Group Blog
 
<<
กันยายน 2559
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
1 กันยายน 2559
 
All Blogs
 
O สิ้นเยื่อใย .. O








ชัยภัค ภัทรจินดา - ลาวคำหอม



O เมื่อคืนคำ .. จุดหมายมาป่ายปัด
ย่อมแจ่มชัด .. เกินเปรียบ .. ถูกเหยียบย่ำ
หลงสร้างภาพสุดแก้เปลี่ยนแปร .. กรรม
ใจเอยจำเถิดว่า .. จักลาร้าง
O เป็นชายที่มีรัก .. มีศักดิ์ศรี
จึงแต่นี้ใจหนอ .. จักขอห่าง
จักอยู่ไกลรูปเห็น .. ทุกเส้นทาง
ขอเหยียบย่าง .. ทางเที่ยวอย่างเดียวดาย
O คลี่คลายความผูกพันแต่วันก่อน
ตราบชีพมรณ์ดับดิ้น .. ลมสิ้นสาย
จักขอร้างลาไกลทั้งใจกาย
สิ้นสุดสายเยื่อใย .. หัวใจมี
O จำต้องลา .. ใจเอย .. แม้นเคยรัก
หากด้วยความแน่นหนัก .. แห่งศักดิ์ศรี
เยื่อใยจำต้องตัดเอาบัดพลี
ความภักดีด้านในหัวใจชาย
O คงเหมือนหมอก, น้ำค้าง .. ตอนสางตรู่
แดดทอดสู่หม่นพรางก็จางหาย
ก่อนหยาดเพชรแพรผืนถูกกลืนกลาย
ค่อยค่อยร้างระเหยหาย .. กับสายลม
O ฉ่ำชื้นบนยอดหญ้า .. ค่อยพร่าเลือน
สิ้นดาวเดือน, งามระยับ-ย่อมลับล่ม
งามเอย .. งามละม่อมเคยจ่อมจม
มาจะล้มลงวายเมื่อปลายคืน
O ระเหิดระเหย-ร้าง .. น้ำค้างหยาด
ก่อน .. บำราศดินแดนทั้งแผ่นผืน
ระเหยห่างหว่างพลบ .. จนกลบกลืน-
คือหยาดน้ำใจรื่น .. เคยตื่นรับ
O ฤๅจะเช่นน้ำค้าง .. ตอนสางรุ่ง
เพียงเรื่อรุ้งแสงพลอดก็มอดดับ
สิ้นผกายเกล็ดแก้วเคยแวววับ
เหลือหม่นหมองโจมจับ .. ลำดับนั้น
O ลมอุษาพลิ้วผ่าน .. ฝ่าลานหญ้า
เมื่อรูปรอยคุณค่าเริ่มพร่า-สั่น
จะเริดร้างรูปตระการแห่งวานวัน
เพื่อจะตรึงติดมั่น .. ในสัญญา
O เสียงวิหคครวญคร่ำ .. ลมร่ำสาย
เมื่อใจคล้ายเหม่อลอยละห้อยหา
ราวอกใจคร่ำครวญ .. เมื่อจวนลา
แต่นี้จักเหว่ว้า .. จนกว่าวาย
O สะทกสะท้อนใน .. หัวใจนี้
เมื่อภาพที่ใฝ่ฝันจะพลันหาย
มาจะเลือนลับไปทั้งใจกาย
เหลือเพียงสายเยื่อใย .. หัวใจมี
O ดูเถิดวันคล้อยดวง .. ใกล้ล่วงลับ
เหงาก็จับแน่นในหัวใจที่-
โหยหารูปอาลัย .. ผู้ใยดี
กับไมตรีเคยมอบ-รับตอบกัน
O จะรุมเร้าความย้อน .. ครั้งก่อนกี้
กับรูปที่อกอ้อม .. เคยกล่อมขวัญ
สองแขนโอบกอดเนื้อ .. อุ่นเนื้อ .. ปัน-
ความผูกพัน .. เอมอิ่ม .. ให้ลิ้มรส
O ลำดวนเอ๋ย .. เมื่อพรากไปจากถิ่น
แม้น-กรุ่นหอมรวยริน .. คงสิ้นบท
หาก-แรงฤทธิ์พิสวาดิ .. ฤๅอาจลด
อันอาจปลดปลงหวังลงทั้งเป็น
O ดูเถิด .. หมอก, น้ำค้าง .. ตอนสางตรู่
แดดทอดสู่โลมต้อง .. ก็มองเห็น-
หยดหยาดเพชรเป็นระเบียบ .. กลางเยียบเย็น
ย่อมจักเร้นเลือนสลาย .. กับสายลม
O ดูเอาเถิด .. อกใจที่ไห้หวน
รับรู้ส่วนเช้าชื่นด้วยขื่นขม
ลำดับเรื่องบีบคั้นให้รันทม-
ก็ห้อมห่มโอบเอื้อ .. เป็นเนื้อเดียว



