Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2561
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
27 มิถุนายน 2561
 
All Blogs
 

O ความคิดได้เอง.. O

.
.




ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ .. คือ "ความคิดได้เอง" ของคนเราเมื่อผ่านประสบการณ์ ความรู้ ความชำนาญ ไประดับหนึ่ง
.
ในทางพุทธธรรม ..
มีคนจำนวนมากที่จบ"เปรียญ 9 ประโยค"ตั้งแต่ยังเป็นแค่สามเณร .. และไม่ใช่มีเพียงคนเดียว
.
เพียงแต่ ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน ไม่มีการสาธยายปฏิจจสมุปบาท ที่สอดคล้อง ไม่ขัดแย้งกับหลักการใหญ่ของพุทธเลยแม้แต่รูปเดียว ..
.
จึงมองได้ว่า "เปรียญ 9 ประโยค" ที่ว่านั้น เป็นเพียงระบบการเรียนรู้แบบ "ท่องจำ" ทั้งสิ้น
.
จึงไม่มี "เปรียญ 9 ประโยค" ผู้ใดกล้าหาญกระทำ วิภาษวิธี ต่อการอธิบายปฏิจจสมุปบาทอันเป็นหัวใจของพุทธศาสนาของ"พระพุทธโฆษาจารย์ที่แสดงไว้ในวิสุทธิมรรค"อย่างเป็นเรื่องเป็นราวมาก่อนเลยแม้แต่คนเดียว .. จนมาเจอที่ท่านพุทธทาสแสดงไว้
.
ท่านพุทธทาส มิได้จบเปรียญธรรม 9 ประโยคแต่อย่างใด .. และแม้แต่ท่านเองสมัยหนุ่มๆบวชใหม่ๆ ก็ยังเคยแสดงธรรมในหัวข้อปฏิจจสมุปบาทในแนวทางเดียวกับวิสุทธิมรรคมาก่อนด้วย
.
แล้ว - ทำไม ถึงเกิดการเปลี่ยนแปลงของความเข้าใจ ?
นี่คือประเด็นที่น่าสนใจ
.
ความคิดได้เอง หลังจาก "เข้าใจสิ่งนั้นๆอย่างถ่องแท้" น่าจะเป็นคำตอบ
.
หากความเป็น เปรียญ 9 ประโยค ได้มาจากการท่องจำ
ต่อให้ได้มาแล้วทั้งชีวิต ก็ไม่สามารถเปลี่ยนความจำให้เป็นความเข้าใจได้ ..
.
จึงไม่มีการวิภาษ วิสุทธิมรรค เกิดขึ้นในสังคมไทยมาก่อนหน้าปี พศ.2512 ที่สวนโมกขพลาราม ครั้งนั้น
.
ความคิดได้เอง .. จึงเป็นคุณสมบัติเดียวกับที่ พุทธะ ท่านมีเมื่อ 2606 ปีที่แล้ว ที่โคนโพธิ์ริมฝั่งเนรัญชลา .. ในบริบทแวดล้อมของสังคมที่ ..
.. วิญญาณแบบพรามหณ์ครอบคลุมอยู่
.. การบวงสรวงอ้อนวอนต่อสวรรค์เป็นไปอย่างกว้างขวาง
.
เปรียญธรรม 9 ประโยคจำนวนมากจึงไม่สามารถหักโค่นหลักธรรมเท็จที่แผ่ครอบคลุมสังคมไทยมาช้านานตั้งแต่พระร่วงเขียน ไตรภูมิกถา จากวิสุทธิมรรคครอบไว้มาร่วม 800 ปี ..
.
บัวน้ำล่าง
บัวน้ำกลาง
จึงมีมากมายเต็มบึงไปหมด พร้อมควันธูป เปลวเทียน ดอกไม้
ในแผ่นดินที่ "ความคิดได้เอง" อันเป็นคุณสมบัติของบัวน้ำบนเกิดขึ้นได้ยากมาก

.
.

