sansook
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 40 คน [?]




คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...
โค้ดนี้เป็นภาพพื้นหลังนำไปวางที่ช่อง Script Area ค่ะ https://youtu.be/K2vg5yDgVX4
Group Blog
 
 
เมษายน 2552
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
22 เมษายน 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add sansook's blog to your web]
Links
 

 

การใช้ถ้อยคำ สำนวน




การสื่อสารด้วยการพูด การเขียน การฟังหรือการอ่าน ผ่านสื่อทุกระบบ จำเป็นจะต้องใช้ถ้อยคำ รู้จักความหมายของคำ รู้จักเลือกใช้ถ้อยคำให้ตรงความหมายให้เหมาะสมกับกาลเทศะ และบุคคล การสื่อสารก็จะไม่เกิดปัญหา และจะส่งเสริมให้เรามีบุคลิกภาพที่ดี มีความเชื่อมั่นในการใช้ภาษาอีกด้วย การเลือกใช้ถ้อยคำควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

ความหมายของคำ
ลักษณะของความหมายของคำในภาษาไทยมีหลายลักษณะ ซึ่งต้องศึกษาให้เข้าใจ คือ

1. ความหมายกว้างและความหมายแคบ คำมีความหมายกว้าง แคบต่างกันดังตัวอย่าง ดอกไม้ กุหลาบ กุหลาบหนู

ดอกไม้ มีความหมายกว้าง หมายถึง ส่วนหนึ่งของพรรณไม้ที่ผลิออกจากต้นหรือกิ่ง มีหน้าที่ทำให้เกิดผลและเมล็ดเพื่อสืบพันธุ์ ทั้งยังหมายรวมถึงดอกไม้ทุกชนิดที่ต่างสีต่างลักษณะ

กุหลาบ มีความหมายแคบลง หมายถึงดอกไม้ชนิดหนึ่งมีหลายสี และมีกลิ่นหอม

กุหลาบหนู มีความหมายแคบกว่า กุหลาบ หมายถึง กุหลาบชนิดหนึ่งมีดอกเล็ก หลายสี กลิ่นหอม

2. คำมีความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัย
ความหมายโดยตรง หมายถึง คำที่มีความหมายตรงตามพจนานุกรม

ความหมายโดยนัย หมายถึง คำที่มีความหมายที่ชักนำความคิดให้เกี่ยวโยงกับสิ่งอื่น เป็นความหมายเชิงเปรียบเทียบ

เช่น เด็กเลี้ยงแกะคนนี้น่าสงสารมาก

เด็กเลี้ยงแกะมีความหมายตรง หมายถึง เลี้ยงดูแลแกะจริง ๆ
ฉันคบเธอมาตั้งนาน เพิ่งรู้วันนี้เองว่าเธอเป็นเด็กเลี้ยงแกะ เด็กเลี้ยงแกะ ในประโยคนี้มีความหมายโดยนัย หมายความว่าพูดโกหก

3. คำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน

คำในภาษาไทยมีจำนวนมากที่มีความหมายใกล้เคียงกัน ดูเหมือนจะใช้แทนกันได้ แต่ในความถูกต้องจะใช้แทนกันไม่ได้ เช่น คำว่า ปิ้ง กับ ย่าง ซึ่งหมายถึงใช้ไฟทำให้อาหารสุก แต่การใช้จะต่างกันเล็กน้อย

ปิ้ง จะใช้กับอาหารสุกแล้วส่วนหนึ่ง
แม่ปิ้งปลาแห้งหอมจัง
ฉันชอบลูกชิ้นปิ้ง
ย่าง เป็นการนำของสด ๆ มาวางเหนือไฟเพื่อทำให้สุก
ย่างเนื้อน้ำตก
ไก่ย่างห้าดาว

