|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
วิพากษ์ "พรานทะเล"
เพลงพรานทะเล - สุนทราภรณ์

เพลง พรานทะเล (พ.ศ. 2485)
ประพันธ์ขึ้นเพื่อใช้ประกอบละครเวทีเรื่อง พรานทะเล บันทึกเสียงครั้งแรกในปี พ.ศ. 2492
ทำนอง เอื้อ สุทราสนาน คำร้อง แก้ว อัจฉริยะกุล
ชีวิตที่คร่ำ กลางน้ำเวียนวน ลอยล่องกลางชลไม่พ้นทนไป อยู่กับเรือเบื่อใจ ผองพรานทะเลเร่ไป อยู่ห่างไกลกลางสายชล
มองน้ำตรงหน้า จรดฟ้าไกลไกล ว้าเหว่ดวงใจไม่เห็นผู้คน คลื่นและลมสู้ทน ทุกข์ใจปานใดไม่บ่น สู้แดดฝนลำบาก กาย
*..อยู่หว่างทะเลนาน ๆ ท้องเรือเป็นบ้าน ท้องธารเรือนตาย สิ้นชีพสิ้นชนม์เคราะห์ร้าย ศพฝังโดยง่าย ฝากเอาไว้ใต้คงคา
เพียงเห็นริมฝั่ง สักครั้งดีใจ มาบกทีไรให้แสนปรีดา ใกล้แผ่นดินเข้ามา เหมือนมีวิมานตรงหน้า ปลื้มหนักหนา แทบจูบดิน.
(ตอนที่เพลงนี้ออกมาใหม่ๆ สิงห์ อิ่มลาภ ขับร้องสลับฉากภาพยนตร์ เจ้าตัวบอกว่า เนื้อร้องของเดิมบางตอนร้องว่า "อยู่แต่ทะเลนานนาน" ไม่ใช่"อยู่หว่างทะเลนานนาน" กับอีกตอนหนึ่งว่า "เพียงเห็นชายฝั่งสักครั้งดีใจ" ไม่ใช่ "ริมฝั่ง")

ผู้เขียนหนักใจไม่น้อย ที่จะต้องเขียนถึงบทเพลงนี้ เนื่องด้วยโดยส่วนตัวแล้ว ผู้ประพันธ์เพลงนี้ ไม่ว่าครูเอื้อ สุนทรสนาน ผู้ประพันธ์ทำนอง และครูแก้ว อัจฉริยะกุล ผู้ประพันธ์คำร้อง ถือเป็นปูชนียบุคคลที่ผู้เขียนมีความชื่นชมในความรู้ความสามารถ และให้ความเคารพดุจเป็นครูเพลงในดวงใจเสมอมา ดังนั้น หากมีข้อความใดในข้อเขียนนี้ ล่วงเกินท่านใดท่านหนึ่ง ผู้เขียนต้องกราบขออภัยดวงวิญญาณของท่านทั้งสองมา ณ ที่นี้ด้วย
เหตุที่จำต้องเขียนถึงผลงานเพลงชิ้นนี้ของทั้งสองท่าน ก็เพราะผู้เขียนค้างคาใจมาหลายสิบปี ถึงคุณค่าแท้จริงของเพลงบทนี้

ในบรรดาคอเพลงสุนทราภรณ์ และผู้เชี่ยวชาญด้านเพลงไทยสากลร่วมสมัย ต่างยกย่องให้เพลง พรานทะเล เป็นหนึ่งในบทเพลงระดับ Masterpiece ของวงดนตรีสุนทราภรณ์ ได้รับการขับขานจากรุ่นสู่รุ่นสืบต่อกันมาเกิน 60 ปี เรียกว่าเป็นบทเพลงอมตะยืนยงคู่กาลเวลาเพลงหนึ่งทีเดียว
แม้ตราบจนทุกวันนี้ ยังมีนักร้องรุ่นใหม่ นำมาขับขานเผยแพร่อยู่อย่างไม่ขาดสาย หลายสิบหลายร้อยเวอร์ชั่น และเชื่อว่ายังคงความอมตะเช่นนี้ต่อไปอีกนาน.. แต่ยิ่งมีนักร้องนำมาขับขานซ้ำมากเท่าไร ความเคลือบแฝงที่ฝังลึกในใจของผู้เขียนก็ยิ่งเพิ่มทวีขึ้น จนสุดระงับยับยั้งได้ จนต้องจับปากการเขียนบทความนี้

