sansook
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 40 คน [?]




คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...
โค้ดนี้เป็นภาพพื้นหลังนำไปวางที่ช่อง Script Area ค่ะ https://youtu.be/K2vg5yDgVX4
Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2551
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
14 กรกฏาคม 2551
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add sansook's blog to your web]
Links
 

 
แนวข้อสอบปลัดอำเภอ ชุดที่ 3



ตะลุยโจทย์ ปลัดอำเภอ ชุดที่ 3
คำสั่ง : จงเลือกตัวเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1)การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียนท้องที่ห่างไกล อาจทำได้โดย
1.การอนุมัติของนายทะเบียนอำเภอ 2.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอนุมัติ
3.นายทะเบียนเรียกเก็บค่าธรรมเนียมรายละ 1 บาท
4.ข้อ 1. และ 3. 5.ไม่มีข้อใดถูก
2)คู่สมรสอาจขอจดทะเบียนสมรสได้หลายวิธีดังนี้
1.ยื่นคำร้องให้นายทะเบียนไปจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียน
2.การจดทะเบียนสมรส ร สถานที่สมรสซึ่งผู้อำนวยการทะเบียนอนุมัติให้มีขึ้น
3.การจดทะเบียนสมรสในท้องที่ห่างไกลโดยการอนุมัติของนายทะเบียนอำเภอ
4.ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสต่อกำนัน 5.ไม่มีข้อใดถูก
3) ผุ้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะจดทะเบียนสมรสนายทะเบียนจะจดทะเบียนให้ต่อเมื่อ
1.บุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะ 2.มีอายุต่างกันไม่เกิน 20 ปี
3.มีอายุต่างกันไม่เกิน 20 ปีและนายทะเบียนพิจารณาเห็นสมควร
4.มีอายุต่างกันไม่เกิน 25 ปี
5.นายทะเบียนไม่จดให้เพราะกฏหมายห้ามมิให้สมรสกัน
4) เมื่อได้รับจดทะเบียนสมรสหรือย่าในสำนักทะเบียน นายทะเบียนออกใบสำคัญการจดทะเบียนมอบให้ฝ่ายละฉบับ
และเรียกเก็ยค่าธรรมเนียม
1.ฝ่ายละบับ ฉบับละ 10 บาท 2.ทั้งสองฝ่ายรวมกัน 20 บาท
3.ฝ่ายละ 20 บาท 4.ฝ่ายละ 30 บาท
5.ไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม
5)เมื่อชายหญิงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย และโดยพฤติการณ์ ที่เป็นอยู่ นายทะเบียนไม่สามารถไปจดทะเบียนให้ได้และใกล้ความตาย จะทำคำร้องตามแบบก็ไม่ได้ ผู้นัน้จะต้องขอจดทะเบียนสมรสด้วยวาจาหรือกิริยากได้แต่ต้องร้องต่อบุคคลดังกล่าวข้างล่างนี้ เว้นแต่
1.นายตำรวจซึ่งมียศนายร้อยตรีขึ้นไป 2.หัวหน้าสถานีตำรวจ
3.ข้าราชการระดับ 3 ขึ้นไป 4.บุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ
5.นายเรือเมื่ออยู่ในเรือเดินทะเล
6) กำนันที่จะรับคำร้องจดทะเบียนสมรสได้ ต้องเป็นผู้ที่ได้รับอนุมัติจากบุคคลต่อไปนี้
1.นายอำเภอ 2.ผู้ว่าราชการจังหวัด
3.อธิบดีกรมการปกครอง 4.ปลัดกระทรวงมหาดไทย
5.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
7) หญิงที่สามีตายหรือการสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่นจะทำการสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไม่น้อยกว่า
1. 280 วัน 2. 380 วัน 3. 310 วัน 4. 210 วัน 5. 120 วัน
8) ตามเงื่อนไขข้อ 7 เว้นเสียแต่ว่า
1.คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น 2.สมรสกับคู่สมรสเดิม
3.มีคำสั่งศาลให้สมรสได้ 4.ถูกทุกข้อ 5.ไม่มีข้อใดถูก
9) ผู้เยาว์จะทำการสมรสแต่ไม่มีผู้มีอำนาจให้ความยินยอมจะทำสมรสได้ผหรือไม่
1.ได้โดยร้องขอต่อศาล 2.ไม่ได้
