Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2556
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
3 สิงหาคม 2556
 
All Blogs
 
ความเข้าใจผิดเรื่องวิญญาน - พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล

[พุทธวจน]
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ..

ดูกรสาติ ได้ยินว่า .. เธอมีทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่าเร­าย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคท­รงแสดงว่า วิญญาณนี้นั่นแหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไปไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริงหรือ?

สาติภิกษุทูลว่า ..
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้­มีพระภาคทรงแสดงว่า วิญญาณนี้แหละ ย่อมท่องเที่ยว แล่นไป ไม่ใช่อื่น ดังนี้ จริง.

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ..
ดูกรสาติ วิญญาณนั้นเป็นอย่างไร ?

สาติภิกษุทูลว่า ..
สภาวะที่พูดได้ รับรู้ได้ ย่อมเสวยวิบากของกรรมทั้งหลาย ทั้งส่วนดีทั้งส่วนชั่วในที่นั้นๆ นั่นเป็นวิญญาณ.

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ..
ดูกร .. โมฆะบุรุษ เธอรู้ธรรมอย่างนี้ที่เราแสดงแก่ใครเล่า
ดูกร .. โมฆะบุรุษ วิญญาณอาศัยปัจจัยประชุมกันเกิดขึ้น เรากล่าวแล้วโดยปริยายเป็นอเนกมิใช่หรือ

ความเกิดแห่งวิญญาณ เว้นจากปัจจัย มิได้มี

ดูกร .. โมฆะบุรุษ ก็เมื่อเป็นดังนั้น เธอกล่าวตู่เราด้วยขุดตนเสียด้วย จะประสพบาปมิใช่บุญมากด้วย เพราะทิฏฐิที่ตนถือชั่วแล้ว

ดูกร .. โมฆะบุรุษก็ความเห็นนั้นของเธอ จักเป็นไปเพื่อโทษไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน.





Create Date : 03 สิงหาคม 2556
Last Update : 3 สิงหาคม 2556 21:42:35 น. 5 comments
Counter : 2956 Pageviews.

 
(จดหมายส่งถึง พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิพโล วัดนาป่าพง เพื่อปรับปรวาทะ ให้เกิดความเข้าใจ)
ณ สำนักสงฆ์แห่งหนึ่ง (ฉบับที่๒)
ผมพระรูปหนึ่ง ที่รักธรรมรักวินัยเหมือนกับท่านนั่นแหละ ฉบับก่อนท่านคงได้รับแล้วนะ ผมตั้งใจฟังซีดี ชุดพุทธวจนะ ธมฺมวินโย ของท่านจนจบนะ ขอโอกาสติงท่านเพิ่มเติมด้วย
เรื่อง พระวินัยถือเอาแต่พระบัญญัติ
ผมฟังท่านตีความพระวินัยหลายข้อ มีคำพูดหนึ่งที่ท่านพูดว่า สิกขาบทวิภังค์ ไม่ใช่พุทธวจนะ เจตนาของท่านตอนนี้ท่านพูด เพื่อจะไม่ให้ความสำคัญ(คือไม่ให้ถือเอาสิ่งที่ไม่ใช่พุทธวจนะ) แสดงว่าท่านต้องการจะตีความพระบัญญัติเอง ผมว่าท่านกำลังจะเลยเถิดไปอีกแล้ว ท่านไปเอามาจากไหน ท่านคิดเอาเองอีกแล้วใช่ไหม(ตามที่ท่านถนัด) พุทธวจนะของท่าน จะต้องมีคำว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นำหน้าทุกครั้ง อย่างนั้นหรือ ผมขอยกตัวอย่างให้ท่านคิดนะ เช่น ปาราชิก ข้อที่ ๑ ภิกษุเสพเมถุนธรรม แม้ในดิรัจฉานตัวเมีย เป็นปาราชิก หาสังวาสมิได้ เมถุนธรรมในความเข้าใจของท่าน คืออะไร คือ อวัยวะเพศของผู้หญิง กับของสัตว์เดียรัจฉานตัวเมียเท่านั้นใช่มั๊ย ถ้าเสพทางทวารหนัก หรือทางปากของผู้ชายล่ะ เป็นปาราชิกไหม?? ท่านจะตีความอย่างไร?หรือข้ออวดอุตริมนุสสธรรม อันไม่มีจริง อุตริมนุสสธรรม ของท่าน คืออะไร? เพราะท่านบอกไม่เอาวิภังค์ หรือบทภาชนีย์ อนาปัตติวาร เป็นต้น โดยท่านอ้างว่าเป็นคำของสาวกเพิ่มเติมเข้ามา ผมว่าการศึกษาพระธรรมวินัยของท่าน กำลังพลาดอย่างมหาศาล


โดย: ธรรมทาส IP: 111.84.66.181 วันที่: 24 ตุลาคม 2556 เวลา:15:41:46 น.  

