Group Blog
 
 
มิถุนายน 2559
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
17 มิถุนายน 2559
 
All Blogs
 

O กรรม .. ส่งผลอย่างไร ? / กรณี ธรรมกาย .. O

.

มาลองพิจารณาข้อความจากพุทธวจนะดูก่อน

......................................................

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !
เหตุทั้งหลาย ๓ ประการเหล่านี้ มีอยู่ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย.

สามประการเหล่าไหนเล่า? สามประการคือ ..
โลภะ เป็นเหตุ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย
โทสะ เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย
โมหะ เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !
กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยโลภะ เกิดจากโลภะ มีโลภะเป็นเหตุ มีโลภะเป็นสมุทัย อันใด; กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลายอันเป็นที่บังเกิดแก่อัตตภาพของบุคคลนั้น.

กรรมนั้น ให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเอง ไม่ว่าจะเป็นไปอย่างในทิฏฐิธรรม หรือว่า เป็นไปอย่างในอุปปัชชะ หรือว่า เป็นไปอย่างในอปรปริยายะ ก็ตาม

( .. สำหรับ โทสะ และ โมหะ ก็เป็นคำกล่าวด้วยข้อความอย่างเดียวกัน .. จึงขอไม่ลงซ้ำให้ยืดยาว .. )

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !
เปรียบเหมือนเมล็ดพืชทั้งหลาย ที่ไม่แตกหัก ที่ไม่เน่าที่ไม่ถูกทำลายด้วยลมและแดด เลือกเอาแต่เม็ดดี เก็บงำไว้ดี อันบุคคลหว่านไปแล้วในพื้นที่ซึ่งมีปริกรรมอันกระทำดีแล้ว ในเนื้อนาดี. อนึ่ง สายฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !
เมล็ดพืชทั้งหลายเหล่านั้น จะพึงถึงซึ่งความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์โดยแน่นอน, ฉันใด; ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ข้อนี้ก็ฉันนั้น คือ กรรมอันบุคคลกระทำแล้วด้วยโลภะ/โทสะ/โมหะ เกิดจากโลภะ/โทสะ/โมหะ มีโลภะ/โทสะ/โมหะเป็นเหตุ มีโลภะ/โทสะ/โมหะเป็นสมุทัย อันใด; กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นที่บังเกิดแก่อัตตภาพของบุคคลนั้น. กรรมนั้นให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเองไม่ว่าจะเป็นไปอย่างในทิฏฐิธรรม หรือว่า เป็นไปอย่างในอุปปัชชะ หรือว่า เป็นไปอย่างในอปรปริยายะ ก็ตาม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เหตุทั้งหลาย ๓ ประการเหล่านี้แล เป็นไปเพื่อความ
เกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย


จาก .. ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์
.................................................


ดูข้อความที่ขีดเส้นใต้ไว้ ..
.. กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นที่บังเกิดแก่อัตตภาพของบุคคลนั้น .. กรรมนั้นให้ผลในอัตตภาพใด เขาย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมนั้น ในอัตตภาพนั้นเอง ..


แล้วมาดู .. ความหมายของคำกัน ..

อัตภาพ น. ตน, ลักษณะความเป็นตัวตนหรือบุคคล. (ป. อตฺตภาว)

