space
space
space
 
พฤศจิกายน 2560
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
space
space
9 พฤศจิกายน 2560
space
space
space

การปลูกอัญชันของเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น


ข้อมูลทั่วไป อัญชันดอกสีน้ำเงิน มีสารแอนโทไซยานิน (anthocyanin) คนไทยมักนำดอกอัญชันในการปรกอบอาหาร ขนม เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์เครื่องสาอางค์ หรือเป็นชาชงดื่ม “แอนโทไซยานิน” (Anthocyanin) ในดอกอัญชัน ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดีมากขึ้น เช่น ไปเลี้ยงบริเวณรากผม ซึ่งช่วยทำให้ผมดกดำ เงางาม หรือไปเลี้ยงบริเวณดวงตาจึงช่วยบำรุงสายตาไปด้วยในตัว หรือไปเลี้ยงบริเวณปลายนิ้วมือ ซึ่งก็จะช่วยแก้อาการเหน็บชาได้ด้วย และที่สำคัญสารนี้ยังมีความโดดเด่นที่ใครหลาย ๆ คนยังไม่ทราบ นั่นก็คือช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดเส้นเลือดอุดตันได้ และการ “กินดอกอัญชันทุกวัน…วันละหนึ่งดอก” จะช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดสมองตีบได้อีกด้วย อัญชัน (butterfly pea, blue pea) ชื่อวิทยาศาสตร์ Clitoria ternatea L. พืชวงศ์ถั่ว (Fabaceae) เป็นพืชล้มลุก อัญชันมีดอกทั้งสีขาวและดอกสีน้าเงิน กลีบดอกมีทั้งชนิดชั้นเดียวและดอกซ้อน มีการออกดอกเกือบตลอดปี



 


สรรพคุณของอัญชัน น้ำอัญชันมีส่วนช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย เครื่องดื่มน้ำอัญชันช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานและเพิ่มพลังงานให้ร่างกาย มีส่วนช่วยในการชะลอวัยและริ้วรอยแห่งวัย ดอกมีส่วนช่วยในการบำรุงสมอง เพิ่มการไหลเวียนเลือด มีฤทธิ์ในการละลายลิ่มเลือด ช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดสมองตีบ ดอกช่วยรักษาอาการผมร่วง คนไทยนิยมนำดอกอัญชันทาคิ้ว ทาหัว ใช้เป็นยาปลูกผม ปลูกขนช่วยให้ดกดำเงางามยิ่งขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดเส้นเลือดอุดตัน ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็งด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน อัญชันมีคุณสมบัติในการช่วยล้างสารพิษและของเสียออกจากร่างกาย ช่วยบำรุงสายตา แก้อาการตาฟาง ตาแฉะ น้ำคั้นจากดอกสดและใบสด ช่วยป้องกันโรคต้อกระจก ต้อหิน ตาเสื่อมจากโรคเบาหวาน ช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็นให้ดียิ่งขึ้น นำรากไปถูกับน้ำฝน นำมาใช้หยอดตาและหู นำมาถูฟันแก้อาการปวดฟันและทำให้ฟันแข็งแรง รากใช้เป็นยาระบาย แต่อาจทำให้คลื่นไส้อาเจียนได้ ใช้รากปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการปัสสาวะพิการ ใช้แก้อาการฟกช้ำ ช่วยป้องกันและแก้อาการเหน็บชาตามนิ้วมือนิ้วเท้า ดอกอัญชันตากแห้งสามารถนำมาชงดื่มแทนน้ำชา ดอกอัญชันนำมารับประทานเป็นผัก เช่น นำมาจิ้มน้ำพริกสด ๆ หรือนำมาชุบแป้งทอดก็ได้ น้ำดอกอัญชันนำมาใช้ทำเป็นสีผสมอาหารโดยให้สีม่วง เช่น ขนมดอกอัญชัน ข้าวดอกอัญชัน ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่าง ครีมนวดผม ยาสระผม เป็นต้น นิยมนำมาปลูกไว้ตามรั้วบ้านเพื่อความสวยงาม ดอกอัญชันนั้นมีฤทธิ์ในการละลายลิ่มเลือด สำหรับผู้มีเลือดจางห้ามรับประทานดอกอัญชันเด็ดขาด หรืออาหารเครื่องดื่มที่ย้อมสีด้วยอัญชันก็ไม่ควรรับประทานบ่อย ๆ (MedThai ,2556)


