัดชลธาราสิงเห (วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย) เป็นวัดเก่าแก่ ตั้งอยู่หมู่ ๓ ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จาก สี่แยกตลาดอำเภอตากใบแยกซ้ายประมาณ ๑๐๐ เมตร

วัดชลธาราสิงเห (วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย) เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ที่บ้านท่าพรุ หมู่ที่ ๓ ต.เจ๊ะเห อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย วัดตั้งอยู่บนเนินทรายระหว่างแม่น้ำตากใบและพรุบางน้อย

สร้างขึ้นราวปี พ.ศ.๒๔๐๓ โดยพระครูโอภาสพุทธคุณ (พุด) ได้ขอที่ดินจากพระยาเดชานุชิตที่ทางกรุงเทพแต่งตั้งมาปกครองรัฐกลันตัน แต่เดิมเรียกวัดท่าพรุหรือวัดเจ๊ะเหตามชื่อหมู่บ้าน ต่อมาได้มาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดชลธาราสิงเหในปี พ.ศ.๒๔๕๒ โดยขุนสมานธาตุ วฤทธิ์ หรือ เปลี่ยน กาญจนรัตน์ นายอำเภอตากใบคนแรกเป็น “วัดชลธาราสิงเห” ที่มีความหมายว่าเป็นวัดริมน้ำที่สร้างด้วยพระภิกษุที่มีบุญฤทธิ์ประดุจราชสีห์ (พระครูโอภาสพุทธคุณ)


ในปี พ.ศ.๒๔๑๖ ท่านอาจารย์พุดได้สร้างพระอุโบสถโดยมอบให้พระไชยวัดเกาะสะท้อนเป็นช่างก่อสร้างและเขียนภาพในพระอุโบสถ พระธรรมวินัย (จุ้ย) และทิดมี ชาวสงขลาช่วยกันเขียนภาพในพระอุโบสถ ในกุฏิ สร้างพระประธานในพระอุโบสถและกำแพงแก้วล้อมรอบพระอุโบสถ เมื่อสร้างเสร็จจึงขอพระราชทานวิสุงคามสีมาในปี พ.ศ.๒๔๒๖ สมัยต่อมาวัดชลธาราสิงเห ได้รับการบูรณะ ปรับปรุง ซ่อมแซม และก่อสร้างอาคารเพิ่มขึ้น เช่น วิหาร กุฏิ ศาลา บ่อน้ำ หอระฆัง หอไตร ศาลาท่าน้ำ เป็นต้น มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมภาคใต้ที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตก คือ การประดับลวดลายไม้ฉลุ เรียกว่า ลวดลายขนมปังขิง


ความสำคัญของวัดชลธาราสิงเห นอกจากมีศิลปกรรมท้องถิ่นที่งดงามแล้ว ในช่วงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่มีการปักปันเขตแดนกับอังกฤษ อังกฤษได้ทำการปักปันเขตแดนเข้ามาถึงบ้านปลักเล็กเลยจากวัดชลธาราสิงเห ๒๕ กิโลเมตร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเจ้าอยู่หัวจึงทำการแย้ง โดยให้เหตุผลว่าวัดชลธาราสิงเหเป็นวัดไทยที่มีความสำคัญ เป็นมรดกทางพุทธศาสนา ฝ่ายอังกฤษยอมรับและเลื่อนการปักปันเขตแดนถอยลงไปทางใต้จนถึงลำน้ำโกลก ทำให้อำเภอตากใบ อำเภอแว้งและอำเภอสุไหงโกลกอยู่ในการปกครองของไทยจนถึงปัจจุบัน วัดชลธาราสิงเหจึงได้ชื่อว่า “วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย”




นอกจากนี้วัดชลธาราสิงเห ยังเป็นสนามสอบนักธรรมของอำเภอตากใบ เมื่อถึงกำหนดสอบจะมีประเพณีการ “ทำบุญเลี้ยงพระสอบไล่” และถือเป็นศูนย์รวมทางด้านจิตใจของชาวพุทธทั้งทางฝั่งไทยและมาเลเซีย จากหลักฐานพบการเสด็จพระราชดำเนินเยือนของกษัตริย์ไทยมายังวัดชลธาราสิงเหหลายครั้ง ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จทางชลมารคถึงอำเภอตากใบในวันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๕๘ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดชลธาราสิงเหในวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๘ และในวันที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นต้น