3.ได้โดยร้องขอต่อนายอำเภอ 4.ได้โดยร้องขอต่อผุ้ว่าราชการจังหวัด
5.ถูกทุกข้อ
10) การให้ความยินยอมกระทำได้
1.ลงรายมื่อในทะเบียนขณะจดสมรส 2.ทำเป็นหนังสือแสดงความยินยอม
3.ยินยอมด้วยวาจาต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน
4.ถูกทุกข้อ 5.ไม่มีข้อใดถูกด
11) การจดทะเบียนสมรสจะต้องเป็นสำนักทะเบียนที่คู่สมรสมีภูมิลำเนาอยู่หรือไม่
1.ตามภูมิลำเนาฝ่ายหยิง 2.ตามภูมิลำเนาฝ่ายชาย
3.ตามภูมิลำเนาฝ่ายชายหรือหญิง 4.จด ณ สำนักทะเบียนใดก็ได้
5.ข้อ 1. และ 2. ถูก
12) การยื่นคำร้องให้นายทะเบียนไปจดนอกสำนักทะเบียน เช่น ภูมิลำเนาอยุ่เขตพระโขนง ให้นายอำเภอไปจดทะเบียนเขตบางกะปิได้หรือไม่
1.ไม่ได้ 2.ได้ 3.แล้วแต่ภูมิลำเนาของผู้จดอยู่ที่ใหน
4.ต้องขออนุญาตผู้ว่าราชการจังหวัด 5.ไม่มีข้อใดถูก
13) กรรีที่คนต่างด้าวเข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฏหมาย ร้องขอจดทะเบียนสมรสด้วยกัน สถานทูตต่างประเทศตามสัญชาติของตน ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทยดังนี้
1.การสมรสนั้นถีอว่าสมบูรณ์ตามกฏหมายไทย
2.กฏหมายไทยไม่ยอมรับความถูกต้องแห่งการสมรสนั้น
3.ถ้าต้องการให้สมรสนั้นแปลเป็นภาษาไทยโดยมีคำรับรองถูกต้องจากกกระทรวง
4.ถ้าสถานทูตนั้นมีสัมพันธภาพกับประเทสไทย การสมรสนั้นย่อมมีผลบังคับตาม
5.ไม่มีข้อใดถูกต้อง
14) การจดทะเบียนสมรสจะยื่นคำร้องขอจดทะเบียนต่อกำนันได้หรือไม่
1.ได้ในกรณีที่ท้องที่ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศยอมให้ยื่นคำร้องต่อกำนันท้องที่ได้
2.ไม่ได้ 2.ได้โดยรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยกำหนด
4.กำนันรับจดทะเบียนสมรสได้ 5.ไม่มีข้อใดถูก
15) กำนันมีหน้าที่จดทะเบียนสมรสได้หรือไม่
1.ได้ นับแต่วันที่กำหนดคำร้อง 2.ไม่ได้เพียงมีหน้าที่รับคำร้องส่งอำเภอ
3.ได้นับแต่วันที่เป็นสามีภรรยากัน 4.ไม่ได้ต้องไปที่อำเภอ 5.ไม่มีข้อใดถูก
16) การสิ้นสุดแห่งการสมรส คือ
1.ตาย 2.หย่า 3.ศาลพิพากษาให้เพิกถอน
4.ถูกทุกข้อ 5.ไม่มีข้อใดถูก
17) กรณีหากปรากฏภายหลังว่าการสมรสนั้นมิได้เป็นไปตามเงื่อนไข นายทะเบียนจะดำเนินการอย่างไร
1.นายทะเบียนไม่มีอำนาจเพิกถอนทะเบียนสมรส 2.นายทะเบียนสั่งยกเลิก
3.ทั้งสองฝ่ายต้องตกลงกันว่านายทะเบียนยกเลิก 4.ถูกทุกข้อ
5.ไม่มีข้อใดถูก
18) ชายหญิงที่จะจดทะเบียนสมรสแล้วจะขาดจากการสมรสหรือสิ้นสุดลงด้วยเหตุต่อไปนี้
1.ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ 2.ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตาย
3.ฝ่ายใดฝ่ายหรึ่งถูกศาลสั่งเป็นบุคคลล้มละลาย 4.ถูกทุกข้อ
5.ไม่มีข้อใดถูก
19) การหย่ากระทำได้กี่วิธี
1. 2 วิธี 2. 3 วิธี 3. 4 วิธี 4. 5 วิธี 5.ไม่มีข้อใดถูก
20) ชายหญิงที่ได้จดทะเบียนสมรสแล้วจะขาดจากการสมรสหรือการสมรสสิ้นสุดลงด้วยเหตุใดบ้าง
1.ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่กรรม 2.ได้จดทะเบียนการหย่าแล้ว
3.ศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรส 4.ถูกทุกข้อ
5.ไม่มีข้อใดถูก
21) การหย่าโดยความยินยอม คู่สมรสจะต้องนำหลักฐานดังต่อไปนี้ไปแสดงต่อนายทะเบียน นายทะเบียนจึงจะรับจดทะเบียนให้
1.ใบสำคัญการสมรส 2.บัตรประจำตัวประชาชน
3.หนังสือข้อตกลงการหย่าซึ่งมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย 2 คน
4.ข้อ 1. และ 3. 5.ไม่มีข้อใดถูก
22) เกี่ยวกับการจดทะเบียนหย่าข้อใดถูก
1.การหย่าอาจกระทำได้ 2 วี 2.อาจจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียนได้