                                อัญชันและสมุนไพรของกลุ่มเกษตรกร



ผลงานวิจัย จรัญ ดิษฐไชยวงศ์ และคณะ (2560) ได้รายงานว่า อัญชันพันธุ์ที่ปลูกทั่วไป มีความแปรปรวนทางพันธุกรรม เนื่องจากในธรรมชาติมีการผสมข้าม โดยแมลง ทำให้ผลผลิต ลักษณะดอก และคุณสมบัติทางเคมีอาจไม่คงที่ ในปี 2554-2556 จึงคัดเลือกอัญชัน พันธุ์ปลูกทั่วไป ในศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร เพื่อหาพันธุ์แท้ ให้ผลผลิต จำนวนกลีบดอก และปริมาณแอนโทไซยานินสูง ได้อัญชันพันธุ์แท้ผ่านการคัดเลือก 4 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ 7-1-16, 14-2-2, 18-2-5 และ 13 ปี 2557 วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ ปลูกอัญชันพันธุ์ แท้ 4 สายพันธุ์ เปรียบเทียบกับพันธุ์ปลูกทั่วไปพบว่า สายพันธุ์ 7-1-16 ให้ผลผลิต ดอกสดสูงสุด 1,639 กิโลกรัมต่อไร่ ไม่แตกต่างกันทางสถิติกับสายพันธุ์ 13 และพันธุ์ปลูกทั่วไป ซึ่งให้ ผลผลิตดอกสดรองลงมา คือ 1,150 และ 1,144 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลาดับ สายพันธุ์ 14-2-2, 13 และ 18-2-5 ให้ปริมาณแอนโทไซยานินรวมสูงสุด 74.7, 74.0 และ 72.5 มิลลิกรัมต่อน้า หนักกลีบดอกสด 100 กรัม สูง กว่าพันธุ์ปลูกทั่วไป 12 11 และ 9 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ สายพันธุ์ 7-1-16 อายุเก็บเกี่ยวผลผลิต 34 วันแตกต่างกันทางสถิติกับสายพันธุ์ 13 และพันธุ์ปลูกทั่วไป ซึ่งมีอายุเก็บเกี่ยวหลัง ปลูก 37 และ 38 วันตามลำดับ สายพันธุ์ 7-1-16 และสายพันธุ์ 13 มีกลีบดอก 5 กลีบ ซ้อนเวียน แตกต่างกับพันธุ์ปลูก ทั่วไป ซึ่งมีกลีบดอก 4–5 กลีบซ้อน จำนกความแตกต่างทางพันธุกรรมในระดับดีเอ็นเอด้วยเทคนิค โมเลกุลเครื่องหมายพบว่า อัญชันพันธุ์แท้ทั้ง 4 สายพันธุ์ มีความใกล้ชิดทางพันธุกรรม 98-99 เปอร์เซ็นต์




เสริมสร้างความเข้มแข็ง การพัฒนาเกษตรกรและการขับเคลื่อนกิจกรรมการผลิตพืช มีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนแนวความคิด เสริมสร้างแนวทางที่จะนำไปสู่ความเข้มแข็งของกระบวนการกลุ่มและการผลิตให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ สำหรับสิ่งที่ยากที่สุดในการพัฒนาทางการเกษตร นั่นคือ การเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนแนวคิด เปลี่ยนวิถีคิด ของเกษตรกร เพื่อให้ออกจากการปฏิบัติและการทำงานแบบเดิม เพื่อให้เกิดวิธีใหม่ๆ พืชใหม่ๆ ผลผลิต ผลิตภัณฑ์ใหม่ ให้มีความแตกต่างและสามารถสร้างรายได้และเสริมสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนในระบบการผลิต ในการนี้ได้มีการเสวนากลุ่มเกษตรกรเพื่อพัฒนาการผลิต ทั้งนี้เกษตรกรกลุ่มนี้ค่อนข้างมีข้อจำกัดในเรื่องอายุ และวิถีคิดที่ยังคงเป็นแบบดั้งเดิม การพัฒนาต้องใช้ระยะเวลา อีกทั้งคนรุ่นใหม่ในพื้นที่ที่ให้ความสนใจสุมนไพรมีน้อย แม้ว่ารัฐบาลจะประกาศนโยบายสนับสนุนโครงการนี้อย่างเอิกเกริก แต่เกษตรกรก็ยังคงมีจำนวนน้อยที่มีความแน่วแน่และตั้งใจที่จะทำอย่างแท้จริง ดังนั้นการพัฒนาจึงดำเนินแบบค่อยเป็นค่อยไป




ถ่ายทอดองค์ความรู้ การผลิตอัญชันที่จะให้เกิดผลอย่างชัดเจนต้องมีกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ เกษตรกรตำบลซำจำปา อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น ได้มีโอกาสในการรับความรู้จาก ดร.จรัญ ดิษฐไชยวงศ์ ด้านพันธุ์และเทคโนโลยีการผลิตอัญชันจากนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญ และทำงานด้านปรับปรุงพันธุ์อัญชันโดยตรง โดยการบรรยายให้ความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์การผลิต การจำหน่ายผลผลิต การแปรรูและการนำไปใช้ประโยชน์ นอกจากนั้นยังมีการถ่ายทอดความรู้ด้านการขอรับรองแหล่งผลิตพืชอินทรีย์ ตามมาตรฐานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (มกษ.) รวมไปถึงความรู้ในการตรวจสอบสารพิษตกค้างในผลผลิตสมุนไพร โดยนักวิจัยจากสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3










