Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2559
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
3 สิงหาคม 2559
 
All Blogs
 

O สัสสตทิฏฐิ .. ในสังคมไทย .. O

.
.




......................................................................................





เข้าใจว่า แนวคิดนี้เป็นแนวคิดแบบ "พราหมณ์เคลือบพุทธ" ..

พราหมณ์ .. ฺภาษาอังกฤษเขียน Braham ..
ศาสนา หรือ ลัทธิที่ไม่เอาพราหมณ์ เช่น พุทธ ไชนะ ชฎิล เรียกว่า อ-พราหมณ์

คำว่า.."อพราหมณ์ - Abraham" .. คือพวกไม่เอาพราหมณ์ ปฏิเสธพราหมณ์ .. เกิดจาก ชาวเยอรมันรัสเซีย Helena Petrovna Blavatsky (ชื่อเยอรมันเดิมคือ Helena Petrovna von Hahn-Rottenstern :1831-1891) เป็นคนค้นรากคำนี้มาได้ เพราะเธอไปศึกษาเรื่องอารยันที่อินเดียหลายปี..เธอศึกษาเรื่องชาติพันธุ์ของมนุษย์
(ข้อมูลจากคุณ "บุษบามินตรา")

คำนี้ "อพราหมณ์ - Abraham" อ่านแบบฝรั่งได้ว่า "อับราฮัม"
หลังจาก "อับราฮัม" แล้วมีเรื่องราวต่อเนื่องอีกยาวเหยียด

(ต้องเขียนแยกออกไปอีกเรื่อง ไปทางเรื่องราวของยิว .. และอาจเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องกับช่วงเวลาชีวิตที่ "หายไปทางตะวันออก 13 ปี" ของ Jesus )


มีที่มาจาก การสังคายนาครั้งที่ 3 สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช .. ที่เมื่อได้กระทำสังคายนาหลักพุทธธรรมจนเสร็จสิ้นแล้ว ก็ให้จดจารึกลงเป็นคัมภีร์ไตรปิฎก 9 ชุด เหมือนกัน .. พร้อมทั้งแต่งตั้งพระสมณะทูต 9 สายออกเผยแผ่ทั่วชมพูทวีป รวมทั้งแผ่นดินใกล้เคียงอย่างสุวรรณภูมิ

การสังคายนาครั้งที่ 3 นี้เกิดขึ้นเมื่อราว พศ.300 (เลขกลมๆ เพื่อง่ายแก่การจดจำ - ช่วงพระชนม์ชีพพระเจ้าอโศกคือ พศ.240-312)

ดินแดนสุวรรณภูมิในยุค พศ.300 มีชนชาติใดที่กระจัดกระจายอยู่อาศัยไปทั่ว ?
พระโสณะ เป็นผู้เดินทางมาทางสุวรรณภูมิ

สมัยนั้นยังไม่มีภาษาไทย ยังไม่มีดินแดนไทย .. ท่านควรขึ้นฝั่งที่ใดเพื่อประดิษฐานพุทธศาสนา ?

อ่าวเมาะตะมะของพม่า หรือ อ่าวไทย ?
ผู้เขียนมีความเห็นว่าเป็นอ่าวเมาะตะมะของพม่า ที่มีมอญครองแผ่นดินอยู่ในยุคนั้น

ภาษาในไตรปิฎก จารึกในสมัยพระเจ้าอโศก จ้าวผู้ครองแคว้นมคธ แล้วแผ่อำนาจไปจนจดดินแดนเปอร์เชีย กว้างใหญ่ไพศาลมากที่สุด - ดูแผนที่ประกอบ

เมารยะ คือ อาณาจักรของพระเจ้าอโศก สีม่วงในแผนที่





จากภาษามคธ (บาลี) เป็นภาษามอญก่อนแล้วเป็นไทยในที่สุด
ไตรปิฎก โดยตัวหนังสือเองนั้นยากต่อความเข้าใจของผู้อ่าน - จึงต้องมีผู้รู้แต่งตำราอธิบายความหมายขึ้นมา เราเรียก "อรรถกถา"

