Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
17 ตุลาคม 2554
 
All Blogs
 

นวัตกรรมเพิ่มผลผลิตน้ำยางพารา 3-4 เท่าต่อเดือน

นับ เป็นเวลาที่เนิ่นนาน ที่มนุษย์พยายามค้นหาวิธีในการที่จะเพิ่มผลผลิตน้ำยางพาราให้ได้มากกว่าที่ เป็นอยู่ ในที่สุดก็พบว่าในทุกครั้งที่มีการกรีดยางหรือทำให้เปลือกยางได้รับบาดแผลจน น้ำยางไหลออกมา ต้นยางก็จะสร้างฮอร์โมนพืชที่มีชื่อว่า "เอทธิลีน" ขึ้นในบริเวณเปลือกยางโดยเอทธิลีนจะมีผลต่อการไหลของน้ำยาง ในปัจจุบันจึงมีการผลิตแก๊สเอทธิลีน ซึ่งถือเป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติเหมือนฮอร์โมนพืช มาเป็นตัวการเร่งหรือกระตุ้นให้ได้น้ำยางมากขึ้นกว่าเดิม 3-10 เท่าต่อวัน หรือ 2.5-4 เท่าต่อเดือน

หากจะย้อนเวลาเพื่อดูความพยายามของผู้คนในการจะเพิ่มผลผลิตน้ำยาง ก็พอจะมีบันทึก ไว้บ้าง ดังนี้

พ.ศ. 2455 Camerun พบว่าส่วนผสมของมูลโคและดินเหนียว ทาใต้รอยกรีด จะช่วยเร่งน้ำยางได้
พ.ศ. 2494 Tixier พบว่าจุนสี หรือ CuSo4 ที่ฝังในรูที่เจาะไว้ที่โคนยาง 2 รู ทำให้ผลผลิตยางเพิ่มเป็นเวลา 3 เดือน และ G.W. Chapman พบว่า 2,4-D ผสมน้ำมันปาล์มทาใต้รอยกรีดที่ขูดเปลือก ทำให้ผลผลิตน้ำยางเพิ่มขึ้น ซึ่งต่อมาได้มีการปรับปรุงส่วนผสมใหม่ ได้เป็นสารเคมีเร่งน้ำยางสูตรใหม่ ภายใต้ชื่อ Stimulex และผลิตออกขายเป็นระยะเวลานาน
พ.ศ. 2504 พบว่า เอทธิลีนออกไซด์ ทำให้น้ำยางไหลมากขึ้น
พ.ศ. 2507 นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย ได้ผลิตสารที่ให้เอทธิลีนขึ้นมา ชื่อว่า อีเทฟอน(Ethephon) ซึ่งสามารถเร่งน้ำยางได้
พ.ศ. 2508 บริษัทยูเนียนคาร์ไบด์ ได้ผลิตสารอีเทฟอน เพื่อเชิงการค้าโดยใช้ชื่อว่า อีเทรล (Ethrel)
พ.ศ. 2511 Bonner ได้ทดลองใช้พลาสติกหุ้มเหนือรอยกรีด โดยภายในบรรจุด้วยแก๊สเอทธิลีน พบว่า ทำให้มีผลผลิตน้ำยางเพิ่มขึ้นอย่างมาก จึงได้ข้อสรุปว่า สารที่เป็นฮอร์โมนและสามารถปลดปล่อยแก๊สเอทธิลีนได้ สามารถเร่งหรือเพิ่มผลผลิตน้ำยางได้

ในปัจจุบันจึงมีสารเคมีเร่งน้ำยางที่มีคุณสมบัติเหมือนฮอร์โมนพืชอยู่ 2 ชนิด คือ ชนิดที่เป็นของเหลวที่มีชื่อว่า อีเทฟอน ซึ่งผลิตจำหน่ายในชื่อการค้า เช่น อีเทรล, อีเทค, โปรเทรล, ซีฟา และอีเทรลลาเท็กซ์ และชนิดเป็นแก๊ส คือ เอทธิลีน ซึ่งทั้ง 2 ชนิด ล้วนสลายตัวให้ เอทธิลีน แก่ต้นยางเหมือนกัน และถึงแม้จะสลายตัวให้ เอทธิลีนเหมือนกัน แต่พบว่า การใช้ อีเทฟอน จะทำให้ต้นยางเป็นโรคหน้าตายอย่างมากมาย เนื่องจากผู้ใช้มักไม่ใช่เจ้าของสวนยางเอง, ใช้ไม่ถูกต้องตามคำแนะนำและใช้ระบบกรีดไม่เหมาะสมกับการใช้สารเร่ง) ตรงกันข้ามกับการใช้แก๊สเอทธิลีนที่ไม่ส่งผลดังกล่าว(แต่ต้องใช้ตามอัตราที่ กำหนดเช่นกัน)

การอัดแก๊สเอทธิลีนแบบเลท-ไอ (LET-I)เทคโนโลยี หรือนวัตกรรมการอัดแก๊สหรือฮอร์โมนเอทธิลีนเข้าไปในเปลือกต้นยางพาราเพื่อ เพิ่มผลผลิตน้ำยางได้ก่อกำเนิดมาจาก ดร.สิวากุมาราน อดีตผู้อำนวยการโครงการวิจัยและพัฒนาของสถาบันวิจัยยางมาเลเซีย ผู้ซึ่งเล็งเห็นความสำคัญของการเพิ่มผลผลิตน้ำยาง โดยเฉพาะจากต้นยางพาราที่ปลูกมาแล้วไม่น้อยกว่า 15 ปี ซึ่งมีการกรีดยางไปแล้วทั้ง 2 หน้า และเปลือกงอกใหม่ยังบางหรือหนาไม่ถึง 1 ซม. หากกรีดซ้ำหน้าเดิมก็จะได้น้ำยางน้อย จึงได้คิดค้นเทคโนโลยีการใช้อุปกรณ์ณ์เพื่อให้สามารถอัดฮอร์โมนเอทธิลีนเข้า ไปในเปลือกยางพาราได้ ซึ่งเรียกสิ่งนี้ว่า เทคโนโลยีริมโฟลว์ (กระเปาะพลาสติก)โดยทำการกรีดยางหน้าสูงด้วยรอยกรีดสั้นเพียง 4 นิ้ว ทำให้ได้ผลผลิตน้ำยางมากอย่างน่าอัศจรรย์ เทคโนโลยีนี้ได้เริ่มทดลองใช้ในประเทศมาเลเซียเมื่อ ประมาณ 12 ปีกว่ามาแล้ว และถูกนำมาเข้ามาทดลองใช้ในประเทศไทยโดยศูนย์วิจัยยางสุราษฎร์ธานี นับเป็นเวลา 8 ปี นอกจากนี้ ในปัจจุบันเราจะพบเห็นระบบอุปกรณ์การให้ฮอร์โมนแก่ต้นยางอีกแบบหนึ่ง (กระเปาะเหล็ก)หรือแบบเลท-ไอ (LET-I) ซึ่งเป็นการดัดแปลงระบบริมโฟลว์ของมาเลเซียจนกลายมาเป็นแบบของไทยโดยห้าง หุ้นส่วนจำกัดไอ ที รับเบอร์ (อ.เบตง จ.ยะลา)

==========




 

Create Date : 17 ตุลาคม 2554
1 comments
Last Update : 17 ตุลาคม 2554 20:13:31 น.
Counter : 539 Pageviews.

 


 

โดย: andycarroll 17 ตุลาคม 2554 20:25:57 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


savingonsale
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add savingonsale's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.