 
เรื่อง ห้ามภัตแล้วฉันอีก
ท่านบอกว่าการลุกขึ้นจากที่ฉัน นั่นแหละ คือการห้ามด้วย ท่านเอามาจากไหน ท่านคิดเอาเองอีกแล้วใช่ไหม มีพุทธพจน์รองรับไหม ผมว่าท่านกล่าวตู่พุทธพจน์อย่างแน่นอน พระรูปที่แย้งท่านว่า ผมไม่ได้ห้ามภัต ฉันสองมื้อได้ ท่านเข้าใจถูกแล้ว และรู้วินัยดีกว่าท่าน ขณะเขียนนี้ ผมนั่งดูพระบัญญัติอยู่ การห้ามกับการลุก มันคนละเรื่อง ห้ามแล้วแต่ยังไม่ลุกก็มี หรือลุกขึ้นแล้วแต่ไม่ได้ห้าม(ภัต)ก็มี ท่านอ่านพระบัญญัติยังงัย จึงไม่เข้าใจ ไปตีความว่า การลุกขึ้นนั่นแหละชื่อว่าห้ามด้วย หรือ กลัวจะไม่ตรงกับทิฏฐิของท่าน หรือ อยากให้พระทุกรูปฉันมื้อเดียว เรื่องในพระสูตรที่ท่านยกมาอ้างว่า การฉันมื้อเดียวก็เป็นศีลของเธอ ประการหนึ่งนั้น มันคนละเรื่องกัน ถ้าเป็นอย่างที่ท่านอ้างจริง พระพุทธองค์จะบัญญัติธุดงค์ฉันมื้อเดียวอีกทำไม ถ้าอย่างนั้นพระที่ฉันสองมื้อ ก็ต้องเป็นอาบัติหมดสิ ถ้าเป็นจริงอย่างที่ท่านอ้าง!! ท่านรู้ไหมในพุทธพจน์ ที่ท่านยกมาอ้างหมายถึงอะไร อรรถกถาท่านหมายถึง มื้อในกาล คือก่อนเที่ยง แม่จะฉันสัก๑๐ครั้งก่อนเที่ยง ก็ยังชื่อว่าฉันมื้อเดียวอยู่นั่นเอง ซึ่งก็จะสอดคล้องกับพระบัญญัติ ถ้าไม่ได้ห้ามภัตจะฉันกี่ครั้งก็ได้ ในก่อนเที่ยง (ถ้าสองมื้อจะหมายถึงมื้อในกาล(ก่อนเที่ยง) และมื้อในวิกาล(หลังเที่ยง)ด้วย ไม่ใช่สองมื้อในความหมายของภาษาไทยอย่างที่ท่านเข้าใจ )
อีกอย่างหนึ่งท่านเคยอ่านเจอบ้างไหมว่า สมัยพุทธกาลเวลาพระท่านไปบิณฑบาต พอฉันเสร็จโยมจะเอาอาหารบรรจุลงในบาตรถวายท่านอีก ถวายเพื่ออะไร เพื่อจะได้ฉันตอนเพลนั่นเอง(หมายถึงพระที่ไม่ได้ถือธุดงค์ หรือไม่ได้ห้ามภัต หรือถ้าห้ามภัตหากประสงค์จะฉันก็ให้ทำเป็นเดนก่อนจึงฉัน) ผมอยากให้ท่านกลับไปอ่าน พระบัญญัติใหม่ อ่านช้าๆ ดูแต่ละคำ อย่าใจร้อน อย่าเข้าข้างตัวเอง ผมกลัวว่าท่าน จะพลาด ทำลายพระวินัยของพระพุทธเจ้า(ดูในภัททาลิสูตร หรือสูตรใกล้ๆกันนั่นแหละ ในมัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสณก์ หรือสูตรพระอุทายีที่ท่านยกมาอ้างนั่นแหละ)
แม้แต่เรื่อง รับประเคนแล้ว ห้ามโยมมาจับต้องอีก(ที่พระส่วนมากถือกันอยู่ทุกวันนี้) และเรื่อง ทำน้ำปานะด้วยผลไม้ต้องกรองด้วยผ้าขาว ๗ ครั้ง ท่านก็โยนความผิดไปให้ อรรถกถา ว่าเป็นผู้บัญญัติขึ้นมา อยู่เล่มไหน หน้าไหนช่วยบอกหน่อย รู้ไม่จริงแล้วชอบพูด??? (ก็ท่านไม่เคยอ่านอรรถกถา ทำไมรู้ล่ะว่าอรรถกถา บัญญัติขึ้น) ถ้าพวกท่านศึกษาพระวินัยจากพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา ตั้งแต่ต้น คงไม่ต้องไปเสียเวลาเป็นชั่วโมงเพื่อรับประเคนใหม่ ตามที่ท่านยกตัวอย่างมาหรอก???? นี่แหละเขาเรียกว่าทำตามๆกันมาเหมือนเถรส่องบาตร!!!
เรื่อง ศีลปาฏิโมกข์ ที่สวดทุกกึ่งเดือน มี ๑๕๐ ข้อ
ความจริงในพระสูตรก็มีกล่าวไว้ ตามที่ท่านว่านะ แต่ศัพท์บาลีจริงๆ ไม่ควรจะแปลว่า ๑๕๐ นะ ควรจะแปลว่า กว่า ๑๕๐ หรือ เกินกว่า ๑๕๐ (ท่านควรดูศัพท์บาลีเพิ่มนะ) เพราะหากแปลว่า ๑๕๐ ถ้วน จะต้องขัดกับที่กล่าวไว้ในพระวินัยปิฎกเล่มอื่น โดยเฉพาะในปริวาร แล้วที่เพิ่มมาเป็น ๒๒๗ ข้อ ท่านรู้ไหมเพิ่มอะไรเข้ามา ผมไม่บอกท่านนะ ถ้าท่านรู้วินัยจริง ท่านต้องรู้ ๒๒๗ มาจากไหน ถ้าท่านไม่รู้ แสดงว่าท่านรู้พระวินัยไม่จริง และท่านก็จะสวดเพียง๑๕๐ ข้อตามที่ท่านอ่านเจอ โดยไม่โยงให้สัมพันธ์กับพระวินัยเล่มอื่นๆ ที่ท่านกล่าวไว้ว่า มี ๒๒๗ ข้อ ถ้าอย่างนั้น ท่านคงจะเก่งพระวินัยกว่าพระโบราณาจารย์แน่ (ดูสังคณิก วินัยปิฎก ปริวาร ประกอบก็ได้ ว่า ปาฏิโมกขุทเทส ที่สวดทุกกึ่งเดือนมีเท่าไร)
เรื่อง โยมถามว่า ทำไม พระในเมืองไทยรักษาศีลไม่เหมือนกัน
ท่านตอบไม่ตรงคำถาม ไม่ตรงประเด็น เจตนาของโยมที่ผมฟังดู เขาอยากจะทราบ หรือสงสัยว่า ทำไมพระบางรูปรักษา บางรูป ก็ไม่รักษา แต่ท่านกลับไปตอบว่า เพราะพระอรรถกถาจารย์ สาวกรุ่นหลังๆ หรือครูบาอาจารย์ บัญญัติแต่งเติมขึ้นมาใหม่ ทำให้พระรักษาศีลได้ไม่เท่ากัน ผมว่ามันคนละเรื่อง ท่านไปโยนความผิดให้อรรถกถา หรือ ครูบาอาจารย์ ความจริงท่านเหล่านี้ไม่ได้ไปบัญญัติอะไรขึ้นมาใหม่เลย อาจมีบ้างที่ครูบาอาจารย์ ยุคนี้ตีความผิด เช่น เรื่องรับประเคนแล้วมีโยมมาจับ ต้องรับประเคนใหม่(แม้ในข้อนี้ตัวท่านก็ไปโยนความผิดให้อรรกถาว่า ท่านบัญญัติขึ้นมาใหม่) ซึ่งผมได้พูดไปแล้วในฉบับก่อน ที่จริงการที่พระรักษาศีลได้ไม่เท่ากัน ท่านควรจะตอบว่า เพราะมีศรัทธาไม่เท่ากัน ไม่ใช่ไปโยนความผิดให้อรรถกถา หรือครูบาอาจารย์
เรื่อง ท่านชวนโยมให้ศึกษาพุทธวจนะ ถ้าไม่เข้าใจให้ถามผู้รู้
