Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2558
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
22 มิถุนายน 2558
 
All Blogs
 
“หุ้น” คืออะไร


โดย สุภศักดิ์ จุลละศร

=============================

จริงหรือที่เขาบอกว่าตลาดหุ้นเป็นบ่อนการพนัน? และการเล่นหุ้นก็คือการเสี่ยงดวง?

“ตลาดหุ้น” เป็นสถานที่ที่ผู้คนมาซื้อขายแลกเปลี่ยน “หุ้น” ของบริษัทต่างๆ ลองนึกภาพถึงตลาดนัดเปิดท้ายขายของ เพียงแต่แทนที่จะขายของมือสองเราก็ซื้อขายหุ้นแทน บางทีเราเป็นคนซื้อ บางทีเราก็เป็นคนขาย

ถ้าเราพยายามไล่เก็งกำไรด้วยการซื้อหุ้นมาถูกๆ และหวังว่าจะขายแพงๆ โดยไม่มี “แบบแผน” การซื้อขายหุ้นแบบนี้ก็อาจจะกลายเป็นการพนันหรือการเสี่ยงดวงไปได้ แต่ถ้าเราซื้อหุ้นเพราะต้องการซื้อ “ความเป็นเจ้าของ” ในบริษัทดีๆ ซักแห่ง มันก็อาจเป็นการลงทุนที่ดีได้

สรุปคือ “การลงทุนในหุ้น” จะเป็น “การพนัน” หรือไม่ “ตลาดหุ้น” จะเป็น “บ่อนการพนัน” หรือไม่ ล้วนอยู่ที่ตัวเรา หากจะเป็นเช่นนั้น ก็เกิดจากตัวเราที่ทำให้มันเป็น

จริงหรือที่เขาบอกว่าหุ้นเป็นเรื่องของคนรวย?

การลงทุนในหุ้นเริ่มต้นได้ด้วยเงินหลักพันปลายๆ หรือหลักหมื่นต้นๆ สำหรับคนที่ทำงานประจำก็สามารถเก็บออมเงินไว้ทุกเดือนแล้วทยอยซื้อหุ้นไปเรื่อยๆ แม้แต่เด็กเรียนจบใหม่ก็สามารถลงทุนได้ จึงไม่จำเป็นว่าต้องรวยก่อนแล้วถึงจะมาซื้อหุ้น

ความจริงคือมีคนรวยอยู่มากในตลาดหุ้น ในจำนวนนี้มีหลายคนที่ไปทำมาหากินอย่างอื่นมาก่อนแล้วจึงผันตัวมาเป็น “เสี่ยหุ้น” ในภายหลัง เช่นนั้นคือ คนที่ “รวยอยู่แล้ว” จึงค่อยมา “ลงทุนให้หุ้น”

แต่ก็มีหลายคนเช่นกันที่ “รวยจากตลาดหุ้น” คือลงทุนในหุ้นตั้งแต่ยังมีเงินไม่มาก และค่อยๆ สร้างผลตอบแทนเพิ่มพูนขึ้นจนมาเป็นคนรวยหุ้นอยู่ในทุกวันนี้

และนับจากนี้ไปก็จะมีคนที่ “รวยจากตลาดหุ้น” อีกมากมาย

 

จริงหรือที่เขาบอกว่าลงทุนในหุ้นดีกว่าลงทุนแบบอื่น?

การลงทุนในหุ้นใช้เงินไม่มากดังที่กล่าวมาแล้ว การ “เข้า” และ “ออก” ก็สามารถทำได้ง่ายผ่านตลาดหุ้นในทุกวันทำการ ยิ่งถ้าเป็นหุ้นของบริษัทใหญ่หน่อยก็ยิ่งซื้อขายง่าย ใช้เวลาไม่ถึง 1 นาที เปรียบเทียบกับการซื้อขายที่ดินหรือการขายกิจการร้านค้าใดๆ ซึ่งมักหาคนมาซื้อได้ยากและใช้เวลาซื้อขายนาน

ในขณะเดียวกันหุ้นก็เป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูง จากข้อมูลย้อนหลังพบว่าโดยเฉลี่ยในระยะยาวตลาดหุ้นน่าจะให้ผลตอบแทนได้ราว 10% ต่อปี เปรียบเทียบกับการฝากเงินในธนาคารซึ่งอาจให้ผลตอบแทน 2-3% หรือการซื้อพันธบัตรรัฐบาลซึ่งให้ผลตอบแทนราว 3-4%

