Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2552
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
16 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 
สุขใจได้ไปไหว้พระธาตุพนม จ.นครพนม






จังหวัดนครพนม เมืองริมฝั่งโขงมีสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนานั่นคือ พระธาตุพนม เป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ของภาคอีสาน ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุพนมวรวิหาร อยู่ห่างจากตัวเมืองนครพนม ๕๒ กิโลเมตร สถานที่ประดิษฐานองค์พระธาตุ อยู่บนเนินภูกำพร้า (ภาษาบาลีว่า กปณบรรพตหรือ กปณคีรี ริมฝั่งแม่น้ำขลนที อันเป็นเขตแขวงนครศรีโคตรบูรโบราณ)











พระธาตุพนม
มหาเจดีย์โบราณแห่งล้านช้าง
สถาปัตยกรรมศรีโคตรบูร
บรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระอุรังคธาตุ


พระธาตุประจำปีนักษัตร์ของผู้ที่เกิด ปีวอก : ลิง















องค์พระธาตุพนมมีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงบัวเหลี่ยม หรือทรงแจกัน ก่อด้วยอิฐมีลวดลายจำหลักลงไปในแผ่นอิฐ มีซุ้มซ้อนกัน ๓ ชั้น ลดหลั่นกันลงมา กว้างด้านละ ๑๐ เมตรเศษ สูงประมาณ ๕๐ เมตร

ตามประวัติ พระธาตุพนมสร้างมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรศรีโคตรบูร โดยพญาทั้ง ๕ หัวเมือง คือ พญาสุวรรณพิงคาระ เจ้าเมืองหนองหารหลวง พญาคำแดง เจ้าเมืองหนองหารน้อย พญาอินทปัตถะนคร กษัตริย์เขมร พญาจุลณีพรหมทัต เจ้าเมืองตังเกี๋ย และพญานันทเสน เจ้านครศรีโคตรบูรอันเป็นที่ตั้งของพระธาตุ โดยมีพระอุตรเถระ พระโสณเถระ สมณทูตของพระเจ้าอโศกมหาราช และพระมหากัสสปะเป็นประธานพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ นำพระอุรังคธาตุมาจากชมพูทวีป ตามพุทธพยากรณ์ ถ้าถือตามนี้ก็คำนวณได้ว่า สร้างพระธาตุพนมยุคแรก เมื่อพระพุทธเจ้าเข้าสู่นิพพานแล้วราวไม่เกิน ๒ เดือน เพราะทำปฐมสังคายนา เมื่อพระพุทธเจ้านิพพานแล้วได้ ๓ เดือน (เดือน ๙ เพ็ญ) โดยเจ้าเมืองทั้ง ๕ องค์ สร้างพระธาตุขึ้นด้วยดินดิบ (อิฐดิบ) ส่วนฐานพระธาตุขุดลงไปเป็นอุบมุง (อุโมงค์)และถมหลุมด้วยหินหมากคอย แล้วก่อดินขึ้นเป็นอุโมงค์บรรจุพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) ของพระพุทธเจ้า สร้างครั้งแรกได้เพียงชั้นเดียว









พระธาตุพนมได้รับการบูรณะมาตามกาลเวลา และเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๘ องค์พระธาตุพนมได้หักโค่นลง เนื่องจากฝนตก พายุพัดแรงติดต่อกันมาหลายวัน และความเก่าแก่ขององค์พระธาตุ ประชาชนทั่วทั้งประเทศร่วมกันบริจาคทุนทรัพย์สร้างองค์พระธาตุขึ้นใหม่ตามแบบเดิมและอยู่ในที่ตั้งเดิม โดยมีพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นบรรจุอีกครั้งในวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๒





