3.ถ้าสามีภรรยาไม่ยินยอมหย่า อาจหย่าได้โดยคำพิพากษาของศาล
4.การหย่าโดยความยินยอมให้บิดาเป้นผู้ปกครองบุตร
5.การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล ให้ฝ่ายชนะเป็นผู้ปกครองบุตร
23) นายทะเบียนจะรับจดทะเบียนหย่าโดยไม่มีหนังสือมาแสดงได้หรือไม่
1.ได้ 2.เป็นอำนาจของนายอำเภอ 3.ไม่ได้
4.ไม่ได้เว้นแต่ผู้ว่าราชการจังหวัดอนุญาต 5.ไม่มีข้อใดถูก
24) เมื่อคู่สมรสจดทะเบียนหย่าแล้วต่อมาภายหลังมีความประสงค์จะให้นายทะเบียนบันทึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับทรัพย์สินให้นายทะเบียน
1.บันทึกในทะเบียนสมรส ค.ร. 2
2.บันทึกในสำเนาทะเบียนสมรส ค.ร. 5 ที่เก็บไว้สำนักทะเบียนกลาง
3.บันทึกในทะเบียนหย่า 4.บันทึกในสำเนาทะเบียนหย่า
5.ไม่บันทึกให้
25) ในหนังสือหย่าต้องมีรายการ คือ
1.การเลี้ยงดูบุตร 2.การปกครอง
3.ทรัพย์สิน 4.ถูกทุกข้อ 5.ไม่มีข้อใดถูก
26) สาเหตุฟ้องหย่า
1.ภริยามีชู้ 2.ทุพพลภาพไม่อาจร่วมประเวณี
3.ถูกศาลสั่งเป็นคนสาบสูญ 4.ถูกทุกข้อ 5.ไม่มีข้อใดถูก
27) สามีภรรยาที่สมรสก่อนใช้ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับ 5 การหย่าดำเนินการโดย
1.ไม่ต้องจดทะเบียน 2.จดได้ถ้าประสงค์จะจด
3.ต้องจดทะเบียนสมรสก่อน 4.ถูกทั้ 1. และ 2. 5.ไม่มีข้อใดถูก
28) ข้อความใดต่อไปนี้ ข้อใดไม่ถูกต้อง
1.การหย่าจะต้องให้ทั้งสองฝ่ายทำหนังสือยินยอมในการหย่าซึ่งมีพยานอย่างน้อย 2 คนไปแสดงด้วย
2.การจดทะเบียนหย่าต้องเสียค่าธรรมเนียม 2 บาท
3.การหย่าจะไปจจดทะเบียนหย่า ณ สำนักทะเบียนอำเภอใดก็ได้
4.ในกรณีคู่หย่าอยู่คนละท้องที่ ก็สามารถจดทะเบียนหย่าต่างสำนักทะเบียนได้
5.สามีจงใจละทิ้งภรรยาเกิน 1 ปี ฟ้องหย่าได้
29) เกณฑ์รับบุตรบุญธรรมตามกฏหมายเป็นดังนี้
1.ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะ และมีอายุมากกว่าบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี
2.ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และมีอายุมากกว่าบุตรบุญธรรม 15 ปี
3.ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีและมีอายุมากกว่าบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี
4.ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะและบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่เกิน 15 ปี
5.ไม่มีข้อใดถูก
30) ในกรณีที่ผู้เป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ผู้รับบุตรบุญธรรมจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม พ.ศ. 2522 ในต่างจังหวัดให้ยื่นเรื่องและขออนุมัติจาก
1.ผู้ว่าราชการจังหวัด 2.นายอำเภอ
3.นายทะเบียนอำเภอ 4.นายทะเบียนท้องที่ 5.ถูกทุกข้อ
31) ผลที่เกิดจากการรับบุตรบุญธรรม คือ
1.ผู้เป็นบุตรบุญธรรมมีสิทธิ์รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม
2.บิดามารดาโยกำเนิดหมดอำนาจปกครอง
3.ผู้เป็นบุตรบุญธรรมมีสิทธิ์รับมรดกบุตรบุญธรรม
4.ข้อ 1. และ 3. 5.ถูกทุกข้อ
32) การเลิกรับบุตรบุญธรรมดำเนินการโดย
1.จดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมโดยความยินยอมทั้งสองฝ่าย 2.คำพิพากษาของศาล
3.ไม่อาจยกเลิก 4.ข้อ 1 และ 2. 5.ถูกทุกข้อ
33) นายกฤติน อายุ 35 ปี มีภรรยาแล้ว มาขอจดทะเบียนรับ น.ส. จิรวรรณ อายุ 22 ปี เป็นบุตรบุญธรรม ถ้าท่านเป็นเจ้าหน้าที่จะดำเนินการตามข้อใดจึงจะถูกต้องที่สุด
1.รับจดทะเบียนบุตรบุญธรรมให้ 2.ให้ภรรยานายกฤตินแสดงความยินยอมก่อน
3.ต้องให้บิดามารดาของ น.ส. จิรวรรณยินยอมก่อนจึงจะจดทะเบียนให้