ครูเอื้อ สุนทรสนาน หัวหน้าวงดนตรี "สุนทราภรณ์"
ทำนองหลักของเพลงนี้ มีแนวทำนองง่ายๆ มีกลิ่นไอของเพลงไทยเดิมเจืออยู่ในระดับสูง แต่ก็มีความแปลกใหม่ของแนวทำนองแบบสากลแทรกเข้ามาอย่างเห็นได้ชัดในท่อนแยกของเพลง ลักษณะนี้นับเป็นการผสานกันอย่างลงตัวแทบหาที่ติดไม่ได้ นับเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นในการประพันธ์ทำนองเพลงของครูเอื้อ สุนทรสนาน โดยแท้ อันที่จริงแล้ว ความลงตัวโดดเด่นของทำนองของเพลงนี้ มีให้เห็นตั้งแต่ดนตรีอินโทรต้นเพลงนั่นทีเดียว ท่อนอินโทรของเพลงนี้มีท่วงทำนองไพเราะอย่างเป็นเอกลักษณ์ ตัวโน้ตให้ความรู้สึกถึงการโยนตัวของเรือลำน้อยในทะเลกว้าง เรียกว่าเพียงได้ยินอินโทรของเพลง ก็รู้แล้วว่าเพลงนี้คือเพลงอะไร และกำลังพูดถึงเรื่องอะไร

ครูแก้ว อัจฉริยะกุล ผู้ประพันธ์เนื้อร้องเพลงของสุนทราภรณ์หลายร้อยเพลง
ในเมื่อทำนองของเพลงสมบูรณ์ดังกล่าวมาข้างต้น ปัญหาของเพลงนี้ จึงตกหนักอยู่ที่คำร้อง ที่ประพันธ์โดยครูแก้ว อัจฉริยะกุล หลายสิบปีก่อน เมื่อผู้เขียนได้ยินเพลงนี้ครั้งแรก ก็เกิดปัญหาคาใจที่ไม่อาจหาคนให้ความกระจ่างได้ เกี่ยวกับเนื้อร้องของเพลงนี้ ทุกครั้งที่ได้ยินเพลงนี้ ปัญหาเหล่านั้นก็กลับมารบกวนจิตใจของผู้เขียนโดยตลอดดังจะได้ขยายความในย่อหน้าถัดไป เนื้อเพลงท่อนแรกมีว่า ชีวิตที่คร่ำ กลางน้ำเวียนวน... ผู้เขียนสะดุดใจตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้ฟังเพลงนี้ว่า ชีวิตที่คร่ำ... นี่ เป็นชีวิตเยี่ยงไรหนอ? เพลงชื่อ พรานทะเล ให้ความหมายเป็นนัยว่าเป็นบทเพลงของชาวประมง ที่มีอาชีพจับปลา จับสัตว์น้ำอยู่ในทะเลหรือมหาสมุทร โดยอาศัยเรือและเครื่องมือพวกอวน ตาข่าย ฯลฯ คู่ใจ แต่เมื่อเจอกับท่อนแรกของบทเพลงว่า ชีวิตที่คร่ำ... ก็เลยชวนสงสัยอย่างช่วยไม่ได้ว่า คร่ำ ในที่นี้หมายถึง คร่ำ อะไร? ในภาษาไทย คำนี้มีที่ใช้อยู่ไม่มากเลย เช่น คร่ำครึ, คร่ำเคร่ง , คร่ำครวญ, คร่ำหวอด ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นคำผสม ไม่อาจใช้คำว่า คร่ำ โดดๆได้เลย แม้ในพจนานุกรมจะให้ความหมายของคำว่า คร่ำ อันเป็นคำเดี่ยวว่า หมายถึงน้ำทูนหัวของทารกในครรภ์มารดา คือน้ำคร่ำ แต่ในทางปฏิบัติ เราก็มักเรียกว่า น้ำคร่ำ ไม่เคยเห็นใครหรือที่ไหนเรียก คร่ำ โดดๆ และยิ่งมาถูกนำมาเกี่ยวโยงกับความหมายในเพลงพรานทะเลด้วยแล้ว คำว่า คร่ำที่ถูกนำมาใช้จึงสร้างความเคลือบแคลงแก่ผู้เขียนมาตลอด