หลักธรรมสำคัญในคืนเพ็ญเดือน 6 ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชลา
เมื่อ 2600 ปีที่แล้วที่พระพุทธองค์ทรงตรึกตรองจนเข้าใจทะลุปรุโปร่งจนตรัสรู้อนุตรสัมโพธิญาณ...ทำลายอวิชชาลงจนสิ้นเชิง

ธรรมบรรยายนี้เป็นการอธิบายหักล้างแนวคิดเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาทในคัมภีร์วิสุทธิมรรคที่เขียนโดยพระพุทธโฆษาจารย์ พระภิกษุชาวอินเดียที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 1500 ปีที่ผ่านมา...ซึ่งแนวคิดตามคัมภีร์นี้แพร่หลายอยู่ใน ศรีลังกา พม่า รวมทั้งไทย ลาว

สำนักธรรมกาย รวมไปถึงหลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ ย่อมมีทิฏฐิตามแนวอธิบายความปฏิจจสมุปบาทแบบวิสุทธิมรรคทั้งสิ้น...ดังนั้นการเวียนว่ายตายเกิดข้ามภพข้ามชาติย่อมเป็นที่ยึดมั่นถือมั่นอย่างไม่อาจผ่อนคลาย... ซึ่งเป็นไปตามหลัก อาตมัน ชีโว ของพราหมณ์โดยแท้...

ผู้มีปัญญาโปรดใช้วิจารณญาณใคร่ครวญโดยแยบคาย













 

Create Date : 27 มิถุนายน 2561
0 comments
Last Update : 14 สิงหาคม 2561 19:27:39 น.
Counter : 1228 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


สดายุ...
Location :
France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 151 คน [?]









O ใช่แน่หรือ ? .. O






O หรือธรรมชาติผ่านเวียน .. คอยเปลี่ยนโลก ?
ทั้งสุขโศกเร่งรุดยากหยุดไหว
หรือกำหนดยุดยื้อจากมือใด
จัดการให้แปลกแยกได้แทรกตัว
O หรือพบกันครั้งแรก, ความแตกต่าง
ถูกบ่มสร้างเหมาะควรอย่างถ้วนทั่ว
แต่ตา-รูป .. สบกัน, ที่สั่นรัว-
แรกที่หัวใจคน .. เริ่มอลเวง
O ละห้อยเห็นในยามห่างนามรูป
แต่ละวูบเนรมิตคอยพิศเพ่ง
งามทุกงามจารจรดเยี่ยงบทเพลง
พร้องบรรเลงด้วยมือช่วยยื้อยุด
O ย่อมเป็นมือสร้างเหตุแทรกเจตนา
ผ่านรูปหน้าอำนวยเข้าฉวยฉุด
ร้างไร้ความกริ่งเกรง, หากเร่งรุด
แทรกลงสุดหัวใจเพื่อไขว่คว้า
O แน่นอนว่ายากเว้น .. อยากเห็นรูป
และชั่ววูบวาบเดียวที่เหลียวหา
หวังทุกหอมรินไหลผ่านไปมา
ทั้งหางตาที่ชม้อยเหลือบคอยปราย
O โลกย่อมงามพร่างแพร้วเมื่อแผ้วผ่าน
ด้วยอ่อนหวานอ่อนโยนที่โชนฉาย
แม้นมิอาจโยกคลอนให้ผ่อนคลาย
ก็อย่าหมายโยกคลอนให้ผ่อนลง
O จะกี่ครั้งกี่ครา, ความอาวรณ์
เวียนรอบตอนจับจูงจนสูงส่ง
ด้วยรูปนามเทียบถวัลย์อย่างบรรจง
แตะแต้มลงผ่านจริตจนติดตรึง
O ความรู้สึกในอกย่อมยกตัว
หวานถ้วนทั่ว, รสประทิ่น, ถวิลถึง
เหมือนรุมล้อมหยอดย้ำลงคำนึง
ให้เสพซึ้งรสงามของ .. ความรัก
O วัฏฏจักรแห่งธรรม .. ย่อมย่ำผ่าน
เข้าขัด-คาน จับจูงความสูงศักดิ์
ของอาวรณ์หลบเร้น เพื่อเว้นวรรค
ที่เข้าทักทายทั่วทั้งหัวใจ
O หรือแท้จริงตัวตนถูกค้นพบ
การบรรจบ .. รูป-จริต แล้วพิสมัย
ปรารมภ์ของฝั่งฝ่าย .. นั้น-ฝ่ายใด
เพิ่งยอมให้เรื่องเฉลย .. ยอมเผยความ ?



Friends' blogs
[Add สดายุ...'s blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.