พระเมรุสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี










พระเมรุสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี













































































๑๐







๑๑




เป็นอาคารทรงสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ยอดทรงมณฑปแปลง มีมุขยื่นทั้งสี่ด้าน สร้างขึ้นบนฐานชาลาใหญ่ ความสูงถึงยอดฉัตร ๓๕.๕๙ เมตร มุขหน้าด้านทิศตะวันตกเป็นทางเสด็จพระราชดำเนิน มุขด้านทิศเหนือมีสะพานเกรินสำหรับอัญเชิญพระโกศขึ้นประดิษฐานเหนือพระจิตกาธานภายในพระเมรุ มุขหลังด้านทิศตะวันออกเป็นพื้นที่วางเตาเผาพระศพ บริเวณฐานชาลาทุกด้าน มีบันไดทางขึ้นลง รายล้อมด้วยรั้วราชวัติ ฉัตร โคม และเทวดาอัญเชิญฉัตรประกอบพระอิสริยยศ

พลอากาศตรีอาวุธ เงินชูกลิ่น สถาปนิกผู้ออกแบบเรียกเครื่องยอดลักษณะนี้ว่า เครื่องยอดทรงมณฑปแปลง เนื่องจากเป็นการประยุกต์ให้แตกต่างจากเครื่องยอดทรงมณฑปปกติ ซึ่งจะต้องมีชั้นเหมอยู่ใต้ชั้นบัวกลุ่ม แต่ครั้งนี้ พลอากาศตรีอาวุธ ได้ออกแบบทรงมณฑปนี้ใหม่โดยที่ไม่มีชั้นเหม จึงเรียกว่าเป็นทรงมณฑปแปลง

เครื่องยอดพระเมรุนี้ ประกอบด้วยชั้นเชิงกลอน ๕ ชั้น กึ่งกลางของเชิงกลอนแต่ละชั้นมีซุ้มบันแถลงซ้อนสองชั้น ที่มุมหลังคามีนาคปัก ส่วนบนเป็นองค์ระฆังรับบัลลังก์ เหนือบัลลังก์เป็นชุดบัวกลุ่ม ๕ ชั้น ปลียอดแบ่งเป็นสองส่วนคั่นด้วยลูกแก้ว ที่ยอดบนสุดประดิษฐานสัปตปฎลเศวตฉัตร (ฉัตร ๗ ชั้น)
ภายในพระเมรุตั้งพระจิตกาธาน ประดิษฐานพระโกศไม้จันทน์
การตกแต่งพระเมรุ ใช้งานศิลปกรรมแบบซ้อนไม้ทดแทนการแกะสลักไม้จริง เป็นลักษณะพิเศษที่ใช้ในงานพระเมรุ อันถือเป็นงานลำลองสำหรับอาคารใช้งานชั่วคราว งานพระเมรุครั้งนี้ มีแนวคิดที่ลดการใช้ไม้ซึ่งเป็นวัสดุหายาก จึงเสริมบางส่วนที่เป็นงานซ้อนไม้ด้วยวิธีการหล่อด้วยไฟเบอร์กลาส การประดับตกแต่งส่วนอื่นๆ ใช้การปิดผ้าทองย่นสาบกระดาษสี แทนการปิดทองประดับกระจก






๑๒






๑๓







๑๔




เทวดาประดับรอบพระเมรุครั้งนี้มีจำนวน ๓๐ องค์ แบ่งเป็นเทวดานั่งถือโคม ๑๔ องค์ เทวดานั่งถือบังแทรก ๖ องค์ เทวดายืนถือโคม ๒ องค์ เทวดายืนถือฉัตรผ้า ๘ องค์





๑๕




• เทพกินนร ลักษณะครึ่งเทพบุตรครึ่งนก จะประดับบันไดทางทิศตะวันตกซึ่งเป็นทางเสด็จพระราชดำเนินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ โดยจะปั้นเทพกินนรในท่าพนมมือ แสดงการถวายความเคารพแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
• อัปสรสีหะ ลักษณะครึ่งนางฟ้าครึ่งสิงห์ ประดับอยู่ด้านทิศเหนือซึ่งเป็นด้านอัญเชิญพระศพขึ้นประดิษฐานบนพระเมรุ โดยจะปั้นอัปสรสีหะในท่าพนมมือ เพื่อถวายการเคารพเปรียบเสมือนการคอยรับพระศพขึ้นสู่พระเมรุ
• นกทัณฑิมา ลักษณะถือกระบอง จะประดับไว้ด้านทิศใต้ ซึ่งเป็นที่สำหรับข้าราชการและประชาชนจะขึ้นถวายสักการะพระศพ
• หงส์ จะจัดสร้างลักษณะเสาหงส์ทางทิศตะวันออก สำหรับเป็นเสารับพระภูษาโยงในพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมพระศพในงานออกพระเมรุ
• เทวดานั่งคุกเข่า รูปเทวดานั่งคุกเข่า พระหัตถ์ถือบังแทรกตรงกลางเป็นโคมไฟ ประดับตามพนัก ฐานชาลา ฐานพระเมรุ อยู่รอบพระเมรุทั้ง ๔ ทิศ
• เทวดาประทับยืน รูปเทวดาประทับยืนถือฉัตรเครื่องสูงรายรอบ ประดับตามพนัก ฐานชาลา ฐานพระเมรุ อยู่รอบพระเมรุทั้ง ๔ ทิศ