คัมภีร์วิสุทธิมรรค คืออรรถกถา ที่เขียนโดย พระพุทธโฆษาจารย์ ราว พศ.1500

ภิกษุรูปนี้เป็นชาวอินเดีย เรียนจบไตรเภทของพราหมณ์มาก่อนที่จะมาบวชในพุทธศาสนา แล้วเดินทางไปศรีลังกา เขียนตำหรับตำราไว้มากมาย .. นับถือกันว่าท่านเป็นปราชญ์ชาวพุทธที่ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่ง ที่แปลความไตรปิฎกไว้มากมาย รวมทั้งวิสุทธิมรรค

ชาติไทยเริ่มนับ 1 เอาเมื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ไม่ยอมขึ้นต่อขอมอีกต่อไป (เอาตามประวัติศาสตร์ชาตินิยมเดิมไปก่อน .. ขณะที่สมัยนี้เราไม่นับสุโขทัยเป็นราชธานีแรกอีกแล้ว )

ราชวงศ์สุโขทัยปกครองดินแดนภาคเหนือตอนล่าง อยู่ช่วงหนึ่ง จนถึงสมัยพระร่วง หรือพระเจ้าลิไท หรือ พระมหาธรรมราชาที่ 1

และคนนี้ที่เขียน ไตรภูมิกถา เมื่อประมาณ พศ.1888
เป็นไตรภูมิกถาที่อธิบายโลกไว้แบบ "โอกาสโลก" เหมือนวิสุทธิมรรคทุกประการ - จึงเชื่อได้ว่าท่านอ่านวิสุทธิมรรคมาก่อน แล้วเอามาเขียนไตรภูมิทีหลัง

"โอกาสโลก" คือ โลกภาวะที่ระบุไว้ว่า
แผ่นดินหนาเท่าไร
แผ่นน้ำหนาเท่าไร
อากาศหนาเท่าไร
สวรรค์มีกี่ชั้น
นรกมีกี่ขุม
มีต้นไม้ประจำสวรรค์กี่ต้น
ฯลฯ

พวกนี้เป็นโลกของพราหมณ์ ที่ไม่มีในพุทธะวจนะ แม้แต่น้อย
พระพุทธเจ้าไม่เคยสอน

โลกของพุทธะคือ
กายยาววาหนาศอก ที่มีสัญญาและใจ
เป็นโลกภายใน ที่ต้องคอยระวัง การสัมผัสกับโลกภายนอกแล้วปรุงแต่งอารมณ์ขึ้นมา

การคอยระวังนี้คือ สมาธิ
การสัมผัสระหว่างโลกภายนอกกับโลกภายในนี้ ผ่านทาง วิญญาณทั้ง 6
คือวิญญาณ .. ทางตา .. ทางหู .. ทางจมูก .. ทางลิ้น .. ทางผิวกาย .. ทางจิตใจ

วิญญาณแบบนี้ เกิดดับ ทุกครั้งที่มีการปรุงแต่งเพราะหยุดไม่ทัน
วิญญาณแบบนี้ หากหยุดทัน เพราะจิตมีกำลังรวดเร็ว เพราะฝึกฝนมานาน ก็สามารถควบคุมการปรุงแต่งเมื่อมีการสัมผัสกับคู่ของมัน (ตา กับ รูป)

หากควบคุมการสัมผัสระหว่างโลกภายใน กับโลกภายนอกได้ เราเรียกว่า อยู่เหนือโลก
หรือเรียกว่า .. โลกอุดร .. เมื่อสมาสคำเข้าไปก็จะเป็น .. โลกุตระ

วิญญาณ 6 แบบนี้
เกิด ตั้งอยู่ ดับ
เกิด ตั้งอยู่ ดับ
เป็นวงจรตามแต่กำลังการปรุงแต่งของ "ปัญญาที่รู้ไม่ทันโลก" เราเรียกวัฏฏะสงสาร

ดวงมนัส หรือ วิญญาณแบบพราหมณ์ เป็นอย่างไร ?
ตอบว่าไม่มีใครรู้ และไม่จำเป็นต้องรู้
อะไรที่มันรู้ด้วยตนเองไม่ได้ ต้องเชื่อคนอื่นเรื่อยไปนั้น .. พุทธะไม่สอนเด็ดขาด

และนั่นคือปัญหา อจินไตย
คำนี้หมายถึงอะไร ?