จะว่าครูแก้วละคำหลังไว้ในฐานที่เข้าใจก็ไม่น่าใช่ เพราะโดยสามัญสำนึกของคนทั่วไป เชื่อว่าแทบทุกคนจะไม่แน่ใจว่าคำที่ละไว้นั้น หมายถึงคำว่า คร่ำเคร่ง หรือ คร่ำหวอด คำที่ดูจะเข้าเค้าที่สุด เห็นจะเป็นคำว่า คร่ำหวอด เพราะคงไม่มีพรานทะเลคนไหนหาปลาแบบคร่ำเคร่งเป็นแน่ (คำว่าคร่ำเคร่ง น่าจะใช้กับการทำงานด้านเอกสารหรืองานที่ใช้สมองมากกว่าการใช้แรงงาน หรือการหาปลา) แต่ก็อีกนั่นแหละ ถ้าจะคร่ำหวอดมือระดับนี้ก็ต้องว่ากันให้ชัดไปเลย มาละคำเว้นไว้แบบนี้ พาลจะกลายเป็น ละไว้ในฐานที่ไม่เข้าใจ เสียมากกว่า หรือถ้าหนักหนาไปกว่านั้น อาจชวนคิดไปได้ว่า ผู้ประพันธ์ ลากคำ มาหาสัมผัสกับคำว่า น้ำ ที่อยู่ใกล้กันไปเสีย ซึ่งดูจะเป็นการลบหลู่ผู้ประพันธ์ระดับครูเพลงไม่น้อย

จุดต่อมาที่ทำให้ผู้เขียนหงุดหงิดใจทุกครั้งที่ฟัง คือท่อนที่ว่า ผองพรานทะเลเร่ไป อยู่ห่างไกลกลางสายชล... โปรดสังเกตคำว่า สายชล แน่นอนว่า ชล แปลว่าน้ำ แต่สายชล แปลว่าอะไร? โดยสำนักของสามัญชนย่อมต้องหมายถึงน้ำที่ไหลมาเป็นสาย เป็นเส้น เป็นแนวยาว นั่นคือแม่น้ำ ลำคลอง นั่นเอง ในที่นี้พรานทะเลพระเอกของเพลงควรอยู่ที่ไหน? ตอบได้ว่าอยู่ในทะเล หรือมหาสมุทร แล้วทำไมเพลงบอกว่าอยู่ห่างไกลกลางสายชลที่แปลตามศัพท์หมายถึงแม่น้ำไปได้? คำว่าทะเล หรือมหาสมุทร ในภาษาไทยมีให้เลือกใช้ตั้งหลายคำ ไม่ว่า ชลธี, สาคร, สมุทร, มหรรณพ ฯลฯ แต่ผู้ประพันธ์กลับไปเลือกนี้คำมาใช้อย่างผิดที่ผิดทาง นับว่าน่าเสียดาย