แต่ต้องย้ำว่านี่คือผลตอบแทนระยะยาว เพราะในระยะสั้นอาจมีบางเดือนหรือบางปีที่การลงทุนในหุ้นขาดทุนติดลบหรือกำไรพุ่งติดจรวด ซึ่งมักเป็นไปตามดัชนีตลาด

พูดง่ายๆ ก็คือ หากหุ้นส่วนใหญ่ราคาขึ้น หุ้นเราก็มักขึ้นด้วย หากหุ้นส่วนใหญ่ราคาตก หุ้นเราก็ตกด้วย เราจึงควรมีจิตใจที่มั่นคง และติดตามข่าวสารต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ

หุ้น และ บริษัท เกี่ยวข้องหรือแตกต่างกันอย่างไร?

หลายคนงงว่า “หุ้น” กับ “บริษัท” แตกต่างกันอย่างไร เอาง่ายๆ เลยก็คือ “บริษัท” หมายถึง “ตัวกิจการ” ส่วน “หุ้น” คือ “สัดส่วนความเป็นเจ้าของ” ในบริษัทนั้นๆ

ตัวอย่างเช่น ผมไปชวนเพื่อนอีก 9 คนมาเปิดบริษัทด้วยกัน ต่างคนต่างเอาเงินมาลงคนละ 1 แสนบาท ก็ถือว่าทุกคนเป็น “หุ้นส่วน” และมีสัดส่วนความเป็นเจ้าของเท่ากัน คือ “1 ใน 10″

อะไรก็ตามที่เป็นของบริษัทก็ถือว่าเป็นของพวกเรา 10 คนนี้ด้วย ถ้าบริษัททำกำไรและจ่ายออกมาเป็นเงินปันผล 2 แสนบาท พวกเราแต่ละคนก็จะได้คนละ 2 หมื่นบาท จะเห็นว่าถ้าลงขันคนละเท่าๆ กันมันก็คิดง่าย

ในทางปฏิบัติ ย่อมมีโอกาสสูงที่หุ้นส่วนแต่ละรายจะลงเงินไม่เท่ากัน ดังนั้น เพื่อให้ง่ายต่อการจัดสรร เราก็จะใช้วิธี “ออกหุ้น” เช่น ถือว่าบริษัทมีทั้งหมด 100 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 หมื่นบาท ทีนี้ใครอยากลงเงิน 1 แสนบาทก็เท่ากับว่าลง 10 หุ้น ส่วนใครมีเงินน้อยอยากลง 5 หมื่นบาทก็ลงแค่ 5 หุ้นได้ ทำให้มีความยืดหยุ่นขึ้นมากและเวลาจัดสรรผลกำไรก็คิดเป็นจำนวนเงินต่อ 1 หุ้น ก็จะจัดสรรได้ง่าย

การดูหุ้นก็ต้องดูตัวบริษัทด้วย

แน่นอน เราทราบแล้วว่า “หุ้น” เป็นสิ่งที่แสดง “ความเป็นเจ้าของกิจการ” หากกิจการของบริษัทดำเนินไปอย่างดี กำไรดี มีการเติบโต สินค้าหรือบริการของบริษัทได้รับความนิยม ใครๆ ก็ย่อมสนใจอยากมาเป็นเจ้าของบริษัทนี้บ้าง ดังนั้น หากบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หุ้นของบริษัทย่อมจะได้รับความนิยม คนก็ย่อมจะเข้ามาซื้อหุ้นมากขึ้น และราคาก็ย่อมจะสูงขึ้นตามไปด้วย

ตลาดหุ้นคืออะไร

แรกเริ่มเดิมทีบริษัทอาจก่อตั้งขึ้นมาด้วยคนไม่กี่คน เมื่อบริษัทเติบโตขึ้นและต้องการเงินทุนมากขึ้นเพื่อใช้ในการขยายกิจการหรือเปิดสาขาเพิ่ม กลุ่มเจ้าของบริษัทเดิมอาจตัดสินใจนำบริษัทเข้าจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนและเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์หรือตลาดหุ้นนั่นเอง

