Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
6 กรกฏาคม 2551
 
All Blogs
 
บ๊ายบาย"ตลาดสามย่าน" ปิดตำนานตลาดเก่าแก่

โดย : หนุ่มลูกทุ่ง



     หลายคนคงเคยได้ยินข่าวความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นแถวๆ สามย่าน ถิ่นของเด็กจุฬามาบ้างแล้ว ที่ว่าตอนนี้ทางจุฬาฯ กำลังจะย้ายตลาดสามย่านไปไว้ตรงที่ใหม่ คือบริเวณระหว่างซอยจุฬาฯ 32 และ 34 โดยได้ย้ายไปเรียบร้อยแล้วเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา และนอกจากการย้ายตลาดแล้วก็จะมีการรื้อตึกแถวบริเวณตลาดสามย่านทิ้ง รวมไปถึงตึกแถวด้านหน้าที่ติดกับถนนพญาไทก็ต้องโดนรื้อด้วยเช่นกัน

     ว่ากันว่าคราวนี้จุฬามีโครงการจะปรับปรุงพื้นที่ให้เป็นตึกใหม่หน้าตาทันสมัย จึงต้องมีการรื้อตึกแถวหน้าตาโบราณทิ้งเป็นการใหญ่ ภาพของตลาดสามย่านและตึกแถวในบริเวณนั้นจึงควรต้องถูกบันทึกไว้ เพราะต่อไปจะกลายเป็นเพียงภาพในอดีตไปแล้ว วันนี้ฉันจึงจะพาทุกคนไปเก็บภาพนั้นไว้กันเสียก่อนที่จะลืม


ตลาดสามย่านนั้นถือว่าเป็น     ตลาดในย่านชุมชนที่เก่าแก่แห่งหนึ่ง ตัวตลาดนั้นอยู่ในซอยจุฬาฯ 52 ริมถนนพญาไท เดินเข้าไปในซอยนิดเดียวก็จะเห็นตัวตลาดอยู่ทางด้านซ้ายมือ ที่ว่าเก่าแก่ก็เพราะเปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2508 หรือมีอายุ 43 ปีมาแล้ว เรียกว่ากำลังอยู่ในวัยกลางคนกำลังเริ่มจะแก่อยู่แล้วเชียว

     ภายในตลาดนั้นก็แบ่งเป็นสองชั้นด้วยกัน ชั้นล่างจะเป็นตลาดสด ขายของจำพวกเนื้อสัตว์ ผักผลไม้ น้ำพริก ผักดอง ของชำต่างๆ ส่วนชั้นบนก็จัดเป็นร้านอาหาร มีร้านให้เลือกหลายประเภททั้งอาหารตามสั่ง ซีฟู้ด และที่โด่งดังก็คือสเต็กสามย่าน มีให้เลือกหลายร้าน เป็นสเต็กชิ้นโตเต็มจานกินอิ่มไปทั้งมื้อในราคาย่อมเยา ส่วนในตอนเช้าก็มีร้านกาแฟ กินคู่กับขนมปังปิ้งหรือปาท่องโก๋ตัวใหญ่อยู่ด้านบนตลาดด้วยเช่นกัน


     บริเวณรอบๆ ตัวตลาดสามย่านก็เป็นตึกแถวหน้าตาเก่าแก่ มีร้านอาหารดังๆหลายร้านที่มีชื่อคุ้นหูอย่างโจ๊กสามย่าน ข้าวขาหมูจุฬา ร้านก๋วยเตี๋ยวเป็ด เย็นตาโฟ ร้านขายขนมและเบเกอรี่ต่างๆ และอื่นๆอีกมากมาย ถือเป็นแหล่งรวมร้านอาหารขนาดใหญ่ที่มีนักกินมากมายตั้งใจมาฝากท้องโดยที่ไม่ได้รับความผิดหวังกลับไปแน่นอน

     และนอกจากร้านอาหารที่มีให้เลือกหลากหลาย ก็ยังมีร้านขายของที่ถือเป็นสีสันและตำนานของชาวสามย่านไปแล้ว นั่นก็คือร้าน "จีฉ่อย" ร้านขายของชำเล็กๆเพียงคูหาเดียว แต่มีของครบทุกประเภท ตั้งแต่ของพื้นๆอย่างปากกา ยางลบ สมุดดินสอ สบู่ ผงซักฟอก ไปจนถึงของที่ไม่น่าจะมีอย่างใบลงทะเบียนของนิสิตจุฬาฯ ข้าวมันไก่ สังกะสี กระด้ง ฮาร์ดดิสก์ สปอยเลอร์ติดรถยนต์ บัตรคอนเสิร์ต และ ฯลฯ เรียกว่าเป็นร้านของชำที่มีจิตวิญญาณในการขายดีเยี่ยม ลูกค้าอยากได้อะไรก็จะไปสรรหามาให้ ถึงที่ร้านตัวเองจะไม่มีก็จะไปหาซื้อจากร้านอื่นมา หรือหากของชิ้นไหนไม่สามารถหาได้ทันทีเจ้าของร้านก็จะขอให้รออีกสองวันแล้วจึงมารับไป


     ฉันก็ได้ไปใช้บริการร้านจีฉ่อยมาแล้วเช่นกัน แต่ไม่ได้ไปลองของหาซื้อของแปลกๆที่ร้านแต่อย่างใด แค่ไปพักเหนื่อยซื้อน้ำกินที่ร้านจีฉ่อยในตำนาน มองเข้าไปในร้านแล้วก็เชื่อว่าน่าจะมีของทุกอย่างอยู่ในร้านจริง เพราะภายในร้านเล็กๆ นั้นอัดแน่นไปด้วยข้าวของต่างๆ จนแทบไม่มีที่ว่างเหลือ มีแต่เพียงทางเดินแสนแคบอยู่ตรงกลางร้านให้เดินเข้าเดินออกหาข้าวของ