4.ข้อ 1 และ 2. 5.จดทะเบียนให้ไม่ได้เพราะขัดหลักเกณฑ์
34) การเลิกรับบุตรบุญธรรมทำได้กี่วิธี
1. 2 วิธี 2. 3 วิธี 3. 4 วิธี 4. 5 วิธี 5.ไม่มีข้อใดถูก
35) ในการจดทะเบียนเลิกการรับบุตรบุญธรรมคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรมซึ่งมิได้เป็นผู้รับบุตรบุญธรรมด้วยสามารถร้องขอจดทะเบียนเลิกการรับบุตรบุญธรรมได้หรือไม่
1.ไม่สามารถร้องขอจดทะเบียนเลิกการรับบุตรบุญธรรมได้
2. ถ้าคู่สมรสซึ่งเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมให้ความยินยอม
3.ร้องขอจดทะเบียนเลิกการรับบุตรบุญธรรมได้ กรณีที่คู่สมรสถึงแก่กรรม
4.ข้อ 2.และ 3. 5.ไม่มีข้อใดถูก
36) กรณีผู้เป็นบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะแล้ว จะเลิกรับบุตรโดยความตกลงระหว่างผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมได้หรือไม่
1.ได้ 2.ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาผู้ให้กำเนิด
3.ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครอง 4.ข้อ 1.และ 2. 5.ไม่มีข้อใดถูก
37) บุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่เป็นสามีภรรยากันโดยไม่จดทะเบียนสมรสมีฐานะเป็นที่ชอบด้วยกฏหมายของใคร
1.เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฏหมายของบิดาแต่ฝ่ายเดียว
2.เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฏหมายของมารดาแต่ฝ่ายเดียว
3.เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฏหมายของของทั้งบิดาและมารดา
4.ไม่เป็นบุตรที่ชอบด้วยกฏหมายของของทั้งบิดาและมารดา 5.ไม่มีข้อใดถูก
38) บุตรที่ไม่ชอบด้วยกฏหมายของบิดาจะเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฏหมายของบิดาก็ต่อเมื่อ
1.เมื่อบิดามารดาได้สมรสกันถูกต้องตามกฏหมาย 2.เมื่อบิดาได้จดทะเบียนรับรองบุตร
3.เมื่อศาลได้พิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรโดยชอบกฏหมายของบิดา
4.ถูกทุกข้อ 5.ไม่มีข้อใดถูก
39) ผู้ใดเป็นผู้รับรองขอจดทะเบียนรับรองบุตรจากนายทะเบียน
1.มารดา 2.บิดา 3.ผู้ปกครอง 4.ตัวบุตรเอง 5.ไม่มีข้อใดถูก
40) การฟ้องคดีให้รับเป็นบุตรมีสาเหตุการฟ้อง ดังนี้
1.เมื่อมีเอกสารของบิดาแสดงว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของตน
2.เมื่อมีพฤติการณ์ที่เป็นที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตร
3.เมื่อปรากฏในทะเบียนคนเกิดว่าบุคคลนั้นเป็นบิดา
4.ถูกทุกข้อ 5.ไม่มีข้อใดถูก
41) กรณีที่ผู้ร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตรนไม่อาจนำมารดาของบุตรมาให้ความยินยอมได้ดดยอ้างว่า หาตัวไม่พบหรือไม่ทราบที่อยุ่ เช่นนี้ นายทะเบียนจะต้องดำเนินการอย่างไร
1.ไม่รับจดทะเบียน 2.ให้นายทะเบียนส่งหนังสือตามแบบ คร. 10 ไปให้บุตรและมารดาบุตร
3.ให้ผู้ร้องขอประกาศตามหนังสือพิมพ์ภายในกำหนดเวลาที่กฏหมายบัญญัติไว้โดยเสียค่าใช้จ่ายเอง
4.ข้อ 2.และ 3. 5.ไม่มีข้อใดถูก
42) ในกรณีที่ผู้ร้องขอจดทะเบียนรับรองบุตรไม่อาจนำมารดาของเด็กหรือเด็กมาให้ความยินยอมได้ ให้นายทะเบียนแจ้งการขอจดทะเบียนไปยังเด็กและมารดาเด็กภายในกำหนด
1. 60 วัน 2. 50 วัน 3. 40 วัน 4. 30 วัน 5. 20 วัน
43) ในกรณีข้างต้นถ้าบุตรหรือมารดาอยุ่นอกประเทสระยะเวลาประกาศขยายเป็น
1. 60 วัน 2. 120 วัน 3. 180 วัน 4. 360 วัน 5.ไม่มีข้อใดถูก
44) เมื่อมีการจดทะเบียนรับรองบุตรแล้วจะถอนได้หรือไม่
1.ถอนไม่ได้ 2.บุตรร้องขอ 3.มารดาร้องขอ 4.บิดาร้องขอ 5.ข้อ 1.และ 2.