Create Date : 01 กันยายน 2559
Last Update : 8 กรกฎาคม 2566 20:05:56 น. 8 comments
Counter : 1121 Pageviews.

 
สดายุ..

"O คือ .. ภาพความสัมพันธ์ในวันพรุ่ง
งามเยี่ยงรุ้ง .. อำพนที่บนสรวง
หวัง .. แววออดอ้อนไหวที่ในดวง-
ตาคู่หวงแหนนั้น .. คอย-บัญชา
O คอยขอบฟ้าไกลลิบ .. กระพริบให้-
ผู้มีใจเฝ้าคอยละห้อยหา
ผ่านค่ำดึกคืนฝน .. ด้วยมนตรา-
เสน่หาแห่งชู้ .. มอบสู่กัน ! "


เมื่อเยี่ยงนี้แล้ว "รูปพิไลผู้ไกลตา" และ "รูปสุรางค์ที่กลางใจ" จะใจจืดใจดำ ไม่ร่วมร่างสร้าง "สายรุ้ง" ได้ไงนะ..

มินตรา เห็นกลอนตั้งแต่นั่งประชุมแล้วแต่ใน เวลาประชุมนั้นมีการเตือนผ่านอินเตอร์เนตว่าให้ใช้ เนตเฉพาะ เรื่องเนื้อหาทางวิชาการเท่านั้น เลยโพสต์ไม่ได้

ตอน Conference Dinner บนดาษฟ้าตึกท่าเรือในเยอรมัน
มีโอกาสได้สนทนากับ อดีตนายพลทหารเรือซึ่งเพิ่งปลดเกษียณ และ เพิ่ง เข้ามารับตำแหน่งบริหารใหม่ทางวิชาพานิชย์นาวี ในไทย
ท่านบอกว่า เป็น"ลูกศิษย์"คุณจักรภพผู้ทำงานช่วยเหลือทางวิชาการให้แก่กองทัพมาเป็นเวลานาน
แถมยังบอกว่า นายพลในกองทัพไทยทุกคนต้องผ่านการฝึกอบรม กับ คุณจักรภพก่อนเป็นนายพลทุกคน..
ยิ่งใหญ่มาก!

ฟังแล้ว เสียดายบุคลากรไทยเยี่ยงนี้ นัก...

ท่านนายพลบอกว่าหากคนอย่างคุณจักรภพ ซึ่งเป็นนักวิเคราะห์
วิเคราะห์สถานะการณ์บ้านเมืองในเวลานี้ ไม่ออก ก็มิใช่คุณจักรภพแล้ว !

ดายุคิดยังไง หากมินตราจะชวนใครมา
โลกสดใสใน "งามเยี่ยงรุ้ง .. อำพนที่บนสรวง"
แบบสดายุบ้าง
เพียงแค่ "คอยขอบฟ้าไกลลิบ .. กระพริบให้-" เท่านั้น
ใช่ไหม...
จะมีใครส่งสัญญาน .." กระพริบให้-" ไหม





โดย: บุษบามินตรา IP: 188.165.240.145 วันที่: 3 กันยายน 2559 เวลา:11:42:34 น.  

 
มินตรา ..

คนต่างชาติคงมองอะไรได้ชัดเจนจากข่าวที่มีความตรงไปตรงมา .. อย่างที่คนไทยในประเทศ'ส่วนมาก'ไม่สามารถรู้ได้เพราะอ่านสื่อนอกโดยตรงไม่รู้เรื่อง

รวมทั้งเพราะไม่คิดออกไปดู"โลกนอกกะลา"เพราะยังชอบเรื่องฝันภายใต้สติหลับใหลอันแสนสุขในคืนอันมืดมิด ... 555