และเมื่อการเปลี่ยนแปลงเดินทางมาถึง ตลาดสามย่านจะต้องถูกย้าย ตึกแถวบริเวณสามย่านจะต้องถูกทุบ ร้านค้าที่ฉันว่ามาเหล่านี้ก็ต้องโยกย้ายหรือปิดตัวลงตามไปด้วย


ตลาดสามย่านเรียกได้ว่าอยู่     ในช่วงกำลังจะเข้าสู่วัยชรา แต่ยังไม่ทันจะได้แก่ ตลาดแห่งนี้ก็ต้องไปเกิดใหม่เสียก่อน โดยคราวนี้ได้ถูกย้ายไปอยู่ด้านหลังสนามจุ๊บ ข้างๆ สำนักงานเขตปทุมวัน ไม่ไกลจากตลาดเดิมมากนักพอเดินถึงกันได้ ฉันได้ไปเยี่ยมๆมองๆ ดูตลาดสามย่านแห่งใหม่นี้แล้วก็พบว่ามีหน้าตาทันสมัยขึ้นมาก มีพื้นที่กว้างขวาง ดูโล่งโปร่งสบาย แต่ก็อย่างว่า...ของใหม่ก็ดูดีทันสมัย แต่ก็ขาดเสน่ห์ขรึมขลังแบบของเก่า

     แต่เท่าที่ฉันได้คุยๆกับแม่ค้าแถวนั้น บ้างก็ว่าดีบ้างก็ว่าไม่ดี เพราะการย้ายตลาดไปที่แห่งใหม่ซึ่งไฉไลกว่าเดิมก็จะต้องเสียค่าเช่าร้านค้าในราคาที่เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม แต่บ้างก็ชอบเพราะบรรยากาศของตลาดใหม่นั้นดูสะอาดสะอ้านสดใสกว่าเดิม และเชื่อว่าลูกค้าก็คงตามมาซื้อของเหมือนเช่นเคย


     และหลังจากที่ตลาดสามย่านได้ย้ายไปแล้ว อีกไม่นานตึกแถวแถบนี้ที่ฉันกล่าวมาก็จะต้องรื้อไปด้วยเช่นกัน โดยตึกแถวตั้งแต่บริเวณหัวมุมถนนพญาไทตัดกับถนนพระราม 4 หรือบริเวณโรงรับจำนำฮะติ๊ดหลี มาจนถึงปากซอยจุฬาฯ 42 ข้างรั้วคณะนิติศาสตร์ รวมไปถึงตึกแถวด้านในซอยก็จะถูกรื้อทุบไป

ทางด้านชาวห้องแถวเหมือนจะมีปัญหามากกว่าชาวตลาดหน่อย เพราะไม่ได้เพียงหอบข้าวของมาขายเหมือนชาวตลาด แต่ห้องแถวนี้เป็นที่อยู่อาศัย เป็นแหล่งประกอบอาชีพของพวกเขามานาน บางคนอยู่มาตั้งแต่เกิดเสียด้วยซ้ำ ความผูกพันกับที่อยู่จึงมีมากตามไปด้วย


     ฉันได้ไปคุยกับคุณป้าเจ้าของร้านชำที่อยู่ด้านข้างตลาดสามย่าน ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่โครงการรื้อถอนนี้ด้วย ป้าเล่าให้ฟังว่าอยู่ที่นี่มาตั้งแต่เกิด ตั้งแต่แถวๆนี้ยังเป็นสวนฝรั่ง ดังนั้นจึงได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของย่านนี้มาโดยตลอด ดังนั้นเมื่อจะต้องย้ายก็รู้สึกใจหาย และไม่อยากจะย้ายไป โดยในตอนนี้ทางจุฬาก็ได้ผ่อนผันให้ชาวห้องแถวได้อยู่ต่อก่อนจะรื้อตึกเหล่านี้ออกไปในอีก 4 เดือนข้างหน้า

     คราวนี้ลองมาถามความรู้สึกของเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างเด็กจุฬาฯที่ต้องใช้บริการตลาดสามย่านและบรรดาร้านค้าห้องแถวในสามย่านแห่งนี้อยู่บ่อยๆ ดีกว่าว่า หากย้ายตลาดสามย่านไปและรื้อตึกแถวเหล่านี้ออกไปแล้วจะเป็นอย่างไร ฉันได้คุยกับน้องหวิน นิสิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่บอกว่า ก็ได้ไปใช้บริการร้านอาหารที่ตลาดสามย่านมาบ้าง เพราะหอพักก็อยู่ใกล้ๆตลาด ส่วนร้านจีฉ่อยนั้นเด็กจุฬาฯทุกคนต้องเคยได้ยินกิตติศัพท์กันอยู่แล้ว แต่น้องหวินเองยังไม่เคยไปใช้บริการเพราะกลัว?!? ส่วนตลาดสามย่านที่ย้ายไปคงไม่ส่งผลกระทบมากนัก แต่การรื้อตึกแถวก็คงจะทำให้สีสันของสามย่านจางไป


     การเปลี่ยนแปลงของสามย่านครั้งนี้จะว่าไปแล้วก็เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เพราะสีสันของสามย่านหลายๆอย่างจะหายไปตามการเปลี่ยนแปลงนั้น แต่จะห้ามไม่ให้มีการเปลี่ยนอะไรเลยก็คงไม่ได้ เพราะทุกสิ่งล้วนเป็นอนิจจัง เอ...พูดไปพูดมาก็จะวกเข้าไปทางธรรมซะงั้น เอาเป็นว่า แม้ตอนนี้ตลาดสามย่านจะย้ายไปแล้ว แต่ตึกแถวทั้งหลายก็จะยังคงอยู่ให้ไประลึกถึงความหลังกันอีกแค่ 4 เดือนเท่านั้น งานนี้ใครอยากจดจำภาพย่านตึกแถวสามย่านเอาไว้ก็ต้องรีบไปกันหน่อย ก่อนที่จะไม่เหลือภาพเก่าเอาไว้ให้เห็นกันอีก

ขอขอบคุณ
ที่มา :
ผู้จัดการออนไลน์ 10 มิถุนายน 2551 14:04 น.





