Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2555
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
15 ธันวาคม 2555
 
All Blogs
 

O และนี่คือ .. พุทธธรรม .. ! O







.
.

ยกเอามาจากบล็อค "พระพุทธวจนะ" ที่แปลว่า คำของพระพุทธองค์ .. ความว่า ..

อริยสัจจ์สี่ คืออย่างไรเล่า ?

สี่อย่างคือ ..
- อริยสัจจ์คือทุกข์
- อริยสัจจ์คือเหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์
- อริยสัจจ์คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
- อริยสัจจ์คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์

ไม่มีเรื่องเพ้อเจ้ออื่นใด นอกเหนือจากนี้ ..
มีเพียงแต่รายละเอียด เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่ง อริยะสัจจ์สี่ ในจิต เท่านั้น .. อันสามารถแตกย่อยอยู่ใน มรรค 8 นั่นเอง ..ได้เป็น

ศีล
สมาธิ
ปัญญา

.. ไม่มีเรื่อง สัสสตทิฐิ .. อย่างเรื่องวิญญาณเวียนเกิดเวียนดับข้ามภพข้ามชาติแล้วยังนับเนื่องเป็นตัวตนเดิมเดียว

.. ไม่มีเรื่อง วิบากกรรม (อันเป็น 1ใน 4 ปัญหาอจินไตย ที่พระพุทธองค์กล่าวไว้ว่า ห้ามคิด เป็นเรื่องที่ไม่มีข้อยุติ เนื่องจากผู้ฟังไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง) .... อันมีขึ้นเพื่อรับรองแนวคิด แบบ สัสสตทิฐิ คือชาติที่แล้ว .. ชาติปัจจุบัน .. ชาติอนาคต .. เพราะเป็นเรื่องที่พิสูจน์ไม่ได้ .. รู้ด้วยตนเองไม่ได้ .. จำต้อง"เชื่อ"ตามที่เขาว่าเพียงอย่างเดียว อันขัดกับหลักพุทธธรรมที่ให้แจ้งด้วยตนก่อน ให้ได้รับผลจากเหตุนั้นๆก่อน .. ถึงค่อยวางความเชื่อลง และสร้างวิถีปฏิบัติควบคุมจิตลงให้สอดคล้องกับผลจากเหตุนั้น

.. ไม่มีเรื่องนั่งเพ่งดวงแก้วที่ตรงกลางกายฐานที่ 7 แล้วทำให้เกิดภาวะวิมุติหลุดพ้นใดๆ ขึ้นแก่จิต .. เพราะนั่นเป็นเพียง สมาธิวิธี 1 ใน 40 ที่มีอยู่แต่บรรพกาล .. ไม่ใช่ของใหม่ .. และเป็นขั้นกลางหลังจากควบคุมกายใจไม่ให้กระทบกระทั่งกับโลกแวดล้อมได้มั่นคงแล้วเท่านั้น (ศีล) .. แล้วยังต้องมีปัญญากำกับจนรู้แจ้งใน ไตรลักษณ์ ก่อน ถึงจะรู้ตนเองว่า "ภาวะจิตถึงระดับไหนแล้ว"

.. ไม่มีเรื่อง "ไม่เชื่ออย่าลบหลู่" ใดๆทั้งสิ้น .. สัจธรรม คือ ความจริง เป็นแก่นแกนของปัญญาญาณ .. ไม่มี "แล้วแต่จะคิด หรือ แล้วแต่จะเชื่อ" เพราะความจริงมีอย่างเดียว .. ไม่มีให้เลือก .. อีกทั้งไม่มีความจำเป็นต้องปกป้อง หรือ ออกรับแทน การขัดแย้งกันของความจริง กับ ความเชื่อหรือข้อคิดเห็นใดๆ จากใครทั้งสิ้น

.. ไม่มีเรื่อง บุญ ที่จะสะสม สั่งสมเพื่อ การเวียนเกิดในภพชาติใหม่ที่ดีขึ้น ที่ร่ำรวยสุขสบายขึ้น .. เพราะการให้ออกไปไม่ว่าต่อบรรพชิตหรือฆราวาสหรือสัตว์ทั้งหลาย ล้วนมีเจตนาเพื่อ ทำลายความยึดมั่นว่า ตัวตน หรือ ของตน เท่านั้น .. ดังนั้นไม่ว่า ความอิ่มใจ (ที่ได้ทำบุญ) หรือ ความเหี่ยวแห้งใจ (ที่ทรัพย์สินถูกลดทอนลงไป) ล้วนเป็นเรื่องของ อุปาทาน ที่ปรุงแต่งคิดเอาเองจากศรัทธาจริตที่นอนเนื่องอยู่ทั้งสิ้น

.. ไม่มีเรื่องสวรรค์บนฟ้า ที่เทวดา นางฟ้า เหาะกันไปมา เหมือนที่เพ้อเจ้อกันในสังคม .. รวมทั้งนรกใต้ดิน ที่มีต้นงิ้วหนามแหลม กะทะทองแดงร้อน แต่อย่างใดทั้งสิ้น

.. การปะพรมน้ำมนต์จากพระสงฆ์ .. จะไม่ให้ผลอะไรนอกจากความเปียกชื้น และความอิ่มอกอิ่มใจจากความคิดที่เกิดจาก .. สังขารอันเนื่องอยู่ด้วยศรัทธาจริต

.. การถวายสังฆทาน เป็นการช่วยบำรุงศาสนา และลดละความเป็นตัวตน ของตน เท่านั้น ไม่มีอย่างอื่น

.. เหตุอันเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์โดยละเอียด มีรายละเอียดอธิบายอยู่พร้อมในหลักธรรม ปฏิจจสมุปบาท แล้ว ..