ใครคือผู้รู้ ในความคิดของท่าน ตัวท่านเองใช่ไหม เพราะพระอรรถกถาจารย์ ท่านก็ไม่ยอมรับ ฎีกาจารย์ท่านก็ไม่ยอมรับ คัมภีร์ต่างๆที่ผู้รู้รจนาขึ้น ท่านก็บอกว่าไม่ใช่ พุทธวจนะ แล้วจะให้โยมไปถามใคร นอกจากท่าน คนอื่นคงไม่รู้พุทธวจนะเท่าท่าน หรอกนะ คัมภีร์ที่เกี่ยวกับคำสอนของพระพุทธเจ้า มีอะไรบ้าง ท่านรู้ไหม ท่านคงไม่เคยอ่านจึงไม่รู้คุณค่า ถ้าคัมภีร์เหล่านี้(ที่นอกจากพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ) อธิบายพุทธพจน์ผิด หรือแต่งเติมขึ้นมาใหม่ พระโบราณาจารย์ หรือบรรพบุรุษทั้งหลาย ตั้งแต่พระราชาลงมา ท่านจะรวบรวมรักษาไว้ทำไม?? ทำไมท่านไม่คิดบ้างว่า กว่าจะทำสังคายนาเสร็จรวบรวมเป็นหมวดหมู่ ท่าน รู้มั๊ยใช้คนไปเท่าไหร่ ใช้ทรัพย์ ใช้เวลา ไปมากแค่ไหน ตัวท่านเพิ่งเกิดมาไม่กี่ปี อ่านพระไตรปิฎกยังไม่เท่าไร กลับไปบอกว่าคัมภีร์เหล่านั้นไม่สำคัญใช้ไม่ได้ ผมว่าท่านดูถูกบรรพบุรุษมากเกินไป กว่าเขาจะรักษามาถึงพวกเรา ต้องเสียเลือด เสียเนื้อไปเท่าไร อย่างเช่นยุคของพระเจ้าตากสินกู้ชาติ แล้วสร้างกรุงธนบุรี พระองค์พยายามสืบเสาะหาคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ด้วยวิธีต่างๆ กว่าจะค้นพบ และรวบรวมได้ ลำบากแค่ไหน ท่านเคยอ่านมั๊ย พระเจ้าตากสิน พระองค์โง่หรือ ที่ทำอย่างนั้น ถ้าพระเจ้าตากสิน หรือบรรพบุรุษอื่นๆอีกมากมาย คิดอย่างท่าน ผมว่าศาสนาคงเสื่อมไปนานแล้ว แต่พระเจ้าตากสินพระองค์ไม่ได้คิดอย่างท่าน พระองค์มองเห็นความสำคัญของคัมภีร์ต่างๆที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา จึงได้รวบรวมและรักษาไว้ จนมาถึงยุคของพวกเรา พวกเราคนไทยต้องถือว่าเป็นหนี้บุญคุณต่อพระองค์อย่างมากมายหาประมาณมิได้ แต่ตัวท่านเองคงไม่คิดอย่างผมหรอกนะ!! อีกอย่างหนึ่งผมว่านะ คนที่ติเตียนพระอรรถกถาจารย์ ก็คือ พวกเกลียดตัวกินไข่เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง นั่นแหละ?? เพราะอะไร?? เพราะคนพวกนี้กว่าเขาจะอ่านบาลีออก และแปลบาลีได้ ก็ศึกษาแนวทาง มาจากพระอรรถกถาจารย์นั่นแหละ หรือ อ่านพระไตรปิฎกก็ตามเถอะ เขาก็ได้แนวการอธิบายจากพระอรรถกถาจารย์นั่นแหละ แต่พอเขาเข้าใจได้แล้วเขากลับมองไม่เห็นคุณของพระอรรถกถาจารย์ อย่างนี้จะเรียกว่า อะไรล่ะ!!
เรื่อง จำพรรษา ๔ รูป ก็รับกฐินได้ ผมจะไม่ออกความเห็นว่าได้ หรือไม่ได้ แต่ตัวท่านบอกว่าได้ ท่านเอาหลักฐานมาจากไหน ท่านพูดเอาเองอีกแล้วใช่ไหม ท่านต้องหาหลักฐานมาอ้างให้ได้นะ ถ้าท่านหาหลักฐานมาอ้างไม่ได้ ถือว่าท่านกล่าวตู่พุทธพจน์(ซึ่งท่านถนัดอยู่แล้ว) ผมจะถามท่านว่ารับผ้ากฐิน กับ กรานกฐิน เหมือนกัน มั๊ย อะไรเป็น สังฆกรรม คำว่า ๔ รูปจำพรรษา รับกฐินได้ หมายถึงอะไร ถ้าท่านอธิบายตรงนี้ไม่ได้ ท่านควรเลิกบรรยายพระวินัย ไปเลยนะ
เรื่อง ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน (ขอโทษนะที่ไม่ได้นำคำของท่านมาอ้าง ท่านคงนึกออกว่าพูดอะไรไว้)
เพราะท่านศึกษาวินัย ไม่เอาวิภังค์ อนาปัตติวาร หรือ อรรถกถา นี่แหละจึงเข้าใจผิด อรรถกถาท่านอธิบายสอดคล้องกับพระบัญญัติอยู่แล้ว ตัวท่านเองนั่นแหละทำให้ยุ่งยาก ทำให้คนเข้าใจพระวินัยผิด ท่านรู้ไหม อรรถกถาคือใคร ท่านไม่รู้เพราะไม่เคยศึกษาความเป็นมา ท่านมาเข้าใจว่าเป็นของสาวกรุ่นหลังแต่งขึ้น บางท่านยังเข้าใจว่าเป็นการเขียนขึ้นมาใหม่ ของพระพุทธโฆษาจารย์เมื่อปีพ.ศ.๙๐๐(คงจะรวมท่านด้วย) นี่แหละเพราะไม่ยอมศึกษาคัมภีร์ต่างๆให้ทั่วถึง ความจริงอรรถกถา มีมาตั้งแต่พุทธกาลแล้ว เป็นปกิณณกะเทศนาของพระพุทธเจ้าบ้างเช่นในคาถาธรรมบท หรือในชาดก หรือ เป็นคำของเอตทัคคะที่พระพุทธเจ้ารับรองไว้บ้าง เช่น พระอุบาลี พระสารีบุตร พระมหากัจจานะ ผมคงไม่มีเวลาอธิบายเรื่องนี้ หนังสือที่เขียนเรื่องความเป็นมาของพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา มีหลายอาจารย์เขียนนะ เช่น ของพระพรหมคุณาภรณ์(เจ้าคุณประยุต) (เคยพิมพ์แจกสมัยเทศกาลส่งเสริมพระพุทธศาสนา ณ ท้องสนามหลวง หลายหมื่นเล่ม) เป็นต้น ถ้าท่านอยากรู้หาอ่านเอาเองก็แล้วกัน หรือถ้าท่านไม่อยากรู้ก็เรื่องของท่าน ท่านก็จะเป็นพวกพายเรือในอ่าง หรือ กบในกะลาครอบ ต่อไป
เรื่อง ตัวท่านเองมักพูดบ่อยๆว่า จะไม่เพิ่มไม่ตัดพุทธวจนะ
ท่านมักพูดเสมอๆว่า อรรถกถาเป็นการเพิ่มเติม ซึ่งผมก็พูดเสมอว่า ท่านรู้อรรถกถาไม่จริง เพราะคนที่รู้จริงเขาจะไม่พูดอย่างนี้(เมืองไทยมีไม่กี่คนหรอกนะที่คิดอย่างท่าน) ผมขอพูดให้ท่านคิดอีกเรื่องหนึ่งนะ ถ้าท่านมองว่า การอธิบายของอรรถกถาเป็นการเพิ่มเติมพุทธวจนะ ตัวท่านเองที่กำลังอธิบายพุทธวจนะอยู่ ก็ชื่อว่าเพิ่มเติมเหมือนกัน ถ้าจะให้บริสุทธิ์จริงๆ ในการเผยแผ่พุทธวจนะ สมกับที่ท่านพูด ท่านอย่าได้อธิบาย ไม่อย่าง งั้น จะกลายเป็นว่า บอกสอนแต่คนอื่น แต่ตัวเองไม่ทำ ตัวท่านมักจะพูดว่า คำพูดของสาสวก ไม่ให้ถือเอา ให้ความสำคัญแต่พุทธวจนะเท่านั้น ตรงนี้ผมก็ว่าท่านเข้าใจผิด(เพราะไม่ยอมดูอรรถกถา) สาวกที่เป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เป็นพระอริยะบุคคล และเป็น ธรรมกถึก ที่พระพุทธเจ้ายกย่อง มีมั๊ย ธรรมที่สาวกแสดง แล้วพระพุทธเจ้ารับรอง มีมั๊ย บางครั้งพระไปถามธรรมะกับสาวกบางรูป แล้วมาทูลพระพุทธเจ้า พระองค์ก็ตรัสว่า ถ้าเธอมาถามเรา เราก็จะตอบแบบนี้เหมือนกันท่านเคยอ่านเจอมั๊ย บางครั้งผมฟังท่านพูดว่า แม้พระสารีบุตรแสดง ตัวท่านก็ยังไม่ให้ความสำคัญเลย โดยอ้างว่าไม่ใช่พุทธวจนะ ผมว่าท่านกำลังคิดเกินเลยนะ!! ธรรมใดที่สาวกแสดงแล้วพระพุทธเจ้ารับรอง ธรรมนั้นถือว่าใช้ได้ ท่านควรคิดอย่างนี้ ในพระไตรปิฎก ที่สาวกแสดงมีกี่สูตร ท่านรู้มั๊ย แต่ละสูตรมีการบรรลุมั๊ย มีสูตรไหนบ้าง ที่สาวกแสดงแล้วขัดกับพระธรรมของพระพุทธเจ้า ท่านพูดอย่างนี้ผู้ฟังเขาก็จะเข้าใจผิดได้ ให้เอาแต่พุทธวจนะคำของสาวก ไม่สำคัญไม่ให้ถือเอา ท่านควรบอกให้ชัดว่าสาวกแบบไหน ไม่ควรเหมารวม???


