วิทยาศาสตร์มีอยู่ในทุกที่ เราสอนเราเรียนกันได้ทุกวัน
<<
มิถุนายน 2556
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
3 มิถุนายน 2556

ตามไปดูกิจกรรม “รูปทรงแสนสนุก” เรื่องสนุก ๆ ในชั้นเรียนของเด็กอนุบาล

เรียนคณิตแบบสืบเสาะหาความรู้ ใช้คำถามกระตุ้นต่อมคิด


วันนี้ เราพาไปดูเด็ก ๆ ปฐมวัยที่โรงเรียนอนุบาลภูเก็ต เรียนรู้อย่างสนุกสนานกับกิจกรรม “รูปทรงแสนสนุก” โดยคุณครูกนกอร ปานบุญ ได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้นี้ขึ้น เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักรูปทรงเรขาคณิต จำแนกรูปทรงเรขาคณิต รวมทั้งเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปทรงเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำได้





“ลักษณะสำคัญของการสืบเสาะหาความรู้ในกิจกรรมนี้ก็คือการตั้งคำถามเชิงวิทยาศาสตร์ เด็กๆสังเกตรูปทรงและตั้งคำถามว่า รูปทรงแต่ละรูปทรงไม่เหมือนกันอย่างไร สำรวจตรวจสอบรวบรวมข้อมูล เด็กๆ สังเกตในห้องเรียนว่ามีอะไรบ้างที่มีลักษณะเป็นรูปทรงเรขาคณิต หยิบรูปทรงเรขาคณิตที่รู้จักมาให้เพื่อนดูและครูแนะนำรูปทรงที่นักเรียนยังไม่รู้จัก ตอบคำถามอ้างอิงข้อมูล สร้างคำอธิบายอย่างมีเหตุผล เด็กๆร่วมกันทำแผนภาพแยกประเภทของรูปทรงและสรุปถึงรูปทรงที่เด็กๆ รู้จักและประเภทของรูปทรงอีกครั้งนำเสนอผลการสำรวจตรวจสอบ นักเรียนนำรูปทรงต่างๆ มาต่อเติมตามจินตนาการและนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน” คุณครูกนกอร ปานบุญ กล่าว

สำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดำเนินไปตามลำดับขั้นตอนดังนี้ ใน ขั้นนำ นักเรียนและคุณครูสนทนาซักถามถึงสิ่งของที่มีลักษณะเป็นรูปทรงเรขาคณิตต่าง ๆ ที่เด็กๆ พบเห็นในชีวิตประจำวันว่ามีอะไรบ้าง ครูให้เด็กออกมาบอกหน้าชั้นเรียน หรือครูอาจใช้คำถามกระตุ้นความคิดและความสนใจของเด็ก ดังเช่นคำถามต่อไปนี้




เอ๊ะ .. ในห้องเรียนเด็ก ๆ มีอะไรที่เป็นรูปทรงเรขาคณิต ในห้องเรียนที่เด็ก ๆ รู้จักให้ครูและเพื่อนดูบ้างนะ” ..เช่น ลูกบอล ลูกปิงปอง ไม้ต่อบล็อก แก้วน้ำกระดาษ ผลไม้จำลอง เป็นต้น


ต่อมาในขั้นสอน ครูเตรียมรูปทรงเรขาคณิตมาให้นักเรียนสังเกตและสัมผัส พร้อมทั้งแนะนำรูปทรงต่างๆ ที่พวกเขายังไม่รู้จัก และให้นักเรียนออกมาหน้าชั้น เพื่อบอกลักษณะของรูปทรงที่เห็นและบอกความแตกต่างของรูปทรงแต่ละชนิด





นอกจากนั้นคุณครูยังให้นักเรียนเล่มเกมหยิบสิ่งของรูปทรงต่างๆ ตามคำสั่งของคุณครู โดยครูแบ่งนักเรียนออกเป็นสองทีม แต่ละทีมให้ส่งตัวแทนออกมาร่วมเล่นทีละคน โดยที่ครูเป็นผู้ออกคำสั่ง เช่น