.. การจุดธูปเทียน วางดอกไม้บนพานต่อหน้าองค์พระพุทธรูป ไม่มีความหมายในเชิงช่วยเหลือภาวะจิตใดๆ .. เป็นเพียงรูปแบบพิธีกรรมที่กำหนดกันขึ้นมาเองหลังยุคพุทธกาล .. แต่หากกรรมบทนี้ช่วยให้รำลึกถึงธรรมของพระพุทธองค์ได้ พร้อมกับวางจิตใจแนบเนื่องอยู่กับธรรม แล้ว .. นั่นจึงมีความหมายแห่งเจตนารมย์ที่จะยกระดับจิตขึ้น

.. การเดินเวียนรอบโบสถ์พร้อมธูปเทียนดอกไม้ในมือ การบวงสรวง นึกอ้อนวอนใดๆ .. ย่อมไม่มีอะไรเกิดขึ้น .. เป็นเพียงความเพ้อเจ้อที่สังขารโง่ๆในจิต ปรุงแต่ง ขึ้นเอง

.. การบวชของชายวัย 21 เพื่อให้พ่อแม่เกาะชายผ้าเหลือง เป็นเพียงอุบายธรรม เพื่อการสืบทอดพรหมจรรย์ และ สร้างความอิ่มใจแก่ศรัทธาจริตที่เป็นบุพการีท่านั้น .. คือช่วยให้คลุกคลีใกล้ชิดกับความดี คือธรรมะ และผู้ประพฤติดีคือ พระ ที่เป็นลูก เท่านั้น .. ไม่มีความเกี่ยวพันกันแม้แต่น้อยระหว่างการพัฒนายกระดับของจิตผู้เป็นลูกในการบวชเรียน กับ ภาวะจิตของพ่อแม่ที่มีอุปาทานว่าได้บุญกุศลยิ่งใหญ่ .. แต่หากมีส่วนช่วยทำให้จิตใจพ่อแม่ ลดภาวะ รัก โลภ โกรธ หลง ลงได้ .. นั่นจะยิ่งกว่าเกาะชายผ้าเหลือง .. และนั่นคือเจตนารมย์ที่แท้จริงของการบวชให้พ่อแม่เกาะชายผ้า"แห่งความดีงาม"

.. การกรวดน้ำแผ่ส่วนบุญ ให้แก่ผู้ล่วงลับ เป็นเพียงอุบายธรรม ให้ลดละตัวตน .. เพราะเป็นการที่จิตมอบความปรารถนาดีออกไปนอกตัวเองให้บุคคลอื่น เท่านั้นเอง .. ไม่มี "ใคร หรือ สิ่งใด" จะยังคงภาวะรอคอยเพื่อ"รับมอบ" ใดๆทั้งสิ้น .. เป็นความคิดที่เพ้อเจ้อไปเอง

.. รูปเคารพอย่างพระพุทธรูป มีไว้เพื่อช่วยให้เห็นภาพเพื่อการรำลึกถึงพระพุทธองค์จักเป็นไปได้โดยง่าย .. จนต่อเนื่องไปถึงธรรมที่พระองค์สั่งสอนสัตว์ทั้งหลายในการรำลึกนั้นด้วย .. มิได้มีไว้เพื่อให้ ปกป้อง ออกรับแทน จากการลบหลู่ของพวกเดียรถีย์แต่อย่างใด (เช่นกรณี เดียรถีย์ตาลีบันระเบิดพระพุทธรูปใหญ่มาบิยัน .. เพราะรูปองค์พระก็เป็นเพียงสภาวะธรรมในกระแสอนิจจะลักษณ์เช่นกัน)

.. พุทธธรรม มิได้มีไว้ให้ บรรดาศรัทธาจริตผู้อ่อนไหว คอยปกป้องดูแล และทุ่มเถียงทะเลาะกับเดียรถีย์นอกศาสนาแต่อย่างใด .. หากมีไว้เพื่อยกระดับจิตขึ้นเหนือโลก ของผู้ที่มองเห็นทาง เพื่อก้าวเดินไปตามเส้นทางที่มองเห็นนั้น .. เสียงตะโกนด่าทอ กระแนะกระแหนสองข้างทาง ย่อมไม่เกี่ยวกับจิตของผู้ย่ำเดินไปในเส้นทางแต่อย่างใด .. เพราะนั่นเป็นเพียงปัจจัย"ภายนอก" .. ขณะที่การย่ำเดินไปในเส้นทางเป็นการกระทำ"ภายใน" ล้วนๆ
.
.
.