ขันธ์ ๕ - เบญจขันธ์ องค์ประกอบทั้ง ๕ .. ที่ทางพุทธศาสน์ถือว่า เป็นปัจจัยของมีชีวิต อันมี รูปขันธ์, เวทนาขันธ์, สัญญาขันธ์, สังขารขันธ์, วิญญาณขันธ์
.. รูป – ในขันธ์ ๕ หมายถึง ส่วนร่างกายตัวตน,
.. เวทนา - การเสวยอารมณ์ (ทั้งต่อใจและกาย), ความรู้สึก,ความรู้สึกในรสของอารมณ์
.. สัญญา - การกำหนดหมาย, ความจำได้ ความหมายรู้ คือ
- - - หมายรู้ไว้ ซึ่ง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะและอารมณ์ที่เกิดกับใจว่า เขียว ขาว ดำ แดง ดัง เบา เสียงคน เสียงแมว เสียงระฆัง กลิ่น ทุเรียน รสมะปราง เป็นต้น
- - - และจำได้ คือ รู้จักอารมณ์นั้นว่าเป็นอย่างนั้นๆ ในเมื่อไปพบเข้าอีก
.. สังขาร - สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งขึ้น, สิ่งที่เกิดแต่เหตุปัจจัย, สิ่งหรือผลที่เกิดขึ้น มาจากการที่มีเหตุต่างๆ มาเป็นปัจจัยคือเครื่องสนับสนุน ปรุงแต่งกันขึ้น จึงครอบคลุมสังขารทั้งฝ่ายรูปธรรม และ นามธรรม ได้แก่ ขันธ์ ๕ ทั้งหมด, จิต, สิ่งของวัตถุ, ตัวตน
.. วิญญาณ - ในปฏิจจสมุปบาทและขันธ์๕ อันหมายถึงการรับรู้จากอายตนะ หรือความรู้แจ้งอารมณ์ หรือระบบประสาทอันทําหน้าที่ในการสื่อสาร ดังเช่น จักขุวิญญาณ ระบบประสาทรับรู้ของตา กล่าวคือ การรับรู้หรือรู้แจ้งในรูป ที่มากระทบตา

"ทิฏฐธรรม" หมายถึงให้ผลทันควัน,
"อุปปัชชะ" หมายถึงให้ผลในระยะถัดมา,
"อปรปริยายะ" หมายถึงเวลาที่ถัดมาอีก คือ หลังจากการเกิดชาติที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ตามนัยะแห่งปฏิจจสมุปบาทในเวลาถัดมานั่นเอง

แทบไม่ต้องแปลต่อ ..
กับความหมายของ .. "เสวยวิบากกรรมนั้นในอัตภาพนั้นเอง" .. ว่ามีนัยะเป็นเรื่องปัจจุบันทั้งสิ้น !

ที่เริ่มแต่ความเป็นตัวตน หรือ อัตภาพ ที่ย่อมมีนัยะแห่งปัจจุบันเท่านั้น

ในขณะที่ ขันธ์ อันประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นเป็นส่วน รูปธรรม รายการเดียว คือ รูปกาย ที่เหลือเป็นเรื่องนามธรรมทั้งสิ้น และย่อมเป็นนามธรรมที่ตั้งอยู่บนรูปกายที่ว่านั้นเท่านั้น

เวทนา .. การเสวยอารมณ์ - เป็นเรื่องของจิตใจ
สัญญา .. การกำหนดหมายรู้ - เป็นเรื่องของจิตใจ
สังขาร .. อำนาจแห่งการปรุงแต่ง - เป็นเรื่องของจิตใจ
วิญญาณ .. ความรับรู้ ความรู้แจ้งในอารมณ์ - เป็นเรื่องของจิตใจ

ซึ่งทั้ง 4 อย่างข้างบนนี้ ย่อมเป็นสภาพธรรมที่ต้องอาศัยรูปกายเป็นที่ตั้งอยู่เท่านั้น !

".. กรรมอันนั้น ย่อมให้ผลในขันธ์ทั้งหลาย .."

ขันธ์ ทั้ง 5 ที่กล่าวมาจึงเป็นที่ที่กรรมจะให้ผล ตามพระวจนะ

จริงไหม ?

เมื่อ กรรม คือ การกระทำที่กอปรด้วยเจตนา ตั้งใจ


เมื่อแปลความที่ขีดเส้นใต้ไว้ทั้งประโยคจะได้ว่า ..