:: ตำนานพระธาตุพนม ในอุรังคนิทาน ::
กล่าวว่า สมัยหนึ่งในปัจฉิมโพธิกาล พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระอานนท์ ได้เสด็จมาทางทิศตะวันออกโดยทางอากาศ ได้มาลงที่ดอนกอนเนา แล้วเสด็จไปหนองคันแทเสื้อน้ำ (เวียงจันทน์) ได้พยากรณ์ไว้ว่า ในอนาคตจะเกิดบ้านเมืองใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนา ได้ทรงประทานรอยพระพุทธบาทไว้ที่ “โพนฉัน” (พระบาทโพนฉัน) อยู่ตรงข้ามอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย แล้วเสด็จมาที่ “พระบาทเวินปลา” ซึ่งอยู่เหนือเมืองนครพนมปัจจุบัน ได้ทรงพยากรณ์ที่ตั้งเมืองมรุกขนคร (นครพนม) และได้ประทับพักแรมที่ภูกำพร้าหนึ่งคืน วันรุ่งขึ้นเสด็จข้ามแม่น้ำโขง ไปบิณฑบาตที่เมืองศรีโคตรบูร พักอยู่ที่ร่มต้นรังต้นหนึ่ง (พระธาตุอิงฮังเมืองสุวรรณเขต) แล้วกลับมาทำภัตกิจ (ฉันอาหาร) ที่ภูกำพร้าโดยทางอากาศ


พญาอินทร์ได้เสด็จมาเฝ้าและทูลถามพระพุทธองค์ ถึงเหตุที่มาประทับที่ภูกำพร้า พระพุทธองค์ตรัสว่า เป็นประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์ในภัททกัลป์ที่นิพพานไปแล้ว บรรดาสาวกจะนำพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ที่ภูกำพร้า เมื่อพระพุทธองค์นิพพานแล้วพระมหากัสสปะผู้เป็นสาวกก็จะนำเอาพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ ณ ที่นี้เช่นกัน จากนั้นพระพุทธองค์ก็ได้ทรงปรารภถึงเมืองศรีโคตรบูร และมรุกขนคร แล้วเสด็จไปหนองหารหลวง ได้ทรงเทศนาโปรดพญาสุวรรณพิงคาระและพระเทวี ประทานรอยพระพุทธบาทไว้ ณ ที่นั้น แล้วเสด็จกลับพระเชตวัน หลังจากนั้นก็เสด็จปรินิพพานที่เมืองกุสินารา

เมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว มัลลกษัตริย์ทั้งหลายได้ถวายพระเพลิงพระสรีระ แต่ไม่สำเร็จ จนเมื่อพระมหากัสสปะมาถึงได้อธิษฐานว่า พระธาตุองค์ใดที่จะอัญเชิญไปประดิษฐานที่ภูกำพร้า ขอพระธาตุองค์นั้นเสด็จมาอยู่บนฝ่ามือ ดังนี้แล้วพระอุรังคธาตุก็เสด็จมาอยู่บนฝ่ามือขวาของพระมหากัสสปะ ขณะนั้นไฟธาตุก็ลุกขึ้นโชติช่วงเผาพระสรีระได้เองเป็นอัศจรรย์ เมื่อถวายพระเพลิงและแจกพระบรมสารีริกธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระมหากัสสปะพร้อมด้วยพระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุมาทางอากาศแล้วมาลงที่ดอยแท่น (ภูเพ็กในปัจจุบัน) จากนั้นได้ไปบิณฑบาตที่เมืองหนองหารหลวง เพื่อบอกกล่าวแก่พญาสุวรรณพิงคาระ ตำนานตอนนี้ตรงกับตำนานพระธาตุเชิงชุม และพระธาตุนารายณ์เจงเวง

พญาทั้ง ๕ ซึ่งอยู่ ณ เมืองต่าง ๆ อันได้แก่ พญานันทเสน แห่งเมืองศรีโคตรบูร พญาจุลณีพรหมทัต พญาอินทปัตถนคร พญาคำแดง แห่งเมืองหนองหารน้อย และพญาสุวรรณพิงคาระ แห่งเมืองหนองหารหลวง ได้พากันปั้นดินดิบก่อแล้วเผาไฟ ตามคำแนะนำของพระมหากัสสปะ แบบพิมพ์ดินกว้างยาวเท่ากับฝ่ามือพระมหากัสสปะ

