Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
23 ตุลาคม 2554
 
All Blogs
 

ปลูกยางพาราให้สวยและทนแล้งด้วยโพลิเมอร์

โพ ลิเมอร์ หรือ "สารอุ้มน้ำ" สำหรับปลูกพืช นวัตกรรมใหม่ที่สามารถนำมาใช้การปลูกยางพาราและพืชอื่น ๆ มากมายหลายชนิดในเขตพื้นที่แห้งแล้งไม่ว่าภาคกลาง-เหนือ-อีสาน-ใต้ ด้วยคุณสมบัติในการดูดเก็บน้ำได้มากไม่น้อยกว่า 200 เท่า จึงทำให้พื้นดินมีความชุ่มชื้นแม้ในฤดูแล้ง ส่งผลให้ต้นยางพาราเจริญเติบโตอย่างงดงามและลดอัตราการตายเนื่องจากภัยแล้ง ที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ

ในปัจจุบันนี้ แม้ว่ายางพาราจะสามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย แต่ภัยแล้งที่ค่อนข้างยาวนาน 5-6 เดือนของพื้นที่ในภาคกลาง-เหนือ-อีสาน ก็ทำให้ต้นยางที่เพิ่งปลูกต้องตายเป็นจำนวนไม่น้อย ก่อให้เกิดความกังวลใจและทำให้ผู้ปลูกยางพาราต้องเดือดร้อนเป็นอย่างมาก เพราะต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายเพิ่มเป็นจำนวนไม่ใช่น้อย ๆ นับตั้งแต่ค่าแรงปลูกซ่อมยาง, ค่าพันธุ์ยางใหม่ และการดูแลอย่างดีพิเศษเพื่อให้ต้นยางรอดตายและเจริญเติบโตทันกับต้นยางที่ ล่วงหน้าไปแล้ว 1 ปี และหากไม่สามารถปลูกซ่อมให้รอดได้ภายใน 2 ปี ก็หมดสิทธิ์ที่จะทำการปลูกซ่อม(ด้วยยาง)อีกต่อไป

วันนี้ผมมีความยินดีเป็นอย่างมากที่ได้มีโอกาสรู้จักกับคุณไว มณี ชาวสวนยางพาราหัวก้าวหน้าคนหนึ่งของอำเภอจะนะ จ.สงขลา ที่ได้แนะนำและสาธิตคุณสมบัติของโพลิเมอร์ในการดูดเก็บน้ำ และนำชมสวนยางพาราที่ใช้โพลิเมอร์ Alcosorb AB3/400 ใส่ในหลุมตอนปลูกยาง ผมจึงนำความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และคุณค่ามหาศาลของโพลิเมอร์มาถ่ายทอดต่อ ให้กับผู้ทำสวนยางพาราทุกท่าน ครับ

โพลิเมอร์ Alcosorb AB3/400 ก่อนแช่น้ำจะมีลักษณะเป็นเม็ดหรือเกล็ดเล็ก ๆ สีขาวดูสะอาดตา คล้าย ๆ น้ำตาลทรายขาวมาก ๆ เมื่อนำโพลิเมอร์ไปแช่น้ำ ก็จะเริ่มดูดน้ำและจะเริ่มมองเห็นก้อนคล้าย ๆ ของเหลวใส ๆ ภายใน 5 นาที เมื่อแช่ทิ้งไว้ 4 ชม. โพลิเมอร์จะดูดน้ำเข้าประมาณ ไม่น้อยกว่า 200 เท่า การนำโพลิเมอร์ที่ดูดน้ำเต็มที่แล้วไปใส่ในหลุมปลูกยางพาราตอนปลูก เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน พื้นดินแห้งแล้ง ดินก็จะดูดน้ำจากโพลิเมอร์ รากต้นยางก็จะได้น้ำหรือธาตุอาหารที่ต้องใช้น้ำเป็นตัวทำละลายจากดินอีกต่อ หนึ่ง เมื่อพื้นดินได้รับน้ำเพิ่มเข้ามาก็จะถูกโพลิเมอร์ดูดเก็บไว้ใช้เมื่อพื้น ดินแห้งแล้ง วนเวียนต่อไป(อาจนานถึง 6 ปี)