ปิดตำนาน 43 ปี ตลาดสามย่าน แม่ค้าสุดอาลัย



     ปิดตำนาน 43 ปี ตลาดสามย่าน 9 มิ.ย.นี้ พ่อค้าแม่ค้ากว่า 200 ชีวิตสุดอาลัย หดหู่ ไม่มีทางเลือก จำใจย้ายไปอยู่ที่ใหม่ หวั่นรายได้ไม่ดีเท่าเดิม

     หลังจากส่วนบริหารการตลาด สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดสร้างตลามสามย่านแห่งใหม่ขึ้นบริเวณซอยจุฬา 32-34 มีกำหนดแล้ว เสร็จให้พ่อค้าแม่ค้าจากตลาดสามย่านเดิมย้ายไปค้าขายยังที่ใหม่ ในวันที่ 9 มิถุนายนนี้ บรรยากาศภายในตลาดยังคงมีผู้คนเลือกซื้อสินค้ากันจำนวนมาก ทว่าจิตใจของพ่อค้าแม่ขายต่างเต็มไปด้วยความสลดหดหู่ เนื่องจากใกล้ถึงวันจะต้องย้ายจากแหล่งทำกินที่ผูกพันมานานเกือบครึ่งชีวิต

"อาคม อัจชราวงศ์" เจ้าของร้านสเต๊กอ้วนผอม วัย 45 ปี เป็นหนึ่งในนั้น อาคมเป็นคน จ.นครราชสีมา ดั้นด้นเข้ามาหางานทำใน กทม.เมื่อปี 2525 โดยเป็นลูกจ้างร้านข้าวต้มในตลาดสามย่านนี้เอง ได้เงินเดือน 1,000 บาท ทำอยู่นาน 5 ปี มีการปรับปรุงตลาดใหม่ ทั้งโครงสร้างและรูปแบบ พ่อค้าแม่ค้าบางคนไม่ขายต่อ บ้างก็เลิกกิจการไปเหมือนกับเถ้าแก่ร้านข้าวต้มที่ทำงานอยู่ อาคมจึงเปิดร้านข้าวต้มต่อ



     ยุคนั้นตลาดสามย่านชั้นล่างจะเป็นตลาดสดและร้านอาหารรวมกัน ส่วนชั้น 2 เป็นที่พักอาศัย กระทั่งปี 2530 มีการปรับปรุงตลาดใหม่ จึงให้ชั้นล่างเป็นตลาดสด แล้วย้ายร้านอาหารขึ้นไปอยู่บนชั้น 2 แทนที่อยู่อาศัยมาจนถึงปัจจุบัน

เมื่ออาคมทำร้านข้าวต้มได้ระยะหนึ่งจึงเปลี่ยนมาเป็นร้าน สเต๊กอ้วนผอมจนถึงทุกวันนี้ ว่ากันว่าสเต๊กร้านนี้เป็นที่รู้จักกันดี จนอาจเรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของตลาดสามย่าน จากวันแรกที่เข้ามาเป็นลูกจ้างร้านข้าวต้ม ถึงวันนี้ ที่อาคมเป็นเจ้าของร้านสเต๊กชื่อดังก็ปาเข้าไป 26 ปีแล้ว ชายหนุ่มจึงมีความผูกพันกับตลาดสามย่านจนยากจะทำใจได้ เมื่อรู้ว่าใกล้ถึงวันที่ต้องย้ายไปทำกินในที่แห่งใหม่ และที่นี่ก็จะเหลือเพียงแค่ความทรงจำเท่านั้น

"ผมบอกได้เลยว่าตลาดสามย่านเป็นที่รู้จักของคนทุกวงการ บางคนให้สมญานามว่า ตลาดสดไฮโซ ถ้าคุณเข้ามาซื้อของคุณจะได้ของที่ดีที่สุดกลับไป ถามลูกค้าที่มาซื้อของที่นี่ได้ทุกคน พ่อค้าแม่ค้าที่ตลาดไม่ว่าจะค้าขายอะไร ได้กำไรดีหมด" อาคมกล่าว



     ปฐมบทแห่งความเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นเมื่อปี 2540 เมื่อสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้สร้างตลาดสามย่านใหม่ขึ้น แล้วให้พ่อค้าแม่ค้าย้ายออกไปจากตลาดเดิม อาคม บอกว่า ตั้งแต่วันนั้นถึงวันนี้มีการฟ้องร้องและเจรจากันมาหลายครั้ง เพราะพ่อค้าแม่ค้าส่วนใหญ่ไม่ยอมอกจากที่ทำกินเดิม นอกจากความผูกพันแล้ว ยังมีเรื่องรายได้ที่เกรงว่าจะได้ไม่เท่ากับปัจจุบัน แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถดึงดันได้อีกต่อไป

     อาคมบอกด้วยว่า เมื่อรู้ว่าจะต้องย้ายไปอยู่ที่ตลาดใหม่แน่นอนแล้ว เขาเครียดจนทำอะไรไม่ถูก ต้องพึ่งยานอนหลับหลายสัปดาห์ เพราะการย้ายร้านต้องเสียค่าใช้จ่าย ประกอบกับเมื่อย้ายไปแล้วก็ยังขายของไม่ได้ เพราะร้านยังไม่เสร็จดี อีกทั้งกฎระเบียบต่างๆ ก็มีมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าสิ่งเดียวที่ทำได้ ณ วันนี้คือ การถ่ายรูปร้านสเต๊กอ้วนผอมไว้ทุกซอกทุกมุมเก็บไว้เป็นระลึก ซึ่งอาคมบอกว่าที่นี่คือชีวิตทั้งชีวิตของเขา