การกระทำด้วยเจตนาใดๆ ย่อมให้ผลต่อรูปนามที่กอปรอยู่ด้วย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (ขอเรียกรวมๆว่า .. อวิชชา) นั้นๆ .. และการกระทำด้วยเจตนาที่ให้ผลต่อรูปนาม อันกอปรอยู่ด้วยอวิชชาใดๆ รูปนามนั้นย่อมได้รับผลแห่งการกระทำ โดยตรงนั่นเอง

ไม่ว่าจะเป็นไปในทันที .. หรือในเวลาต่อมา .. หรือในเวลายาวนานต่อมาอีก

พระพุทธวจนะนี้แสดงความชัดเจนถึง วิบากกรรม อันย่อมส่งผลในปัจจุบันขณะ อย่างยากจะโต้แย้งได้ .. เนื่องด้วยให้ผลใน ขันธ์ ทั้งหลาย

และเพราะ ขันธ์ ทั้งหลายเป็นที่บังเกิดอัตภาพของคน
ขณะที่ความเป็นคน เป็นเรื่องของปัจจุบันเท่านั้น

ดังนั้น กรรม ส่งผลทันที ด้วยวิญญาณ 6 ที่เป็นตัวทำงาน .. และส่งผลต่อมาผ่าน มโนวิญญาณ คือความนึกคิด ความจำได้หมายรู้ หรือ สัญญา นั่นเอง


ทีนี้มาดูต่อในฝ่าย ตรงกันข้ามบ้าง ..
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !
เหตุทั้งหลาย ๓ ประการ เหล่านี้ มีอยู่ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย.
สามประการ เหล่าไหนเล่า ? .. สามประการคือ ..
.. อโลภะ เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย,
.. อโทสะ เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย,
.. อโมหะ เป็นเหตุเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !
กรรมอันบุคคล ..
- กระทำแล้วด้วยอโลภะ/อโทสะ/อโมหะ
- เกิดจากอโลภะ/อโทสะ/อโมหะ
- เมีออโลภะ/อโทสะ/อโมหะเป็นเหตุ
- มีอโลภะ/อโทสะ/อโมหะเป็นสมุทัย อันใด;

เพราะปราศจาก..
- โลภะ/โทสะ/โมหะเสียแล้ว, ด้วยอาการอย่างนี้เอง .. กรรมอันนั้น ย่อมเป็นกรรมอันบุคคลนั้นละขาดแล้ว มีรากอันถอนขึ้นแล้ว ถูกกระทำให้เหมือนตาลมีขั้วยอดอันด้วน ทำให้ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !
เปรียบเทียบเมล็ดพืชทั้งหลาย ที่ไม่แตกหัก ที่ไม่เน่า ที่ไม่ถูกทำลายด้วยลมและแดด เลือกเอาแต่เม็ดดี เก็บงำไว้ดี. บุรุษพึงเผาเมล็ดพืชเหล่านั้นด้วยไฟ ครั้นเผาด้วยไฟแล้ว พึงกระทำให้เป็นผงขี้เถ้า; ครั้นกระทำให้เป็นผงขี้เถ้าแล้ว พึงโปรยไปในกระแสลมอันพัดจัด หรือว่าพึงลอยไปในกระแสน้ำอันเชี่ยวในแม่น้ำ. เมล็ดพืชทั้งหลายเหล่านั้นเป็นพืชมีมูลอันขาดแล้ว ถูกกระทำให้เหมือนตาลมีขั้วยอดอันด้วน ทำให้ถึงความไม่มี มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา โดยแน่นอน, นี้ฉันใด;

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !
ข้อนี้ก็ฉันนั้น กล่าวคือกรรมอันบุคคล ..
- กระทำแล้วด้วย อโลภะ/อโทสะ/อโมหะ
- เกิดจาก อโลภะ/อโทสะ/อโมหะ
- มี อโลภะ/อโทสะ/อโมหะ เป็นเหตุ
- มี อโลภะ/อโทสะ/อโมหะ เป็นสมุทัย อันใด;