4. คำที่มีความหมายเหมือนกันหรือคำไวพจน์
คำที่มีความหมายว่า ผู้หญิง ได้แก่ สตรี นุข นงนุช เยาวลักษณ์ อนงค์ ฯลฯ
คำที่มีความหมายว่า ป่า ได้แก่ พนา วนาลี ไพร ไพรสณฑ์ เถื่อน ฯลฯ
คำที่มีความหมายว่า สวย ได้แก่ วิไล อร่าม รุจี แฉล้ม อันแถ้ง สิงคลิ้ง ฯลฯ
คำที่มีความหมายว่า ตาย ได้แก่ สิ้น เสีย ถึงแก่กรรม มรณภาพ สวรรคต ฯลฯ
คำมากมายที่มีความหมายเหมือนกัน แต่บางครั้งจะใช้แทนกันไม่ได้ ต้องคำนึงถึงกาลเทศะและบุคคลด้วย

5. คำที่มีความหมายตรงข้ามกัน
เช่น บุรุษ - สตรี กว้าง - แคบ สุภาพ – หยาบคาย เหนียว - เปราะ
ขม – หวาน ยิ้มแย้ม - บึ้งตึ คดโกง - ซื่ หนา - บาง
เข้ม - จาง ดำ - ขาว

การเลือกใช้ถ้อยคำ
ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้นว่าการเลือกใช้ถ้อยคำนั้น ต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งจะได้นำมาเสนอเฉพาะที่สำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้ คือ

1. เลือกใช้ให้ตรงความหมาย ไม่กำกวม
ประโยคที่ใช้คำกำกวม เช่น
เขาเสร็จหรือยัง เขากินทุกอย่าง ตั้งแต่ไปอยู่ต่างจังหวัด
ประโยคแรก เสร็จ มีความหมายว่า จบ, สิ้น อาจจะหมายความว่า ตาย ได้
ต้องพูดให้ชัดเจนว่า เขาทำงานเสร็จหรือยัง และพูดว่าเขาสิ้นชีวิตหรือยัง
ประโยคที่สอง กิน มีความหมายนัยตรงว่า การรับประทาน มีความหมายโดยนัยว่า คดโกง ควรพูดให้ชัดเจนว่า เขากินอาหารได้ทุกอย่าง

2. เลือกใช้คำให้ตรงตามความมุ่งหมาย
คำบางคำมีเสียงใกล้เคียงกัน เช่น สูจิบัตร - สูติบัตร, ครอบครอง - คุ้มครอง, กรวดน้ำ - ตรวดน้ำ, ทดลอง - ทดรอง ฯลฯ คำแต่ละคำมีความหมายไม่เหมือนกัน ก่อนจะใช้ควรตรวจดูความหมายจากพจนานุกรมให้ดี

3. เลือกใช้ให้เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล
ภาษาเป็นเครื่องหมายแสดงวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ผู้เรียนควรรู้จักเลือกใช้คำให้เหมาะสมกับสถานที่ โอกาส และฐานะของบุคคล เช่น พูดในที่ประชุมชนจะแตกต่างจากพูดในบ้านกับคนใกล้ชิด พูดกับฆราวาสจะแตกต่างจากพูดกับพระสงฆ์ การกล่าวปราศรัยกล่าวเปิดงาน กล่าวอวยพรคู่บ่าวสาวในงานมงคลสมรสจะแตกต่างจากกล่าวอวยพรวันเกิดให้กับเพื่อนสนิทที่บ้าน

4. เลือกใช้ถ้อยคำที่ทำให้เห็นภาพ
คำที่ทำให้เห็นภาพ หมายถึง ผู้อ่าน ผู้ฟัง เห็นภาพตามคำ เหมือนได้รับรู้หรือสัมผัสร่วมไปด้วย

คำที่ทำให้เกิดภาพ มีดังนี้
1. คำเลียนเสียงธรรมชาติ เช่น เปรี้ยง โครม ปู๊ด ๆ กริ๊ง ๆ ฯลฯ
2. คำที่เกิดจากความรู้สึก เช่น โอ๊ะ เอ๊ะ โอ้โฮ ว้าย ไชโย ฯลฯ

5. ใช้คำให้ตรงตามความนิยมของผู้ที่ใช้ภาษาเดียวกัน
คำบางคำความหมายเดียวกันบางทีใช้แทนกันได้ บางทีใช้แทนกันไม่ได้ แล้วแต่ความนิยมของผู้ใช้ภาษา เช่น สมรรถภาพกับ สมรรถนะ ใช้แทนกันไม่ได้ หรือคำที่มีความหมายว่า งาม เช่น รางชาง, เฉิดฉาย, แฉล้ม จะไม่ใช้ว่า วันนี้เธอแต่งหน้ารางชางกว่าทุกวัน