45) การจดทะเบียนรับรองบุตรนอกสำนักทะเบียนโดยผู้ว่าราชการจังหวัดอนุมัติเรียกเก็บค่าธรรมเนียมรายละ
1. 1 บาท 2. 2 บาท 3. 5 บาท 4. 10 บาท 5. 15 บาท
46) การจดทะเบียนรับราองบุตรนอกสำนักทะเบียนท้องที่ห่างไกลเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือไม่
1.ไม่เรียกเก็บ 2.เรียกเก็บ 10 บาท 3.เรียกเก็บ 1 บาท
4.นายอำเภอเนอ ผุ้ว่าราชการจังหวัด ยกเว้นค่ะรรมเนียมได้ 5.ไม่มีข้อใดถูก
47) การบันทึกฐานะของภริยาบุคคลที่จะต้องขอให้บันทึกได้ต้องเป็นสามีภรรยาซึ่งสมรสกัน ดังนี้
1.ก่อนการใช้ พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2499 2.ก่อนการใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5
3.ตาม พ.ร.บ. ทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2522 4.ตาม พ.ร.บ. จดทะเบียนครอบครัวพ.ศ. 2478
5.ไม่มีข้อใดถูก
48) การบันทึกฐานะภริยาให้บันทึกได้
1.เฉพาะภริยาหลวง 2.ภริยาหลวงและภริยาน้อย 1 คน
3.ภริยาหลวงและภริยาน้อย 2 คน 4.ภริยาหลวงและภริยาน้อยไม่จำกัดจำนวน
5.ภริยาหลวงและภริยาน้อยเฉพาะผู้มายื่นคำร้อง
49) เหตุที่มีการบันทึกฐานะของภริยาน้อยเนื่องจาก
1.มีการสมรสกันก่อนใช้ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5
2.ใช้สำหรับผู้นับถือศาสนาอิสลาม
3.ใช้เฉพาะผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามเฉพาะใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้
4.ข้อ 1.และ 2. 5.ข้อ 2 และ 3.
50) การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย
1.ภาค จังหวัด อำเภอ 2.จังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ
3.จังหวัด อำเภอ 4.จังหวัด อำเภอ กิ่งอำเภอ ตำบล กรุงเทพ
5.จังหวัด เทศบาล อำเภอ สุขาภิบาล
51) นายอำเภอสังกัดส่วนราชการใด
1.กรมการปกครอง 2.กรมประชาสงเคราะห์
3.กรมการพัฒนาชุมขน 4.สำนักนายกรัฐมนตรี 5.กระทรวงมหาดไทย
52) การตั้ง ยุบ เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอต้องตามเป็นกฏหมายลำดับใด
1.พระราชบัญญัติ 2.พระราชกำหนด
3.พระราชกฤษฎีกา 4.กฏกระทรวง 5.ประกาศะทรวงมหาดไทย
53) ใครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานจังหวัด
1.ผู้ว่าราชการจังหวัด 2.รองผู้ว่าราชการจังหวัด
3.ปลัดอำเภอ 4.หัวหน้าสำนักงานจังหวัด 5.จ่าจังหวัด
54) การตั้ง ยุบ เปลี่ยนแปลงเขตตังหวัดต้องตราเป็นกฏหมายลำดับใด
1.พระราชบัญญัติ 2.พระราชกำหนด
3.พระราชกฤษฎีกา 4.กฏกระทรวง 5.ประกาศะทรวงมหาดไทย
55) ส่วนราชการใดต่อไปนี้ที่ไม่ใช่ส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีกระทรวง หรือ ทบวง
1.ราชบัณฑิตยสถาน 2.สำนักพระราชวัง
3.สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน 4.สำนักงานอัยการสูงสุด 5.ผิดหมดทุกข้อ
56) ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้ปฏิบัติราชการแทนได้ยกเว้นตำแหน่งใด
1.หัวหน้าส่วนาราชการจังหวัด 2.นายอำเภอ
3.ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ 4.ปลัดอำเภอ
5.หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ

57) ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอไม่อาจปฏิบัติราชการได้ นายอำเภอมีอำนาจแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้
เป็นผู้รักษาราชการแทนได้ยกเว้นตำแหน่งใด
1.ปลัดอำเภอ 2.ไม้อำเภอ
3.ศึกษาธิการอำเภอ 4.สมุห์บัญชีอำเภอ
5.ผู้ช่วยนายทะเบียนอำเภอ(เจ้าพนักงานปกครอง6)
58) ใครเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบสำนักงานอำเภอ
1.นายอำเภอ 2.ปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายปกครองและพัฒนา
3.ปลัดอำเภองานสำนักงานอำเภอ 4.ปลัดอำเภองานปกครอง
5.ปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายกิจการพิเศษ
59) ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันการมอบอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งให้กับผู้ดำรงตำแหน่งรองลงมาปฏิบัติราชการแทนต้องทำอย่างไร