พอฟังต่อไป เพลงเข้าท่อนแยก ..อยู่หว่างทะเลนานๆ ท้องเรือเป็นบ้าน ท้องธารเรือนตาย.. กำลังฟังเพลิน ๆ เกิดอาการสะดุดหูสะดุดใจอีกแล้ว ท้องเรือเป็นบ้านนั่น เห็นภาพและให้บรรยากาศเชียวละ แต่พอมาบอกว่า ท้องธารเรือนตาย
เอาอีกแล้ว คำว่า ธาร แปลว่าน้ำอีกแล้ว แต่เป็นน้ำลักษณะไหนกัน? เพื่อความมั่นใจ เลยต้องเปิดพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับปี พ.ศ. 2493ดู ก็ได้ความดังนี้... ธาร (ตัดมาจาก ธารา) น. น้ำ, ลำธาร, ห้วย, หยาดน้ำ, ท่อน้ำ
นั่นไง ธารมันหมายถึงแหล่งน้ำจืดทั้งนั้น ใหญ่ที่สุดคือห้วยน้ำ ไม่ได้มีความหมายใหญ่โตระดับทะเล หรือมหาสมุทรสักนิด ค้นต่อไปยังได้ ชลธาร น. ลำน้ำ, ลำคลอง, ร่องน้ำ, ห้วย, ทะเลสาบ ต้องมีชลมาขยาย เป็น ชลธาร ก็ยังได้สูงสุดแค่ทะเลสาบ ไม่ได้กว้างใหญ่ถึงระดับทะเล เนื้อร้องที่ว่า ท้องธารเรือนตาย ในท่อนนี้ จึงพาลให้นึกไปว่า ผู้ประพันธ์ประสงค์เพียงรับสัมผัสจากคำว่า บ้าน ในท่อนข้างหน้า โดยละเลยกับความหมายที่ผิดเพี้ยนของคำที่ใช้

เนื้อร้องท่อนต่อมามีว่า สิ้นชีพสิ้นชนม์ เคราะห์ร้าย ศพฝังโดยง่าย ฝากเอาไว้ใต้ คงคา เอาอีกแล้ว คงคานี่คือชื่อแม่น้ำไม่ใช่หรือ? แม้จะเป็นแม่น้ำขนาดใหญ่ที่ชาวอินเดียโบราณเชื่อว่าไหลมาจากสรวงสวรรค์ก็เถอะ แต่ยังนับว่าเป็นสายน้ำจืดอยู่ดี ฟังอย่างไรก็ไม่อาจเห็นภาพของห้วงน้ำใหญ่แบบทะเล หรือมหาสมุทร ที่จะ มองน้ำตรงหน้าจรดฟ้าไกล ๆ ได้เลย ท่อนสุดท้ายของเพลงมีว่า เพียงเห็นริมฝั่งสักครั้งดีใจ มาบกทีไรให้แสนปรีดา ใกล้แผ่นดินเข้ามาเหมือนมีวิมานตรงหน้า ปลื้มหนักหนาแทบจูบดิน. ท่อนนี้ครูแก้วบรรยายความรู้สึกของพรานทะเลยามได้กลับขึ้นฝั่งได้ดีไม่มีที่ให้ติ ได้ทั้งภาพ ได้ทั้งอารมณ์สะเทือนใจ นับเป็นไฮไลท์ของบทเพลงนี้ก็ว่าได้ คอเพลงสุนทราภรณ์แทบทุกคนจำเนื้อร้องท่อนนี้ได้แม่นยำ นับเป็นสัญลักษณ์สำคัญของเพลงนี้ทีเดียว

คิดว่าจะจบเพียงเท่านี้ แต่อยากให้ท่านผู้อ่าน ลองย้อนกลับไปอ่านทวนเนื้อร้องเพลงนี้ใหม่ตั้งแต่ต้นจนจบอีกสักครั้ง ถ้าอ่านจบแล้ว อยากถามว่า พรานทะเล ในเพลงนี้ ทำอาชีพอะไร? มีอะไรบ่งบอกความเป็นพรานทะเลแท้จริงบ้าง? เรือที่ใช้ลอยลำออกไปในทะเลนั่น เป็นเรือแจว เรือใบ หรือเรือยนต์? มีเครื่องไม้เครื่องมือในการดำรงชีพอะไรบ้าง? แน่นอนว่า ไม่มีใครตอบได้ เพราะไม่มีกล่าวถึงในเนื้อเพลงเลย!