ครั้นปั้นดินเสร็จแล้วก็พากันขุดหลุมกว้าง ๒ วา ลึก ๒ ศอก เท่ากันทั้ง ๔ ด้าน แล้วก่อดินขึ้นเป็นรูปเตาสี่เหลี่ยม สูง ๑ วา โดยพญาทั้ง ๔ แล้วพญาสุวรรณภิงคาระก็ได้ก่อส่วนบน โดยรวมยอดเข้าเป็นรูปฝาปารมีสูง ๑ วา รวมความสูงทั้งสิ้น ๒ วา แล้วทำประตูเตาไฟทั้งสี่ด้าน เอาไม้จวง จันทน์ กฤษณา กระลำพัก คันธรส ชมพู นิโครธ และไม้รัง มาเป็นพื้น ทำการเผาอยู่ ๓ วัน ๓ คืน เมื่อสุกแล้วจึงเอาหินหมากคอยกลางโคกมาถมหลุม หลังจากสร้างอุโมงค์ดังกล่าวเสร็จแล้ว พญาทั้ง ๕ ได้บริจาคของมีค่าบรรจุไว้ในอุโมงค์เป็นพุทธบูชา



จากนั้นพระมหากัสสปะ ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ เข้าบรรจุภายในที่อันสมควร แล้วให้ปิดประตูอุโมงค์ไว้ทั้งสี่ด้าน โดยสร้างประตูด้วยไม้ประดู่ ใส่ดาลปิดไว้ทั้งสี่ด้าน แล้วให้คนไปนำเอาเสาศิลาจากเมืองกุสินารา ๑ ต้น มาฝังไว้ที่มุมเหนือตะวันออก นำเอาเสาศิลาจากเมืองพาราณสี ๑ ต้น ฝังไว้มุมใต้ตะวันออก นำเอาเสาศิลาจากเมืองตักศิลา ๑ ต้น ฝังไว้มุมเหนือตะวันตก พญาสุวรรณพิงคาระให้สร้างรูปม้าอาชาไนยไว้ตัวหนึ่ง หันหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อแสดงว่าพระบรมธาตุเสด็จออกมาทางทิศทางนั้น และพระพุทธศาสนาจักเจริญรุ่งเรืองจากเหนือเจือมาใต้ พระมหากัสสปะให้สร้างม้าพลาหกไว้อีกตัวหนึ่ง ยืนคู่กัน หันหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อเป็นปริศนาว่า พญาศรีโคตรบูรจักได้สถาปนาพระอุรังคธาตุไว้ตราบเท่า ๕,๐๐๐ พระวัสสา เกิดทางใต้และขึ้นไปทางเหนือ เสาอินทขีลศิลาทั้งสี่ต้น ยังปรากฏอยู่ ๒ ต้น ทางทิศตะวันออก ส่วนอีก ๒ ต้น ได้ก่อหอระฆังหุ้มไว้ ส่วนม้าศิลาทั้ง ๒ ตัว ก็ยังปรากฏอยู่ถึงปัจจุบัน



:: ประวัติความเป็นมาวัดพระธาตุพนม ::
พุทธศักราชประมาณ ๕๐๐ ปี ในสมัยพญาสุมิตธรรมวงศา เจ้าเมืองมรุกขนคร ได้มีพระภิกษุเถระมาอยู่ภูกำพร้า เป็นครั้งแรก และทางบ้านเมืองอุปถัมภ์ ได้สร้างกุฏิวิหารให้อยู่ ๓ หลัง ๓ ด้านขององค์พระธาตุพนม จะถือว่าเริ่มเป็นวัดแต่นั้นมาก็อาจจะถือได้

พญาสุมิตธรรมวงศาเป็นองค์แรกที่สละผู้คน ๗ บ้าน เป็นจำนวน ๓,๐๐๐ คน ให้มาตั้งบ้านโดยรอบพระธาตุ ในวัดก็คงมีพระภิกษุสามเณรอยู่เฝ้ารักษา แต่ตำนานมิได้กล่าวถึง