ในเส้นทางก้าวย่างเพื่อไปสู่จุดหมายปลายทาง .. มีเส้นทางตรงที่ชัดเจนทอดรออยู่ ไม่มีคดเคี้ยว ไม่มีเบี่ยงเบน .. อันประกอบด้วย

"มรรคมีองค์แปด" หรือ "มรรคแปด" (อัฏฐังคิกมรรค) โดยมีรายละเอียดดังนี้ ..

1. สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึง การปฏิบัติอย่างเหมาะสมตามความเป็นจริงด้วยปัญญา .. คือปัญญา
(ภิกษุทั้งหลาย ! ความเห็นชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุทั้งหลาย ! ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ ความรู้ในความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ความรู้ในหนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ อันใด, นี้เราเรียกว่า ความเห็นชอบ)

2. สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม .. คือปัญญา
(ภิกษุทั้งหลาย ! ความดำริชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุทั้งหลาย ! ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริในการไม่เบียดเบียน, นี้เราเรียกว่า ความดำริชอบ)

3. สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หมายถึง การพูดต้องสุภาพ พูดในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงาม .. คือศีล
(ภิกษุทั้งหลาย ! วาจาชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุทั้งหลาย ! การเว้นจากการพูดเท็จ การเว้นจากการพูดยุให้แตกกัน การเว้นจากการพูดหยาบ การเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ, นี้เราเรียกว่า วาจาชอบ)

4. สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติดีงาม ทางกายหรือกิจกรรมทางกายทั้งปวง .. คือศีล
(ภิกษุทั้งหลาย ! การงานชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุทั้งหลาย ! การเว้นจากการฆ่าสัตว์ การเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ การเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย, นี้เราเรียกว่าการงานชอบ)

5. สัมมาอาชีวะ คือ การทำมาหากินอย่างสุจริตชน ไม่คดโกง เอาเปรียบผู้อื่น .. คือศีล
(ภิกษุทั้งหลาย ! อาชีวะชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุทั้งหลาย ! อริยสาวกในกรณีนี้ ละการหาเลี้ยงชีพที่ผิดเสีย สาเร็จความเป็นอยู่ด้วยการหาเลี้ยงชีพที่ชอบ, นี้เราเรียกว่า อาชีวะชอบ)

6. สัมมาวายามะ คือ ความอุตสาหะพยายาม ประกอบความเพียรในการกุศลกรรม .. คือสมาธิ
(ภิกษุทั้งหลาย ! ความเพียรชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อม ..
- ปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรม อันเป็นบาปทั้งหลายที่ยังไม่ได้บังเกิด;
- ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการละเสียซึ่งอกุศลธรรม อันเป็นบาปที่บังเกิดขึ้นแล้ว;
- ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย ที่ยังไม่ได้บังเกิด;
- ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความยั่งยืน ความไม่เลอะเลือนความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ความเจริญ ความเต็มรอบ แห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว,
นี้เราเรียกว่า ความเพียรชอบ)

7. สัมมาสติ คือ การไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอ จิตเลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ .. คือสมาธิ
( ภิกษุทั้งหลาย ! ความระลึกชอบ เป็นอย่างไร ? ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้ ..
- มีปกติพิจารณา เห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำ, มีความเพียรเผากิเลส, มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม (สัมปชัญญะ), มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้;
- เป็นผู้มีปกติพิจารณา เห็นเวทนาในเวทนา ทั้งหลายอยู่เป็นประจำ, มีความเพียรเผากิเลส, มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม, มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้;
- เป็นผู้มีปกติพิจารณา เห็นจิตในจิต อยู่เป็นประจำ, มีความเพียรเผากิเลส, มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม, มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้;
- เป็นผู้มีปกติพิจารณา เห็นธรรมในธรรม ทั้งหลายอยู่เป็นประจำ, มีความเพียรเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้, นี้เราเรียกว่า ความระลึกชอบ)

เวทนา -
- การเสวยอารมณ์ (ทั้งต่อใจและกาย), ความรู้สึก,ความรู้สึกในรสของอารมณ์ (Feeling) ; ความรู้สึกจากการรับรู้ ที่ย่อมต้องเกิดขึ้น เมื่อมีการกระทบสัมผัส(ผัสสะ)กับอารมณ์ต่างๆ อันมี รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ(สัมผัสทางกาย) ความคิดนึก(ธรรมมารมณ์) ด้วยอายตนะภายในอันมี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ; หรือ ความรู้สึกรับรู้(รวมทั้งจําและเข้าใจ)ในสิ่งที่มากระทบสัมผัสทั้งทางใจและกาย อันหมายถึงความรู้สึกรับรู้พร้อมทั้งความจําได้ในสิ่งที่มากระทบสัมผัส