1.เสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติ 2.ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
3.ทำเป็นหนังสือ 4.ทำเป็นหนังสือและประกาศในราชกิจจานุเบกษา
5.มอบหมายด้วยวาจา
60)ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของการปกครองท้องถิ่น
1.มีฐานะเป็นนิติบุคคล 2.มีการเลือกตั้งผู้บริหารหรืองค์กรท้องถิ่น
3.มีงบประมาณของตนเอง 4.อยู่ในความควบคุมดูแลของรัฐ 5.ผิดทุกข้อ
61) สมาชิกสภาเมืองพัทยามีกี่คน
1. 13 คน 2. 14 คน 3. 15. คน 4. 16 คน 5. 17 คน
62) จังหวัดใดที่มีราษฎรเกินกว่า 1,000,000 (หนึ่งล้านคน) มีสมาชิกสภาจังหวัดได้กี่คน
1. 18 คน 2. 24 คน 3. 30 คน 4. 36 คน 5. 40 คน
63) คระกรรมการหมู่บ้านผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี
1. 4 ปี 2. 5 ปี 3. 6 ปี 4. 7 ปี 5. 8 ปี
64) แนวคิดใดเป็นพื้นฐานของการปกครองท้องถิ่น
1.Centralization 2.Deconcentration
3.Decentralization 4.Public Administration 5.Local Self – Government
65) แนวคิดใดเป็นพื้นฐานของการปกครองส่วนภูมอภาค
1.Centralization 2.Deconcentration
3.Decentralization 4.Public Administration 5.Local Self – Government
66) ผู้ใดดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัด
1.ประธานสภาจังหวัด 2.ปลัดจังหวัด
3.นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 4.เลขานุการจังหวัด
5.สมาชิกสภาจังหวัดที่ได้รับเลือกตั้งจากสภาจังหวัด
67) สุขาภิบาลใดได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย
1.สุขาภิบาลท่าฉลอม 2.สุขาภิบาลพระประแดง
3.สุขาภิบาลกรุงเทพฯ 4.สุขาภิบาลกระทุ่มแบน 5.สุขาภิบาลปากเกร็ด

68) สุขาภิบาลที่มีรายได้จริง(ไม่รวมเงินอุดหนุน)จำนวนเท่าใดที่ประธานกรรมการสุขาภิบาลจะมาจากการเลือกตั้ง
1. 1 ล้านบาท 2. 2 ล้านบาท 3. 3 ล้านบาท
4. 4 ล้านบาท 5. 5 ล้านบาท
69) หลักการปกครองประเทศข้อใดที่เป็นที่มาของการบริหารราชการส่วนภูมิภาคของไทย
1.หลักการกระจายอำนาจ 2.หลักการรวมอำนาจ
3.หลักการแบ่งอำนาจ 4.หลักการมอบอำนาจ
5.หลักการรวมและการมอบอำนาจ
70) การบริหารราชการส่วนกลาง หมายถึง
1.กระทรวง ทบวง กรม 2.กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ
3.กระทรวง ทบวง กรม กรุงเทพมหานคร 4.กระทรวง กรม รัฐวิสาหกิจ
5.กระทรวง กรม กรุงเทพมหานคร
71) การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นของไทยในปัจจุบันมี
1. 2 รูป 2. 4 รูป 3. 5 รูป 4. 6 รูป 5. 7 รูป
72) ในปัจจุบันประเทศไทยมีกระทรวง จำนวนเท่าไหร่
1. 11 กระทรวง 1 สำนักนายกรัฐมนตรี 2. 12 กระทรวง 1 สำนักนายกรัฐมนตรี
3. 19 กระทรวง 1 สำนักนายกรัฐมนตรี 4. 14 กระทรวง 1 สำนักนายกรัฐมนตรี
5. 15 กระทรวง 1 สำนักนายกรัฐมนตรี
73) หน่วยงานปกครองท้องถิ่นใดเกิด ขึ้น ก่อนหลังเรียงตามลำดับ
1.เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด กทม. เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนตำบล
2.เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด เมืองพัทยา กทม องค์การบริหารส่วนตำบล
3.สุขาภิบาล เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด เมืองพัทยา กทม องค์การบริหารส่วนตำบล
4.สุขาภิบาล เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด กทม. เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนตำบล
5.ไม่มีข้อใดถูก
74) ข้อใดไม่จัดอยู่ในระเบียบบริหารราชการของกระทรวง ตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหาราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
1.สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี 2.สำนักงานปลัดกระทรวง
3.กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น 4.กองหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น
5.ไม่มีข้อใดถูก
75) หน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปใด มีพื้นที่ครอบครุมพื้นที่ประเทศมากที่สุด
1.สุขาภิบาล 2.เทศบาล
