space
space
space
<<
สิงหาคม 2562
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
space
space
2 สิงหาคม 2562
space
space
space

หนี้ครัวเรือนไทย

                                                                  หนี้ครัวเรือน
ช่วงนี้เราคงได้ยินข่าวเกี่ยวกับหนี้ครัวเรือนค่อนข้างบ่อยและผู้เขียนเห็นว่าในหลายๆคอมเม้นที่บอกให้ธปท.ลดดอกเบี้ยไม่ว่าจะทั้งฝั่งการเมืองก็ดีหรือใครก็แล้วแต่โจมตีธปท.ว่าทำไมไม่ลดดอกเบี้ยหรือผ่อนคลายมาตราการปล่อยสินเชื่อของแบงค์LTV ซึ่งต้องยอมรับว่ามีผลทำให้ยอดขายคอนโดทั้งตลาดลดลงคอนโดขายไม่ออกและคาดว่าจะติดลบถึง 20-30% จนถึงสิ้นปี   เลยอยากมาอธิบายให้ฟังว่าเรื่องนี้สำคัญอย่างไร หรือเลอะเทอะไปเอง?
-โดยช่วงแรกขอเน้นLTVก่อน ช่วงหลังจะพูดถึงปริมาณหนี้ครัวเรือนรวมถึงNPL และพฤติกรรมผู้บริโภค
ก่อนอื่นขอย้อนไปถึงภาวะตลาดอสังหา ช่วงปี 2555-2556 ซึ่งเป็นปีทองของผู้ประกอบการที่สามารถทำกำไรได้ดีตัวเลขจากข้อมูลบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่มีผลตอบแทนต่อสินทรัพย์หรือ ROA (Return on Assets) เพิ่มขึ้นมาที่ร้อยละ 9-10 เทียบปีก่อนๆ ที่ร้อยละ 6-7  แล้วตัวเลขนี้มันบอกถึงอะไร? เมื่ออัตราการผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ROAดีขนาดนั้นส่งผลให้บริษัทที่อยู่ในตลาดอสังหาและไม่อยู่(กระโจนเข้ามาร่วมแจมส่วนแบ่งตลาด) และเมื่อเข้ามาก็ไม่อยากออกเมื่อกำไรมันดีขนาดนั้นรวมถึงสร้างยังไงก็ขายหมดทั้งกำลังซื้อในประเทศและนอกประเทศ(คนจีนเป็นส่วนใหญ่)ส่งผลให้อุปทานในตลาดมีมากขึ้นจึงนำไปสู่ภาวะอุปทานคงค้างก็คล้ายๆกับที่เราชอบบอกกันว่าเป็นoversupply

โดยการทำโปรโมชั่นลดแลกแจกแถมของผู้ประกอบการก็เพื่อที่จะหาฐานลูกค้าใหม่เพราะในฐานลูกค้าเก่าdemandเหล่านั้นมันอิ่มตัวผู้ประกอบการจึงต้องหาลูกค้าระดับที่รองลงมาคือระดับกลางค่อนล่าง เมื่อกำลังการซื้อของลูกค้ากลุ่มนี้มีไม่มากจึงทำโปรโมชั่นออกมารวมถึงฝั่งแบงค์ที่ให้ สินเชื่อเงินทอนและให้LTV ที่สูง ประกอบกับระยะเวลาการผ่อนหนี้ต้องถูกยืดให้ยาวออกไป คำถามอีกข้อคือแล้วทำไมสถาบันการเงินถึงได้อนุมัติสินเชื่อโดยให้ LTV ที่สูง แม้ผู้ประกอบการจะลด แลก แจก แถม
ส่วนนึงคือตลาดมีการแข่งขันที่ดุเดือดมากขึ้นแม้นโปรไฟล์ผู้กู้บางคนจะดูไม่ดีซักเท่าไหร่สถาบันการเงินก็ต้องทำเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ
ที่น่าสังเกตอีกอย่าง ในช่วงนี้ NPL อยู่ในระดับต่ำ แต่เมื่อย้อนดูตัวเลข NPL ของสินเชื่อในภาคอสังหาและการบริโภคปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สวนทางกับภาพรวมเศรษฐกิจ และในภาคอสังหามีการซื้อบ้านหลังที่ 2 หลังที่ 3 และหลังที่ 4 พร้อมกันในขณะที่หลังแรกยังผ่อนไม่หมด ซึ่งเป็นการบ่งบอกได้ถึงการซื้อไปเพื่อเอาไปเก็งกำไรขายต่อนั่นเอง หนี้มีเยอะแยะทั้งบัตรเครดิตรถยนต์ธุรกิจ ทำไมต้องเจาะจง อสังหาเพราะตัวเลขอสังหานั้นใหญ่ที่สุดรวมไปถึงหลายๆวิกฤตในอดีตสังเกตุดีๆก็เกิดจากภาคอสังหาเป็นหลัก พอฟองสบู่แตกก็จะลามไปในทุกภาคทุกสถาบัน เรียกได้ว่าเกิดช้าๆไม่ทันตั้งตัวแต่รุนแรงที่สุด