อย่างไรก็ดีในกลุ่มหัวก้าวหน้าที่มีลักษณาการแห่งปัญญาชน ย่อมมีคุณจักรภพคนหนึ่ง .. นอกเหนือไปจาก สศจ .. รวมทั้ง ..
.. สหาย young blood
.. สหาย 112
.. วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ ดร.จากฮาวาร์ด คนนั้น

ที่มีจุดยืนชัดเจน มั่นคง และไม่จำเป็นต้อง"หยาบคาย"
ผมชื่นชม .. ท่วงทีแบบ"ปัญญาชน"ที่มีลักษณะวิเคราะห์วิจารณ์ มากกว่า ท่วงทีแบบพวก"รอนายชายตา ของ 3 เกลอจากดินแดนหนังตะลุง"

ขอตอบว่า ผมยินดีครับ ..


โดย: สดายุ... วันที่: 3 กันยายน 2559 เวลา:14:43:19 น.  

 
ดายุ..

"O เป็นความรู้สึกหนึ่ง .. ที่ซึ้งซ่าน
โดยรูปศัพท์กรองกานท์ .. อันหวานหอม
แทรกความนัยลึกล้ำ .. ให้ด่ำดอม
เพื่อใจหนึ่งพรั่งพร้อม .. จะยอมใจ "

ทราบใช่ไหมว่า ในกลุ่ม"ปัญญาชน"นั้น มีภาระหน้าที่มากมาย ในการ innovate ประเทศ
หากเรามีทีมงานขนาดนี้ คงมีความร่วมมือจากหลายสีจนเป็น..แสงรุ้ง..แน่เชียว !





โดย: บุษบามินตรา IP: 188.165.240.145 วันที่: 3 กันยายน 2559 เวลา:16:51:19 น.  

 

มินตรา ..
ผมเห็นด้วยกับที่เขียนมา ..

และควรเป็นปัญญาชนที่ผ่านชีวิตเมืองนอกมา เหมือน คณะราษฎร ในเหตุการณ์ 2475

หากถามว่า ทำไม ?
ต้องพูดว่า "วิสัยทัศน์" เป็นเรื่องสำคัญสำหรับการชี้นำพัฒนาการของชนในชาติที่ยังล้าหลัง ตามหลังโลกอยู่

และต้องไม่ "ใจอ่อน" อีกอย่างเด็ดขาด .. เพราะมันไม่ใช่เรื่องของ "ตัวบุคคล" อีกต่อไป .. แต่เป็นเรื่องของ "ระบอบ"

.
.
.

O สั่งชี้เพราะมีวิสัยะทัศน์
ทะนุรัฐะจำเริญ
ชูชี้เพราะมีตรรกะประเมิน
สรเสริญก็ไพศาล
O เพียบภาวะอารยะประเด็น
พิศะเด่นเหมาะบันดาล
ปวงชน, พหล, มุขะผสาน
สรรพะการก็ได้ผล
O ควรสาธุการะจะประโคม
ทะนุโสมนัสชน
ควรสาธุการะอนุสน-
ธิพิมละคู่เมือง
O สามารถเหมาะอาชญะถวัล-
ยะก็บรรลุบรรเทือง
ชื่อนามะคาม, ภพะเมลือง
ก็จะเลื่องระบือไกล


โดย: สดายุ... วันที่: 3 กันยายน 2559 เวลา:18:55:57 น.  

 
ดายุ..

ความ"ใจอ่อน" นั้น เป็นเรื่องของจิตใจที่มีความเป็นอารยะ เป็นเอกลักษณ์ทางการฑูต(political solution)

ดร.ปรีดี ในประวัติศาสตร์ที่มินตราศึกษานั้น
บุคลิกในครอบครัว ท่านมิใช่"ผู้นำปฎิวัติ" เฉกเช่นที่ หลายคนคิด
นี่หาหลักฐานได้จากที่พระยาทรงสุรเดชจดบันทึกไว้อย่างละเอียดในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จึงเห็นได้ว่า "ขบวนการขอเอี่ยว"นั้น มีมาก และ
เห็นชัดในเหตุการณ์วันนี้ของ"นักปฎิวัติออกคลิป"ด้วย

หากไม่มีดร.ปรีดีที่"ใจอ่อน" เราคงฆ่ากันตายหลายชีวิต !
..........................
ในการนำมือถือ มาใช้ เรามิได้ สั่งยกเลิก หรือล้มล้างระบบโทรศัพท์ ในบ้านหรือตู้โทรศัพท์เลย ใช่ไหม
วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีระบบสื่อสาร ที่เพิ่มอินเตอร์เนต มี สไกป มีไลน์ซึ่งไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม ดึงดูดให้ประชาชน เลือกใช้ "สิ่งใหม่ที่ดีกว่า ราคาเหมาะสม" เอง