เพราะปราศจาก..
- โลภะ/โทสะ/โมหะ เสียแล้วด้วยอาการอย่างนี้เอง
กรรมอันนั้น ย่อมเป็นกรรมอันบุคคลนั้นละขาดแล้วมีรากอันถอนขึ้นแล้ว ถูกกระทำให้เหมือนตาลมีขั้วยอดอันด้วน ทำให้ถึงความไม่มีมีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย !
เหตุทั้งหลาย ๓ ประการเหล่านี้แล เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งกรรมทั้งหลาย. กรรมใด อันผู้กระทำเห็นอยู่ว่า เกิดแต่โลภะ เกิดแต่โทสะ เกิดแต่โมหะ ก็ตาม; กระทำแล้ว น้อยก็ตาม มากก็ตามกรรมนั้นอันบุคคลนั้นพึงเสวยผลในอัตตภาพนี้นั่นเทียว

วัตถุ (พื้นที่) อื่นหามีไม่ เพราะฉะนั้นภิกษุผู้รู้ประจักษ์ซึ่งโลภะ โทสะ และ โมหะ .. กระทำวิชชาให้เกิดขึ้นอยู่ ย่อมละทุคติทั้งหลายทั้งปวงได้

(.. คำว่า "วัตถุ" ในที่นี้ หมายถึงพื้นที่ที่กรรมจะให้ผลแก่ผู้กระทำ ได้แก่ขันธ์ทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอัตตภาพของบุคคลผู้ทำกรรมและเสวยกรรมนั่นเอง ไม่มีความหมายที่เล็งไปทางกาละหรือเวลา ว่าชาตินี้หรือชาติหน้า แต่ประการใด ..)

.
.

คำสอนที่ผ่านมา 2600 ปี .. ผ่านกาลเวลายาวนานขนาดนี้ ผ่านการรับรู้ ตีความจาก ภูมิปัญญา ที่มีความหลากหลายระดับองค์รู้ในตน ย่อมมีความเบี่ยงเบน ผิดเพี้ยนไปจากหลักเดิมแท้ที่เป็นพุทธประสงค์มากมาย

จากการสอนสัจธรรมเพื่อการดับทุกข์ในจิตในขณะปัจจุบันที่คนทุกคนรู้ได้ เข้าใจได้ ก็เริ่มผิดเพี้ยน เริ่มแทรกความลึกลับซับซ้อน อันคนทั่วไปเข้าใจไม่ได้มากขึ้น แทรกปนลงไปด้วยเรื่องราวศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ จนกระทั่งเพริดแพร้วพิสดารไปด้วยภพชาติอดีต นรก สวรรค์ ประดุจพราหมณ์ สาธยายพระเวทปานนั้น !

ธรรมอันใดเกิดแต่เหตุ .. พระตถาคตทรงตรัสเรื่อง ..
ธรรมนั้น .. ทุกข์
เหตุแห่งธรรมนั้น .. สมุทัย
ความดับแห่งธรรมนั้น .. นิโรธ
ทางให้ถึงความดับแห่งธรรมนั้น .. มรรค

นี่คือคาถาพระอัสสชิ ที่กล่าวให้มานพหนุ่ม อุปติสสะ (ที่ต่อมาคือ พระสารีบุตร) ได้ฟังที่กลางถนน จนผู้ฟังบรรลุโสดาบันทันทีที่ฟังจบ ..

เป็นหลักธรรมที่เรียบง่าย และเป็นเหตุเป็นผล อย่างที่สุด .. เป็นประโยคที่โด่งดังแพร่หลายมากที่สุดประโยคหนึ่งมาตั้งแต่พุทธกาล ..

ดังเช่นเรื่องกรรม .. ที่แจกแจงมา จากพระพุทธวจนะนั่นเอง .. ว่าเมื่อ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นเรื่องของปัจจุบันขณะทั้งสิ้นแล้ว .. วิบากกรรมที่ส่งผล ก็ย่อมส่งผลกระแทกใส่จิตวิญญาณรับรู้ทั้ง 6 ทาง ในกาลแห่งรูปขันธ์นี้ทั้งสิ้นเช่นกัน ..

และเมื่อเรื่อง วิบากกรรม จากชาติก่อนเป็นปัญหา อจินไตย คือ เรื่องที่ไม่ควรคิด ไม่ควรเอาใจไปพิจารณา จากพระวจนะใน อจินตสูตร ดังที่กล่าวมาในกระทู้ที่แล้ว ..