3.องค์การบริหารส่วนจังหวัด 4.เมืองพัทยา 5.กรุงเทพมหานคร
76) องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ
1.สภาจังหวัด และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด 2.สภาจังหวัด และผู้ว่าราชการจังหวัด
3.สภาจังหวัด และปลัดจังหวัด 4.สภาจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ 5.ผู้ว่าราชการจังหวัด และประธานสภาจังหวัด
77) คระกรรมการสุขาภิบาลทำหน้าที่
1.ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร 2.ฝ่ายบริหารแต่ประการเดียว
3.ฝ่ายนิติบัญญัติแต่ประการเดียว 4.ฝ่ายปกครองและฝ่ายนิติบัญญัติ 5.ไม่มีข้อใดถูก
78) ข้อใดไม่ได้เป็นคณะกรรมการสุขาภิบาล
1.นายอำเภอ 2.ผู้ที่ราษฎรเลือกตั้งจำนวน 9 คน
3.กำนันทุกตำบลในเขตสุขาภิบาล 4.ผู้ใหญ่บ้านในเขตสุขาภิบาล
5.ปลัดอำเภอที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง 1 คน
79) การแบ่งส่วนราชการของจังหวัด แบ่งเป็น
1.คณะกรรมการจังหวัดและสำนักงานจังหวัด
2.สำนักงานจังหวัดและส่วนราชการประจำจังหวัด
3.คณะกรรมการจังหวัดและส่วนราชการประจำจังหวัด
4.สำนักงานจังหวัด ส่วนราชการประจำจังหวัดและอำเภอต่างๆ
5.คณะกรรมการจังหวัด สำนักงานจังหวัดและส่วนราชการประจำจังหวัด
80) ข้อใดไม่ถูกต้อง
1.อำเภอมีฐานะเป็นนิติบุคคล 2.การจัดตั้งอำเภอตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
3.อำเภอเป็นหน่วยราชการส่วนภูมิภาค
4.การตั้งอำเภอต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด
5.อำเภอแบ่งส่วนราชการเป็นสำนักงานอำเภอและส่วนราชการประจำอำเภอ
81) ข้อใดไม่ใช่คณะกรรมการสภาตำบล
1.ผู้ใหญ่บ้านในเขตตำบล 2.แพทย์ประจำตำบล
2.สารวัตรกำนัน 4.ผู้ทรงคุณวุฒิจากการเลือกตั้งของราษฎรในหมู่บ้านหมู่บ้านละ 1 คน
5.กำนัน
82)สมาชิกสภาเทศบาลตำบล เมือง และนครมีสมาชิกจำนวน
1. 10, 16, 22 2. 12, 16, 20
3. 12, 18, 24 4. 18, 24, 30 5. 24, 30, 36
83) หน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปใดที่มีลักษณะการจัดองค์ประกอบต่างจากข้ออื่น
1.กรุงเทพมหานคร 2.เทศบาล
3.องคืการบริหารส่วนจังหวัด 3.สุขาภิบาล 5.ไม่มีข้อใดถูกต้อง
84) ในประเทศที่มีปัญหาความมั่นคงควรใช้หลักการปกครองใด
1.รวมอำนาจ 2.กระจายอำนาจ
3.แบ่งอำนาจ 4.มอบอำนาจ 5.รวมและกระจายอำนาจ
85) องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจในการออก
1.ข้อบังคับจังหวัด 2.ข้อบัญญัติจังหวัด
3.ระเบียบจังหวัด 4.กฏจังหวัด 5.เทศบัญญัติจังหวัด
86) วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งเมืองพัทยา คือ
1.การปกครองสุขาภิบาลเดิมไม่เหมาะกับระดับความเจริญของเมืองพัทยา
2.แก้ปัญหาผังเมือง 3.ส่งเสริมการท่องเที่ยว
4.แก้ปัญหาการควบคุมอาคารและการสาธาณูปโภค 5.ถูกทุกข้อ
87) เทศบาลนคร มีนายกเทศมนตรีและเทศมนตรีรวม
1. 1 คน 2. 3 คน 3. 4 คน 4. 5 คน 5. 6 คน
88) การทะเบียนครอบครัวหมายถึง
1.การทะเบียนที่บันทึกรับรองถึงความ สัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัว
2.การทะเบียนที่บันทึกรับรองสิทธิที่ได้รับตามกฏหมายระหว่างสามีภรรยา
3.การทะเบียนที่บันทึกรับรองสิทธิที่ได้รับตามกฏหมายระหว่างบิดามารดากับบุตร
4.ข้อ 1. และ 3. 5.ไม่มีข้อใดถูก
89) การปฏิบัติงานด้านทะเบียนครอบครัวในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐจำเป็ต้องยึดหลัก
1.กฏหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 2.นโยบายของกระทรวงมหาดไทย
3.พ.ร.บ. จดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 4.ถูกทุกข้อ 5.ไม่มีข้อใดถูก
90) ทะเบียนครอบครัว แบ่งออกเป็น
1. 7 ประเภท 2. 10 ประเภท
3. 12 ประเภท 4. 13 ประเภท 5.ไม่มีข้อใดถูก
91) ข้อใดไม่ใช่ทะเบียนครอบครัว
1.ทะเบียนการสมรส 2.ทะเบียนการรับรองบุตรบุญธรรม
3.ทะเบียนชื่อบุคคล 4.ทะเบียนฐานะของภริยา 5.ไม่มีข้อใดถูก
92) การจดทะเบียนใดต่อไปนี้เป็นการจดทะเบียนครอบครัว
1.ทะเบียนรับรองบุตรและการแก้ไขสัญชาติ 2.ทะเบียนรับรองบุตรบุญะรรมและการแก้ไขสัญชาติ