ขอบคุณข้อมูลจากเว็บ sac.or.th






เมื่อเราเดินมาถึงภายในจะมีสถานที่สนใจให้เดินชมมากมาย น่าประทับใจมาก





พระอุโบสถ

พระอุโบสถ ตั้งอยู่ประมาณกึ่งกลางของวัด หันหน้าไปทางลำน้ำตากใบที่อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๖ แทนโบสถ์น้ำเดิมที่อยู่กลางแม่น้ำ พระอุโบสถมีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นอาคารเครื่องก่อ หลังคาซ้อนชั้นทางด้านหน้าและหลังพระอุโบสถ มีชายคาปีกนกลดหลั่นลงมา ๓ ชั้น มีเสานางเรียงสี่เหลี่ยม ไม่มีบัวหัวเสารองรับเชิงชายเครื่องบน เครื่องลำยองมีช่อฟ้า ตัวลำยอง ใบระกา หางหงส์ อันเป็นการประดับตกแต่งแบบสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น







ภาพในพระอุโบสถมีการตกแต่งภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นรูปไตรภูมิ, เทพชุมนุมและพุทธประวัติตอนต่างๆ นอกจากนี้ภาพประติมากรรมยังสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนในชุมชนตากใบ เช่น ภาพชาวจีนกำลังแบกสินค้า, ภาพเรือนแพแบบต่างๆ,ภาพแพะซึ่งเป็นสัตว์ที่เลี้ยงในชุมชน เป็นต้น





มีพระประธานในพระอุโบสถชาวบ้านเรียก หลวงพ่อใหญ่ ด้านนอกพระอุโบสถประกอบด้วยใบเสมาและซุ้มเสมา กำแพงแก้วและซุ้มกำแพงแก้ว






ใกล้ๆ พระอุโบสถคือ อนุสาวรีย์พระครูโอภาสพุฒคุณ เป็นรูปหล่อโลหะเหมือนจริง ที่ฐานมีจารึกประวัติของท่าน





ศาลาธรรมรุ่นเก่าอีกหลังหนึ่ง เป็นศิลปะปักษ์ใต้ผสมอิทธิพลสถาปัตยกรรมจีนแปลกตา และในวิหาร เก่าด้านหลังวัด มีประติมากรรมปูนปั้น รูปพระนารายณ์ ๔ กร ที่บ่งถึงอิทธิพลศาสนาพราหมณ์อีก ๑ องค์ กับเครื่องถ้วยชาม ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นเครื่องถ้วยชามสมัยราชวงศ์ซ้อง กับพระพุทธไสยาสน์ ซึ่งพิทักษ์โดย พญานาค ๒ ตน ที่ยังกำหนดอายุและยุคสมัยของงานศิลปะไม่ได้แน่ชัด






ใกล้ๆ กันมีป้ายประวัติวัด





และป้ายนี้ค่ะ







เดินไปเรื่อยๆ จนเจอหอกลอง






หอระฆัง







ตรงนี้ไม่รู้เป็นอะไร คนงานกำลังปรับปรุง






กุฏิสิทธิสารประดิษฐ์หรือกุฏิพระครสิทธิสารวิหารวัตร (ปัจจุบันเป็นพิพธภัณฑ์)

สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ โดยพระครูสิทธิสารวิหารวัตร ประวัติวัดชลธารกล่าวว่าแต่เดิมเป็นอาคารไม้ทั้งหลัง ต่อมากุฏิพังทลายลง ทางวัดจึงสร้างขึ้นใหม่แต่รูปแบบค่อนข้างต่างไปจากเดิม ปัจจุบันได้รับการขึ้นทะเบียนจากกรมศิลปากรให้เป็นพิพิธภัณฑสถานวัดชลธาราสิงเหเพื่อเก็บโบราณวัตถุชิ้นสำคัญของวัด จากภาพถ่ายเก่า พบว่ากุฏิสิทธิสารประดิษฐ์เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ยกพื้นสูง ขนาดกว้าง ๑๙.๓๕ เมตร ยาว ๒๒.๖๐ เมตร หลังคาเป็นทรงปั้นหยาซ้อนกันหลายชั้น มุงกระเบื้องดินเผา บันไดหน้าเป็นบันไดก่ออิฐถือปูน มีการทำพนักเป็นรูปตัวนาค ปลายหางโค้งงอนรับกับมุขหลังคา ยอดหลังคาตกแต่งด้วยปูนปั้นลายเครือเถา ส่วนมุมหลังคาทำรูปคล้ายหางหงส์หรือหัวนาค (วรรณิภา ณ สงขลา ๒๕๓๕ :๒๑)






ตอนนี้เรามาชมด้านในกัน เริ่มจากรูปเก่า






จัดเป็นสัดส่วนชัดเจน




อาสนะ




สวยค่ะ





หุ่นขี้ผึ้งจำลองช่วงเซ็นสัญญา





มุมนี้ก็ชอบ





พัดยศ




รายนามเจ้าอาวาส





ชอบภาพเขียน






ข้างในยังมีเรื่องราวให้ชมอีกเยอะ กลัวที่ไม่พอเดินต่อกันค่ะ





หอพระนารายณ์ เป็นอาคารเครื่องก่อ ขนาด ๕.๔๕ เมตร ยาว ๖.๓๐ เมตร มีมุขขนาดกว้าง ๓.๔๐ เมตร ยาว ๔.๐๖ เมตร มีหน้าต่างด้านๆละ ๑ ช่อง ส่วนทางด้านหน้าทางทิศตะวันออกมีประตู ๓ บาน หลังคาทรงมณฑป ๔ ชั้นยอดแหลม มุงกระเบื้องดินเผาเกาะยอ ส่วนยอดของหลังคาหล่อด้วยปูนซีเมนต์ ตรงหน้าบันมีจารึก “ปฏิสังขรณ์ พ.ศ.๒๔๙๙” เพดานมุขมี ๒ ห้อง ตกแต่งลวดลายเป็นภาพดวงดารา ภายในมณฑปมีรูปพระนารายณ์ ๔ กร บนฐานชุกชีมีพระพุทธรูปปางมารวิชัย ๓ องค์ เพดานด้านในประธานตกแต่งลายดวงดารา พื้นหลังประดับด้วยภาพผีเสื้อ หงส์ ช่อดอกไม้และดาวดวงเล็กๆกระจายอยู่ทั่วไป พื้นหลังมีสีขาว ตกแต่งลวดลายดอกไม้ร่วง คอสองเป็นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ คานตกแต่งลายก้านปู ด้านนอกมีการตกแต่งลายเขียนสีและประดับกระจก กรมศิลปากรได้เข้ามาบูรณะตัวหลังคาและโครงสร้างหอพระนารายณ์ในปี พ.ศ.๒๕๔๑








เจดีย์

เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทรงระฆังบนฐานสี่เหลี่ยม ขนาด ๔.๕๕ เมตร ยาว ๕.๕๐ เมตร ทรงฐานสูงมีลานประทักษิณรอบเจดีย์ มีพนักกั้นเป็นขอบลายประทักษิณ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นสมัยครูจันทร์เป็นเจ้าอาวาส (ครองวัดระหว่างปี พ.ศ.๒๔๕๖ - ๒๔๖๒) แต่สร้างไม่เสร็จ จากนั้นมาสร้างอีกครั้งในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ ลักษณะตัวเจดีย์เป็นทรงระฆังสูง ต่อขึ้นไปเป็นบัลลังก์ ก้านฉัตร ไม่มีเสาหาน แล้วเป็นแผ่นปล้องไฉนลดหลันกันไปเป็นรูปทรงกรวยจนถึงปลียอดและลูกแก้ว