หรือ เวทนา คือ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการกระทบสัมผัส(ผัสสะ)อันพร้อมด้วยความจําได้หรือมีประสบการณ์ในสิ่งที่ผัสสะนั้นๆ (อ่านรายละเอียดในบทเวทนา)

เวทนูปาทานขันธ์ - เวทนาที่ประกอบด้วยอุปาทาน จึงยังให้เร่าร้อนเผาลนเป็นทุกข์, เวทนาที่ประกอบด้วยอุปาทาน ที่เกิดวนเวียนในองค์ธรรมชราในปฏิจจสมุปบาท

เวทนา ๓ - ความเสวยอารมณ์, ความรู้สึก, ความรู้สึกสุขทุกข์ มี ๓ อย่าง คือ
๑. สุขเวทนา ความรู้สึกสุขสบาย
๒. ทุกขเวทนา ความรู้สึกไม่สบาย
๓. อทุกขมสุขเวทนา ความรู้สึกไม่สุข ไม่ทุกข์ คือ เฉยๆ เรียกอีกอย่างว่าอุเบกขาเวทนา

เวทนานุปัสสนา - สติตามดูเวทนา คือสติตามดูคือระลึกรู้เท่าทัน ในความรู้สึกสุข, ทุกข์ และไม่สุขไม่ทุกข์ เป็นอารมณ์ โดยรู้เท่าทันด้วยว่าเวทนานี้ ก็สักว่าเวทนา ไม่ใช่อัตตา สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขาจึงล้วนไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราแท้จริง)

8. สัมมาสมาธิ คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลส นิวรณ์อยู่เป็นปกติ .. คือสมาธิ
( ภิกษุทั้งหลาย ! ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นอย่างไร ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ ..
- สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย
- สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย
- เข้าถึง ฌานที่หนึ่ง อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่ เพราะวิตกวิจารรำางับลง,
- เธอเข้าถึงฌานที่สอง อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่
- เพราะปีติจางหายไป, เธอเป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ได้ มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม และได้เสวยสุขด้วยนามกาย ย่อมเข้าถึงฌานที่สาม อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า "เป็นผู้เฉยอยู่ได้มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม" แล้วแลอยู่
- เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ และเพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน เธอย่อมเข้าถึงฌานที่สี่ อันไม่ทุกข์และไม่สุข มีแต่สติอันบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่,

นี้เราเรียกว่าสัมมาสมาธิ )

ภิกษุทั้งหลาย !
นี้เราเรียกว่า อริยสัจ คือ หนทางเป็นเครื่องให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์.

วิกิพีเดีย

......................................


นั่นคือ มรรค 8 .. คือเส้นทางของผู้มองเห็นและเลือกที่จะเดินไปสู่จุดหมายปลายทาง .. เป็นเส้นทางกว้าง ใหญ่ ตรง ไม่มีคดเคี้ยว เบี่ยงเบน ใดๆทั้งสิ้น ..


หลักธรรมเพื่อการปฏิบัติแยกย่อยทั้งหลายย่อมมีไว้ประคับประคองผู้เดินทาง ให้ไปสู่จุดหมายโดยสวัสดิภาพ ทั้งกายและใจ


ทางเอกสายนี้ .. ย่อมเป็นเส้นทางของ"มนุษย์"ผู้ยกระดับจิตตั้งมั่นแล้วเท่านั้น .. มิใช่เส้นทางของ"คน"ที่ยังเต็มเปี่ยมไปด้วย รัก โลภ โกรธ หลง และคลุกคลีอยู่กับโลกอย่างเมามัน แต่อย่างใด


ข้อธรรม .. วัตร ปฏิบัติใดๆ ที่ได้ยินได้ฟังมาทั้งชีวิต หากขัดแย้งหรือลงกันไม่ได้กับหลัก "ไตรลักษณ์" แล้ว .. ย่อมเป็นข้อธรรมที่บิดเบือนและเป็นมิจฉาทิฐิ ..

ไตรลักษณ์ - ลักษณะสาม อาการที่เป็นเครื่องกำหนดหมายให้รู้ถึงความจริงของสภาวธรรมทั้งหลาย ที่เป็นอย่างนั้นๆ, ๓ ประการ ได้แก่

๑. อนิจจตา (อนิจจัง) ความเป็นของไม่เที่ยง
๒. ทุกขตา (ทุกขัง) ความเป็นทุกข์ หรือความเป็นของคงทนอยู่มิได้
๓. อนัตตตา (อนัตตา) ความเป็นของมิใช่ตัวตน

(คนไทยนิยมพูดสั้นๆ ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และแปลง่ายๆว่า “ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา”)

- ลักษณะทั้ง ๓ เหล่านี้มีแก่ธรรมที่เป็นสังขตะ คือสังขารทั้งปวง เป็นสามัญเสมอเหมือนกัน จึงเรียกว่า สามัญญลักษณะ (ไม่สามัญแก่ธรรมที่เป็นอสังขตะ คือวิสังขาร ซึ่งมีเฉพาะลักษณะที่สาม คือ-อนัตตาอย่างเดียว ไม่มีลักษณะสองอย่างต้น);