โดย: ธรรมทาส IP: 111.84.66.181 วันที่: 24 ตุลาคม 2556 เวลา:15:44:32 น.  

 
Fเรื่องโยมถามว่า วิญญาณ รู้กาย ด้วยเวทนาใช่ไหม ท่านตอบไม่รู้เรื่อง เพราะท่านไม่ได้เรียน ถึงไม่ได้เรียนถ้ารู้จักสภาวะก็จะตอบได้ แต่ท่านก็ไม่รู้จักสภาวะ ผมฟังดูผมเชื่อได้เลยว่าผู้ฟังไม่เข้าใจ แต่เขาไม่กล้าถามต่อ เพราะเขารู้ว่าท่านตอบให้เขาเข้าใจไม่ได้(ตามความเข้าใจของผมนะ) ที่จริงเรื่องนี้ไม่สำคัญหรอก เพราะเป็นเรื่องส่วนตัวของท่าน
ท่านพูดว่า พระพุทธเจ้าให้มีสติสัมปชัญญะรอคอยการตาย ผมอยากให้ท่านลองให้คอมฯคีเวิร์ดดู ซึ่งท่านมักจะใช้วิธีนี้ในการค้นหาพุทธวจนะ มีมั๊ย ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอพึงมีสติสัมปชัญญะรอคอยการตาย ผมกลัวว่าท่านจะโมเม เป็นคำพูดของท่านเอง หรือเป็นคำตรัสของพระพุทธเจ้า หากไม่มี แสดงว่าท่านกล่าวตู่พระพุทธเจ้านะ
ท่านมักอ้างว่า มัคควิธี ที่ท่านสอนเป็นวิธีง่าย
ท่านพูดเอาเองใช่ไหมว่าง่าย มีพระพุทธพจน์รับรองหรือไม่ว่าวิธีที่ท่านสอนนี้ ง่ายกว่าวิธีอื่น ผมว่าท่านพูดเอาเองมากกว่า ถ้าวิธีที่ท่านสอนง่ายจริง พระพุทธเจ้าคงไม่สอนวิธีอื่นไว้แน่ คงจะสอนวิธีนี้วิธีเดียว ทำไมพระพุทธเจ้า จึงสอนไว้หลายวิธี ก็เพราะบุญบารมี จริต นิสัย ที่จะเข้าใจต่างกันนี่เอง วิธีนี้อาจง่ายสำหรับคนนี้ แต่ยากสำหรับคนอื่น พระพุทธเจ้าทุกพระองค์จึงต้องมี อาสยญาณ เพื่อหยั่งรู้อัธยาศัยของสัตว์ เพื่อประโยชน์แก่การแสดงธรรมให้ตรงตามจริตผู้ฟัง
ท่านสอนโยมให้แก้กิเลสทุกชนิดด้วยการดูลม
ถ้าท่านสอนอาจใช่ แต่ถ้าพระพุทธเจ้าไม่ใช่แน่? พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนให้ผู้ฟังแก้กิเลสทุกชนิดด้วยการดูลม ท่านอาจเปรียบเทียบกับพระพุทธเจ้าว่าพระองค์ใช้วิธีนี้ แล้วบรรลุธรรมทุกอย่า แล้วท่านมาพาโยมทำ เรากับพระพุทธเจ้า จะไปเปรียบเทียบกันได้อย่างไร ไม่ใช่ว่าเรารู้ลมดีแล้วจะตรัสรู้ธรรมทุกอย่าง เหมือนพระพุทธเจ้า ในพระไตรปิฎกพระพุทธเจ้าสอนการดูลมไว้กี่ที่ สอนกี่คน แล้วมีใครบ้างที่บรรลุธรรม เพราะการดูลมเมื่อเทียบกับวิธีอื่นๆ ที่พระพุทธเจ้าแสดง พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนให้สาวกแก้กิเลสทุกชนิดด้วยการดูลม เหมือนกับ ที่ท่านสอนแน่นอน (ไม่ได้หมายความว่าผมห้ามท่านสอนวิธีนี้นะ)
ท่านบอกโยมว่า การเจริญอสุภะไม่ใช่มัชฌิมาปฏิปทา
นี่ท่านก็เข้าใจเอาเองอีก คีเวิร์ดดูก็ได้ในพระไตรปิฎกไม่มีคำนี้หรอก ถ้าไม่ใช่มัชฌิมาปฏิปทา พระพุทธเจ้าจะสอนทำไม และก็มีอยู่ในสติปัฏฐานสูตร ชัดเจน มัชฌิมาปฏิปทา ความหมายคืออะไร ท่านรู้ มั๊ย ถ้าท่านรู้ท่านคงไม่เข้าใจผิดแน่ พึงเจริญเมตตาเพื่อละโทสะ เจริญอสุภเพื่อละราคะ เจริญอนิจจะสัญญาเพื่อละ อัสมิมานะ ท่านเคยอ่านเจอ มั๊ย ผมไม่บอกหรอก ว่า อยู่เล่มไหน สูตรไหน เพราะผู้รู้พระไตรปิฎกจริง จะต้องเจอคำนี้แน่นอน
ท่านอธิบาย ปฏิจจสมุปบาท ตอน เวทนาทำให้เกิดตัณหา
ท่านบอกว่าความพอใจเกิดก่อน ตัณหาจึงเกิด ท่านพูดเอาเอง(อีกแล้ว) ใช่ไหม ในพุทธวจนะใช้คำว่า เวทนา เป็นปัจจัยทำให้เกิดตัณหา แต่ท่านมาเปลี่ยนคำว่า เวทนา เป็นความพอใจ ซึ่งถือว่าผิดพยัญชนะ ผิดสภาวะ เป็นการแต่งเติมพุทธวจนะใหม่ บัญญัติคำใหม่(ซึ่งท่านชอบว่าแต่คนอื่นแต่ตัวเองชอบทำ) ทำให้สับสนมาก ท่านไปเข้าใจว่าเวทนา คือ ความพอใจ ซึ่งความจริงไม่ใช่ ถ้าผู้รู้จริงเขาฟังอยู่ เขาก็คงจะหัวเราะเยาะท่านแน่ เพราะท่านอธิบายมั่ว และเพราะท่านไม่รู้จริง
เวทนา เป็นวิบาก เป็นปัจจุบันผล ตัณหา เป็นกรรม เป็นปัจจุบันเหตุ
ท่านอธิบายเวทนา เป็นความพอใจ ความพอใจจะเป็นวิบาก เป็นปัจจุบันผลได้อย่างไร และ ไม่มีด้วยในองค์ของ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ องค์ ผมอยากให้ท่านไปศึกษาให้ดี อ่านทุกหน้าของพระไตรปิฎก อ่านไปช้าๆ อย่าอ่านในคอมเด็ดขาด(โดยเฉพาะวิธี คีเวิร์ด) เพราะถ้าอ่านในคอม การเชื่อมโยงในแต่ละเล่ม แต่ละสูตรจะไม่ชัดเจน ขอเตือนไว้อีกว่า ควรดูอรรถกถาประกอบด้วย ถ้าท่านไม่ดูอรรถกถา การอธิบายพุทธพจน์ ของท่านจะเข้าป่าเข้าดง เข้ารกเข้าพงมาก (ที่สำคัญท่านควรหาอาจารย์สอนนะ นักเรียนที่อ่านหนังสือเอง โดยไม่มีอาจารย์สอนจะเป็นอย่างไร ท่านคงรู้นะ?? หรือคิดว่าเราเก่งแล้วไม่ต้องอาศัยอาจารย์ ก็แล้วแต่ท่าน)
เรื่องวิญญาณรู้วิมุติไม่ได้ สติ ระลึกในวิมุติ
เรื่องนี้ท่านก็พูดเอาเองอีกเหมือนกัน มีหรือที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า วิญญาณรู้วิมุติไม่ได้ ท่านบอกว่าวิมุติข้ามหัวเราไปมาอยู่ พระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างนี้หรือ ท่านชอบอธิบายเอง แล้วก็ชอบติอรรถกถา หรือครูบาอาจารย์ ตัวท่านเองนั่นแหละชอบจะบัญญัติคำใหม่ๆขึ้นมา ผมจะถามท่านว่า ขณะมีสติมีวิญญาณ มั๊ย คนนอนหลับมีวิญญาณไหม?? สติระลึกโดยปราศจากวิญญาณได้ไหม??
เรื่อง พระพุทธเจ้าสอนให้ทิ้งอารมณ์
ท่านบัญญัติคำขึ้นมาใหม่อีกแล้ว มีหรือ พุทธวจนะที่ตรัสว่า “ให้ทิ้งอารมณ์” ท่านคีฯดูก็ได้ คำนี้ ไม่มีหรอก ท่านชอบอ้างพระพุทธเจ้า ซึ่งความจริงเป็นคำพูดของตัวท่านเอง ท่านควรบอกโยมให้ชัดว่า นี่คือ คำพูดของอาตมา หรือกลัวโยมเขาจะไม่เชื่อเราถ้าบอกอย่างนี้ เลยต้องแอบอ้างพระพุทธเจ้า (บาปนะท่าน)
เรื่อง พระโสดาบันมีศีลบริบูรณ์ แต่อาจฆ่าสัตว์ได้ ในชาติใหม่ แสดงว่าท่านยังไม่ได้เรียน หรืออ่านพระไตรปิฎกไม่จบแน่ และยังคงไม่ได้เป็นพระโสดาบัน จึงตอบผิดหลักการอย่างนี้ ท่านไปเอามาจากไหน เดาใช่ไหม ถนัดนักเรื่องเดาสำหรับท่าน ในคัมภีร์บอกชัดเจนว่า พระโสดาบันแม้จะมีคนมาจะขู่ฆ่า เพื่อให้ท่านบี้มดดำ ท่านจะไม่ยอมบี้มดเด็ดขาด ท่านจะยอมตาย แต่จะไม่ฆ่าผู้อื่น เพราะเจตนาฆ่าผู้อื่นไม่มีแล้ว แม้ในชาติใหม่(พระโสดาบันเป็นผู้ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา ท่านเคยได้ยินมั๊ย)
พระพุทธเจ้าตรัสว่า หลงกายดีกว่าหลงจิต มีพุทธวจนะ ตรัสคำนี้ไว้ที่ไหนบ้าง ท่านชอบอ้างพระพุทธเจ้าเสียจริงๆ ทั้งๆที่เป็นคำพูดของตัวท่านเอง