การแต่งเพลง หลักสำคัญประการหนึ่งคือต้องชัดเจน ไม่คลุมเครือ ทั้งยังต้องสะท้อนถ่ายอารมณ์ของตัวละครในบทเพลงออกมาให้ได้อย่างสมจริงสมจัง เช่นถ้าพูดถึงชีวิตของนักศึกษา แน่นอนว่าจะต้องมีสถานศึกษา มีเพื่อน มีการเรียนการสอบ ตำรับตำรา ฯลฯ จะมัวรำพึงรำพันแต่เรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ แล้วตัดขาดจากฉากและองค์ประกอบแวดล้อม ก็จะกลายเป็นเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ ที่เลื่อนลอย ไร้แก่นสาร ทำนองเดียวกับละครน้ำเน่าที่ผูกขาดฉายทางโทรทัศน์ของประเทศนี้ ฉันใดก็ฉันนั้น การจะพูดถึง พรานทะเล โดยตัดขาดออกจากฉากและองค์ประกอบอันสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับชีวิต ย่อมทำให้ความน่าเชื่อ ความสมเหตุสมผล และความสมบูรณ์ของชิ้นงานเสื่อมด้อยลงอย่างช่วยไม่ได้

ครูแก้ว หรือ "แก้วฟ้า" หัวหน้าคณะละครวิทยุ "แก้วฟ้า" ที่โด่งดังในยุคหนึ่ง
เท่าที่ผู้เขียนสืบค้นประวัติของครูแก้ว อัจฉริยะกุล พบว่าครูแก้วเริ่มแต่เพลงตั้งแต่อายุได้ 19 ปีเท่านั้น โดยมีครูเวส สุนทรจามร เป็นผู้ชักนำให้มาร่วมแต่งเพลงให้กับวงดนตรีกรมโฆษณาการ หรือวงดนตรีสุนทราภรณ์ของครูเอื้อ สุนทรสนาน เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2482 และร่วมงานกันอยู่ถึง 15 ปี ก่อนที่จะแยกตัวออกมาตั้งคณะละครวิทยุชื่อ คณะแก้วฟ้า และเขียนบทละครวิทยุจนโด่งดังไปทั่วประเทศในยุคนั้น เพลง พรานทะเล ที่พูดถึงในบทความนี้ แต่งขึ้นในปี พ.ศ. 2485 คือในขณะที่ครูแก้วอายุประมาณ 27 ปี ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับคำร้องเพลงเด่น ๆ ที่ครูแก้วเป็นผู้แต่งร่วมกับครูเอื้อ เช่น เพลง ฟ้าคลุ้มฝน ปาหนัน จุฬาตรีคูณ และ หงส์เหินแล้ว ผู้เขียนเห็นว่า เพลง พรานทะเล นี้ ยังมีจุดอ่อนหลายประการดังที่กล่าวมแล้ว