- ลักษณะเหล่านี้เป็นของแน่นอน เป็นกฏธรรมชาติ มีอยู่ตลอดเวลา จึงเรียกว่า ธรรมนิยาม (ธมฺมนิยามตา) ส่วนคำว่าไตรลักษณ์และสามัญลักษณะ เป็นคำที่เกิดขึ้นภายหลังในยุคอรรถกถา


ดังนั้น .. จะเห็นว่าแนวคิดเรื่อง .. วิญญาณเวียนเกิดเวียนดับแล้วยังนับเนื่องเป็นคนคนเดิม ย่อมแปลว่า วิญญาณนั้นเที่ยง .. เปลี่ยนไปแต่กายในภพชาติต่างๆ .. จริงไหม ? -

วิญญาณ เวียนเกิดเวียนดับ จึงขัดแย้งกับหลัก "อนิจจัง" .. แนวคิดเรื่องวิญญาณแบบนี้จึงผิด

และเมื่อ วิญญาณเวียนเกิดเวียนดับ แบบนี้ถูกนับเนื่องเป็นบุคคลคนเดิม คือเที่ยงแท้ถาวร ก็แปลว่า เป็นตัวเป็นตนให้ยึดถือ ก็ขัดแย้งกับหลัก "อนัตตา" อีกหลักหนึ่ง .. แนวคิดนี้จึงไม่ใช่พุทธและเป็นแนวคิดที่ทำให้จิตวิญญาณผู้เชื่อถือ ยึดมั่นถือมั่นจนไม่อาจละวางอุปาทานได้ ..

จิตที่เชื่อเรื่องวิญญาณเวียนเกิดเวียนดับแบบนี้ จึงย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าสู่กระแสอริยะ ..

เพราะหลัก ไตรลักษณ์ นี้เป็นอริยะธรรม โดยมี อนิจจัง และ ทุกข์ เป็น 2 ด่านแรกที่จิตวิญญาณจะต้อง เข้าใจแจ้ง เสียก่อน แล้วจึงอาจเข้าใจ อนัตตา ได้ในที่สุด เนื่องจากเป็นลำดับธรรมที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยต่อกัน


คำกล่าวที่ว่า .. พึงมีสติในทุกการสัมผัสของทวารทั้ง 6 กับปัจจัยคู่ของมัน .. จะเห็นว่าเป็นคำพูด ที่สั้น ลัด และไม่มีความรกรุงรังของข้อธรรม .. คือเน้นที่ "สัมมาสติ"

สัมมาสติ .. นี้ผู้ใดมีพร้อมทุกเวลา .. ย่อมครบด้วยศีล และสมาธิในตัว .. ในชีวิตประจำวัน .. จึงย่อมจะช่วยยกระดับจิตได้โดยง่าย


ประเด็นก็คือ ประเพณี รูปแบบพิธีกรรม กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่กำหนดสืบเนื่อง สืบทอดกันมาทั้งสิ้นทั้งปวงนั้น .. ให้รู้เท่าทันว่านั่นมันสำหรับ "จิตใจอีกระดับชั้นที่มักแนบแน่นอยู่ด้วยศรัทธาจริต และยากมากที่จะสอนด้วยอริยะธรรม"


เราไม่อาจต่อต้าน หลบหลีกได้พ้น .. แต่เราสามารถรับรู้ เข้าใจ และวางอุเบกขาในสิ่งที่มองเห็นตรงหน้าเหล่านั้นได้


เปรียบเหมือนการพยายาม อธิบาย หลักคณิตศาสตร์ชั้นสูงที่ค่อนข้างซับซ้อน ต่อเพื่อนที่ร่ำเรียนมาทางศิลปะ .. มันเป็นเรื่องยากมากที่จะทำให้เพื่อนเข้าใจได้ .. ฉันใดก็ฉันนั้น







 

Create Date : 15 ธันวาคม 2555
7 comments
Last Update : 19 มกราคม 2563 22:40:47 น.
Counter : 2103 Pageviews.

 


โอย..หลวงพี่..

ไม่เอาไม่อ่าน..ชอบชวนเข้าวัดประจำเลย..
สลับสีเปลี่ยนแสงจนตามอารมณ์ท่านไม่ทัน..

 

โดย: บุษบามินตรา IP: 79.205.200.143 15 ธันวาคม 2555 18:41:28 น.  

 


มินตรา ..