อจินไตย ๔ - มีพุทธพจน์แสดงไว้ดังนี้ใน อจินตสูตร ความว่า

... "ประการนี้ อันบุคคลไม่ควรคิด เมื่อบุคคลคิดพึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า เดือดร้อน อจินไตย ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย

.. พุทธวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๑
.. ฌานวิสัยของผู้ได้ฌาน ๑
.. วิบากแห่งกรรม ๑
.. ความคิดเรื่องโลก ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลายอจินไตย ๔ ประการนี้แล ไม่ควรคิด เมื่อบุคคลคิด พึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเป็นบ้า เดือดร้อน ฯ " ...

.
.
ชาติที่แล้วเป็นอย่างไร - ไม่มีใครรู้ได้
ชาติหน้าจะเป็นอย่างไร - ไม่มีใครรู้ได้

ต่อให้มีคำว่า คุณวิเศษในตน สำหรับผู้ที่ได้วิชชา 3 หรือ อภิญญา 6 มา ..
เราที่ไม่มีคุณวิเศษนั้นๆ ก็รู้ไม่ได้ว่าใครคนไหนมี หรือ ไม่มี

เหมือนกับ หมอมีกล้องจุลทัศน์ที่มองเห็นเชื้อโรคเล็กมากที่ตาธรรมดามองไม่เห็น
กล้องจุลทัศน์เปรียบเหมือน คุณวิเศษ

แม้หมอจะอธิบายอย่างไร เราก็เข้าใจไม่ได้ว่า เชื้อโรค หน้าตามันเป็นอย่างไร
นอกเสียจากว่า เรามีกล้องจุลทัศน์สำหรับมองด้วยตัวเอง

กล้องจุลทัศน์ อาจหยิบยืมกันได้
แต่ คุณวิเศษ มันหยิบยืมกันไม่ได้

ดังนั้นหากจะพิสูจน์สิ่งที่อายตนะสามัญปกติรับรู้ไม่ได้ .. ก็ต้องฝึกจิตให้มีคุณวิเศษ แล้วค่อยลงความเห็นโดยไม่ต้องเชื่อใคร ตามหลัก "กาลามสูตร"


กาลามสูตร คือ พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตตนิคม แคว้นโกศล (เรียกอีกอย่างว่า เกสปุตตสูตร ก็มี) กาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อ มีอยู่ 10 ประการ ได้แก่

1. มา อนุสฺสวเนน - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามๆ กันมา
2. มา ปรมฺปราย - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา
3. มา อิติกิราย - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ
4. มา ปิฏกสมฺปทาเนน - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
5. มา ตกฺกเหตุ - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเดาว่าเป็นเหตุผลกัน

6. มา นยเหตุ - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมานคาดคะเน
7. มา อาการปริวิตกฺเกน - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเดาจากอาการที่เห็น
8. มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
9. มา ภพฺพรูปตา - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะผู้พูดมีลักษณะน่าเชื่อถือ
10. มา สมโณ โน ครูติ - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา

เมื่อใดสอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศลหรือมีโทษเมื่อนั้นพึงละเสีย และเมื่อใดสอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นกุศลหรือไม่มีโทษ เมื่อนั้นพึงถือปฏิบัติ

.
.
เรื่องที่ไม่ใช่ปัจจุบัน เป็นประเด็นที่ไม่มีประโยชน์ต่อใครทั้งสิ้น

จึงน่าแปลกมากที่พุทธะสาวกช่างเอามาเน้นพูด เน้นสอนกันเสียจริง !

=================================





 

Create Date : 03 สิงหาคม 2559
9 comments
Last Update : 1 พฤษภาคม 2561 19:19:06 น.
Counter : 1997 Pageviews.