ขณะที่ "พันธ์ ชิมสำโรง" พ่อค้าผักสดในตลาดสามย่าม วัย 52 ปี มีความผูกพันกับตลาดแห่งนี้มาอย่างยาวนานกว่าอาคมมากนัก พันธ์เข้ามาทำงานใน กทม.ตั้งแต่ปี 2515 ด้วยวัยประมาณ 14 ปี ก่อนจะหันมาทำร้านขายผักสดเล็กๆ ในตลาดสามย่านเลี้ยงตัวและครอบครัว จากวันนั้นถึงวันนี้นานกว่า 36 ปีแล้ว ที่ทำมาหากินอยู่ในตลาดสดแห่งนี้



     ด้วยระยะเวลาอันยาวนาน ทำให้พันธ์ผูกพันและเห็นความเปลี่ยนแปลงของผู้คน สิ่งแวดล้อม และความเป็นไปของตลาดสามย่านดี พ่อค้าแม่ขายหลายคนรู้จักมักคุ้นกันเหมือนญาติสนิท เมื่อแก่ตัวลงค้าขายไม่ได้ก็ให้ลูกเต้าเข้ามารับช่วงต่อ ดังนั้นจึงรู้สึกหดหู่ใจที่จะต้องย้ายไปอยู่ที่ใหม่

"ผมพูดได้เลยว่าชุมชนนี้เป็นชุมชนเก่าแก่ พ่อค้าแม่ค้าที่นี่คุ้นเคยเห็นหน้ากันอยู่ พ่อค้าหนุ่มสาวก็ไม่ใช่ใครที่ไหน ลูกหลานพ่อค้าแม่ค้าที่เคยทำอยู่ก่อน ตอนนี้ทำไม่ไหวก็ให้ลูกมาทำมาขายแทน ลองนึกดูแล้วกันทุกคนมีความผูกพันกันยังไง อยู่ดีๆ จะต้องมาย้ายไป และเห็นภาพการรื้อทุบ มันอดสูใจอย่างไรบอกไม่ถูก" พันธ์กล่าว

     แม้จะเหลือเวลาอีกไม่กี่วันตลาดสามย่านแห่งนี้จะกลายเป็นอดีต ทว่าบรรยากาศการจับจ่ายซื้อสินค้ายังเต็มไปด้วยความคึกคัก มีชีวิตชีวา ประชาชน นิสิต นักศึกษา ต่างเดินจับจ่ายเลือกซื้อสินค้ากันขวักไขว่ แตกต่างกับความรู้สึกของบรรดาพ่อค้าแม่ขายที่ต่างก็วิพากษ์วิจารณ์ถึงการ ย้ายไปอยู่ตลาดใหม่ในอนาคตอันใกล้นี้ ทุกคนรู้สึกใจหายที่ต้องเปลี่ยนที่ทำกิน นอกจากความไม่คุ้นเคยแล้ว ยังวิตกถึงเรื่องรายได้ด้วย

     นอกจากนี้ ประเด็นที่มีการพูดถึงมากที่สุดไม่แพ้เรื่องรายได้ก็คือ เรื่องค่าเช่าแผงที่สูงขึ้น โดยจ่ายล่วงหน้าราว 1.5 แสนบาท ค่าเช่ารายเดือนอีกแผงละ 3,800 บาท ไม่รวมค่าน้ำ ค่าไฟ ขณะเดียวกันยังมีข้อบังคับว่าด้วยเรื่องของแผงขายของต้องเป็นสเตนเลสเท่านั้น

     การตกแต่งร้านทางโครงการจะดำเนินการให้ โดยมีช่างไว้บริการ พ่อค้าแม่ค้าไม่สามารถนำช่างจากที่อื่นเข้ามาต่อเติมได้ เนื่องจากจะผิดแบบและจะไม่ผ่านการตรวจสอบมาตรฐาน แม้ค่าแรงจะถูกกว่าก็ตาม ที่สำคัญคือ พ่อค้าแม่ค้ารายเก่าบางรายไม่สามารถเข้าไปจับจองแผงเช่าได้ โดยมีพ่อค้าแม่ค้ารายใหม่เข้ามาจับจองแทน มิหนำซ้ำบางรายขายของอยู่ที่ตลาดเก่าได้เช่าพื้นที่ 3-4 ล็อก แต่พอมาอยู่ที่ใหม่ได้เพียง 1 หรือ 2 ล็อกเท่านั้น

     "ภัชราพร กาฬสินธุ์" นักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร บอกว่าแม้จะรู้สึกผูกพันกับตลาดสามย่านในฐานะลูกค้า โดยเธอและเพื่อนๆ มักจะมารับประทานอาหารที่นี่เป็นประจำ แต่ก็รู้สึกเฉยๆ กับข่าวการย้ายตลาดไปอยู่ที่ใหม่ คิดว่าที่ใหม่น่าจะดีกว่าที่เก่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องความสะอาด ความสวยงาม สบายตา

"เวลานั่งรถผ่านตลาดสามย่านใหม่ เห็นข้างนอกก็น่าจะดีนะ เท่าที่รู้ร้านอาหารที่ตลาดเก่าจะย้ายไปทั้งหมด เพราะฉะนั้นรสชาติอาหารก็ถูกปากเหมือนเดิม แถมที่ใหม่กว่า" ภัชราพรกล่าว