 แล้วมันจะเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจอย่างไร?> ในเรื่องของระบบการเงินหรือเสถียร์ภาพทางการเงินfinancial stabilityก่อนยังไม่พูดถึงเรื่องของconsumptionหรือทางด้านเศรษฐกิจ 1.ฐานะทางการเงินของครัวเรือนที่เปราะบางมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง 2.เกิดการผิดนัดชำระหนี้ในวงกว้าง บ้านถูกยึดและขายในตลาดรอง ส่งผลให้ราคาบ้านลดลง 3.กำลังซื้อจากจีนหายไปก็จะส่งผลกระทบต่อราคาอสังหาริมทรัพย์เช่นกัน 4.ผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่าลืมว่าภาคอสังหาค่อนข้างมีความสำคัญในภาคเศรษฐกิจราวๆ14%ถ้าจำตัวเลขไม่ผิด เรียกได้ว่าเป็นตัวขับเคลื่อนกลไกสำคัญอีกตัวนึง 5.จะทำให้เกิดอุปทานส่วนเกินขึ้น คือเราจะมีที่อยู่อาศัย  แต่กลับไม่มีคนมาอาศัยอยู่จริงๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆสิ่งนี้ในทางเศรษฐศาสตร์เราเรียกว่าอุปสงค์เทียม ทำให้ราคาบ้านโดยเฉพาะคอนโดเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องจนเกิดเป็นฟองสบู่ขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อราคาอสังหาริมทรัพย์ในอนาคตอีกกด้วย  เมื่อเกิดวิกฤตบางคนอาจโทษผู้ประกอบการที่ออกอุปทานมากเกินไป โทษสถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อหละหลวม(สถาบันการเงินขนาดใหญ่ยังไม่ถือว่ามีความเสี่ยงแม้มีลูกหนี้จำนวนมากเพราะธปท.เข้าตั้งทุนสำรองต่อสินเชื่อไว้สูงทำให้แม้เกิดNPLก็ไม่ล้ม เพราะสถาบันการเงินขนาดใหญ่มีความเสี่ยงที่ค่อนข้างสูงผลกระทบจะแรงมากต่อระบบเศรษฐกิจเพราะถ้ามีแบงค์ใดล้มก็จะส่งผลกระทบต่อไปยังตัวอื่น *ส่วนทำไมการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทำไมหลายธนาคารถึงบอกว่าไม่ค่อยเป็นกังวลต่อหนี้NPLเพราะลุกค้าส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่ในธุรกิจอุตสาหกรรม ที่อาจโดนผลกระทบโดยตรง และหนี้เสียที่ลดลงในปีนี้เกิดจากแบงค์ที่เข้ามาปรับโครงสร้างหนี้นั่นเอง) โทษครัวเรือนที่กู้เกินตัว หรือโทษอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมานาน ความจริงคือมันเป็นความเสี่ยงที่สะสมขึ้นจากทุกฝ่ายจากการที่แต่ละคนทำหน้าที่ในมุมมองของตนเองโดยที่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับความเสี่ยงของภาพรวมทั้งระบบเท่าที่ควร และนี่คือเหตุผลที่ทำไมมาตรการ LTV จึงต้องออกมาในช่วงเวลานี้
สุดท้ายแล้วเราก็ต้องมาดูกันอีกทีว่ามาตรการนี้จะช่วยได้ดีแค่ไหน
*การปรับโครงสร้างหนี้ที่ทั้งรัฐและธปท.เข้าไปช่วยดูแลแม้จะปรับโครงสร้างหนี้สำเร็จแต่40%กลับมามีหนี้เสียใหม่  โดยคลีนิกแก้หนี้ระยะที่2ของธปท.เองได้เพิ่ม หนี้กลุ่ม Non-bank เข้าไปด้วยเพื่อให้ครอบคลุมหนี้ในวงกว้างมากขึ้น