3.การบันทึกฐานะภรรยาและการแก้ไขชื่อสกุล 4.ทะเบียนรับรองบุตรและทะเบียนหย่า
5.ไม่มีข้อใดถูก
93) บุคคลที่จะเป็นพยานตาม พ.ร.บ. จดทะเบียนครอบครัวได้ คือ
1.บุคคลที่หูหนวก 2.บุคคลที่เป็นใบ้
3.บุคคลจักษุบอดทั้งสองข้าง 4.บุคคลที่แขนขาดทั้สองข้าง
5.บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
94) การยื่นคำร้องขอให้นายทะเบียนนอกสำนัก ข้อใดถูก
1.ยื่นคำร้องที่สำนักทะบียนตำบลนั้น
2.ต้องเสียค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนและค่าพาหนะ 250 บาท
3.ผู้ร้องต้องจ่ายเงินค่าพาหนะให้แก่นายทะเบียนเท่าที่จ่ายจริง
4.ข้อ 1.ละ 2. 5.ไม่มีข้อใดถูก
95) การสมรสที่สมบูรณ์ของกฏหมายจะต้อง
1.ได้มีการจดทะเบียนการสมรส 2.คู่สมรสทั้งสองได้แสดงความยินดีที่จะสมรสกัน
3.คู่สมรสทั้งสองมีคุณสมบัติครบตามเงื่อนไขแห่งการสมรส
4.ถูกทุกข้อ 5.ไม่มีข้อใดถูก
96) การจดทะเบียนการสมรสนอกสำนักทะเบียนในท้องที่ห่างไกล สำนักทะเบียนจะนำเนินการได้ต่อเมื่อ
1.นายทะเบียนอนุมัติให้ดำเนินการได้
2.ผู้ว่าราชการจังการจังหวัดประกาศอนุมัติให้นายทะเบียนออกไปดำเนินการได้
3.อำเภอออกโครงการบริการอำเภอเคลื่อนที่
4.นายทะเบียนกลางอนุมัติให้ดำเนินการได้
5.ไม่มีข้อใดถูก
97) ชายหญิงที่ไม่บรรลุนิติภาวะ จะสมรสกันได้ต้องได้รับความยินยอมจาก
1.บิดามารดาในกรณีที่มีบิดามารดา
2.บิดามารดา ในกรณีที่บิดาหรือมารดาตายหรือถูกถอนอำนาจการปกครอง
3.ผู้ปกครองในกรณีที่บิดาและมารดาเป็นบุคคลไร้ความสามารถ
4.ผู้ปกครองในกรณีที่บิดาและมารดาเป็นบุคคลล้มละลาย 5.ถูกทุกข้อ
98 )การร้องขอจดทะเบียนสมรส คู่สมรสอาจดำเนินการได้กี่วิธี
1. 7 วิธี 2. 6 วิธี 3. 5 วิธี 4. 4 วี 5.ไม่มีข้อใดถูก
99) การยื่นคำร้องขอให้นายทะเบียนไปจดทะเบียนนอกสำนักทะเบียน หลักเกณฑ์ข้อใดถูกต้อง
1.ยื่นคำร้องแจ้งความประสงค์ ณ สำนักทะเบียนตำบล 2.ยื่นคำร้องที้สำนักทะเบียนตำบลใดก็ได้
3.เสียค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนรวมทั้งค่าพาหนะนายทะเบียน 250 บาท
4.ผู้ร้องต้องจ่ายค่าพาหนะให้กับนายทะเบียนตามที่จ่ายจริง
5.ไม่มีข้อใดถูกต้อง
100) สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา มีอำนาจเลือกสมาชิกของแต่ละสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการสามัญและมีอำนาจเลือกบุคคลผู้เป็นสมาชิกหรือมิได้เป็นสมาชิก ตั้งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อกระทำกิจการพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใดๆอันอยุ่ในอำนาจหน้าที่ของสภาแล้วรายงานต่อสภา มติตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญดังกล่าว ต้องระบุกิจการหรือเรื่องอย่างไร
1.ไม่ซ้ำหรือซ้อนกัน 2.เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจ
3.เป็นเรื่องที่ทันเหตุการณ์ 4.ถูกทุกข้อ 5.ไม่มีข้อใดถูกต้อง
เฉลยชุดที่ 3
1. 5 2. 1 3. 5 4. 5 5. 4
6. 5 7. 3 8. 4 9. 1 10. 4
11. 5 12. 1 13. 5 14. 5 15. 4
16. 5 17. 3 18. 4 19. 1 20. 4
21. 4 22. 2 23. 3 24.. 5 25. 4
26. 4 27. 4 28. 2 29. 3 30. 1
31. 4 32. 4 33. 5 34. 1 35. 1
36. 1 37. 2 38.- 39. 2 40. 4
41. 2 42. 1 43. 3 44. 1 45. 1
46. 2 47. 2 48. 5 49. 1 50. 3
51. 5 52. 3 53. 4 54. 1 55. 5
56. 4 57. 5 58. 1 59. 3 60. 5
61. 5 62. 4 63. 2 64. 3 65. 2
66. 3 67. 3 68. 5 69. 3 70. 1
71. 4 72. 3 73. 4 74. 4 75. 3
76. 1 77. 1 78. 4 79. 2 80. 1
81. 3 82. 3 83. 4 84. 1 85. 2
86. 5 87. 4 88. 1 89. 4 90. 1
91. 3 92. 4 93. 4 94. 3 95. 4
96. 2 97. 5 98. 1 99. 4 100. 1



Create Date : 14 กรกฎาคม 2551
Last Update : 7 กุมภาพันธ์ 2552 12:57:09 น. 2 comments
Counter : 3909 Pageviews.

 
thank you very much


โดย: red mask IP: 118.173.189.159 วันที่: 27 มกราคม 2554 เวลา:10:31:42 น.  

 
ขอบคุณมากจากใจ


โดย: โจ้ IP: 203.114.124.178 วันที่: 10 กันยายน 2554 เวลา:23:20:24 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.