6. ใช้คำไม่ซ้ำซาก หรือรู้จักหลายคำ
การใช้คำซ้ำกันหลายครั้งในการพูดหรือเขียน จะทำให้ผู้ฟังหรือผู้อ่านเกิดความเบื่อหน่าย แล้วยังทำให้ข้อความไม่สละสลวย ดังนั้น จึงควรเลือกใช้ถ้อยคำที่แตกต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกัน หรือคล้ายคลึงกัน เช่น

แม้ว่าประเทศไทยจะเป็นประเทศเล็กๆ แต่ฉันก็มีความภูมิใจที่เกิดในประเทศไทย ไม่ว่าฉันจะอยู่ประเทศใด ฉันก็ยังรักและหวงแหนประเทศไทย เพราะเป็นประเทศที่ฉันเกิด และเติบโตตั้งแต่เล็ก

ควรเปลี่ยนเป็น แม้ว่าไทยจะเป็นประเทศเล็ก ๆ แต่ฉันก็มีความภูมิใจที่เกิดเป็นคนไทย ไม่ว่าฉันจะอยู่แห่งใด ฉันก็ยังรักและหวงแหนประเทศไทย เพราะเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของฉัน
สำนวนไทย

สำนวน หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงเป็นข้อความพิเศษ มีความหมายในเชิงเปรียบเทียบ เมื่อจะใช้สำนวนในการพูดหรือเขียน จำเป็นต้องเข้าใจความหมายถ่องแท้เสียก่อน การรู้จักเลือกใช้สำนวนมาประกอบการพูด การเขียน จะทำให้การพูด การเขียน กระชับ มีอรรถรส และชวนคิดกว่าการพูดการเขียนตามปกติ

ตัวอย่าง
แม่ : ฉันไม่แน่ใจว่าเขาจะรักลูกเราจริง
พ่อ : ก็ลูกบอกว่ารักกันมาหลายปี ก็ต้องเชื่อ ปกติ “ปรบมือข้างเดียวมันไม่ดังหรอก”
ลูก : แหม คุณพ่อพูดถูกใจจังเลย
พ่อ : เอาละ อย่างนี้ดีไหม ให้ลูกมีเวลาพิจารณาอีกหน่อย เพราะบางครั้ง “ความรักทำให้คนตาบอด” นะ ยามรักกันอะไร ๆ ก็ดีหมด
แม่ : “น้ำต้มผักที่ขมก็ชมหวาน” ใช่ไหมล่ะ
พ่อ : ใช่ ขอให้ลูกคิดให้ดี การเลือกคู่ครองไม่ใช่ของง่าย ดูให้แน่ใจจริง ๆ ถ้าเลือกผิดเดี๋ยว “น้ำตาจะเช็ดหัวเข่า”
แม่ : แม่ว่า “รักคนที่เขารักเราดีกว่า”
ลูก : ค่ะ หนูจะเชื่อคุณพ่อคุณแม่ จะใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ก็แล้วกัน
ฯลฯ
การใช้ภาษาถูกระดับสื่อสารกระชับประทับใจ

ภาษา เป็นเครื่องมือในการสื่อสารความรู้ ความคิด ความรู้สึก ฯลฯ
ระดับภาษา เป็นเรื่องของความเหมาะสมในการใช้ภาษาตามสัมพันธภาพของบุคคล ตามโอกาสและกาลเทศะ เพื่อให้สัมฤทธิ์ผลสมความมุ่งหมาย