 


ในครั้งนั้น คำสอนของพระพุทธเจ้าไม่ได้จดไว้เป็นตัวหนังสือ พระพุทธเจ้า...ทรงสอนด้วยภาษาท้องถิ่น ที่สื่อเข้าใจง่าย...
ครั้นพระองค์เสด็จดับขันธปริพพาน อริยสาวกต้องการให้คำสอนมีหลักการที่แน่นอน ได้ประชุมเรียบเรียงคำสอนจากภาษาพูดง่าย ๆ เป็นภาษาหนังสือ เพื่อสะดวกต่อการจำ แล้วแบ่งหน้าที่กันท่อง
ทว่าพระสาวกทั้งหมดก็ใช่ว่าจะรู้สิ่งที่ตรัสไว้ เพราะไม่ได้ติดตามพระองค์อยู่ประจำ จึงต้องคัดเลือกผู้ที่เห็นว่ามีความใกล้ชิดติดตามพระองค์มากกว่าคนอื่น
จึงได้พระอานนท์ เพราะพระอานนท์เคยเป็นพระอุปัฏฐากของพระพุทธเจ้า และมีชีวิตมาจนถึงภายหลังพุทธปรินิพพาน พระอานนท์กล่าวในที่ประชุมว่า “ข้าพเจ้าสดับมาอย่างนี้” (เอวมฺเม สุตํ) ที่ประชุมได้วิพากษ์วิจารณ์หารายละเอียดในเรื่องนั้น ๆ ตามที่พระอานนท์กล่าวถึง วิธีนี้เรียกว่า สังคายนา คือ เรียบเรียงคำสอน...

การทำสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ 1 จึงได้จัดขึ้นที่ถ้ำสัตบรรณคูหา เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ตามคำปรารภของพระมหากัสสปเถระ โดยมีพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นองค์อุปถัมภ์ ใช้เวลาในการสังคายนารวบรวมพระธรรมวินัยอยู่ 7 เดือนจึงแล้วเสร็จ
การทำสังคายนาครั้งที่2 เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 100 ที่วาลิการาม เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ประเทศอินเดีย โดยมีพระยสกากัณฑกบุตร เป็นผู้ชักชวน พระเถระผู้ใหญ่ที่เข้าร่วมทำสังคายนาครั้งนี้ ...
ในการนี้พระเรวตะทำหน้าที่เป็นประธานผู้คอยซักถาม และพระสัพพกามีเป็นผู้นำในการวิสัชนาข้อวินัย การทำสังคายนาครั้งนี้มีพระสงฆ์มาประชุมร่วมกัน 700 รูป ดำเนินการอยู่เป็นเวลา 8 เดือน จึงเสร็จสิ้น

การเรียบเรียงครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒ ยังไม่ได้เขียนเป็นหนังสือ
(ผศ.ดร.สมิทธิพล เนตรนิมิตร มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย)

 

โดย: บุษบามินตรา IP: 188.165.240.145 4 สิงหาคม 2559 17:46:41 น.  

 


ศาสนาของชาวอารยัน (พระพุทธศาสนา) มีความเก่าแก่ เปรียบดังต้นไม้ที่มีอายุกว่าสองพันปี
"เรื่องตำนานและพงศาวดาร "เป็นดังเปลือกห่อหุ้มลำต้น ผู้ศึกษาต้องแยกสิ่งที่เป็นเปลือกหรือว่าที่เป็นลำต้น

นักปรัชญาทางศาสนา ( theologian) กล่าวว่า
ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาเดียวในโลก ที่ไม่ต้องถกเถียงเรื่อง "พระธรรมคำสอน" เพราะมีการสังคายนา พุทธวัจนะ ทันทีภายใน 7 วัน หลังจาก ทรงปรินิพพาน

 

โดย: บุษบามินตรา IP: 188.165.240.145 4 สิงหาคม 2559 18:03:19 น.  

 



มินตรา ..
ขอขอบคุณในข้อมูลที่นำมาลงเสริมไว้ครับ

 

โดย: สดายุ... 4 สิงหาคม 2559 18:46:54 น.  

 

ดายุ..

"แม้นมิไปช่วยจะม้วยมอด, ด้วยสังข์ทองไม่ถอดรูปเงาะป่า." (สังข์ทอง)

ผู้ช่วยพระเอก ค่ะ 555

 

โดย: บุษบามินตรา IP: 188.165.201.164 4 สิงหาคม 2559 19:21:30 น.  