ในความเป็นพุทธมามกะที่ดีนั้น .. ควรช่วยกันกำจัด"สิ่งแปลกปลอมที่ปนเปื้อนทำความด่างพร้อยให้พรหมจรรย์พระศาสดา" เท่าที่จะทำได้ให้มากที่สุด

ในสังคมที่มีลักษณะแห่ง"ศรัทธาจริต" ท่วมเมือง .. ก็จำต้องใช้ทุกประการร่วมกันเพื่อ ..
.. ชำแหละ ตรวจสอบ ความจริง ความที่ควรเป็น
.. เหยียบย่ำ เยาะเย้ย กำจัด ศรัทธาวิปริตสร้างเรื่อง ทั้งหลาย ไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่
.. ประจาน ตีแผ่ สัทธรรมปฏิรูป .. ที่มอมเมาสังคม เช่นธรรมกาย อย่างต่อเนื่อง

จึงเป็นที่มาของ .. ตรรกะวิภาษ .. บล็อคนี้ขอรับ

55

 

โดย: สดายุ... 18 ธันวาคม 2555 10:14:03 น.  

 

มินตรา ..

คนอยู่กับฝรั่งนานๆ กล้าแสดงความเห็น .. คำพูดนี่ท่าจะจริง ! -

" .. หากไม่มี"เรื่องวิญญาณเวียนเกิดเวียนดับ"...
ทำไมเราเจอใครปุ๊ป ก็รู้สึกคุ้นเคย..เสมือนเคยผูกพันมาช้านาน.เเล้วกับอีกใคร เรากลับรู้สึกห่างเหินล่ะ .. "

ตอบว่า .. เป็นเพียงความคิดปรุงแต่งไปเอง .. "รู้สึกเหมือนว่า"คำนี้คือสังขารล้วนๆ - คิดเอาเอง - feeling เท่านั้น .. หากจะให้วิเคราะห์เชิงจิตวิทยา ก็คือ ภาวะที่ จริตต้องกันของคนสองคนมาสัมผัสกัน ..

จริตของคนสุภาพ นอบน้อมถ่อมตัว .. ย่อม ..
- ไม่ชอบความสุดโต่งทางความคิดในทุกเรื่องไม่ว่าการเมืองศาสนา หรือ แม้แต่เรื่องราวในชีวิตประจำวัน ..
- ไม่ชอบความรุนแรง
- ไม่ชอบการกระทบกระทั่งกันทางอารมณ์ ..
- ชอบประนีประนอม ..
- ไม่ชอบแสดงความคิดเห็น ..
- เป็นผู้คิดตามผู้อื่น ..
- เชื่อฟังความเห็นอื่นที่มีเหตุผลและวาทะโวหารที่เหนือกว่าโดยง่าย

มันเหมือน pattern ที่ธรรมชาติสร้างไว้ให้ตัวตนประเภทนี้ .. บุคคลิกประเภทนี้ที่เห็นผ่านตามา เช่น
- สุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล
- ดร.โอฬาร ไชยประวัติ
- ดนัย จันทร์เจ้าฉาย
- พล.ต.อ. พงศพัศ พงษ์เจริญ
- พล.ต.สนั่น ขจรประสาสน์


ในขณะที่คนหัวแข็งหรือคนหัวหมอก็จะมีลักษณาการตรงกันข้าม .. เพราะเป็นธรรมชาติของอัตตลักษณ์ที่จะเป็นแบบนั้น .. และเปลี่ยนแปลงได้ยากมาก .. คนลักษณะนี้ที่เด่นชัด ก็คือ
- สมัคร สุนทรเวช ..
- วีระ ธีรภัทร ..
- น.อ.ประสงค์ สุ่นสิริ ..
- สนธิ ลิ้มทองกุล ..
- พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ..
- พล.ต.จำลอง ศรีเมือง
- พล.ต.อ.เสรี เตมียเวช
เป็นต้น

พวกปฏิกิริยาในบ้านเมืองทุกยุคทุกสมัยมา จึงเริ่มต้นจากพวก หัวหมอ หัวแข็ง และมีตัวเองเป็นศูนย์กลางจักรวาลทั้งนั้น ที่ทุกอย่างต้องโคจรอยู่รอบตัวตนนั้น .. ทั้งนั้น


ส่วนเรื่อง"คำ" .. ผมเรียนภาษาไทยแค่ มัธยมต้นเท่านั้น .. หลังจากนั้นไม่เคยเรียนอีกเลย .. จึงไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไมคนถึงมีปัญหากับภาษาแขกมากมาย ..

หลายคำ ก็ต้องหาคำแปลเหมือนกันเพื่อให้มันชัดเจน .. แต่มันง่ายมากสำหรับสมัยนี้ ที่ ออนไลน์ ไปเสียทุกเรื่อง ..

น่าเสียดายอยู่เหมือนกันกับปัญหาตรงนี้ .. ท่านพุทธทาสจึงพยายามสื่อเรื่องศาสนาผ่านภาษาอังกฤษสำหรับพวกผิวขาวที่พัฒนาแล้วจะเข้าใจได้มากขึ้น .. พวกนี้เป็นกลุ่มชนที่มีคุณภาพและอิงเหตุผลจากสภาพแวดล้อมที่เป็นวิทยาศาสตร์น่าจะรับพุทธธรรมได้อย่างมีคุณภาพ ..

 

โดย: สดายุ... 19 ธันวาคม 2555 13:21:42 น.  