“ให้เด็กๆ ไปหยิบลูกทรงกลม” ...... นักเรียนจากทีมที่วิ่งไปหยิบรูปทรงกลมได้ก่อนก็จะนำมาไว้ที่ตะกร้าตัวเอง

ครูให้เด็กเล่นจนครบทุกคน เสร็จแล้วครูและนักเรียนร่วมกันนับรูปทรงที่อยู่ในตะกร้าของแต่ละทีม โดยตัดสินให้ทีมที่ได้เยอะที่สุดเป็นผู้ชนะ







เมื่อนักเรียนเล่มเกมเสร็จแล้ว ครูเตรียมแผนภาพแยกประเภทรูปทรงเรขาคณิตไว้ แล้วให้เด็ก ๆ หยิบรูปทรงเรขาคณิตต่าง ๆ มาติดในช่องให้ถูกต้อง เสร็จแล้วนักเรียนและครูช่วยกันนับ และช่วยกันสรุปว่ารูปทรงแต่ละชนิดนั้น นักเรียนได้ติดรูปทรงในช่องที่ถูกต้องหรือไม่ และแต่ละช่องมีจำนวนเท่าไหร่

ขั้นสุดท้าย ขั้นสรุป เมื่อนักเรียนได้รู้จักรูปทรงต่าง ๆ และสามารถแยกประเภทรูปทรงต่าง ๆ ได้แล้ว ครูเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นรูปทรงเรขาคณิต เช่น กล่องกระดาษ ขวดนมเปรี้ยว ลูกปิงปอง กล่องนม ฯลฯ มาให้เด็กๆ ช่วยกันต่อเติมเป็นเรื่องราวต่าง ๆ ตามจินตนาการ โดยครูเป็นเพียงแค่ผู้คอยดูแลและอำนวยความสะดวกอยู่ใกล้ ๆ





และท้ายสุด .....นักเรียนมานำเสนอผลงานของกลุ่มตัวเองหน้าชั้นเรียนว่า สามารถนำรูปทรงต่าง ๆ มาต่อเติมเป็นรูปอะไรได้บ้าง








กิจกรรมดังที่กล่าวมานั้น เป็นประโยชน์ต่อคุณครูโรงเรียนอื่นๆ รวมทั้งพ่อแม่ผู้ปกครองที่สามารถนำไปปรับใช้ได้กับลูกศิษย์และบุตรหลานวัยอนุบาลตัวน้อย ๆ ของตนเองได้ ซึ่งผลงานนี้ได้นำไปจัดแสดงในงานประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีปฐมวัย ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ "วิทย์ - คณิตปฐมวัย ก้าวย่างอย่างไรให้ยั่งยืน" ที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ ที่จัดโดย สสวท. เมื่อปีที่แล้วด้วย


ทั้งนี้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้ได้ดำเนินโครงการบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีปฐมวัย โดยมีการพัฒนากรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 พร้อมทั้งได้จัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตามสาระ มาตรฐานและตัวชี้วัด รวมทั้งตัวอย่างกิจกรรมไว้อย่างละเอียดและชัดเจน เพื่อให้ครูและผู้เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


“สสวท. ได้สร้างครูแกนนำปฐมวัยกว่า 600 คน ในทุกเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ และครูปฐมวัยกว่าหมื่นคนได้นำร่องกิจกรรมบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ปฐมวัยลงสู่ชั้นเรียน” ดร. พรพรรณ ไวทยางกูร ผู้อำนวยการ สสวท. กล่าว
ผู้สนใจสอบถามเพิ่มเติมที่ สสวท. Contact Center หมายเลขโทรศัพท์ 0-2335-5222












Create Date : 03 มิถุนายน 2556
Last Update : 3 มิถุนายน 2556 11:55:25 น. 1 comments
Counter : 16243 Pageviews.  

 
น่าสนใจมากค่ะ


โดย: K- lucky IP: 118.172.42.253 วันที่: 2 สิงหาคม 2556 เวลา:21:31:40 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Wit Thabungkan
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




บทความและสกู๊ปข่าวที่เผยแพร่ในบล็อกนี้ทั้งหมดเป็นผลงานเขียนของ "สินีนาฎ ทาบึงกาฬ" ส่วนประชาสัมพันธ์ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
[Add Wit Thabungkan's blog to your web]