     ทั้งนี้ ตลาดสามย่านตั้งอยู่ในที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริเวณจุฬาซอย 15 ตรงข้ามโรงภาพยนตร์สามย่านรามา (เดิม) ช่วงต่อหัวมุมถนนพระราม 4 กับ ถนนพญาไท มีพื้นที่ 2.92 ไร่ เป็นอาคารก่อสร้างมาพร้อมกับการทำสัญญาบูรณะปรับปรุง เขตอาคารพาณิชย์ ซึ่งบริษัท วังใหม่ จำกัด เป็นผู้ดำเนินงานการก่อสร้าง เริ่มเปิดกิจการเพื่อเป็นตลาดเอกชน ใช้ชื่อว่า "ตลาดสามย่าน" มาตั้งแต่ปี 2508

     ต่อมาได้มอบให้ฝ่ายทรัพย์สินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ บริหารจัดการ โดยมีวัตถุประสงค์พัฒนาให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า และสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่ดีให้แก่ชุมชน ดังนั้นฝ่ายทรัพย์สินฯ จึงกำหนดแผนงานปรับปรุงอาคารตลาดสามย่าน โดยพัฒนาให้เป็นตลาดที่คงการบริการแก่ชุมชนในระดับเดิม แต่มีระบบสาธารณูปโภคที่ดี มาตรการด้านความสะอาดเป็นสำคัญ การจัดแผงต้องโปร่ง ไม่แออัด เช่นที่เป็นอยู่เดิม เพื่อพัฒนาให้เป็นตลาดตัวอย่างสมกับที่เป็นตลาดที่อยู่ข้างเคียงเขตการศึกษา เริ่มดำเนินการด้วยการศึกษาและวิจัยของคณะอาจารย์

     เมื่อได้ข้อมูลแล้วจึงเริ่มออกแบบปรับปรุง โดยคงสภาพโครงสร้างเดิม แต่ปรับปรุงด้านสถาปัตยกรรม การจัดแผงภายใน และเน้นหนักเรื่องระบบสาธารณูปโภค การปรับปรุงเริ่มดำเนินการเมื่อเดือนเมษายน 2530 แล้วเสร็จสมบูรณ์เดือนธันวาคมปีเดียวกัน แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ชั้นล่างมีพื้นที่ใช้สอย 3,600 ตารางเมตร เป็นแผงจำหน่ายสินค้าประเภทของสด 238 แผง มีทางเดินสัญจรหน้าแผงกว้าง 2.50-4 เมตร เพื่อแก้ปัญหาความแออัดเช่นสภาพตลาดสดทั่วไป มีเนื้อหมู เนื้อวัว 38 แผง อาหารทะเลสด 42 แผง ไก่สด 22 แผง ผัก ผลไม้ ดอกไม้ 75 แผง เบ็ดเตล็ด 49 แผง ร้านของชำ 12 แผง

     ส่วนชั้น 2 มีพื้นที่ใช้สอย 2,500 ตารางเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่จัดเป็นแผงจำหน่ายอาหาร 56 แผง ซึ่งอาหารที่ขึ้นชื่อและรู้จักจากคนทั่วไปคือสเต๊กสามย่าน ที่ตั้งโครงการตลาดสามย่านแห่งใหม่จะอยู่บริเวณซอยจุฬา 32-34 มีพื้นที่ 4 ไร่ แบ่งเป็น 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นแผงค้า 98 แผง ชั้นบนมีร้านอาหาร 22 ร้าน และมีชั้นลอยเป็นสำนักงานและห้องประชุม


ขอขอบคุณ
ที่มา :
คม ชัด ลึก

H O M E




Create Date : 06 กรกฎาคม 2551
Last Update : 22 กรกฎาคม 2551 21:03:39 น. 3 comments
Counter : 3153 Pageviews.

 
น่าเสียดายนะ

เก่า แต่ ทรงคุณค่า


โดย: โยเกิตมะนาว วันที่: 6 กรกฎาคม 2551 เวลา:13:51:40 น.  

 
เสียดายเหมือนกันค่ะ
แต่ก็นะ...

โลกมันเปลี่ยนไปทุกวัน
คงห้ามความเปลี่ยนแปลงยากน่ะค่ะ


โดย: โสดในซอย วันที่: 6 กรกฎาคม 2551 เวลา:14:42:20 น.  

 
จ๊าก...ไม่เคยรู้เลย...นัทเคยอยู่สามย่าน ตอนสมัยเรียน หมดกันความผูกพัน ที่งดงาม ต้องกลายเป็นตึกสมัยใหม่แล้วเหรอเนี่ย


โดย: Why England วันที่: 6 กรกฎาคม 2551 เวลา:15:04:03 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

jenifaae
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 7 คน [?]




Editor
บทความ ความคิดเห็นที่นำลง"สนามหลวงแก็งค์" ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
เพียงเราเห็นว่าน่าสนใจและเป็นประโยชน์ในทางข้อมูล ข่าวสาร
หากท่านมีข้อคิดเห็นประการใด โปรดแจ้งให้เราทราบ จักขอบคุณยิ่ง
"สนามหลวงแก็งค์"
kunkorn : Facebook



"Sanamluang's Gang"
"สนามหลวงแก๊งค์"

kunkorn : Facebook

     เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนให้เกิดการศึกษา การเรียนรู้ เผยแพร่ ส่งเสริม สนับสนุน รวบรวมข้อมูล ข่าวสาร อนุรักษ์ รักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ของชนชาติไทย วิถีชีวิต และปรัชญา คุณค่าจิตวิญญาณที่งดงาม สืบสานต่อยอดกันมานานนับพันๆปี และกำลังถูกทำลายด้วยอิทธิพลจากแนวคิดเชิงวัตถุนิยมแบบตะวันตก