ผู้สร้างครั้งแรกคงเป็นพญาสุมิตธรรมวงศา เชื้อพระวงศ์กษัตริย์ศรีโคตรบูรย้ายมาตั้งเป็นเมืองมรุกขนคร เพื่อให้วัดดูแลอุปัฏฐากพระบรมธาตุ และควบคุมข้าโอกาสทั้งหลาย เรื่องวัดพระธาตุพนมยุคแรกได้เงียบหายไปพร้อมกับการร้างของเมืองมรุกขนคร ประชาชนอพยพขึ้นไปอยู่ทางเหนือ แต่เมืองล่าหนองคายไปจนถึงหนองเทวดา ที่เรียกว่า ห้วยเก้าเลี้ยวเก้าคด ที่ตั้งอยู่เหนือนครเวียงจันทน์เดี๋ยวนี้ ครั้นต่อมาไทยล้านช้างได้โยกย้ายจากเหนือมาสู่ใต้ตามลำแม่น้ำโขง คือ ตั้งอยู่เมืองเซ่า หรือชวา ได้แก่ หลวงพระบาง เดี๋ยวนี้ พระองค์ได้ธิดาพญาอินทปัตถะนคร (กัมพูชา) มาเป็นบาทปริจาริกา พระเจ้าตา คือ พ่อของนาง ได้ถวายตำนานพระธาตุพนมแด่พญาโพธิสาลราช พระองค์ได้ทราบเรื่องราวพระบรมธาตุดีแล้ว ก็ให้ความอุปถัมภ์วัดพระธาตุพนมเป็นอันมาก ได้สร้างวิหารหลวงมีระเบียงโดยรอบ หลังคามุงด้วยตะกั่ว (ดีบุก) ทั้งสิ้น ได้สละคนเป็นข้าโอกาสเพิ่มเติมที่ขาดตกบกพร่อง สละดินถวายครอบ ๒ ฝั่งแม่น้ำโขง ให้พวกอยู่ในเขตดินแดนส่งส่วยข้าวเปลือกข้าวสารประจำปี บำรุงพระธาตุและได้สละมหาดเล็ก ๒ นาย คือ ข้าซะเอง และพันเฮือนหิน ให้เป็นข้าพระธาตุ นำส่งดอกไม้ธูปเทียนเครื่องราชสักการะมาบูชาพระธาตุ ในวันมหาปวารณาออกพรรษาทุกๆปี

สมัยพระไชยเชษฐาธิราช โอรสพระเจ้าโพธิสาล ย้ายเมืองหลวงมาตั้งอยู่เวียงจันทน์ ก็ได้เสด็จมาไหว้พระธาตุ ตรวจตราวัดอยู่เสมอจนสิ้นรัชกาล แต่จดหมายเหตุไม่ได้บันทึกชื่อสมภารไว้เลย

ในปี พ.ศ.๒๑๕๗ ปรากฏในศิลาจารึกว่า “พญานครหลวงพิชิตราชธานีศรีโคตรบูรหลวง” ได้แก่ เมืองนครเก่าอยู่ใต้เมืองท่าแขกฝั่งประเทศลาวเดี๋ยวนี้ ได้มาบูรณะพระธาตุ ก่อกำแพงชั้น ๒ รอบทั้งสี่ด้าน ถือปูนสะทายตินพระธาตุ พระภิกษุผู้รักษาวัดก็คงมีอยู่แต่ไม่ปรากฏชื่อ


ต่อมา พ.ศ.๒๒๓๓ - ๔๕ สมเด็จพระสังฆราชาสัทธัมมโชตนญาณวิเศษ (ตามจารึกทองคำที่ค้นได้เวลาพระธาตุล้ม) แต่เรียกกันทั่วไปว่า “เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก” ท่านองค์นี้เป็นพระมหาเถระที่มีพลังจิตสูง เป็นที่เคารพรักของประชาชน ตั้งแต่ราชสกุลลงมาถึงคนสามัญธรรมดาทั่วแผ่นดิน ในเวลานั้นนครเวียงจันทน์ การเมืองปั่นป่วนสับสน ท่านจึงนำครัวราษฎร ประมาณ ๓,๐๐๐ คน มาตั้งปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมอยู่ราว ๑๐ กว่าปี จึงแล้วเสร็จสมบูรณ์ คือ ท่านต่อตั้งแต่ปากระฆังขึ้นไปจนสุดยอด ดังนั้น พระธาตุพนมจึงสูง ๔๓ เมตร (พระธาตุพนมองค์เดิม)

