กันยายน 2557

 
1
2
3
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
22
23
24
25
26
28
29
30
 
 
สามีภรรยากับการเสียภาษี

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป คู่สามี-ภรรยา สามารถแยกยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้
และเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ทางกรมสรรพากรก็ได้ออกค าชี้แจงแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการ
จัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากสามีภรรยา ใน เว็บไซต์กรมสรรพากร โดยมีเนื้อหาสรุป 
ดังนี้
กรณีที่สามีภรรยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้สามีและภรรยาต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่ยื่นรายการและเสียภาษี
เงินได้ในนามตนเอง ส่วนกรณีเงินได้พึงประเมินที่เกิดจากการท ากิจการร่วมกัน หรือที่มิได้พิสูจน์ว่า
เป็นเงินได้ของฝ่ายใด ให้ยื่นรายการและเสียภาษีในนามคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

การหักค่าลดหย่อนภาษี

การยื่นรายการของสามีหรือภรรยา กำหนดให้หักลดหย่อนได้ดังต่อไปนี้
1. สำหรับผู้มีเงินได้ 30,000 บาท
ตัวอย่างที่ 1 สามีมีเงินได้แต่ภรรยาไม่มีเงินได้ สามีสามารถหักลดหย่อนส าหรับผู้มีเงินได้ 
30,000 บาท
ตัวอย่างที่ 2 สามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีและภรรยาต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนส าหรับผู้มี
เงินได้ 30,000 บาท2
2. สำหรับสามีหรือภรรยาของผู้มีเงินได้ 30,000 บาท
ตัวอย่างที่ 3 สามีมีเงินได้แต่ภรรยาไม่มีเงินได้ สามีหักลดหย่อนภรรยา 30,000 บาท
ตัวอย่างที่ 4 สามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีและภรรยาต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนส าหรับผู้มี
เงินได้ 30,000 บาทแล้ว จึงไม่มีสิทธิหักลดหย่อนสามีหรือภรรยา
3. สำหรับบุตรและการศึกษาบุตร
(ก) กรณีสามีหรือภรรยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้หักลดหย่อนบุตร 15,000 บาท และการศึกษา
บุตร 2,000 บาท
ตัวอย่างที่ 5 สามีมีเงินได้แต่ภรรยาไม่มีเงินได้ มีบุตรด้วยกัน 1 คน สามีหักลดหย่อนบุตร 
15,000 บาท และการศึกษาบุตรอีก 2,000 บาท
(ข) กรณีสามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย และความเป็นสามีภรรยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี
ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนบุตร 15,000 บาท และการศึกษาบุตร 2,000 บาท แต่ถ้าความเป็นสามี
ภรรยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ต่างฝ่ายต่างหักได้กึ่งหนึ่ง
ตัวอย่างที่ 6 สามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย มีบุตรด้วยกัน 1 คน ถ้าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่
ตลอดปีภาษี สามีและภรรยาหักลดหย่อนบุตร 15,000 บาท และการศึกษาบุตรอีก 2,000 บาท 
(ฝ่ายละ 17,000 บาท) แต่ถ้าความเป็นสามีภรรยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี สามีและภรรยาหักได้ฝ่าย
ละ 8,500 บาท
(ก) กรณีสามีหรือภรรยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้หักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตตามจำนวนที่จ่าย
จริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท ในกรณีที่ความเป็นสามีภรรยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีให้ผู้มีเงินได้มีสิทธิ
หักเบี้ยประกันชีวิตของสามีหรือภรรยาได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
ตัวอย่างที่ 7 สามีมีเงินได้แต่ภรรยาไม่มีเงินได้ สามีจ่ายเบี้ยประกันชีวิต 10,000 บาท สามีหัก
ลดหย่อน 10,000 บาท
ตัวอย่างที่ 8 สามีมีเงินได้แต่ภรรยาไม่มีเงินได้ สามีจ่ายเบี้ยประกันชีวิต 10,000 บาท ภรรยา
จ่ายเบี้ยประกันชีวิต 10,000 บาท ถ้าความเป็นสามีภรรยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีสามีหักลดหย่อน
ส่วนของตน 10,000 บาท และส่วนของภรรยา 10,000 บาท (รวม 20,000 บาท)
แต่ถ้าความเป็นสามีภรรยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษีสามีหักลดหย่อนได้เฉพาะส่วนของตน 10,000 
บาท
(ข) กรณีสามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตส่วนของ
ตนตามจ านวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
ตัวอย่างที่ 9 สามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีจ่ายเบี้ยประกันชีวิต 10,000 บาท ภรรยาจ่าย3