กระบวนการนำหุ้นเข้าตลาดนี้เรียกว่า IPO (Initial Public Offering) คือ การนำหุ้นเสนอขายต่อสาธารณชน อย่างที่เราเคยได้ยินว่ามีนักลงทุนจำนวนมากชอบจองซื้อ “หุ้นไอพีโอ” ภายหลังจากการทำ IPO แล้ว หุ้นก็จะเข้ามาโผล่อยู่ในตลาดให้ซื้อขายได้ต่อไป

ในทางเทคนิคเรามีชื่อเรียกเก๋ๆ ว่าตลาดแรกและตลาดรอง การจองซื้อหุ้นไอพีโอเป็นการซื้อในตลาดแรก เพราะเงินที่ได้มานั้นจะวิ่งเข้าสู่บริษัทจริงๆ ส่วนการซื้อขายเปลี่ยนมือกันในภายหลังนั้นเกิดขึ้นในตลาดหุ้นซึ่งถือว่าเป็นตลาดรอง

การทำกำไรจากหุ้น

เมื่อลงทุนในหุ้นเราจะได้รับเงินปันผล ซึ่งเป็นเงินที่บริษัทจ่ายออกมาเพื่อ “แบ่งปันผลกำไร” กับผู้ถือหุ้น นอกจากนี้เมื่อบริษัทที่เราถือหุ้นนั้นทำผลกำไรได้ดี ราคาหุ้นในตลาดก็มักจะสูงขึ้นตามไปด้วย เพราะใครๆ ก็อยากเป็นเจ้าของบริษัทนี้ เท่ากับว่าเราได้ผลตอบแทนทั้งจากเงินปันผลและจากส่วนต่างราคาหุ้น

ดังนั้น การทำกำไรจากหุ้นจึงไม่มีอะไรซับซ้อนมากไปกว่า 1) รอรับเงินปันผล และ 2) ซื้อหุ้นมาแล้วรอขายออกไปในราคาที่สูงขึ้น ซึ่งนักเก็งกำไรระยะสั้นอาจขายออกไปภายใน 1 – 2 วัน ขณะที่นักลงทุนแบบเน้นคุณค่าอาจขายออกไปใน 7 – 8 ปี หรือนานกว่านั้น

“แมลงเม่า” เป็นยังไง?

เรื่องแปลกแต่จริง คือ ถ้าเราจับคนที่ไม่มีประสบการณ์ปล่อยลงไปในตลาดหุ้น มีโอกาสสูงมากที่เขาจะกลายเป็น “แมลงเม่า” เขาจะรับเอาข่าวลือและคำคุยโม้โอ้อวดของบุคคลต่างๆ บวกกับความโลภและความกลัวซึ่งเป็นพื้นฐานอารมณ์ของมนุษย์ และทุ่มเทเงินออมที่เขาหามาด้วยความยากลำบากลงไปในตลาดหุ้น เขาพบว่าถ้าเขาสามารถ “เล่นรอบ” และ “เข้าเร็ว ออกเร็ว” ซื้อขายหุ้นได้ถูกตัว ถูกจังหวะ หลายๆ รอบ เขาจะทำกำไรได้เร็วและง่ายมาก

น่าเสียดายที่ส่วนมากแมงเม่าเหล่านี้ค้นพบในภายหลังว่ามันมักจะมี “บางคน” ที่เร็วกว่าพวกเขาอยู่เสมอ แม้อาจได้กำไรก่อนในตอนแรกๆ แต่พวกเขามักจะพลาดท่าในตอนท้ายและเจ็บหนักอยู่เสมอ

ด้วยพฤติกรรมวิ่งไล่ตามหุ้นที่ร้อนแรงโดยปราศจากวิจารณญาณนี้เองที่ทำให้มีผู้เปรียบเปรย “นักเล่นหุ้น” กลุ่มนี้ว่าเป็นแมงเม่าที่ชอบบินเข้ากองไฟ จุดจบที่พบเห็นทั่วไปคืออาการเข็ดหลาบชั่วคราว หลังจากหลบไปพักอกพักใจแล้วพวกเขาก็จะกลับเข้ามาสู่ตลาดหุ้นใหม่ ด้วยเงินก้อนใหม่ …และพฤติกรรมเดิมๆ

ไม่อยากเป็นแมลงเม่าควรทำอย่างไร?