เจ้าราชครูองค์นี้ได้นำมหัคฆภัณฑ์มีค่าเข้าบรรจุมากที่สุด เพราะมีญาติโยมและคนเชื่อถือมาก มีเจ้าศรัทธาผู้หลักผู้ใหญ่ช่วยเหลือสร้างผอบสำริดบรรจุของมีค่า มีพระเจดีย์ศิลาและผอบทองคำบรรจุพระบรมอุรังคธาตุและพระสารีริกธาตุ พระพุทธรูปทองคำหนัก ๔–๗ กิโลกรัม และหนัก ๑๘ กิโลกรัม เป็นต้น บริจาคร่วมกุศลกับท่านเป็นอันมากต่อมาก

เมื่อบูรณะพระธาตุพนมเสร็จแล้ว ท่านได้พาครอบครัวญาติโยมอพยพลงไปตั้งหลักอยู่ภาคใต้ ตั้งเมืองจำปาศักดิ์ขึ้นเป็นนครหลวงปกครองชาวล้านช้างภาคใต้เป็นครั้งแรก เข้าใจว่าวัดพระธาตุพนมท่านคงตั้งลูกศิษย์เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ไว้ดูแลรักษาแทนท่าน และปกครองข้าโอกาสทั้งหลาย แต่ตำนานมิได้ระบุไว้ว่าตั้งผู้ใด

พ.ศ.๒๓๔๙ – ๕๖ เป็นสมัยต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชสมัยในรัชกาลที่ ๒ เจ้าผู้ครองนครเวียงจันทน์มีศรัทธาได้เสด็จมาบูรณะพระธาตุ และวัดพระธาตุพนม ร่วมกับพระบรมราชาสุตตา เจ้าเมืองนครพนม และพระจันทสุริยวงศา (กิ่ง) เจ้าเมืองมุกดาหาร ปรับปรุงบริเวณและสร้างหอพระ ทำถนนปูอิฐตั้งแต่วัดถึงฝั่งโขง กว้าง ๓ เมตร ยาว ๕๐๐ เมตรเศษ ทำฉัตรยกฉัตรใหม่ในปีสุดท้าย

ในระยะนี้ ที่วัดพระธาตุพนมก็ต้องมีพระผู้ใหญ่เป็นหลักวัดอยู่ ปรากฏตามจารึกของพระจันทสุริยวงศา เจ้าเมืองมุกดาหาร ผู้มาบูรณะโรงอุโบสถว่า ได้ให้ข้าราชการผู้ใหญ่มาปัคคหะ คือ กราบไหว้เจ้าสังฆราชวัดพระธาตุพนมขอโอกาสปฏิสังขรณ์ ฯลฯ บันทึกมิได้ระบุว่า สังฆราชา (เจ้าอาวาสเจ้าคณะสงฆ์) มีชื่อว่าอย่างไร

เหตุการณ์ได้ผ่านจากนั้นมานาน จนถึง พ.ศ.๒๔๔๔ พระธาตุพนมชำรุดมาก พระครูวิโรจน์รัตโนบล เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานีองค์แรก ได้มาเป็นหัวหน้าบูรณะซ่อมแซม ปรากฏว่า พระอุปัชฌาย์ทาเป็นเจ้าอาวาสอยู่ ท่านองค์นี้มีฝีมือช่างปั้นอยู่บ้าง ยังมีเหลือให้เห็นอยู่หลายชิ้น



:: การบูรณะพระธาตุพนม ::

พระธาตุพนม ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์มาตามลำดับ การบูรณะครั้งแรกและครั้งที่สอง ไม่ได้บันทึกปีที่บูรณะไว้ การบูรณะครั้งที่สาม เมื่อปี พ.ศ.๒๑๕๗ ครั้งที่สี่ เมื่อปี พ.ศ.๒๒๓๓ ครั้งที่ห้า เมื่อปี พ.ศ.๒๓๔๙ ครั้งที่หก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๔ เป็นการบูรณะครั้งใหญ่

ในปี พ.ศ.๒๔๙๗ ได้มีพิธียกฉัตรทองคำขึ้นประดิษฐานไว้ที่ยอดองค์พระธาตุ และนำฉัตรเก่ามาเก็บไว้ มีพุทธศาสนิกชนจากดินแดนสองริมฝั่งโขงทั้งไทยและลาว หลั่งไหลมาร่วมมงคลสันนิบาต และนมัสการองค์พระธาตุเป็นเวลาถึงหนึ่งเดือน

เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๘ องค์พระธาตุพนมชำรุดล้มลง ได้ดำเนินการก่อสร้างขึ้นใหม่ และยืนยงคงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้

ที่มาของข้อมูล:
คลังปัญญาไทย: พระธาตุพนม
สำนักงานพระพุทธศาสนา จังหวัดนครพนม: วัดพระธาตุพนม












สำหรับชาวพุทธแล้ว หวังว่าคงจะมีโอกาสสักครั้งเมื่อมาเยือนแผ่นดินอีสานย่านริมน้ำโขง คือได้มาสักการะพระธาตุพนม



มองแต่ไกลเห็นองค์พระธาตุอยู่เหนือยอดไม้ คนแรกที่นึกถึงและโทรหาก็คือ แม่ เคยได้ยินแม่พูดถึงมานาน เป็นพระธาตุที่แม่อยากมาสักการะมากที่สุด










นมัสการพระอุรังคธาตุ และเวียนทักษิณารอบองค์พระธาตุพนม




เสาหินอินทขีลที่พญาทั้ง ๕ นำมาจากเมืองตักกะศิลา เมื่อพ.ศ.๘ ตั้งอยู่มุมเหนือตะวันตกขององค์พระธาตุ และเสาหินอินทขีลที่นำมาจากเมืองกุสินารา ตั้งอยู่มุมเหนือตะวันออกขององค์พระธาตุ








อนุสาวรีย์อัฐิธาตุ และรูปหล่อของเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก (ท่านพระครูขี้หอม) ผู้นำชาวเวียงจันทน์ ๓๐๐๐ คนมาบูรณะพระธาตุพนม ระหว่างพ.ศ.๒๒๓๓-๒๒๔๕



พระอุโบสถ หน้าองค์พระธาตุ




ถนนตรงจากองค์พระธาตุลงสู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงที่อยู่เบื้องหน้า เป็นระยะทาง ๕๐๐ เมตร



ไหว้พระธาตุเสร็จแล้วเดินตรงไปริมโขง ผ่านตลาดเป็นอาคารไม้เก่า ที่ยังมีร่องรอยให้เห็นถึงความเจริญของการค้าขายริมโขงในอดีต



ร้านค้าในย่านตลาดเก่า ที่ยังเปิดค้าขายอยู่





เดินมาสุดทางที่ท่าเรือริมโขง




สายน้ำโขงยามเย็น กับวิถีชีวิตริมโขง
พอดีเห็นป้าคนหนึ่งกำลังตักน้ำมารดแปลงผักที่ปลูกอยู่ริมตลิ่ง




ของฝากมีหลายอย่าง แต่ไปตอนเย็นปิดร้านเกือบหมดแล้ว ที่ยังเปิดขายอยู่ก็มีปลาส้ม อุ
ในบริเวณวัดมีมันแกวขายเยอะเลยหล่ะ



เดินกลับขึ้นมาจากริมโขง ตะวันกำลังจะลับฟ้าหลังองค์พระธาตุ ที่มองเห็นอยู่เบื้องหน้า





ปล. เขียนบล็อกใหม่ “พระธาตุประจำปีเกิด” บันทึกสะสมไว้เมื่อมีโอกาสเดินทางไปนมัสการพระธาตุในที่ต่างๆ หวังว่าคงจะได้ไปไหว้จนครบทั้งสิบสองปีนักษัตร์











Create Date : 16 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 29 พฤศจิกายน 2552 15:37:39 น. 11 comments
Counter : 2880 Pageviews.

 
แวะมาชมแบบเงียบๆครับ


โดย: Innocent IP: 96.255.191.3 วันที่: 17 พฤศจิกายน 2552 เวลา:9:19:14 น.  

 
เป็นอีกที่ที่อยากไปครับ มีแต่คนบอกว่า พระธาตุพนมสวยมาก


โดย: นายหัว (nindhua ) วันที่: 17 พฤศจิกายน 2552 เวลา:10:36:41 น.  