วิหารพระพุทธไสยาสน์

ตั้งอยู่บริเวณหน้าเจดีย์ เป็นวิหารคลุมพระไสยาสน์มีขนาดกว้าง ๕.๙๐ เมตร ยาว ๙.๙๐ เมตร สร้างโดยพระครูสิทธิสารวิหารวัตรเมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๔ ภายในวิหารมีพระพุทธไสยาสน์ประดิษฐานอยู่ตอนท้ายของวิหารโถงและติดกับฐานเจดีย์เป็นอาคารเครื่องก่อ มีฝาผนังทั้งสี่ด้าน มีประตูทางเข้าทางทิศตะวันตก (สันนิษฐานว่าอาคารโถงน่าจะเป็นการต่อเติมในสมัยหลัง) องค์พระพุทธไสยาสน์เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น พระพักต์ลงรักปิดทอง พระองค์ประดับกระจก ฐานและฝาผนังประดับเครื่องถ้วย องค์พระมีขนาดยาว ๗.๔๐ เมตร กว้าง ๒ เมตร มีตัวอักษรจารึก “พระครู สิททิสารวิหาร....พ.ศ.๒๔๘๔ ม...รัตม พริขวัต








พระพุทธไสยาสน์






เห็นองค์เจ้าแม่กวนอิมไกลๆ แต่เดินไม่ถึง





จุดสุดท้ายในวัด ซึ่งเป็นจุดสำคัญคือ พลับพลาที่ประทับในรัชกาลที่ ๖

ในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้เสด็จประพาสวัดชลธาราสิงเห และได้มีการสร้างพลับพลาริมแม่น้ำตากใบเป็นที่ประทับ ซึ่งทางวัดยังรักษาไว้ในสภาพที่สมบูรณ์






ไม่ไกลจาก วัดชลธาราสิงเหมีที่ท่องเที่ยวใกล้ๆ คือ เกาะยาว ตั้ง จากสี่แยกตลาดอำเภอตากใบเลยไปยังแม่น้ำตากใบ มีสะพานไม้ชื่อ “สะพานคอย ๑๐๐ ปี” ยาว ๓๔๕ เมตร ทอดข้ามแม่น้ำตากใบไปยังเกาะยาว ซึ่งทางด้านตะวันออกของเกาะจะติดกับทะเล มีหาดทรายละเอียดสีน้ำตาล บรรยากาศสงบงาม ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นมุสลิมประกอบอาชีพประมงและสวนมะพร้าว







สะพานเดิมเป็นสะพานไม้ แม้ทำใหม่ก็ยังเก็บของเดิมไว้ ดีจัง






บรรยากาศ อากาศร้อนดีมาก ^^





อีกฝั่ง






เดินมาเรื่อยๆ จนถึง





วันนี้ไม่ค่อยมีแรง





ได้รูปมาได้นิดหน่อย






ถ้ามีแรงคงเดินลงไป





ได้เวลาอำลา







โชคดีมาก ระหว่างที่สาวกำลังหมดแรง มีพี่ผู้หญิงขี่มอเตอร์ไซค์ผ่านมาชวนขึ้นเลยสบาย รู้สึกดีมากๆ




หวังว่าทุกคนคงชอบ ขอบคุณที่แวะมาค่ะ





























 

Create Date : 09 ตุลาคม 2558
29 comments
Last Update : 9 ตุลาคม 2558 19:29:03 น.
Counter : 6814 Pageviews.

 

ดูจากรูป
บรรยากาศดี๊ดีนะครับน้องสาว

วัดก็สวยเชียวครับ

 

โดย: กะว่าก๋า 9 ตุลาคม 2558 20:58:33 น.  

 

ชอบคุณสาวพาเที่ยวครับ เหมือนหิ้วเอาความปราถนาอยากเที่ยวของเพื่อนๆไปด้วย ได้เห็นบางมุมที่น่ามองครับ

 

โดย: Insignia_Museum 9 ตุลาคม 2558 21:03:23 น.  

 

ตามสาวมาเที่ยวด้วย
ไม่เคยไปตากใบเลย ดูจากภาพแล้วเป็นเมืองไม่วุ่นวายดีค่ะ
ชอบภาพสุดท้าย แต่ไม่มีคำอธิบาย ^__^

 

โดย: เนินน้ำ 9 ตุลาคม 2558 21:29:57 น.  

 

thx u crab

 

โดย: Kavanich96 10 ตุลาคม 2558 2:20:35 น.  