ภาษาแบ่งออกเป็น 5 ระดับ

ภาษาระดับพิธีการ
การใช้ภาษาในระดับพิธีการมีข้อน่าสังเกต ดังนี้ :-
1. เป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกันในที่ประชุมที่จัดขึ้นอย่างเป็นพิธีการ เช่น การกล่าวคำปราศรัย การเปิดประชุมรัฐสภา การกล่าวสดุดี การกล่าวรายงานในพิธีมอบปริญญาบัตรหรือประกาศนียบัตร เป็นต้น
2. ผู้ส่งสาร ต้องเป็นบุคคลสำคัญหรือตำแหน่งสูงในวงการ ส่วนผู้รับสารมักจะเป็นกลุ่มชน ส่วนใหญ่ผู้ส่งสารจะเป็นผู้กล่าวฝ่ายเดียว ไม่มีการโต้ตอบ
3. ลักษณะสารจะเลือกเฟ้นถ้อยคำที่ไพเราะเป็นคำศัพท์ เป็นสารที่เป็นทางการ
4. เป็นสารที่ต้องเตรียมล่วงหน้าและมีการส่งสารด้วยการอ่าน ผ่านสื่อมวลชนต่าง ๆ

ผู้เรียนสามารถดูตัวอย่างการใช้ภาษาระดับพิธีการ เช่น คำปราศรัยของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เนื่องในวันเด็กหรือวันสำคัญอื่น ๆ ซึ่งหนังสือพิมพ์จะนำมาตีพิมพ์ในช่วงเวลาของวันสำคัญนั้น ๆ

ภาษาระดับทางการ มีข้อสังเกต คือ
1. เป็นภาษาที่ใช้ในการบรรยายหรืออภิปรายอย่างเป็นทางการในที่ประชุมใหญ่ การรายงานทางวิชาการ, หนังสือราชการ(จดหมายราชการ) หรือจดหมายที่ติดต่อในวงการธุรกิจ คำนำหนังสือ, ประกาศของทางราชการ ฯลฯ
2. การใช้ภาษา จะใช้อย่างเป็นทางการ มุ่งเข้าสู่จุดประสงค์ ที่ต้องการความรวดเร็ว สารชนิดนี้มีลักษณะตรงไปตรงมาไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย ไม่เน้นความไพเราะของถ้อยคำ

ภาษาระดับกึ่งทางการ ข้อสังเกตคือ
1. เป็นภาษาที่ใช้สื่อสารที่คล้ายกับระดับที่ 2 แต่ลดความเป็นการเป็นงานลงบ้าง การใช้ภาษาระดับนี้ มักใช้ในการประชุมกลุ่มเล็ก การบรรยายในห้องเรียน ข่าวและบทความในหนังสือพิมพ์ โดยทั่วไปจะมีถ้อยคำ สำนวน ที่ทำให้รู้สึกคุ้นเคยมากกว่าในระดับที่ 2
2. เนื้อของสาร มักจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความรู้ทั่วไป หรือเป็นการแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิต หรือเรื่องเกี่ยวกับธุรกิจ ใช้ศัพท์ทางวิชาการเท่าที่จำเป็น

ภาษาระดับสนทนา มีลักษณะที่สังเกตได้ดังนี้
1. เป็นภาษาที่มักใช้ในการสนทนาโต้ตอบกันของคนที่รู้จักมักคุ้นกัน อยู่ในสถานที่และกาละที่ไม่เป็นการส่วนตัว
2. ภาษาที่ใช้ อาจจะเป็นคำสแลงหรือเป็นคำที่เข้าใจความหมายตรงกันได้ในกลุ่มเท่านั้น
3. ต้องไม่เป็นคำหยาบ หรือคำไม่สุภาพ

ภาษาระดับกันเอง
1. เป็นภาษาที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารต้องใกล้ชิดสนิทสนมกันอย่างมาก
2. ภาษาที่ใช้อาจเป็นคำหยาบคาย หรือภาษาถิ่น คำที่ใช้เฉพาะกลุ่ม
คำราชาศัพท์

ตามธรรมเนียมและวัฒนธรรมไทยนั้น จะต้องรู้จักเลือกใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมแก่ฐานะของบุคคล ซึ่งจะแบ่งออกเป็น5 ประเภท ผู้ใช้ภาษาจะต้องเลือกใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมกับบุคคลทั้ง 5 ประเภท คือ
1. พระมหากษัตริย์
2. พระราชวงศ์ชั้นสูง
3. พระภิกษุ
4. ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
5. สุภาพชนทั่วไป
จึงสรุปได้ว่า คำราชาศัพท์ หมายถึง ศัพท์หรือถ้อยคำที่บุคคลทั่วไปใช้กับบุคคลที่ควรเคารพ คือ พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ชั้นสูง พระภิกษุสงฆ์ ข้าราชการผู้ใหญ่ และสุภาพชนทั่วไป




 

Create Date : 22 เมษายน 2552
34 comments
Last Update : 22 เมษายน 2552 10:19:27 น.
Counter : 37613 Pageviews.