ปริมาณหนี้ครัวเรือนรวมถึงNPLและพฤติกรรมผู้บริโภค
สินทรัพย์ ระเบิดเวลา เกร็งกำไร ลงทุนระยะยาว ฟุ่มเฟือย หรือ จำเป็น?
1.หนี้ครัวเรือนในประเทศไทยมีแค่ไหนทำไมต้องสนใจ หรือเลอะเทอะไปเอง?
ตามข้อมูลของธปท.และศูณย์วิจัยกสิกรไทยชี้ให้เห็นว่า จำนวนหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นโดยปี 2550-ปัจจุบัน2562 ปี2550คิดเป็นเปอร์เซ็นต่อGDPที่51.7% สูงที่สุด81.2%ในปี2558และปัจจุบันอยู่ที่ 77.5-79.5% ต่อGDP คิดเป็นจำนวนเงินปัจจุบันมีมากกว่า12ล้านๆบาทเกือบจะไปแตะ14ล้านล้านบาท  หรืออันดับ10ของโลกอันดับที่2ของเอเชีย
2.สัดส่วนหนี้ต่อ GDP: ไทยรั้งอันดับ 2 ของเอเชีย รองจากเกาหลีใต้ (บางสำนักจัดไทยเป็นอันดับ 3 ถ้ารวมออสเตรเลียเข้ามาด้วย)  ขอก้อปบางคอมเม้นมา ว่า เรื่องสร้างรายได้เราอาจจะแพ้หลายประเทศ แต่เรื่องสร้างหนี้ พี่ไทยไม่แพ้ใครนะครับ
3. ทีนี้ใครก่อหนี้มากที่สุด คำตอบคือ Gen Y ตามมาด้วย Gen X และ Baby Boomer ตามลำดับ โดยเจาะลึกหนี้เข้าไปในหนี้แต่ละกลุ่ม กลุ่มแรก บ้าน 1. Gen Y 58% / Gen X 35% และ Baby Boomer 7% กลุ่มที่ 2.รถยนต์ Gen Y50% / Gen X 38% และ Baby Boomer 12%  กลุ่มที่3.บัตรเครดิต (หนี้ฝั่งบัตรเครดิตทรงตัวตั้งแต่ปี2559-2562) Gen Y59% / Gen X 31% และ Baby Boomer 10%   เห็นได้ชัดว่าgen yเป็นหนี้สูงสุดรองลงมาคือ gen x    ***** ช่วงอายุของแต่ละGEN  Y=22-39 GEN X=40-54 Baby Boomer 55-73
4.ฐานะทางการเงินของครัวเรือนแต่ละกลุ่มขอสรุปสั้นๆ แบ่งออกเป็น4กลุ่ม 4.1ไม่มีหนี้ 4.2 มีหนี้ 4.3มีหนี้แต่ไม่มีปัญหาทางการเงิน 4.4 มีหนี้และมีปัญหาทางการเงิน
-คนที่เป็นหนี้แต่ไม่มีปัญหาทางการเงิน จะมีรายรับที่สูง และมีการก่อหนี้แต่ก่อหนี้ที่น้อยกว่าincome คือชำระหนี้ราวๆ20%ต่อรายได้
-คนที่เป็นหนี้และมีปัญหาทางการเงิน จะก่อหนี้เกินตัว คือชำระหนี้ต่อเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 46% ของรายได้