เบี้ยประกันชีวิต 10,000 บาท สามีหักลดหย่อนส่วนของตน 10,000 บาท ภรรยาหักลดหย่อนส่วน
ของตน 10,000 บาท
5. สำหรับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ตัวอย่างที่ 10 สามีมีเงินได้แต่ภรรยาไม่มีเงินได้ สามีจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 
10,000 บาท สามีหักได้ 10,000 บาท
ตัวอย่างที่ 11 สามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 
10,000 บาท ภรรยาจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนส ารองเลี้ยงชีพ 10,000 บาท สามีหักลดหย่อนส่วน
ของตน 10,000 บาท ภรรยาหักลดหย่อนส่วนของตน 10,000 บาท
6. สำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืม
(ก) กรณีสามีหรือภรรยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้สามีหรือภรรยาฝ่ายที่มีเงินได้หักลดหย่อน
ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้เฉพาะส่วนของตน
ตัวอย่างที่ 12 สามีมีเงินได้แต่ภรรยาไม่มีเงินได้ สามีกู้ยืมและจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืม 10,000 
บาท ภรรยากู้ยืมและจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืม 10,000 บาท สามีหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้
เฉพาะส่วนของตน 10,000 บาท
(ข) กรณีสามีหรือภรรยามีเงินได้ฝ่ายเดียวและร่วมกันกู้ยืม ให้ผู้มีเงินได้หักลดหย่อน
ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้เต็มจ านวนตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท
ตัวอย่างที่ 13 สามีมีเงินได้แต่ภรรยาไม่มีเงินได้ ถ้าสามีภรรยาร่วมกันกู้ยืมและจ่ายดอกเบี้ยเงิน
กู้ยืมเป็นจ านวน 10,000 บาท สามีมีสิทธิหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้ทั้งจำนวน 10,000 บาท
(ค) กรณีสามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย และต่างฝ่ายต่างมีสิทธิหักลดหย่อนดอกเบี้ย
เงินกู้ยืมอยู่ก่อนแล้วต่อมาสมรสกัน ให้ต่างฝ่ายต่างยังคงหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมส่วนของ
ตนได้ตามจ านวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท ทั้งนี้ไม่ว่าความเป็นสามีภรรยาจะได้มีอยู่
ตลอดปีภาษีหรือไม่ก็ตาม
ตัวอย่างที่ 14 สามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย และมีสิทธิหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมอยู่ก่อน
แล้วฝ่ายละ 10,000 บาท ต่อมาสมรสกัน สามีและภรรยายังคงหักลดหย่อนได้ฝ่ายละ 10,000 
บาท ทั้งนี้ไม่ว่าความเป็นสามีภรรยาจะได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ก็ตาม
(ง) กรณีสามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่ายและร่วมกันกู้ยืม ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อน
ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้กึ่งหนึ่งของจ านวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันไม่เกิน 10,000 บาท ทั้งนี้ไม่ว่าความ
เป็นสามีภรรยาจะได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ก็ตาม
ตัวอย่างที่ 15 สามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย ถ้าสามีภรรยาร่วมกันกู้ยืมและได้จ่ายดอกเบี้ยเงิน
กู้ยืมเป็นจ านวน 10,000 บาท สามีหักลดหย่อนได้ 5,000 บาท ภรรยาหักลดหย่อนได้ 5,000 บาท
7. สำหรับเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม
ตัวอย่างที่ 16 สามีมีเงินได้แต่ภรรยาไม่มีเงินได้สามีหักลดหย่อนเงินสมทบกองทุน
ประกันสังคมได้ตามจ านวนที่จ่ายจริง
ตัวอย่างที่ 17 สามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีและภรรยาต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนเงินสมทบ
กองทุนประกันสังคมได้ตามจ านวนที่จ่ายจริง
8. สำหรับค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
(ก) กรณีสามีหรือภรรยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของ
ผู้มีเงินได้คนละ 30,000 บาท และบิดามารดาของสามีหรือภรรยาของผู้มีเงินได้ คนละ 30,000 
บาท
ตัวอย่างที่ 18 สามีมีเงินได้แต่ภรรยาไม่มีเงินได้ สามีอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตน สามีหัก
ลดหย่อนบิดาของตน 30,000 บาท และมารดาของตน 30,000 บาท (รวม 60,000 บาท) และถ้า
สามีได้อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของภรรยาด้วย สามีมีสิทธิหักลดหย่อนบิดาของภรรยา 30,000 
บาท และมารดาของภรรยา 30,000 บาท (รวม 120,000 บาท)
(ข) กรณีสามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดา
มารดาของตนได้คนละ 30,000 บาท