 

สาระแน่นปึ๊กครับ

 

โดย: yyswim.bloggang.com IP: 117.121.208.2 24 เมษายน 2552 13:21:46 น.  

 

ขอบคุรครับ

 

โดย: kob IP: 222.123.206.123 25 เมษายน 2552 7:49:17 น.  

 

ขอบคุณจากใจจริงค่ะ

 

โดย: sasa IP: 125.27.124.144 26 เมษายน 2552 12:12:54 น.  

 

น่าอ่านมากค่ะ

 

โดย: ปาล์ม IP: 222.123.143.29 28 เมษายน 2552 16:52:10 น.  

 

ขอบคุณครับที่ให้ความรู้ครับ

 

โดย: อธิวัฒน์ IP: 203.144.250.242 1 พฤษภาคม 2552 16:51:16 น.  

 

ขอบคุณอีกครั้งค่ะ
ขอให้พี่มีแต่ความเจริญๆๆๆๆ สาธุๆๆๆ

 

โดย: เนตร IP: 203.113.23.104 13 พฤษภาคม 2552 11:16:09 น.  

 

ขอบคุณค่ะ ^^

 

โดย: jeab IP: 58.9.159.93 1 มิถุนายน 2552 9:11:53 น.  

 

ขอบคุณมากค่ะ ที่ให้ความรู้

 

โดย: ด.ญ.คนนั้น IP: 192.168.178.212, 202.29.20.178 3 มิถุนายน 2552 9:21:35 น.  

 

D จังเลยฮับ

 

โดย: DO-D@@@ CUP IP: 118.172.199.149 24 มิถุนายน 2552 20:02:16 น.  

 

55555555555+++++ Dมากคับ

 

โดย: DEAWSZA MAAMAMAMAAMAMAMAMA IP: 118.172.199.149 24 มิถุนายน 2552 20:06:05 น.  

 

เป็นไง

 

โดย: เกม IP: 222.123.115.8 20 กรกฎาคม 2552 19:32:53 น.  

 

ขอบคุณค่ะสำหรับน้ำใจที่แบ่งปันขอให้สมปราถนานะคะ

 

โดย: berdijoy IP: 203.172.252.28 29 กรกฎาคม 2552 12:24:18 น.  

 

ถ้าผมสอบได้จะไม่ลืมคุณเลยครับ
ขอบคุณมาก ๆ ครับ

 

โดย: อาร์ตคุง IP: 125.24.93.101 8 สิงหาคม 2552 17:51:15 น.  

 

สุกยอดดดดดดดดดเรยยยยย

ถ้าคะแนนออกมาดีจะเซ่นไหว้ด้วยหัวหมู

ขอบคุณจากใจ

 

โดย: อาโต้คุง IP: 192.168.213.54, 118.173.224.123 31 สิงหาคม 2552 9:25:30 น.  

 

หาคำที่มีความหมายโดยตรงตรงไม่เจอคร้า



ช่วยเปลี่ยนสีหน่อยได้ไหมคร้า

 

โดย: mint IP: 112.142.54.99 29 ธันวาคม 2552 20:17:27 น.  

 

ขอบคุณมากๆค่ะ

 

โดย: ฝน IP: 203.144.144.164 15 มีนาคม 2553 13:47:28 น.  