-ขอยกเอาคำพูดของทางแบงค์ชาติมาซึ่งพูดไว้ดีทีเดียว  เกี่ยวกับสินเชื่อเงินทอน
“สินเชื่อเงินทอน” มีลูกค้าที่กู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย 3 สัญญาขึ้นไปพร้อมกันเพิ่มขึ้นมากเพียงเพื่อหวังเงินทอนก้อนโตและไม่ได้ใช้อยู่อาศัยจริง การกระทำดังกล่าวเป็นการสนับสนุนให้เกิดการก่อหนี้ที่เกินความจำเป็น ซ้ำเติมปัญหาหนี้ครัวเรือนของไทยให้รุนแรงมากขึ้น และที่สำคัญ ส่งเสริมการเก็งกำไรโดยตั้งอยู่บนความเชื่อผิด ๆ ว่า บ้านมีแต่จะราคาเพิ่มขึ้น หรือจะสามารถปล่อยบ้านให้เช่าได้ราคาดีตลอดไป ซึ่งไม่เป็นความจริง ส่งผลให้เกิดอุปสงค์เทียมเพื่อการเก็งกำไร และทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวมเร็วและอาจเกิดฟองสบู่
การลดมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อจนเกินพอดีและการให้สินเชื่อเงินทอนจนนำไปสู่ภาวะฟองสบู่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ไม่มีทางที่จะยั่งยืน และในระยะยาวจะเกิดผลกระทบเชิงลบทั้งต่อเจ้าของโครงการอสังหาริมทรัพย์ สถาบันการเงินผู้ปล่อยกู้ และต่อตัวลูกค้าเอง ถ้าไม่ช่วยกันป้องกันดูแลแต่เนิ่น ๆ เมื่อฟองสบู่แตกลง จะสร้างผลข้างเคียงอย่างมากกับทุก ๆ คน มูลค่าทรัพย์สินของคนไทยจะลดลงมาก เพราะบ้านเป็นทรัพย์สินสำคัญของคนไทย

สาระ------------------------------------------------------
-ส่วนเรื่องค่าเงินบาทพูดกันมาเยอะแล้วอ่านเพิ่มเติมได้ที่มุมซ้ายล่าง
*หนี้สาธารณะประมาณการGDPปัจจุบันปี2562   มี16,610,726.83 ล้านบาท คิดเป็น42.02ต่อGDP แต่ยังไม่เกินกรอบเป้าหมายนโยบายการคลังที่60%ต่อGDP
-ข้อมูลจากเครดิตบูโร บอกว่าการที่จะสามารถลดหนี้ครัวเรือนได้นั้นต้องลดสินเชื่อในกลุ่มnon-bank  โดยเฉพาะกลุ่มบัตรเครดิต
-หลังแบงค์ในไทยแถลงตัวเลขกำไรในปี62เพิ่มขึ้นแต่เพิ่มขึ้นในปริมาณที่ลดลงส่วนนึงมาจากปัญหาหนี้เสียNPLที่ก็เพิ่มขึ้นเช่นกันทำให้ความสามารถในการทำกำไรลดลง แต่ทั้งระบบยังมีเสถียรภาพ เพราะส่วนใหญ่ยังเข้มงวดในการพิจารณาสินเชื่อและความเพียงพอของเงินกองทุนและสภาพคล่องที่มีในระดับสูง  และในปีนี้ธนาคารจัดการปัญหาหนี้เสียซึ่งส่งผลให้มีจำนวนที่ลดลงเหลือเพียง1%ในไตรมาตร2ของปี62 แต่จะเห็นหนี้เอ็นพีแอลคงค้างเก่าสะสมที่ 7.8% ราวๆ2.6 หมื่นล้านบาท ถ้าจำตัวเลขไม่ผิด ซึ่งธนาคารจะเข้าไปบริหารจัดการส่วนนี้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้พอร์ตสินเชื่อมีคุณภาพมากขึ้น โดยทั้งปีจะควบคุมเอ็นพีแอลไม่ให้เกิน 8%

ดูข้อมูลเพิ่มเติม https://www.facebook.com/Sidisandbew/?epa=SEARCH_BOX
พักจากเรื่องเครียดๆ บทความหน้าเจอกันเรื่อง -startup4




 

Create Date : 02 สิงหาคม 2562
0 comments
Last Update : 29 ตุลาคม 2562 7:59:57 น.
Counter : 1553 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

space

สมาชิกหมายเลข 1116722
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 1116722's blog to your web]
space
space
space
space
space