 



ปรับใช้ในพื้นที่ จากผลการวิจัยนี้ อัญชันสายพันธุ์ 7-1-16 มีอายุเก็บเกี่ยวผลผลิตเพียง 34 วัน มีกลีบดอก 5 กลีบ ซ้อนเวียน ผลผลิตสูง แตกต่างกับพันธุ์ปลูกทั่วไป จึงได้นำอัญชันสายพันธุ์นี้จากการสนับสนุนของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร ปลูกทดสอบ ในพื้นที่กลุ่มวิสาหกิจปลูกสมุนไพรซำจำปา ดำเนินการปลูกในช่วงเดือนสิงหาคม 2560 โดยปลูกต้นที่เพาะชำในถุง อายุต้นกล้า 15-20 วัน ใช้ระยะปลูก 1x1 เมตร ปลูกในสภาพดินร่วนปนทรายมีหินลูกรังปน มีการทำค้างให้เถาของอัญชันยึดเกาะ เพื่อสะดวกในการปฏิบัติงานในแปลง ปลูกจำนวน 300-400 ต้น



การผลิตและการจำหน่ายผลผลิต หลังปลูก 7-10 วัน ใส่ปุ๋ยหมักบำรุงต้น 200-300 กรัมต่อต้น พื้นที่ปลูกสมุนไพรของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนซำจำปา มีเป้าหมายในการผลิตสมุนไพรอินทรีย์ จึงไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีในกระบวนการผลิต เมื่ออัญชันอายุ 20-25 วัน หลังปลูก อัญชันก็เริ่มออกดอก เกษตรกรเก็บผลผลิตทุก วัน ได้ผลผลิต ครั้งละ กิโลกรัม นำผลผลิตที่เก็บได้เข้าอบที่เตาอบรมร้อน ที่อุณหภูมิ 50 เซลเซียส ประมาณ 5-6 ชั่วโมง ผลผลิตสด กิโลกรัม จะได้ผลผลิตแห้ง กิโลกรัม บรรจุผลผลิตแห้งลงถุงส่งจำหน่าย จำหน่ายผลผลิตแห้งราคากิโลกรัมละ 300 บาท ลูกค้าเป็นร้านสปา ซึ่งนำอัญชันมาใช้ในร้าน เช่น เป็นชาชงดื่มสำหรับลูกค้า



แนวทางในการพัฒนาต่อ ปัจจุบันเกษตรกรกลุ่มนี้มีการปลูกและจำหน่ายสมุนไพรสด เช่น ขมิ้นชัน และไพล มีการแปรรูปสมุนไพร เช่น ลูกประคบ ขมิ้นชันแห้ง ไพลแห้ง และนำมันไพล มีการจำหน่ายลูกประคบ แต่สมุนไพรอื่นใช้ในครัวเรือน นอกจากนั้นเกษตรกรมีเป้าหมายในการทดลองปลูกอัญชันและสมุนไพรอื่น เป็นวัตถุดิบสำหรับนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม ซึ่งปัจจุบันยังอยู่ในระยะการเริ่มต้นพัฒนา ถ้าเกษตรกรมีความมุ่งมันและตั้งใจทำอย่างแท้จริงโอกาสในความสำเร็จย่อมมีความเป็นไปได้แน่นอน



ปล. ติตามผลงานเพิ่มเติมได้ที่ 

https://friendoffarmers.blogspot.com/2017/11/blog-post_6.html


เอกสารอ้างอิง


จรัญ ดิษฐไชยวงศ์  เสงี่ยม แจ่มจำรูญ สุภาภรณ์ สาชาติ  ศรีสุดา โท้ทอง มัลลิกา รักษ์ธรรม .2560. การคัดเลือกและเปรียบเทียบพันธุ์อัญชัน. ผลงานวิจัยดีเด่น กรมวิชาการเกษตร ประจำปี 2559 กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. หน้า 103-116.



MedThai .2556. อัญชัน สรรพคุณและประโยชน์ของดอกอัญชัน 30 ข้อ https://medthai.com/อัญชัน/ สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2560.



......แล้วพบกันใหม่...บทความโดย: Sarah Yanin




Create Date : 09 พฤศจิกายน 2560
Last Update : 9 พฤศจิกายน 2560 12:10:26 น. 0 comments
Counter : 7225 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

สมาชิกหมายเลข 3447888
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






space
space
[Add สมาชิกหมายเลข 3447888's blog to your web]
space
space
space
space
space