 

สวัสดียามเช้าครับน้องสาว

โหวต Travel blog ให้เลยครับ

 

โดย: กะว่าก๋า 10 ตุลาคม 2558 6:53:43 น.  

 

ธรรมชาติสวยงามมากค่ะ
ชมเพลินเลย

 

โดย: mambymam 10 ตุลาคม 2558 9:01:46 น.  

 

สวัสดียามเช้าค่ะ

 

โดย: praewa cute 10 ตุลาคม 2558 10:58:00 น.  

 

เพลงเพราะจังค่ะ

 

โดย: praewa cute 10 ตุลาคม 2558 10:58:14 น.  

 

ดูสวยดีครับ แต่ดูเงียบเกิน คงเพราะความไม่สงบด้วยกระมัง

 

โดย: คุณต่อ (toor36 ) 10 ตุลาคม 2558 14:49:25 น.  

 

ไม่ได้ไปนราธิวาส นานมาก
แล้วครับ.

แต่วัดนี้ยังไม่เคยไป ดูจะกว้าง
ขวาง สร้างกุฎิ ศาลาได้สวย
น่าไปครับ..

แล้วอำเภอนี้ ยังเสี่ยงหรือเปล่าครับคุณสาว

 

โดย: ไวน์กับสายน้ำ 10 ตุลาคม 2558 21:11:56 น.  

 

บรรยากาศเมืองนี้สงบเงียบดีจังค่ะ
ชอบพิพิธภัณฑ์จัง ออกบบได้สวย น่าไปชมมาก ๆ
โหวตหมวดท่องเที่ยวให้ค่ะ

มาชวนคุณสาวไปอ่านหนังสือบทกวีของคุณแป๋ว
เพิ่งอัพไปตะกี้นี้เองค่ะ

 

โดย: haiku 10 ตุลาคม 2558 22:26:23 น.  

 

ที่ใต้นี่ ไปน้อยครั้งมากเลย ขอบคุณภาพสวยๆ นะคะ

 

โดย: ปลาแห้งนอกกรอบ 11 ตุลาคม 2558 18:47:28 น.  

 

ขอเที่ยวด้วยคนนะจ๊ะ ไม่เคยไป เกาะสาวเที่ยวละกันนะ

 

โดย: auau_py 12 ตุลาคม 2558 7:17:50 น.  

 

สวัสดีครับน้องสาว
เป็นวัดที่โบสถ์ และสิ่งก่อสร้างอื่นๆงดงามวัดหนึ่ง
ไปตากใบ ทำให้คิดถึงปลากุเลาเค็ม
รสชาติอร่อยเป็นราชาแห่งปลาเค็มก็ต้อง ของที่นี้เลยครับ

 

โดย: moresaw 12 ตุลาคม 2558 8:19:41 น.  

 

โหวตท่องเที่ยวจ้าาา

วัดนี้ยังไม่เคยไป มีสิ่งที่น่าสนใจเยอะจัง

ได้รับของยังจ๊ะ

 

โดย: สาวไกด์ใจซื่อ 12 ตุลาคม 2558 8:43:10 น.  

 

ชอบไปเที่ยววัดเก่าๆเหมือนกันเลยครับ

 

โดย: ทนายอ้วน 12 ตุลาคม 2558 10:12:31 น.  

 

แวะมาเข้าวัดด้วยคนค่า

 

โดย: บาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน 12 ตุลาคม 2558 12:51:06 น.  

 

วัดสวยงามมากเลยค่ะ ทางใต้เค้าสวยคงไว้ซึ่งธรรมชาติมากเลยนะคะ

 

โดย: LoveParadise 12 ตุลาคม 2558 16:41:36 น.  

 

สวัสดีค่ะคุณสาว

 

โดย: ญามี่ 12 ตุลาคม 2558 20:35:17 น.  

 

มาชมทะเลใต้สุดแดนสยามครับ ได้ดูบรรยากาศบ้านเรือนด้วย เป็นวิวที่คิดว่าชีวิตนี้ผมอาจไม่ได้เห็น ไม่มีโอกาสลงไปใต้ขนาดนั้นเลยครับ ตอนเที่ยวต้องระวังตัวเยอะไหมครับ?
ชอบพระนอนประดับกระจกแปลกตาดี พระแถบนี้ไม่ได้หน้าตาขี้เหร่แบบศิลปะศรีวิชัยแถวสทิงพระเลยนะครับ

 

โดย: ชีริว 13 ตุลาคม 2558 0:08:07 น.  