เรื่องกรรม และ วิบากกรรม ทั้งมวล จึงต้องเป็นเรื่องที่ลงกันได้กับการส่งผลกระทบจิตวิญญาณของชาติในกาลปัจจุบันแต่เพียงอย่างเดียว ..

ในขณะที่ .. หากว่า ธรรมนั้น มีเหตุแห่งธรรมอยู่ในชาติก่อน อย่างที่กลุ่มลูกศิษย์หลวงพ่อสดวัดปากน้ำ + แม่ชีขนนกยูง เชื่อกันฝังหัวแล้วไซร้ (คือเรื่อง .. บุญส่งผลข้ามภพข้ามชาติ ) .. อุปติสสะ ซึ่งเป็นปุถุชนอยู่ขณะที่ฟังธรรมจากพระอัสสชิอยู่นั้น จะเห็นถึงความเป็นเหตุเป็นผลได้อย่างไร ?

เพราะท่านมิได้มีคุณวิเศษ (วิชชา 3 หรือ อภิญญา 6) อยู่ในตนเลยในขณะที่ฟังธรรมอยู่นั้น เพราะเป็นเพียงผู้ศึกษาเรียนรู้ตามหลักคำสอนของสัญชัยปริพาชกเท่านั้นเอง

หากเหตุแห่งธรรมอยู่ในอดีตชาติ .. เราที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันนี้จะรู้ได้อย่างไร ด้วยวิธีไหน ?

จึงสามารถฟันธงได้เลยว่าเป็นแนวคิดที่ .. บิดเบือน .. ผิดเพี้ยน และหากยังยืนยันที่จะเชื่อกันอยู่ .. ลัทธิที่เน้นสอนเรื่องที่รับรู้ไม่ได้ด้วยตนเองนี้ ต้องนับเป็นพวก .. สัทธรรมปฏิรูป .. แปลว่า เป็นคำสอนที่ปรับเปลี่ยนเอาเองตามใจชอบของเจ้าสำนักนั้นๆ .. และไม่อาจนับว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่าง แน่นอนเด็ดขาด

อาจสามารถพูดได้ว่า เป็น ธรรมของหลวงพ่อสด หรือ ธรรมของธรรมไชยโย เท่านั้นเอง..





ดังนั้น ..
กลีบกุหลาบจำนวนมากมายพอๆกับมิจฉาทิฏฐิในจิตวิญญาณสองข้างทางในวัน ธุดงควัตร กลางเมืองหลวงนั้น .. สามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรผู้ปลูกกุหลาบ ไปพร้อมๆกับจิตวิญญาณที่แนบเนื่องอยู่ด้วย โลภะจิต ได้ดีทีเดียว ..

ขณะที่การจราจรที่ติดขัดก็สามารถกดดันจิตวิญญาณอีกนับหมื่นบนถนนให้แนบเนื่องอยู่ด้วย โทสะจิต ได้ไม่น้อยไปกว่ากัน

รวมทั้งเหล่าชุดขาวห่มขาวสองข้างทางเล่า จิตวิญญาณย่อมแนบเนื่องอยู่ด้วย โมหะจิต อย่างไม่น้อยจำนวนกว่ากันเลย ..

จึง .. ธุดงควัตร บนเส้นทางกลางเมืองหลวงนี้ .. สามารถสร้าง กรรม ที่ส่งผลต่อจิตวิญญาณมืดบอดดังพระวจนะ ที่ยกมาให้ดูกันที่ด้านบนได้อย่างทั่วถึงดีแท้ !

แล้วมันจะไม่มีอะไรต่อเนื่องตามมาทั้งสิ้น .. นอกเหนือจาก สัญญา ของคนจำนวนหนึ่ง !

อัตภาพเหล่านั้น .. ยังต้องวนเวียนอยู่ในวัฏฏะสงสารอีกนับนาน .. !




 

Create Date : 17 มิถุนายน 2559
0 comments
Last Update : 17 มิถุนายน 2559 8:24:06 น.
Counter : 1081 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.