ตัวอย่างที่ 19 สามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีภรรยาต่างฝ่ายต่างอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
ของตน สามีหักลดหย่อนบิดาของตน 30,000 บาท และมารดาของตน 30,000 บาท (รวม 60,000 
บาท) ส่วนภรรยาหักลดหย่อนบิดาของตน 30,000 บาท และมารดาของตน 30,000 บาท (รวม 
60,000 บาท)
9. สำหรับค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ หรือคนทุพพลภาพ
(ก) กรณีสามีหรือภรรยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ หรือ
คนทุพพลภาพที่ผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลได้คนละ 60,000 บาท และให้หักลดหย่อนบุตรชอบด้วย
กฎหมายที่เป็นคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่สามีหรือภรรยาเป็นผู้ดูแลได้คนละ 60,000 บาท
ตัวอย่างที่ 20 สามีมีเงินได้แต่ภรรยาไม่มีเงินได้ สามีอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ หรือคนทุพพล
ภาพ 1 คน สามีหักลดหย่อนได้ 60,000 บาท
ตัวอย่างที่ 21 สามีมีเงินได้แต่ภรรยาไม่มีเงินได้ สามีอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ 
1 คน และภรรยาอุปการะเลี้ยงดูบุตรชอบด้วยกฎหมายที่เป็นคนพิการหรือทุพพลภาพ 1 คน สามี
หักลดหย่อนคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่ตนเป็นผู้ดูแลได้ 60,000 บาท และมีสิทธิหักลดหย่อน
บุตรที่ภรรยาเป็นผู้ดูแลได้ 60,000 บาท (รวม 120,000 บาท)
(ข) กรณีสามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคน
พิการหรือคนทุพพลภาพที่ตนเป็นผู้ดูแลได้คนละ 60,000 บาท
ตัวอย่างที่ 22 สามีภรรยามีเงินได้ทั้งสองฝ่าย สามีอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ 1 
คน ส่วนภรรยาอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพอีก 1 คน สามีหักลดหย่อนคนพิการหรือ
คนทุพพลภาพที่ตนเป็นผู้ดูแลได้60,000 บาท ภรรยาหักลดหย่อนคนพิการหรือคนทุพพลภาพที่
ตนเป็นผู้ดูแลได้ 60,000 บาท
อ่านรายละเอียดเพิ่มจาก
 www.rd.go.th





Create Date : 21 กันยายน 2557
Last Update : 21 กันยายน 2557 15:26:05 น.
Counter : 1990 Pageviews.

1 comments
  
มาเก็บข้อมูลครับ ขอบคุณครับ..

โดย: Tor (สมาชิกหมายเลข 756237 ) วันที่: 21 กันยายน 2557 เวลา:18:52:26 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

bungalow
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]