 


สดายุ ..
จากวีดิโอที่สดายุวางไว้ มีเอ่ยถึง นาย โฮลเกอร์ แคชตัน (Holger Kersten 1951 เกิดที่เมืองMagdeburg เยอรมัน)
ท่านผู้นี้ เขียนหนังสือ และ ศึกษาเรื่อง เยซู แห่งเมืองนาซาเรท (Jesus von Nazaret) ซึ่งเป็นเรื่องราวพระเยซูใน คัมภีร์ใหม่ (NeuenTestament) ที่พวก โพรเทสทั้น (Protestant)ใช้

มักเดอบวร์ก ( Magdeburg )เป็นเมืองที่ มาร์ทิน ลูเธอร์ (Martin Luther) ประกาศศาสนา โพรเทสทั้น (Protestant)

เท่าที่ทราบนี่มีเอกสารเกี่ยวกับพระเยซูเป็นหลายร้อยฉบับจนศาสนาคริสต์ต้องลงมติกันว่า ให้ใช้เพียง 50 เอกสาร เท่านั้นนะ
แต่ในเอกสารที่ยอมรับทั้ง50ฉบับ
ก็ยังมีเรื่องถกปัญหากันไม่รู้จบ

เอกสารที่นาย โฮลเกอร์ แคชตัน (Holger Kersten)
ศึกษานี่ ว่า พระเยซูมีอาการเสมือนว่าตายแล้ว เพราะโลหิตหยุดไหล พวกโรมันจึงไม่ได้ตัดเท้า เฉกเช่นที่ทำกับรายอื่นที่โดนกางเขน เพื่อให้เลือดออกจากร่างกายให้หมด
หลังจากนั้นเพื่อนพระเยซู พาไปลงหลุมศพที่ยังไม่เคยมีศพใดใช้มาก่อน แล้วเกิดฟื้นขึ้นมา
จึงใช้สมุนไพรรักษา แล้วใช้ชีวิตหลังจากนั้นต่อไป
จนอายุถึงร้อยปี
หลังจากฟื้นขึ้นมา ได้เดินทางไปแถบแคชเมีย เนปาล แล้วเสียชีวิตที่นั่น
ซึ่งนาย โฮลเกอร์ แคชตัน (Holger Kersten)ตามไปถึงสถานที่ที่ชาวเมืองที่นั่นเล่าว่าคือ หลุมศพพระเยซู
ถึงขนาดจะขุดศพเพื่อพิสูจน์ DNA ในปี1984
แต่มีพวกเคารพผู้ตาย ไม่ยอม จึงต่อต้านกันจน ตำรวจต้องขอร้องไม่ให้ขุดศพออกมาพิสูจน์

ที่น่าสนใจคือ นักสอนศาสนาหลายท่านตั้งคำถามว่า พระเยซูไปหาความรู้จากไหนมาสอนศาสนา
แล้วตั้งสมมุติฐานว่า ร่ำเรียนคำสอนจากพระพุทธเจ้า
โดยอ้างหลักฐานจากสัจธรรมต่างต่างที่ตรงกันของสองศาสนา

 

โดย: บุษบามินตรา IP: 188.165.240.145 5 สิงหาคม 2559 4:11:08 น.  

 



มินตรา ..
การต่อต้านการพิสูจน์ความจริง หรือหาความจริง
เป็นภาวะการณ์ของจิตที่"กลัว"

กลัว สิ่งที่ยึดมั่นไว้พึ่งพิงทางใจจะแตกสลาย
เช่นเดียวกับกฎหมายหมิ่นผู้นำที่เป็นบุคคลสาธารณะทั้งหลาย

ที่ควรหนักแน่น และคงทนต่อการพิสูจน์ .. แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่

เป็นความกลัวชนิดเดียวกัน ..
กลัวเหตุผล
กลัวความจริง
จึงวิพากย์ไม่ได้ .. ต้องเชื่ออย่างเดียว

ภาวะการณ์ลักษณะนี้ยังไงก็อยู่ได้ไม่นาน .. มันไม่คงทนต่อการพิสูจน์

ผมชอบฝรั่งในแง่นี้ ..
BBC เป็นของอังกฤษ เป็นฝรั่ง และคงเป็นแองกลิกัน
แต่การทำสารคดีเรื่องเยซูแบบนี้โดยไม่มีปัญหาอะไรตามมา นี่คือฝรั่งผิวขาวจริงๆ

หาก อัลจาซีรา ทำเรื่องทำนองนี้ของ นบี โมฮัมหมัด บ้าง .. มันจะเกิดอะไรขึ้น ?