● เพื่อการศึกษาหาความรู้ ส่งเสริม สนับสนุน ให้เกิดการศึกษา เรียนรู้ สิ่งที่พระพุทธเจ้าค้นพบ และนำมาเผยแพร่แก่มวลมนุษยชาติ อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ที่แท้จริง มิใช่เพียงวิทยาศาสตร์เชิงวัตถุเพียงอย่างเดียว เพราะถือว่าพระพุทธเจ้า ทรงค้นพบความจริงของธรรมชาติ ทั้งหมดทั้งสิ้น ที่มนุษย์ธรรมดาสามัญอย่างเราๆ ท่านๆ ยังเป็นเพียงผู้รู้ แค่หางอึ่งที่ยังอยู่ในกะลาครอบ แต่บังอาจด่วนสรุป ขัดแย้งกับ สิ่งที่องค์ศาสดาทรงค้นพบมากว่าสองพันปี จนทำให้บังเกิดความสับสน ลดความน่าเชื่อในสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบ

● สนามหลวงแก๊งค์ ต้องขออนุญาตและขอขอบคุณท่านเจ้าของข่าวสาร ข้อมูล ที่เราได้นำลงในสนามหลวงแก๊งค์ ไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยจิตคารวะ ทั้งนี้และทั้งนั้น ก็เพื่อให้สนามหลวงแก๊งค์ เป็นแหล่งในการเผยแพร่ ข้อมูล ข่าวสารที่เป็นประโยชน์และเพื่อเป็นวิทยาทานแก่สาธารณชน แต่หากท่านเจ้าของข้อมูล ข่าวสารที่ สนามหลวงแก๊งค์ นำลงไม่มีความประสงค์ให้นำลง ขอได้โปรดแจ้งความประสงค์ เรายินดีที่จะถอดออกต่อไป

ด้วยจิตคารวะ
www.sanamluang.bloggang.com
kunkorn : Facebook


ดาวหาง
     เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ ที่เกิดขึ้นในห้วงมหาจักรวาลอันยิ่งใหญ่ ลี้ลับไร้ขอบเขต ทุกครั้งที่ดาวหางปรากฏ มันจะส่งสัญญาณแห่งความพินาศ มหันตภัย ธรรมชาติ ความตาย ความเจ็บป่วย สงคราม ความขัดแย้ง การกดขี่ การเอารัดเอาเปรียบ การคดโกง การเบียดเบียนของมนุษย์บนพื้นพิภพใบนี้

     มันคือสัญญาณเตือนภัยที่มนุษย์ไม่อาจจะควบคุมได้ ทั้งภัยทางธรรมชาติและภัยที่เกิดขึ้นจากมนุษย์สร้างกันขึ้นมาเองในทุกรอบพันปี

     ไม่ว่ามนุษย์จะคิดว่าตัวเองเก่งกาจสามารถ ฉลาดสักเพียงไหน ก็ไม่อาจหลีกพ้นมหันตภัยเหล่านี้ไปได้
     ดังนั้น จงเชื่อและปฎิบัติตามอย่างไม่ลังเลต่อคำสอนของศาสดาของเราอย่างจริงจังเถิด

     แม้จอมจักรพรรดิ จอมราชันย์ หรือจอมทรราชที่ยิ่งใหญ่ในอดีต ก็ต้องตายร่างกายเน่าเปื่อยเป็นผุยผง และในที่สุดวิญญาณของเขาก็ต้องชดใช้กรรม ด้วยการถูกไฟนรกเผาผลาญโดยไม่มีข้อยกเว้นทั้งทั้งสิ้น

     จงอย่าอหังการ์ว่าตัวเองเก่ง ฉลาด และยิ่งใหญ่กว่าคำสอนของพระศาสดา ไม่มีมนุษย์ตนใดที่จะพ้นจากกฎแห่งธรรมชาติได้ มนุษย์ที่เก่งกว่าเรา เขาได้ตายร่างกายทับถมปฐพีแห่งนี้นับไม่ถ้วนแล้ว


     ● ขออนุญาตนำภาพวาด "วีระชนบนพานรัฐธรรมนูญ" ของ คุณสถาพร ไชยเศรษฐ ศิลปินอิสระ อดีตแนวร่วมศิลปินแห่งประเทศไทย ซึ่งวาดเนื่องในโอกาส 2 ปี 14 ตุลา มาเป็นส่วนหนึ่งของหัว "สนามหลวงบล็อก"                


บริการดูดวง



"สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์" มีความภาคภูมิใจในความสำเร็จตามอุดมการณ์ของเรา ที่ได้ตั้งเอาไว้ว่า "เราจะใช้วิชาความรู้ในด้านการพยากรณ์เพื่อให้เป็นประโยชน์สำหรับการให้การปรึกษาของผู้คนที่กำลังประสบปัญหา ความเดือดเนื้อร้อนใจ หรือการเผชิญกับปัญหานั้นๆได้อย่างไรดี

มนุษย์เกิดแต่กรรม มนุษย์มีกรรมเป็นเหตุ เมื่อเราประสบเคราะห์กรรม ปัญหาอยู่ที่ว่าหากเราทราบเสียก่อน ย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่าการไม่ทราบ อย่างน้อยก็ทำให้เราระมัดระวังตัว อย่างน้อยก็ทำให้เราหลีกเลี่ยงเพื่อทำให้เราเผชิญกับกรรมน้อยลงไป อย่างน้อยก้ทำให้เรารู้ว่าสิ่งเหล่านั้นมันมีที่มา มันมีที่ไปของมัน

มีนักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์วัตถุจิตนิยม มักโจมตีอยู่เสมอว่า การดูดวง เป็นเรื่องของความงมงาย หมอดูคู่กับหมอเดา หมายถึงว่า เขาไม่เชื่อในเรื่องของวิชาโหราศาสตร์เพราะคิดไปว่ามันเป็นเรื่องเดียรัจฉานวิชาบ้าง เป็นการคาดเดาเอาเองบ้าง คิดว่ามันเป็นวิชาที่ใช้สถิติสุ่มเอาบ้าง ไม่เชื่อว่าวิชาโหราศาสตร์จะสามารถไขปริศนาแห่งรหัสลับของดวงดาว จักรวาล และธรรมชาติรอบตัว

แสดงว่าเขาลืมไปว่า อัลเบิร์ต ไอสไตน์ และสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้กล่าวไว้ว่า ทุกสรรพสิ่งในโลกรอบตัวเรา ตั้งแต่เล็กเท่าอะตอม (จุลจักรวาล)จนถึงมหาจักรวาล ล้วนมีความผูกพัน ล้วนมีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้งแยกกันไม่ออก เพียงแต่ว่า กับอะไร เมื่อไร อย่างไร เท่านั้น

กรรมเป็นผลจากการกระทำของเราในอดีตชาติ จะดีหรือจะร้ายก็เพราะเราทำ เป็นสิ่งที่เราจะต้องได้รับผลแห่งการกระทำเหล่านั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

โหรฯเป็นเพียงผู้แปลรหัสของดวงดาวและธรรมชาติรอบตัว เพื่อเผยแผนที่ชีวิตของเรา และสามารถมองเห็นช่องทางที่จะเลี่ยงหลบสิ่งเลวร้าย ให้ลดน้อยถอยลงหรือพบพานแต่สิ่งที่ดีดี

การสะเดาะเคราะห์ หรือพิธีการตัดกรรมที่กำลังกล่าวขานถึงก็คือการขออโหสิกรรม ลดการอาฆาตจองเวรกับเจ้ากรรมนายเวรที่กำลังจ้องจองเวรด้วยความอาฆาตพยาบาทที่ถูกเรากระทำในอดีตชาติ ไม่ใช่เป็นการตัดทอนผลกรรมที่เราทำให้หมดไปหรือให้ลดลง เพราะกรรมที่เรากระทำไม่สามารถตัดทอนลงไปได้



สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์พยากรณ์เที่ยงตรง แม่นยำเชื่อถือได้ วิเคราะห์พยากรณ์อย่างเป็นระบบ ไม่เลื่อนลอย ยึดมั่นในอุดมการณ์ของครูที่ท่านได้กำชับให้นำเอาวิชาการพยากรณ์มาช่วยเหลือแนะนำ บรรเทาทุกข์ของผู้คนมากกว่าการพยากรณ์เพื่อการค้า

ต้องยอมรับว่า ไม่ว่าประเทศใด? ชาติใด ภาษาใด? สมัยไหน? ชนชั้นวรรณะใด? ไม่ว่าจะเป็นเจ้าสัว นักธุรกิจ นักการค้า แม่บ้าน นักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ หรือไม่เว้นแต่นายพล นายพัน รัฐมนตรี หรือระดับผู้นำประเทศ ล้วนแต่เคยดูดวงด้วยกันทั้งสิ้น เพียงแต่ว่า เราจะเชื่ออย่างงมงายหรือจะเชื่อโดยใช้เหตุผลอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ โดยนำเอาคำพยากรณ์มาใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการดำเนินชีวิต หรือทำธุรกิจ การค้า หรือเพื่อการทำสงครามฯ

"สนามหลวงแก็งค์" ไม่สนับสนุนให้เชื่อเรื่อง "ดวง" อย่างงมงาย แต่เราสนับสนุนให้ใช้คำ "พยากรณ์"อย่างมีวิจารณญาณประกอบการตัดสินใจอย่างมีสติ ใช้ "ปัญญา"อย่างมี "เหตุผล"

หลังจาก "สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์" ได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม จนต้องมีการเข้าจองคิวดูดวงเป็นจำนวนมาก ณ ขณะนี้ ไม่ใช่แต่เฉพาะคนไทยในประเทศที่เข้ามาใช้บริการจาก "สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์"เท่านั้น

แต่ยังมีคนไทยที่อยู่หลายประเทศทั่วโลกเข้ามาดูดวง ตรวจสอบชื่อ นามสกุลมากมาย ทั้งนี้คงเป็นเพราะผู้ที่เข้ามา"ดูดวง" กับ "สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์" ได้รับความพอใจในคำพยากรณ์ที่ถูกต้อง แม่นยำ แนะนำแนวทางแก้ไขที่เหมาะสมตามหลักโหราศาสตร์ จึงได้มีการบอกเล่า แนะนำชักชวนกันปากต่อปากเป็นจำนวนมาก

ปัจจุบันนี้ มีผู้เข้ามาเยี่ยมชมwww.sanamluang.bloggang.com มีจำนวนถึง 118 ประเทศ โดยเข้ามาเปิดดูหน้า "สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์"คิดเป็นร้อยละ 80 ของ pageviews ต่างๆใน www.sanamluang.bloggang.comจัดทำบล็อกครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2550 มีผู้เข้าชมจำนวนทั้งสิ้น 579,020 ครั้ง จากจำนวน 262,960 visitors (ข้อมูล ณ เวลา 12.00 น.ของวันพุธที่ 6 ตุลาคม 2553)

ส่วนใหญ่ลูกค้าที่โทรเข้ามาเกือบ 98% เมื่อโทรฯ เข้ามาดูดวงแล้ว จะสามารถนัดวัน เวลาดูดวงได้โดยไม่มีปัญหาแต่อย่างใด อาจจะมีอยู่บ้างเพียงไม่กี่รายที่โทรฯเข้ามาเพื่อสอบถามรายละเอียดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

อาจจะเนื่องมาจากไม่คุ้นเคยการทำธุรกิจแบบออนไลน์ โดยมีการโอนเงินก่อน ไม่ไว้ใจ หรือไม่กล้า ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก ประมาณ 2%