ภาพครูเอื้อ สุนทรสนาน เมื่อครั้งเข้าเฝ้าในหลวงและสมเด็จฯ เป็นครั้งสุดท้ายก่อนถึงแก่กรรม การเข้าเฝ้าครั้งนี้ ได้ขับร้องเพลง "พรานทะเล" ถวายด้วย
อนึ่ง เพลง พรานทะเล นี้ ยังมีความสำคัญอันพิเศษอีกประการหนึ่ง นั่นคือเป็นบทเพลงสุดท้าย ที่ครูเอื้อได้ร้องถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 ที่พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ เมื่อร้องจบ ครูเอื้อถึงกับหมดแรงซวนเซ หลังจากนั้นไม่นาน ท่านก็ล้มป่วยหนักด้วยโรคเนื้อร้ายในปอด และถึงแก่กรรมในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2524 สิริอายุได้ 71 ปี
แน่นอนว่า ผลงานของศิลปินแต่ละชิ้น ย่อมถูกสร้างขึ้นภายใต้ข้อจำกัด และเงื่อนไขเฉพาะนานัปการ ไม่ว่าเรื่องเวลา สถานที่ และที่สำคัญที่สุดคือเรื่องข้อจำกัดของความรับรู้ เป็นที่น่าเสียดายว่า ผลงานของศิลปินมักจะมีอายุยืนนานกว่าอายุขัยของตัวศิลปินเอง จึงเป็นไปไม่ได้ที่ศิลปินจะอยู่ชี้แจงถึงข้อจำกัดต่าง ๆในขณะสร้างผลงานชิ้นหนึ่ง ๆ การศึกษาถึงผลงานศิลปะ จึงต้องทำโดยอาศัยข้อมูลเพียงเท่าที่มีอยู่ ซึ่งแน่นอนว่า ย่อมไม่อาจถูกต้องครบถ้วนและรอบด้าน กล่าวในแง่ศิลปิน การสร้างผลงานแต่ละชิ้นจึงต้องทำอย่างพิถีพิถันที่สุด นับแต่กระบวนการเรียนรู้ถึงสิ่งที่ตนกำลังลงมือสร้างสรรค์อย่างถ่องแท้ รอบด้าน รอบคอบ จนถึงกระบวนการรับฟังคำท้วงติง และวิพากษ์วิจารณ์อย่างถี่ถ้วนและแก้ไขอย่างละเอียดรอบคอบที่สุด ก่อนจะนำเสนอผลงานของตนสู่สาธารณะ พูดได้ว่า ในทันทีที่ศิลปินเผยแพร่งานของตนออกไป ก็เท่ากับว่าเขาได้สละสิทธิที่จะแก้ไขหรือแก้ตัวในผลงานชิ้นนั้นไปแล้ว เพลง พรานทะเล นี้นับเป็นตัวอย่างที่ดี นับแต่วันที่พรานผู้กร้านทะเลคนนั้น ถอนสมอพาเรือบ่ายหน้าออกสู่ทะเลกว้าง เขามีแต่ต้องมุ่งตรงสู่ขอบฟ้าเบื้องหน้า สู่เวิ้งสมุทรแห่งกาลเวลาอันไกลโพ้น เพื่อบทพิสูจน์สุดท้ายถึงคุณค่าแท้จริง และความเป็นอมตะของตัวตน ที่ถูกเรียกขานว่า พรานทะเล.