 


ดายุ..

"ส่วนเรื่อง"คำ" .. ผมเรียนภาษาไทยแค่ มัธยมต้นเท่านั้น .. หลังจากนั้นไม่เคยเรียนอีกเลย .. จึงไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไมคนถึงมีปัญหากับภาษาแขกมากมาย. ."

เรียกว่า เก่งในเนื้อ..ว่างั้นเถอะ..555

ท่านพุทธทาส คงคล่องภาษาอังกฤษ จึงทราบว่า อังกฤษมีภาษาที่รัดกุมมากกว่าภาษาไทย..
มินตราก็มาเรียนศาสนาพุทธที่เยอรมันเอง..เพราะท่านฑูตเยอรมันประจำกรุงเทพ ท่านทำหนังสือเกี่ยวกับศาสนาพุทธเเจกวันเกิด..มาเจอกันที่เยอรมัน..อีกครั้ง

เวลาเข้าวัดไทยที่ไร ก็ไปรับประทานอาหารอร่อยอร่อย ประดิษฐ์ประดอยปราณีต
หรือไม่ก็ไปเดินถือเทียนรอบวัด เวลาพระจันทร์เดือนเพ็ญ
เกิดมาเพื่อกิน กับเล่น เท่านั้น..นี่เเม่ว่า..

คงปลื้มนักหากรู้ว่า มา "ปริศนาธรรม"กับดายุ.ว่ามะ..

 

โดย: บุษบามินตรา IP: 79.205.199.152 19 ธันวาคม 2555 19:31:12 น.  

 

มินตรา ..

การตีความพุทธธรรมของท่านพุทธทาส ทั้ง 100% ตรงกับความเข้าใจของผมอย่างไม่มีข้อขัดแย้งเลย ..

ในขณะที่การสอนธรรมของ ธรรมกาย รวมทั้งหลวงพ่อหลวงพี่ทั้งหลาย มีแต่ข้อขัดแย้งในความคิดจนลงกันไม่ได้ .. เพราะส่วนมากมักขาดเหตุผล .. และเต็มไปด้วยความเชื่อความศรัทธาความศักดิ์สิทธิ์ที่ยากต่อการพิสูจน์ .. ที่รับไม่ได้

อย่างนี้กระมังที่เขาว่า จริตไม่ต้องกัน

เมื่อมองพวกผิวขาวในยุโรปแล้ว .. โดยส่วนตัวก็เห็นว่ามีเยอรมันกับอังกฤษรวมทั้งสแกนดิเนเวียร์ นี่แหละที่เหมาะต่อการเผยแผ่พุทธธรรม .. เพราะคนค่อนข้างมีคุณภาพมากกว่ายุโรปใต้และพวกสลาฟ

เชื่อไหมว่า พุทธธรรม ไม่ค่อยเหมาะกับพวกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เลย .. เพราะโดยธรรมชาติของจิตใจผู้คนพื้นถิ่นนี้มัก เชื่อง่าย ขาดเหตุผล และถึงขั้นงมงาย .. แม้แต่ในกลุ่มชนที่มีการศึกษาก็ไม่ต่างกันนัก

ตอนแรกนึกว่ากำลังคุยกับแขกปัตตานีนะนี่ .. ไม่นึกว่าจะเข้าวัดด้วย .. 555

 

โดย: สดายุ... 19 ธันวาคม 2555 21:44:39 น.  

 


ดายุ..

"ตอนแรกนึกว่ากำลังคุยกับแขกปัตตานีนะนี่ .. ไม่นึกว่าจะเข้าวัดด้วย .. 555"

เเขกปัตตานีค่ะ..เเขกเปอร์เซียที่ไปปกครองปัตตานี
ตำเเหน่งพระยาเดชานุชิตนั้น เป็นตำเเหน่งจ้าวเเขกทั้งเจ็ด

เเต่พระยาเดชานุชิตผู้สร้างสะพาน..
สร้างโรงเรียนประจำจังหวัดทั้งโรงเรียนชายเเละโรงเรียนสตรี เป็นพุทธ
เเถมการศึกษาของกุลสตรีในปี2440เป็นเวลา20ปีนั้นอยู่ในมือของคุณหญิงเดชานุชิตซึ่งเป็นสตรีชาวเยอรมัน
ดังนั้นปัญหาการเปลี่ยนการปกครองเป็นระบบเทศาภิบาลทางใต้ จึงไม่มีการบีบบังคับให้ประชาชนต้องเปลี่ยนประเพณี..เปลี่ยนวัฒนธรรม จนถึงการเเต่งกาย..เช่นที่บังคับในทางเหนือเเละอีสาน..