 

ไปด้วย ๆ ๆ ค่ะคุณสาว
ฝีมือถ่ายภาพคุณสาวสวยขึ้นทุกวัน ๆ เลยค่ะ

 

โดย: Close To Heaven 13 ตุลาคม 2558 9:33:45 น.  

 

แถวนี้ไม่กล้าไป 5555

 

โดย: ลุงแมว IP: 180.180.159.205 13 ตุลาคม 2558 22:17:58 น.  

 

ขอบคุณมากที่แวะไปอ่านหนังสือของคุณแป๋วนะคะ
หลับฝันดีค่า

 

โดย: haiku 13 ตุลาคม 2558 23:37:44 น.  

 

ดูภาพเพลินเลยหล่ะค่ะคุณสาว อิอิ

 

โดย: ณ ปลายฉัตร 14 ตุลาคม 2558 3:38:11 น.  

 


มาเยี่ยมชม มาทักทายครับ

มาตามเที่ยวตามไหว้พระด้วยคนครับ ที่จังหวัดนราธิวาสได้ยินว่าวัดไทยพุทธไม่ค่อยมีพระจำวัดสักเท่าไหร่ คงจะกลัวปัญหาความรุ่นแรงแน่ เพราะว่าเวลาได้ยินชื่อตากใบก็มักจะได้ยินพร้อมกับข่าวที่ไม่ดีเสมอครับ

เห็นในพิพิธภัณฑ์เขาเก็บรักษาของเก่าได้เป็นอย่างดีเลยครับ สิ่งเหล่านี้เป็นหลักฐานที่ดีของท้องถิ่นครับ เห็นด้วยที่ควรจะให้การสนับสนุนโดยการเข้าไปเยี่ยมชม แต่ผมยังไม่มีโอกาสได้ไปเที่ยวทางใต้เลยครับ

โหวตหมดแล้วครับ เอาไว้วันหลังนะครับ

อิอิ

 

โดย: อาคุงกล่อง 14 ตุลาคม 2558 12:00:33 น.  

 

ตามมาชมธรรมชาติงามๆค่ะน้องสาว

 

โดย: ภาวิดา (คนบ้านป่า ) 14 ตุลาคม 2558 15:12:52 น.  

 

นราธิวาส...ไกลมาก พี่คงไม่ได้ไป

วัดเก่า สวยด้วย น่าไปมากเลย ยังอยู่ในสภาพดีอยู่เลยเนอะ

น้องสาวไปคนเดียวเหรอ ถ้าเป็นลมเป็นแล้งไปล่ะแย่เลย

บันทึกการโหวตเรียบร้อยแล้วค่ะ



บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
PZOBRIAN Book Blog ดู Blog
mambymam Home & Garden Blog ดู Blog
sawkitty Travel Blog ดู Blog

ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 5 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น

 

โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ 14 ตุลาคม 2558 15:42:42 น.  

 

แวะมาราตรีสวัสค่ะ ฝันดีนะคะ

 

โดย: praewa cute 14 ตุลาคม 2558 22:59:00 น.  

 

วัดชลธาราสิงเห สร้างราวปี 2403 นับเป็นวัดที่เก่าแก่และงดงามนะคะคุณสาว
ชอบภาพจิตกรรมฝาผนังที่บอกเล่าถึงวิถีชีวิตคนในชุมชนฯน่ะค่ะ
พิพิธภัณฑสถานวัดชลธาราสิงเหก็น่าชมมากค่ะ

 

โดย: Sweet_pills 14 ตุลาคม 2558 23:15:28 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


sawkitty
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 36 คน [?]




เป็นคนรักแมวที่เป็นคนยะลา แต่มาทำงานตรัง ถ้าจะตามตัวให้แวะไปหาที่ห้องแมวพันทิบคะ


Friends' blogs
[Add sawkitty's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.