"พรานทะเล" หนึ่งในหลายสิบเวอร์ชั่นที่มีผู้นำมาร้องใหม่
**********************************
หมายเหตุ : งานประพันธ์ในบล็อกนี้ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของผู้เขียน ซึ่งได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
การคัดลอกส่วนหนึ่งส่วนใด หรือทั้งหมด เพื่อเผยแพร่โดยทางหนึ่งทางใด โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ผู้เขียนจะดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างถึงที่สุด
"ลุงแว่น" skit@ji-net.com
Create Date : 12 มีนาคม 2552 |
Last Update : 12 มีนาคม 2552 19:18:39 น. |
|
38 comments
|
Counter : 5060 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: ร่มไม้เย็น วันที่: 12 มีนาคม 2552 เวลา:15:23:19 น. |
|
|
|
โดย: ร่มไม้เย็น วันที่: 12 มีนาคม 2552 เวลา:15:35:52 น. |
|
|
|
โดย: ร่มไม้เย็น วันที่: 12 มีนาคม 2552 เวลา:15:38:39 น. |
|
|
|
โดย: SIMAKHA วันที่: 12 มีนาคม 2552 เวลา:15:46:19 น. |
|
|
|
โดย: ก.ก๋า (กะว่าก๋า ) วันที่: 12 มีนาคม 2552 เวลา:16:37:53 น. |
|
|
|
โดย: จันทร์ไพลิน วันที่: 12 มีนาคม 2552 เวลา:17:09:41 น. |
|
|
|
โดย: นู๋ดาว หรือ ดาวจ๋า คนซนๆ ค่ะ (satineesh ) วันที่: 12 มีนาคม 2552 เวลา:17:22:56 น. |
|
|
|
โดย: ทากชมพู วันที่: 12 มีนาคม 2552 เวลา:18:11:37 น. |
|
|
|
โดย: พจมารร้าย วันที่: 12 มีนาคม 2552 เวลา:18:26:48 น. |
|
|
|
โดย: กลีบดอกโมก วันที่: 12 มีนาคม 2552 เวลา:18:59:05 น. |
|
|
|
โดย: ลุงแว่น วันที่: 12 มีนาคม 2552 เวลา:19:12:37 น. |
|
|
|
โดย: กลีบดอกโมก วันที่: 12 มีนาคม 2552 เวลา:19:33:19 น. |
|
|
|
โดย: fg IP: 125.24.151.245 วันที่: 12 มีนาคม 2552 เวลา:23:16:16 น. |
|
|
|
โดย: ก.ก๋า (กะว่าก๋า ) วันที่: 13 มีนาคม 2552 เวลา:7:35:20 น. |
|
|
|
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 13 มีนาคม 2552 เวลา:11:24:46 น. |
|
|
|
โดย: ทากชมพู IP: 115.67.190.121 วันที่: 13 มีนาคม 2552 เวลา:22:01:36 น. |
|
|
|
โดย: tj-takm วันที่: 14 มีนาคม 2552 เวลา:1:04:51 น. |
|
|
|
โดย: tj-takm วันที่: 14 มีนาคม 2552 เวลา:1:06:19 น. |
|
|
|
โดย: Why England วันที่: 14 มีนาคม 2552 เวลา:5:26:33 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 14 มีนาคม 2552 เวลา:9:26:10 น. |
|
|
|
โดย: ก.ก๋า (กะว่าก๋า ) วันที่: 14 มีนาคม 2552 เวลา:13:16:02 น. |
|
|
|
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 14 มีนาคม 2552 เวลา:20:17:06 น. |
|
|
|
โดย: ทากชมพู IP: 115.67.135.135 วันที่: 14 มีนาคม 2552 เวลา:22:19:51 น. |
|
|
|
โดย: ร่มไม้เย็น วันที่: 14 มีนาคม 2552 เวลา:22:36:48 น. |
|
|
|
โดย: ก.ก๋า (กะว่าก๋า ) วันที่: 15 มีนาคม 2552 เวลา:7:17:05 น. |
|
|
|
โดย: ดาวจ๋าคนซนๆค่ะ (satineesh ) วันที่: 15 มีนาคม 2552 เวลา:14:46:44 น. |
|
|
|
โดย: กะก๋า (กะว่าก๋า ) วันที่: 15 มีนาคม 2552 เวลา:15:16:58 น. |
|
|
|
โดย: endless man วันที่: 15 มีนาคม 2552 เวลา:18:23:27 น. |
|
|
|
โดย: กะก๋า (กะว่าก๋า ) วันที่: 15 มีนาคม 2552 เวลา:18:48:46 น. |
|
|
|
โดย: กะก๋า (กะว่าก๋า ) วันที่: 15 มีนาคม 2552 เวลา:18:49:02 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 16 มีนาคม 2552 เวลา:7:09:55 น. |
|
|
|
โดย: เด็กกำลังโต IP: 118.173.232.159 วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา:9:36:49 น. |
|
|
|
โดย: วาฬทะเล IP: 161.200.16.68 วันที่: 29 กรกฎาคม 2553 เวลา:9:35:50 น. |
|
|
|
โดย: addsiripun วันที่: 22 มกราคม 2554 เวลา:19:38:05 น. |
|
|
|
| |
|
|
ป้ากุ๊กรีบเจิม รีบเจิม รีบเจิม รีบเจิม รีบเจิม รีบเจิม รีบเจิม
รีบเจิม รีบเจิม รีบเจิม รีบเจิม รีบเจิม รีบเจิม รีบเจิม รีบเจิม
รีบเจิม รีบเจิม รีบเจิม รีบเจิม รีบเจิม รีบเจิม รีบเจิม รีบเจิม
รีบเจิม รีบเจิม รีบเจิม รีบเจิม รีบเจิม รีบเจิม รีบเจิม รีบเจิมจ้าาาาาาา