๑๖






๑๗






๑๘






๑๙






๒๐




ฉากบังเพลิงชั้นนอกด้านหน้า เป็นภาพเทวดายืนพนมมือไหว้บนแท่น เครื่องแต่งกาย เครื่องทรงคล้ายการแต่งกายละคร เครื่องประดับตกแต่งร่างกายเป็นพวงมาลัยดอกไม้ ตอนบนของภาพเทวดามีซุ้มลอย โดยใช้ต้นแบบความคิดมาจากภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระวิหารหลวง วัดพระปฐมเจดีย์วรวิหาร จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นภาพจิตรกรรมในสมัยรัชกาลที่ ๖ ตามแนวความคิดของสถาปนิกผู้ออกแบบพระเมรุฯ (พลอากาศตรีอาวุธ เงินชูกลิ่น) แต่ละด้านจะมีภาพเทวดาด้านละ ๔ องค์ ติดตั้ง ๔ ทิศ ของพระเมรุฯ รวมทั้งหมด ๑๖ องค์

ลายกรอบตอนล่าง ออกแบบเป็นลวดลายดอกไม้ประดิษฐ์ อยู่ในโครงสร้างรูปดอกบัวตูม ๓ ดอก หรือรูปทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ มีนัยหมายถึง ดอกบัวสำหรับสักการบูชาพระเจดีย์จุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีทั้งหมด ๑๖ ชิ้น





๒๑






๒๒




ลิฟท์ยกระบบไฮดรอลิก
ลิฟท์ที่ติดตั้งพิเศษอยู่ทางด้านทิศตะวันตก ซึ่งติดตั้งอยู่ทั้ง 2 ฐาน คือ ฐานชาลา และ ฐานพระเมรุ ซึ่งใช้เป็นที่ขึ้นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถและ พระบรมวงศานุวงศ์ เพื่อเข้าสู่พระเมรุภายในพระจิตกาธาน







๒๓






๒๔




พระที่นั่งทรงธรรม
ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกของพระเมรุ สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับขณะบำเพ็ญพระราชกุศล มีบริเวณสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร ทูตานุทูต นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี เฝ้าฯ รับเสด็จ พระที่นั่งองค์นี้มีลักษณะเป็นอาคารโถง หลังคาจัตุรมุข ยกพื้นสูง หลังคาจั่วมีกันสาดปีกนก มุขหน้าและหลังมีมุขประเจิด พื้นที่ด้านหน้าอาคารต่อเป็นหลังคาปะรำ เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการใช้สอย
การที่สถาปนิกออกแบบให้พระนั่งทรงธรรมตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก หันหน้าไปทางทิศตะวันออกสู่พระเมรุ เนื่องจากพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพจะเริ่มตั้งแต่ช่วงบ่ายไปจนถึงค่ำ ร่มเงาของพระที่นั่งทรงธรรมจะทอดสู่ลานและบันไดทางเสด็จพระราชดำเนินขึ้นพระเมรุ อีกทั้งผู้ที่อยู่บนพระที่นั่งทรงธรรมจะแลเห็นแสงเงาและสีสันอันงดงามของพระเมรุที่สะท้อนแสงอาทิตย์ในช่วงบ่ายถึงเย็น





๒๕



ลิฟท์ ด้านพระที่นั่งทรงธรรม




๒๖






๒๗






๒๘






๒๙






๓๐






๓๑






๓๒






๓๓



ศาลาลูกขุน ใช้เป็นที่สำหรับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เฝ้าฯ รับเสด็จและร่วมพิธี




๓๔




ทับเกษตร หมายถึงอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อแสดงขอบเขตมณฑลพิธี มักสร้างเป็นระเบียงล้อมรอบพระเมรุ ใช้เป็นที่นั่งของเจ้าหน้าที่ผู้มาร่วมงาน ส่วนกลางทับเกษตรเป็นอาคารยอดมณฑป ชั้นเชิงกลอนประดับด้วยซุ้มบันแถลงและนาคปักที่มุมทั้งสี่ บนหลังคาอาคารส่วนที่เป็นปีกทั้งสองด้านประดับฉัตรผ้าทองแผ่ลวด






๓๕






๓๖






๓๗






๓๘






๓๙




กระถางต้นไม้ที่ประดับตกแต่งโดยรอบบริเวณพระเมรุนั้น มีแนวความคิดมาจากการตกแต่งพระเมรุเมื่อครั้งงานพระเมรุมาศ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้ออกแบบจัดทำลวดลายกระถางในครั้งนี้อย่างโบราณ และจัดทำเป็น ๓ แบบ คือ กระถางกลมขนาดใหญ่ ขนาดเล็กทรงรี และขนาดเล็กทรง ๘ เหลี่ยม บนกระถางได้เชิญอักษรพระนาม พ ร ประกอบช่อชัยพฤกษ์และใบปาล์ม ประดับอยู่กลางกระถางด้วย






๔๐






๔๑






๔๒






๔๓
















ขอขอบคุณ : //www.princessbejaratana.com/th/index.php







Create Date : 16 เมษายน 2555
Last Update : 4 กรกฎาคม 2555 11:21:28 น. 0 comments
Counter : 4301 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ที่เห็นและเป็นมา
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 59 คน [?]




Group Blog
 
<<
เมษายน 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
16 เมษายน 2555
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ที่เห็นและเป็นมา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.