 

ข้อสอบภาค ก ไม่หมูนะคะของตำรวจ
ในส่วนของภาษาไทย
1. ระดับภาษา ไม่ต้องดูละเอียดนะมักจะออกแบบทางการ
2. ข้อใดเป็นสำนวนต่างประเทศ
3. ข้อใดใช้ราชาศัพท์ถูกต้อง อันนี้ละเอียดนิดนึง แต่ข้อสอบมักออก เกี่ยวกับ การทักทาย การเป็นอาคันตุกะ ตามลำดับชั้นของพระราชวงศ์
4. คำประพันธ์ 2 ข้อ
5. สะกดถูก ผิด การอ่าน อาจจะออกบ้างแต่ออกทียากมาก
6.ข้อใดไม่จำเป็นต้องทับศัพท์ต่างประเทศ
7.สำนวนไทยข้อใดมีความหมายใกล้เคียงกัน/ทำนองเดียวกัน 1 ข้อ
8.ข้อใดใช้คำผิดความหมาย เช่น เอามือไพล่หลัง หรือไขว้หลัง , ราดยางถนนหรือลาดยางถนน, ขริบผม หรือขลิบผม เป็นต้น
9.คำในข้อใดมีความหมายโดยนัย/มีความหมายโดยนันยอย่างเดียว
ออเดิฟเจ้าค๊า พอก่อนเนอะ

 

โดย: ผู้หวังดี IP: 203.144.144.164 16 มีนาคม 2553 22:16:19 น.  

 

เนื้อหาอ่านง่ายดีค่ะ

กระทัดรัด แบคกราว

ก็สวยดี ดึงดูดมาก

 

โดย: kim_my_lovely@hotmail.com IP: 115.67.203.179 5 สิงหาคม 2553 13:00:55 น.  

 


src=https://www.bloggang.com/emo/emo43.

 

โดย: กระติ๊บ IP: 125.26.56.68 3 กันยายน 2553 13:04:20 น.  

 

ขอบคุ้ณขอบคุณ

 

โดย: มิ้น IP: 110.49.193.106 19 กันยายน 2553 9:06:24 น.  

 

ขอขอบพระคุณนะครับที่ให้ผม เเค่นี้การบ้านก็เสร็จแล้ว

 

โดย: ตรี3 IP: 180.180.206.212 29 พฤศจิกายน 2553 21:18:46 น.  

 

ดดิิดเิื่ทกกอ่ืาสี

 

โดย: 191 IP: 223.207.94.189 23 กรกฎาคม 2554 13:46:53 น.  

 

เนื้อหาดีมาก ค่ะ

 

โดย: เบล IP: 118.173.5.57 1 กันยายน 2554 17:38:41 น.  

 

สุดยอด

 

โดย: เอก IP: 61.7.169.244 8 กันยายน 2554 10:17:23 น.  

 

ดีมากเลยคะ

 

โดย: asia IP: 171.97.20.240 14 ตุลาคม 2554 9:58:18 น.  

 

ขอบคุณมากค่ะ

 

โดย: เอ๋ IP: 101.108.190.200 17 เมษายน 2555 11:20:42 น.  

 

ขออนุญาติ แชร์ นะครับ ช่วงนี้เพื่อน ๆหลายคนกำลังจะสอบ ^^

 

โดย: อ๊อฟ IP: 1.2.161.198 24 พฤษภาคม 2555 9:47:41 น.  

 

ขอบคุณค่า

 

โดย: จา IP: 124.122.87.174 8 มิถุนายน 2555 23:07:15 น.  

 

ควรปรับปรุงนิดนึง

 

โดย: ww_lovemee@hotmail.com IP: 115.67.224.135 24 มิถุนายน 2555 13:52:21 น.  

 

ผมขอเอาไปทำรายงานนะ
มีไรแนะนำบอกได้
ขอคุณ.......~

 

โดย: kit_0837@hotmail.co.th IP: 202.91.18.201 16 กรกฎาคม 2555 19:51:06 น.  

 

ขอบคุณจริงๆๆๆๆนะค่ะ:))

 

โดย: อิ๊ง IP: 14.207.217.37 24 กรกฎาคม 2555 14:27:14 น.  

 

ขอบคุนนะคะที่นำสาระมาให้

 

โดย: นิล IP: 182.53.207.150 19 กันยายน 2555 18:58:31 น.  

 

เนื้อหาอ่านได้ดีค่ะ
กระทัดรัดดี

 

โดย: สุรีรัตน์ คงช่วย IP: 182.52.99.53 7 มกราคม 2556 15:03:38 น.  

 

พรรณานุกรม

 

โดย: วารินทร์ IP: 223.24.184.193 16 มกราคม 2564 14:07:10 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.