ท่านมักจะอ้างพระพุทธพจน์ว่า เมื่อเข้าฌานแล้วน้อมจิตไปสู่อมตะธาตุได้
คำว่าน้อมจิตไปสู่อมตะธาตุได้ ท่านเข้าใจว่าอย่างไร?? ผมฟังดูเหมือนกับว่า ถ้าเข้าฌานได้ จิตจะน้อมสู่อมตะธาตุได้เอง ไม่เห็นมีวิธีการอะไรต่อจากเข้าฌานได้แล้ว ถ้าอย่างนั้นอาจารย์ของพระพุทธเจ้า ตอนก่อนตรัสรู้ ที่ได้ฌานขั้นอากิญจัญญายตนะ หรือเนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็ต้องบรรลุนิพพานได้เอง โดยไม่ต้องอาศัยวิธีอื่นต่อจากนั้น เพราะเห็นท่านมักอ้างพระสูตรว่า เมื่อเข้าปฐมฌานฯลฯ จนถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะ ได้แล้ว น้อมจิตไปสู่อมตธาตุได้ เพราะท่านไม่ดูสูตรอื่นประกอบ และที่สำคัญไม่ยอมดูอรรถกถา ว่า ท่านอธิบายไว้ในตอนก่อนๆอย่างไร ถ้าเข้าฌานได้แล้วจิตจะน้อมไปสู่อมตธาตุได้เองจริง พระพุทธเจ้า จะจากอาจารย์ทั้งสอง มาค้นหาวิปัสสนาทำไม ทำไมไม่บรรลุอมตธาตุตรงนั้นพร้อมกับอาจารย์เลย ท่านจับแค่สูตรเดียวมาพูด โดยไม่ยอมดูสูตรอื่นประกอบก็เป็นอย่างนี้แหละ
เรื่อง อรูปฌาน ไม่ใช่พุทธพจน์
โดยท่านบอกว่าคีฯดูแล้วในพระไตรปิฎกไม่มีคำนี้ เป็นคำของอรรถกถา ผมจะขอบอกท่าน ว่า เวลาท่านอ่านพุทธพจน์จบ แล้วอธิบายเสริม คำอธิบายเสริมของท่านก็ไม่มีในพระไตรปิฎก เหมือนกันท่านจะว่าอย่างไร??? ทำไมหรือ??? ท่านน่าจะนึกถึงมหาปเทสสูตรบ้าง พระพุทธเจ้าให้เทียบเคียงกับพุทธพจน์ ถ้าลงกันได้ก็ให้ถือเอา อากาสานัญจายตนะ วิญญานัญจายตนะ อากิญจิญยายตนะ และเนวสัญญานาสัญญายตนะ ท่านคงจะเจอนะ สมาธิเหล่านี้แหละที่ท่านเรียกว่า อรูปฌาน รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ ท่านเคยอ่านเจอมั๊ย มันเป็นชื่อเรียกแทนกัน เหมือนบางกอก กับ กรุงเทพ หรือโคราช กับ นครราชสีมา นั่นแหละ เป็นคำใช้แทนกันได้ ท่านจะอ้างแต่ว่าไม่ใช่ คำของพระพุทธเจ้า ไม่ให้ถือเอา ผมว่ามันจะสุดโต่งเกินไปนะ และผมว่าทุกครั้งที่ตัวท่านเองอธิบายพุทธพจน์ นี่ก็ไม่ใช่พุทธวจนะ จึงไม่ควรถือเอาคำอธิบายของท่านเหมือนกัน ท่านจะไปติทำไมว่าเป็นคำของอรรถกถา ทำไมไม่ดูว่าเข้ากันได้ไหมกับพุทธพจน์ คำว่าอรูปฌาน มันขัดกันตรงไหนกับพุทธพจน์ เป็นชื่อเรียกรวม ฌานทั้ง ๔ นั่นแหละ จะไปเรียก ทีละอย่างๆ ได้งัย ทางโลกท่านก็จบสูงอยู่ ก็น่าจะรู้ มีอคติแล้วก็เป็นอย่างนี้แหละเมื่อพยาบาทแล้ว ถึงจะดี ยังงัย ก็ไม่เอา แต่ของตัวเองที่ขัดกับพุทธพจน์มากมาย กลับมองไม่เห็น นี่แหละหนาที่เขาบอกว่า..(คำพังเพยสุภาษิตไทย ท่านน่าจะรู้นะ อย่าให้ผมยกมาเลย)
เรื่อง โยมถาม สมถยานิก และ วิปัสสนายานิก
ท่านกลับไปย้อนถามโยมว่า เมาจากไหน ไม่เคยได้ยิน ก็ท่านไม่เคยอ่านคัมภีร์ต่างๆ เป็นกบในกะลาครอบ ท่านจะรู้ได้ยังงัย พอเจโตวิมุติ กับ ปัญญาวิมุติ ท่านกลับตอบไปเป็นคุ้งเป็นแคว แต่พอคำถามข้างบนท่านกลับไม่รู้เรื่อง ซึ่งความจริงก็เรื่องเดียวกัน กับที่ท่านตอบนั่นแหละ มันไม่ได้ขัดกันตรงไหนเลย คำของอรรถกถาไม่ได้ขัดกับพุทธพจน์เลยแม้แต่น้อย(ถ้าท่านยอมอ่านจึงจะรู้) ผมว่าคำของท่านนั่นแหละจะขัดกับพุทธพจน์ ซึ่งผมได้ยกตัวอย่างไปบ้างแล้วในตอนต้นๆ
โยมถามเรื่อง ขันธ์๕ ขันธ์๑ ขันธ์๔
ท่านตอบแบบไม่รู้จริง ไม่ได้เรียน ตอบไปตามความเห็นเหมือนยิงธนูไปในที่มืด ไม่รู้จะไปตกตรงไหน หาไม่เจอ คำตอบของท่านก็เหมือนกัน หาความถูกต้อง ชัดเจนไม่ได้ ผมไม่บอกหรอก ว่าท่านตอบอย่างไร อยากให้ท่านกลับไปฟังใหม่ หรือตอบเดียวนี้ก็ได้ ท่านก็จะตอบอย่างเดิมนั่นแหละ ตอบแบบสุ่มเดา เพราะไม่ได้เรียน และไม่รู้จริง(ดูสัตตวาส๙ ววัตถสัญญาสูตร อัง.นวก ประกอบก็ได้นะ)
เรื่อง สัญญาเวทยิตนิโรธ เหลือ สังขารและวิญญาณ
ท่านเอาอะไรมาตอบ คือดับแค่สัญญากับเวทนา เหลือสังขารกับวิญญาณ ผมไม่รู้จะบอกอย่างไรดี ผู้รู้เขาฟังเขาหัวเราะท่านแน่นอน ท่านไปแยกออกจากกันได้อย่างไร ในนามขันธ์ทั้ง ๔ ขันธ์นี้ แยกกันไม่ได้ ท่านไปจับแค่ศัพท์มาตีความ โดยไม่ดูพุทธพจน์ที่อื่นประกอบ เรื่องศัพท์ทางบาลี ท่านก็ยังไม่รู้จริง รากศัพท์เป็นอย่างไร ธาตุ วิภัตติ วาจก สาธน ลิงค์ฯลฯ อีกมากมาย บางครั้งผมเห็นท่านท่องคำบาลี และคำแปล มาพูด(ท่านไม่ได้เรียนมาโดยตรง) ถ้าท่านจำมาผิด หรือเขาพิมพ์ตกล่ะ ท่านจะไม่อายเขาหรือ??? ความจริงในคัมภีร์ สัญญาเวทยิตนิโรธ หมายถึงนามขันธ์๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ดับหมดไม่มีเหลือ ศึกษาให้ดีก่อนนะ อย่ามั่นใจตัวเองเกินไป(ขออภัยที่ผมไม่ได้อ้างหลักฐาน แต่ผมเชื่อว่า ผู้รู้ไม่ติผมแน่นอน)
เรื่อง ท่านให้โยมท่ององค์ของปฏิจจสมุปบาทให้ได้
แต่พอโยมถามว่าจะพิจารณาปฏิจจฯในสมาธิ ท่านกลับบอกว่าไม่ต้องพิจารณา ให้ดูลมอย่างเดียว แล้วท่านจะให้โยมท่องจำไปทำไม? ท่านจะให้พิจารณาตอนไหน ฟังดูเหมือนกับว่า ถ้าดูลมดีแล้วจะรู้จักปฏิจจสมุปบาทได้เอง คำสอนของท่านดูมันขัดๆกันนะ มีอะไรโยนให้ดูลม ผมว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้สอนอย่างนี้แน่
เรื่อง สันทิฏฐิกนิพพาน(นวกนิบาต)
ท่านอย่าให้ขัดกับสูตรอื่นนะ ที่เดียรถีย์ บัญญัตินิพพานในปัจจุบันไว้ ๕ ประการ ซึ่งพระพุทธเจ้าคัดค้าน เพราะเป็นมิจฉาทิฏฐิย่างหนึ่ง ท่านต้องหาให้เจอนะ ถ้าหาไม่เจอแสดงว่ารู้พระไตรปิฎกไม่จริง
เรื่อง ญาณวัตถุ ๗๗ แบ่งเป็น อดีต ก็มี อนาคต ก็มี
ญาณวัตถุ ๗๗ คือความรู้จริงในอดีต หรืออนาคต ซึ่งเป็นการเจริญปัญญาให้แก่รอบ และครอบคลุม ตัวท่านมักจะอ้างถึงบ่อยๆ แต่พอท่านมาอธิบายการเจริญปัญญา การพิจารณาอดีต กับอนาคต กลับไม่สำคัญ ท่านให้รู้ขันธ์ในปัจจุบันก็พอ ซึ่งไม่สอดคล้องกับเรื่องญาณวัตถุ ๗๗ ที่ท่านยกมา และขัดกันกับการเจริญปัญญาในสูตรอื่นๆ อีกมาก เช่น อนัตตลักขณสูตร พระองค์ให้พิจารณา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน แต่ท่านกลับสอนให้ปัญญาแช่อยู่กับขันธ์ปัจจุบันก็พอ ซึ่งไม่ตรงกับวิธีของพระพุทธเจ้านัก (ท่านคงไม่รู้ตัวหรอกนะว่าท่านกำลังสอนในสิ่งที่ขัดแย้งกับพุทธวจนะ)