ความจริงแล้วคนเราจะเป็นแมลงเม่าหรือไม่นั้นไม่ใช่โชคชะตา นักลงทุนหน้าใหม่ไม่ได้แปะยี่ห้อแมงเม่าตั้งแต่ต้น แต่สิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ทั้งก่อนเข้าสู่ตลาดและขณะอยู่ในตลาดนั้นต่างหากที่เป็นตัวกำหนดว่าพวกเขาจะเป็นนักลงทุนชั้นดีที่ร่ำรวยจากตลาดหุ้น หรือว่าเป็นแมงเม่าที่บินเข้ากองไฟ ขนเงินทองมาละลายทิ้งในตลาดหุ้น

นักเรียนที่เก่งเขาอ่านหนังสือมาก่อนสอบ ไม่ใช่เดินเข้าห้องสอบแล้วค่อยไปหาคนลอก ในทำนองเดียวกันนักลงทุนชั้นดีก็ศึกษาหาความรู้ก่อนการลงทุน และเมื่อเข้าสู่ตลาดแล้วก็ไม่คิดจะไปลอกใคร (เพราะคนที่เราไปลอกอาจไม่ได้ฉลาดไปกว่าเราหรือบางทีก็อาจจะไปลอกเขามาอีกทอดหนึ่งก็ได้) ดังนั้น หากไม่ต้องการเป็นแมงเม่า เราต้องมีการเตรียมตัวก่อนลงทุน

แต่มันก็ไม่ได้จบแค่ตรงนี้ ต่อให้เราศึกษามาก่อนดีแค่ไหน เมื่อเข้าสู่ตลาดแล้วมันก็จะมีเรื่องให้เราเรียนรู้ได้อยู่เสมอ การลงทุนจึงเหมือนกับการทดลอง คือเรารู้มาก่อนระดับหนึ่ง จากนั้นทดลองดูว่าสิ่งที่เราเรียนมามีอะไรใช้ได้จริงบ้าง ใช้แล้วได้ผลอย่างไร

ตัวอย่างเช่น เราเรียนรู้เรื่องหุ้นปันผลมาและเห็นว่ามีหุ้นตัวหนึ่งจ่ายปันผลสูงมาก จึงคิดว่าจะซื้อไว้ถือยาวๆ เอาเงินปันผล ซึ่งฟังดูแล้วก็น่าจะเข้าท่าดี แต่ปรากฏว่าหุ้นตัวนี้จ่ายปันผลมากเฉพาะในปีนี้เนื่องจากมีกำไรพิเศษเกิดขึ้นจากการขายที่ดินผืนหนึ่งของบริษัทออกไป การจ่ายปันผลสูงจึงไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เรื่องราวพวกนี้จะค่อยๆ สั่งสมขึ้นเป็นประสบการณ์

การศึกษาหาความรู้ก่อนเข้าสู่ตลาดและการเรียนรู้จากประสบการณ์ในตลาด ถือได้ว่าเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้เราไม่ต้องกลายเป็นแมงเม่าเหมือนกับนักเล่นหุ้นส่วนใหญ่ และยังสามารถพัฒนาตัวเองขึ้นจนเป็น VI ชั้นดีได้ในที่สุด

 “อยากรวย” ต้องลงทุนให้ถูกทาง

 

มีใครรวยจากหุ้นบ้าง แล้วพวกเขารวยกันแค่ไหน?

เริ่มต้นกันที่ประเทศไทยก่อน ในแต่ละปีวารสารการเงินธนาคารจะมีการรวบรวม “เศรษฐีหุ้น” และจัดอันดับความรวยโดยวัดจากมูลค่าหุ้น ซึ่งในปี 2553 ที่ผ่านมา

เศรษฐีหุ้นอันดับหนึ่ง คือ คุณทองมา วิจิตรพงศ์พันธ์ ซึ่งเป็นเจ้าของ บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท หรือที่บรรดาคอหุ้นรู้จักกันดีในชื่อย่อ PS คิดเป็นจำนวนเงินราว 31,400 ล้านบาท สิ่งที่น่าสนใจคือหุ้น PS เพิ่งเข้าจดทะเบียนในตลาดเมื่อปลายปี 2548 เท่านั้น และเมื่อเข้าตลาดใหม่ๆ มันมีราคาหุ้นละ 6.55 บาท แต่ผ่านไปไม่ถึง 5 ปี บริษัทก็เติบโตและราคาหุ้นก็ขึ้นมาอยู่ที่ 24.30 บาท ณ เวลาที่เขาจัดอันดับเศรษฐีหุ้นกัน