 

โดย: สดายุ... 5 สิงหาคม 2559 20:46:08 น.  

 

สดายุ..
"ชาดก"เป็นวรรณกรรมส่วนหนึ่งของพระไตรปิฎก
หากเราเปิดใจกว้างมองชาดกในแง่มุมอื่น ๆ นอกเหนือจาก "ศาสนาและปรัชญา"แล้ว
เราจะพบว่าชาดกให้ความรู้แก่เรามากมายในหลายสาขาวิชาเช่น รัฐศาสตร์การเมือง การปกครอง จิตวิทยา สังคมวิทยา การศึกษา วรรณกรรม ภาษาศาสตร์ ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์

"สหวิทยาการ "ในชาดก หมายถึงการศึกษาชาดกหลายวิธี หลายมุมมอง โดยเชื่อมโยงกับศาสตร์หลายสาขาวิชา
ซึ่งจะทำให้การศึกษาชาดกมีความเป็นศาสตร์มากขึ้น โดยมีการสังเกตการณ์ วิเคราะห์จากข้อมูลจริงที่ปรากฏในคัมภีร์ต้นแบบ
แล้วนำกระบวนวิธีในวิชาการต่าง ๆ มาอธิบาย
ซึ่งเป็นระบบวิธีการศึกษาที่แน่นอนและมีความเป็นกลาง

การศึกษาวิธีนี้จะทำให้ข้ามพ้นจากการสรุปหรือสร้างทฤษฎีเอาเองจากความนึกคิดหรือความเข้าใจของตน

ซึ่งมีลักษณะเพ้อฝันโดยปราศจากข้อมูลมาสนับสนุน ที่เราเรียกว่า armchair theory เช่น การศึกษาในรูปแบบเดิม ซึ่งอยู่ในรูปแบบอุดมคติไม่เป็นศาสตร์

(ผศ.ดร.สมิทธิพล เนตรนิมิตร มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย)

"สหวิทยาการ "ในภาษาเยอรมันใช้คำว่า Wissenscluster
เป็นวิธีศึกษาหาความรู้ในเยอรมัน โดยเฉพาะในศตวรรษที่ 21

 

โดย: บุษบามินตรา IP: 188.165.201.164 6 สิงหาคม 2559 3:26:54 น.  

 


นาย โฮลเกอร์ แคชตัน (Holger Kersten)ศึกษาเรื่อง เยซู แห่งเมืองนาซาเรท (Jesus von Nazaret)
จาก"ชาดก" ของศาสนาคริสต์
ด้วย"สหวิทยาการ "

 

โดย: บุษบามินตรา IP: 188.165.240.145 6 สิงหาคม 2559 3:52:45 น.  

 

มินตรา ..

ที่พูดมาก็ถูก แต่สำหรับคนไทย การซ่อนหรือแฝงความหมายไว้ เขาไม่สามารถตีความได้ลึกซึ้งมากนัก

นรก สวรรค์ จึงกลายเป็นรูปธรรมที่เขายึดถือกันจริงๆจังแบบนั้น .. ทั้งๆที่เป็นเพียงนามธรรมในจิตที่กำลังเผชิญอยู่

นรกของเขาจึงต้องมี กะทะทองแดง ต้นงิ้ว หมาฟันแหลม

ขณะที่ในทางธรณีวิทยาใต้พื้นดินขุดไปก็เจอน้ำ .. ขุดต่อก็เจอหิน และอาจเจอโพรงหินที่มีแก๊สต่างๆอยู่ ลึกลงไปเรื่อยๆ ..

สหวิทยาการ จึงเหมาะกับผู้ใช้ปัญญา ทางยุโรปมาก .. ผมเข้าใจว่าหลักเหตุผลของพุทธกำลังตั้งมั่นลงในหมู่คนผิวขาว ในอัตราที่มากขึ้นทุกที

 

โดย: สดายุ... 6 สิงหาคม 2559 8:17:50 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.