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...
แวะมาราตรีสวัสดิ์ค่ะคุณแสง
ภาพคมชัดดีค่ะ มีของแถมประวัติพระธาตุพนม ณ ภูกำพร้าด้วยนะคะ



โดย: หอมกร วันที่: 17 พฤศจิกายน 2552 เวลา:21:33:55 น.  

 
ขอบคุณที่แวะไปเยี่ยมที่บล็อคครับ

อ่านบล็อคนี้แล้วได้ความรู้เกี่ยวกับพระธาตุพนมเพิ่มขึ้นอีกเยอะเลยครับ รออ่านพระธาตุประจำปีกุนครับ เพราะผมเกิดปีกุน ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็นพระธาตุดอยตุงใช่ไหมครับ


โดย: NET-MANIA วันที่: 17 พฤศจิกายน 2552 เวลา:22:20:19 น.  

 
ที่เกาะมองไม่เห็นค่ะ ฟ้าปิด


โดย: coji วันที่: 18 พฤศจิกายน 2552 เวลา:11:39:52 น.  

 

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


แวะมาทักทายกันนะจ๊ะคุณแสง



โดย: หอมกร วันที่: 18 พฤศจิกายน 2552 เวลา:15:51:25 น.  

 


เป็นภาพประทับใจมากเลยค่ะคุณแสง
และอยากเห็นภาพ “พระธาตุประจำปีเถาะ” พระธาตุแช่แห้ง จ.น่าน อีกครั้งค่ะ เคยไปครั้งหนึ่งยังประทับใจไม่รู้ลืม...


โดย: I_sabai วันที่: 18 พฤศจิกายน 2552 เวลา:19:55:08 น.  

 
อยากไปค่ะแต่ไม่มีโอกาสสักที


โดย: Yolanrita วันที่: 18 พฤศจิกายน 2552 เวลา:23:45:17 น.  

 
รูปแรกสวยมากๆ เลยค่ะ
ที่เที่ยวเยอะจังเลยนะคะ
ไปมาหลายบล๊อคแล้วนะเนี้ยะ


โดย: mutcha_nu วันที่: 19 พฤศจิกายน 2552 เวลา:21:45:06 น.  

 
เขาว่าจะมีพระโพธิสัตว์ผู้มีบุญญาธิการพิสดารมากทั้งเนรมิตรทรัพย์แก่พระคลังหลวงจนสยามประเทศกลายเป็นประเทศรำรวยที่สุดของโลก / เสกคนให้เป็นอัจฉริยะ / วิชาพิเศษทำให้คนบรรลุธรรมชั้นสูงได้อย่างก้าวกระโดดดุจดั่งในพุทธกาล ...เป็นพุทธบุตรแห่งพระบรมศาสดาโคตมะและพระศรีอารีย์ ทั้งมีมหาเทพทั้ง 3 โลกเป็นบรรพบุรุษ อีกชั้น รวมทั้งหลวงปู่โลกอุดร ท่านราชครูโพนสะเม็ก สำเร็จลุน และหลวงปู่ศุข อีกชั้นของพระอริยะเจ้า บุรุษท่านนี้มีนามเป็นพระนามเดิมของสองพุทธะมารวมกัน หากจะให้บ้านเมืองอยู่รอดชาวประชาต้องค้นหาท่านให้เจอ
มีบันทึกไว้หลายที่ ลองค้นดูนะครับ


โดย: ฤาษีเฒ่า IP: 203.156.25.124 วันที่: 7 กันยายน 2553 เวลา:23:03:16 น.  

 
ไปมาแล้ว ประจำเลยยยย เพราะ บ้านยาติยุ่ที่นั้น


โดย: น้อง ปิกกี้ IP: 223.205.234.125 วันที่: 10 พฤศจิกายน 2554 เวลา:13:01:26 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

sangseetong
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]






my blog

มุมพักผ่อน ยามว่าง
มุมอ่านหนังสือ
มุมสบายๆ
มุมทักทายกับเพื่อนๆ
มุมจับฉ่ายอะไรก็ได้









ขอบคุณคำแนะนำ
การแต่งบล็อกดีๆจาก
เพื่อนที่น่ารัก คุณ colchigue
และเพื่อนๆคนอื่นด้วยค่ะ



Friends' blogs
[Add sangseetong's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.