โพลิเมอร์ก่อนแช่น้ำจะเป็นเกล็ดแข็งสีขาวดูสะอาดตาคล้าย ๆ น้ำตาลทรายขาว โพลิเมอร์หลังจากใส่ลงในน้ำ 5 นาทีจะเริ่มดูดน้ำขยายตัว โพลิเมอร์หลังจากแช่น้ำ 4 ชม.จะมีลักษณะนิ่ม ๆ สีขาวใส คล้ายวุ้นก้อนเล็ก ๆ

วิธีใช้โพลิเมอร์ในการปลูกยางพารา
โดยทั่ว ๆ ไป โพลิเมอร์ Alcosorb 1 กิโลกรัม ใช้ปลูกยางได้ ประมาณ 200-400 ต้น ซึ่งมีขั้นตอนเคร่า ๆ ดังนี้

แช่โพลิเมอร์ให้ดูดน้ำเข้าให้เต็มที่(โพลิเมอร์ 1 ก.ก.ต่อน้ำ 200 ลิตร แช่ทิ้งไว้ 4 ชม. หรือค้างคืน)
ในวันปลูกยาง ให้รองก้นหลุมด้วยโพลิเมอร์ที่แช่น้ำแล้ว 1 กระป๋องนม
นำต้นยางลงปลูกโดยตั้งลงบนโพลิเมอร์ แล้วถมดินลงไปครึ่งหนึ่งของตุ้มดินที่หุ้มรากยางอยู่
เทโพลิเมอร์อีก 1-2 กระป๋องนมลงรอบ ๆ ตุ้มดินที่หุ้มรากยางอยู่ (ในเขตแห้งแล้งมาก ๆ ในขั้นตอนนี้แนะนำให้ใส่ 2 กระป๋องนม)
กลบและอัดดินให้แน่น ตามวิธีการปลูกยางตามปกติ
หลังจากใช้โพลิเมอร์แล้ว พื้นดินควรได้รับน้ำบ้าง 2-3 เดือนต่อครั้ง และหากทำการคลุมโคนด้วยหญ้าแห้งหรือเศษวัสดุทางการเกษตรได้ ก็จะทำให้คุณสมบัติการดูดเก็บน้ำของโพลิเมอร์ ดีมากยิ่งขึ้น

ปัจจุบันนี้ แม้แต่ในภาคใต้ที่ภัยแล้งมีน้อยกว่าภาคเหนือ-อีสาน แต่ชาวสวนยางพาราในภาคใต้ก็ประสบกับปัญหาต้นยางตายจากภัยแล้งมากขึ้นเช่นกัน 3 ภาพด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างของสวนยางพาราของคุณไว มณี ที่ใช้โพลิเมอร์ช่วยแก้ปัญหานี้ สวนแปลงนี้ปลูกเมื่อปลายเดือนพฤษภาคม 2552 หรือมีอายุ 13 เดือน ต้นยางมีความสมบูรณ์ งดงามดูสม่ำเสมอและสูงประมาณ 3.5-5 เมตร(มาตรฐานความสูงของต้นยางพาราอายุ 12 เดือน ประมาณ 2 เมตร) สวนแปลงนี้ใช้ทั้งปุ๋ยสูตร 20-8-20 และสูตร 25-7-7 ด้วย) ถือได้ว่าเป็นสวนยางพาราแปลงหนึ่งที่ประสพความสำเร็จ ซึ่งนอกจากจะมาจากความขยันและตั้งใจทำสวนจริงของผู้เป็นเจ้าของแล้ว โพลิเมอร์ก็มีส่วนช่วยสวนยางแปลงนี้เป็นอย่างมาก เช่นกัน

ยางพารา 13 เดือน รองหลุมด้วยโพลิเมอร์ ยางพารา 13 เดือน รองหลุมด้วยโพลิเมอร์ ยางพารา 13 เดือน รองหลุมด้วยโพลิเมอร์

สำหรับต้นทุนในการใช้โพลิเมอร์ หากเทียบกับการต้องลงทุนปลูกซ่อมยางแล้วนับว่าต่ำมาก คือ 1.875 บาทต่อต้น หากท่านต้องการสอบถามเพิ่มเติม ท่านสามารถติดต่อไลฟ์รับเบอร์ได้ที่อีเมล์ rubber@live-rubber.comrubber@live-rubber.com หรือโทร 089-8701732 (นอกเวลาราชการ)

==========




 

Create Date : 23 ตุลาคม 2554
0 comments
Last Update : 23 ตุลาคม 2554 23:20:42 น.
Counter : 823 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


savingonsale
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add savingonsale's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.