โดย: ธรรมทาส IP: 111.84.66.181 วันที่: 24 ตุลาคม 2556 เวลา:15:45:39 น.  

 
จิตไปกระทบอารมณ์ ชื่อว่าสร้างกรรมสร้างภพ
นี่ท่านก็พูดเอาเองอีก มีพุทธพจน์รองรับหรือไม่ พระอรหันต์ท่านมีอายตนะ กระทบอารมณ์ไหม ทำไมจิตท่านไม่สร้างภพล่ะ การสร้างภพ ในปฏิจจสมุปบาท อยู่ตรงไหน การสร้างภพอยู่ที่ ตัณหา อุปาทาน โน่น ไม่ใช่อยู่ที่จิตกระทบอารมณ์ คือการสร้างภพ จิตกระทบอารมณ์ เป็นแค่ผัสสะเองในปฏิจจสมุปบาท อย่างนี้ พระอรหันต์ ก็ต้องสร้างภพสิ เพราะจิตท่านกระทบอารมณ์เหมือนกัน หรือ อย่าว่าแต่พระอรหันต์เลย แม้ปุถุชน ก็ยังไม่ชื่อว่าสร้างภพหรอกแค่จิตกระทบอารมณ์ ต่อเมื่อตัณหาอุปาทานเกิดโน่น จึงจะชื่อว่าสร้างภพ คำพูดของท่าน ขัดแย้งกับพุทธพจน์ชัดเจน ไม่เป็นสัจจะธรรม จึงไม่ควรถือเอา
ถ้ารูปตายเราจะตายไปตามรูป
คำนี้มีในพระไตรปิฎกไหม ท่านชอบบัญญัติคำอะไรขึ้นมาใหม่เสียจริงๆนะ แล้วอ้างว่าเอามาจากพระไตรปิฎก ท่านบอกสอนแต่คนอื่น แต่ตัวท่านกลับทำเสียเอง ผมว่าเวลาท่านอ่านพุทธพจน์ให้โยมฟัง อย่าอธิบายได้ไหม เพราะคำอธิบายของท่าน มันอาจจะคนละเรื่องกับพุทธพจน์ก็ได้
โยมถามเรื่อง สังขาร ทำให้เกิด วิญญาณ
ท่านก็ตอบแบบไม่เข้าใจ ตอบแบบไม่มั่นใจ เพราะท่านไม่รู้จริง และเพราะไม่ยอมดูอรรถกถา ถ้าดูอรรถกถาท่านจะตอบได้ชัดเจน และมั่นใจ เพราะที่อรรถกถา ท่านอธิบายไว้จะสอดคล้องกับพุทธพจน์ทั้งหมด
เรื่องอุปาทานสร้างภพอย่างไร
นี้ท่านก็ตอบไม่ชัดเพราะท่านไม่ใช่สัพพัญญู ที่จะมาตรึกคิดเอาเองเพื่ออธิบายพุทธวจนะ อรรถกถาท่านอธิบายไว้ชัดเจนดีแล้ว แต่ตัวท่านกลับไปสบประมาทท่านไว้ ว่าไม่รู้จริงเหมือนท่าน(แม้ท่านอาจไม่เคยพูดคำนี้แต่ผมฟังดูเวลาท่านพูดถึงอรรกถา ท่านคงจะคิดอย่างนี้ในใจ ถ้าไม่จริงผมขออภัยด้วย)
เรื่อง ปฐมฌานก็เพียงพอแก่การเข้าวิมุติน้อมจิตไปสู่อมตธาตุ
ผมอยากฟังท่านอธิบาย แต่ท่านก็ไม่อธิบายสักที เมื่อเข้าปฐมฌานแล้วเข้าวิมุติอย่างไร ท่าพูดอยู่แค่นี้ แล้วผู้ฟังจะปฏิบัติอย่างไร หรือว่า เมื่อได้ปฐมฌานก็จะรู้เอง อย่างนั้นหรือ ถ้าท่านดูอรรถกถา หรือโยงธรรมจากสูตรอื่นๆประกอบ ท่านจะเข้าใจไปนานแล้ว ดู พราหมณ์สูตร อัง.นวกนิบาต ประกอบบ้างนะ จะได้ไม่เข้าใจผิด
เรื่อง อาชีพนักแสดง ที่โยมถามจะปฏิบัติตัวอย่างไร
ท่านบอกว่าไม่มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎก ผมถามจริงๆท่านอ่านพระไตรปิฎกจบหรือยัง ถ้าจบ จบกี่รอบ ท่านชอบฟันธง! ท่านมั่นใจขนาดนั้นเชียวหรือ ท่านมาบอกว่าอาชีพที่ห้ามไว้ก็มีอยู่ ที่เกี่ยวกับค้าขายสัตว์ สุรา เป็นต้น ตาลปุตตสูตร หรือโยธาชีวิตสูตร ในสังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค ท่านดูหรือยัง พระพุทธเจ้าตรัสโทษของอาชีพนักแสดงไว้อย่างไร ท่านควรกลับไปดูเสีย แล้วติตัวเองว่า เรายังไม่รู้จริงนะ ต่อไปควรระวังให้มากกว่านี้
ท่านบอกว่า มีเหมือนกันที่บางครั้ง พระพุทธเจ้า ด่าว่าภิกษุ แบบสาดเสีย เทเสีย
ทำไมท่านไปกล่าวตู่พระพุทธเจ้าขนาดนั้น การด่าเป็น ผรุสวาจา เกิดจากอกุศลจิต พระพุทธเจ้าด่าว่าภิกษุ มีเหรอ ท่านเจอที่ไหน ด่าแบบสาดเสียเทเสีย เสียด้วย ท่านใช้คำนี้กับพระพุทธเจ้าไม่สมควรอย่างยิ่ง การด่าว่าคนอื่นแบบสาดเสียเทเสีย ควรจะใช้กับบุคคลชั้นต่ำมีมารยาททราม ไม่ควรมาใช้กับพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นบุคคลชั้นสูง และบริสุทธิ์อย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าทรงตำหนิภิกษุ ทรงติเตียนภิกษุ มีคำนี้จริง และคำตำหนิของพระองค์ก็นุ่มนวล เกิดจากพระมหากรุณา มหากิริยาจิต(ไม่ใช่อกุศลจิต) เช่นทรงตรัสว่า ดูก่อนโมฆะบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ไม่ควรทำ เป็นต้น คำเหล่านี้หรือ ที่ท่านมองว่า พระพุทธเจ้าด่าว่าภิกษุ แบบสาดเสียเทเสีย ท่านอย่าใช้คำนี้กับพระพุทธเจ้าอีกต่อไปนะ คนฟังเขาไม่รู้เขาจะเข้าใจผิดได้ (ทางทีดีท่านควรจุดธูปขอขมาพระพุทธเจ้าต่อหน้าพระพุทธรูป นะ ที่ท่านหาญคิด มาใช้คำที่ไม่เหมาะสมกับพระองค์ ไม่อย่างงั้นแล้ว ผมกลัวว่าท่านจะโดนกรรมเล่นงานเอานะ ผมหวังดีนะ)
โยมถามว่า วิตก วิจาร ปีติ เกิดพร้อมกันหรือไม่ ท่านตอบไม่ตรงคำถาม เพราะท่านไม่รู้ และไม่ได้เรียน
พระอรหันต์ฝันหรือไม่ โยมถาม
ท่านตอบว่า พระอรหันต์ฝันเหมือนกัน ท่านอ่านพระไตรปิฎกไม่จบแน่ แม้แต่เรื่องของพระทัพพมัลบุตร ท่านก็จำมาผิด มีที่ไหนพระทัพพะฝัน มีแต่ท่านทูลพระพุทธเจ้าว่า..“ข้าพระพุทธเจ้าแม้ความฝันก็ไม่เคยรู้จักเมถุนธรรม จะป่วยกล่าวไปใยถึงเมื่อตอนตื่นอยู่เล่า” ท่านกลับจำมาว่า พระทัพพะฝัน ตามหลักพระพุทธวจนะ พระอรหันต์จะฝันไม่ได้ เพราะท่านละวิปัลลาสได้หมดแล้ว ผู้ที่ฝันอยู่แสดงว่าละวิปัลลาสยังไม่ได้หมด(ดูสูตรอื่นประกอบสิ)
ท่านบอกว่า ฟังแล้ว ฟังไม่รู้เรื่องอะไร คือไม่ให้สนใจบัญญัติ(ความหมายของคำ)เป็นข้อปฏิบัติเพื่อละภพ
ท่านเอามาจากไหน คิดเอาเองอีกแล้ว!! แล้วโยมจะฟังท่านรู้เรื่องหรือ ถ้าอย่างนั้น หากอยากบรรลุธรรม ก็ไปฟังฝรั่งพูดสิ จะได้ไม่ต้องรู้เรื่อง ถือเอาแต่เสียงดังที่กระทบหูเพราะไม่รู้บัญญัติว่าพูดอะไร คงจะบรรลุธรรมแน่ หรือฟังเสียงนกร้องก็ได้ สมัยพุทธกาลคนฟังเรื่องที่พระพุทธเจ้าแสดงเขาเข้าใจ และบรรลุธรรม มีกี่สูตร พูดเพื่อให้เข้าใจแล้วเกิดปัญญา ปัญญาคือตัวบรรลุธรรม บรรลุธรรมก็คือละภพนั่นแหละ ที่ท่านสอนว่าฟังแล้วไม่ให้สนใจว่าเรื่องอะไร จะได้ปฏิบัติเพื่อละภพ พระพุทธเจ้าสอนไว้อย่างนี้หรือ อยู่ในสูตรไหน มีที่มาไหม ถ้าท่านจะสอนลัทธิใหม่ ต้องบอกโยมนะ อย่าบอกว่าเป็นของพระพุทธเจ้า หรือว่าเอามาจากพระไตรปิฎกเด็ดขาด!!!!