อันดับสองและอันดับสาม ได้แก่ คุณคีรี กาญจนพาสน์ เจ้าของหุ้น BTS ซึ่งดำเนินกิจการรถไฟฟ้าและอสังหาริมทรัพย์ และคุณอนันต์ อัศวโภคิน เจ้าของแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ทั้งสองคนนี้รวยหุ้นพอกันคือราวๆ 17,000 ล้านกว่าบาท

ขอให้ข้อสังเกตว่าคนรวยหุ้นของเมืองไทยนั้นมักจะเป็นเจ้าของบริษัทมาตั้งแต่ก่อนเอาหุ้นเข้าตลาด และก็ยังคงถือหุ้นเอาไว้จำนวนมาก เมื่อหุ้นในตลาดมีราคาสูงขึ้น มูลค่าของหุ้นที่เขาถืออยู่เลยสูงขึ้นตามไปด้วย

ในส่วนของต่างประเทศนิตยสารฟอร์บส์ก็มีการจัดอันดับคนรวยขึ้นทุกปีเช่นกัน โดยวัดจากความมั่งคั่งสุทธิ (net worth) เรียกว่ามีเงินทอง อสังหาริมทรัพย์ และกิจการใดๆ ก็นับหมด ซึ่งแน่นอนว่าพวกติดอันดับต้นๆ ก็ต้องรวยมาจากหุ้นหรือการทำกิจการเป็นหลักอยู่แล้ว

ในปี 2011 เศรษฐีอันดับหนึ่งตกเป็นของ คาร์ลอส สลิม เฮลู ชาวเม็กซิกัน ซึ่งก็รวยแบบไม่เกรงใจใครถึง 74,000 ล้านดอลลาร์ คิดเป็นเงินไทยก็ราว 2.2 ล้านล้านบาท จะไม่รวยได้ยังไง ทำทั้งกิจการโทรคมนาคม สาธารณูปโภค รับเหมาก่อสร้าง ร้านอาหาร ฯลฯ

ขณะที่อันดับสองตกเป็นของ บิล เกตส์ แห่งไมโครซอฟท์ ซึ่งมีทรัพย์สิน 56,000 ล้านดอลลาร์ ทั้งสองคนนี้รวยมาจากกิจการของตัวเอง แต่เศรษฐีอันดับสาม วอร์เรน บัฟเฟตต์ ซึ่งมีทรัพย์สิน 50,000 ล้านดอลลาร์ จัดได้ว่ารวยมาจาก “หุ้น” อย่างแท้จริง เพราะอาชีพหลักของเขาคือการลงทุนในหุ้น และเป็นบุคคลต้นแบบของ VI ทั่วโลกเลยก็ว่าได้

เศรษฐีหุ้นมีสไตล์ไหนบ้าง และพวกเขามีแนวทางแตกต่างกันอย่างไร?

สังเกตได้ว่าเศรษฐีหุ้นแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ประเภทแรกเป็นพวกที่ทำกิจการด้วยตัวเอง ก่อตั้งบริษัท และเอาบริษัทเข้าตลาดหุ้น กับอีกประเภทหนึ่งเป็นพวกที่ไม่ตั้งบริษัทเอง แต่จะใช้วิธีเข้าลงทุนในหุ้นของบริษัทที่มีอยู่แล้วและเห็นว่ามีอนาคตดี

เศรษฐีที่เริ่มต้นจากการทำกิจการของตัวเอง มักเป็นคนที่มีความเชี่ยวชาญในด้านใดด้านหนึ่ง มีเงินทุนค่อนข้างมาก หรือไม่เช่นนั้นก็ต้องกู้ยืมเงินมาทำ คนที่เริ่มต้นในลักษณะนี้หลายคนต้องล้มลุกคลุกคลานในระยะแรก และอาจมีเพียงไม่กี่คนที่สามารถนำพากิจการของตนเองให้อยู่รอดและเติบโต เมื่อกิจการดำเนินไปได้ด้วยดีก็นำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดเพื่อระดมทุนและขยายกิจการต่อไป ส่งผลให้หุ้นของบริษัทเป็นที่ต้องการและมีราคาสูงขึ้น จนเขากลายเป็นเศรษฐีหุ้นได้ในที่สุด