ทุกคนเลือกสิ่งดีที่สุดให้ตนเองเสมอ

นี่คือข้อดีของ การที่เราปรับตนเองให้มี คุณภาพ เหนือกว่า ทันสมัยกว่า โดยไม่ไปบังคับข่มขืนใจใครให้มา เลือกเรา
อย่าไปตำหนิว่า ใครจะ"รอนายชายตา" เลย
ในเมื่อ คนเรามีความถนัดที่ไม่เหมือนกัน ความสามารถไม่เท่ากัน โดยธรรมชาติ
ประชาชนทำได้แค่ไหน คิดได้เพียงใด เราก็ต้องรักต้องเมตตา เพราะนี่คือ"ชาติ" ที่เราต้องรัก เราถนอม ใช่ไหม
.......................................
ในการทำนวัตกรรม เป็นเรื่องของวิศวกรรม สาขาวิชาที่นำมาแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวัน

เยอรมัน จะใช้ วิศวกรรม(Engineering) ในสองระดับ
คือ
1.ในการก่อสร้างวัตถุ ( Physical Construction)
2.ในการสร้างความคิด (Mind Construction)

การเมือง การสร้างสังคมในแต่ละรัฐ เป็นเรื่องของ Mind Construction ให้ประชาชน คนส่วนใหญ่ ร่วมในการตัดสินใจ เมื่อทุกคนเห็นชอบเห็นควร ทุกคนก็จะร่วมมือลงแรงกันคนละไม้คนละมือเอง
นี่เป็นงานใหญ่ที่ต้องใช้คนทุกคน

ในกรณีเช่นนี้ ทีมงานคุณจตุพร มีความสามารถในการรวมพล เพราะ คิดและรู้สึกเยี่ยงประชาชนคนในสังคม

เราต้องรอประชาชน หากเราต้องการประชาธิปไตย
ในขณะเดียวกัน วิศวกรทางความคิด ต้องฉลาดพอที่จะสร้างแนวทางความคิด ให้ประชาชนคิดตาม อย่างไร จึงจะได้ดังใจประสงค์



โดย: บุษบามินตรา IP: 188.165.201.164 วันที่: 4 กันยายน 2559 เวลา:14:54:51 น.  

 

มินตรา ..

นายปรีดี ไม่ใช่นักปฏิวัตินะในสายตาผม

หากเหมาะที่จะเป็นนักปกครองที่ดำเนินงานตามหลัง หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไปแล้ว

ที่จริงแล้วหากศึกษาประวัติศาสตร์ให้ดี จะเห็นว่า รูปแบบ"การจัดตั้ง"ของ พคท.ค่อนข้างจะรัดกุม รอบคอบ มีลำดับขั้นตอน ทั้งทางยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี .. ที่ควรศึกษาให้ถ่องแท้เป็นอย่างยิ่ง

ตอนนี้มันมีหลากหลายระดับความเข้าใจ หลากหลาย เป้าหมาย เกินไป ..

ในความเห็นส่วนตัว .. ในการศึกใดๆก็ตาม
การที่ "เรา" รู้ "เขา" เป็นอย่างดี
แต่ "เขา"ไม่รู้ว่า "เรา" นี่เป็น"ใคร"บ้าง
ทำให้ "เขา"ไม่รู้จะจัดการ"ใคร"นะ



โดย: สดายุ... วันที่: 4 กันยายน 2559 เวลา:19:06:29 น.  

 
ดายุ..
ชาวยิวเยอรมัน นาย เฟลิค วาย (Felix Weil 1898 - 1975) เป็นผู้อุปถัมภ์ในการก่อตั้งสถาบันวิจัยสังคม (Institute of Social Research) ในปี1924
ที่ เมือง ฟรั้งฟรวท (Frankfurt am Main) ซึ่ง เป็นกลุ่มเคลื่อนไหวทางความคิดด้านสังคมและปรัชญาทางการเมือง จุดประสงค์คือสนับสนุนการศึกษาทฤษฎีมาร์ค

สถาบันนี้ ได้คิดค้นเรื่อง"วิธีวิพากษ์วิจารณ์ "( Critical Theory)
ซึ่งวิพากษ์วิธีนี้ เรียกในภายหลังว่ามาจาก "สำนักคิดฟรั้งฟรวท "(The Frankfurt School)