โยมบอกว่า อานาปานสติ จากพระโอษฐ์ ฟังแล้วยาก อยากให้อธิบาย
โยมเขาพูดถูกแล้ว แต่พอท่านอธิบายท่านกลับตีความเอง ท่านอธิบายคลุมเครือมาก สับสน เพราะท่านไม่รู้จริง ว่า เบื้องต้น ท่ามกลาง ที่สุด ของอานาปานสติ คืออะไร ก็ท่านไม่ยอมดูอรรถกถาซึ่งท่านได้อธิบายไว้ชัดเจนในหลักปฏิบัติ หลักพิจารณา วิธีการที่ทำความลึกให้ตื้น ทำความยากให้ง่าย มีอยู่ในอรรถกถาอานาปานสติสูตรอยู่แล้ว ถ้าท่านอยากปฏิบัติในอานาปานสติสูตร แบบสุ่มเดา ก็ขอนิมนต์เถอะ ท่านก็จะรู้อยู่แค่นั้น
โยมถามว่า จิตประภัสสร คืออะไร ท่านตอบว่า วิมุติจิต
ท่านเอามาจากไหน เดาใช่ไหม ในพระไตรปิฎกบอกไว้หรือว่า จิตประภัสสร คือ วิมุติจิต เป็นพุทธพจน์หรือ?? ท่านไม่เข้าใจอะไรเลย ตอบแบบมั่วๆไปอย่างนั้นเหรอ พุทธพจน์ว่าไว้อย่างไร ทำไมท่านไม่เพ่งให้ดี พุทธพจน์ว่า จิตนี้ ประภัสสร แต่เศร้าหมองเพราะถูกอุปกิเลสที่จรมา ความจริงจิตถึงวิมุติแล้วจะเศร้าหมองไม่ได้ อุปกิเลสจะจรเข้ามาในวิมุติจิตได้อย่างไร วิมุติจิตของท่านคือจิตพวกไหนกันแน่ นี่เพราะท่านไม่รู้ ตอบแบบคาดเดาจึงผิดสภาวะ ผิดหลักการอย่างนี้ ไม่รู้ก็บอกว่าไม่รู้เถอะ โยมเขาไม่ว่าหรอก หรือกลัวว่าคะแนนนิยมจะตกหากตอบไม่ได้ อย่าคิดย่างนั้นเลย ท่านเคยเจอพุทธพจน์นี้ไหม?? บุคคลใดเป็นคนโง่ แต่รู้ตัวว่าตัวเองโง่ เรากล่าวบุคคลผู้นั้นว่ายังพอเป็นบัณฑิตได้บ้าง ส่วนบุคคลใดเป็นคนโง่แต่สำคัญตนว่าเป็นผู้ฉลาด เรากล่าวบุคคลผู้นั้นว่าเป็นบุคคลผู้โง่แท้ ท่านอยู่ในจำพวกไหน??
ความจริงจิตประภัสสรใน อรรถกถา ท่านหมายถึงภวังค์จิตโน่น(ท่านรู้จักมั๊ย) ซึ่งท่านพูดไว้ถูกแล้ว และสอดคล้องกับพุทธพจน์ที่อื่นๆด้วย ไม่ใช่วิมุติจิตอย่างที่ท่านเข้าใจแน่ วิมุติจิตของท่านนั่นแหละจะขัดกับพุทธพจน์ (ถ้าท่านอยากรู้ว่าภวังค์จิตคือจิตพวกไหน ท่านหาศึกษาเอาเองนะในพระไตรปิฎกนั่นแหละ หรือในอรรถกถาก็ได้ หรือท่านไม่อยากรู้ อยากโง่อยู่ต่อไป ก็เรื่องของท่าน)
ท่านบอกว่า บทสวดพาหุงแต่งขึ้นมาใหม่ ไม่ใช่พุทธวจนะ
ท่านพูดทำไม???? พูดแล้วได้ประโยชน์อะไร ท่านรู้ไหมบทสวดพาหุงมีคำแปลว่าอย่างไร สอดคล้องกับพระไตรปิฎกสูตรไหน ท่านจะติทำไมว่าไม่ใช่พุทธพจน์ ทำไมไม่ดูเนื้อหา ไม่ดูประโยชน์ ขัดกันกับพุทธพจน์ตรงไหน นี่แหละเขาเรียกว่า ทิฏฐิ อย่างนี้เท่านั้นจริงอย่างอื่นเปล่า ผมว่าท่านจะสุดโต่งไปหน่อยนะ ทีคำพูดของตัวท่านเองไม่เห็นบอกว่าแต่งขึ้นมาใหม่ ทั้งๆที่ส่วนมากก็ขัดกับพุทธวจนะ
เรื่อง การบวชของพระนางมหาปชาบดีโคตมี
ท่านบอกว่า พระพุทธเจ้าจนด้วยเหตุผล ของพระอานนท์จึงให้บวช ทำไมท่านคิดอย่างนี้ ท่านศึกษามาไม่ดี ไม่เข้าใจในความเป็นพระพุทธเจ้าหรอก พระอานนท์เป็นใคร พระพุทธเจ้าเป็นใคร เทียบกันไม่ได้อยู่แล้ว พระอานนท์จะมีเหตุผลดีกว่าพระพุทธเจ้าได้อย่างไร?? ท่านโง่แล้วอวดฉลาด ผมไม่อยากจะพูดเลยตรงนี้(แต่จำเป็น) ว่าท่านพูดแบบคนไม่รู้เรื่อง ท่านดูถูกพระพุทธเจ้ามาก ที่มาอธิบายอย่างนี้
ผมไม่อยากจะโทษท่านหรอกนะ เพราะท่านไม่ศึกษานั่นเอง เปิดดูหน่อยเถอะครับว่า อรรถกถาท่านอธิบายว่าอย่างไร จะได้ไม่เข้าใจผิดอีกต่อไป หรือคิดว่าตัวเองเก่งอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องดูอรรถกถา ถ้าท่านคิดอย่างนี้ผมว่าสักวันหนึ่งกรรมที่ท่านกล่าวตู่พุทธพจน์ต้องจะตามสนองท่านอย่างแน่นอน (ผมเชื่อว่าความจริงย่อมทนต่อการพิสูจน์ ธรรมะย่อมชนะอธรรม)
โยมถามว่า ขณะจิตเป็นสมาธิ ขันธ์ ทำงานอย่างไร ท่านก็ตอบไม่รู้เรื่อง เพราะท่านไม่ได้เรียน เหมือนเอาความรู้ปริญญาไปถามเด็กประถมอย่างนั้นแหละ ตอนนั้นที่ท่านตอบ ผมถามจริงๆ ท่านไม่รู้ใช่ไหม ถ้าท่านไม่รู้ทำไมไม่บอกโยมไปตรงๆ ท่านกลัวเสียหน้า หรือกลัวอายโยมเขาเหรอ แล้วท่านก็ตอบไป มันผิดหลักธรรมของพระพุทธเจ้า ท่านไม่กลัวหรือ ผมเตือนท่านด้วยความหวังดีนะ การตอบธรรมของพระพุทธเจ้าแบบสุ่มเดาไม่รู้จริง มีแต่เข้าเนื้อ กับขาดทุนนะท่านนะ!!!
ท่านพูดว่า สิ่งใดไม่ใช่พุทธวจนะ ไม่ใช่สัจธรรมที่แท้จริง
ผมพอรู้ว่าเจตนาของท่าน ในคำนี้หมายถึงอะไร ท่านจะยึดพุทธวจนะอย่างเดียว นี่ก็เป็นสุดโต่งอีกอย่างหนึ่ง คำพูดของท่านประโยคนี้ ก็ไม่เป็นสัจธรรมที่แท้จริงเหมือนกัน เพราะไม่ใช่พระดำรัสของพระพุทธเจ้า มีมั๊ยในพระไตรปิฎก ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า สิ่งใดไม่ใช่พุทธวจนะไม่ใช่สัจธรรมที่แท้จริง นี้เป็นแต่เพียงคำพูดของท่าน การที่ท่านจะยึดเอาแต่พุทธพจน์ไม่ใช่ว่าจะไม่ดี แต่การที่ท่านไปปฏิเสธคำพูดของคนอื่น ที่สอดคล้องกับพุทธพจน์นี่แหละ ที่ผมไม่เห็นด้วย ผมพูดบ่อยแล้วในตอนต้นๆว่า บางครั้งพระพุทธเจ้าให้พระสารีบุตรแสดงธรรมแทน บางครั้งพระอานนท์ พระโมคคัลลานะ และสาวกหลายรูป ในพระไตรปิฎกก็มีหลายสูตร หรือแม้แต่อสิภาษิต เทวตาภาษิต พรหมภาษิต พราหมณ์ภาษิต ที่ท่านเหล่านั้น กล่าวเป็นธรรม พระพุทธเจ้าไม่ค้าน และยังรับรอง ภาษิตเหล่านี้ ชื่อว่าคล้อยตามพุทธพจน์ทั้งนั้น พระพุทธเจ้ายังไม่ปฏิเสธเลย แต่ตัวท่าน กลับมาปฏิเสธ เป็นการขัดแย้งกับพระพุทธเจ้า ผมจึงได้บอกว่าคำพูดของท่านประโยคนี้ ก็ไม่เป็นสัจธรรมเหมือนกัน
ฉบับนี้ผมพอเท่านี้ก่อนนะ จาก... ธรรมทาส ภักดีธรรม (ป.ภิกขุ) กัลยาณมิตร ปี ๕๒
..................................................................................................................................................