ท่านว่า การศึกษาประวัติศาสตร์นั้นมิใช่เพียงศึกษา"เรื่องเก่าเก่า"เเต่เป็นการทำให้เข้าใจบุคคลในอดีตว่าท่านต้องการอะไรเราควรสานต่อทางความคิดเช่นไร

Tabletที่เราใช้อยู่ในขณะนี้ ก็มาจากความคิดเมื่อ สามพันกว่าปีที่ชาวอารยันใช้บันทึกข้อความ..เพียงเเต่สมัยโน้นเป็นเเผ่น..ดินเผา..ตอนนี้ เป็นระบบไฟฟ้า..
ในระหว่างนั้น เป็นการเขียน..กระดานฉนวน

"พุทธธรรม ไม่ค่อยเหมาะกับพวกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เลย "
มาพร้อมกับการเดินเรือ การค้าบนเส้นทางสายไหม..
จึงเป็นดินเเดนที่"รวมมิตร"จากชนหลายเชื้อชาติมาเเต่ไหนเเต่ไร..จีนที่ราชวงศ์เเตก หนีมา..เเขกที่เดินทางค้าขาย..
จนเมื่อมาร์โคโพโล ไปค้นพบความรู้ทางภาษาเปอร์เซีย จึงรู้ถึงเส้นทางสายไหมที่จีนกับเเขกค้าขายกัน
ภาษาที่มาร์โคโพโล ใช้ติดต่อกับจีนคือภาษาเปอร์เซีย..
ว่าไปเเล้วพระพุทธองค์ทรงรักษาปรัชญาอารยันไว้มากเนื่องจากเป็นกฏธรรมชาติ(Natural law)

 

โดย: บุษบามินตรา IP: 79.205.199.152 20 ธันวาคม 2555 3:11:41 น.  

 

แปลว่า .. ผมกำลังพูดคุยกับเชื้อสายลูกผสมแขกเปอร์เชียกับเยอรมัน .. คืออารยันทั้ง 2 สายที่แยกถิ่นกันเมื่อ 4300 ปีที่แล้ว ? .. นับว่าน่าสนใจ

ระบบการปกครองที่เริ่มปฏิรุปกันครั้งใหญ่ในสมัย ร.5 นั้นน่าจะมีต้นกำเนิดมาจาก"การไปเห็นอะไรๆในยุโรป" เป็นแรงจูงใจ ..

ทิ้งช่วงมาตั้งแต่พระบรมไตรโลกนาถ ที่สถาปนาระบบศักดินาขึ้นใช้คือ เวียง วัง คลัง นา (พรหามณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร) ก็แทบไม่มีแนวคิดเชิงจัดการบ้านเมืองที่สำคัญปรากฎขึ้นอีกเลยจนมาถึง ร.5

.. พระบรมไตรฯ เป็นโอรสเจ้าสามพระยา
.. เจ้าสามพระยา ซึ่งครองราชย์ช่วงพ.ศ.1967-1991 ..เป็นผู้ไปตีนครวัด จนอำนาจขอมล่มสลาย และจับขุนนางอำมาตย์ขอมกลับมาอยุธยาเป็นจำนวนมาก .. จนขอมต้องทิ้งนครวัดไปสร้างเมืองหลวงใหม่ที่พนมเปญ
.. อำมาตย์ขอมมาพร้อมกับลัทธิ เทวะของพราหมณ์
.. ราชสำนักอยุธยาจึงรับจารีตขอมเข้าไปเต็มๆ ทั้งภาษาที่เอามาเป็นภาษาในวัง คือ ราชาศัพท์ (เหมือนราชวงศ์รัสเซียพูดภาษาฝรั่งเศสกันในวัง .. ถือเป็นภาษาชั้นสูง) .. ทั้งความเชื่อความศรัทธา
.. ประเพณีพราหมณ์ในราชพิธีจึงเริ่มแทรกลงปะปน .. เช่น พิธีแรกนา พิธีตรียัมปวายหรือพิธีโล้ชิงช้า(ต้อนรับปีใหม่พราหมณ์)

ระบบปกครองไทยจึงไม่เคยเปลี่ยนหลังจาก เวียงวังคลังนา มาแล้ว .. จนเริ่มปรับในสมัย ร.5

และเมื่อใช้มาแล้วนับร้อยปีจึงต้องปรับเปลี่ยนอีกครั้ง และ คงอีกเรื่อยๆตลอดไป

ไม่มีสูตรสำเร็จสำหรับรูปแบบการปกครองหนึ่งๆจะบอกว่า ดี หรือ ไม่ดี .. ดูอย่างมาร์ซิสที่คิดแบบเหมา ยังไม่ work จึงต้อง ทำแบบเติ้ง เข้าไปอีกที จึง OK

ขณะที่ มาร์คซิสที่คิดแบบเลนิน ทำแบบสตาลิน ครุสชอฟ เบรสเนฟ ยังไม่ work ต่อด้วย กอบาชอพ เยลซิน จนล่มสลาย แล้วจึงได้ ปูติน ปกครองแบบ GodFather
555

คนที่มีสติสัมปชัญญะ ที่มีทั้งโง่ เขลา ฉลาด ซื่อบื้อ นี้แหละ จัดการยากนัก

จริงไหม

 

โดย: สดายุ... 20 ธันวาคม 2555 8:33:47 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.