ขณะที่เศรษฐีที่ใช้วิธีลงทุนในหุ้นของบริษัทที่มีอยู่แล้วจะไม่ตั้งบริษัทเอง เขาจะคอยมองหาบริษัทชั้นดีในตลาดและกำเงินสดไว้รอเวลาเข้าซื้อ เขาทราบดีว่า “ราคาหุ้น” ในบางช่วงเวลาเป็นราคาที่แพงเกินจริง และราคาหุ้นในบางช่วงเวลาก็เป็นราคาที่ถูกเกินจริง คำว่าแพงหรือถูกนั้นเขาใช้การเปรียบเทียบกับ “มูลค่าของบริษัท” สิ่งที่เขาทำก็เพียงแต่เข้าซื้อในจังหวะที่หุ้นมีราคาถูกเมื่อเทียบกับมูลค่าที่แท้จริงของบริษัท

ในการซื้อหุ้นเขาไม่จำเป็นต้องมีเงินทุนเริ่มต้นมากมายหรือไปกู้ยืมเงินมา นอกจากนี้การซื้อหุ้นบริษัทที่ดำเนินกิจการอยู่แล้วยังเท่ากับว่าเขาได้เห็นมาแล้วระดับหนึ่งว่าบริษัทนั้นๆ มีการบริหารงานที่ดีหรือไม่ มีผลประกอบการเป็นอย่างไร ความเสี่ยงจึงถือว่าน้อยกว่าการเริ่มต้นกิจการด้วยตัวเองทั้งหมด และเขายังสามารถกระจายความเสี่ยงด้วยการลงทุนในหุ้นหลายๆ ตัว ซึ่งก็คือลงทุนในบริษัทหลายแห่งพร้อมกันได้อีกด้วย

ความจริงแล้วนอกจากแนวทางของเศรษฐีหุ้นทั้ง 2 ประเภทดังที่ว่ามาแล้ว ยังมีแนวทางของ “นักค้าหุ้น” หรือนักเทรดหุ้นอีกด้วย แนวทางดังกล่าวใช้การเก็งกำไรโดยอาจอ่านทิศทางของราคาหุ้นและพยายามเข้าไปซื้อก่อนที่ราคาหุ้นจะสูงขึ้น ขณะเดียวกันก็พยายามขายหุ้นทิ้งให้ได้ก่อนที่ราคาหุ้นจะปรับตัวลง

อย่างไรก็ตาม นักค้าหุ้นในลักษณะนี้โดยปกติมักไม่ถือครองหุ้นไว้นาน เพียงแต่จะใช้หุ้นเป็นเครื่องมือในการเก็งกำไรชั่วคราวเท่านั้น เราจึงไม่จัดคนกลุ่มนี้เป็นเศรษฐีหุ้น

แล้วแนวทางไหนที่เหมาะกับตัวเรา?

ว่ากันสั้นๆ ถ้าคุณไม่เป็นลูกจ้างใคร มีเงินลงทุนก้อนใหญ่ที่พร้อมจะเสี่ยง ชอบเหนื่อย และชอบให้คนมองคุณว่า “ประสบความสำเร็จ” จากการมีบริษัทเป็นของตัวเอง คุณอาจเหมาะกับแนวทางเศรษฐีหุ้นที่เริ่มต้นจากการก่อตั้งบริษัท

ในกรณีที่คุณทำงานประจำอยู่แล้ว อยากเริ่มต้นลงทุนด้วยเงินไม่มาก ชอบการวิเคราะห์ และกล้าตัดสินใจ การลงทุนในหุ้นของบริษัทที่มีอยู่แล้วโดยเฉพาะอย่างยิ่งตามแนวทางการลงทุนแบบเน้นคุณค่า หรือ Value Investment ก็อาจเป็นทางเลือกที่ดี




ที่มา .. //clubvi.com/stock-investing/


Create Date : 22 มิถุนายน 2558
Last Update : 22 มิถุนายน 2558 7:17:49 น. 0 comments
Counter : 714 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.