โดย: ธรรมทาส IP: 111.84.66.181 วันที่: 24 ตุลาคม 2556 เวลา:15:46:39 น.  

 
ผมว่าท่านศึกษาด้วยความเพ่งโทษมากกว่านะครับคนที่ไม่รู้เรื่องคือท่านเองมากกว่าไม่ต้องไปถามอาจารย์คึกฤทธิ์หรอกครับคำถามของท่านผมตอบได้หมดเพราะผมทั้งฟังทั้งค้นในพระไตรปิฏกเป็นร้อยเที่ยวแล้ว ผมว่าท่านเองกลับไปศึกษาพระธรรมวินัยของศาสดาตัวเองให้กระจ่างแจ้งดีกว่าอย่าพยายามเชิดชูอรรถกถาเลยธรรมของพระองค์บริสุทธิ์บริบูรณ์แล้วสิ้นเชิง ทั้งอรรถและพยัชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์แล้วสิ้นเชิง ทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และในที่สุด และไม่จำเป็นต้องให้สาวกหน้าไหนมาเพิ่มเติม คนพาลที่คิดว่าตัวเองเป็นบัญฑิต นั่นแหละคือคนพาลแท้


โดย: วาสี IP: 49.237.44.10 วันที่: 7 มีนาคม 2558 เวลา:19:54:17 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.