สำหรับที่เมลฯมาถามและเงียบไป ไม่สามารถทราบจำนวนได้ อาจเนื่องจากเป็นรายที่โทรเข้ามานัดอีกทางหนึ่งก็เป็นได้

สนามหลวงพยากรณ์ออนไลน์ ยังมีอาจารย์ผู้สอนวิชาโหราศาสตร์ ผ่านประสบการณ์ในการดูดวงหลายปีคิดเป็นจำนวนหลายพันดวง

แน่นอน แม่นยำกระชับ ชัดเจน หากไม่ทราบเวลาตกฟากท่านก็ยังสามารถดูได้ รายที่กำลังประสบเคราะห์หามยามร้าย ท่านก็จะช่วยแนะนำและแก้ไขเรื่องเลวร้ายให้กลายเป็นดีด้วยศาสตร์แห่งความลี้ลับของโหราศาสตร์ โดยไม่ต้องเสียเงินสะเดาะเคราะห์ สามารถดูได้ถึงขนาดปัญหาเรื่องคู่ครอง เรื่องเคราะห์ เรื่องหน้าที่การงาน โดยใช้ "วิชาโหราศาสตร์ดวงไทย"อันเป็นสุดยอดของวิชาโหราศาตร์โบราณของไทย

นอกจากนั้น เรายังมี ซินแส ที่เชี่ยวชาญเรื่องการดูฮวงจุ้ย ทำเลปลูกบ้าน อาคารสำนักงาน ดูฤกษ์ยาม แต่งงาน คลอดบุตร ขึ้นบ้านใหม่ เปิดกิจการต่างๆโดยใช้วิชาโหราศาสตร์จีนโบราณผสานตำราดวงไทย ซึ่งซินแสท่านมีประสบการณ์การดูดวงมาไม่น้อยกว่า 45 ปี ผ่านการดูให้กับนักธุรกิจชื่อดังของเมืองไทย และนักธุรกิจชั้นนำจากฮ่องกงหลายราย

ติดต่อ 081-4834367 หรือ workingmailhome@hotmail.com
--------------------------------------------
● ปรึกษาปัญหากฏหมาย
ละเมิด,สัญญา,อายัดทรัพย์ ยึดทรัพย์
--------------------------------------------
● ปัญหาติดต่อราชการ
บริการปรีกษาเรื่อง ภาษีป้าย ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน ค่าธรรมเนียมต่างๆ และการติดต่อราชการต่างๆ ของสำนักงานเขต
--------------------------------------------
● พิมพ์รายงาน,ค้นหาข้อมูล,

● งานพิมพ์ Lay-Out,Art Work
--------------------------------------------
สำนักพิมพ์ดาวหาง
www.sanamluang.bloggang.com




รับวาดรูปเหมือน และสอนวาดรูป
โดยอาจารย์ ผู้ชำนาญ

ราคาย่อมเยา

















หลังเกิดเหตการณ์ 14 ตุลา 2516 นิสิต นักศึกษา ปัญญาชน ต่างหลั่งไหลดั่งสายน้ำ ล้นขอบ ออกจากเมือง เข้าสู่ ชนบท เหตุเกิดเมื่อ กลางปี พ.ศ.2516 จนถึง พ.ศ.2519 นักศึกษากลุ่มหนึ่ง ได้ พบกันโดยบังเอิญ และ ได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันกับชาวบ้าน ณ หมู่บ้าน แม่ตะมาน ตำบลกื๊ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้ ชื่อโครงการว่า "โครงการหมู่บ้านสหกรณ์แม่ตะมาน"
เชิญ พบ และติดตาม กับเรื่องราว และบทสรุป อันควรเป็นจุดเริ่มต้น ต่อไปใน

     เมล็ดพันธุ์ประชาธิปไตย ที่ถูกหว่านทั่วท้องทุ่งแห่งประชาไทย มาบัดเดี๋ยวนี้ เมื่อต้องฝน ต้องลม แห่งกาลเวลาพัดผ่าน จาก 2516 , 2519 2535,จน 2540 ถึง 2550บางเมล็ดพันธุ์ก็ยังขาวพิสุทธิ์สดใส บ้างเมล็ดพันธุ์เปลี่ยนสี บ้างก็ดอกสีเหลือง บ้างก็ดอกสีแดง บ้างก็ดอกสีม่วงก้มี สีเขียว สีน้ำเงิน หรือบ้างก็อาจเฉาโรยรา หรือบ้าง ผสมผสานกลายพันธุ์ ก็มีไม่น้อย
มาบัดเดี๋ยวนี้ มันไม่ใช่ จิต วิญญาณ แห่ง 14 ตุลา เดิมเสียแล้ว ไม่ใช่พันธุ์เดียวกัน อย่าได้ เอ่ยอ้างเลย ว่า วิญญาณ 14 ตุลา ยังคง...มันประชาธิปไตย ที่ไม่ บริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือนอย่างเดิมเสียแล้ว.....
..แต่มันเป็น.ประชาธิปไตย...เพื่อใคร..??


“ทุกวันนี้ เราจะรับรู้ ได้เห็น ได้ยินแต่เรื่องเลวร้าย ในสังคม
เราจึงขอบันทึกสิ่งที่ดีๆ ต่างๆ เหล่านี้ ด้วยจิตคารวะ และขอเป็นกำลังใจให้เกิดสิ่งที่ดีงามเหล่านี้ต่อไป”>>>



อ่านงานเขียนเกี่ยวกับภาพยนตร์หลากหลายประเทศทั่วโลก ที่นี่ >>>





*จำนวนผู้ชมทั้งสิ้น* สถาปนาบล็อค 21 ก.ค.2550
Friends' blogs
[Add jenifaae's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.