"วิพากษ์วิธี "นี้ล่ะที่ พคท. นำไปใช้
ดูท่าสดายุจะโปรดระบบการจัดการทางความคิด(Mind Construction) ของเยอรมันนะ

มิใช่ "ตอนนี้มันมีหลากหลายระดับความเข้าใจ หลากหลาย เป้าหมาย เกินไป .. " หรอกค่ะ
แต่เป็นวิวัฒนาการของ วิชาการ ที่ต่อยอดกันมา จนเรียกในทางวิศวกรรมว่า เป็น Mind Construction

เยอรมันเด่นตรงที่ "จัดระบบวางระเบียบ " ชัดเจน
เป็นขั้น เป็นตอน และ หากมีความหลากหลายมากมาย จน เรารู้สึกว่า เกิด ความซับซ้อน(complexity)
ก็จะมี Systems Theory ในการแก้ความซับซ้อน(complexity)
ปัญหาต่างต่างในทุกสาขาวิชา ในศตวรรษที่21 แก้ได้ด้วย Systems Theory



โดย: บุษบามินตรา IP: 188.165.201.164 วันที่: 5 กันยายน 2559 เวลา:3:28:25 น.  

 

มินตรา ..

Critical Thinking น่าจะได้รับอิทธิพลความคิดมาจาก "กาลามสูตร"

.............................................................

กาลามสูตร
คือ พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตติยนิคม แคว้นโกศล (เรียกอีกอย่างว่า เกสปุตติยสูตร หรือเกสปุตตสูตร ก็มี)

กาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อ มีอยู่ 10 ประการ ได้แก่

1. มา อนุสฺสวเนน - อย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังตามกันมา
2. มา ปรมฺปราย - อย่าเพิ่งเชื่อโดยถือว่าเป็นของเก่าเล่าสืบๆ กันมา
3. มา อิติกิราย - อย่าเพิ่งเชื่อเพราะข่าวเล่าลือ
4. มา ปิฏกสมฺปทาเนน - อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างคัมภีร์หรือตำรา
5. มา ตกฺกเหตุ - อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดเดาเอาเอง
6. มา นยเหตุ - อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดคาดคะเนอนุมานเอา
7. มา อาการปริวิตกฺเกน - อย่าเพิ่งเชื่อโดยตรึกเอาตามอาการที่ปรากฏ
8. มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา - อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเห็นว่าต้องกับความเห็นของตน
9. มา ภพฺพรูปตา - อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดควรเชื่อได้
10. มา สมโณ โน ครูติ - อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดนั้นเป็นครูของเรา

แต่จงเชื่อก็ต่อเมื่อ ..
.. ได้ศึกษาและทดสอบด้วยตนเองแล้ว (สนฺทิฏฐิโก)
.. เห็นว่าเป็นสัจธรรมสมบูรณ์อยู่ทุกเมื่อ (อกาลิโก)
.. สามารถท้าทายการพิสูจน์ของผู้อื่นได้ (เอหิปสฺสิโก)
.. เป็นคุณประโยชน์ต่อผู้ที่ศึกษาเรียนรู้ (โอปนยิโก)
.. และเป็นธรรมที่วิญญูชนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (ปจฺจตฺตํเวทิตพฺโพ วิญญูหิ)
.. เมื่อใดสอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองว่า .. ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศลหรือมีโทษเมื่อนั้นพึงละเสีย
.. และเมื่อใดสอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองว่า..ธรรมเหล่านั้นเป็นกุศลหรือไม่มีโทษ เมื่อนั้นพึงถือปฏิบัติ

ปัจจุบันแนวคิดและหลักสูตรที่สอนให้คนมีเหตุผลไม่หลงเชื่องมงาย ในทำนองเดียวกับคำสอนของพระพุทธองค์เมื่อ 2500 ปีก่อน ได้รับการบรรจุเป็นวิชาบังคับว่าด้วยการสร้างทักษะการคิดหรือที่เรียกว่า "การคิดเชิงวิจารณ์" (Critical thinking) ไว้ในกระบวนการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยของประเทศพัฒนาแล้ว

วิกิพีเดีย


โดย: สดายุ... วันที่: 5 กันยายน 2559 เวลา:6:43:01 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.